Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บัว คติสัญลักษณ์ที่มีอิทธิพลต่อศาสนาคารอีสาน

บัว คติสัญลักษณ์ที่มีอิทธิพลต่อศาสนาคารอีสาน

Published by kanikl, 2020-07-08 22:49:04

Description: บทความ:บัว คติสัญลักษณ์ที่มีอิทธิพลต่อศาสนาคารอีสาน

Keywords: บัว,คติ,อีสาน

Search

Read the Text Version

บวั : คตคิ วามเช่ือทม่ี ีอทิ ธติ ่อศาสนาคารอสี าน โดย นางสาววลิ าสินี ขาํ พรหมราช เสนอ รองศาสตราจารย์ ดร. นยิ ม วงศพ์ งษ์คาํ รายวชิ า การวิจัยทางวฒั นธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบขนั้ สงู รหสั รายวิชา 890911 รายงานนีเ้ ปน็ สว่ นหนึ่งในการศกึ ษาระดบั ปริญญาเอก สาขาวชิ าวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ 2.1 ภาคพิเศษ คณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่

คํานาํ บทความน้ีเป็นส่วนหนึ่งของวิชาทฤษฎีทางวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบข้ันสูง สาขาวชิ าวฒั นธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ ภาค การศึกษาท่ี 1 ปีการศึกษา 2561 โดยมีจุดประสงค์เพ่ือนําเสนอคติความเช่ือเร่ืองบัวที่มีอิทธิพลต่อ รูปแบบศาสนาคารอีสาน พ้ืนท่ีภาคอีสานของประเทศไทย เป็นพื้นท่ีหน่ึงที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือ พระพุทธศาสนา โดยมีศาสนาคาร ไม่ว่าจะเป็น สิม พระธาตุ ธาตุ วิหาร เป็นอาคารท่ีใช้ในทางศาสนา เพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซ่ึงปรากฏสัญลักษณ์ของบัว พืชน้ําชนิดหน่ึงในเกือบทุกส่วนของศาสนา คาร ไม่ว่าจะเป็น ส่วนฐาน ส่วนกลาง และส่วนยอดโดยบทความน้ีขอนํา ความหมาย ลักษณะทาง กายภาพของบัว ความเช่ือเร่ืองบัว และรูปแบบบัวท่ีปรากฎในศาสนาคารอีสาน หากบทความนี้ ผดิ พลาดประการใด ผ้วู ิจยั ขออภัยใน ณ ท่ีนด้ี ้วย วลิ าสนิ ี ขําพรหมราช ผจู้ ดั ทาํ

บวั : คติความเชอ่ื ท่ีมอี ิทธพิ ลตอ่ ศาสนาคารอสี าน ภาคสี าน หรอื ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมภิ าคหนงึ่ ของทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ต้ังอยู่ระหว่างละติจูด ละติจูด 14˚7' ถึง 18˚27' เหนือ และลองติจูด 100˚54' ถึง 105˚37' เป็นตําแหน่งท่ีเป็น ศูนย์กลางอนุภาคลุ่มน้ําโขง โดยมีอาณาเขตด้านทิศเหนือ และทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว มีแม่น้าํ โขงเปน็ เส้นกนั้ พรมแดน ดา้ นทศิ ใต้ ตดิ ตอ่ กบั ประเทศราชอาณาจกั รกมั พชู า มี เทือกเขาพนมดงรักก้ันพรมแดน และมีเทือกเขาเพชรบูรณ์และเทือกเขาดงพญาเย็นก้ันแยกภาคเหนือและภาคใต้ ทางด้านทิศตะวันตก มีพ้ืนที่รวม 105.53 ล้านไร่ หรือประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ เป็นท่ีราบสูง มีความลาดเอียงไปทางด้านทิศตะวันออก คล้ายกระทะ แบ่งเป็น 2 แอ่งใหญ่ ได้แก่บริเวณแอ่งท่ีราบ โคราช และบริเวณแอ่งสกลนคร (สํานักงานคณะกรรมการและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2561) ถือ เป็นพื้นท่ีขนาดใหญ่คิดเป็น 1 ใน 3 ของเนื้อที่ทั้งหมดของประเทศไทย (สุจิตต์ วงษ์เทศ , 2543) ครอบคลุมพื้นท่ี ถึง 20 จังหวัด ซ่ึงประกอบไปด้วย กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มกุ ดาหาร ยโสธร รอ้ ยเอด็ เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรนิ ทร์ หนองคาย หนองบัวลาํ ภู อาํ นาจเจรญิ อดุ รธานี และ อบุ ลราชธานี (สวุ ิทย์ ธรี ศาศวตั , 2557) คนในพื้นท่ีใชภ้ าษาอสี านใช้ภาษาอีสานเปน็ ส่วนใหญ่ โดยมีศาสนาพทุ ธเป็น ศาสนาหลกั ในการยึดเหนี่ยวจิตใจและเปน็ แนวทางในการดําเนนิ ชวี ิต พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช พระองค์ได้ส่งสมณะทูต ออกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนานอกราชอาณาจักรของพระองค์จํานวน 9 สาย โดยมีสายของพระหินทเถระไปยัง ดินแดนลังกา และสายของพระโสณะและพระอุตรไปยังดินแดนสุวรรณภูมิ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 อินเดียที่ เป็นแหล่งกําเนดิ ของพระพทุ ธศาสนาได้ถูกชนชาติมุสลิมเขา้ รุกราน และต่อต้านความเช่ือทางศาสนา รวมไปถึงคณะ สงฆ์ผู้สืบทอดศาสนาก็เกิดความอ่อนแอ จนในท่ีสุดประมาณพุทธศตวรรษที่ 17 พระพุทธศาสนาก็ได้เสื่อมความ ศรัทธาและสูญหายไปจากอินเดีย แต่พระพุทธศาสนาก็ยังรุ่งเรืองอยู่ในพ้ืนท่ีใกล้เคียง เช่น ประเทศศรีลังกา ประเทศเนปาล ประเทศทิเบต และประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งสมณะทูต ออกไปเผยแพรพ่ ระพทุ ธศาสนาของพระเจ้าอโศกมหาราช (อนสุ รณ์ บญุ ชัย, 2550) การเขา้ มาของพระพุทธศาสนา ในพ้ืนที่ภาคอีสานไม่สามารถระบุปีท่ีแน่ชัดได้ แต่มีนักวิชาการหลายท่านได้ต้ังข้อสันนิฐานว่าคงได้รับการเผยแพร่ใน เวลาใกล้เคียงกับพ้ืนที่อ่ืนๆ ในเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้ หลกั ฐานท่ีเป็นรปู ธรรมที่ชัดเจนท่ีสุดทท่ี ําให้ระบุการเข้ามา ของพระพุทธศาสนาคือ การค้นพบเสมาหินท่ีกระจายอยู่ท่ัวไปจํานวนมากในพื้นท่ีภาคอีสาน เป็นสัญลักษณ์ เชื่อมโยงระหว่างความเช่ือดั้งเดิมและพระพุทธศาสนา ลักษณะเป็นรูปสลักพระสถูปเจดีย์ พุทธประวัติ และ ดอกบัว อายุประมาณพุทธศตวรรษท่ี 12-16 ร่วมสมัยกับทวารดี (ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, 2546) ในช่วงปลายของสมยั ทวารวดีอิทธิพลของศาสนาพรหมณ์ก็กระจายเข้าสู่ภาคอีสานทางแหลมอินโดจีน ประมาณพุทธศตวรรษท่ี 12-18 ซึ่งปรากฏหลักฐานทางวัตถุในรูปแบบศิลปะขอม จนเมื่ออาณาจักรขอมเส่ือมอํานาจลงไป พระพุทธศาสนาก็ได้ กลับมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง โดยผสมผสานท้ังความเช่อื แบบพุทธ พราหมณ์ ผี เข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว การดําเนิน ชีวิตของคนอีสานภายใต้กิจกรรมของพระพุทธศาสนาที่ตนเองนับถือ และศรัทธามีตั้งแต่เกิด จนกระท่ังตาย จําเป็นต้องอาศัยสถานท่ีในการสืบทอดพิธีกรรม คติทางความเช่ือท่ีเก่ียวกับพระพุทธศาสนานั่นก็คือ วั ด (กุสุมา ชยั วินติ ย์, 2531) สถานท่ซี ึง่ พระสงฆใ์ ช้เปน็ ท่ีจําศีลภาวนา หรอื สถานท่ีทพ่ี ระสงฆใ์ ช้ปฏิบตั ิภารกจิ ท่ีพึงกระทาํ โดย มศี าสนาคารมากมายภายในวัดเพอ่ื สําหรบั ใชป้ ระโยชนน์ ทางพระพทุ ธศาสนา

