Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ฟ้อนนางแก้วและฟ้อนพระลักพระลามในหลวงพระบาง

ฟ้อนนางแก้วและฟ้อนพระลักพระลามในหลวงพระบาง

Published by kanikl, 2020-07-14 02:52:59

Description: บทความ: ฟ้อนนางแก้วและฟ้อนพระลักพระลามในหลวงพระบาง

Keywords: ฟ้อนนางแก้ว,หลวงพระบาง

Search

Read the Text Version

ฟอ้ นนางแกว้ และฟอ้ นพระลักพระลามในหลวงพระบาง นางสาวกฤติกา ธรรมวเิ ศษ บทนา “เมืองหลวงพระบาง” เมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรม มอี ัตลักษณ์ของท้องถนิ่ หลวงพระบางที่ได้ถูก ยกระดบั เป็น “มรดกทางวัฒนธรรมของโลก” ได้เกดิ ข้นึ จากความสัมพันธภาพของการดารงอย่ขู องผู้คนกบั พนื้ ท่ีกายภาพอันเป็นท่ีต้ังของเมืองอันมลี ักษณะเฉพาะตัว คือถกู แวดลอ้ มไปดว้ ยภูเขาสลับซบั ซอ้ นและถูกากบั ขอบเขตเส้นทางการไหลของแมน่ า้ โขง สายน้าคาน และสายนา้ ดง สง่ ผลใหพ้ น้ื ท่ีกลายเป็นดนิ แดนทเ่ี หมาะแก่ การต้ังถ่นิ ฐานของมนุษย์ เมืองหลวงพระบางซึ่งเปน็ เมืองราชธานแี หง่ อาณาจักรลา้ นช้างในอดตี ท่ีมคี วาม เจรญิ รุง่ เรือง จึงทาใหพ้ บโบราณสถาน สถาปัตยกรรมและศลิ ปวฒั นธรรมแบบด้ังเดิมหรือทเ่ี รยี กว่า แบบราช สานกั นอกจากศิลปะวัฒนธรรมแขนงต่างๆแล้ว ยังพบการแสดงท่ีมีรากเดิมมาจากราชสานัก คอื ฟ้อนนาง แก้วและฟอ้ นพระลักพระลาม ซง่ึ ในปจั จบุ นั ยงั พบว่ามกี ารแสดงอยูท่ ี่โรงละครพระลักพระลาม เมอื งหลวงพระ บาง เน้ือหาสาระ การแสดงฟ้อนพระลักพระลามและฟ้อนนางแก้วเป็นการแสดงที่มาจากราชสานัก ในประวัติศาสตร์ ลาวปรากฏหลักฐานท่ีเกี่ยวกับดนตรีและการแสดงจากราชสานักคร้ังแรกในสมัยพรเจ้าฟ้างุ้มมหาราช