Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นหลวงพระบาง ภูท้าว ภูนาง เพื่อหาความสัมพันธ์อนุภาคนิทานลาวไทย

การวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นหลวงพระบาง ภูท้าว ภูนาง เพื่อหาความสัมพันธ์อนุภาคนิทานลาวไทย

Published by kanikl, 2020-08-06 04:48:40

Description: บทความการวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นหลวงพระบาง ภูท้าว ภูนาง เพื่อหาความสัมพันธ์อนุภาคนิทานลาวไทย

Keywords: หลวงพระบาง,วรรณกรรม

Search

Read the Text Version

การวเิ คราะห์วรรณกรรมท้องถ่นิ หลวงพระบาง ภทู ้าว ภนู าง เพอื่ หาความสัมพันธ์อนภุ าคเหตกุ ารณข์ องนทิ านลาวไทย บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย บทคัดย่อ การวเิ คราะห์วรรณกรรมท้องถ่ินหลวงพระบาง ภูท้าว ภูนาง เพ่ือหาความสัมพันธ์อนุภาคเหตุการณ์ ของนิทานลาวไทย พบว่า วรรณกรรมท้องถิ่นประจาหลวงพระบางของลาว เรื่องภูท้าว ภูนาง (พุทธเสน กับ นางกางฮี) มีโครงเรื่องโศกนาฏกรรมคล้ายกันกับนิทานเรื่องพระรถ เมรีของไทย มีอนุภาคที่เหมือนกัน คือ เหตุการณ์ยักษ์เขียนสาสน์ส่งข่าวลูกสาว (เมรีหรือนางกางฮี) เหตุการณ์ พระฤษีแปลงสาสน์และเหตุการณ์ โศกนาฏกรรม นอกจากน้ีอนภุ าคเหตกุ ารณโ์ ศกนาฏกรรมยังคล้ายกบั นิทานของไทยเร่ืองพระอภัยมณีของไทย ตอนเหตกุ ารณพ์ ระอภยั มณหี นนี างผเี สื้อสมทุ รอกี ด้วย ทั้งน้ีอาจเปน็ เพราะว่า ไทยและลาวมีความสมั พันธ์ต้ังแต่ อดตี ดังปรากฏจากหลักฐานจากจิตรกรรมฝาผนงั ที่จารึกความเกา่ แกข่ องภาษาลาว และประวัติศาสตร์การเกิด ของวฒั นธรรมล้านชา้ งจึงทาให้ด้านสงั คม ศลิ ปะและวัฒนธรรมมคี วามคล้ายคลึงและใช้ร่วมกนั คาสาคญั : วรรณกรรมท้องถ่ิน, หลวงพระบาง, ภทู า้ วภนู าง ,พระรถเมร,ี พระอภัยมณี บทนา วรรณกรรมที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายมากที่สุดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ นิทานพ้ืนบ้านซ่ึง นทิ านพน้ื บ้าน หมายถงึ นทิ านที่มีฉากตัวละครและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากปัญญาและจินตนาการของ มนุษยแ์ ละเล่าถ่ายทอดทางวาจา (นุชนาถ เหละดุวี, 2537) นิทานพ้ืนบ้านเป็นส่วนหน่ึงของวัฒนธรรมชุมชน และเป็นเรื่องราวที่เล่าขานสืบต่อกันมา การศึกษานิทานพ้ืนบ้านจึงทาให้สามารถเข้าใจในสภาพแวดล้อมวิถี ชีวิต ความเชื่อ ค่านิยม และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติด้านหนึ่งด้วย ช่วยให้สังคมมี ความเปน็ ระเบยี บเรยี บร้อย ช่วยอธิบายความหมาย ช่วยตีความค่านิยมของสังคม (เสาวลักษณ์ อนันตศานต์, 2530) นิทานเหล่าน้ีนอกจากจะอธิบายความเป็นมาของท้องถ่ินแล้ว แม้โครงเร่ืองยังเป็นแนวปาฏิหาริย์ นทิ านมหศั จรรย์ในภาคอสี านได้สบื ทอดวฒั นธรรมลมุ่ นา้ โขงจากลา้ นช้าง ได้แก่ วรรณกรรมตวั อกั ษร และจารีต ประเพณี ก่อนท่ีจะรับวัฒนธรรมการเขียนหนังสือจากภาคกลาง ด้วยเหตุน้ีนิทานพ้ืนบ้านอีสานและลาวจึง เหมอื นกนั แตป่ รากฏช่ือสถานทใ่ี นท้องถนิ่ จรงิ ๆ หรือมีโบราณสถานจริง เช่น เรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ท้าวปา จิต-นางอรพิมพ์ อุสาบารส ท้าวคัชนาม และภูท้าว ภูนาง (ธวัช ปุณโณทก, 2525) โดยส่วนใหญ่แล้วนิทาน พ้ืนบา้ นมักมโี ครงเรอ่ื งทีค่ ล้ายหรอื เหมือนกัน และยังพบว่ามีนิทานบางเรื่องแม้จะอยู่คนละสถานท่ีก็ยังมีโครง เรื่องหลกั และอนุภาคของนิทานท่ีเหมือนหรือคล้ายคลึงกันด้วย เช่น นิทานพื้นบ้านเรื่องภูท้าว ภูนาง พระรถ เสน กันนางกางฮี ของหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และนางสิบสอง พระรถ เมรี ของประเทศไทย ซ่ึงนิทานท้ังสองเร่ืองน้ีมี อนุภาคย่อยหลายตอนท่ีเหมือนกัน อนุภาค (motif) คือ องค์ประกอบเล็ก ๆ ในนิทานเร่ืองใดเร่ืองหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษจนทาให้เกิดการจดจาและเล่าสืบ