ศาสนาคาร หรืออาคารที่ใช้ในทางศาสนาเพ่ือประกอบพิธีกรรมต่างๆ ท่ีมีชื่อเรียกเฉพาะท่ีสื่อให้ทราบถึง หน้าท่ีของอาคารนัน้ ๆ เช่น ในเขตพุทธาวาส พื้นท่ีสําหรับพระสงฆ์ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา มักประกอบดว้ ย ศาสนาคารที่สําคัญ ดังน้ี สิม (โบสถ์) วิหาร พระธาตุ (เจดีย์) สีมา และหอระฆัง เป็นต้น เขตสังฆาวาส พื้นท่ีท่ี กําหนดให้เป็นท่ีอยู่อาศัยของพระภิกษุสงฆ์ เพ่ือให้สามารถปฏิบัติภารกิจส่วนตัวในการนอนหลับ พักผ่อนท่ีไม่ เก่ียวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาโดยตรง มักประกอบด้วยศาสนาคารท่ีสําคัญ มีดังน้ี กุฏิ หอไตร หอฉัน หอแจก (ศาลาการเปรียญ) ธรรมศาลา เป็นตน้ และสดุ ท้ายในเขตธรณีสงฆ์ เปน็ พ้นื ที่ส่วนท่ีเหลือจากการจดั แบง่ เขตสําคัญ ที่นอกเหนือจากเขตพุทธาวาส และสังฆาวาส มักประกอบด้วยศาสนาคารสําหรับเอื้อประโยชน์ในเชิงสาธารณะใน ลักษณะต่างๆ ของวัด เช่น เมรุ เป็นต้น ซ่ึงจะพบว่าศาสนาคารแต่ และอาคารจะมีรูปแบบและลักษณะเฉพาะ ขึ้นอยู่กับประโยชน์ใช้สอย (กาญจนา ตันสุวรรณรัตน์, 2559) และคติความเช่ือของคนอีสาน ท่ีถ่ายทอดสืบต่อกัน มาจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหน่ึง เป็นสิ่งที่คนอีสานทุกคนยอมรับ และถูกสะท้อนออกมาในการก่อสร้าง นอกจาก ประโยชน์ใชส้ อย และคตคิ วามเชือ่ แล้วศาสนาคารอีสานก็เตม็ เป่ียมไปพร้อมซ่งึ ความงาม จึงไมน่ ่าแปลกใจที่ศาสนา คารจะถูกจัดเป็นงานพุทธศิลป์แขนงหน่ึง มีพัฒนาการรูปแบบมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยได้รับการสร้างสรรค์ จากช่างฝีมือท่ีเชี่ยวชาญผนวกกับแรงศรัทธาของคนที่นับถือ จึงเรียกได้ว่าศาสนาคารเป็นศิลปะที่มนุษย์สร้างข้ึนมี ความงามเพื่อตอบสนอง และใช้งานด้านพระพุทธศาสนาโดยแฝงไว้ด้วยปรัชญาคติความเชื่อในทางธรรมเพื่อเป็น พุทธบูชา เป็นส่วนช่วยโน้มน้าวจิตใจของคนให้เกิดความเลื่อมใส ศรัทธา และประพฤติตนตามแนวทางของพระ ธรรมคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งไม่เจาะจงว่าจะเป็นพุทธศาสนาลัทธิมหายาน หรือเถรวาท ในการสร้าง ศาสนาคารต่างๆ นั้น ล้วนแต่มีคติในการสร้าง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นิยมใช้ไตรภูมิคติ ท่ีได้รับอิทธิพลจาก ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู มาสู่พระพุทธศาสนา มีการกล่าวถึงระบบภูมิจักรวาล คือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ความเช่ือในเร่ืองบาปบุญ การเวียนว่ายตายเกิด การหลุดพ้นจากวัฏสงสารด้วยการเข้าถึงพระนิพพาน ซึ่งความเช่ือ เหลา่ น้ลี ้วนแต่เปน็ หัวใจของหลกั ธรรมทางพระพุทธศาสนา จากคตคิ วามเช่อื น้ีก่อให้เกิดการสร้างรรคท์ ่ีเก่ียวข้องกับ ศาสนาสถานเป็นส่วนใหญ่ (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, 2546) เป็นเหตุให้เกิดสัญลักษณ์มากมายขึ้นท่ีปรากฎในศาสนา คาร เช่น การใชน้ าคเพื่อเป็นสัญลกั ษณ์ของการเช่ือตอ่ ระหว่างสวรรคก์ ับโลกมนุษย์ หรอื การออกแบบฐานสมิ ให้เป็น ลักษณะตกท้องสําเภาเรือ ที่จะพามนุษย์ผู้ซึ่งปรารถนาหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ซ่ึงเปรียบด่ังท้องทะเลอันกว้างใหญ่ บวั ก็เปน็ สญั ลกั ษณอ์ ย่างหนง่ึ ท่ีปรากฏในศาสนาคาร จงึ มกั มีคาํ เรียก บัว ข้ึนตน้ หรือต่อท้าย ส่วนต่างๆ ของศาสนา คาร เช่น ฐานบัว บวั คว่ํา บัวหงาย บวั หัวเสา ยอดบัว เปน็ ตน้ จากข้อมูลข้างตน้ พบวา่ วัด ท่เี ป็นสถานทีท่ างพระพทุ ธศาสนา ใช้สําหรบั ประกอบศาสนพิธีกรรมตา่ งๆ เป็น ที่สํานักของพระสงฆ์ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธสานิกชนทุกหมู่เหล่า มีศาสนาคารมากมายที่เป็นอาคาร สําหรับใช้ประโยชน์ ซึ่งศาสนาคารต่างๆ เหล่านี้มักจะมีคติทางความเช่ือท่ีเกิดจากการยอมรับร่วมกันของกลุ่มคน ในพ้ืนที่ใช้เป็นแนวทางในการก่อสร้าง และการที่ปรากฏสัญลักษณ์ของ บัว ในส่วนต่างๆ ของศาสนาคารจึงอาจมี คติ หรือความเช่ืออย่างอื่นแฝงอยู่ บทความน้ีจึงเป็นการนําเสนอให้ทราบถึง คติสัญลักษณ์ของบัวท่ีอิทธิพลต่อ ส่วนประกอบต่างๆ ของศาสนาคารในอีสาน โดยมุ่งเน้นศึกษาความหมายลักษณะทางกายภาพของบัว ประวัติ ความเป็นมาของคติความเช่อื เร่ืองบัว และรปู แบบของบัวทปี่ รากฏในศาสนาคารอีสาน