ตั้งแต่ ครง้ั ได้รบั พระราชทานวงดนตรีและการแสดงจากราชสานักกัมพูชาและหลังจากนั้นได้ปรากฏข้อมูลที่เปรียบเส มนื เปน็ สะพานเชือ่ มโยงการดนตรีและการแสดงในราชสานักของลาวระหวา่ งอดีตจนถึงปจั จุบนั ต้ังแต่ปีคริสต์ศักราช 1838 (พ.ศ. 2381) เป็นต้นมา จนกระท่ังถึงปีคริสต์ศักราช 1975 (พ.ศ.2518) ซ่ึงเป็นปีสุดท้ายก่อนท่ีประเทศลาวจะมีการเปล่ียนแปลงการปกครองครั้งใหญ่ มาเป็นระบบสังคมนิยมและ สงั คมประชาธิปไตย ช่วงรยะเวลาดังกล่าว มีเจ้ามหาชวี ิตปกครองทั้งส้ิน 6 พระองค์ ต้ังแต่สมัยของพระเจ้าสุก เสริมจนถึงเจ้ามหาชีวติ ศรสี วา่ งวฒั นา ชว่ งระยะเวลาดังกลา่ วเปน็ ระยเวลาถึง 137 ปี มีหลักฐานที่แสดงให้เห็น ถึงความเจริญรุ่งเรืองด้านการดนตรีและการแสดงอย่างชัดเจน ข้อมูลจากช่วงระยเวลาดังกลา่ ว เกิดจากการท่ี ชาวยุโรปได้เริ่มเดินทางเข้ามาในประเทศลาวเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับศักยภาพด้านเทคโนโลยีการถ่ายภาพท่ีมี สว่ นช่วยเป็นอยา่ งยิง่ ในการบันทึกเรือ่ งราวให้ปรากฏอย่างเปน็ รูปธรรม (เฉลมิ ศกั ดิ์ พกุลศรี, 2551) ในรัชสมัยขแงพระเจ้าสุกเสริมในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1838 – 1852 (พ.ศ. 2381 – 2395) ได้เริ่มมี การแสดงโขนในราชสานักลาวเป็นครั้งแรก (Patrik Gay, 1998) การรับเอารูปแบบการแสดงโขนมาเผยแพร่ ในราชสานักก่อให้เกิดการพัฒนาด้านการดนตรีและการแสดงที่ย่ิงใหญ่ ทั้งในรูปแบบของวงดนตรีที่ใช้ ประกอบการบรรเลงและบทเพลงที่ใช้ในการประกอบการแสดง เช่น เพลงหน้าพาทย์ที่ใช้ประกอบกิริยาของ ตัวแสดง เป็นต้น