ทอดต่อกันมา องค์ประกอบท่ีจัดเป็นอนุภาคเป็นได้ทั้งตัวละคร วัตถุ/ส่ิงของ และเหตุการณ์/พฤติกรรม (ประคอง นิมมานเหมินท์, 2543) จากการลงพืน้ ทศ่ี กึ ษาดูงานดา้ นศิลปวฒั นธรรมและสถาปัตยกรรม ณ นครหลวงเวียงจันทน์ และเมือง หลวงพระบาง ระหว่างวันท่ี 21-25 พฤศจิกายน 2561 ผู้เขียนได้เห็นภาพภูมิทัศน์ของเมืองหลวงพระบางที่ เปลยี่ นไปตามสังคม ได้แก่ สถาปัตยกรรม และอุตสาหกรรมด้านต่างๆ ถึงแม้สังคมจะมีการเปล่ียนแปลงไปแต่ ยงั มสี ถานท่คี งความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นอยู่ก็ คือ ภูท้าว ภูนาง ท่ียังคงความเขียวขจีไปด้วยต้นไม้เต็มภูเขา เพราะชาวบา้ นหลวงพระบางให้ความสาคัญกับภูเขาทั้งสองลูกน้ีมาตั้งแต่ก่อตั้งเมืองหลวงพระบาง ดังน้ันคน หลวงพระบางถงึ ใหค้ วามเคารพและยาเกรงไมก่ ลา้ ไปตัดไม้หรอื ลว่ งลา้ เข้าไปในดินแดนแห่งภูเขานี้โดยเด็ดขาด เพราะเน่อื งดว้ ยมตี านานอนั เก่าแก่ที่เล่าขานสบื ต่อกันมานัน่ เอง ผู้เขียนจึงสนใจศึกษาการวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นหลวงพระบาง ภูท้าว ภูนาง เพื่อหา ความสัมพันธ์อนุภาคเหตกุ ารณ์ของนิทานลาวไทย เพื่ออยากทราบว่าวรรณกรรมเรื่องใดของไทยบ้างที่มีโครง เรอื่ ง และอนุภาคเหตุการณเ์ หมือนหรือคล้ายกับนิทานท้องถิ่นภูท้าว ภูนางของเมืองหลวงพระบาง เพื่อจะได้ ทราบถึงประวัตศิ าสตรข์ องวรรณกรรมว่ามจี ดุ กาเนดิ มาจากทไี่ ด้เพื่อจะได้เป็นแนวทางให้ผู้สนใจในวรรณกรรม ไดศ้ กึ ษาค้นคว้าและบนั ทึกไว้เป็นหลักฐานของชาติตอ่ ไป วัตถปุ ระสงค์ เพอื่ วิเคราะหว์ รรณกรรมท้องถน่ิ หลวงพระบาง ภทู า้ ว ภนู าง เพ่อื หาความสมั พันธอ์ นุภาคเหตกุ ารณ์ ของนิทานลาวไทย วิธีดาเนินการศกึ ษาวจิ ัย การศกึ ษาบทความเรือ่ ง วเิ คราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นหลวงพระบาง ภูทา้ ว ภนู าง เพื่อหาความสัมพันธ์ อนุภาคเหตกุ ารณ์ของนทิ านลาวไทยในช่วงลงพน้ื ที่ศึกษาดูงานด้านศิลปวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ณ นคร หลวงเวียงจนั ทน์ และเมืองหลวงพระบาง ระหว่างวนั ท่ี 21-25 พฤศจิกายน 2561 ในการศึกษาคร้ังนี้ผู้วิจัยใช้ วิธกี ารศกึ ษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ซึ่งมีขัน้ ตอนดังนี้ 1. ประชากรกลุม่ เป้าหมายทใี่ ชศ้ กึ ษาในการศกึ ษาคร้ังน้ี คือ กลุม่ ผู้รู้ด้านประวัตเิ ร่อื งภูท้าวภนู าง 2. ศกึ ษาเอกสาร งานวจิ ัยทเ่ี กี่ยวขอ้ งเพ่อื ใช้อา้ งผลการศกึ ษา ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมนิทาน ความรู้เกย่ี วกับโครงเรือ่ ง และอนุภาคนทิ านพืน้ บ้าน และแนวคิดทฤษฏที ี่เกยี่ วข้อง 3. ศึกษารวบรวมข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาจากเอกสารท่ีเก่ียวข้อง และ เคร่อื งมอื ท่ีใช้ในการศกึ ษา ไดแ้ ก่ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อสังเกตสภาพทั่วของเมืองหลวงพระบางใน ภารรวม และแบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้าง เพ่ือสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการที่เป็นผู้รู้เก่ียวกับตานาน เมอื งหลวงพระบางและภทู า้ ว ภูนาง 4. การวเิ คราะหข์ ้อมูลและแปลผลข้อมูลโดยวิเคราะหข์ อ้ มูลทไ่ี ดจ้ ากศึกษาเอกสาร การสงั เกต การ สัมภาษณ์ และนาเสนอขอ้ มูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการศึกษา ก่อนจะกล่าวถึงการวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถ่ินหลวงพระบาง ภูท้าว ภูนาง เพื่อหาความสัมพันธ์ อนภุ าคนทิ านลาวไทย ผูเ้ ขยี นขอกล่าวถึงข้อมูลเกย่ี วกับวรรณกรรมทอ้ งถ่นิ ประเภทนิทานก่อน เพื่อสร้างความ เข้าใจก่อนเข้าส่กู ารวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่นหลวงพระบางเรอื่ งภทู า้ วภนู างตอ่ ไป คาวา่ วรรณกรรม หมายถงึ งานหนงั สือ งานประพันธ์ บทประพนั ธท์ ุกชนิด ทง้ั ทเ่ี ป็นร้อยแล้วและร้อย กรอง (ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525, 2530) หากวรรณกรรมเหล่านี้เกิดขึ้นที่ใดก็จะเรียกวรรณกรรมตาม สถานท่พี บเห็น เช่น หากพบวรรณกรรมอย่ทู ้องถ่ินใดท้องถ่ินหน่ึงก็จะเรียกว่าวรรณกรรมนั้นว่า “วรรณกรรม ทอ้ งถิน่ ” วรรณกรรมท้องถน่ิ หมายรวมถึงวรรณกรรมลายลกั ษณ์หรอื มุขปาฐะ ทปี่ รากฏอยใู่ นทอ้ งถ่ินแตกต่าง กันไปจากวรรณกรรมแบบฉบับหรือวรรณคดีของประเทศ วรรณกรรมท้องถิ่นน้ัน เกิดข้ึนด้วย ภูมิปัญญาของ คนในท้องถ่ิน และมคี นในทอ้ งถน่ิ นนั้ เองเปน็ ผอู้ นุรกั ษ์ รูปแบบของวรรณกรรมท้องถิ่น มักจะเป็นไปตามความ นิยมของท้องถิ่นนน้ั ๆ (ธวัช ปุณโณทก, 2525) วรรณกรรมท้องถ่ินได้สะท้อนภาพสังคมชาวบ้าน หรือวิถีชีวิต ชาวบา้ น เหมือนกระจกเงาสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและส่ิงแวดล้อมตามท่ีกวีหรือผู้แต่งรู้เห็น (ประพันธ์ เรืองณรงค์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์, 2545) วรรณกรรมทอ้ งถนิ่ ของไทยสามารถแบ่งออกเป็นเป็นประเภทหลายลักษณะได้แก่ แบ่งตามลักษณะ รูปแบบวรรณกรรม คือ วรรณกรรมร้อยแก้ว เปน็ เร่ืองเลา่ หรือบนั ทกึ ดว้ ยภาษาที่ไมม่ ีลกั ษณะบังคับใด ๆ ไม่มี คณะสัมผัส ฯลฯ วรรณกรรมร้อยกรอง เป็นเร่ืองราวหรือบันทึกด้วยภาษาท่ีจากัดตามลักษณะคาประพันธ์ มี คณะสมั ผสั ฯลฯ และ แบ่งตามลักษณะการถ่ายทอด คือ วรรณกรรมลายลักษณ์ เป็นวรรณกรรมมุขปาฐะมา กอ่ น แล้วได้รบั การบันทึกเปน็ ตวั อกั ษรและมกี ารสืบทอดด้วยการอ่านวรรณกรรมมุขปาฐะ เป็นวรรณกรรมท่ี ถ่ายทอดสืบต่อกันมา ด้วยการบอกเล่าจดจา ไม่มีการบันทึกหรือถ่ายทอดไว้เป็นเร่ืองราวหรือสัญลักษณ์ เรอื่ งราวใดท่ีมีอยู่นานก็แสดงว่าเร่ืองราวนั้นมีผู้นิยมมาก เช่น ปริศนาคาทาย ภาษิตสานวน เร่ืองเล่า ตานาน นทิ าน เป็นต้น (ประคอง เจรญิ จิตรกรรม, 2535) วรรณกรรมท่ีได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือ นิทานพ้ืนบ้าน ซ่ึงนิทานพ้ืนบ้าน หมายถึง นทิ านทม่ี ีฉากตัวละครและเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากปัญญาและจินตนาการของมนุษย์และเล่าถ่ายทอด ทางวาจา (นุชนาถ เหละดุวี, 2537) นิทานพื้นบ้านเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชุมชนและเป็นเรื่องราวท่ีเล่า ขานสืบต่อกันมา การศึกษานิทานพ้ืนบ้านจึงทาให้สามารถเข้าใจในสภาพแวดล้อมวิถีชีวิต ความเช่ือ ค่านิยม และเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติด้านหน่ึงด้วย ช่วยให้สังคมมีความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ช่วยอธิบายความหมาย ช่วยตีความค่านิยมของสังคม (เสาวลักษณ์ อนันตศานต์, 2530) นิทาน พื้นบ้านเป็นเร่ืองเล่าสืบทอดกันมาปากต่อปาก แต่ปัจจุบันได้รับการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว เนื้อหา วรรณกรรมพื้นบ้านอีสานแบ่งอธิบายออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่ 1) โครงเร่ือง เป็นโครงเร่ืองนิทานเพาะถิ่นออก แนวเร่ืองจักรๆวงศ์ๆ มีพระราชามเหสี พระราชโอรสพระธิดา พลัดพรากเมือง พบกัน และกลับเมือง 2) ตัว ละคร ตวั เอก พระราชา พระมเหสี กล่มุ บริวารทเ่ี ปน็ มนษุ ย์ และอมนุษย์ 3) แก่นเร่ือง กฎแห่งกรรม การเวียน วา่ ยตายเกิด กฎแห่งไตรลักษณ์ คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา และ 4) ฉาก ธรรมชาติ ต้นไม้ ภูเขา ดังนั้นนิทาน พื้นบ้านมักเป็นเร่ืองราวที่บุคคลในท้องถ่ินน้ันๆ แต่งข้ึนและเล่าสืบต่อกันมา โดยมีการสอดแทรกคุณธรรม ความเชือ่ และค่านิยมของแต่ละท้องถ่ิน เพ่ือสั่งสอนให้คนทาความดี แต่เดิมนิทานพื้นบ้านจะเป็นวรรณกรรม แบบมุขปาฐะ แต่ต่อมาในระยะหลงั ๆ มีการจดบันทกึ เอาไวด้ ว้ ย นทิ านพ้นื บ้านมคี วามสาคัญในฐานะมรดกทาง วฒั นธรรม ทีถ่ า่ ยทอดเร่อื งราววิถชี ีวิต วัฒนธรรมคติธรรมและค่านิยมของแต่ละท้องถ่ินผ่านทางเน้ือเร่ืองและ ตัวละคร ตานานและนิทานเบด็ เตลด็ (ขวัญชนก นัยจรัญ, 2557)

นิทานเหล่านี้นอกจากจะอธิบายความเป็นมาของท้องถ่ินแล้ว แม้โครงเร่ืองยังเป็นแนวปาฏิหาริย์ นทิ านมหัศจรรย์ในภาคอีสานได้สบื ทอดวฒั นธรรมลุ่มน้าโขงจากล้านช้าง ได้แก่ วรรณกรรมตวั อกั ษร และจารีต ประเพณี ก่อนที่จะรับวัฒนธรรมการเขียนหนังสือจากภาคกลาง ด้วยเหตุนี้นิทานพื้นบ้านอีสานและลาวจึง เหมอื นกนั แตป่ รากฏชื่อสถานที่ในทอ้ งถนิ่ จริงๆ หรือมีโบราณสถานจริง เช่น เร่ืองก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ ท้าวปา จิต-นางอรพิมพ์ อุสาบารส ท้าวคัชนาม และภูท้าว ภูนาง (ธวัช ปุณโณทก, 2525) โดยส่วนใหญ่แล้วนิทาน พนื้ บา้ นมักมีโครงเรือ่ งท่คี ล้ายหรือเหมือนกัน และยังพบว่ามีนิทานบางเรื่องแม้จะอยู่คนละสถานที่ก็ยังมีโครง เรื่องหลักและอนุภาคของนิทานที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันด้วยเช่น นิทานพ้ืนบ้านเร่ืองภูท้าว ภูนาง พระรถ เสน กันนางกางฮี ของหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และนางสิบสอง พระรถ เมรี ของประเทศไทย ซึ่งนิทานทั้งสองเรื่องน้ีมี อนุภาคเหตุการณ์ท่ีเหมือนกัน อนุภาค (motif) คือ องค์ประกอบ เล็กๆ ในนิทานเรื่องใดเร่ืองหน่ึง ซ่ึงมีลักษณะเด่นเป็นพิเศษจนทาให้เกิดการจดจาและเล่าสืบทอดต่อกันมา องค์ประกอบที่จดั เปน็ อนุภาคเป็นได้ทง้ั ตวั ละคร วตั ถุ/สง่ิ ของ และเหตกุ ารณ์/พฤติกรรม (ประคอง นิมมานเห มนิ ท์, 2543) สาเหตทุ ่ีอนุภาคนิทานของลาวและไทยมลี ักษณะท่เี หมือนกันอาจต้องกลับไปย้อนดูอดีตว่าเพราะเหตุ ใด ซงึ่ จากหลกั ฐานในอดตี สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทย มากที่สุด โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหน่ึงของ อาณาจักรล้านช้างในยุคอดีต จนกระทั่งสมัยอยุธยาดินแดนอีสานจึงได้ตกมาเป็นประเทศราชของไทยและถูกผนวกเข้ากับประเทศไทยใน ปจั จบุ ัน อีสานของไทยและลาวจงึ มีความสพั พนั ธก์ ันทางด้านชาติพันธุ์ ประวัตศิ าสตร์และศิลปวฒั นธรรม ซ่ึงใน อดตี อาณาจักรล้านชา้ งมีศลิ ปวฒั นธรรมท่ีรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม ได้แก่ ท้าวอุ่งหรือท้าวเจือง สินไซ กาละเกด รวมไปถึงนทิ านเร่ืองภูท้าว ภูนาง ท่ีเป็นนิทานประจาถิ่นหลวงพระบางด้วย (จารุวรรณ เชาว์ นวม, 2542) ซ่งึ ชาวลาวในเมอื งหลวงพระบาง เป็นชนเผ่าที่เรียกว่า \"กาว\" เดิมเมืองน้ีช่ือ \"ชวา\" การที่เรียกว่า \"หลวงพระบาง\" นั้น เป็นเพราะเมืองดังกล่าวเป็นเมืองหลวงของลาวในยุคก่อน จึงได้ชื่อว่า\"เมืองหลวง\" และ การท่มี ีพระพุทธรปู ยนื ช่อื \"พระบาง\" เปน็ สัญลกั ษณ์ของเมอื ง จึงรวมชือ่ เป็น \"เมืองหลวงพระบาง\" ชนเผา่ กาวน้ี สว่ นใหญ่ปัจจบุ นั อาศัยอยทู่ างทิศตะวันตกเฉียงเหนือของลาว ได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยตามริมแม่น้า โขงและหลายหมบู่ ้านในเขตจงั หวัด เชียงราย โดยรวมกนั อยู่เป็นจานวนมากทอ่ี าเภอเชียงแสนและอาเภอเชียง ของ และอพยพเข้ามาก่อนกรณีพิพาทอินโดจีนหลายสิบปี แต่เป็นจานวนน้อย การอพยพครั้งที่สองเมื่อกรณี พพิ าทระหวา่ งไทย-อนิ โดจนี และครั้งหลังเมอื่ ประเทศลาวประกาศเป็นประเทศอิสรภาพและยกกาลังเข้าต่อสู้ ฝรง่ั เศสแต่ปราชัยลง ชาวลาวดังกล่าวได้พากันอพยพเข้ามาเขตไทยเป็นจานวนมาก ถ่ินท่ีอยู่เดิม คือ บริเวณ เมอื ง\"ศรสี ตนาคนหตุ \" หลวงพระบาง หรือ \"แคว้นล้านช้างร่มขาว\" เมืองหลวงพระบางเคยเป็นนครหลวงของ ลาว มชี อ่ื เรยี กอีกช่อื หนงึ่ วา่ \"เมืองมะมว่ งรู้หาว มะนาวรโู้ ห\"่ เมืองหลวงพระบาง ตง้ั อยฝู่ ่งั ซ้ายติดฝ่ังแม่น้าโขง มีแม่น้าคานไหลลงบรรจบแม่น้าโขงตอนเหนือเมือง ณ ปากนา้ ตรงนน้ั มวี ดั โบราณของลาว คือ วดั เชยี งทอง ภายหลังลาวแบง่ แยกออกเปน็ หลายภาค หลวงพระบาง เปน็ เมอื งหลวงของลาวภาคเหนอื ตามรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้เวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง เมืองหลวงพระบาง ยังเคยเป็นที่ประทับของกษตั รยิ ์ ซ่งึ ประชาชนเรยี กองค์ทา่ นวา่ “สมเด็จพระเจา้ มหาชวี ิตแห่งพระราชอาณาจักร ลาว” ภมู ปิ ระเทศในแคว้นลาวเหนอื นี้ เปน็ ภูเขาลอ้ มรอบ หาทรี่ าบได้ยากแม้แตก่ ลางเมอื งหลวงพระบางเองก็มี ภูเขาช่ือพูสีอยกู่ ลางเมอื ง เพราะฉะน้ันพืชพันธุ์ธัญญาหารท่ีนามาบารุงเล้ียงชาวหลวงพระบาง จึงได้มาจากไร่ ท้ังส้ิน ในอดีตมีผืนนาอยู่แห่งเดียวเป็นของพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางเรียกว่า \"นาหลวง\" ตามปรกติ ข้าว เกลือ เส้อื ผ้า ไม้ขดี ไฟ น้ามัน เปน็ สินคา้ ขาเข้าของเมืองน้ี ชาวเมืองหลวงพระบางขอบตั้งหมู่บ้าน อยู่ริมชายฝ่ัง แม่น้า เพราะชอบค้าขายทางน้า และหาสัตว์น้าขาย เช่น ปลา เป็นพวกที่ชานาญทางว่ายและดาน้า ตัวเมือง