ความหมายและลกั ษณะทางกายภาพของบวั บัว เป็นคํานาม ใชเ้ รยี กไม้นา้ํ หลายชนิด ในสกุล นิลุมโบ Nelumbo (พจนานกุ รม ฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน. 2556) เป็นไม้น้ําที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ จนได้รับฉายาว่าเป็น “ราชินีแห่งไม้น้ํา” มีถ่ินกําเนิดท่ัวทุกภูมิภาคของโลก สามารถพบได้ทั่วไปในทั้งในพ้ืนที่เขตร้อนหรือร้อนชื้น (Tropical climate zone) และเขตอบอุ่น หนาว (Temperate climate zone) ซึ่งในประเทศไทย ท่านพระธรรมนิเทศทวยหาญได้จําแนกบัวจากรากศัพท์ภาษา บาลี-สันสกฤต ที่ไทยได้รับอิทธิพลทางภาษามา โดยสามารถจําแนก 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มปทุมชาติ และ กลุ่มอุบล ชาติ (ปริมลาภ วสุวัติ ชเู กยรติมัน่ .2555) 1. กลุ่มปทุมชาติ หรือบัวหลวง มีชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษว่าโลตัส (Lotus) ถูดจัดอยู่ในวงศ์นิลุมโบ นาซิอี้ (Family Nelumbonaceae) มีลําต้นอยู่ใต้ผิวโคลนตมทั้งแบบเหง้าและไหล ขณะที่ลําต้นอ่อนนั้นจะมี ลักษณะยาวเรียว จนเม่ือโตเต็มที่จะมีลักษณะอวบ และมีข้อปล้อง ซ่ึงดอกและใบนั้นเกิดมาจากส่วนของข้อปล้องน้ี เองก่อนท่ีจะเจริญเติบโตขึ้นสู่ผิวนํ้า และเหนือน้ํา ใบมีขอบท่ีเรียบ กลมใหญ่ สีเขียวอมเทา ก้านใบและก้านดอกมี เปลือกท่ีแข็ง สีเขียวหรือน้ําตาล และตุ่มหนามเล็กๆ ดอกชูพ้นผิวนํ้ามักบานตอนประมาณเช้ามืด มีกลิ่นหอมอ่อนๆ จากฐานข้อมูลพนั ธดุ์ อกบัวดง้ั เดมิ ในประเทศไทยพบปทมุ ชาติ 4 พนั ธุ์ คอื 1.1 ปทมุ หรือ บวั แหลมแดง ดอกไม้ซ้อน กลบี ดอกมีสีชมพูเขม้ 1.2 บณุ ฑริก หรือ บัวแหลมขาว ดอกไม่ซ้อน กลบี ดอกมสี ขี าว 1.3 สตั ตบงกช หรอื บัวฉัตรแดง ดอกซ้อนมาก กลบี ดอกมีสชี มพูเขม้ 1.4 สัตตบุษย์ หรือ บัวฉัตรขาว ดอกซ้อนมาก กลีบดอกมสี ีขาว ภาพที่ 1 แสดงดอกบัวกลุ่มปทุมชาติ ที่มา : (ปริมลาภ ชเู กยรติมัน่ , 2556) 2. กลุ่มอุบลชาติ หรือบัวสาย มีชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษว่าวอเตอร์ลิลล่ี (Waterlily) ถูดจัดอยู่ในวงศ์ นิมเฟียซิอี้ (Family Nymphaeaceae) มีลักษณะสําคัญ คือ มีลําต้นอยู่ใต้โคลนตมเป็นหัวและเป็นเหงา้ ใบและดอก เกิดจากตาหรือหน่อก่อนท่ีจะเจริญเติบโตข้ึนมาที่ผิวนํ้า ก้านใบอ่อนมีเปลือกบาง เปลือกสามารถลอกออกได้ง่าย