หลังจากรัชสมัยของพระเจ้าสุกเสริม การดนตรีและโขนละคร ยังคงได้รับการส่งเสริมพัฒนาด้วยดี อยา่ งต่อเนื่อง จนถึงสมัยเจา้ มหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ค.ศ. 1904 – 1959 (พ.ศ. 2447 – 2502) ยังได้รบั การดูแล ส่งเสริมเป็นอย่างดี ถึงแม้ประเทศลาวยังอยู่ในฐานเมืองขึ้นของฝรั่งเศส แต่ก็ไม่ได้มีแนวคิดในการที่จะเป็น ปฏิปกั ษ์ต่อการดนตรแี ละการแสดงในราชสานัก ซ่ึงการแสดงฟ้อนพระลัก พระลาม การละครฟ้อนราต่างๆยัง หาดูไดต้ ามเมอื งต่างๆ เช่น หลวงพระบาง เวยี งจันทน์ ในปัจจุบันยังพบการแสดงฟ้อนนางแก้วและฟ้อนพระลักพระลามพบในโรงละครพระลักพระลามท่ี หลวงพระบาง รปู แบบการแสดงฟ้อนพระลกั พระลาม ทโี่ รงละครพระลัก พระลาม ในหลวงพระบาง มีดังนี้ 1. เร่ิมด้วยการแสดงเบกิ โรง 2. การแสดงฟอ้ นพระลกั พระลาม 3. ฟ้อนนางแกว้ ปดิ ทา้ ยการแสดง 1. เร่ิมดว้ ยการแสดงเบิกโรง “เบกิ โรง” สันนิษฐานว่ามาจากคาวา่ ปูระวรงั คะ ของละครสันสกฤต คอื การเล่นโหมโรงก่อนการแสดง เพ่ือเป็นการเรียกคนดูให้ทราบว่าเวลาน้ีมหรสพเร่ิมแสดงแล้ว จะได้รีบมาดู กัน เป็นการแสดงชุดสั้นๆ ไม่มีเรื่องราวเก่ียวกับการแสดง ปัจจุบันได้มีผู้แต่งบทสาหรับแสดงเป็นตอนสั้นๆ เนื้อเรื่องเปน็ สิริมงคล เรียกว่าการแสดงชุดเบิกโรง การแสดงเบิกโรง ก่อนการแสดงฟ้อนพระลัก พระลาม ในหลวงพระบางที่นิยมนามาแสดง คือ ฟ้อน ดวงจาปาและฟ้อนลาวแพน ฟ้อนดวงจาปาเป็นการแสดงทม่ี าจากการฟอ้ นถวายเจา้ ชีวติ หลังจากช่วงเปล่ยี น การปกครอง (ค.ศ. 1975) การแสดงจากที่เคยแสดงมนราชสานักและฟ้อนถวายให้กับเจ้ามหาชีวิต การแสดง ฟอ้ นดวงจาปาก็ได้มีการเปล่ียนแปลงไป วถิ ีของการแสดงสามารถนาแสดงในงานบุญประเพณี เช่น บญุ ปใี หม่ บุญสงกรานต์ และที่มาของการแสดงชุดนี้ว่า ฟ้อนดวงจาปา เน่ืองจากดอกจาปาเป็นดอกไม้ประจาชาติลาว (แสงวนั ตันดารา. 2561. 23 พฤศจกิ ายน) ภาพท่ี 1 นกั แสดงฟ้อนดวงจาปา ภาพที่ 2 การแสดงเบิกโรง ชุด ฟ้อนดวงจาปา

