Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พนักงานไร้เสียง แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ระลึกเมืองหลวงพระบาง

พนักงานไร้เสียง แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ระลึกเมืองหลวงพระบาง

Published by kanikl, 2020-07-14 03:24:02

Description: บทความ พนักงานไร้เสียง แนวทางการเพิ่มมูลค่าสินค้าที่ระลึกเมืองหลวงพระบาง

Keywords: หลวงพระบาง,ที่ระลึก

Search

Read the Text Version

พนกั งานไร้เสียง : แนวทางเพิ่มมลู คา่ สนิ ค้าท่ีระลึก เมอื งหลวงพระบาง โดย นางสาววลิ าสนิ ี ขาํ พรหมราช เสนอ รองศาสตราจารย์ ดร. นยิ ม วงศ์พงษ์คาํ รายวิชา การวิจัยทางวัฒนธรรม ศลิ ปกรรมและการออกแบบขั้นสูงรหัสรายวชิ า 890911 รายงานนี้เป็นสว่ นหน่งึ ในการศึกษาระดบั ปริญญาเอก สาขาวิชาวัฒนธรรม ศิลปกรรมและการออกแบบ 2.1 ภาคพเิ ศษ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่

คาํ นาํ บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาทฤษฎีทางวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบขั้นสูง สาขาวิชา วัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคการศึกษาที่ 1 ปี การศึกษา 2561 เมืองหลวงพระบาง เป็นแขวงหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีประวัติ ความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมอย่างยาวนานมาตั้งแต่อดีต มีความสําคัญเป็นราชธานีแห่งแรกของ อาณาจักรลา้ นช้าง ประชาชนปจั จบุ ันยังคงมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และสืบสานศิลปวัฒนธรรมไว้อย่างเหนยี วแนน่ และ จนได้รับการข้ึนทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก ย่ิงเพ่ิมความสําคัญให้เมืองนี้เป็นสถานท่ีท่องเท่ียวท่ีสําคัญของประเทศ ในปีหน่ึงๆ จะมีนักท่องเท่ียวจากต่างชาติมาสัมผัสกับวถิ ีชีวิต เย่ียมชมศิลปะ และวัฒนธรรม เมื่อกลับก็จะซ้ือสินค้าท่ี ระลึกติดไม้ติดมือกลับไป ของที่ระลึกในเมืองหลวงพระบางส่วนใหญ่เป็นสินค้าในเชิงวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า มีเร่ือง เล่าที่สามารถใช้เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทําให้สินค้าที่ระลึกเหล่าน้ันเกิดความน่าสนใจ สามารถนําเสนอผ่านการ ออกแบบแผ่นพับ ใบปลิว ตราสินค้า และบรรจุภัณฑ์ ซ่ึงถือว่าสิ่งต่างๆ เหล่าน้ีเป็นเสมือน บรรจุภัณฑ์ไร้เสียง ท่ีจะ ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าท่ีระลึกในเมืองหลวงพระบางได้ หากบทความนี้ผิดพลาดประการใด ผู้วิจัยขออภัยใน ณ ทน่ี ีด้ ้วย วลิ าสินี ขําพรหมราช ผู้จดั ทาํ