ขอบใบไม่เรียบแผ่ลอยแตะผิวนํ้า ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน โดยสามารถแยกย่อยตามลักษณะเวลาบานของดอกได้ 2 กลมุ่ ดังน้ี 2.1 กลุ่มอุบลชาติบานกลางคืน หรือ บัวสาย ทรงดอก-กลีบดอกยาวเรียว ไม่ซ้อนกัน มักบาน ในชว่ งกลางคืน ใบแผล่ อยเสมอผิวนํ้า ขอบใบหยักไมเ่ รยี บ จําแนกได้ 4 พันธุ์ คือ 1) บวั ขม มลี กั ษณะกลีบดอกขาวสว่าง ดอกมีขนาดเล็ก 2) รตั ตุบล มลี กั ษณะกลีบดอกสีชมพแู ก่เกือบแดง 3) เสตบุ ล มลี ักษณะกลีบดอกสีขาวสวา่ ง ดอกมีขนาดใหญ่ 4) ลนิ จง มลี กั ษณะกลีบดอกสีชมพอู อ่ น ดอกมีขนาดใหญ่ 2.2 กลุ่มอุบลชาติบานกลางวัน หรือ บัวผัน-เผ่ือน ทรงดอก-กลีบดอกป้อม ไม่ซ้อนกัน ยกเว้น จงกลนี กลีบดอกซ้อนกันมาก มักบานในช่วงสายหรือตอนกลางวัน ใบแผ่ลอยเสมอผิวน้ํา ขอบใบหยักไม่เรียบ จําแนกได้ 4 พนั ธ์ุ คอื 1) บัวผัน มีลักษณะกลีบดอกทรงแหลมสีฟ้าครามและจางลงเป็นสีเม็ดมะปราง ก้าน ดอกสเี ขียวอมนํา้ ตาล หลังใบสแี ดง 2) บวั เผ่ือน มลี ักษณะกลบี ดอกทรงแหลมสีขาว แต่ไมข่ าวสวา่ งในวันท้ายๆ ดอกจะมีสี ฟา้ อมมว่ งหรอื อมชมพูเจอื กา้ นดอกสีเขยี วอมนา้ํ ตาล หลังใบสแี ดง 3) นลิ ุบล มลี ักษณะกลบี ดอกทรงแหลมสีฟา้ ครามแก่ ก้านดอกสีแดง หลงั ใบสแี ดงเขม้ 4) จงกลนี มีลกั ษณะกลบี ดอกสีชมพูออ่ น ซอ้ นกันมากไมม่ เี กสรเพศผ้แู ละเพศเมีย ภาพท่ี 2 แสดงดอกบวั กลุ่มอุบลชาตบิ านกลางคืน ทมี่ า : (ปริมลาภ ชเู กยรติม่ัน, 2556)

ภาพที่ 3 แสดงดอกบวั กลุ่มอบุ ลชาติบานกลางวนั ท่มี า : (ปริมลาภ ชูเกยรติมั่น, 2556) คติความเช่ือเรอื่ งบัว ความเชื่อเรื่องบัว เกิดข้ึนมาบนโลกต้ังแต่สมัยโบราณกาล พบหลักฐานมากมายทางประวัติศาสตร์ที่ยืนยัน ว่า บวั มีความเปน็ มาท่ีสัมพนั ธ์กับมนุษย์มาอยา่ งยาวนาน เช่น ในสมยั อยี ิปต์ ประมาณ 3,000 -4,000 ปี มีการพบ ดอกบวั แห้งในสสุ านของกษตั ริย์รามาเสส และตุตันคาเมน ลมุ่ แมน่ า้ํ ไนลม์ บี วั หลายชนดิ และบานในเวลาเชา้ และหุ่บ ในเวลาค่ํา ซ่ึงเป็นเวลาเดียวกับการข้ึนลงของพระอาทิตย์ เทพเจ้าที่ชาวอียิปต์นับถือ ส่งผลให้ศิลปะหลายแขนง ของอียิปต์ได้รับแรงบันดาจใจในการออกแบบจากส่วนต่างๆ ของบัว เช่น ภาพจิตรกรรม และหัวเสาในงาน สถาปัตยกรรม เป็นต้น (มณิสรา ปียานนท์, 2540) ไม่ว่าบัวนั้นจะมีลักษณะตูมหรือบานก็ยังก็ยังทรงความงดงามท่ี โดดเด่น วัฎจักรการเกิดของบัวก็ยังแฝงเอาไว้ซึ่งปรัชญาของชีวิตที่ลึกซ้ึง ท่ีโน้มน้าวให้มนุษย์ได้ตระหนักถึงธรรม และความดี พระครูปลัดสัมพพัฒนวิริยาจารย์ ได้ยกให้บัวเป็นดอกไม้แห่งปรัชญาและลัทธิศาสนาแห่งตะวันออก แม้แต่ในศาสนาพราหมณ์ท่ีเป็นศาสนาท่ีเก่าแก่ท่ีสุดของเอเชีย มีแหล่งกําเนิดท่ีประเทศอินเดีย โดยนับถือพระ พรหมเป็นเทพสูงสุด ซง่ึ พระพรหมมักสถิตอยเู่ หนอื ดอกบัวเสมอ จึ งมนี ามว่า กมสาสน์ แปลว่า ผู้อย่เู หนือดอกบัว เสมอ ต่อมาเม่ือเกิดลัทธิฮินดูข้ึน ชาวฮินดูมีความเชื่อว่าดอกบัวมีกําเนิดเป็น “ทิพย์” กล่าวคือ แม้ว่าดอกบวั นั้นจะ เกิดขึ้นมาจากโคลนตมใต้น้ํา แต่ก็กลับสามารถชูช่อดอกขึ้นเหนือผิวน้ําได้โดยไม่แปดเปื้อนโคลนตมเลยแม้แต่น้อย ราวกับปาฏิหาริย์ (มณิสรา ปียานนท์, 2540) เทพเจ้าที่สําคัญของศาสนาพรหมณ์-ฮินดู หลายองค์ล้วนแต่มีความ เกีย่ วข้องกับบัว โดยจะเห็นไดจ้ ากรปู เคารพที่มกั มีสญั ลักษณข์ องบวั ปรากฏให้เหน็ เป็นส่วนประกอบเสมอ เช่น พระ นารายณ์ พระพรหม และพระลักษมี เป็นต้น (คณิตา เลขกุล, 2535) ดังนั้นในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู บัว จึง เปรียบเสมอื นสญั ลักษณ์ของการกําเนิดเทพเจ้า พลังอาํ นาจ รวมไปถงึ ความอดุ มสมบูรณ์