ล้อมรอบไปดว้ ยภเู ขา ท่กี ลางใจเมือง มีภูเขาอยู่ลูกหนึ่งช่ือพูสี บนเขาลูกน้ันมีสถูปเจดีย์และรอยพระพุทธบาท ประดษิ ฐานอยใู่ นศาลา (หลวงพระบาง, 2555: เว็บไซต์) และบริเวณรอบเมืองหลวงพระบางมีภูท่ีสาคัญท่ีเป็น ตน้ เค้าวรรณกรรมประจาถิ่นหลวงพระบาง คือ ภูท้าว ภูนาง เนอ้ื เร่อื งย่อนิทานพื้นบา้ นลาว-ไทย นทิ านพนื้ บ้านประจาถ่นิ หลวงพระบาง เร่ือง ภูท้าว ภูนาง กล่าวถึง บิดาของนางกางฮเี ปน็ ยกั ษ์ วันหนงึ่ ได้แปลงกายเป็นมนษุ ย์และออกเดินเที่ยวป่าจนไปพบกับ เจ้าพุทธเสน บิดาของนางกางฮอี ยากใหน้ างได้ล้ิมรสชาติของมนุษย์จึงได้ลวงพุทธเสนให้ไปเมืองของตนและได้ เขียนจนหมายปิดผนึกให้กับเจ้าพุทธเสนเพ่ือนาไปให้นางกางฮี เจ้าพุทธเสนจึงเอาจดหมายผูกเชือกคล้องคอ เดินไปถึงผาตัดแก้ จึงเกิดเม่ือยล้าและได้นอนหลับไป ในระหว่างน้ันเทวดาได้ลงมาเปิดจดหมายอ่านจึงเกิด สงสารท่ีเจา้ พทุ ธเสนจะถูกลวงไปฆ่าเทวดาจึงได้แปลงเนื้อความจดหมาย เจ้าพุทธเสนต่ืนจากการหลับแล้วได้ เดินทางตอ่ จนไปถึงสวนแถน ได้เจอมะนาวพดู ได้พรอ้ มกับไดพ้ บกับนางกางฮี จึงได้มอบจดหมายท่ีพ่อของนาง ฝากมาให้แก่นาง ท้ังสองจึงได้อยู่ครองราชย์สมบัติร่วมกันเม่ือสิ้นชีพจึงได้กลายเป็นภูเขาทั้งสองลูกคือ ภูท้าว และภูนาง (พระรถ-เมรที ีห่ ลวงพระบาง, 2548: เว็บไซต์) ภาพประกอบที่ 1 ภาพภูทา้ วที่หลวงพระบาง รา่ งของ พทุ เสนในวรรณกรรมนิทานเร่อื งภูท้าวภนู าง

ภาพประกอบท่ี 2 ภาพภนู างทีห่ ลวงพระบาง ร่างของนางกางฮี ในวรรณกรรมนิทานเร่อื งภูทา้ วภูนาง นิทานพนื้ บ้านประจาถิน่ ไทย เร่ือง นางสิบสอง-พระรถเมรี กล่าวถึงท้าวนนทเศรษฐี ไม่มีบตุ รธดิ า จึงไดเ้ ข้าไปนมสั การพระสมั มาสัมพุทธเจ้า โดยนากล้วย 12 ผล ไปถวายพระพทุ ธเจา้ แล้วตั้งความปรารถนาอนาคตขอให้มีบุตรธิดาเป็นจานวนมาก อยู่มาไม่นานภรรยาก็ได้ ต้ังครรภ์ และได้คลอดธิดาออกมาสิบสองคน ต่อมาทรัพย์สมบัติท่ีมีอยู่ก็ค่อย ๆ หมดไป นนทเศรษฐีกลับ กลายเปน็ คนจนยากจนเข็ญใจ ด้วยเหตุนี้เศรษฐีโกรธจึงพาธิดาท้ังหมดไปปล่อยไว้ในป่านางท้ังสิบสองหลงใน ป่าได้พบนางยกั ษช์ ื่อสนธมาร วันหน่ึงนางสิบสองเห็นนางยักษ์กินเนื้อมนุษย์อยู่จึงเกิดความกลัววิ่งหนีไปหลบ อยใู่ นตน้ ไทรใหญ่แต่นางยักษ์ตามหาไม่พบ ขณะนั้นพระเจ้ารถสิทธิ์ ได้พบนางท้ังสิบสองแล้วพาท้ังสิบสองไป เป็นมเหสี อยู่มาวนั หนึ่งนางยกั ษร์ ู้ว่านางสบิ สองอยู่กับพระรถสทิ ธิจ์ ึงใช้เวทมนตท์ าใหพ้ ระรถสทิ ธิ์หลงรักและใช้ กลอุบายทาลายนางสิบสองจนกระทั้งได้ถูกควักลูกตาแต่ด้วยบุญยังมี จึงทาให้น้องสุดท้องยังเหลือตาอีกข้าง ทง้ั หมดสบิ สองนางได้คลอดลูกพร้อม แต่ดว้ ยความหวิ จึงกนิ ลูกตนเอง มีแต่น้องคนสุดท้องที่ไม่กิน เด็กคนนี้ช่ือ วา่ รถเสน ทุกวนั รถเสนจะหาขา้ วปลามาใหป้ ้าและแมก่ ิน พระอินไดเ้ นรมิตไก่ใหร้ ถเสนไวต้ ัวหนึ่ง รถสนถึงได้นา ไกไ่ ปทา้ ชนเพอ่ื แลกข้าวมาให้แม่และป้ากิน พระรถสิทธิ์ท้าแข่งชนไก่กับรถเสนและรถเสนได้ชัยชนะได้ข้าวไป สิบสองห่อไปให้ป้ากับแมก่ นิ ตอ่ มาพระองค์ได้รวู้ า่ รถเสนเปน็ บุตรของตนและในขณะน้ันนางยกั ษก์ ็ทราบเร่ืองนี้ ด้วย จงึ ออกอุบายเขยี นสารขน้ึ ประกาศให้คนนาสารไปให้ลกู สาวช่อื เมรีทเี่ มอื งยักษ์ รถเสนรบั อาสานาสารไปให้ นางเมรี ข้อความในจดหมายกล่าวว่า “เจ้ากงั รี (เมรี) ลูกรกั แม่ส่งภาพคือรถเสนกุมารให้เจ้า ถ้ามาถึงกลางวัน ก็จงกินกลางวัน ถ้าถึงกลางคืนก็จงกินกลางคืนเถิด” แล้วพระรถจึงเอาสารผูกคอม้าแล้วข่ีไป จึงไปหยุดพักท่ี อาศรพระฤษี เมอ่ื พระฤษีได้อา่ นจงึ ไดท้ าการแปลงหนงั สือให้ เมือ่ พระรถเสนมาถึงนางกงั รกี ็ได้เกิดความรักพระ รถเสนและได้จัดการอภเิ ษกตามมารดาส่งั ความมา เวลาผ่านไปพระรถเสนคิดถึงมารดาจึงหาทางออกอุบายเอาดวงตาคืน จึงได้ทาการมอมเหล้านางกังรี และนางกังรีได้บอกความลับสถานที่ซ่อนดวงตาและห่อยาทิพย์ให้แก่พระรถเสนฟังท้ังหมด พระรถเสนจึงได้ โปรยหอยา จนเกิดเป็นภูเขา ป่า ลม ไฟ ฝน เมฆ และแม่น้าขวางกั้นทางไว้ นางกังรีไม่สามารถไปถึงจึงก้ันใจ ตาย ด้วยความกตัญญูของพระรถเสนจึงเลือกเดินทางไปช่วยมาดาร และพระรถก็ทาได้สาเร็จ พระรถสิทธ์ิรู้ ความจริงว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะนางสนธมาร แต่ไม่สามารถทาอะไรกับนางได้แล้วเพราะนางได้ กลัน้ ใจตายเสยี แล้ว ต่อมาเมื่อเหตุการณ์สงบพระรถเสนก็ได้เป็นกษัตริย์ครองราชย์สมบัติแทนพระบิดาสืบไป (พระรถ-เมร.ี (เลม่ 4), 2492)