พนกั งานไรเ้ สียง : แนวทางการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ของทร่ี ะลึก เมอื งหลวงพระบาง ลาว หรือ ชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic) และมีชื่อโดยย่อว่า สปป.ลาว (Lao PDR) เป็นประเทศเล็กๆ ตั้งอยู่บนใจกลางของ คาบสมุทรอินโดจีน ระหว่างละติจูดที่ 14-23 องศาเหนือ และลองติจูดที่ 100-108 องศาตะวันออก มีพ้ืนท่ีโดยรวม ประมาณ 236,800 ตารางกิโลเมตร (ศุภชัย สิงห์ยะบุตร และคณะ, 2545) ในปี 2560 สปป.ลาวมีประชากร ทั้งหมด 6.858,170 ล้านคน เพศชาย 3,420,930 ล้านคน และ เป็นเพศหญิง 3,437,230 ล้านคน (World Bank Group, 2560) เป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ท่ีไม่มีพ้ืนท่ีติดกับทะเล ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์เช่นน้ี อาจทําให้ถูกมองในแง่มุมที่เป็นลบอยู่บ่อยครั้ง เพราะถูกล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพ่ือนบ้าน 5 ประเทศ ไดแ้ ก่ ประเทศจีน ไทย กมั พชู า พม่า และเวียดนาม มอี าณาเขตของประเทศ ดงั น้ี ทิศเหนอื ติดกับประเทศจนี ทิศใต้ ติดกับประเทศไทยและประทศกัมพูชา ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทยและ ประเทศพม่า และ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดกับประเทศพม่า (ฐานข้อมูลสังคมวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2561) มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 17 แขวง และ 1 นครหลวง ได้แก่ แขวงคําม่วน แขวงจําปาสัก แขวง เชียงขวาง แขวงไชยบุรี แขวงไชสมบูรณ์ แขวงเซกองแขวงบอลิคําไช แขวงบ่อแก้ว แขวงพงสาลี แขวงเวียงจันทน์ แขวงสาละวัน แขวงสะหวันนะเขต แขวงหลวงน้ําทา แขวงหลวงพระบาง แขวงหัวพัน แขวงอัตตะปือ แขวงอุดมไช และนครหลวงเวียงจนั ทน์ ประกอบด้วย 129 เมือง มี 11,935 หมูบ่ า้ น (ดวงไช หลวงพะส,ี 2553) จากหลกั ฐานทาง ประวตั ิศาสตรร์ ะบุวา่ สปป.