นอกจากการแสดงเบิกโรงชุดฟ้อนดวงจาปาแล้วก็ยังมีการแสดงฟ้อนลาวแพนอีกหนึ่งการแสดงท่ี ไดร้ บั ความนิยมและถือวา่ เป็นการแสดงท่บี ง่ บอกถงึ ความเปน็ เอกลักษณ์ของหลวงพระบาง 2.การแสดงฟ้อนพระลัก พระลาม เล่นเป็นตอนๆ มีทั้งหมด 9 ตอน คือ 1) 2) ทดสะกันลักนางสี ดา 3) เสนาตามหานางสีดา 4) หะนุมานถวายแหวน 5) ข้ามไปเมืองพิไรลงกา 6) หะนุมานลักกล่องดวงใจ ทดสะกนั 7) แห่นางสีดากลบั หาพระลกั พระลาม 8) นางสดี าลุยไฟ 9) การกลบั มาของพระลามสู่นคร ตวั ละคร : พระลัก พรลาม นางสดี า หนมุ าน ทดสะกัน ฤาษมี นุ ี เนือ้ เรื่องยอ่ ตอนที่ 6 หะนุมานลักกล่องดวงใจทดสะกนั ทดสะกันเจ้าแหง่ เมืองลง ได้นากล่องดวงใจไปฝากไว้กับฤาษมี ุนี จึงทาใหไ้ ม่มีผูใ้ ดฆ่าทดสะกนั ใหต้ าย ได้ ดังนั้นพระลามจึงสั่งให้หนุมานไปลักเอากล่องดวงใจมาจากฤาษีมุนี เมื่อทดสะกันได้รู้จึงทาให้ทดสะกันโกรธ แค้น จึงเกดิ การต่อสู้กันระหวา่ งพระลามกบั ทดสะกัน (เพ้ย คามะประดดิ .2561, 24 พฤศจกิ ายน) ภาพท่ี 3 การต่อสู้ระหว่างพระลามกบั ทดสะกนั 3. ฟ้อนนางแกว้ ปดิ ทา้ ยการแสดง การเปลยี่ นผ่านฟ้อนบชู าผี สกู่ ารฟ้อนนางแก้วและการแสดงพระลักพระลาม ธุลุงมะนี ขัตติยราช กับ ท่านสายเพ็ด คาพาสิด อธิบายว่า การฟ้อนเป็นส่วนประกอบ สาคัญในพิธีกรรมขึ้นฟ้าข้ึนแถง ในอดีตจะมีการ “ฟ้อนถวายผี” ของบรรดาสตรีผู้เป็นบริวารผีแถง ฟ้อนเพ่ือ บูชาดอกไม้ และถวายเครื่องเซ่นสังเวย ประกอบด้วยเน้ือสัตว์ เป็ด ไก่ แล้วแต่ผีแถงจะแจ้งผ่านร่างทรงว่า ต้องการสงิ่ ใด เรยี กวา่ “การฟ้อนขน้ึ ฟา้ ขึ้นแถง” หลังจากนางแก้วกัลยาได้สนับสนุนให้มีการสร้างวัดปาสมันต์ พระนางได้รับส่ังให้มีการฟ้อน เพ่ือเฉลิมฉลองวัด พระนางได้นาเอาการฟ้อนบูชาผีแถงมาจัดรูปแบบใหม่ ท้ังเคร่ืองแต่งกายและลักษณะการ ฟ้อนราผสานกับเคร่ืองดนตรีท่ีนามาจากเมืองพระนคร และนาเอาการแสดงพระลัก พระลามมาร่วมแสดง เฉลิมฉลองวดั ปาสมนั ตด์ ้วย ดังน้ัน การฟ้อนและการแสดง จึงดาเนินไปเพื่อการบูชาส่ิงศักด์ิสิทธิ์ หาใช่เพ่ือความบันเทิง ดังปัจจุบัน ด้วยการท่ีพระนางแก้วกัลยาเป็นผู้บุกเบิกการฟ้อนในราชธานีเชียงทองคนเชียงทองจึงเรียกว่า “การเล่นนางแก้ว” หมายถึง การฟ้อนนางแก้ว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี และเป็นเอกลักษณ์ด้าน ศิลปะการแสดงของราชธานีเชียงทองท่ีสัมพันธ์กับความศักดิ์สิทธิ์และพิธีกรรมแห่งพุทธศาสนา (ศุภชัย สิงห์ ยะบุศย์. 2553)