นทิ านพน้ื บา้ นประจาถน่ิ ไทย เรอื่ ง พระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนนี างผเี สอ้ื สมุทร กล่าวถงึ พระอภยั มณีตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร โดยเรื่องราวมีอยู่ว่าพระอภัยมณีคิดจะหนี จากนางผีเส้ือ แต่ก็ไม่สามารถทาได้แน่นอน จึงแกล้งทานายความฝันว่าความฝันท่ีตนฝันเป็นฝันร้ายนัก ตาม ตาราว่าเทวดานั้น คือ มัจจุราชหมายเอาชีวิต แล้วแกล้งทาโศกเศร้าแนะนาให้นางผีเส้ือสะเดาะเคราะห์ นาง ผีเส้อื กข็ อคาแนะนาวา่ จะให้นางสะเดาะเคราะห์ด้วยวิธีการอย่างใด พระอภัยจึงบอกให้นางไปอยู่ผู้เดียวที่ตีน เขา แล้วอดข้าวอดปลาให้ครบสามวนั นางผีเสอ้ื ก็เชอื่ แล้วออกไปอยู่ท่ีเขาใหญ่ สนิ สมุทรสงสารแม่ย่ิงนัก ร้องไห้ อาลัยด้วยความเป็นห่วงแม่ พระบิดาจึงห้ามไม่ให้สินสมุทรตามแม่ไปเม่ือนางผีเสื้อไปแล้ว พระอภัยก็ให้สิน สมทุ รผลักแผน่ ศลิ าปดิ ปากถ้าออกไปแลว้ พากันไปท่ีหาดทราย ฝ่ายเงือกน้าก็พาลูกเมียไปรอแล้วก็พาพระอภัย ขึ้นบ่าพาไป ส่วนสินสมุทรก็ขี่หลังเมียเงือกนางผีเสื้อรู้ความแล้วก็รีบติดตามไปอย่างรีบร้อนและโกรธ มาก ทาลายทุกส่ิงที่กดี ขวางทางอย่างโมโหไปตลอดทาง นางผเี สือ้ ไล่ตามพระอภยั มณจี นถึงเกาะแก้วพิสดารแต่ เขา้ ไมไ่ ด้เพราะพระฤษีเสกคาถาป้องกันไว้ ฝา่ ยนางผเี สอ้ื วงิ วอนพระอภยั ขอตดิ ตามไปด้วยจนตลอดชีวิต ขอให้ พระอภัยอย่าได้ตัดรอนความรักของเธอเลย พระอภัยได้ฟังก็สงสาร และได้ชี้แจงนางไปถึงความจาเป็น และ เหตุผลที่ต้องหนีมา โดยบอกว่าเราเป็นคนละเผ่าพันธ์ุอยู่ด้วยกันไม่ได้ ขอให้หักใจเสีย ถ้าชาติหน้ามีจริง ขอใหไ้ ด้พบกันใหม่อยา่ ไดแ้ คล้วคลาดจากกนั เหมือนชาตนิ ้เี ลย นางผเี สอื้ ก็พยายามออ้ นวอนทาทีว่าขอให้เห็นใจ ในความรักของเธอด้วย หากพระอภัยไม่เห็นใจนางๆก็จะขอลาตายแต่ขอให้พระอภัยลงมากลางน้านี้ก่อน เถดิ ฝ่ายพระโยคีก็ช่วยพูดจาปลอบโยนและให้โอวาทนางผีเส้ือ แต่นางผีเส้ือไม่ฟัง และโกรธต่อว่าด่าทอพระ โยคีด้วยคาหยาบต่าง ๆนานา ด่ารวมไปถึงเงือกสาวว่ามายุ่งเรื่องผัวเมียคนอ่ืน จนพระโยคีโกรธเสกทราย ขว้างไป ทรายน้ันเป็นดังลูกปืนยิงยักษ์เจ็บปวดไปหมดนางผีเส้ือกลัวตัวส่ันงันงกจึงหลบออกไป (สานักงาน คณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน, 2551) ความสมั พันธ์อนภุ าคนทิ านไทยลาว นิทานท้องถ่ินเมืองหลวงพระบาง คือ ภูท้าว ภูนาง (พระรถเสน กับนางกางฮี) และนางสิบสอง ซึ่ง ปรากฏว่ามีโครงเรื่องคล้ายกับนางสิบสอง และพระรถ เมรี นิทานท้องถิ่นไทยเช่นกัน เรื่องราวนิทานตานาน พระรถเสน กับนางกางอีของลาวมีท้ังเป็นเร่ืองเล่าชาวบ้านท่ีสืบต่อกันมา ตานานพงศาวดารล้านช้าง และมี บางอนุภาคของภูท้าว ภูนาง ยังคล้ายกับนิทานเร่ือง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเส้ือสมุทรด้วย เชน่ กนั ผลการศึกษาความสมั พันธ์อนภุ าคนิทานลาวไทย พบวา่ นทิ านพระรถเสน กับนางกางฮีของหลวงพระบาง มีเหตุการณ์และอนุภาคตรงกับนิทานของไทย คือ เร่ืองพระรถ เมรี ในอนุภาคเหตุการณ์ ยักษ์เขียนสาสน์ส่งให้ลูกสาวท่ีเมืองยักษ์ พระฤษีแปลงสาสน์ และ โศกนาฏกรรม เหตุการณ์ยกั ษ์เขยี นสาสน์ส่งข่าวลูกสาว นทิ านเร่ืองพระพุทธเสน กับนางกางฮี กล่าวถึงบิดาของนางกางฮีเป็นยักษ์ วันหน่ึงได้แปลงกายเป็น มนษุ ยแ์ ละออกเดนิ เท่ยี วป่าจนไปพบกับเจา้ พุทธเสน บดิ าของนางกางฮีอยากให้นางได้ลิ้มรสชาติของมนุษย์จึง ไดล้ วงพทุ ธเสนให้ไปเมืองของตนและได้เขียนสาสน์ปิดผนึกให้กับเจ้าพุทธเสนเพื่อนาไปให้นางกางฮี เจ้าพุทธ เสนจึงเอาจดหมายผูกเชือกคล้องคอเดินไปถึงผาตัดแก้ จึงเกิดเม่ือยล้าและได้นอนหลับไป เนื้อความในสาสน์ เขยี นวา่ (พระรถ-เมรที ีห่ ลวงพระบาง, 2548: เว็บไซต์) “ดูลา กงั ฮี คนั วา่ ชายน้อยผ้นู ี้ ไปฮอดไปเถิงเม่ือใด ใหน้ างมงึ จ่งกินชายนอ้ ยผู้นี้เสยี อย่าไว้” (รตั นพล ซน่ื เค้า, 2560)

ส่วนนิทานเรื่องพระรถ เมรี กล่าวถึงพระรถสิทธิ์ได้รู้ว่ารถเสนเป็นบุตรของตนและนางยักษ์ก็ทราบ เร่ืองน้ีด้วย นางจงึ ออกอบุ ายเขียนสาสน์ข้ึนประกาหาคนนาสารไปให้ลูกสาวช่ือเมรี ทเี่ มอื งยกั ษ์ พระรถจึงได้รับ อาสานาสารไปให้นางเมรี “เจา้ กังรลี ูกรัก แม่ส่งลาภคอื รถเสนกมุ ารให้เจา้ ถ้ามาถงึ กลางวนั ก็จงกนิ กลางวัน ถ้าถึงกลางคืนกจ็ ง กินกลางคนื เถิด” (พชั รนิ ทร์ จนั ทรดั ทตั , 2552) เหตุการณ์พระฤษแี ปลงสาสน์ นทิ านเรอ่ื งพระพทุ ธเสน กับนางกางฮี กลา่ วถึงตอนในระหว่างนั้นมีพระฤษีได้ผ่านมาพบเห็นเมื่อท่าน ต้ังจติ สมาธกิ ็ได้ลว่ งรเู้ นื้อหาในสาสนจ์ งึ เกดิ สงสารเจ้าพทุ ธเสนท่ีถูกลวงให้ไปถูกฆ่าพระฤษีจึงได้แปลงเน้ือความ จดหมายวา่ “ซายนอ้ ยผนู้ ้ีเป็นลกู ปแหง่ นางสุนทะลา หากได้สง่ มาใหเ้ ปน็ ผวั แหง่ นางมึง คนั วา่ ชายหากมาถงึ เมือใด ใหน้ างมึงแต่งแปงต้อนรบั แล้วให้นางมึงอะพเิ สกเอาทา้ วเป็นผัวโดยสะหวดั ดเี ทิ้น” (รตั นพล ซนื่ เคา้ , 2560) ส่วนนิทานเรื่องพระรถ เมรี กล่าวถึงตอนพระรถได้เอาสารผูกคอม้าแล้วข่ีนาสารไปยังเมืองของเมรี ระหว่างทางจึงได้หยุดพกั ใกล้อาศรพระฤษี เม่อื พระฤษไี ดอ้ า่ นสารจึงเกิดความสงสารพระรสจึงได้ทาการแปลง สารใหด้ ังความว่า “เจ้าลูกรักของแม่แม่ส่งลาภ คือ รถเสนกุมารมาให้เจ้า ถ้ามาถึงกลางวันเจ้าจงรับกลางวัน ถ้ามาถึง กลางคนื เจา้ จงรบั กลางคนื เจ้าจงถนอมรถเสนกมุ ารนีอ้ ยา่ งผัวที่รกั ของเจา้ เถดิ ” (พัชรนิ ทร์ จันทรดั ทัต, 2552) เหตุการณ์โศกนาฏกรรม นิทานเร่ือง ภูท้าว ภูนาง กล่าวถึงตอนนางกินนา (นางกางฮี) ไม่อยู่ พุทธเสนจึงได้ไปท่ีสวนมะนาว และเห็นกองกระดูกคนกองเต็มไปหมด พุทธเสนรู้ได้ทันทีว่านางกินนาไม่ใช่มนุษย์ เขาจึงได้วิ่งกลับคืนไปเอา มะนาววิเศษและได้ว่ิงหนีไป นางกินนากลับมาไม่เห็นพุทธเสนจึงรู้ได้ว่าพุทธเสนหนีไปแล้วจึงได้ว่ิงตามไปจน เจอ นางกินนาพยายามขอร้องใหพ้ ุทธเสนกลับมาหานาง แต่พทุ ธเสนไม่ยอมกลับแล้วเอามะนาวผลหน่งึ ขว้างใส่ ไปตรงหน้านางกินหน้า เกิดเป็นกองไฟกั้นนางกินนาไว้แต่นางกินนาใช้เวทมนต์ดับไฟได้และวิ่งตามมาจนทัน พุทธเสนจงึ ขว้างมะนาวผลท่สี องไปอกี ครงั้ นีก้ ลายเป็นทะเลสาบนางกนิ นาจงึ วายนา้ มาจนถงึ ฟงั หาพทุ ธเสนด้วย ความอ่อนล้านางจึงหลับไป พุทธสนใจอ่อนจึงเดินมาหานางกินนาแต่นางกินนาได้ตายเสียแล้วท้าวพุทธเสน เสยี ใจมากเพราะนางกินนารกั พุทธสนไม่เคยบกพรอ่ งเลย ทา้ วพทุ ธเสนจึงขาดใจตายข้างนางกินา เมื่อเวลาผ่าน ไปหลายร้อยปีร่างของทั้งสองจึงกลายเป็นภูเขาสองลูกคือ ภูท้าว และภูนาง (พระรถ-เมรีที่หลวงพระบาง, 2548: เว็บไซต์) ส่วนนิทานเรอื่ ง พระรถ เมรี (นางสบิ สอง) กลา่ วถึงนางเมรีต่นื ขนึ้ มาไมเ่ ห็นพระรถเสนก็ตกใจ จึงได้รีบ ออกตามหา ในท่สี ุดก็มาเจอพระรถเสนกาลังควบม้าหนอี ยู่ นางรอ้ งห่มร้องไห้น้าตาอาบแก้ม ตัดพ้อว่าทาไมถึง จงึ คดิ หนีจากนาง พระรถเสนมีใจคดิ สงสารนางเมรีมาก จนเกือบจะชักม้ากลับไปหานาง แต่ก็ยับย้ังชั่งใจได้ จึง โปรยยาวิเศษที่ทาให้เกิด ป่า ภูเขา กองเพลิง หมอกควัน ทะเลกรดลงพ้ืนทีละถุงๆ นางเมรีทนฝ่าป่าฝ่าภูเขา และหมอกควันมาพร้อมกับบริวารยักษ์ แต่เมื่อมาถึงกองเพลิงบริวารก็บอกให้นางเมรีถอยเพราะกลัวนางจะ เป็นอนั ตราย แต่นางเมรีได้ลยุ ไฟไปเพียงผู้เดยี ว นางมาจนถึงทะเลกรดก็หมดโอกาสตามไปหาพระรถเสนท่ีอยู่ อกั ฝั่งของทะเลกรดเรยี บร้อยแลว้ นา้ ตานางไหลพรากอาบแก้ม ร่างกายเต็มไปด้วยรอยดาจากการลุยกองเพลิง มา ร่างกายนางมีสภาพอ่อนแรงเต็มที อ้อนวอนให้พระรถเสนกลับมาหานาง พระรถเสนไม่กลับและควบม้า จากไปโดยไม่หันกลับมามองเมรีอีกนางเมรีแสนเหนื่อยล้าท้ังกายและใจ นางกล่าววาจาหน่ึงใกล้ทะเลกรดว่า

\"ชาตนิ ้ี นอ้ งตดิ ตามพี่มาด้วยความรัก...จะบกุ นา้ ...ลยุ ไฟ...นอ้ งกไ็ มห่ ว่นั ...ขอใหช้ าตหิ น้า...พี่เป็นฝ่ายติดตามน้อง บา้ ง...และขอให้เรา...ได้ครองคูก่ ัน...ทกุ ชาติไป...\" แล้วนางเมรกี ็หมดลมหายใจอยู่ ณ ฝ่ังทะเลกรดน่ัน (พระรถ- เมร.ี (เลม่ 4), 2492) นอกจากนีย้ งั มนี ทิ านของไทยอีกเรือ่ งท่ีมีอนุภาคเร่อื งคลา้ ยกับนทิ านเรอ่ื งภูท้าวภนู างของลาว คือ นทิ านพระอภยั มณีของไทย เหตุการณต์ อนพระอภยั มณีหนนี างผีเสื้อสมุทร นทิ านเรื่อง พระอภยั มณี กลา่ วถงึ ตอนนางผีเส้ือวิงวอนพระอภัยขอติดตามไปด้วยจนตลอดชีวิต และ ขอใหพ้ ระอภยั อยา่ ได้ตดั รอนความรกั ของนางเลย พระอภัยได้ฟังจึงเกิดความสงสาร และได้ช้ีแจงนางไปถึง ความจาเปน็ และเหตผุ ลทตี่ ้องหนมี า โดยบอกว่าเราเป็นคนละเผ่าพันธ์ุอยู่ด้วยกันไม่ได้ ขอให้หักใจเสีย ถ้า ชาตหิ น้ามีจรงิ ขอให้ได้พบกนั ใหม่อย่าไดแ้ คลว้ คลาดจากกันเหมือนชาติน้ีเลย นางผีเสื้อก็พยายามอ้อนวอนทา ทีว่าขอใหเ้ ห็นใจในความรกั ของนางดว้ ย หากพระอภยั ไมเ่ หน็ ใจนาง บดั น้นี างก็จะขอลาตายแต่ขอให้พระอภัย ลงมากลางนา้ นี้ก่อนเถิด พระอภัยมณีเป่าปีจึงได้เป่าป่ีซ่ึงเสียงปี่คล้ายกับเวทย์มนต์คาถาไม่ใช่คลื่นเสียงทาลาย ใหน้ างผเี สื้อตายเพราะหูแตก แต่เป็นเพราะมนต์สะกดท่ีเปล่งออกมาจากป่ี ผู้เป่าต้องการให้ผู้ฟังเป็นอย่างไรก็ ไดด้ ่งั ใจจนิ ตนา พระอภยั เป่าปีใ่ ห้คนหลับมากกว่าฆ่าให้ตาย ดังน้ันเม่ือนางผีเสื้อโดนกระบวนเพลงที่พระอภัย มณเี ป่าจงึ ถึงฆาตชาตะขาดตายในท่สี ดุ จะเห็นได้ว่าวรรณกรรมนิทานท้องถ่ินที่ยกมาท้ังหมด 3 เร่ือง ได้แก่ นิทานประจาถิ่นหลวงพระบาง ประเทศลาว จานวน 1 เรื่อง คือ นิทานภูท้าว ภูนาง (พระพุทธเสน กับนางกางฮี) ของเมืองหลวงพระบาง และนทิ านประจาถิน่ ไทย จานวน 2 เรือ่ ง คอื นทิ านพระรถเสน กับนางเมรี (นางสิบสอง) และนิทานเร่ืองพระ อภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทร บางเร่ืองมีโครงเร่ืองที่เหมือนกัน และบางเรื่องก็มีอนุภาคท่ี คล้ายกนั นกั วชิ าการดง่ั สจุ ิตต์ วงศเ์ ทศได้สนับสนุนความเหมอื นกันของโครงเร่ืองนิทานว่า นิทานเรื่อง พระรถ เมรี เป็นตานานบรรพชนลาว ล้านช้าง มีจดจาไว้ในต้นเรื่องพงศาวดารล้านช้าง เมื่อมีคนลาวท่ีไหนก็จะต้องมี พระรถเมรีทน่ี ้ัน จึงเปน็ คาอธิบายว่าพระรถ เมรีเป็นตานานบรรพชนของลาว ไม่ว่าคนลาวจะโยกย้ายอพยพ และถูกกวดต้อนไปท่ีแหง่ ใด เขาก็จะเอาพระรถ เมรไี ปถงึ ทนี่ ่นั ดว้ ยเสมอ แลว้ จะยิบข้นึ มาเล่าเป็นนิทานประจา ถ่ินนั้น ๆ เช่น ถูกกวดต้อนไปอยู่ปราจีนบุรี ฉะเชิงเซา หรือ โยกย้ายอพยพไปอยู่ อ. พนัสนิคม จ. ชลบุรี ก็มี นิทานพระรถ เมรี อย่ทู ีน่ น่ั จนถึงวนั นี้ และสุจิตต์ วงศ์เทศก็ยังได้กล่าวอีกว่า เร่ืองพระรถเมรี น่าจะรับจากชน เผา่ กามุ (ขมุ) ซงึ่ เป็นคนพ้นื เมอื งดัง้ เดมิ กอ่ นลาวจะโยกย้ายจากเมอื งแถน (ในเวียดนาม) เข้าไปล้านช้างในสมัย หลงั มีรอ่ งรอยู่ในเนื้อความซึ่งพวกลาวแต่งข้ึนใหม่ ว่าบริเวณเมืองหลวงพระบางล้านช้างด้ังเดิมเป็นน้ีอยู่ของ พระยายักษ์ มีลูกสาวชื่อนางกังฮี หรือกางฮี (คือ นางเมรี) ภายหลังมีผัวชื่อ พุทธเสน (คือ รถเสน) สอดคล้อง กับนางเมรี (ฉบับลาว) เป็นลูกสาวยกั ษ์ครองเมืองยกั ษ์ เมือ่ แพร่เขา้ มาในประเทศไทยนทิ านเรอื่ งพระรถเมรี กับพระสุธน มโนห์รา (พระรถ กับเมรี เกิดชาติ ใหม่ เป็นพระสุธน กับนางมโนห์รา) ก็ได้เป็นละครชาวบ้านเก่าสุดยุคอยุธยา ราว 500 ปี มาแล้ว ที่มีคนนิยม ชมชอบมากที่สุดตัง้ แต่ราวหลัง พ.ศ. 2000 เพราะละครทั้ง 2 เร่ือง มโี ครงสรา้ งการดาเนนิ เรอ่ื งแบบบ้าน ๆ ไม่ ตายตวั อาจปรับเปลี่ยนไดต้ ลอดเวลา ใหถ้ กู กบั จรติ ชาวบา้ นยคุ น้นั ต่างจากละครชาววัง หรือละครหลวงที่เรียก กันสมัยหลัง ๆ ต่อมาว่าละครใน เป็นการละเล่นตามเร่ืองพงศาวดารยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดินกับยอยก ศาสนาที่ได้จากชาดก และคัมภีร์จากอินเดีย พระรถ เมรี ที่กลับชาติใหม่เป็นพระสุธน มโนห์รา เป็นตานาน บรรพชนลาวลมุ่ นา้ โขง ตดิ ตวั กล่มุ ชนท่ีทยอยโยกย้ายลงไปลุ่มน้าเจ้าพระยาฝากตะวันตก ต้ังแต่ราวหลัง พ.ศ. 1500 แล้วฟักตัวอยู่ในรัฐสุพรรณภูมิ มีศูนย์กลางอยู่บริเวณสุพรรณบุรี กับรัฐเพชรบุรี ฯลฯ หลังจากน้ันจึง แพร่กระจายลงไปถึงรัฐนครศรีธรรมราช ศิลปวัฒนธรรมแบบลุ่มน้าโขงจากรัฐสุพรรณภูมิทยอยเข้าสู่อยุธยา

เม่ือพระราชารัฐสุพรรณภูมิในตระกูลไทย-ลาว ยกกาลังไพร่พลยึดครองรัฐอยุธยาราวหลัง พ.ศ. 1952 แล้ว ปะปนกับศลิ ปวฒั นธรรมทีม่ ีอยู่ก่อนเป็นแบบมอญ เขมร (สุจิตต์ วงเทศ, 2559: เว็บไซต์) และเมื่อย้อนดูในเร่อื งของประวัติศาสตรภ์ าษาลาวแลว้ ได้มีนักวิชาการต้ังขอสังเกตไว้ 2 ประเด็น คือ หากศึกษาจากศลิ าจารึกพอ่ ขุนรามคาแหงทกี่ ลา่ วไว้ว่า “…เมืองเวียงจันทน์ เวียงคา เมืองชะวาหรือหลวงพระ บางเป็นสว่ นหนงึ่ ของของอาณาจกั รสุโขทยั และเมืองบรวิ ารอยา่ งลา้ นช้าง ซึ่งครอบคลมุ ถงึ ภาคอีสานของไทย ก็ น่าจะใช้อักษรเหมือนหรือพัฒนาการมาจากอักษรเมืองแม่ นั่นคือ เมืองสุโขทัย และย่ิงในรัชสมัยพระยาลิไท พระองคท์ รงเปน็ นกั อกั ษรศาสตร์ นักศาสนา…” (อดุลย์ ตะพัง, 2543) ซ่งึ จากขอ้ ความข้างต้น อาจารย์ ดร.สุเนตร โพธิสาร ได้กล่าวไว้ในเอกสารการสอนวันท่ี 23 มกราคม 2559 เร่อื งประวตั ิศาสตร์ภาษาลาว-อกั ษรลาว มีความเห็นต่างว่า “…บริเวณลุ่มน้าโขงในอดีตยังใช้อักษรขอม และมอนมาบันทึกเรื่องลาวของตนเองอยู่ และไทยสยามยังใช้อักษรเขมรอยู่เม่ือสมัย พ.ศ.1700 รวมถึงใน บริเวณลุ่มน้าเจ้าพระยาก็ยังใช้อักษรเขมรด้วยเช่นกันเพราะในช่วงนั้นยังไม่มีอักษรไทยสยาม และจาก การศกึ ษาของนกั อักขระวทิ ยาพบวา่ อกั ษรลาวได้พัฒนามาก่อนอักษรไทยสยามพระยาลิไทแห่งสุโขทัย (พ.ศ. 1899-1919) ดังเห็นได้จากจารึกท่ีเขียนด้วยสีท่ีฝาถ้านางอัน เมืองหลวงพระบาง หรือศิลาจารึกพระธาตุฮาง เมืองท่าแร่ อาเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ปี 1350 พ.ศ.1893 ก่อนอาณาจักรล้านช้าง ท่ีมีรูปแบบตัวอักษร และอคั รวธิ ใี นยคุ ของพระยาลังธริ าช ปี ค.ศ.1271…” ภาพประกอบท่ี 3 ภาพเขียนดว้ ยสีท่ีฝาถ้านางอนั เมืองหลวงพระบาง สรปุ และอภปิ รายผล จาการศึกษาบทความเรื่อง การวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถ่ินหลวงพระบาง ภูท้าว ภูนาง เพ่ือหา ความสัมพนั ธ์อนุภาคนิทานลาวไทยพบว่า วรรณกรรมทอ้ งถิ่นประจาหลวงพระบางของลาว เร่อื งภทู ้าวภูนาง มี โครงเร่ืองคล้ายกันกับนิทานเร่ืองพระรถ เมรีของไทย คือ โศกนาฏกรรม และมีอนุภาคท่ีเหมือนกัน คือ เหตกุ ารณ์ยกั ษ์เขียนสาสน์สง่ ข่าวลกู สาว เหตุการณพ์ ระฤษีแปลงสาสน์และเหตุการณ์โศกนาฏกรรม นอกจากนี้ อนภุ าคเหตกุ ารณ์โศกนาฏกรรมยงั คล้ายกบั นทิ านของไทย เร่ืองพระอภัยมณีของไทย ตอนเหตุการณ์พระอภัย มณีหนีนางผีเสื้อสมุทรอีกด้วย ท้ังน้ีอาจเป็นเพราะว่า ไทยและลาวมีความสัมพันธ์ต้ังแต่อดีตจึงทาให้ ในด้าน สังคม ศิลปะและวัฒนธรรมมีความคล้ายคลึงและใช้ร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฏีการแพร่กระจายทาง วัฒนธรรมของ แฟร์ดีน็อง เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) แห่งสานักโครงสร้างนิยมเชิงสัญญะวิทยา เห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่าง โครงสร้างของภาษา กับโครงสร้างวิธีคิด ของคนน้ันมีความสัมพันธ์กัน เพราะ ภาษาเปน็ ตวั สรา้ งแผน่ ที่แหง่ โลกที่เปน็ จรงิ ให้อยู่ในหัวของคน และแผนทีน่ ้ีจะเปน็ ตัวกาหนดกรอบการรับรู้ การ มองเห็นในโลกของคน ดังนนั้ วิธีการมองโลกจงึ ข้ึนอยู่กับ ภาษาท่ีเราใช้ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสัญญะ กับ

กลุ่มผู้ที่ใช้สัญญะนั้น โซซูร์ เสนอว่าคนในสังคมเดียวกันจะ ผลิตซ้า สัญญะที่อ้างถึงแนวคิดเดียวกันแม้จะไม่ เหมือนกันเสียทีเดียว แต่จะคล้ายคลึงกัน เช่น เมื่อผู้ชาย 2 คนคุยถึงผู้หญิงไทย เขาทั้งสองกาลังผลิตซ้า สัญญะของผูห้ ญิงไทยทุกครัง้ ทีเ่ อยคานแี้ ละระหว่างสองคนน้ยี อ่ มมีแนวคิด ที่ร่วมกันในระดับหนึ่ง อย่างน้อยก็ ต้องร้วู ่า ผ้หู ญงิ ไทยไมใ่ ช่ผู้ชายไทย (จิรพร ศรีบญุ รอื , 2546) จากทฤษฏีการแพร่กระจ่ายทางวัฒนธรรมที่กล่าวว่า “วิธีการมองโลกขึ้นอยู่กับ ภาษาท่ีเราใช้”ซึ่ง สอดคล้องกบั สุจติ ต์ วงศ์เทศท่กี ล่าววา่ นิทานเร่อื งพระรถเมรนี ีเ้ ป็นนิทานดั่งเดิมของลาวซึ่งต้องใช้ภาษาลาวใน การเขยี น (จาร) แล้วได้แพร่กระจายเข้าสู่ไทย และสอดคล้องกับ สุเนตร โพธิสาร (2559) ท่ีได้กล่าวว่า “จาก การศกึ ษาของนักอักขระวทิ ยาพบวา่ อักษรลาวได้พัฒนามาก่อนอักษรไทยสยามพระยาลิไทแห่งสุโขทัย (พ.ศ. 1899-1919) ดังเห็นได้จากจารึกที่เขียนด้วยสีท่ีฝาถ้านางอัน เมืองหลวงพระบาง” ดังนั้นจึงสรุปได้ว่านิทาน เร่ืองภทู ้าว ภูนาง (พระพุทธเสน และนางกางฮี) เป็นนิทานท่ีถือกาเนิดมาจากหลวงพระบางประเทศลาว แล้ว ได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย จึงทาให้มีโครงเร่ือง และอนุภาคที่เหมือนกันกับนิทานเร่ืองพระรถเมรี ของไทย และมอี นุภาคคล้ายกับนทิ านเรอ่ื งพระอภัยมณีบางตอน ข้อเสนอแนะ ผลจากการศกึ ษาบทความเรอ่ื ง การวเิ คราะหว์ รรณกรรมทอ้ งถ่นิ หลวงพระบาง ภทู า้ ว ภูนาง เพ่ือหาความสัมพันธอ์ นุภาคนิทานลาวไทย มีข้อเสนอแนะดงั นี้ 1. ขอ้ เสนอแนะในการนาผลวิจยั ไปใช้ ผลของการวิจยั สามารถนาไปบรรจุไวใ้ นเอกสารประกอบการบรรยายเรื่องวรรณกรรมท้องถ่ินหลวง พระบาง ภทู า้ ว ภูนาง ท่ีมคี วามสมั พันธ์กับอนุภาคนทิ านไทยเร่ืองพระรถเมรี 2. ข้อเสนอแนะการศกึ ษาคร้ังต่อไป ควรมกี ารศึกษาบทความเรอื่ ง ความสมั พันธอ์ นภุ าคนทิ านเรอ่ื งอืน่ ๆที่ปรากฏในนิทานลาวไทย เอกสารอา้ งองิ ขวญั ชนก นยั จรัญ. (2557). การวิเคราะหภ์ าพสะทอ้ นค่านยิ มของไทยจากนทิ านพนื้ บา้ น. รายงานวจิ ยั . มหาวิทยาลัยเทคโนโลยรี าชมงคลสวุ รรณภมู .ิ จารุวรรณ เชาวน์ วม. (2542). นิทานพนื้ เมอื งลาว: ลกั ษณะเด่นและความสมั พนั ธ์กบั สงั คม. วทิ ยานพิ นธ.์ ปรญิ ญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิ าวรรณคดเี ปรยี บเทียบ. จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลัย. จิรพร ศรบี ญุ รือ. (2546) การศกึ ษาผญาสื่อประเพณี การสืบทอดและการสะท้อนอัตลักษณ์ของ ชมุ ชนคนอีสาน .วทิ ยานิพนธ์. วารสารศาสตรมหาบัณฑติ มหาวิทยาลยั ธรรมศาสตร์. ธวัช ปณุ โณทก. (2525). วรรณกรรมท้องถนิ่ . กรุงเทพฯ : โอเดยี นสโตร์. นุชนาถ เหละดุวี. (2537). การวิเคราะห์นทิ านพ้ืนบ้านไทยมุสลิมจงั หวดั ปตั ตานี. วิทยานพิ นธ์. มหาวทิ ยาลยั สงขลานครนิ ทร์ วทิ ยาเขตปตั ตานี. ประคอง เจริญจิตรกรรม. (2535). หนงั สอื เรียนภาษาไทย รายวชิ า ท 035 วรรณกรรมทอ้ งถ่ิน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. ประคอง นมิ มานเหมินท.์ (2543). นทิ านพ้ืนบ้านศกึ ษา. กรงุ เทพฯ: โครงการตาราคณะอกั ษรศาสตร์ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย.

ประพันธ์ เรอื งณรงค์ และเสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2545). ภูมปิ ัญญาทางภาษา. กรุงเทพฯ :วัฒนาพานชิ . พระรถ-เมรี. (เล่ม 4 ). (2492). วรรณกรรมชุดวดั เกาะ.พระนคร: ราษฎรเ์ จริญ. พระรถ-เมรีทีห่ ลวงพระบาง. เร่ืองเก่าเลา่ ตานาน.สืบคน้ จาก. 2548https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=armissara&month=13-04- 2005&group=6&gblog=1.เมอ่ื วันท่ี 10 ธันวาคม 2560 พัชรินทร์ จันทรดั ทตั . (2552). บทบาทและลลี าทา่ รานางเมรใี นละครนอก เรือ่ งรถเสน.วทิ ยานพิ นธ์. ปริญญาศลิ ปศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย จุฬาลงกรณม์ หาวิทยาลยั . รัตนพล ชน่ื ค้า. (2560). นิทานเรื่องนางสิบสอง-พระรถเมรที ี่สาธารณรฐั ประชาธิปไตยประชาชนลาว: เร่อื งเล่าจากภาคสนาม. การประชมุ วชิ าการระดับชาติเรือ่ ง ขับนทิ านนางสบิ สอง ขานทานอง พระรถเมรี: นิทานมรดกแห่งอษุ าคเนย์ กรมศิลปากร สานกั วรรณกรรมและประวัติศาสตร์ 7 ก.ค. 2560 หน้า 283-294. ราชบัณฑติ ยสถาน. (2530). พจนานุกรมฉบบั ราชบัณฑติ ยสถาน พ.ศ. 2525. พมิ พค์ ร้งั ที่ 3.กรุงเทพฯ: อกั ษรเจรญิ ทัศน์. สานักงานคณะกรรมการการศกึ ษาข้นั พืน้ ฐาน. (2551). หนงั สือเรยี นสาระการเรยี นรู้. พืน้ ฐานวรรณคดี วิจักษ์ ช้นั มัธยมศกึ ษาปีท่ี 3. พมิ พค์ ร้งั ที่3. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพรา้ ว. สุจิตต์ วงศเ์ ทศ. (2559). พระรถเมรี ตานานบรรพชนลาว ละครยอดนิยมของชาวยุคอยุทธยา. สืบค้นจาก. https://www.matichon.co.th/columnists/news_142068 .เมอ่ื วนั ท่ี 11 ธนั วาคม 2561. เสาวลกั ษณ์ อนันตศานต์. (2530) วฒั นธรรมพืน้ บา้ น : คตคิ วามเชือ่ . พมิ พค์ รงั้ ท่ี 3.กรงุ เทพมหานคร: เคล็ดไทย. หลวงพระบาง. (2555). ข้อมูลประเทศลาว. สืบค้นจาก. http://www.tripdeedee.com/Laos/luangprabang1.php เมื่อวนั ที่ 10 ธันวาคม 2561 อดลุ ย์ ตะพัง. (2543). ภาษาและอักษรอีสาน. กรงุ เทพฯ: มหาวทิ ยาลยั รามคาแหง.