ลาว เปน็ ประเทศทม่ี ีประวัติศาสตร์ และความเป็นมายาวนาน มกี ารอาศยั อยู่ของมนุษย์ ต้ังแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์อาศัยอยู่ ก่อนท่ีจะวิวัฒนาการทางสังคมเป็นลักษณะ นครรัฐ บริเวณลุ่มแม่นํ้าโขงและ แม่นํ้าเจ้าพระยา ประมาณปี 1,200 ปี ถึง 500 ก่อนคริสตศักราช มีกลุ่มชนเผ่ามอญ-เขมร และลาว-ไต อาศัยอยู่ ปะปนกัน สุเนตร โพธิสาร (2558) กล่าวว่า การอาศัยอยู่รวมกันระหว่างชนเผ่าน้นั เปน็ มาอย่างช้านานและได้มกี าร ผันเปลย่ี นทางประวัตศิ าสตร์วฒั นธรรม และเศรษฐกิจสงั คมไปตามกาลเวลา นครรฐั ลาวโบราณมีการกระจายตวั อยู่ บริเวณราบลุม่ แมน่ ํา้ ทว่ั ไป มีนครรฐั ทส่ี ําคัญดังตอ่ ไปนี้ เชยี งแสน เมืองแถน เมืองชวา เมืองพวน เมืองกระบอง เมอื ง ร้อยเอ็ด และจําปานคร โดยเฉพาะ “เมืองแถน” เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตสิบสองจุไท บริเวณลุ่มแม่น้ําดํา มี พงศาวดารและตํานานมากมายได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของเมืองแถน โดยกล่าวว่าดินแดนเมืองแถนเป็นถิ่น กําเนิดของบรรพบุรุษชนเผ่าไต-ลาว จากน้ันจึงมีการแยกย้ายกันไปสร้างบ้านเมืองอยู่ตามเขตแดนท่ีเป็นประเทศลาว และประเทศไทยในปจั จบุ นั โดยประวัติมีการกล่าวว่า “ขุนลอคํา” ได้พาไพร่พลลงมาสร้างบ้านเมืองอยู่ที่ทุ่ง 30,000 ดินแดนทเ่ี รียกวา่ เมืองแถน หรอื แถงในปจั จุบนั มตี าํ นานเล่าสบื ตอ่ กันมาวา่ เม่ือคณุ ลอคํา ส้นิ ชวี ติ แล้ว ได้มผี มู้ บี ุญมา เกิด ซ่ึงก็คือ “ขุนบรม” นอกจากน้ีพงศาวดารล้านช้างยังได้กล่าวเพ่ิมเติมว่า คุณบรมนาถสร้างเมืองแผนข้ึนท่ีทุ่งนา นอ้ ยออ้ ยหนู (เดยี นเบยี นฟู) และทาํ การสง่ ลกู ชายจํานวน 7 คนออกไปครองเมืองต่างๆ เพอื่ ขยายเขตการปกครองลง มาทางใต้ ซง่ึ ปรากฏชื่อ ขุนลอ ไปครองเมอื งชวา ซงึ่ คือ เมืองหลวงประบางในปัจจุบัน หลวงพระบาง เป็นเมอื งหนึ่งทมี่ ีความสาํ คัญอยา่ งมากใน สปป.ลาว อดีตเคยเป็นเมอื งหลวงของอาณาจักร ล้านช้าง มี “พระเจ้าฟ้างุ้ม” หรือพระนามเต็มว่า “พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี” เป็นปฐมกษัตริย์ ในรัชสมัยของ พระองค์ถอื เป็นยคุ ทอ่ี าณาจกั รล้านชา้ งเจรญิ ร่งุ เรืองมากที่สุด พระองค์ตนี ครเวยี งจนั ทน์ เชยี งขวาง เชยี งแสน หลวง พระบาง และหัวเมืองพวนได้ท้ังหมด ตลอดจนหัวเมืองน้อยใหญ่อีกหลายแห่งในเขตพื้นท่ีบริเวณท่ีราบสูงโคราชเข้า รวมกับอาณาจักรล้านช้าง นอกจากน้ีพระเจ้าฟ้างุ้มทรงรับพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจําชาติ และได้อัญเชิญ

พระบางเป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลจาก ราชสํานักเขมรมายังล้านช้าง และทรง เปล่ียนช่ือเมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็น เมืองหลวงพระบาง (อาณัติ อนันตภาค. 2558) ต่อมาอาณาจักรล้านช้างได้แตกออกเป็น 3 ส่วน โดยไม่ขึ้นตรง ต่อกันคืออาณาจักรหลวงพระบาง ปกครองลาวภาคเหนือ อาณาจักรเวียงจันทน์ ปกครองลาวภาคกลาง และ อาณาจักรจําปาสกั ปกครองลาวภาคใต้ ต่างก็มีกษัตริย์ปกครองตนเอง ศิลปวัฒนธรรมก็มีลักษณะเฉพาะตัวแตกตา่ ง กัน เพราะหลังจากนั้น สปป.ลาวก็ต้องเผชิญหน้ากับความเปล่ียนแปลงคร้ังใหญ่ ในยุคล่าอาณานิคมกับการตกเป็น เมืองขึ้นของฝร่ังเศส ก่อนที่จะได้รับเอกราช และรวมความเป็นชาติ ภายใต้ระบอบการปกครองแบบสังคมนิยม และ สถาปนาประเทศ เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในวันท่ี 2 ธันวาคม ค.ศ. 1975 (ไพรัตน์ สูงกิจบูลย์. 2553) แต่หลวงพระบางก็ยังสามารถรักษาศิลปวัฒนธรรม และสืบสานเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่ปรากฎในเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งนี้มากมาย จนองค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ ประกาศให้เมืองหลวงพระบางเป็นเมืองท่ีได้รับการปกปักรักษาท่ีดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เม่ือครั้งท่ีสํารวจ เบื้องต้น ในปี พ.ศ. 2533-2538 และได้รับการบรรจุขึ้นทะเบียนเป็น “เมืองมรดกโลก” เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2538 โดยทางคณะกรรมการได้พจิ ารณาว่า เมอื งหลวงพระบางน้ันมคี ุณคา่ โดดเด่นอนั เป็นสากล หรอื Outstanding Universal Value :OUV ได้แก่ความเป็นของแท้ดั้งเดิม (Authenticity) ความเป็นเอกลักษณ์ (Identity) ความ กลมกลืนกับสภาพโดยรอบ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ (Integrity) ซ่ึงอาจกล่าวได้ว่าเมืองหลวงพระบางน้ันเป็น เมืองท่มี ีศลิ ปวฒั นธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ สภาพแวดลอ้ มในพื้นทเี่ มืองมรดกโลกมีความกลมกลนื กบั ธรรมชาติ มีแหลง่ ทอ่ งเทีย่ วทางประวัตศิ าสตร์ และธรรมชาติ และวัฒนธรรม (องค์การทอ่ งเท่ียวแห่งชาติลาว สปป.ลาว, 2538) นับต้ังแต่นั้นหลวงพระบางจึงถูกให้ความสําคัญในฐานะท่ีเป็นเมืองท่องเท่ียว ท่ีสร้างรายได้ให้กับประเทศ โดยมี จดุ เดน่ คือ ศลิ ปะ วัฒนธรรม และประเพณี การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนับเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ รัฐบาลของสปป.ลาวได้ เห็นถึงความสําคัญน้ี จึงได้กําหนดแนวทางกระตุ้นการท่องเท่ียว ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระยะเวลา 5 ปี ฉบับท่ี 8 ซ่ึงต้ังเป้าหมายให้ชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวสปป.ลาว 6 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2020 ดังน้ันการพัฒนาการบริการ และส่งเสริมการผลิตสินค้าของท่ีระลึกสําหรับรองรับกลุ่มนักท่องเท่ียว จึงถือเป็น ยุทธศาสตร์ท่ีสําคัญอย่างหน่ึงของประเทศ NSEDP 8 โดยปัจจุบันสินค้าของที่ระลึกของหลวงพระบางเป็นสินค้าทาง วัฒนธรรม พ่ีหาซื้อได้บริเวณจุดท่องเท่ียวต่างๆ เช่น ภายในพระบรมมหาราชวังหลวงพระบาง วัดเชียงทอง วัดวิชุน ราช พระธาตุพูสี นอกจากน้ีบริเวณตลาดต่างๆ ภายในหลวงพระบางก็มีสินค้าของที่ระลึกให้นักท่องเที่ยวได้จับจ่าย ใชส้ อยกันอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะภายในตลาดมืด หรอื ตลาดกลางคนื ทีต่ ั้งอยู่บนถนนศรสี ว่างวงศ์ ถอื เป็นตลาด จําหน่ายสินค้าของที่ระลึกท่ีใหญ่ท่ีสุด มีผลิตภัณฑ์สินค้าทั้งประเภทอาหาร ของใช้ ของประดับตกแต่ง ของเก่า จาก การสัมภาษณ์ นางสาวสุพันนี วะสีสิง แม่ค้าท่ีขายของที่ตลาดมืด โดยเล่าว่า สินค้าท่ีนักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมซื้อ มากที่สุด จะเป็นสินค้าแปรรูปจากผ้าทอ เช่นกระเป๋า ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ ผ้ากันเป้ือน รวมไปถึง เคร่ืองเงิน ไม้ แกะสลัก และตุ๊กตาปู่เยอย่าเยอ ซึ่งล้วนแต่เป็นสินค้าที่มาจากวัฒนธรรมของหลวงพระบางแทบท้ังส้ิน ปัญหาอย่าง หน่ึงที่พบจากการสังเกตวิธีการขายสินค้าที่ระลึกของเหล่าพ่อค้าแม่ค้าในตลาดมืด คือเมื่อมีนักท่องเท่ียวสนใจสินค้า ต่างๆ เหล่าน้ันก็จะต้องอธิบาย เร่ืองเล่าต่างๆ ท่ีเกี่ยวกับสินค้าน้ัน เช่นประวัติความเป็นมาของสินค้าที่เก่ียวกับ วัฒนธรรม วิธีการผลิต วัสดุท่ีใช้ วิธีการใช้ให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เข้ามาสอบถาม จึงเป็นการชี้ให้เห็นว่านอกจาก รูปลักษณ์ของสนิ ค้าท่ีระลึกท่ีมีความสะดุดตาแลว้ เร่ืองเล่ายังมีสวนช่วยสร้างความสนใจให้กับนกั ท่องเที่ยวเหล่านน้ั