ฟ้อนนางแก้ว มีการคัดเลือกนักแสดง ท่ีถูกฝึกหัดมาเป็นอย่างดี เริ่มมีการฝึกหัดต้ังแต่อายุ 10 ปี ฝึกฝนจนเกิดความชานาญ ในการแสดงฟ้อนนางแก้ว มีจานวนนักแสดง 21 คน มีท่าราท้ังหมด 17 กระบวนท่า คอื 1) ทา่ เทพอปั สอนฟ้อนย้อนลงมา 2) เทพพะนม 3) ทา่ ปะถม 4) ทา่ พมสี่หนา้ 5) ทา่ ทัดมาลา 6) ทา่ พดิ สะไหมเรียงหมอน 7) กนิ นรลี งสวน 8) มงั เลยี บถ้า 9) ชา้ งประสานงา 10) สิงโตอวดกาย 11) นางยางผ่นกายา 12) สอดสอ้ ยมาลา 13) สดี าเดินดง 14) บงั กายา 15) ลาเพื่อนมดิ 16) จดิ สะ 17) หัวลีลา (เพ้ย คามะประดิด.2561, 24 พฤศจกิ ายน) จากการกระบวนท่าฟ้อนางแก้ว แบบฉบับหลวงพระบาง มีบางท่าท่ีมีความเหมือนกับท่าแม่บทใน นาฏศิลป์ไทย ราแม่บท เป็นการรวบรวมท่าราในเพลงช้า เพลงเร็ว ซ่ึงเป็นแม่แบบของการฝึกหัดมาเรยี งร้อย ให้เป็นกระบวน โดยการตง้ั ชื่อทา่ รา และผูกเป็นบทกลอน นับเป็นข้ันตอนที่ตอ่ จากการเรียนเพลงชา้ เพลงเร็ว เพ่ือให้ผู้เขียนมีความคล่องแคล่วชานิชานาญ นอกจากใช้เป็นแบบฝึกหัดแล้ว เขามักจัดให้ละครตัวเอก เช่น ตวั นายโรง และตัวนาง คือ พระหน่ึง นางหนึ่ง ของคณะละครโรงนั้น ๆ ออกมาราอวดให้ดเู ป็นแบบฉบับ เพ่ือ ดูว่าศิลปินคนใดในคณะใดจะแสดงท่ารานั้น ๆ ได้ถูกต้องสวยงาม และถูกต้องตามแบบแผน ต ลอดจน ความสามารถเช่ือมท่าจากท่าหน่ึงไปสู่ทาหนึ่งได้อย่างละเมียดละไมกลมกล่อม ตัวละครผู้ใดราแม่บทน้ีได้ดี ก็ ยกย่องกันว่าเป็นศิลปินผู้มีฝีมือเอก ท่าราแม่บทน้ีมีบทร้องอยู่ 2 อย่าง บทร้องที่ใช้ราดูกันโดยท่ัวไปอย่างย่อ นัน้ มีอยู่ 18 ท่าดว้ ยกัน ดงั นี้ 1. เทพนม 10. แขกเต้า 2. ปฐม 11. ผาลาเพียงไหล่ 3. พรหมสี่หนา้ 12. เมขลาลอ่ แกว้ 4. สอดสร้อยมาลา 13. มยุเรศฟ้อน 5. กวางเดินดง 14. ลมพัดยอดตอง 6. หงสบ์ นิ 15. พรหมนิมติ 7. กนิ รนิ เลยี บถา้ 16. พิสมยั เรียงหมอน 8. ชา้ นางนอน 17. มจั ฉาชมสาคร 9. ภมรเคลา้ 18. พระสีก่ รขวา้ งจักร แต่นักแสดงที่อยู่ในโรงละครพระลักพระลามท่ีเมอื งหลวงพระบางแหง่ น้ี ไม่ใช่นักแสดงมืออาชีพ หรือเป็นนักแสดงที่เรียนศาสตร์การแสดงหรือฟ้อนรามาโดยตรง ทุกคนท่ีมาแสดงในโรงละครแห่งน้ี ล้วนมา ด้วยใจรัก มีความชอบการฟ้อนรา จึงได้มีการมารวมตัวกันเพื่อจัดการแสดง อนุรักษ์เอกลักษณ์การฟ้อนของ ชาตลิ าวไว้ให้คงยู่ (ทดั สอน หม้ันสนิ .2561, 24 พฤศจิกายน)