ภาพที่ 4 แสดงรูปพระนารายณบ์ รรทมบนหลงั พญาอนันตนาคราช และให้กาํ เนิดพระพรหม ทีม่ า : (https://th.wikipedia.org/wiki/พระนารายณ์ สบื ค้นเมอ่ื วนั ที่ 27 พฤจกิ ายน 2561) การที่ในพ้ืนที่อีสานมีการค้นพบเสมาหินที่กระจายอยู่ทั่วไปในพ้ืนท่ี เป็นหลักฐานยืนยันของการ แพร่กระจายเข้ามาของพระพุทธศาสนา โดยเสมาหินที่ต้นพบ มีอายุอยู่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 12-16 สมัยกับ ทวารวดี กม็ ลี ักษณะเป็นดอกบวั และมีการสลกั เรอ่ื งราวพุทธประวตั ิ ซง่ึ ก็มีรปู ดอกบวั ปรากฏอยภู่ ายในนนั้ ด้วย ภาพท่ี 5 แสดงรปู ภาพเสมาหนิ วัดโพธชิ ยั เสมา จ.มหาสารคาม ทม่ี า : (ทม่ี า : (วิลาสนิ ี ขําพรหมราช. 2561)

ในทางพระพุทธศาสนาก็มีคติความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับบัว โดยถือว่า บัว นั้นเป็นดอกไมส้ ําหรับใช้ในการ พุทธบูชา การท่ีดอกบัวงอกงามข้ึน โดยปราศจากมลทินใดๆ จากโคลนตมอันเป็นแหล่งกําเนิด แสดงให้เห็นถึงการ ปลอดวิชา ไม่มัวหมอง และการชูช่อดอกรับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ แสดงถึงการเกิดปัญญาอันเป็นส่ิงท่ีจะนําพา ไปสู่ความดงี าม จึงกล่าวว่า ดอกบัวนั้นเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธ์ิผุดผ่องเป็นดั่งดอกไม้ประจาํ พระพุทธศาสนา ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท ดอกบัวนั้นมีความสัมพันธ์กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ต้ังแต่พระองค์ประสูติจนถึง ปรินิพพาน พระองค์ทรงมีพุทธลักษณะท่ีแตกต่างจากสามัญชน ซึ่งเรียกว่า มหาปุริสสลักณะ หมายถึง ลักษณะ ของมหาบุรุษ น่ันคือลักษณะท่ีบ่งบอกว่าคือพระพุทธเจ้า จึงมักปรากฎบัวเป็นอาสนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนลักษณะปลีกย่อยอ่ืน เรียกว่า อนุพยัญชนะ ซ่ึงเปรียบเทียบกับดอกบัว คือ พระกรรณท้ังสองข้างยาวเรียวอย่าง กลีบปทุมชาติ พระสรีระสดช่ืนเสมือนดอกปทุมชาติ และประโอษฐ์หอมฟุ้งเหมือนกล่ินดอกอุบล จึงอาจกล่าวได้วา่ บัว เป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาอยา่ งหนงึ่ ท่ีสาํ คัญ เป็นเสมือนสัญลักษณ์ท่ีเป็นตัวแทนขององค์พระสมั มาสัม พุทธเจ้า (มณิสรา ปยี านนท์, 2540) ภาพที่ 6 แสดงรูปภาพพระสัมมาสัมพุทธเจา้ ประสูติ ที่มา : (https://siamrath.co.th/n/15105 สืบค้นเมอื่ วนั ที่ 27 พฤจิกายน 2561) ในมิลิทปัญหาพระนาคเสนได้เปรียบบัวกับพระสงฆ์เอาไว้หลายนัยยะ เช่น พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรม เมื่อ สามารถตัดความยินดีในชาติตระกูล ลาภ ยศ คําสรรเสริญเยินยอ ก็จะไม่มีอารมณ์ติดอยู่ในกิเลส ดุจดั่งดอกบัว ท่ี เกิดจากนํ้าแต่ไม่อาจติดนํ้า ครั้งหน่ึงในสมัยพุทธกาลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีความท้อแท้พระทัยที่จะสั่งสอน เวไนยสัตว์ ด้วยธรรมท่ีพระองค์ทรงตรัสรู้นั้นมีความลึกซ้ึงยากท่ีมนุษย์ผู้ซึ่งยังมีความยินดีในกามคุณ จะหย่ังรู้ตาม พระองค์ได้ เม่ือพระองค์ทรงพิจารณาดูลักษณะของนิสัยของเหล่าเวไนยสัตว์ก็ทราบว่า คนท่ีมีกิเลสเบาบาง อาจรู้ ตามพระองค์ได้ พระองค์ทรงเปรียบสติปัญญาของคนเหล่าน้ีเสมือนดอกบัวแบ่งออกเป็น 4 เหล่าตามลักษณะนิสัย (ออ้ มใจ วงษ์มณฑา, 2552) ได้แก่ อุคฆฏิตัญญู ผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เม่ือได้ฟังธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงคร้ังเดียวก็สามารถรู้ และเข้าใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว เสมือนดอกบัวท่ีชูพ้นเหนือผิวนํ้ายามเมื่อพระอาทิตย์สาดแสงลงมากระทบที่ดอกก็ เบ่งบานได้ทันที