ได้ พ่อค้าแม่ค้าจึงมีความจําเป็นอย่างย่ิงที่จะต้องอาศัยวิธีการเล่าเรื่อง เพราะจะมีส่วนช่วยให้สินค้าเกิดความ น่าสนใจเพิม่ มากย่งิ ขึน้ ภาพท่ี 1 บรรยากาศตลาดมดื เมืองหลวงพระบาง ทมี่ า : (ถ่ายโดย วิลาสนิ ี ขําพรหมราช วันท่ี 23 พฤศจกิ ายน 2561) การเล่าเร่ือง (Story Telling) เป็นกระบวนการส่ือสาร ความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างบุคคล ในลักษณะท่ี ไมเ่ ปน็ ทางการ โดยอาศยั เทคนคิ การกระตุน้ และสรา้ งแรงบนั ดาลใจ โดยอาศยั เร่ืองเลา่ ทเ่ี ป็นความทรงจาํ เป็นความรู้ เป็นประสบการณ์ และการทาํ งานท่ีภาคภมู ใิ จให้แก่บคุ คลอ่นื ไดร้ บั รู้ ( อภิญญ์พัทร กุสยิ ารังสิทธิ.์ 2560) กระบวนการ ในเชิงวิทยาศาสตร์ สามารถอธิบายถึงกระบวนการเล่าเร่ืองที่มีผลต่อสมองของมนุษย์ การเล่าเรื่องมีส่วนกระตุ้น ระบบการประมวลผลของประสาท ไปการรับรู้ และสร้างการจดจํา โดยทําให้เหมือนผู้ท่ีถูกถ่ายทอดมีอารมณ์ ความรู้สึกร่วมในเร่ืองท่ีเล่า ทั้งยังทําให้สมองมีการหล่ังสื่อประสาทชื่อ โดปามีน (Dopamine) พ่ีทําให้เกิดความรู้สึก พอใจ หรือมีความสุขอีกด้วย จากเหตุผลนี้เองจึงสามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดทําไมเร่ืองเล่าถึงทําให้นักท่องเท่ียว ประทับใจ กับมาฟังมาอ่านมาดูได้หลายๆ ครั้ง เพราะคนเหล่าน้ันมีอาการเสพติดสาร โดปามีน ที่ทําให้มีความพอใจ ความสุขน่ันเอง ซึ่งจริงๆ แล้วการตลาดผ่านการเล่าเร่ืองไม่ใช่เรื่องใหม่ หากแต่เป็นเรื่องที่ทํากันมาเป็นเวลานานนับ พนั ปี เช่นในสมยั อียิปต์ มี ภาพวาดบนกาํ แพงซงึ่ เป็นการเล่าเรือ่ งเหตุการณ์ท่กี ษัตริย์มีชัยชนะในสงคราม ถอื เป็นการ ทําโฆษณาผ่านเรื่องราวรูปแบบหนึ่ง ส่วนการเล่าเร่ืองแบบ Story Telling บนสินค้าท่ีระลึก จะทําให้นักท่องเที่ยว นั้นรู้สึกเหมือนได้เดินทางไปกับเร่ืองเล่านั้น โดยสามารถจําเร่ืองและเน้ือหาของสินค้าได้ดี อีกท้ังยังสามารถ ถ่ายทอดเร่อื งเล่านั้นให้กบั บุคคลอ่ืนตอ่ ไปได้อกี

ภาพท่ี 2 ตัวอย่างสินค้าที่ระลกึ เมืองหลวงพระบาง ทม่ี า : (ถา่ ยโดย วิลาสินี ขาํ พรหมราช วนั ท่ี 23 พฤศจกิ ายน 2561 ในการเพ่ิมมูลค่าสินค้าท่ีระลึกหลวงพระบางด้วยวิธีการเล่าเร่ือง สามารถทําได้หลายวิธี เช่นการเขียน เร่อื งราวของผลติ ภณั ฑบ์ นแผน่ พับ ใบปลวิ ป้ายโฆษณา ณ จุดจําหนา่ ย หรอื อาศัยตราสนิ คา้ และบรรจุภณั ฑเ์ ข้ามามี ส่วนช่วย ในการนําเสนอเร่ืองเล่า โดยวิธีการเล่าเร่ืองจะต้องอาศัยองค์ประกอบในการเล่าเร่ือง ซ่งึ ลําดับแรกเรา จะต้องรู้กลุ่มเป้าหมาย (target) ของสินค้าก่อน เพื่อท่ีจะกําหนดรูปแบบของภาพประกอบ รูปแบบของตัวอักษร สํานวนของการใช้ภาษาให้มีความเหมาะสม เนื่องจากนักท่องเท่ียวแต่ละกลุ่มก็มีรสนิยมและความชื่นชอบ รวมถึง ประสบการณ์ในการรับรู้ที่แตกต่างกัน ซ่ึงจากการสังเกต สินค้าท่ีระลึกท่ีตลาดมืด พบว่าแทบจะไม่มีบรรจุภัณฑ์ สําหรับใส่สินค้าเลย อาจจะเนื่องมาจาก พ่อค้าแม่ค้ายังไม่เห็นความสําคัญของงานบรรจุภัณฑ์นอกเหนือจากการ บรรจแุ ละขนย้ายสินคา้ เทา่ น้ัน จงึ ถือเปน็ ทข่ี องทงั้ ภาครฐั และเอกชน ท่ีจะต้องสง่ เสริม ใหค้ วามเขา้ ใจแกผ่ ู้ผลิตสินค้า ที่ระลึกเชิงวัฒนธรรมดังกล่าว ให้ภูมิใจในความเป็นชาติ และศิลปวัฒนธรรมในแบบฉบับของหลวงพระบาง และให้ ความรู้ในเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทําการตลาดผ่านงานบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าตลาดในยุคน้ีมี การแขง่ ขันสงู เรือ่ งเลา่ ไมไ่ ด้เพียงแต่เช่ือมต่อระหว่างคนกับคนเทา่ นน้ั แตส่ ามารถทจ่ี ะสร้างมูลค่าให้กบั สินคา้ ของคน หนึ่งใหก้ ับอีกหลายๆคน สรุป ในการเพมิ่ มูลค่าสินค้าที่ระลึกหลวงพระบาง เมอื งท่ีเตม็ ไปดว้ ยศลิ ปวัฒนธรรม และสถาปัตยกรรมอัน โดดเด่น มีบรรยากาศที่เงียบสงบ ผู้คนใช้วิถีชีวิตกันอย่างเรียบง่าย โดยยังคงรักษาวัฒนธรรม ประเพณีด้ังเดิมเอาไว้ น่ันจึงทําให้เมืองหลวงพระบางมีคุณค่า ความสําคัญต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นเรื่องเล่าที่สามารถขายได้ และมีราคา เพราะนับต้ังแต่เมืองหลวงพระบางได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นเมืองมรดกโลก เมืองน้ีก็กลายมาเป็นจุดสนใจ และ ดึงดูดให้นักท่องเท่ียวต่างชาติเข้ามาค้นหาและเสพกับบรรยากาศท่ีรายล้อมไปด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม มีการนําวิถี ชีวติ และศิลปะมาจําหน่ายแกน่ ักท่องเท่ยี วในรูปแบบของสินค้าทีร่ ะลกึ มากมาย หากแต่ยงั ไม่เคยถูกนําเสนอถึงคุณค่า ทางวัฒนธรรมเหล่านั้นให้เป็นที่ประจักษ์ ซึ่งการใช้ประโยชน์จากงานบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถทําหน้าที่เป็นพนักงาน ขายไร้เสียง โดยเราสามารถท่ีจะใส่เรื่องราวทางวัฒนธรรมของหลวงพระบาง ที่เกี่ยวเน่ืองและสัมพันธ์กบั สินค้าลงไป ได้ เพื่อให้นักท่องเท่ียวเหล่านั้นได้ตระหนักถึงคุณค่าของสินค้าท่ีมาจากวัฒนธรรมเหล่านั้น และสามารถบอกเล่า เรื่องราวของหลวงพระบางต่อไปยังผู้ที่ได้รับของฝากนั้น ให้เค้าได้รับรู้ ทราบซ้ึง พอใจ มีความสุข จนอยากท่ีจะมา สัมผัสกับวิถีชีวิตของเมืองหลวงพระบางด้วยตนเอง คุณค่าของสินค้าท่ีระลึกที่อาศัยวิธรการเล่าเรื่องน้ี จึงเป็นสิ่งที่ สามารถช่วยใหส้ นิ ค้าน้ันมมี ูลค่าเพิม่ ขึ้นนน่ั เอง

