Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความเชื่อการฝังศพในแหล่งโบราณคดีวัดชมชื่นกับพิธีฝังศพในปัจจุบัน

ความเชื่อการฝังศพในแหล่งโบราณคดีวัดชมชื่นกับพิธีฝังศพในปัจจุบัน

Published by kanikl, 2021-05-28 03:56:18

Description: บทความ : ความเชื่อการฝังศพ

Keywords: การฝังศพ,ความเชื่อ,โบราณ

Search

Read the Text Version

ความเช่ือการฝังศพในแหลง่ โบราณคดีวัดชมช่ืนกับพิธีฝังศพในปัจจุบัน ปราชญาไท คาภกั ดี รหัสนักศกึ ษา 637220001-9 มนุษย์ทุกคนในโลกนี้ย่อมหลีกหนีความตายไปได้ไม่พ้น เม่ือตายไปแล้วก็จะกลายเป็น “ศพ” ส่วนสัตว์อ่ืนตายไปก็ท้ิงไว้แต่ซากสังขารตามยถากรรม เว้นแต่จะถูกสัตว์อื่นนาเอาซากศพไปเป็นอาหาร หรือจัดการเพ่ือประโยชน์อย่างอ่ืน แต่สาหรับมนุษย์แล้วการจัดการต่อซากสังขารหรือซากศพมีเร่ืองราว มากมายหลายเง่ือนปมมากกว่าน้ัน ในสังคมมนุษย์การตายหรือความตายเป็นภาวะตรงข้ามกับการมีชีวิต เป็น เร่ืองใหญ่ที่ต้องการความรู้เพ่ือเติมแต่งความรู้สึกนึกคิดและแบบแผนการประพฤติสาหรับคนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ ยึดถอื อา้ งอิง เพอ่ื สืบวิถีชวี ิตสังคมกันต่อไป (อภธิ าน สมใจ,2541) เม่ือมนุษย์ได้ตายไปแล้วจะมีพิธีกรรมความเช่ือเก่ียวกับการฝังศพ (พระยาอนุมานราชธน,2531) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับการฝังศพไว้ว่า มนุษย์ในสมัยดึกดาบรรพ์ยังไม่เข้าใจ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆและเชื่อว่าธรรมชาติมีอานาจลึกลับสามารถทาร้ายคนได้ จึงส่งผลให้เกิด ความกลัว โดยเฉพาะเม่ือเหน็ คนในครอบครัวของตนเองตายและไม่รู้สาเหตขุ องการตาย ก็ทาให้เกิดความกลวั เช่นกัน ซ่ึงความกลัวนี้เองท่ีอาจเป็นสาเหตุให้เกิดพิธีกรรมการฝังศพขึ้นและประโยชน์อีกทางหนึ่งคือเพื่อไม่ให้ ศพถูกรบกวนจากสัตว์และซากศพที่เน่าเหม็นก็ไม่รบกวนคนทมี่ ีชีวิตอยู่ด้วยอีกท้ังการปลงศพน้ันยงั เกิดข้ึนเพ่อื แสดงความอาลยั รกั ตอ่ ผทู้ ่ีเสยี ชวี ติ ซ่ึงพิธีกรรมเกี่ยวกับการฝังศพน้ันเร่ิมมีขึ้นในยุคหินเก่า มีการพบการนา สิ่งของต่างๆใส่ลงไปในหลุมศพและนาศพไปวางในหลุมท่ีขุดไว้บริเวณท่ีเคยอยู่อาศัยมาก่อน ทาด้วยฝุ่นสีแดง ซึ่งเป็นการสันนิษฐานว่าเป็นการแสดงความพยายามท่ีจะนาชีวิตกลับคืนมา (งามพิศ สัตย์สงวน,2552)

ต่อมาในยุคหินใหม่จึงเกิดคติความเชื่อว่าการฝังศพเป็นการส่งคนตายกลับคืนสู่พื้นดิน เน่ืองจากมนุษย์ในยุคน้ี รู้จักทาสวนทาไร่ จึงได้ให้ความสาคัญต่อดิน การกาเนิดและการเจริญเติบโตของพืชก็เหมือนกับการเกิดและ เติบโตของมนุษย์ พื้นแผ่นดินจึงมีลักษณะเหมือนผู้หญิงที่จะพร้อมตั้งท้อง เป็นดั่งมดลูกหรืออุโมงค์ของชีวิต ในขณะอีกด้านหนึ่งมนุษย์คงสังเกตเห็นว่าความตายกับความอุดมสมบูรณ์มีความสัมพันธ์กัน เหมือนพืชท่ีงอก เงยขึ้นไดจ้ ากซากสัตว์ทีอ่ ยูใ่ นดนิ (ปรานี วงษ์เทศ,2543) เชน่ เดียวกับราวประมาณ 1500 ปมี าแลว้ ชุมชนยุคก่อนประวัตศิ าสตร์ในเขตพื้นทภี่ าคกลางได้พัฒนา เข้าสู่สมัยทวารวดี โดยมีวัฒนธรรมอินเดียเป็นต้นแบบสาคัญ อาณาจักรทวารวดีได้เจริญข้ึนมาในช่วง พุทธศตวรรษท่ี 11-16 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในเขตภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย ซึ่งจากหลักฐาน ทางโบราณคดี พบว่า วัฒนธรรมทวารวดีน้ันไม่ได้กระจุกตัวอยู่แต่ในบริเวณศูนย์กลางซึ่งอยู่ในเขตภาคกลาง ตอนล่างเท่านั้น หากแต่ได้มีการแพร่กระจายวัฒนธรรมไปยังภูมิภาคอ่ืนๆของประเทศไทยด้วย สิ่งท่ีถือเป็น ลักษณะร่วมของเมืองวัฒนธรรมทวารวดี ได้แก่ งานศิลปกรรมท่ีมีรูปแบบเดียวกัน ลักษณะการตั้งถ่ินฐาน ท่ีส่วนใหญ่เป็นเมืองท่ีมีคูน้าคันดินล้อมรอบ และตั้งอยู่ไม่ห่างจากแม่น้าสายใหญ่มากนัก และระหว่างเมือง กับแม่น้าสายใหญ่จะมีลาน้าสาขาเชื่อมต่ออยู่เสมอ ซึ่งแม่น้าเหล่าน้ีเป็นท้ังแหล่งน้าในการเพาะปลูกและ เส้นทางคมนาคมสาหรับติดต่อระหว่างเมือง เช่น แหล่งโบราณคดีดงแม่นางเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และ แหล่งโบราณคดีวัดชมชื่น จังหวัดสุโขทัย (อุษณีย์ ธงไชย,2558) ซึ่งแหล่งโบราณคดีทั้งสองแหล่งน้ันมีการ จดั แสดงหลมุ ฝังศพในสมยั ทวารวดี โดยกรณขี องแหล่งโบราณคดวี ดั ชมช่ืน จงั หวดั สโุ ขทยั นน้ั นอกเหนือจากการ พบหลักฐานสมัยทวารวดีแล้ว การพบหลุมฝงั ศพสมัยทวารวดีอยู่ในพนื้ ทเี่ มืองเชลียงน้นั ยังเป็นหลักฐานท่ีแสดง ใหเ้ หน็ วา่ กอ่ นที่บรเิ วณนีจ้ ะพฒั นาเป็นเมอื งเชลยี ง นน้ั เคยเปน็ ชมุ ชนสมยั ทวารวดมี าก่อน การฝังศพที่แหล่งโบราณคดีวัดชมชน่ื จังหวัดสุโขทัยน้ัน มีลักษณะคือ ศพถูกจัดให้อยู่ในท่านอนหลาย รูปแบบคือ ฝังศพแบบนอนหงายเหยียดยาว แบบนอนตะแคงเหยียดยาว และนอนตะแคงงอเข่า ซึ่งผู้ตายหัน ศีรษะไปในทิศทางเดียวกันคือทิศตะวันตก หรือทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีการอุทิศส่ิงของให้แก่ศพแต่พบ ในปรมิ าณนอ้ ย ส่ิงของที่อุทศิ แกศ่ พ ไดแ้ ก่ เคร่อื งประดบั และเครือ่ งมอื เครอื่ งใช้ (ธาดา สุทธเิ นตร, 2540) ภาพที่ 1 ลกั ษณะการฝังศพแบบนอนหงายเหยยี ดยาว

ภาพท่ี 2 ลกั ษณะการฝังศพแบบนอนตะแคงเหยยี ดยาว ภาพท่ี 3 ลกั ษณะการฝังศพแบบนอนตะแคงงอเข่า ภาพท่ี 4 ภาพศพทศ่ี รี ษะหันไปในทิศทางเดยี วกันคือทิศตะวนั ตก หรือทศิ ตะวันออกเฉียงเหนอื

แม้ในปัจจุบันจะมีความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและเทคโนโลยี พัฒนาการทางสังคมของมนุษย์ได้ ห่างไกลความดึกดาบรรพ์มานานมากแล้ว ดังน้ันการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อโดยมีการนาวัตถุเคร่ืองใช้ เขา้ ไปเกี่ยวข้องก็ยงั มีให้เห็นอยู่ในแทบทุกสังคม แมแ้ ต่ในสงั คมเมืองก็ยังมีปรากฏให้เหน็ อยเู่ สมอ เพียงแตม่ กี าร เปลี่ยนรูปแบบไปตามยุคสมัย เช่น ส่ิงของท่ีมีอยู่มากมายในชีวิตประจาวัน บางอย่างก็ไม่สามารถ นามา ประกอบในพิธีกรรมแบบตรงๆได้ กท็ าแบบสมมุติดว้ ยการทาจาลองขึ้นมา เช่น พธิ กี รรมฝังศพของชาวยโุ รปถ้า ผู้ตายเป็นนายทหาร เวลาเอาศพไปฝังก็จะมีการเอาหมวกและกระบี่วางไว้บนโลงและจูงม้าท่ีผู้ตายเคยข่ีเดิน ตามศพไปด้วย ซ่ึงเป็นประเพณีสืบเนื่องมาแต่เม่ือราวร้อยปีท่ีแล้วท่ีมีประเพณีฆ่าม้าของนายทหารผู้ตายไป แล้วฝังศพไว้ในหลุมเดียวกันกับศพนายทหารผู้เป็นเจ้าของพร้อมทั้งนาเอาอาวุธของผู้ตายวางไว้บนหลุมฝังศพ โดยเชื่อว่าของใช้และวิญญาณของม้านั้นจะไปรับใช้วิญญาณของนายทหารในปรโลก แต่ปัจจุบันเปลี่ยนจาก การฆ่าม้าเป็นจูงม้าตามศพพอเป็นพิธีเพ่ือเป็นเกียรติยศแก่ผู้ตาย (เสฐียร โกเศศ, 2531) หรือในประเทศจีน จะมีประเพณกี ารฝงั ทหาร ช้าง ม้า คน เม่ือมพี ระเจา้ แผ่นดนิ สิ้นพระชนม์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าพิธีกรรมฝังศพตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้นจะมีวัตถุท่ีวางไว้ประกอบกับศพเพ่ือเป็น การอุทิศให้แก่ศพ โดยมีความเชอื่ ว่า ศพจะได้นาวัตถุสิ่งของน้ันนาไปใช้ในปรโลก โดยสิ่งของอาจมีแตกต่างกนั บา้ งตามยคุ ตามสมยั แต่สง่ิ ทไ่ี ม่แตกต่างเลยคือ เรอ่ื งของความเชือ่ ที่ไดส้ บื ตอ่ มาจนถงึ ปัจจุบัน บรรณานกุ รม งามพศิ สตั ย์สงวน. (2552). มานุษยวทิ ยากายภาพ: ววิ ัฒนาการทางกายภาพและวฒั นธรรม.กรุงเทพฯ สานักพมิ พ์แห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั . ปราณี วงษเ์ ทศ. (2534). พธิ กี รรมเก่ยี วกบั การตายในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บรษิ ทั อมรินทร์ พรน้ิ ติง้ กรปุ๊ จากดั . เสฐียร โกเศศ. (2531). การตาย. กรงุ เทพฯ : แมค่ าฝาง อนุมานราชธน,พระยา. (2531). การตาย. กรงุ เทพฯ : แมค่ าฝาง อภิธาน สมใจ. (2541). งานศพลา้ นนา ปราสาทนกหสั ดลี ิงคส์ ไู่ ม้ศพ. เชยี งใหม่: สถาบันวจิ ยั สังคม มหาวิทยาลัยเชยี งใหม่. อษุ ณยี ์ ธงไชย. (2558). ประวตั ิศาสตรส์ ยาม: จากสมัยสโุ ขทยั ถึงการปฏิรูปการปกครองสมัยรชั กาล ท่ี 5 (เลม่ 1). เชยี งใหม่.