ในการฟ้อนนางแก้ว มีความเช่ือว่า การท่ีจะมาเป็นผู้แสดงน้ันจะต้องเป็นหญิงสาวที่มีความ บริสุทธ์ิจึงจสามารถท่ีจะฟ้อนนางแก้วได้ ถ้าหากนักแสดงผู้ใดท่ีแต่งงานมีสามีแล้ว จะไม่สามารถมาฟ้อนได้อีก เพราะเชือ่ กนั ว่า เปน็ การฟ้อนถวาย ซงึ่ ผู้แสดงเองจะต้องมจี ติ ใจและร่างกายอนั บริสุทธ์ิ ภาพท่ี 5 การแสดงฟอ้ นนางแกว้ ภาพท่ี 5 การแสดงฟ้อนนางแก้ว ซง่ึ รปู แบบการแสดงฟ้อนพระลัก พระลาม ในหลวงพระบาง ถ้าเปรียบเทยี บกับการแสดงของไทย คือ การแสดงโขน มีการนาเอาเรือ่ งรามายณะท่ีมาจากอินเดีย นามาปรับปรุงใหเ้ ข้ากับการแสดงของตน โขนของไทย ตอน หนุมานไปเอากล่องดวงใจ รุ่งข้ึนทศกัณฐ์ ยกทัพมารบกับพระรามอีก แต่ทา อย่างไรกต็ ามทศกัณฐ์ ก็ไม่ตาย พระรามสงสยั พเิ ภกจึงทูลว่า ทศกัณฐ์ ถอดดวงใจฝากไว้ท่ีฤาษีโคบุตร หนุมาน อาสาไปนากล่องดวงใจ โดยให้องคตไปด้วย และทาทีขอใหฤ้ าษีโคบุตรช่วยพาไปถวายตัวแก่ทศกัณฐ์ ระหว่าง น้ันได้ลวงถามเรื่องกล่องดวงใจของทศกัณฐ์ ฤาษีตกหลุมพลางเล่าให้ฟังจนหมดส้ิน ก่อนท่ีจะเข้าไปในลงกา หนุมานบอกให้ฤาษีฝากดวงใจไว้กับองคตท่ีนอกเมือง ฤาษีหลงเช่ือแล้วพาหนุมานเข้าไปถวายตัว เข้าเมืองได้ ลอบส่ังความกบั องคตโดยหนมุ านได้เนรมิตกล่องดวงใจขึ้นใหม่ แล้วบอกว่าให้องคตนากล่องดวงใจปลอมคอย รับหน้าฤาษี หนุมานเข้าเฝ้าทศกัณฐ์ และแกล้งเล่าเรื่องต่าง ๆ นานา จนทศกัณฐ์ หลงเช่ือรับหนุมานไว้เป็น ลกู เสร็จแล้วฤาษีได้ออกมาเอากล่องดวงใจจากองคต องคตจึงมอบกล่องดวงใจเนรมิตให้ แล้วรีบเหาะไปเฝ้า กล่องดวงใจ ทศกัณฐ์ คอยหนุมานท่ีริมฝั่งมหาสมุทร ทศกัณฐ์ จัดงานสมโภชน์รับหนุมาน นางมณโฑเตือน ไม่ใหไ้ วใ้ จหนุมานแต่ทศกัณฐ์ ไม่เช่อื หนุมานก็แกล้งทาเปน็ เคารพรักทศกัณฐ์ แต่ไมย่ อมไหว้จนทศกัณฐ์ สงสัย หนุมานบอกว่าการจะไหว้ใครน้ันต้องไหว้พระพายผู้เป็นบิดาก่อน เมื่อไม่มีลมพัดในลงกาหนุมานจึงไหว้ไม่ได้ แตท่ ศกัณฐ์ กย็ ังขอ้ งใจอยู่ หนมุ านจงึ แกล้งอาสาไปปราบพระราม พระลกั ษมณ์ และจะจับพิเภกมาถวาย เมื่อหนุมานยกทัพออกไปรบ ก็แกล้งบุกตะลุยทัพของพระลักษมณ์จนแตกพ่าย แล้วว่าวนั น้ีให้เลิกทัพก่อน ให้ มารบกันวันรุ่งข้ึน แล้วจะจับพระลักษมณ์ ไปถวายทศกัณฐ์ ทศกัณฐ์ รู้ว่าหนุมานไปรบได้ผล จึงประทานนาง สุวรรณกันยุมา เมียอินทรชิตให้หนุมาน ฝ่ายพระลกั ษมณ์เข้าใจผดิ คิดวา่ หนุมานไปเข้ากับทศกัณฐ์ จึงไปบอก พระราม พระรามรู้ว่าเป็นอุบายของหนุมาน เม่ือยกทัพมาสมทบกับพระลักษมณ์แล้วจึงบอกว่า จะขอดูท่าที หนมุ านก่อน หากทรยศจรงิ จะฆ่าเสียให้ตาย นอกจากกระบวนการแสดง ท่าทางที่ทลี ักษณะคล้ายกับโขนของไทย หัวโขนก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน เนื่องจากตัวละครที่ปรากฏในเร่ือง มาจากวรรณกรรมรามายณะซ่ึงมาจากอินเดีย เช่นเดียวกัน ลักษณะการ