เอกสารอ้างอิง ดวงไช หลวงพะสี. (2553). ชาติลาวและวฒั นธรรมลาว. เชยี งราย. มหาวทิ ยาลยั ราชภัฎเชียงราย. ฐานข้อมมลู สงั คม วฒั นธรรมเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้. (2559). ลาว. สืบคน้ เม่ือ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2561, จาก http://www.sac.or.th/databases/southeastasia/subject.php?c_id=4&sj_id=38 ไพรตั น์ สูงกิจบลู ย.์ (2553). แลลาว. พมิ พ์ครงั้ ที่ 2. กรงุ เทพฯ : อทิตตา พริน้ ต้ิง (ประเทศไทย). สพุ นั นี วะสีสงิ . (22 พฤศจกิ ายน 2561). สมั ภาษณ์. เจา้ ของกจิ การ. หลวงพระบาง สปป.ลาว. สุเนตร โพธสิ าน. (2558). ประวัติศาสตร์ลาว. ขอนแกน่ : กองทุนผลิตตาํ ราคณะศลิ ปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ และคณะ. (2544). โครงการสารคดลี าวตอนล่าง. โครงการอาณาบรเิ วณศกึ ษา 5 ภมู ิภาค. กรงุ เทพฯ : ดรมี แคชเชอร์ กราฟฟคิ จาํ กดั อภิญญพ์ ทั ร์ กสุ ิยารงั สทิ ธ.์ิ (2560). การเลา่ เรือ่ งในการสือ่ สารการตลาดสินค้าโอทอปกุสมุ า. วารสารประชากร. ปีที่ 5 ฉบบั ท่ี 1 เดอื น มนี าคม 2560 อาณตั ิ อนนั ตภาค. (2558). ประวตั ศิ าสตรล์ าว ดนิ แดนแหง่ หุบเขาและความเปล่ียนแปลง. กรุงเทพฯ : ยปิ ซี กรปุ๊ . องค์การท่องเที่ยวแหง่ ชาตลิ าว สปป.ลาว. (2538). มรดกและแหลง่ ทอ่ งเทีย่ วลาว. กรุงเทพฯ : สาํ นกั พิมพ์เพื่อ ชวี ติ . World Bank Group. (2560). Population Loa PDR. สืบค้นเม่อื 10 ธนั วาคม พ.ศ. 2561, จาก https://data.worldbank.org/indicator/SP.POP.TOTL.FE.IN?locations=LA