วิปัจจิตัญญู บุคคลท่ีมีสติปัญญาระดับปานกลาง เม่ือได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและศึกษา ค้นคว้าเพิม่ เตมิ ดว้ ยตนเอง ก็จะสามารถรบั รู้และเขา้ ใจได้เสมอื นดอกบัวทกี่ าํ ลงั จะบานในอีกไม่นาน เนยยะ บุคคลท่ีมีสติน้อยเม่ือได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และศึกษาค้นคว้าเพ่ิมเติม พร้อมท้ัง ฝึกฝนด้วยความเพียรมานะของตนเองอยู่เสมอ ในที่สุดก็จะสามารถรู้และเข้าใจได้สกั วนั ขา้ งหน้า เสมือนดอกบัวทจ่ี ะ คอ่ ยๆ โผลข่ ึ้นมาเบง่ บานได้ในวันใดวันหนึ่ง ปทปรมะ บุคคลซึ้งไร้สติปัญญาแม้ได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคร้ังแล้วคร้ังเล่า ก็ไม่มีวันท่ีรับรู้ หรือเข้าใจได้ เพราะขาดความเพียรพยายามที่จะศึกษาค้นคว้าเพ่ิมเติมเพื่อทําความเข้าใจ เสมือนดอกบัวท่ีอยู่ใต้ โคลนตม ทจ่ี ะตอ้ งตกเปน็ อาหารของเตา่ ปลาในทส่ี ุด ไม่มวี ันทจ่ี ะโผลพ่ ้นน้าํ เพ่อื เบ่งบานได้ รูปแบบบัวในศาสนาคารอีสาน จากคติความเชื่อในเร่ืองบัว ที่มีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนา นําไปสู่การใช้รูปแบบรูปของบัว มา ประยุกต์ใช้ในการออกแบบงานพุทธศิลป์หลากหลายแขนง ไม่ว่าจะเป็นประติมากรรม จิตรกรรม โดยเฉพาะ สถาปัตยกรรม คติความเชื่อดังกล่าวน้ี ล้วนเกิดจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและหลักธรรมคํา สอนของพระองค์ จึงส่งผลให้คติความเช่ือเรื่องบัวมีอิทธิพลต่อสังคมคนอีสาน และช่างในการสร้างสรรคศ์ าสนาคาร ต่างๆ ให้สามารถถ่ายทอดรูปแบบของ บัว ท่ีแฝงเอาไว้ซ่ึงแก่นธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นลักษณะ นามธรรมให้ปรากฏเป็นรูปธรรม เป็นธรรมมะท่ีเห็นได้ด้วยตามีท้ังท่ีเป็นรูปแบบที่เหมือนดอกบัวจริง และรูปแบบท่ี ลดทอนรูปร่างเหลือเพียงส่วนโค้ง ที่เรียกว่า ลวดบัว มาสร้าง และใช้ประดับตกแต่งบนศาสนาคารต่างๆ (โชติ กลั ยาณมิตร, 2539) โดยสามารถแบ่งศาสนาคารแตล่ ะอาคารออกเป็น 3 สว่ น คือสว่ นฐาน สว่ นกลาง และส่วนบน ภาพที่ 7 แสดงรปู ภาพการแบ่งสว่ นศาสนาคารประเภทพระธาตุ และสมิ อีสาน ทม่ี า : (วลิ าสินี ขําพรหมราช, 2561) ส่วนฐาน เป็นส่วนท่ีอยู่บริเวณด้านล่างสุดของศาสนาคาร ซึ่งก็ปรากฏรูปแบบของบัวท่ีนํามาใช้ในการ ออกแบบและก่อสร้างอยูด่ ว้ ย ตวั อยา่ งเช่น ฐานของสมิ และฐานของพระธาตุ

รูปแบบของฐานสิมอีสานในแต่ละวัดของภาคอีสานมีลักษณะที่แตกต่างกันข้ึนอยู่กับอิทธิพลเชงิ ช่างท่ีไดร้ บั โดยช่างผู้ก่อสรา้ งจะนําลักษณะของบัวมาใช้ในการออกแบบ โดยเลือกใช้เฉพาะเส้นรอบรูปส่วนโคง้ ของดอกบัวมาใช้ เทา่ น้ัน เป็นการออกแบบท่ีอาศัยการลดทอนรปู ร่าง ลกั ษณะส่วนโค้งทีเ่ กดิ ขน้ึ จงึ เกิดจากสุนทรียภาพและรสนิยมของ ช่างผู้สร้างเป็นคนกําหนด ถึงแม้ว่าจะมีการลดทอนรูปร่างไปมากเท่าใดแล้วก็ยังนิยมเรียกช่ือบัวข้ึนต้นอยู่ เช่น บัว ควา่ํ บวั หงาย เป็นต้น ภาพที่ 8 แสดงรูปตัวอย่างฐานสิมอสี าน ทม่ี า : (วลิ าสนิ ี ขําพรหมราช, 2561) ภาพท่ี 9 แสดงลายเสน้ ช่ือเรียกบัวสว่ นประกอบของฐานสมิ วัดสนวนนารีพฒั นาราม จ.ขอนแกน่ ท่ีมา : (วลิ าสนิ ี ขําพรหมราช, 2561)

ภาพท่ี 10 แสดงลายเสน้ ช่ือเรยี กบวั สว่ นประกอบของฐานสมิ วันบงึ จ.นครราชสมี า ทม่ี า : (วลิ าสินี ขําพรหมราช, 2561) ส่วนฐานของพระธาตุอีสาน มีลักษณะเป็นฐานสี่เหล่ียมจัตุรัสดุจด่ังอิทธิบาทสี่แล้วลบมุมสอบข้ึนไปท้ังส่ี ด้านในลกั ษณะบัวควํา่ บวั หงาย (วิโรฒ ศรีสโุ ร, 2539) กม็ ีสัญลักษณ์ของบวั ปรากฎอย่ดู ว้ ย โดยเรยี กลักษณะรูปแบบ ดังกลา่ ว วา่ บัวค่ํา บวั หงาย เปน็ ตน้ โดยสามารถแบ่งกลุม่ ฐานพระธาตอุ สี าน ออกเปน็ 3 กลุ่ม ดังน้ี 1. กลุ่มฐานเต้ีย ได้แก่ พระธาตุขามแก่น จ.ขอนแก่น พระธาตุวัดหน้าพระธาตุ จ.นครราชสีมา พระธาตุศรี สองรกั จ.เลย 2. กลุ่มฐานสูง ได้แก่ พระธาตุพนม จ.นครพนม พระธาตเุ รณู จ.นครพนม พระธาตุเชงิ ชุม จ.สกลนคร 3. กลมุ่ ฐานเอวคอดกว่ิ ไดแ้ ก่ พระธาตวุ ัดมหาธาตุ จ.ยโสธร พระธาตุก่องข้าวนอ้ ย จ.ยโสธร ภาพท่ี 11 แสดงรูปตวั อย่างฐานพระธาตุอสี าน ท่ีมา : (http://dmiceplanner.businesseventsthailand.com/ 1517677 สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤจกิ ายน 2561)

รูปแบบของสัญลักษณ์บัวท่ีปรากฏในศาสนาคารอีสานในส่วนของฐานนั้น เป็นลักษณะของการลดทอน รูปทรงให้เหลือเฉพาะส่วนโค้งของกลีบบัวเรียงซ้อนกันไปมาในลักษณะ บัวควํ่า บัวหงาย ถึงแม้ว่า ฐานศาสนา คารบางรปู แบบจะมกี ารลดทอนจนปราศจากส่วนโคง้ เหลอื เพยี งเส้นเฉยี งลาดเอยี งก็ยังนิยมเรียกว่า ฐานบวั อยู่เสมอ ส่วนกลาง เป็นส่วนที่อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างส่วนบานและส่วนยอด ซึ่งก็ปรากฏรูปแบบของบัวท่ี นํามาใช้ในการออกแบบตกแต่งและก่อสร้างอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น ปูนปั้นประดับพระธาตุ หัวเสาของสิม หอแจก และฮปู แตม้ ท่อี ยู่ภายในสิม เป็นต้น โดยสิม หรือ หอแจก ทม่ี กั จะมหี ัวเสาท่ีมีลักษณะของรูปแบบบัวนั้น สว่ นใหญ่จะ เป็นเสาที่ทําด้วยปูน สันนิฐานว่านําแรงบันดาลใจมาจากดอกบัวจงกลนี ท่ีมีลักษณะกลีบดอกยาวเรียวซ้อนกันหลาย กลีบและไมม่ ีเกสรเพศผู้ และเพศเมีย ซึ่งมที ้งั แบบที่เป็นเสากลม เสาแปดส่ีเหลีย่ ม และเสาแปดเหลี่ยม สว่ นเสาท่ีทํา ด้วยไมม้ ักไม่ปรากฏการแกะหวั เสาใหเ้ ปน็ ลักษณะรปู แบบบวั ภาพที่ 12 แสดงภาพเสาบัว วดั บึง จ.นครราชสีมา ทมี่ า : (วลิ าสินี ขําพรหมราช, 2561) ฮูปแต้มสิมอีสานนั้น มีรูปแบบและกระบวนการจัดองค์ประกอบท่ีไม่เป็นแบบแผน ไม่ตายตัว ช่างแต้มมี อิสระในการวางรูปแบบการเลา่ เรอื่ งตามเทคนิคและสนุ ทรียภาพของตนเอง มที ั้งฮปู แตม้ ที่อยู่ภายนอกสิมและภายใน สมิ สว่ นมากมักใชร้ ปู บวั เม่ือตอ้ งการเล่าเรอื่ งท่มี คี วามเก่ียวขอ้ งกับพระสมั มาสมั พทุ ธเจ้า เช่น ในตอนทีป่ ระสมั มาสัม พทุ ธเจา้ ประสูติ ตรัสรู และ ปรนิ ิพาน โดยเป็นภาพท่ีพระองค์ทรงพระทบั บนดอกบัวแทบทง้ั สิ้น ซึง่ ช่างแต้มในงานฮู ปแต้มอีสาน อาจจําแนกตามลักษณะงานออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มช่างพ้ืนบ้านแท้ กลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากช่าง หลวงกรงุ เทพฯ และกลมุ่ ท่ไี ด้รับอิทธิพลวฒั นธรรมผสมลา้ นช้าง–กรุงเทพฯ (ไพโรจน์ สโมสร, 2532)

ภาพท่ี 13 แสดงฮปู แตม้ วดั โพธ์ิคํา จ.นครพนม ที่มา : (http://cac.kku.ac.th/esanart/paint.html สบื ค้นเมอ่ื วันที่ วันท่ี 20 ตลุ าคม 2561) ส่วนยอด เป็นส่วนท่ีอยู่บริเวณบนสุดของศาสนาคาร ซ่ึงส่วนยอดนับเป็นส่วนที่สําคัญท่ีสุดและสร้างภาพ จําแก่ผู้พบเห็นได้ดีในพ้ืนท่ีภาคอีสานเราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า รูปแบบของศาสนาคารโดยเฉพาะพระธาตุล้วนแต่ได้รับ อทิ ธิพลทางศลิ ปะมาจากลา้ นช้าง โดยปรากฏสญั ลกั ษณร์ ูปบัวบริเวณยอดขององค์พระธาตุในลักษณะเปน็ ดอกบัวตูม ท่ีเรียกว่า ทรงบัวเหลี่ยม ถือเป็นรูปแบบท่ีเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของศิลปะในอีสาน เป็นเสมือนสิ่งท่ีแสดงให้เห็น ถงึ ความบรสิ ุทธิ์ท่กี ําลังจะเบ่งบานในสถานทแ่ี ห่งน้ี ภาพท่ี 14 แสดงยอดพระธาตทุ รงบัวเหล่ยี ม พระธาตวุ ดั หน้าพระธาตุ จ.นครราชสมี า ที่มา : ท่ีมา : (วิลาสินี ขําพรหมราช, 2561)

สรปุ จากการศึกษาพบว่า คติความเช่ือที่เกี่ยวกับ บัว มีอิทธิพลอย่างมากต่อศาสนาคารอีสาน เพราะปรากฏ สัญลักษณ์รูป บัว แทบจะทกุ สว่ นของศาสนาคารสะท้อนให้เห็นการแพรก่ ระจายของคติความเช่อื เรอ่ื งบวั ทฝ่ี ังรากลึก มาอย่างยาวนานต้ังแต่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซ่ึงเป็นศาสนาที่เก่าแก่ของโลกจนมาสู่พระพุทธศาสนาที่ถือกําเนิดข้ึน ณ ประเทศอินเดีย ทั้งนี้คติความเชื่อเร่ืองราวเก่ียวกับ บัว ท้ังในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู หรือในพระพุทธศาสนาเอง ต่างก็มีคติท่ีมีความสอดคล้องกัน คือ บัวเป็นของสูงมีความศกั ดิ์สทิ ธิ์ แต่มีข้อแตกต่างกันตรงที่ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เน้นให้ความหมายของบัวว่าเป็นที่กําเนิดของเทพเจ้าที่เกิดมาเพื่ออุปถัมภ์โลก ส่วนในพระพุทธศาสนาเน้นให้ ความหมายของ บัวว่าเป็นสัญญาณหรือนิมิตให้ทราบถึงจํานวนของที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกัปหน่ึงๆ ดังนั้น ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า และเม่ือพระพุทธศาสนาได้แพร่ไปยังดินแดนประเทศต่างๆ คติความเช่ือที่ มีต่อบัว ก็แพร่กระจายตามไปด้วย เช่นเดียวกับในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในพื้นท่ีอีสานที่ยึดถือเอา พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของตนเอง ถึงแม้จะมาการผสมผสานความเชื่อเรื่องผี ซ่ึงเป็นความเชื่อด้ังเดิมของ ตนเอง กับพระพุทธศาสนาที่เพ่ิงเข้ามาใหม่ บัวก็ยังมีบทบาทต่อคติความคิดของคนอีสานอยู่อย่างแนบแน่น เพราะ บัว กับพระพุทธศาสนาเองก็ก็มีความเก่ียวเน่ืองกันอย่างลึกซึ้ง เป็นสัญลักษณ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สัญลักษณ์ ของความดีงาม ความบริสุทธ์ิ ผุดผ่อง ปัญญา และการหลุดพ้นจากวัฎสงสาร คติความเช่ือดังกล่าว ได้ก่อให้เกิด รูปแบบงานทางศาสนาคารมากมาย ที่ได้จากจินตนาการ คติ ความเช่ือ ที่เป็นนามธรรมให้สามารถออกมาเป็น รปู ธรรม โดยมบี วั เป็นองคป์ ระกอบในรปู แบบของศาสนาคารนนั้ ๆ ดังน้ันการท่ีศาสนาคาอีสานต่างๆ ภายในวัด มีสัญลักษณ์รูป บัว ปรากฎอยู่ไม่ได้มีแนวคิดจากความงามใน ธรรมชาติ แต่เกดิ จากคติความเชือ่ ในการสรา้ งเพื่อแสดงให้ผู้ท่ีพบเหน็ ไมว่ า่ จะเป็นพระสงฆ์ หรอื พุทธศาสนิกชน ต่าง ระลึกว่า ศาสนาคารต่างๆเหลา่ นี้ เป็นสถานท่ีอันบริสุทธ์ิ ผุดผ่อง ไร้ซึ่งมลทินใดๆ เช่นเดียวกับการกําเนิดของดอกบัว แม้จะเกิดจากโคลนตมแต่ก็ชูช่อดอกขึ้นได้โดยปราศจากโคลนตม เป็นสถานที่แห่งปัญญาที่เกิดจากหลักธรรมของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หากมีสติ มีความเพียร ก็จะสามารถฟังธรรมเหล่าน้ันและเบ่งบานรับแสงอาทิตย์ได้ เช่นเดียวกับดอกบัวท่ีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เปรียบดอกบัวเอาไว้กับเวไนยสัตว์ และเป็นสัญลักษณ์ให้ระลึกนึกถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกถึงหลักธรรมที่พระพุทธองค์สอน เพ่ือให้สามารถเข้าใจ รู้แจ้ง จนนําไปสู่การนิพพานใน ที่สดุ

เอกสารอา้ งอิง กาญจนา ตนั สวุ รรณรตั น์. (2559). สถาปัตยกรรมพนื้ ถนิ่ โคราช. นครราชสมี า : คณะวิศวกรรมศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคลอสี าน. กุสมุ า ชัยวนิ ติ ย์. (2531). ศาสนาชาวบ้านในวรรณกรรมนิทานพ้ืนบา้ นอีสาน. ปริญญานิพนธ์ ศศม. มหาสารคาม : มหาวทิ ยาลยั ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคม. คณติ า เลขะกลุ . (2539). บวั ราชินีแห่งไมน้ า้ํ . กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพมิ พ์. ปริมลาภ วสุวัติ ชเู กยรติมัน่ . (2555) การจาํ แนกจาํ พวกของบัวที่ปลกู เลี้ยงในประเทศไทย. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ 57,3 (มิถุนายน-กนั ยายน) ไพโรจน์ สโมสร. (2532). จิตรกรรมฝาผนงั อีสาน. กรงุ เทพฯ : อัมรินทรพ์ ร้นิ ต้งิ กรุ๊ฟ. ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานกรมฉบับราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกยี รตีพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หวั เนอื่ งในโอกาสพระราชพธิ ีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน. ร่งุ โรจน์ ภริ มย์อนุกูล. (2546). วิวฒั นาการและปฏมิ านวทิ ยาจิตรกรรมโลกสณั ฐานเบือ้ งหลงั พระประธาน. วารสาร เมอื งโบราณ 29, 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) สุจติ ต์ วงษเ์ ทศ. (2543). เบงิ่ สังคมและวัฒนธรรมอีสาน. กรงุ เทพฯ : มตชิ น. สวุ ทิ ย์ ธีรศาศวัต. (2557). ประวัติศาสตรอ์ สี าน 2322-2488. ขอนแก่น : คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น สาํ นักงานคณะกรรมการและการพัฒนาเศรษฐกจิ ละสงั คมแห่งชาต.ิ (2561). แผนพฒั นาภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ ในชว่ งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบบั ที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรงุ เทพฯ . ศรีศักดิ์ วลั ลิโภดม. (2546). แอง่ อารยธรรมอีสาน : แฉหลกั ฐานโบราณคดี พลิกโฉมหนา้ ประวัติศาสตร์ไทย. กรงุ เทพฯ : มตชิ น. อนุสรณ์ บญุ ชยั . (2550). พุทธสถานอุทยานการเรยี นร้พู ระพุทธศาสนาแห่งภาคอีสาน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ศิลปากร. อ้อมใจ วงษ์มณฑา. (2553). ปจั จัยสง่ ผลตอ่ จติ สาธารณะของนกั ศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบนั วัฒนธรรมศกึ ษากลั ยาณิวฒั นา (ปริญญานิพนธว์ ิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวทิ ยาลยั สงขลานครนิ ทร,์ วทิ ยาเขตปัตตานี.


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook