Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทความฮูปแต้มในสิมอีสาน ทําไมต้องเป็นวรรณกรรมเรื่องพระเวสสันดรชาดก

บทความฮูปแต้มในสิมอีสาน ทําไมต้องเป็นวรรณกรรมเรื่องพระเวสสันดรชาดก

Published by aum-zxx, 2022-12-09 02:32:23

Description: บทความฮูปแต้มในสิมอีสาน ทําไมต้องเป็นวรรณกรรมเรื่องพระเวสสันดรชาดก

Keywords: บทความ,ฮูป,แต้ม,ใน,สิม,อีสาน,ทําไม,ต้อง,เป็น,วรรณกรรม,เรื่อง,พระ,เวส,สัน,ดร,ชา,ดก

Search

Read the Text Version

ฮูปแตม้ ในสิมอีสาน ทำไมต้องเป็นวรรณกรรมเรอ่ื งพระเวสสันดรชาดก เกียรตพิ งศ์ เรอื งเกษม1 Kiattiphong Rueangkasem1 1ว่าท่ี รอ้ ยตรีเกียรตพิ งศ์ เรืองเกษม นักศึกษาปริญญาโท รหสั นกั ศกึ ษา 655220001 – 7 สาขาวิจัยวัฒนธรรม ศลิ ปกรรมและ การออกแบบ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่ 1Acting Sub lt. Kiattiphong Rueangkasem, Department of Culture, Fine Arts and Design Research, Faculty of Fine and Applied Arts, Khon Kaen University ภาพ : ฮปู แตม้ เรอื่ งพระเวสสันดรชาดก กณั ฑม์ ทั รี สิมวดั มัชฉมิ วทิ ยาราม อำเภอบา้ นไผ่ จงั หวัดขอนแก่น สิม เป็นสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น จากพจนานุกรมฉบับอีสาน-ภาคกลาง ให้ความหมายของคำว่า “สิม” มาจาก สีมาหรือสิมมา ซึ่งหมายความถึงโรงเธรรมที่ประชุมสงฆ์ ประกอบสังฆกรรรม (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์, 2513) ในบริเวณวัดแถบลุ่มแม่น้ำโขงจะพบสถาปัตยกรรมสิม ซึ่งเป็นอาคารที่สำคัญรองลงมาจากธาตุ หรือ พระธาตุ คือสถูปเจดีย์ ในวัฒนธรรมอีสานตามตำนานอุรังคธาตุ และสถาปัตยกรรม “สิม” ก็คือพระอุโบสถ หรือ โบส์ถ ซึ่งในปัจจุบันคนอีสานมีความคุ้นเคยกับคำวา่ “อุโบสถ” มากกว่าคำว่า “สิม” ซึ่งเป็นอิทธิพลการ เรียกท่มี าจากภาคกลาง เน่ืองจากคำว่าสิม เกดิ ขนึ้ โดยมีลกั ษณะทเ่ี ฉพาะในสายวัฒนธรรมไทย - ลาว และภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้ปัจจุบันเรารู้จัก สิม ในฐานะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น โดยถือความ แตกต่างจากพระอโุ บสถในภาคกลางของประเทศไทย อุโบสถ หมายถึงอาคารที่ทำการแสดงปาฏิโมกข์ และทำสังฆกรรม อุสมบทกรรม ซึ่งเป็นเขตแดนท่ี ทรงบัญญัติไว้ตามพระวินัย (ราชบัณฑิตตยสถาน, 2514) มี สีมา เป็นเขตแดนที่สมมุติขึ้นว่ามีพื้นที่ในการทำ สังฆกรรมเท่าใด ในทางบ้านเมืองจะหมายถึงพื้นที่ของประเทศ ฉะนั้นเมื่อจะกำหนดเขตสีมาเพื่อการตั้งหรือ สร้างพระอโุ บสถจึงต้องมีการของพระราชทานวสิ ุงคามสีมา เพ่อื กนั แดนให้เป็นเขตเฉพาะหรือแบ่งเขตต่างจาก

คามสีมา พระอุโบสถ หรือ สิม ในภาคอีสานตอนบน จากการศึกษามีพื้นที่ภายในขนาดค่อนข้างเล็ก ใช้ สำหรับสังฆกรรมเท่านั้น และมักนิยมเขียนจิตรกรรมฝาผนัง หรือ ฮูปแต้ม บริเวรโดยรอบตัวอาคารทั้งภายใน และภายนอก ฮูปแต้มหรือจิตรกรรมฝาผนังเป็นงานศิลปะที่ปรากฏอยู่ท่ัวทุกภูมิภาคของประเทศไทยรวมถึงภาค อสี านท่ีปรากฏจติ รกรรมฝาผนงั กระจายอยหู่ ลายแห่งเกือบทุกจงั หวัด มักปรากฎเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังตาม สิม (โบสถ์) วิหาร หอไตร หอแจก จิตรกรรมฝาผนังอีสานทีพ่ บส่วนมากมกั เขียนอยู่บนผนังด้านนอกของสิม มี กลวิธีการสือ่ สารที่เป็นเอกลักษณข์ องทอ้ งถิน่ ในการที่จะสื่อความหมายถงึ ความเชื่อของสงั คม และวัฒนธรรม ไทยในอีกแง่มุมหนึ่ง วรรณกรรมส่วนใหญ่นิยมถ่ายทอดเรือ่ งราวเกี่ยวกับพุทธศาสนา และวรรณกรรมพื้นบ้าน พบว่าจิตรกรรมทีเ่ ขียนก่อนปี พ.ศ. 2500 ปรากฏพบวรรณกรรม กลุ่มเรื่องราวทางศาสนา ได้แก่ พุทธประวัติ พระมาลัย ไตรภูมิ ทศชาติชาดก พระเวสสันดรชาดก (บุรินทร์ เปล่งดีสกุล, 2560 อ้างถึงในเอกสาร ประกอบการเสวนาวิชาการจติ รกรรมฝาผนัง “ภาคกลางมองอสี าน อีสานมองภาคกลาง”) ที่ ชอ่ื วัด ปที สี่ รา้ ง วรรณกรรมท่ปี รากฎ 1 วดั ไตรภูมคิ ณาจารย์ จ.ร้อยเอ็ด กอ่ นปี พุทธประวตั ิ พระเวสสันดรชาดก พระลักพระลาม 2 วัดป่าเลไลย์ จ.มหาสารคาม พ.ศ.2500 และพระมาลัย 3 วดั ขอนแกน่ เหนอื จ.ร้อยเอด็ 2400 พทุ ธประวตั ิ พระเวสสันดรชาดก พระรามชาดกและ 4 วดั ประตูชัย จ.ร้อยเอด็ พระมาลยั 5 วดั ยางทวงวราราม จ.มหาสารคาม 2428 พุทธประวัติ พระมาลยั เทพชุมนมุ พระราหอู มพระ 6 วัดไชยศรี จ.ขอนแกน่ 7 วัดมัชฉมิ วิทยาราม จ.ขอนแก่น อาทิตย์ 8 วดั สระบวั แกว้ จ.ขอนแก่น 9 วัดสนวนวารีพัฒนาราม 2464 พุทธประวัติ พระเวสสันดรชาดก พระรามชาดกและ จ.ขอนแกน่ พระมาลยั 10 วดั กลางมิ่งเมือว จ.ร้อยเอด็ 11 วัดโพธาราม จ.มหาสารคาม 2465 พุทธประวัติ พระเวสสนั ดรชาดก ท้าวปาจติ นาง 12 วัดตาลเรอื ง จ.มหาสารคาม อรพิม พระมาลยั และปริศนาธรรม 2466 สินไซ พุทธประวตั ขิ องพระพุทธเจ้าสบิ ชาติ 2470 พระเวสสนั ดรชาดก 2474 พทุ ธประวัติ พระลกั พระลาม และสนิ ไซ 2475 เรอื่ งสนิ ไซและพระเวสสันดรชาดก 2484 พทุ ธประวัติ พระเวสสันดรชาดก ก่อนปี พุทธประวัติ พระเวสวนั ดรชาดก พระมาลัย และ พ.ศ.2500 สนิ ไซ กอ่ นปี พุทธประวัติ พระเวสสันดรชาดก นรกภมู ิ พ.ศ.2500 สงิ ข์ศิลปช์ ยั

13 วัดจกั รวาลภมู พิ ินจิ จ.ร้อยเอ็ด ก่อนปี พทุ ธประวตั ิ พระมาลยั และสังขศ์ ิลปช์ ัย 14 วัดบ้านเปือยใหญ่ จ.รอ้ ยเอด็ พ.ศ.2500 15 วัดมาลาภิรมย์ จ.รอ้ ยเอด็ ก่อนปี พระเวสสันดรชาดก พ.ศ.2500 กอ่ นปี พทุ ธประวตั ิ พระมาลัย และพระมาลยั พ.ศ.2500 เวสสันดรชาดกเป็นส่วนหนึ่งในคัมภีร์มหานิบาต อันประกอบด้วยชาดกใหญ่รวม 10 เรื่อง แสดง กำเนิดของพระโพธิสัตว์ และบารมีที่บำเพ็ญในพระชาติต่าง ๆ กัน เรื่องราวของพระเวสสันดรชาดก ประกอบดว้ ยเนื้อหาจำนวน 13 ตอนหรือ กัณฑ์ ประกอบดว้ ย กัณฑ์ที่ 1 ทศพร กัณฑ์ท่ี 2 หิมพานต์ กัณฑ์ที่ 3 ทานกัณฑ์ กัณฑ์ที่ 4 วนปเวสน กัณฑ์ที่ 5 ชูชก กัณฑ์ที่ 6 จุลพน กัณฑ์ที่ 7 มหาพน กัณฑ์ที่ 8 กุมารบรรพ กัณฑ์ที่ 9 มัทรี กัณฑ์ที่ 10 สักกบรรพ กัณฑ์ที่ 11 มหาราช กัณฑ์ที่ 12 ฉกษัตริย์ กัณฑ์ที่ 13 นครกัณฑ์ ซ่ึง บำเพญ็ ทานบารมี (และบารมอี นื่ ๆ ในพระชาติต้น ๆ อีก 9 บารม)ี จากการศึกษาข้อมูลพบว่าฮูปแต้มในสิมอีสาน จะปรากฏวรรณกรรมพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับพุทธ ประวัติ ชาดกนอกนิบาต ขณะท่ีทศชาติชาดกที่ปรากฏบนสิมอีสาน มักปรากฏเพียงเรื่องมหาเวสสันดรชาดก ในส่วนของชาดกเรื่องอื่น ๆ ในทศชาติชาดกไม่พบปรากฎเท่าใดนัก เมื่อพิจารณาจากบริบทพื้นที่ และวิถีชีวติ วัฒนธรรมของสังคมอีสานพบว่า คนอีสานมีความสัมพันธ์กับความเชื่อเกี่ยวกับ “ฮีต 12” ซึ่งเป็นประเพณี ประจำเดอื น อันประกอบดว้ ย ลำดับ เดอื น ประเพณี ความสมั พนั ธ์ ฮตี ท่ี 1 เดอื นอา้ ย บญุ เข้ากรรม พระพุทธศาสนา ฮตี ท่ี 2 เดอื นยี่ บญุ คณู ลาน ศาสนาเผ่า ฮตี ท่ี 3 เดอื นสาม บญุ ข้าวจ่ี ศาสนาเผ่า ฮีตท่ี 4 เดอื นส่ี บญุ เผวส พระพุทธศาสนา ฮีตท่ี 5 เดอื นห้า บญุ สงกรานต์ ศาสนาเผ่า ฮตี ที่ 6 เดอื นหก บญุ บั้งไฟ ศาสนาเผา่ ฮตี ที่ 7 เดือนเจด็ บญุ ซำฮะ พระพุทธศาสนา ฮตี ท่ี 8 เดือนแปด บุญเข้าพรรษา พระพุทธศาสนา ฮีตท่ี 9 เดือนเก้า บุญขา้ วประดับดนิ ศาสนาเผ่า ฮีตที่ 10 เดอื นสบิ บุญขา้ วสาก ศาสนาเผ่า ฮีตท่ี 11 เดอื นสิบเอ็ด บุญออกพรรษา พระพุทธศาสนา ฮตี ที่ 12 เดือนสบิ สอง บุญกฐนิ พระพทุ ธศาสนา

จากตารางพบว่าบุญประเพณีในฮตี 12 มเี ร่ืองราวทเ่ี ก่ียวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม วีถีชีวิตของผู้คน รวมถึงความเชื่อทางศาสนา ซึ่งพบฮีตที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาประกอบด้วย ฮีตที่ 1 เดือนอ้าย บญุ เข้ากรรม ฮตี ที่ 4 เดือนส่ี บุญเผวส ฮีตท่ี 7 เดอื นเจด็ บุญซำฮะ ฮีตที่ 8 เดอื นแปด บญุ เข้าพรรษา ฮีตท่ี 11 เดือนสิบเอ็ด บุญออกพรรษา และฮีตที่ 12 เดือนสิบสองบุญกฐิน ซึ่งมีความสอดคล้องกับทฤษฎีคติชนวิทยา ของกุหลาบ มัลลิกะมาส นักคติชนวิทยารุ่นแรก ๆ ของไทย กล่าวถึงแนวคิดด้านบทบาทหน้าที่ของข้อมูลทาง คติชนว่า มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก คติชนใช้อธิบายที่มาและเหตุผลในด้าน รูปแบบและเนื้อหาของประเพณี และพิธีกรรม ต่าง ๆ ในสังคม ว่าไม่ได้เกิดขึ้นมาแบบลอย ๆ แต่เกิดขึ้นจาก รากฐานโครงสร้างทางระบบการผลิตและ ความสัมพันธ์ของคนในสังคม จนเกิดเป็นเรื่องเล่า ตำนาน และคติ ความเชื่อ และยึดถือปฎิบัติกันสืบต่อมา ในแง่นี้ คติชนจึงมีส่วนทำให้วัฒนธรรมของสังคมมีความสมบูรณ์ มีศักดิ์ศรี มีพื้นที่ยืนอย่างเข้มแข็งและมั่นคงขึ้น ประการที่สอง คติชนทำหนา้ ท่ีให้การศึกษา อบรมสั่งสอนและ การขัดเกลาทางจริยธรรมของสังคม โดยการปฏิบัติการทางสังคมที่เป็นจริง รวมถึงการบอกเล่าด้วยวาจา จนกลายเป็นประเพณีทางสังคม ประการท่ีสาม คตชิ นด้านความเชอื่ ทำหน้าทเ่ี ป็นแบบแผนหรือมาตรฐานทาง จริยธรรมของสังคม ไม่ให้ล่วงละเมดิ กฎ ระเบียบ บางประการที่เลยขีดเส้นของความเหมาะสมดีงาม เท่าที่คน ในสังคมนั้นจะยอมรับ กันได้ ประการที่สี่ คติชนช่วยเป็นทางระบายความรู้สึกที่กดทับ บีบคั้น และความ ขัดแย้งอื่น ๆ ในสังคม ให้มี ทางออก ผ่านเรื่องเล่าและปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์ ที่หลายกรณีได้กลายเป็นแรง กดดันให้ระบบอำนาจทก่ี ดทบั อยู่น้นั ผ่อนคลายและปรบั สภาพไปสคู่ วามคลค่ี ลายในทางดีได้ จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าฮูปแต้มในสิมอีสานที่เปน็ วรรณกรรมเรื่องพระเวสสันดรชาดก เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับฮีต 12 อันเกี่ยวข้องกับประเพณี วัฒนธรรม วิธีชีวิต และความเชื่อทางศาสนาของ คนในอสี าน บรรณานกุ รม ราชบัณฑติ ตยสถาน. (2514). พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน. โรงพิมพส์ ว่ นท้องถ่ิน : กรงุ เทพมหานคร. สมเด็จพระมหาวีรวงศ.์ (2513). พจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง. ม.ป.ท. : กรงุ เทพมหานคร. สำนักวิชาศกึ ษาท่ัวไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอดุ รธาน.ี (2560.) เอกสารประกอบการเสวนาวชิ าการจติ รกรรม ฝาผนัง “ภาคกลางมองอสี าน อีสานมองภาคกลาง” โรงพมิ พ์บา้ นเหลา่ การพมิ พ์ : อุดรธาน.ี