เล่นฟ้อนพระลักพระลามกับโขน จะมีการสวมหัวโขนเช่นเดียวกัน ผู้แสดงจะไม่มีการพากย์เจรจาหรือร้องเอง มีเพียงการแสดงออกท่าทางสื่อความหมายเป็นภาษาท่าตีไปตามบทร้อง โดยจะมีผู้ร้องและพากย์เจรจาอยู่ ดา้ นข้างเวที ภาพที่ 6 ผูข้ บั รอ้ ง พากย์และเจราจา บทฟ้อนพระลกั พระลาม ภาพท่ี 7 หัวโขนทดสะกันของลาว ภาพท่ี 8 หวั โขนทศกณั ฑข์ องไทย ภาพที่ 8 หัวโขนหะนมุ านของลาว ภาพที่ 9 หัวโขนหนมุ านของไทย

บทสรุป การแสดงฟ้อนนางแก้ว และการแสดงฟ้อนพระลักพระลามคือการแสดงในราชสานัก หรือที่เรียกว่า การแสดงเพื่อรับใช้เจ้าชีวิต แต่หลังจากมีการเปลี่ยนแปรงระบอบการปกครองจากระบอบกษัตริย์มาเป็น ระบอบสังคมนิยม(ยุค ค.ศ. 1975) ก็ทาให้มีผลกระทบทาให้การแสดงน้ันเปล่ียนแปลงไป จากที่เคยเล่นในรั้ว ในวัง ก็มีการนาออกมาแสดงข้างนอก และจุดประสงค์ของการแสดงก็เปลี่ยนไปด้วย การแสดงสามารถพบ เห็นไดต้ ามบญุ ประเพณี เชน่ งานบุญปีใหม่ งานบุญสงกรานต์ การฟ้อนพระลักพระลามมีลักษณะการแสดงและการแต่งกายท่ีมีความคล้ายคลึงกันกับของไทย เช่น การสวมหัวโขน มีตัวละครที่เหมือนกัน เช่น หนุมาน ทศกัณฑ์ พระลัก พระลาม และมีเนื้อเรื่องท่ีมีความ ใกล้เคียงกันหลายตอน นอกจากน้ันการฟ้อนนางแก้วก็มีกระบวนท่ารา 17 ท่า ท่ีมีความหคล้ายคลึงกับ กระบวนท่าราแมบ่ ทของนาฏศลิ ป์ไทย เอกสารอ้างองิ เฉลิมศักด์ิ พกิ ลุ ศร.ี 2551. ดนตรลี าวเดิม. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหลุ กั ษณ์สงั คมลุ่มนา้ โขง. มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น กรมศลิ ปากร. (2552). โขน อัจฉริยลกั ษณแ์ หง่ นาฏศิลป์ไทย. กล่มุ เผยแพรแ่ ละประชาสัมพันธ์กรมศิลปากร กรมศิลปากร. (2507). บทโขน. กรมศลิ ปากรปรับปรุงแสดง รวบรวมจัดพิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ จมน่ื สมหุ พิมาน หรือ หลวงวลิ าศวงงาม ปรติ ตา เฉลิมเผ่า กออนันตกุล. เบกิ โรง ข้อพิจารณานาฏกรรมในสังคมไทย. สถาบนั ไทยคดีศึกษา มหาวทิ ยาลัยธรรมศาสตร์ ธนติ อยู่โพธิ์. (2526). โขน. กรงุ เทพฯ.องค์การคา้ ของคุรสุ ภา นิยะดา เหล่าสนุ ทร. (2515). ความสัมพนั ธร์ ะหว่างละครไทยและละครภารตะ. วิทยานิพนธ์.หลักสูตร ปริญญา อักษรศาสตมหาบณั ฑติ บณั ฑติ วิทยาลัย: จฬุ าลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย ศุภชยั สิงหย์ ะบุศย.์ (2553). หลวงพระบางเมอื งมรดกโลก ราชธานแี ห่งความทรงและพ้ืนท่พี ธิ กี รรม ใน กระแสโลกาภวิ ัฒน์. กรงเทพฯ: สายธาร สัมภาษณบ์ คุ คล ทัดสอน หม้ันสิน.(2561, 24 พฤศจิกายน) ,ผู้แสดงฟ้อนนางแก้ว,นะคอนหลวงพระบาง แขวงหลวง พระบาง,สมั ภาษณ์ เพ้ย คามะประดิด.(2561, 24 พฤศจิกายน) ผู้ฝึกสอนการฟ้อนนางแก้ว ฟ้อนพระลักพระลามและ เป็นหวั หน้า โรงละครพระลกั พระลาม ,บ้านหาดหลวง แขวงหลวงพระบาง,สมั ภาษณ์ แสงวัน ตันดารา. (2561. 23 พฤศจิกายน), ผู้แสดงฟ้อนดวงจาปา,บ้านทาดหลวง แขวงหลวงพระ บาง,สมั ภาษณ์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook