Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัย

บทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัย

Published by kanikl, 2023-04-20 06:11:02

Description: บทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัย

Search

Read the Text Version

บทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่นในการเผยแพร่ศลิ ปะรว่ มสมยั ในภาคอีสาน นางสาววรรณชลินท์ สงิ ห์ทองเศษ 623080637-3 รายงานนเ้ี ปน็ ส่วนหนึ่งของการเรยี นการสอนรายวชิ า 428 495 (สหกิจศึกษาทางเอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใตศ้ กึ ษา)

ภาคนพิ นธ์สหกจิ ศกึ ษาในเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตศ้ ึกษา ประจำปีการศกึ ษา 2565 ชื่อภาคนิพนธ์ : บทบาทหอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่นในการเผยแพร่ ศลิ ปะรว่ มสมัยในภาคอสี าน ชือ่ ผูจ้ ัดทำภาคนพิ นธ์ : นางสาววรรณชลนิ ท์ สิงห์ทองเศษ ชื่อสถานประกอบการ : ศนู ย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแก่น ทอ่ี ยู่ : มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ 123 ถ. มติ รภาพ ต. ในเมอื ง อ. เมือง จ. ขอนแก่น 40002 โทร. 043-202-663 e-mail: [email protected] ชอ่ื พ่ีเลี้ยง : คณิตตา อักษร ตำแหนง : นักวิชาการวฒั นธรรม ............................................. อาจารยทป่ี รึกษา (ผศ.ดร. ศิลปกจิ ตข่ี ันติกลุ ) วนั ที่ 13 เดอื น เมษายน พ.ศ. 2566 ........................................................ (ดร.จริ าธร ชาติศริ )ิ ประธานกรรมการบรหิ ารหลักสตู รศลิ ปศาสตรบณั ฑติ สาขาวิชาเอเชียตะวนั ออกเฉยี งใตศ้ ึกษา วันที่ 13 เดอื น เมษายน พ.ศ. 2566 ลิขสทิ ธ์ขิ องคณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่

กิตตกิ รรมประกาศ วิจัยเรื่อง บทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน เป็นวิจัยที่สร้างการเรียนรู้เก่ียวกับการศึกษาความเป็นของหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บทบาทของหอศิลป์ 3 ด้าน ได้แก่ บทบาททางการศึกษา บทบาททางสังคมและวัฒนธรรม และ บทบาททางเศรษฐกิจ ซึ่งนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถนำไปต่อยอดการเรียนรู้ได้ในอนาคต การจัดทำวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีต้องขอขอบคุณ พระคุณ รศ.ดร. นิยม วงศ์พงษ์คำ ผศ.ดร. กิตติสันต์ ศรีรักษา นายฐัพไทย ถาวร และนางคณิตตา อักษร ที่ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือ พร้อมให้ข้อมูลสำคัญในการจัดทำวิจัย และผู้ศึกษาต้อง ขอขอบพระคุณ รศ.ดร. ศิลปกิจ ตี่ขันติกุล อาจารย์ที่ปรึกษารายวิชา 428495 สหกิจศึกษาทางเอเชีย ตะวันออกเฉยี งใตศ้ กึ ษา ทีไ่ ด้ใหค้ วามรู้ และคำแนะนำในการจัดทำวิจยั ขอขอบคุณเพื่อน ๆ นักศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565 ทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือในการจัดทำวิจัย ด้วยการชี้แนะ และให้กำลังใจในการจัดทำวิจัย จนทำ ให้วิจัยสำเร็จลุล่วงได้ สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณครอบครัวที่คอยให้กำลังใจในการจัดทำวิจัยในครั้งนี้ ขอบคุณทุกการ สนบั สนุนในด้านตา่ ง ๆ จนทำให้ผจู้ ดั ทำสามารถจัดทำวจิ ยั ใหส้ ำเร็จลลุ ว่ งไปไดด้ ้วยดี นางสาววรรณชลนิ ท์ สิงหท์ องเศษ 17 มีนาคม 2566 ก

นางสาววรรณชลินท์ สิงห์ทองเศษ. 2566. รายงานรายวิชาสหกิจศึกษาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศึกษา สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ . อาจารยท์ ี่ปรกึ ษา : อาจารย์ ผศ.ดร. ศลิ ปกิจ ตข่ี ันตกิ ลุ 1 บทคดั ยอ่ การวิจัยเรื่องบทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาความเป็นมาของหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ 2. เพื่อศึกษา บทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน โดยมีระเบียบวิจัย คือ การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งศึกษาหาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ สัมภาษณ์ข้อมลู เชิงลกึ จากบุคลากรหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 3 ทา่ น ผลการศึกษาพบว่าหอศิลป์มีบทบาทในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน 3 ด้าน คือ 1) บทบาททางการศึกษา หอศิลป์มีบทบาทหลกั ๆ อยู่ 2 ด้าน ได้แก่ 1. เปน็ พื้นทใี่ หน้ กั ศึกษาไดแ้ สดงออก ถึงผลงานทางด้านศิลปะ และ 2. เป็นพื้นที่ให้โอกาสทางด้านวิชาการ 2) บทบาททางด้านสังคมและ วัฒนธรรม หอศิลป์มีบทบาทหลัก ๆ อยู่ 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านรูปธรรม คือ การดำรงอยู่ของหอศิลป์ส่งผล ให้เกิดกิจกรรม และพิธีกรรมที่สามารถมองเห็น และสัมผัสได้ เช่น กิจกรรมการเปิดนิทรรศการ ประจำเดือนของหอศิลป์ และกิจกรรมทัศนศึกษา เป็นต้น และ 2. ด้านนามธรรม คือ การสร้างพื้นท่ี ทางด้านจิตใจให้แก่ผู้คน โดยหอศิลป์เป็นพื้นที่ให้ผู้คนได้สัมผัสเกี่ยวกับศิลปะ และเพิ่มโอกาสในการพบ เจอคนอน่ื ๆ ในสังคม รวมถึงเป็นพ้นื ท่พี ักผอ่ นทางจิตใจและสร้างความสุนทรียท์ างศลิ ปะ และ 3) บทบาท ทางเศรษฐกิจ หอศิลป์มีบทบาทอยู่ 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อศิลปิน เช่น การขายงาน ศิลปะ จากการที่มีผู้คนเข้าชมนิทรรศการแล้วสนใจซื้อภาพวาดของศิลปิน และ 2. ด้านเศรษฐกิจที่เป็น ปัจจัยแวดล้อม เช่น การท่องเที่ยว และวิจัยน้ีมีข้อเสนอแนะ 2 ด้าน ดังน้ี 1) ข้อเสนอแนะทางวิชาการ คอื งานวจิ ยั นีส้ ามารถนำขอ้ มลู ไปต่อยอดในการจัดทำวจิ ยั เกย่ี วกบั หอศลิ ปไ์ ด้ และ 2) ข้อเสนอแนะเชิง นโยบาย คือ หอศิลปค์ วรมีการสร้างฐานขอ้ มลู ในการเผยแพรข่ อ้ มลู เก่ยี วกับหอศิลปใ์ ห้มากยิ่งข้ึน คำสำคญั : หอศิลป,์ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ , บทบาท 1 อาจารยป์ ระจำกลมุ่ อาณาบริเวณศกึ ษา สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น ข

สารบัญ เนือ้ หา หน้า กติ ตกิ รรมประกาศ ก บทคดั ยอ่ ข บทที่ 1 บทนำ 1 3 1.1 ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา 3 1.2 วตั ถปุ ระสงคก์ ารวจิ ยั 3 1.3 ขอบเขตการวิจยั 3 1.4 ความหมายหรือนยิ ามศัพท์เฉพาะ 4 1.5 ประโยชนท์ ค่ี าดว่าจะได้รบั จากการทำวจิ ัย 10 1.6 วรรณกรรมและงานวจิ ยั ท่ีเก่ียวขอ้ ง 11 1.7 วธิ กี ารดำเนนิ การวจิ ัย 1.8 การนำเสนอ บทท่ี 2 ความเปน็ มาของหอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น 13 2.1 หอศิลป์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น 13 2.1.1 ประวัตคิ วามเปน็ มาของหอศิลป์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ 14 2.1.2 พืน้ ท่ีใช้สอยและตัวอาคาร 15 2.1.3 ขัน้ ตอนการคดั เลือกผลงานศลิ ปะเพือ่ จดั แสดงนิทรรศการ 16 2.1.4 ข้ันตอนการแสดงนิทรรศการ 16 2.1.5 จดุ ประสงคห์ อศลิ ปใ์ นการเผยแพรศ่ ิลปะรว่ มสมัยในภาคอสี าน 17 2.1.6 นทิ รรศการทจี่ ดั แสดงในหอศิลป์ บทที่ 3 บทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ ในการเผยแพร่ศิลปะ ร่วมสมยั ในภาคอสี าน 3.1 บทบาททางการศึกษา 19 ค

3.2 บทบาททางสังคมและวัฒนธรรม 20 21 3.3 บทบาททางเศรษฐกิจ 22 บทท่ี 4 สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 23 4.1 สรปุ 24 4.2 อภปิ รายผล 4.3 ขอ้ เสนอแนะ บรรณานุกรม (APA) ภาคผนวก ภาคผนวก ก ภาพการดาํ เนนิ งาน ภาคผนวก ข ขอ้ มลู หนว่ ยงาน ภาคผนวก ค โปสเตอร์สรปุ ผลการดาํ เนนิ งาน ภาคผนวก ง ประวตั ิผู้ศึกษา ง

สารบญั ตาราง หนา้ ตารางท่ี 1.1 งานศึกษาเกี่ยวกับการศกึ ษาหอศลิ ป์ 4 ตารางท่ี 1.2 งานศกึ ษาท่เี กย่ี วข้องกับการเผยแพร่ศลิ ปะ วฒั นธรรม และภมู ปิ ญั ญา 9 จ

สารบญั ภาพ หน้า 15 ภาพท่ี 2.1 การคัดเลือกผลงานจากอาจารย์ นักศกึ ษา และบคุ คลท่วั ไป 16 ภาพที่ 2.2 การคัดเลอื กผลงานศิลปินท่ีมีชอื่ เสยี งในระดับประเทศ 17 ภาพที่ 2.3 ขัน้ ตอนการจัดแสดงนทิ รรศการ ฉ

บทท่ี 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในอดีตก่อนมีการก่อตั้งพื้นที่จัดแสดงงานศิลปะอย่างหอศิลป์ ประเทศไทยได้มีการจัดแสดง งานศิลปะขึ้นครั้งแรกในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดแสดง ภาพวาดโครงสส่ี ภุ าพบรรยายภาพเรือ่ งพงศาวดารชาตไิ ทยต้ังแตส่ มยั อยุธยาจนถงึ รัชกาลท่ี 3 แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ ณ ท้องสนามหลวง เพื่อใช้แสดงให้ประชาชนชม และการจัดแสดงงานศิลปะครั้งที่สอง จัดขึ้นในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดแสดงผลงาน ศิลปหัตถกรรมนักเรียนขึ้นที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ต่อมาใน พ.ศ. 2460 โปรดเกล้าฯ ให้มีการ ประกวดภาพเขียนขึ้นเป็นครั้งแรกที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร การประกวดภาพเขียนครั้งที่สอง จัด ข้นึ ทพ่ี ระราชวงั บางประอนิ ใน พ.ศ. 2463 และการประกวดภาพเขียนครั้งทส่ี าม จดั ขน้ึ ในปเี ดียวกนั ที่ โรงละครพญาไท กรุงเทพฯ การจัดแสดงงานศิลปะยังมีการจัดอย่างต่อเนื่องอยู่หลายครั้ง (วิโชค มุกดามณี, ม.ป.ป.) จนกระทั่งใน พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เสนอแนะให้กรมศิลปากร จัดงาน \"ศิลปกรรมแห่งชาติ\" โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้ประเทศมีความก้าวหน้า และเกิดความ เคลื่อนไหวในงานด้านศิลปะ รวมทั้งกระตุ้นให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในงานศิลปะสมัยใหม่ การจัดงานในครั้งนั้น ส่งผลให้ศิลปินไทย ที่มีความสามารถในสาขาศิลปะต่างๆ ส่งผลงานศิลปะเข้า ร่วมแข่งขัน และมีการจัดแสดงผลงานร่วมกันในเวลาต่อมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งนับเป็นการบุกเบิกงาน ศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี (มูลนิธิโครงการ สารานกุ รมไทยสำหรบั เยาวชน, ม.ป.ป.) ทั้งน้ีห้องแสดงผลงานศิลปะ หรือที่เรียกว่า “หอศิลป์” แต่เดิมไม่มีสถานที่เป็นการถาวร การ แสดงผลงานศิลปะจะจัดแสดงในสถานที่เฉพาะกิจที่เปลี่ยนไปในหลาย ๆ แห่ง เช่น ห้องเรียน หรือ โรงไม้หลังคาสังกะสี หอศิลป์ตรงข้ามอนุสาวรีย์ทหารอาสา หอศิลป์กรมศิลปากร หอสมุดแห่งชาติ เป็นต้น ต่อมาได้มีนักธุรกิจ บุคคล หรือองค์กรเอกชนได้เปิดหอศิลป์ขึ้นมาหลายแห่ง เช่น บางกอก อาร์ต เซ็นเตอร์ เปิดใน พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นหอศิลป์ และหัวใจหลักของหอศิลป์ที่ว่า เป็นสถานท่ี รวบรวมผลงานศิลปกรรมของศิลปินในแต่ละยุคสมัยยังคงอยู่ในทุกประเภท หน้าที่ของหอศิลป์ คือ ดูแลรักษาผลงานศิลปกรรม เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ และความเพลิดเพลิน เสนอผลงานฝีมือสร้างสรรค์ รวมทั้งจัดนิทรรศการแสดงผลงานศิลปกรรมเหล่านั้น แก่ประชาชน (วิโชค มุกดามณี, ม.ป.ป.) ดังน้ัน 1

จึงได้มกี ารก่อต้ังหอศลิ ปข์ ึ้น ไมว่ ่าจะเปน็ ของจงั หวดั หรือของมหาวิทยาลยั เพ่อื เผยแพร่ให้ความรู้ และ สร้างความเพลิดเพลนิ ในด้านศลิ ปะให้แกป่ ระชาชน ซ่ึงมหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ เป็นหน่ึงในมหาวิทยาลัย ที่ได้มีการก่อตง้ั “หอศลิ ป”์ ขน้ึ ภายในมหาวิทยาลยั ในสมัยของรัฐบาลชวน หลีกภัย ท่านจึงได้อนุมัติโครงการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมข้ึน ร่วมกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคสองแห่ง คือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อการจัดแสดงและเผยแพร่ความรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมของภูมิภาค และการ ก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2541 และได้ทำการเปิดใช้อย่าง เป็นทางการในวันที่ 11 กันยายน 2541 ตลอดระยะเวลากว่า 24 ปี ตั้งแต่ก่อตั้งหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นมาได้รับใช้สังคมหลากหลายมิติในทางด้านศิลปวัฒนธรรม มีการจัดนิทรรศการ เกี่ยวกับงานศิลปะทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ โดยจัดเป็นนิทรรศการหมุนเวียนเพื่อแสดงให้ ประชาชนชาวอีสานไดร้ บั ชม และนบั ตง้ั แตก่ ารก่อต้ังมาหอศิลปแ์ หง่ นไ้ี ด้ผา่ นการจดั นทิ รรศการมาแล้ว กว่า 300 นิทรรศการ ซึ่งหอศิลป์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดิมชื่อ “หอศิลปวัฒนธรรม” เป็นหอศิลป์ ประเภทในมหาวิทยาลัย อยู่ภายใต้การควบคุม และบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อต้ัง ขนึ้ เม่ือ พ.ศ. 2539 (จิราพร ประทมุ ชยั , 2565) จากการที่ผู้ศึกษาได้เข้ารับการฝึกสหกิจศึกษาที่ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ศึกษาได้รับผิดชอบหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานทั่วไป ทำให้ได้มีโอกาสเข้าไปศึกษางานเกี่ยวกับ หอศิลป์ และจากการศึกษางานในหอศิลป์ ผู้ศึกษาพบว่าหอศิลป์ ได้มีการเผยแพร่ผลงานศิลปะ มากมายภายใต้การจัดนิทรรศการผลงานศิลปะ และจากการสอบถามและพูดคุยกับบุคลากรแล้วน้ัน พบว่าในงานทางด้านวิชาการยังไม่มีผู้ใดได้ทำการศึกษางานเกี่ยวกับบทบาทหอศิลป์ในการเผยแพร่ ศิลปะรว่ มสมยั ในภาคอีสาน ดังนั้นผู้ศึกษาจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการ เผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน ว่าหอศิลป์มีบทบาทในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน เป็นบทบาททางด้านใดบ้าง และเพื่อให้หอศิลป์นำข้อมูลนี้ไปพัฒนาบทบาทในการเผยแพร่งานศิลปะ ร่วมสมยั ในภาคอีสานให้มีประสทิ ธิภาพมากย่ิงขึ้นในอนาคต 2

1.2 วตั ถุประสงค์การวิจัย 1.2.1 เพ่ือศกึ ษาความเป็นมาของหอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น 1.2.2 เพื่อศึกษาบทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่นในการเผยแพรศ่ ิลปะรว่ มสมัยในภาค อีสาน 1.3 ขอบเขตการวิจัย 1.3.1 ขอบเขตด้านพ้ืนท:ี่ หอศิลป์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ 1.3.2 ขอบเขตด้านระยะเวลาในการศึกษา: การศึกษาใช้ระยะเวลาตั้งแต่ 28 พฤศจิกายน 2565 – 17 มีนาคม 2566 1.3.3 ขอบเขตด้านเนื้อหา: การจัดทำวิจัยเร่ืองบทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการ เผยแพร่ศิลปะรว่ มสมยั ในภาคอสี าน ประกอบไปดว้ ยเนอ้ื หา ดังนี้ 1. ข้อมลู หอศลิ ป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. บทบาทหอศิลป์ในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสานในช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2560 – 2565 1.4 ความหมายหรอื นิยามศัพทเ์ ฉพาะ 1.4.1 หอศิลป์ หมายถึง หอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ เน่อื งจากในการศกึ ษาบทบาทหน้าท่ี ของหอศิลป์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่นในการเผยแพรศ่ ลิ ปะร่วมสมัยในภาคอสี าน ผ้ศู ึกษาไดท้ ำการศกึ ษา เกี่ยวกับหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเพียงที่เดียว ดังนั้นในงานศึกษานี้ ผู้ศึกษาจะใช้ “หอศิลป์” แทน “หอศิลป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ ” 1.4.2 บทบาท หมายถึง ในการศึกษาบทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน จะศึกษาอยู่บทบาท 3 มิติ คือ บทบาททางการศึกษา บทบาททางสังคม และวัฒนธรรม และบทบาททางเศรษฐกจิ 1.5 ประโยชนท์ ่คี าดวา่ จะไดร้ ับ 1.5.1 ประโยชนท์ างวิชาการ 1.5.1.1 ทราบความเป็นมาของหอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ 3

1.5.1.2 ทราบถึงบทบาทสำคัญของหอศิลป์ในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาค อสี าน 1.5.2 ประโยชนท์ างนโยบาย 1.5.2.1 หอศลิ ป์ สามารถนำเอาขอ้ มูลทไี่ ดร้ บั จากงานวจิ ยั ไปใชใ้ นการเพิ่มบทบาทใน การเผยแพร่ศลิ ปะรว่ มสมัยในภาคอสี านได้ 1.5.2.2 หอศิลป์ สามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากงานวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบาย ในการเผยแพรผ่ ลงานศิลปะในอนาคตต่อไปได้ 1.6 วรรณกรรมและงานวิจัยทเี่ ก่ียวข้อง ในการจัดทำวิจยั เร่อื งบทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะรว่ มสมยั ใน ภาคอีสาน ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาจากเอกสาร และงานวิจัยท่ีเกี่ยวขอ้ งกับการศกึ ษาหอศิลป์ และงาน ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงและ นำเนือ้ หามาปรบั ใชก้ บั วจิ ยั เลม่ น้ี โดยมจี ำนวนท้งั ส้นิ 9 ช้ินงาน ดงั น้ี 1.6.1 งานศึกษาทเ่ี ก่ยี วกับการศกึ ษาหอศลิ ป์ จากการศกึ ษาเก่ียวกบั งานวิชาการที่เกย่ี วข้องกับการศกึ ษาหอศิลป์ ผศู้ ึกษาได้พบงานศึกษาท่ี เกี่ยวข้องจำนวน 6 ชิ้นงาน โดยเป็นงานศึกษาประเภทวิทยานิพนธ์ 3 ชิ้นงาน งานศึกษาประเภท บทความวิจัย 2 ชิ้นงาน และงานศึกษาประเภทบทความวรสารวิชาการด้านทัศนศิลป์ 1 ชิ้นงาน รวม เป็น 6 ชิน้ งาน ดงั น้ี ลำดับ ชอื่ ผแู้ ต่ง ชือ่ เร่อื ง ปีทพี่ มิ พ์ ประเภท 1 วิทยา จ่ัวสนั เทยี ะ การจัดการหอศิลป์กับการส่งเสริม 2557 วิทยานพิ นธ์ วัฒนธรรมร่วมสมัย ในเขต 2 ชชั ชญา คณั ฑเขตต์ กรงุ เทพมหานคร 2560 วทิ ยานิพนธ์ ความต้องการสารสนเทศของผู้ 3 ยุวดี เรอื งวิศรุตพงศ์ เยี่ยมชมหอศิลปวัฒนธรรมแห่ง 2560 วิทยานิพนธ์ กรงุ เทพมหานคร การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูล ผลงานศิลปะ กรณีศึกษาพิพิธ- ภณั ฑสภานแหง่ ชาติ หอศิลป 4

4 ประพล คำจ่มิ หอศิลป์ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัย: 2561 บทความวิจัย กรณีศึกษาหอศิลป์วิทยนิทรรศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 - 2560 5 วภิ ษู ณะ ศุภนคร, หอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานคร: 2562 บทความวจิ ยั สาธติ ทมิ วฒั นบรรเทงิ , การจัดการและการดำรงอยู่ ใน วริ ณุ ตั้งเจริญ บริบทของศิลปวัฒนธรรมไทยร่วม สมยั 6 อนวิ ัฒน์ ทองสีดา กิจกรรมศิลปะสำหรับงานศิลปะ 2562 บทความวร ร่วมสมัย : กรณีศึกษาหอ สารวชิ าการ ศ ิ ล ป ว ั ฒ น ธ ร ร ม แ ห่ ง ด้าน กรงุ เทพมหานคร ทศั นศลิ ป์ ตารางที่ 1.1 งานศึกษาเกยี่ วกบั การศกึ ษาหอศลิ ป์ วิทยา จั่วสันเทียะ (2557) ได้ศึกษางานวิชาการเรื่อง การจัดการหอศิลป์กับการส่งเสริม วัฒนธรรมร่วมสมัย ในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของ รูปแบบการจัดการหอศิลป์ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยในเขตกรุงเทพมหานคร 2. เพื่อ ศึกษาพฤติกรรม ทัศนคติ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการหอศิลป์ในพื้นที่ศึกษา และ 3. เพื่อเสนอ แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งเสริมศลิ ปวัฒนธรรมร่วมสมัยในพ้ืนที่ศึกษา โดยมีวิธีการศึกษา แบบผสมผสานระหว่างเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยในการศึกษาครั้งนี้ได้มีการศึกษาการ ดำเนินการหอศิลป์ของภาครัฐในเขตกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง ได้แก่ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ หอศิลป์วัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ กรม ศิลปากร ซึ่งในการศึกษาผู้วิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก ผู้ใช้ประโยชน์จาก หอศิลป์ เช่น ศิลปิน นักวิชาการ ประชาชนทั่วไป โดยเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษา ความพึงพอใจ และกลุ่มสอง ผู้บริหารหอศิลป์จากพื้นที่ที่ศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ และ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า หอศิลป์มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ทั้ง ดา้ นสังคม การเมือง เศรษฐกิจ และการศกึ ษา สำหรับความพงึ พอใจกลุ่มผใู้ ชป้ ระโยชน์หอศิลป์ พบว่า มีความพึงพอใจต่อบทบาทในการสง่ เสรมิ ศิลปวฒั นธรรมรว่ มสมยั ของหอศิลปใ์ นปจั จบุ ัน ชัชชญา คัณฑเขตต์ (2560) ได้ศึกษางานวชิ าการเรือ่ ง ความต้องการสารสนเทศของผูเ้ ย่ยี ม ชมหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเยี่ยมชม 5

หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ 2. เพื่อศึกษาความต้องการสารสนเทศของผู้เยี่ยมชมหอ ศิลป์วัฒนธรรมแห่งกรุงเทะมหานคร ใช้วิธีการทำวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือใน การศึกษา จากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เยี่ยมชมหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครชาวไทย ในเดือน กรกฎาคม 2560 จำนวน 400 คน และมีการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ผลการศึกษาพบว่า ผู้เข้าชมส่วน ใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21 – 40 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษาวิชาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สาขา ด้านศิลปะ ผู้เยี่ยมชมส่วนใหญ่มีความถี่ในการเยี่ยมชม มากกว่า 5 ครั้งต่อปี และในการเยี่ยมชมส่วน ใหญ่พบว่าต้องการเยี่ยมชมด้วยตนเองมากที่สุด รองลงมาคือการนำชมโดยศิลปิน และผู้เยี่ยมชมท่ี ไม่ใช่นักนักเรียน/นักศึกษาด้านศิลปะมีความต้องการสารสนเทศด้านการจัดกิจกรรมทางศิลปะมาก ที่สุด คือ กิจกรรมการแสดงดนตรี ละครนาฎศิลป์ กิจกรรมที่มีความต้องการน้อยที่สุด คือ กิจกรรม ภัณฑารักษ์นำชม ส่วนนักเรียน/นักศึกษาด้านศิลปะมีความต้องการสารสนเทศพื้นฐานด้านข้อมูลที่ สร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะ และผู้เยี่ยมชมส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยความต้องการแหล่ง สารสนเทศทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครมากที่สุด คือ ช่องทาง เฟสบคุ๊ สุดท้ายลักษณะสารสนเทศทผี่ เู้ ย่ียมชมต้องการมากท่ีสุด คอื ความนา่ สนใจในการนำเสนอ ยุวดี เรืองวิศรุตพงศ์ (2560) ได้ศึกษางานวิชาการเรื่อง การพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูล ผลงานศิลปะ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ มีวัตถุประสงค์ 1. เพ่ือการพัฒนาระบบ จัดเก็บข้อมูลผลงานศิลปะ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลป และ 2. เพื่อศึกษาความพึง พอใจของผู้ใช้ตอ่ ระบบจดั เก็บข้อมูลผลงานศิลปะ กรณีศึกษาพพิ ิธภัณฑสถานแห่งชาตหิ อศิลป และใน การศึกษาผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานระหว่างรูปแบบเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ และใช้ เครื่องมือในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผู้เข้าชม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 50 คน และ 2. เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งเป็น เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิชาการ จำนวน 3 คน พร้อมทั้งสัมภาษณ์ผู้ท่ีเกี่ยวข้องกับระบบจัดเก็บข้อมูลผงงาน ศิลปะ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า จากการวิเคราะห์ผลการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลผลงานศิลปะ กรณศี กึ ษาพพิ ธิ ภณั ฑสถานแกง่ ชาติ หอศลิ ป จากการสมั ภาษณผ์ เู้ ชย่ี วชาญ 3 ท่าน พบวา่ การประเมณิ เนื้อหาและการออกแบบระบบในการจัดเก็บข้อมูลผลงานศิลปะนั้นใช้ได้จริง และการพัฒนาจัดเก็บ ข้อมูลผลงานศิลปะ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลปะ พบว่ามีการใช้ใชภาษา PHP และ ฐานข้อมูล MySQL และใช้โปรแกรมจุมล่า ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ 1. ผู้ใช้ระบบ และ 2. ผู้ดูแล ระบบ และผลการศกึ ษาด้านความพึงพอใจ พบวา่ ผู้เขา้ ใชง้ านระบบมีความพึงพอใจในระดบั มาก 6

ประพล คำจิ่ม (2561) ได้ศึกษางานวิชาการเรื่อง หอศิลป์ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัย: กรณีศึกษาหอศลิ ป์วทิ ยนทิ รรศ จุฬาลงกรณม์ หาวทิ ยาลัย พ.ศ. 2538 – 2560 บทความวิชาการนี้เป็น บทความผ่านประสบการณ์ตรงของผู้เขียนในตำแหน่งหัวหน้าหอศิลป์วิทยนิทรรศน์ โดยมีการ วิเคราะห์ 5 ปัจจัยหลักการบริหารจัดการหอศิลป์ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัย ดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ การกำเนิดวัตถุประสงค์ 2. บทบาทและหน้าที่ของหอศิลป์ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัย 3. โครงสร้าง ดำเนินงานในแต่ละช่วงเวลา 4. กระบวนการคัดสรรหรือการได้มาของนิทรรศการ และ 5. โครงการ เพื่อการศึกษาลารบริการวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่ออธิบายความสำคัญ และความความแตกต่างของหอ ศิลป์ภายใต้สังกัดมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่เป็นเฟืองจักรสำคัญในการขับเค ลื่อนพัฒนาการศิลปะร่วม สมัยไทย นอกจากนยี้ ังมกี ารอภปิ รายปัญหาทเ่ี กิดข้ึนในแต่ละส่วนของการบรหิ ารจัดการหอศิลป์สังกัด มหาวิทยาลัยผ่านกรณีศึกษาหอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้วิจัยมองว่า การศึกษาครั้งนี้จะสามรถเป็นองค์ความรู้เชิงลึกให้แก่หอศิลปในสังกัดมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และ สามารถเป็นต้นแบบในการปรับปรุงหรือสร้างแนวทางการบริการให้แก่หอศิลป์ในสังกัดมหาวิทยาลัย อนื่ ๆ ในอนาคต ผ่านกรณีศกึ ษาหอศิลป์วิทยนทิ รรศน์นี้ วิภูษณะ ศุภนคร, สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง, และ วิรุณ ตั้งเจริญ (2562) ได้ศึกษางาน วิชาการเรื่อง หอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานคร: การจัดการและการดำรงอยู่ ในบริบทของ ศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาพัฒนาการและการดำรงอยู่ของหอศิลป์ เอกชนในกรุงเทพมหานคร และ 2. เพื่อศึกษารูปแบบ ลักษณะ ระบบ กลไกการจัดการ ปัญหาและ อุปสรรค ของหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพพมหานคร ในบริบทวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย ผู้วิจัยใช้รูปแบบ วจิ ัยเชิงคณุ ภาพ ดว้ ยการสัมภาษณ์ผ้เู ก่ียวขอ้ ง ซง่ึ แบง่ กลุ่มผูส้ มั ภาษณ์ออกเปน็ 3 กลุม่ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีอายุดำเนินงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่มีอายุการดำเนินงานตั้งแต่ 5 – 10 ปี และ กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่มีอายุการดำเนินงานต่ำกว่า 5 ปี และผลการศึกษาพบว่าในปัจจุบันหอศิลป์เอกชนใน กรุงเทพมีประมาณ 43 แห่ง และจากการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกทำให้ได้ผลวิจัยดังนี้ 1. ผลการศึกษา ด้านพัฒนาการ และการดำรงอยู่ของหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพมหานคร พบว่า หอศิลป์เอกชนต้ังแต่ อดีตจนถงึ ปจั จบุ นั มกี ารดำรงอยมู่ ากว่า 6 ทศวรรษ ได้แก่ ทศวรรษท่ี 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 – 2510 ยุค บุกเบิก ทศวรรษที่ 2 ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 – 2520 ยุคเชื่อมโยงกับต่างชาติ ทศวรรษที่ 3 ตั้งแต่ พ.ศ. 2521 – 2530 ยคุ ขยายตวั ทศวรรษท่ี 4 ตง้ั แต่ พ.ศ. 2531 – 2540 ยคุ ทอง ทศวรรษท่ี 5 ต้ังแต่ พ.ศ. 2541 –2550 ยุคถดถอย และทศวรรษที่ 6 ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 –ปัจจุบัน ยุคปรับตัว และ 2. ผล การศึกษารูปแบบ ลักษณะ ระบบ กลไกการจัดการ ปัญหาและอุปสรรค ของหอศิลป์เอกชนใน 7

กรุงเทพพมหานคร พบว่าในรูปแบบการจัดการหอศิลป์เอกชนในกรุงเทพพมหานครมีอยู่ 2 รูปแบบ ได้แก่ การจัดการหอศิลป์แบบสมัยใหม่ และการจัดการหอศิลป์แบบหลังสมัยใหม่ที่มีการควบรวมกับ ธุรกจิ และศลิ ปะแขนงอนื่ เขา้ ดว้ ยกนั อนิวัฒน์ ทองสีดา (2562) ได้ศึกษางานวิชาการเรื่อง กิจกรรมศิลปะสำหรับงานศิลปะร่วม สมัย : กรณีศึกษาหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร บทความนี้ได้มุ่งไปที่การศึกษาการจัด กิจกรรมศิลปะสำหรับศิลปะร่วมสมัยของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นประโยชน์ ต่อการดำเนินงานด้านการศึกษาให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะหรือหอศิลป์ต่าง ๆ โดยได้ทำการศึกษาผ่าน กจิ กรรมการนทิ รรศการศิลปะร่วมสมยั ท่ีหอศลิ ปวฒั นธรรมแห่งกรงุ เทพไดจ้ ัดข้ึน ซึง่ มีนทิ รรศการ ดงั นี้ 1. นิทรรศการ อีสานสามัญ ซึ่งภายในนิทรรศการยังได้มีการทำกิจกรรม 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมนำ ชมเสียงอีสาน และ กิจกรรมศิลปะ/การกิน/อาหาร/อีสาน 2. นิทรรศการดิน น้ำ ป่า ฟ้า: แรงบันดาล ใจจากพ่อ นิทรรศการนี้มีกิจกรรมในนิทรรศการ 2 กิจกรรม คือ Children’s workshop สมุดบันทึก โลก: ดิน น้ำ ป่า ฟ้า และ นานิเวศสุนทรีย์ 3. นิทรรศการ แอร์วิน วูร์ม: ปรัชญา ประ-ติ-บัติ (Erwin Wurm: The Philosophy of Instructions) มีกิจกรรมในนิทรรศการ 4 กิจกรรม คือ กิจกรรม Workshop With Erwin Wurm กิจกรรม One Minute Sculpture Kids Version กิจกรรม Critic Talk และกจิ กรรม Exhibition Trail ซง่ึ การทำกิจกรรมเหล่านี้นั้นสอดคลอ้ งกบั แนวคิดของ UNESCO (1973) ที่ระบุไว้ว่าบทบาทของพิพิธภัณฑ์ต่อการศึกษาควรเป็นแหล่งค้นคว้าของนักศึกษา และเปิด โอกาสให้ประชาชนภายนอกเข้ามาศึกษาหาความรู้ ซึ่งกิจกรรมนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยของหอ ศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นกิจกรรมที่สอกคล้องกับแนวความคิดดังกล่าว เนื่องจากทุก กิจกรรมที่จัดขึ้นนั้นต่างเป็นกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น การพูดคุย และศิลปะปฏิบัติ ซึ่งพบว่า จากการศึกษากิจกรรมแต่ละกิจกรรมดังกล่าว ผู้ชมสนใจกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง หรือมีวิทยากร ที่อยู่ในกระแสสังคมขณะนั้น และมีระยะเวลาในการทำกิจกรรมไม่ยาวมากนัก และหากต้องการจัด กิจกรรมภายในศิลปะในพิพิธภัณฑ์ควรคำนึงถึงข้อต่อไปนี้ 1. วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม 2. ลักษณะนิสัย และรูปแบบการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่ร่วมกิจกรรม และ 3. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรม ควรเป็นช่วงเวลาท่เี หมาะสมกบั กลุ่มเปา้ หมาย 1.6.2 งานศึกษาที่เกยี่ วขอ้ งกับการเผยแพร่ศลิ ปะ วฒั นธรรม และภูมปิ ัญญา จากการศึกษาเกี่ยวกับการเผยแพร่ศิลปะผ่านสื่อออนไลน์ ผู้ศึกษาได้มีการค้นคว้าข้อมูลจาก งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง 3 ชิ้นงาน โดยเป็นงานศึกษาประเภทบทความออนไลน์ 1 ชิ้นงาน งานศึกษา 8

ประเภทบทความวรสารวิชาการ 1 ชิ้นงาน และงานศึกษาประเภทบทความวิจัย 1 ชิ้นงาน รวมทั้งส้ิน เปน็ 3 ชิ้นงาน ดังนี้ ลำดบั ชอื่ ผแู้ ต่ง ชื่อเรอื่ ง ปีท่ีพมิ พ์ ประเภท 1 อภินนั ท์ มุสกิ ะพงษ์ บทบาทของสื่อในการเผยแพร่ 2555 บทความ วัฒนธรรมไทย ออนไลน์ 2 พิจติ รา จอมศรี การเผยแพร่ภูมิปัญญาด้าน 2560 บทความ จิตรกรรมฝาผนังบนเกาะ วารสารวิชาการ รัตนโกสินทร์ด้วยระบบพิพิธภัณฑ์ เสมือนจรงิ 3 กญั กมญ เถื่อนเสมือน, การบริหารจัดการด้านการ 2560 บทความวจิ ยั สัมพันธ์ พลภกั ด์ิ ประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่มรดก ทางวัฒนธรรม ของวัดประยุร วงศาวาสวรวหิ าร ตารางที่ 1.2 งานศึกษาที่เกยี่ วขอ้ งกบั การเผยแพร่ศลิ ปะ วฒั นธรรม และภมู ิปญั ญา อภนิ ันท์ มุสกิ ะพงษ์ (2555) ไดศ้ กึ ษางานเร่อื ง บทบาทของสื่อในการเผยแพร่วฒั นธรรมไทย บทความนี้กล่าวถึงบทบาทหน้าที่ของสื่อต่าง ๆ 5 สื่อ ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ ส่ือ อินเตอร์เน็ต และ ส่ือจากการพูดปากตอ่ ปาก โดยกล่าวถงึ ความสำคญั ของสอ่ื ท่แี ตกตา่ งกนั และการใช้ สื่อเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกันในการเผยแพร่วัฒนธรรม เช่น สื่อโทรทัศน์ เป็นสื่อที่ทุกคนสามารถ เข้าถึงได้ง่าย เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพรว่ ัฒนธรรมไทย อาจจะใช้วิธีการเผยแพร่ แบบโฆษณา หรือสร้างรายการต่าง ๆ ที่น่าสนใจ เพื่อให้เรื่องราวที่เราต้องการเผยแพร่สามารถเข้าถึง ผู้ชมหรือประชาชนได้ทั่วถึง สื่อวิทยุเป็นสื่อท่ีมีบทบาทและความสนใจให้แก่ผู้คนในระดับปานกลาง สื่อนี้ผู้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย แต่เป็นสื่อที่มีความดึงดูดความสนใจผู้คนได้น้อยเพราะเป็นสื่อที่มีแต่ เสียง หากต้องการเผยแพร่วัฒนธรรมไทยควรใช้สื่อวิทยุชุมชนในการเผยแพร่ เพราะเข้าถึงผู้คนใน ชุมชนได้ง่าย สื่อสิ่งพิมพ์เป็นสื่อที่มีบทบาทในความน่าสนใจ เนื่องจากเป็นสื่อที่มีทั้งภาพและข้อความ เป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถแจกจ่ายได้ทั่วไป ที่สำคัญเป็นสื่อที่มีอายุยืนยาว และสามารถให้ข้อมูล ได้อย่างชัดเจนและลึกซึ้ง สามารถดัดแปลงไดห้ ลากหลายเพ่ือใหเ้ ขา้ กับกลุ่มเปา้ หมาย สื่ออินเตอร์เนต็ เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะเป็นสื่อที่มีทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความให้อ่านและดู ที่สำคัญสามารถเข้าถึงได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหรือเยาวชน 9

คนรุ่นใหม่ และสุดท้ายสื่อจากการพูดปากต่อปาก เป็นสื่อที่เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการ สอ่ื สาร ท่สี ำคัญยังเปน็ สอ่ื ทีส่ ามารถใชใ้ นการเผยแพรว่ ัฒนธรรมได้เปน็ อยา่ งดี เพราะผู้ฟงั มักจะมคี วาม เชื่อถือในทผี่ ้เู ลา่ ใหฟ้ ัง เป็นต้น กัญกมญ เถื่อนเสมือน และ สัมพันธ์ พลภักดิ์ (2560) ได้ศึกษางานวิชาการเรื่อง การ บริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ของวัดประยุรวงศาวาสวร วิหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา แนวทางการพัฒนา และปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้ การบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมของวัดประยุรวงศาวาสวร วิหารประสบผลสำเร็จ มีการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา กลุ่มเป้าหมายคือประชาชน ในเขตพื้นที่ธนบุรีจำนวน 127,708 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบแบบสอบถามนี้ได้มาจากการคำนวณ โดยใช้สูตรหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ ซึ่งวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เพราะได้สัมภาษณ์ เชิงลึกกับผู้เชียวชาญ จำนวน 9 ท่าน และผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้การบริหาร จัดการด้านการประชาสัมพันธ์เพื่อเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมของวัดประยุรวงศาวาสวรวิหารนั้น ประสบความสำเร็จทงั้ 2 ดา้ น คอื ปัจจัยทม่ี ีอธิ พื ลตอ่ ประสทิ ธภิ าพในการบริหารจัดการทเ่ี รยี กวา่ M4 พิจิตรา จอมศรี (2560) ได้ศึกษางานวิชาการเรื่อง การเผยแพร่ภูมิปัญญาด้านจิตรกรรมฝา ผนังบนเกาะรัตนโกสินทร์ด้วยระบบพิพิธภัณฑ์ เสมือนจริง มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์ เสมือนทนี่ ำเสนอเกีย่ วกบั จิตรกรรมฝาผนัง 2. เพอื่ นำเสนอภาพจติ รกรรมฝาผนังและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และ 3. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมภาพจิตรกรรมฝาผนังและ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ และในการศึกษาผู้วิจัยได้ทำการสร้างเว็บไซต์เพื่อแสดง ผลงานจิตรกรรมฝาผนัง และได้ทดลองให้มีผู้ใช้งานระบบจริง และผลการศึกษาพบว่าผู้เข้าศึกษาใน ระบบพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงสำหรับจิตรกรรมฝาผนังบนเกาะรัตนโกสินทร์ มีระดับความรู้เกี่ยวกับภูมิ ปัญญาไทยเพิ่มขึ้น และผู้ใช้พึงพอใจระบบโดยเฉลี่ยในระดับมาก จึงสามารถสรุปได้ว่าพิพิธภัณฑ์ เสมือนจริงสำหรับจิตรกรรมฝาผนังสามารถสนับสนุนด้านการเผยแพร่ ศิลปวัฒนธรรมไทยได้และ สามารถนำระบบไปใช้ประโยชน์ได้อยา่ งมีประสิทธภิ าพ 1.7 วธิ กี ารดำเนนิ การวิจยั การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาหาข้อมูล และ รวบรวมข้อมลู จากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือ วิจัย วารสาร บทความวิชาการ และ สื่อออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ และสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากบุคลากรหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 10

จำนวน 3 ท่าน ประกอบไปด้วย ฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1 ทา่ น ผชู้ ่วยอธกิ ารบดีฝา่ ยศิลปวฒั นธรรมและเศรษฐกิจสรา้ งสรรค์ 1 ทา่ น และ บคุ ลากรกลุม่ ภารกิจ บริหาร ผู้จัดการหอศิลป์ 1 ท่าน พร้อมนำข้อมูลที่ได้รับเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อให้ได้เป็นฐานขอ้ มูลแก่ องค์กรตอ่ ไป 1.8 การนำเสนอ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเปน็ มาและความสำคญั ของปัญหา 1.2 วัตถุประสงคก์ ารวิจัย 1.3 ขอบเขตการวจิ ัย 1.4 ความหมายหรอื นิยามศพั ทเ์ ฉพาะ 1.5 ประโยชนท์ ่คี าดว่าจะไดร้ บั จากการทำวิจัย 1.6 วรรณกรรมและงานวิจยั ท่ีเกย่ี วข้อง 1.7 วิธกี ารดำเนนิ การวจิ ยั 1.8 การนำเสนอ บทที่ 2 ความเป็นมาของหอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น 2.1 หอศิลป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น 2.1.1 ประวัตคิ วามเป็นมาของหอศิลป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ 2.1.2 พื้นที่ใช้สอยและตัวอาคาร 2.1.3 ขนั้ ตอนการคัดเลือกผลงานศิลปะเพื่อจดั แสดงนิทรรศการ 2.1.4 ขนั้ ตอนการแสดงนทิ รรศการ 2.1.5 จุดประสงคห์ อศลิ ปใ์ นการเผยแพรศ่ ิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน 2.1.6 นทิ รรศการท่ีจดั แสดงในหอศลิ ป์ 11

บทที่ 3 บทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาค อีสาน 3.1 บทบาททางการศกึ ษา 3.2 บทบาททางสงั คมและวัฒนธรรม 3.3 บทบาททางเศรษฐกิจ บทที่ 4 สรปุ อภปิ ราย และขอ้ เสนอแนะ 4.1 สรุปผลการศึกษา 4.2 อภิปรายผลการศกึ ษา 4.3 ข้อเสนอแนะ 12

บทท่ี 2 ความเปน็ มาของหอศิลป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ 2.1 หอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น ในการศึกษาบทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาค อีสาน ผูศ้ กึ ษาได้มีการศึกษาขอ้ มลู เกี่ยวกับประวตั คิ วามเป็นมาของหอศลิ ป์ พน้ื ที่ใชส้ อยและตัวอาคาร ขั้นตอนการจัดเตรียมการแสดงนิทรรศการ จุดประสงค์หอศิลป์ในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาค อสี าน และนทิ รรศการท่ีจัดแสดงในหอศลิ ป์ โดยมรี ายละเอียด ดงั นี้ 2.1.1 ประวตั คิ วามเป็นมาของหอศิลป์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น หอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เดิมชื่อ “หอศิลปวัฒนธรรม” เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2539 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ท่านได้อนุมัติให้มีการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมขึ้นร่วมกับ มหาวทิ ยาลยั ในภูมภิ าคสองแห่งคือ มหาวิทยาลยั เขยี งใหม่ และมหาวิทยาลัยทกั ษิณ โดยมีจุดประสงค์ ในการก่อตั้งเพื่อให้จัดแสดงและเผยแพร่ความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรมของภูมิภาค หอศิลปวัฒนธรรม แห่งนี้ได้รับรับการออกแบบโดยรองศาสตราจารย์วิโรจน์ ศรีสุขโล และ รองศาสตราจารย์ธิติ เฮงรัศมี โดยให้มีรูปทรงที่แสดงถึงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นคือ “อาคารรูปทรงเล้าข้าวของอีสาน” อันหมายถึง การเกบ็ ออมอาหารการกนิ ไวอ้ ย่างอดุ มสมบรู ณ์ และในวันที่ 25 มกราคม 2540 ซ่ึงตรงกบั วันสถาปนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น รัฐบาลชวน หลีกภัย ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเพื่อวางศิลาฤกษ์อาคาร และการก่อสร้างหอศิลปวัฒนธรรมได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคมปี 2541 พร้อมทั้งได้เปิดใช้ อย่างเป็นทางการในวันที่ 11 กันยายน 2541 และตั้งแต่เปิดใช้งานหอศิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น ไดม้ ีการจดั แสดงนทิ รรศการการเผยแพร่และจัดแสดงงานด้านศลิ ปะวัฒนธรรม ของหนว่ ยงานตา่ ง ๆ ทัง้ ภายในและภายนอกมหาวิทยาลยั ขอนแก่นและจากตา่ งประเทศมากกวา่ 300 นิทรรศการ แต่ด้วยระยะเวลาอันยาวนานนี้ทำให้ตัวอาคารนั้นมีสภาพที่ไม่สามารถตอบสนองต่อการ ใช้งานในยุคปัจจุบันได้ และเพ่ือให้สอดคล้องกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ดังนั้นในปี 2565 หอ ศิลปวัฒนธรรมจึงได้มีการปรับปรุงตกแต่งพื้นที่ตัวอาคารให้มีความสอดคล้องกับ ยุทธศาสตร์การเป็น ศูนย์กลางการเผยแพร่ผลงานศิลปะในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อเผยแพร่ผลงานศิลปะสู่สาธารณะ ชนทงั้ ยงั เป็นการสนองยุทธศาสตร์การเปน็ แหลง่ เรยี นรู้และพัฒนาพ้ืนทใ่ี หเ้ ปน็ พืน้ ทด่ี า้ นศิลปะการ 13

สร้างสรรค์และเพื่อเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ความรู้ต่อเยาวชนและชุมชนท้องถิ่นตลอดจนนักเรียน นักศึกษาบุคคลทั่วไปในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง อีกทั้งได้เริ่มปรับเปลี่ยนการจัดการข้อมูลทั้งหมดให้เกิด ความน่าสนใจที่จะดึงดูดความน่าสนใจให้คนเข้ามาศึกษาสนใจโดยเฉพาะในโลกด้วยดิจิทัล จึงได้ ออกแบบและปรับปรุงใหม่โครงสร้างอาคารใหม่ให้สอดคล้องกับยุคสมัย (จิราพร ประทุมชัย, 2565) ส่งผลให้หลังการปรับปรุงตัวอาคาร และการจัดการบริการข้อมูลใหม่ ในปี 2565 หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “หอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น” และปรับเปลี่ยน รูปแบบการนำเสนอนิทรรศการ จากเดิมที่นำเสนอนิทรรศการร่วมกับการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม ปรับเปลี่ยนมาเป็นสถานที่ที่ใช้จัดแสดงนิทรรศการเฉพาะศิลปะเท่านั้น อีกทั้งกายภาพภายในตัว อาคารจากเดิมที่มี 2 ชั้น ปรับเปลี่ยนให้กลายเป็น 3 ชั้น เพื่อให้สอดคล้องกับรสนิยมของคนปัจจุบัน และเพิ่มพื้นที่การจัดแสดงงานศิลปะ และที่สำคัญในการจัดนิทรรศการการมีชั้นที่ชัดเจนจะทำให้ สามารถกำหนดรูปแบบของงานนิทรรศการที่จะจัดแสดงได้ ซึ่งเป็นผลดีที่ผู้เข้าชมหอศิลป์จะสามารถ ชมนทิ รรศการไดต้ ามรูปแบบของงานศิลปะน้นั ๆ 2.1.2 พน้ื ทใี่ ชส้ อยและตัวอาคาร หอศิลป์ มลี ักษะเปน็ “อาคารรปู ทรงเลา้ ข้าวของอีสาน” ท่เี ดิมภายในมีกายภาพเป็น 2 ชั้น แต่เมื่อปี 2565 หลังการปรับปรุงภายในตัวอาคาร จึงทำให้ลักษณะทางกายภาพเปลี่ยนไปเป็น อาคาร 3 ช้นั และในแต่ละชัน้ มพี ้ืนทก่ี ารใช้สอยงาน ดังน้ี ชั้นที่ 1 จะเป็นพื้นที่จัดแสดงงานนิทรรศการศิลปะหมุนเวียน และเป็นพื้นที่ทำงาน ของบุคคลากรที่ทำงานภายในหอศิลป์ ประกอบไปด้วย รศ.ดร. นิยม วงศ์พงษ์คำ รอง อธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผศ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วย อธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นายฐัพไทย ถาวร ผู้จัดการหอศิลป์ และนายกติ ติพงษ์ จำรญู นักวิชาการโสตทัศนศึกษา ชั้น 2 เป็นพน้ื ทจ่ี ัดแสดงงานนิทรรศศลิ ปะหมุนเวยี น ชั้น 3 เป็นพื้นที่จัดแสดงงานนิทรรศศิลปะถาวร ของศิลปินท่ีมีชื่อเสียง เช่น งานของ ศลิ ปินแห่งชาติ ศลิ ปนิ มรดกอสี าน และศิลปินท่ีมีช่อื เสยี งเปน็ ทร่ี จู้ กั ในวงกวา้ ง 14

2.1.3 ขน้ั ตอนการคัดเลือกผลงานศลิ ปะเพื่อจัดแสดงนทิ รรศการ จากการสัมภาษณ์ นายฐัพไทย ถาวร ผู้จัดการหอศิลป์ กล่าวว่า ในขั้นตอนการคัดเลือก ผลงานศิลปะเพื่อจัดแสดงในหอศิลป์ การคัดเลือกผลงานศิลปะมี 2 รูปแบบ คือ 1. การคัดเลือก ผลงานจากอาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป และ 2. การคัดเลือกผลงานจากศิลปินที่มีชื่อเสียงใน ระดับประเทศ ซึ่งการคัดเลือกผลงานนั้นจะเป็นการคัดเลือกเพื่อเตรียมจัดนิทรรศการในปีต่อไป เช่น การคัดเลือกผลงานศิลปะในปี 2564 ผลงานศิลปะที่ถูกเลือกจะถูกนำมาจัดในนิทรรศการในปี 2565 ซึง่ ในแต่ละการคัดเลือกผลงานจะมีข้ันตอนทแ่ี ตกต่างกันออกไป โดยมรี ายละเอียด ดังนี้ 1. การคัดเลือกผลงานจากอาจารย์ นกั ศึกษา และบคุ คลทวั่ ไป ภาพท่ี 2.1 การคดั เลอื กผลงานจากอาจารย์ นกั ศึกษา และบุคคลทัว่ ไป 15

2. การเชิญ และคัดเลอื กจากศิลปินทมี่ ชี ่ือเสยี งในระดบั ประเทศ ภาพที่ 2.2 การคัดเลือกผลงานศลิ ปนิ ทม่ี ชี ื่อเสียงในระดับประเทศ 2.1.4 ข้นั ตอนการจดั แสดงนิทรรศการ จากการสัมภาษณ์ นายฐัพไทย ถาวร ผู้จัดการหอศิลป์ กล่าวว่า ในขั้นตอนการจัด แสดงนิทรรศการนั้น หอศิลป์จะรับผิดชอบทั้งหมด โดยที่ศิลปินผู้แสดงผลงานไม่ต้องรับผิดชอบ ค่าใชจ้ ่ายใด ๆ ทัง้ สิน้ ซง่ึ ในการจดั แสดงนทิ รรศการในหอศลิ ปม์ ีขั้นตอน ดงั น้ี 16

ภาพท่ี 2.3 ขนั้ ตอนการจัดแสดงนทิ รรศการ 2.1.5 จุดประสงค์หอศิลปใ์ นการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน จากการสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ออกนโยบายหอศิลป์ร่วมกับ รศ.ดร. นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ท่านได้ให้สัมภาษณ์ถึงจุดประสงค์หอศิลป์ ในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสานไว้ว่า ภาคอีสานทั้งในอดีตและปัจจุบันเป็นพื้นที่ขาดแคลน ทางสุนทรียศาสตร์ทางด้านงานศิลปะ เพราะงานศิลปะส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นมักถูกจัดแสดงที่ กรุงเทพฯ และมีบางจังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ที่เรียกได้ว่าเป็นที่รู้จักกันดี ของการเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แต่มีอีกจุดเด่นทางด้านการท่องเท่ียวที่ไม่แพก้ ันคือการเปน็ สถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และด้วยการเป็นแหล่งท่องเท่ียวทางวัฒนธรรมทำให้ในการ สร้างสรรค์งานศิลปะนั้นเกิดขึ้นมากมาย จึงทำให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นอีกหนึ่งจังหวัดนอกจาก กรุงเทพฯ ที่พื้นที่สุนทรียศาสตร์ยังคงมีลมหายใจอยู่บ้าง ด้วยเหตุน้ีหอศิลป์จึงมีเป้าหมายในการเป็น สถานที่ที่สามารถเปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งสุนทรียศาสตร์ และให้มีศิลปะเกิดขึ้นในภูมิภาคโดยเฉพาะใน 17

ภาคอีสาน เพราะภาคอีสานมีเส้นทางสำคัญที่สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ศึกษา เช่น ลาว เวียดนาม กัมพูชา ด้วยภูมิศาสตร์นี้ทำให้ภาคอีสานนั้นกลายเป็นชายขอบของ ศูนย์กลางงานศิลปะทางด้านทิศตะวันออก และอีกเหตุผลสำคัญในการมีอยู่ของหอศิลป์ในภาคอีสาน คือเพื่อให้คนในภาคอีสาน และคนในแถบผู้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3 ประเทศ (ลาว เวียดนาม กัมพูชา) ได้ซมึ ซบั ความงามศลิ ปะในดา้ นสุนทรยี ศาสตร์ 2.1.6 นิทรรศการท่ีจัดแสดงในหอศลิ ป์ จากการสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เกี่ยวกับการจัดแสดงนิทรรศการหอศิลป์ ท่านได้กล่าววา่ หอศิลป์ในจัดแสดง งานนิทรรศการงานศิลปะประเภทที่จัดแสดงคือ “ศิลปะร่วมสมัย” และท่านยังได้ให้คำอธิบายถึงการ ถึงศิลปะร่วมสมัยไว้ว่า “ศิลปะร่วมสมัย คือศิลปะที่มีชีวิตอยู่ตลอดเวลา และเป็นศิลปะรับใช้ช่วงเวลา นั้นๆ กล่าวว่างานศิลปะที่สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นมักจะถูกใช้ไปในช่วงเวลานั้น หรือในอนาคตหากศิลปะ จะถูกเปลี่ยนไปอย่างไร แต่ที่ผ่านมาศิลปะนั้นก็ได้รับใช้ช่วงเวลาของตนที่เคยเกิดขึ้นแล้ว ดังน้ันคำว่า ศิลปะร่วมสมัยกับสภาพสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ในการจัดแสดงนิทรรศการหอศิลป์แห่งนี้จึง เปรียบเสมือนเป็นพื้นที่รองรับงานศิลปะที่เกิดขึ้นในสภาพปัจจุบัน” และนิทรรศการที่ถูกจัดแสดงใน หอศิลป์ส่วนใหญ่จะเป็นงานศิลปะแบบ Art Exhibition For Fine Art โดยงานที่จัดแสดงมักจะเป็น Fine Art หรอื งานวิจติ รศิลป์ เปน็ ศิลปะทสี่ ร้างประโยชน์ทางดา้ นจิตใจ สนองความคดิ ความรูส้ ึก และ ความประทับใจในงานเป็นสำคัญ ซึ่งงาน Fine Art ที่หอศิลป์นำมาจัดแสดงมีอยู่ 6 ประเภท ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ศิลปะเทคนิคผสม ศิลปะผสม และภาพถ่าย และงานศิลปะที่ หอศลิ ป์ไม่นำมาจัดแสดงนิทรรศมี 2 ประเภท คอื งานการแสดง (Performance) และงานวรรณกรรม ซึ่งรูปแบบการเลือกงานศิลปะเพื่อจัดแสดงนิทรรศการ ทั้งงานศิลปะที่ได้รับเลือก และงานศิลปะท่ี ไม่ได้ถูกนำมาจัดแสดงล้วนอยู่ภายใต้นโยบายหอศิลป์ทั้งส้ิน ดังนั้นงานที่ถูกนำมาจัดแสดงมักจะเป็น งานที่สร้างสุนทรีย์ สร้างคุณค่าด้านจิตใจ และเป็นงานที่สร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับงานศิลปะให้แก่ นกั เรยี น นกั ศกึ ษา และบคุ คลทว่ั ไปได้ 18

บทที่ 3 บทบาทหอศลิ ป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่นในการเผยแพรศ่ ิลปะ ร่วมสมยั ในภาคอีสาน จากการศึกษาบทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาค อีสาน ซึ่งผู้ศึกษาได้ศึกษาผ่านการจัดนิทรรศการ พบว่าตั้งแต่ปี 2560 - 2565 หอศิลป์มีบทบาท 3 ด้าน คอื บทบาททางการศึกษา บทบาททางสงั คมและวัฒนธรรม และบทบาททางเศรษฐกิจ โดยใน แตล่ ะบทบาทมีรายละเอียด ดังน้ี 3.1 บทบาททางการศึกษา บทบาททางด้านการศกึ ษาของหอศิลปโ์ ดยท่ัวไปแล้วน้ันมักถูกจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ทางด้านศิลปศึกษา มีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นสถานที่จัดแสดงงานศิลปะ และเผยแพร่ศิลปะสู่ สาธารณชน เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ แรงบันดาลใจ เทคนิคและกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน ของศิลปิน (ชัชชญา คัณฑเขตต์, 2561) ซึ่งหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอีกหนึ่งในหอศิลป์ที่มี บทบาททางการศึกษาในลักษณะเดียวกัน คือเป็นพื้นที่ที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป แต่อย่างใรก็ตามด้วยหอศิลป์นี้ เป็นหอศิลป์ที่อยู่ภายใต้การดูแล โดยสังกัดมหาวิทยาลยั จึงทำใหบ้ ทบาททางการศึกษานั้นแตกต่างจากหอศิลป์ทั่วไป ซึ่งจากการศึกษา และสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กติ ติสนั ต์ ศรีรกั ษา ผ้ชู ว่ ยอธกิ ารบดีฝา่ ยศลิ ปวัฒนธรรมและเศรษฐกจิ สร้างสรรค์ พบวา่ ในบทบาททางด้านการศกึ ษาหอศลิ ป์มีบทบาททางด้านการศึกษาที่สำคัญหลัก ๆ อยู่ 2 ดา้ น คือ 1. หอศิลปเ์ ปน็ พน้ื ที่ให้นกั ศึกษาได้แสดงออกถึงผลงานทางด้านศลิ ปะ กล่าวคอื ในมหาวทิ ยาลัยนั้นเปน็ พื้นที่ทางการศึกษาที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางด้านศิลปะ เช่น คณะศิลปกรรม ซึ่งเป็นคณะที่มี หลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับศิลปะโดยเฉพาะ ทำให้งานทางด้านศิลปะนั้นมีนักศึกษาจำนวน หลายคนท่ีสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะขึ้น แต่ถึงจะมีการสร้างสรรค์ผลงานกันอย่างมากมาย แต่กลับ มีไม่มีพื้นที่มากพอสำหรับการจัดแสดงงานศิลปะเหล่านั้น ดังนั้นหอศิลป์จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้าง พื้นที่การแสดงออกทางศิลปะของนักศึกษา เพื่อให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงงานของพวกเขา ได้มากขึ้น 2. หอศิลป์เป็นพื้นที่ให้โอกาสทางด้านวิชาการ โดยให้เป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานศิลปะใหแ้ ก่ บุคลากร และอาจารย์ ที่ทำงานในด้านศิลปะ ด้วยการนำผลงานมาจัดแสดงเพื่อใช้ในการขอตำแหน่ง 19

ทางวิชาการต่าง ๆ ในอนาคต แต่อย่างไรก็ตามบทบาททางการศึกษาด้านนี้ ในปัจจุบันนั้นหอศิลป์อยู่ ในขั้นตอนของการดำเนินการ ซึ่งได้มีการจัดต้ังชุดกรรมการเพื่อดำเนินการแล้วในปี 2562 แต่ด้วย สถานกาณ์โควิด-19 ทำให้การดำเนินการได้หยุดชะงักไป ทำให้ไม่ได้ทำเนินการต่อ แต่ในอนาคตจะมี การดำเนินการต่อเพื่อให้หอศิลป์บรรลุในการเป็นพื้นที่ให้โอกาสให้แก่บุคลากร และอาจารย์ในการใช้ งานศิลปะในการขอตำแหน่งทางวิชาการ ซึ่งหากในอนาคตหอศิลป์ทำได้ก็จะเป็นผลดีแก่บุคลากร อาจารย์ และรวมถงึ ผู้สร้างสรรคผ์ ลงานศลิ ปะกลุม่ อื่นๆ 3.2 บทบาททางสังคมและวัฒนธรรม ในบทบาททางด้านสังคมและวัฒนธรรม จากการสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ท่านได้กล่าวว่า หอศิลป์ เปรียบเสมือนเป็นพื้นที่ทางสังคมที่คอยขัดเกลาผู้คนในสังคมทางด้านจิตใจ สร้างความสุนทรีย์ และ คอยขัดเกลาจิตใจผูค้ นด้วยศิลปะ อีกทั้งยังสร้างความเป็นอารยะให้แก่กลุ่มคนท่ีเข้าชมพื้นผลงานศิลป์ นอกจากนี้ท่านยังบอกอีว่าในด้านบทบาททางสังคมนี้หอศิลป์มีบทบาทแบ่งเป็น 2 ด้าน หลัก ๆ คือ 1. ด้านรูปธรรม คือ การมีอยู่ของหอศิลป์ส่งผลให้เกิดกิจกรรม และพิธีกรรมที่สามารถมองเห็น และ สัมผัสได้ เช่น กิจกรรมการเปิดนิทรรศการประจำเดือนของหอศิลป์ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในทุก ๆ เดือน เพอ่ื ประชาสมั พนั ธ์ถึงรูปแบบการจัดแสดงนทิ รรศการศิลปะในแตล่ ะเดอื นว่ามผี ลงานในรูปแบบ ใดจัดแสดงบ้างเพื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วม กิจกรรม ต่อมากิจกรรมส่งเสริมการศึกษาอย่างกิจกรรมทัศนศึกษา ซึ่งกิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมท่ี หอศิลป์เปิดพื้นที่ให้แก่ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่สนใจเข้าชมนิทรรศการผลงาน ศิลปะ สามารถทำหนังสอื ขอความอนเุ คราะห์การเข้าชมมาที่หอศิลป์ ซึ่งหอศิลป์จะเตรียมการตอ้ นรบั และจัดเตรียมสถานที่อำนวยความสะดวก ซึ่งกิจกกรมนี้เป็นกิจกรรมทีห่ อศลิ ปจ์ ัดขึน้ เพือ่ ส่งเสริม และ เพื่อสร้างความใกล้ชิดให้แก่ผู้คนกับงานศิลปะ นอกจากกิจกรรมเหล่านี้แล้วหอศิลป์ยังมีกิจกรรม ทางด้านสังคมออนไลน์ ให้แก่ นักเรียน นักศึกษา บุคลากร และประชาชนเข้าร่วม เช่น ในช่วงโควิดที่ ผ่านมาทางหอศลิ ป์ได้มีการจัดกจิ กรรมท่ีมชี อื่ ว่า “ผลงานวาดดว้ ยใจสู้ภยั โควิด” ซ่ึงเปน็ กิจกรรมให้ผู้ที่ สนใจสร้างสรรค์ผลงานให้กำลังใจในช่วงสถานการณ์โควิด ส่งภาพมาที่เพจเฟซบุ๊คหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อร่วมสนุก หลังจากนั้นผลงานจะได้รับการเผยแพร่ในช่องทางเพจเฟซบุ๊ค และ 2. ด้านนามธรรม คือ การสร้างพื้นที่ทางด้านจิตใจให้แก่ผู้คน อาจกล่าวได้ว่าการเป็นบทบาท ทางด้านนามธรรมนั้นเป็นผลมาต่อเนื่องจากด้านรูปธรรมคือ การที่ผู้คนมาเข้าร่วมกิจกรรม หอศิลป์ เปรียบเป็นช่องทางให้ผู้คนได้สัมผัสเกี่ยวกับศิลปะ และเพิ่มโอกาสในการพบเจอคนอื่น ๆ ในสังคม 20

รวมถึงเป็นช่องทางที่จะใช้หอศิลป์กลายเป็นพื้นที่พักผ่อนทางจิตใจ สร้างความสุนทรีย์ทางศิลปะ นอกจากนี้ ผศ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ยังได้ให้การสัมภาษณ์ถึงบทบาททางสังคมและวัฒนธรรมใน อนาคตที่เป็นรูปแบบนามธรรมของหอศิลป์ไว้ว่า “หวังว่าการมีอยู่ของหอศิลป์จะช่วยให้ผู้คนในภาค อีสานเข้าใจศิลปะได้มากขึ้น และผู้คนสามารถที่จะใช้ศิลปะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตได้” และท่านได้ อธิบายถึงสิ่งที่กล่าวไว้ว่า “ผู้คนในปัจจุบันรวมถึงผู้คนในภาคอีสาน ชีวิตนั้นมุ่งเน้นที่จะศึกษาหา ความรู้เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตข้างหน้า หรือบางคนมุ่งเน้นประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีพอย่างเดียว หลงลืมการคน้ หาความสุขระหว่างทาง เปน็ ส่งิ นำมาซึ่งความเครยี ม ความกดดนั จนอาจนำไปสู่บ่อเกิด ท่เี ป็นปัญญาทางสภาพจิตใจที่เรยี กว่า โรคซึมเศรา้ ” ดงั นน้ั การมีอยูข่ องหอศลิ ป์จะเปน็ พื้นท่ีท่ีสามารถ ให้ผู้คนใช้เป็นสถานที่เก็บเกี่ยวความสุขระหว่างทางจากการมาชมงานศิลปะ และใช้เยียวยาจิตใจของ ผู้คนที่เหนื่อยกับการดำรงชีวิตได้ หรืออย่างน้อย ๆ ให้หอศิลป์แห่งนี้เป็นพื้นที่ที่สามารถให้ผู้คนได้ เริ่มทำความรู้จักกับศลิ ปะได้มากยิ่งขน้ึ 3.3 บทบาททางเศรษฐกิจ ในบทบาททางเศรษฐกิจ จากการศึกษาสัมภาษณ์ ผศ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วย อธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พบว่าบทบาททางด้านนี้หอศิลป์ยังไม่ได้มี บทบาทมากนักเท่าหอศิลป์ในเมืองหลวงประเทศไทยอย่างกรุงเทพฯ และหอศิลป์ในจังหวัดที่เป็น แหล่งท่องเที่ยวอย่างจังหวัดเชียงใหม่ แต่อย่างไรก็ตามบทบาททางเศรษฐกิจของหอศิลป์แห่งนี้ก็ สามารถแบ่งได้ 2 ด้าน คือ 1. ด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อศิลปิน เช่น การขายงานศิลปะ จากการที่มี ผู้คนเข้าชมนิทรรศการแล้วสนใจซื้อภาพวาดของศิลปิน และในการขายงานศิลปะนี้หอศิลป์จะทำ หน้าทเ่ี ป็นตัวกลางในการขายงานใหแ้ กผ่ ้ซู อื้ และศิลปิน โดยทีไ่ ม่มีการหกั ร้อยละจากการขายงานศิลปะ ใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นการขายงานนี้จะส่งผลให้ศิลปินมีรายได้แบบเต็มจำนวน ที่สำคัญยังสร้าง แรงผลักดันให้ศิลปินสร้างสรรค์ผลงานออกมาในอนาคตได้อีกด้วย 2. ด้านเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัย แวดล้อม เช่น การท่องเท่ียว ในด้านนี้ท่าน ผศ.ดร.กติ ติสันต์ ศรีรักษา ได้กล่าววา่ ในด้านการท่องเท่ยี ว หอศลิ ปเ์ ปน็ สถานทีท่ อ่ งเที่ยวที่ผ้คู นโดยเฉพาะในหมู่นักเรยี น นกั ศกึ ษา นิยมมาเปน็ อย่างมาก โดยสว่ น ใหญ่จะมาท่องเที่ยวจากกิจกรรมการทัศนศึกษา ซึ่งการมาท่องเที่ยวนั้นเกี่ยวเนื่องกับบทบาททาง เศรษฐกจิ คอื การเพ่มิ เงินหมนุ เวยี นในพ้นื ที่เพม่ิ รายได้ใหแ้ กป่ ระชาชนในท้องถิ่นทนี่ ำสนิ ค้ามาขาย อีก ทัง้ ยงั ทำให้เกิดธุรกิจการทอ่ งเทยี่ วในภมู ภิ าคขึน้ ในอนาคตได้อีกด้วย 21

บทท่ี 4 สรปุ อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จากการศกึ ษางานวิจัยเรื่อง บทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะรว่ ม สมัยในภาคอีสาน โดยมีวัตถปุ ระสงค์ คอื 1. เพ่ือศกึ ษาความเปน็ มาของหอศิลป์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ และ 2. เพื่อศึกษาบทบาทหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาคอีสาน มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 ถึง วันที่ 17 มีนาคม 2566 ซึ่งจากข้อมูลการศึกษา ผศู้ ึกษาสามารถสรปุ ผลการศึกษาได้ ดงั น้ี 4.1 สรุป ในการศกึ ษาบทบาทหอศลิ ป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในการเผยแพร่ศลิ ปะร่วมสมยั ใน ภาคอีสาน ผู้ศึกษาได้ดำเนินการหาข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหอศิลป์ และงานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม และภูมิปัญญา โดยได้ทบทวนเอกสาร ทั้งหมดจำนวน 9 ชิ้นงาน และสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากบุคลากรหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 3 ท่าน ประกอบไปด้วย รศ.ดร. นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผศ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ นายฐัพไทย ถาวร ผู้จัดการหอศิลป์ นอกจากนี้ผู้ศึกษายังได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับหอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยแบ่งหัวข้อการศึกษาออกเป็น 6 หัวข้อ ได้แก่ 1. ประวัติความเป็นมาของ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. พื้นที่ใช้สอยและตัวอาคาร 3. ขั้นตอนการคัดเลือกผลงานศิลปะ เพื่อจัดแสดงนิทรรศการ 4. ขั้นตอนการแสดงนิทรรศการ 5. จุดประสงค์หอศิลป์ในการเผยแพร่ศิลปะ รว่ มสมัยในภาคอสี าน และ 6. นิทรรศการท่ีจัดแสดงในหอศลิ ป์ จากนั้นผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาบทบาทหอศิลป์ในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยใน ภาคอีสาน 3 ด้าน คือ บทบาททางการศึกษา บทบาททางสังคมและวัฒนธรรม และบทบาททาง เศรษฐกิจ โดยอาศัยการศึกษาจากการสัมภาษณ์ของ ผศ.ดร.กิตติสันต์ ศรีรักษา ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่าย ศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในแต่ละบทบาทมีรายละเอียด ดังน้ี บทบาททางการศึกษา หอศิลป์มีบทบาทหลัก ๆ อยู่ 2 ด้าน ได้แก่ 1. เป็นพื้นที่ให้นักศึกษาได้ แสดงออกถงึ ผลงานทางด้านศลิ ปะ และ 2. เป็นพ้ืนท่ใี ห้โอกาสทางดา้ นวชิ าการ บทบาททางดา้ นสังคม และวัฒนธรรม หอศิลป์มีบทบาทหลัก ๆ อยู่ 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านรูปธรรม คือ การดำรงอยู่ของ 22

หอศิลป์ส่งผลให้เกิดกิจกรรม และพิธีกรรมที่สามารถมองเห็น และสัมผัสได้ เช่น กิจกรรมการเปิด นิทรรศการประจำเดือนของหอศิลป์ และกิจกรรมทัศนศึกษา เป็นต้น และ 2. ด้านนามธรรม คือ การ สร้างพื้นที่ทางด้านจิตใจให้แก่ผู้คน โดยหอศิลป์เป็นพื้นท่ีให้ผู้คนได้สัมผัสเกี่ยวกับศิลปะ และเพิ่ม โอกาสในการพบเจอคนอื่น ๆ ในสังคม รวมถึงเป็นพื้นที่พักผ่อนทางจิตใจ สร้างความสุนทรีย์ทาง ศิลปะ สุดท้ายบทบาททางเศรษฐกิจ หอศิลป์มีบทบาทอยู่ 2 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อ ศิลปิน เช่น การขายงานศิลปะ จากการที่มีผู้คนเข้าชมนิทรรศการแล้วสนใจซื้อภาพวาดของศิลปิน และ 2. ด้านเศรษฐกิจที่เป็นปัจจัยแวดล้อม เช่น การท่องเที่ยว หอศิลป์เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ผู้คน โดยเฉพาะในหมู่นักเรียน นักศึกษา นิยมมาเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่มักมาท่องเที่ยวจากกิจกรรม การทัศนศึกษา ซึ่งการมาท่องเที่ยวนั้นเกี่ยวเนื่องกับบทบาททางเศรษฐกิจ คือ การเพิ่มเงินหมุนเวียน ในพื้นที่เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นที่นำสินค้ามาขาย อีกทั้งยังทำให้เกิดธุรกิจการท่องเที่ยว ขนึ้ ในภูมภิ าค 4.2 อภิปรายผล จากการศกึ ษาวจิ ยั เรอื่ ง บทบาทหอศิลป์ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ ในการเผยแพรศ่ ิลปะ รว่ มสมยั ในภาคอสี าน ผู้ศกึ ษาสามารถอภปิ รายผลการศกึ ษาได้ ดังน้ี การวิจัยนี้เกี่ยวกับการศึกษาบทบาทหอศิลป์ในการเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัยในภาค อีสาน โดยในศึกษาผูศ้ ึกษาได้ใช้วธิ ีการทบทวนวรรณกรรมท่ีเกี่ยวข้อง พร้อมทำการสัมภาษณ์และเกบ็ ข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และผลการศึกษาพบว่าหอศิลป์มีบทบาท 3 ด้าน ได้แก่ 1. บทบาททางการ ศึกษา คือ หอศิลป์เป็นพื้นที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และเป็นพื้นที่แสดงออกทางด้านผลงานศิลปะ สำหรับ นักเรียน นักศึกษา บุคลากร อาจารย์ และบุคคลทั่วไป 2. บทบาททางสังคมและวัฒนธรรม คือ หอ ศิลป์เปน็ พนื้ ทที่ างสงั คมที่คอยขดั เกลาผคู้ นในทางดา้ นจิตใจ สรา้ งความสุนทรยี แ์ ละสรา้ งแรงบนั ดาลใจ และ 3. บทบาททางเศรษฐกิจ คือ หอศิลป์เป็นพื้นที่สร้างรายได้ให้แก่ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ซ่ึง บทบาทหอศิลป์เหล่านี้เกิดจาการมีอยู่ของหอศิลป์ผ่านการจัดนิทรรศการทั้งสิ้น ซึ่งการศึกษานี้ แตกต่างจากงานของ ประพล คำจิ่ม ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทของหอศิลปวิทยานิทรรศ ในบทบาท ทางด้านการศึกษาเพียงอย่างเดียว ในขณะที่วิจัยนี้จะเน้นศึกษาไปที่การมีบทบาทหอศิลป์ทั้ง 3 ด้าน (บทบาททางการศึกษา บทบาททางสังคมและวัฒนธรรม และบทบาททางเศรษฐกิจ) ซึ่งงานวิจัยชิ้นน้ี จะสามารถเติมเต็มงานวิจัยของ ประพล คำจิ่ม ในบทบาทด้านอื่นได้ และจากการศึกษาผู้ศึกษาพบว่า งานวิจัยที่เกี่ยวกับหอศิลป์ยังไม่มีผู้ใดจัดทำ ดังนั้นงานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการศึกษา เกย่ี วกบั หอศลิ ป์แห่งนใี้ นอนาคต 23

4.3 ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาวิจยั เร่อื ง บทบาทหอศลิ ป์ มหาวิทยาลัยขอนแกน่ ในการเผยแพร่ศิลปะ ร่วมสมัยในภาคอสี าน สามารถแบ่งข้อเสนอแนะออกเปน็ 2 ดา้ น ดังน้ี 1. ข้อเสนอแนะทางดา้ นวิชาการ รศ.ดร. นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวฒั นธรรมและเศรษฐกจิ สร้างสรรค์ มีข้อเสนอแนะเพื่อต่อยอดงานวิจัยชิ้นนี้ คืองานวิจัยนี้สามารถต่อยอดในการจัดทำวิจัยเกี่ยวกับหอ ศิลป์ได้ เช่น การนำเอาข้อมูลงานวิจัยนี้ไปต่อยอดเพื่อสร้างงานวิจัยเปรียบเทียบข้อมูลหอศิลป์ใน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ว่าในแต่ละหอศิลป์นั้นมคี วามเหมอื นหรือแตกต่างกนั อยา่ งไร 2. ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย จากการศึกษาผู้ศึกษาพบว่าในการจัดทำวิจัยในครั้งนี้ข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้อง กับหอศิลป์มีน้อยมาก ส่งผลให้เกิดอุปสรรคในการค้นคว้าข้อมูลทางการศึกษา และข้อมูลทาง การศึกษาที่ได้มาส่วนใหญ่เป็นข้อมูลการสัมภาษณ์ ดังนั้นหอศิลป์ควรมีการสร้างฐานข้อมูลในการ เผยแพร่ข้อมูลมากยิง่ ขึ้น เช่น การจดั ทำเวบ็ ไซตห์ อศลิ ป์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ โดยเฉพาะ เปน็ ต้น 24

บรรณานกุ รม กญั กมญ เถื่อนเสมอื น, และ สัมพันธ์ พลภกั ดิ์. (2560). การบริหารจัดการดา้ นการประชาสมั พันธเ์ พอ่ื เผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม ของวัดประยรุ วงศาวาสวรวหิ าร. วารสารวชิ าการ มหาวทิ ยาลัยอสี เทริ ์นเอเชยี , 7(2), 237 – 245. สบื คน้ เมอื่ 19 ธนั วาคม 2565, จาก https://kku.world/01gzn จิราพร ประทมุ ชยั . (2565). มข. เปิดหอศลิ ปโ์ ฉมใหม่ แปลกตา ทนั สมัย เพ่ิมพ้นื ทีเ่ รียนรูข้ อง ชุมชน. สืบคน้ เมอ่ื 11 ธนั วาคม 2565, จาก https://th.kku.ac.th/98673/ ชชั ชญา คัณฑเขตต.์ (2560). ความตอ้ งการสารสนเทศของผเู้ ยีย่ มชมหอศลิ ปวฒั นธรรมแหง่ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานพิ นธป์ รญิ ญามหาบัณฑิต). มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปกร, สาขาวิชาการ จดั การจดหมายเหตุและสารสนเทศมรดกทางวฒั นธรรม แผน ก แบบ ก 2 ระดบั พจิ ติ รา จอมศรี. (2560). การเผยแพร่ภมู ิปญั ญาดา้ นจิตรกรรมฝาผนงั บนเกาะรัตนโกสินทร์ดว้ ยระบบ พพิ ิธภณั ฑเ์ สมือนจริง. มนษุ ยศาสตร์ สงั คมศาสตร์ และศลิ ปะ, 10(1), 1028 – 1040. สืบคน้ เม่อื 19 ธันวาคม 2565, จาก https://kku.world/zh4au มูลนิธโิ ครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (ม.ป.ป.). ประวตั หิ อศิลปใ์ นประเทศไทย. สืบค้นเม่อื 11 ธันวาคม 2565, จาก https://kku.world/md84v ยุวดี เรอื งวศิ รุตพงศ.์ (2560). การพัฒนาระบบจดั เกบ็ ขอ้ มลู ผลงานศลิ ปะ กรณศี ึกษาพพิ ธิ ภัณฑฃ สภานแหง่ ชาติหอศลิ ป. (วทิ ยานิพนธป์ ริญญามหาบณั ฑติ ). มหาวทิ ยาลยั ศิลปกร, สาขาวิชา สนเทศศาสตรเ์ พื่อการศกึ ษา แผน ก แบบ ก 2 ประพล คำจมิ่ . (2561). หอศลิ ป์ภายใต้สังกัดมหาวทิ ยาลยั : กรณศี ึกษาหอศลิ ปว์ ิทยนิทรรศ จฬุ าลงกรณม์ หาวิทยาลัย พ.ศ. 2538 – 2560. วารสารศลิ ปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวทิ ยาลยั , 5(1), 30-45. สบื ค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2565, จากhttps://kku.world/xizo0 25

วทิ ยา จวั่ สันเทยี ะ. (2557). การจัดการหอศลิ ปก์ บั การส่งเสรมิ วัฒนธรรมรว่ มสมัย ในเขต กรงุ เทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาบัณฑติ วทิ ยาลยั ). มหาวทิ ยาลยั ศลิ ปกร, สาขาวิชา การจัดการทรพั ยากรวัฒนธรรม วภิ ษู ณะ ศภุ นคร, สาธิต ทมิ วัฒนบรรเทงิ , และ วิรณุ ตัง้ เจริญ. (2562). หอศิลปเ์ อกชนใน กรุงเทพมหานคร: การจัดการและการดำรงอยู่ ในบริบทของศิลปวัฒนธรรมไทยร่วมสมยั . วารสารวิจยั และพฒั นา มหาวิทยาลัยราชภฎั สวนสนุ นั ทา, 9(3), 105-122. สบื ค้นเมอื่ 19 ธนั วาคม 2565, จาก https://kku.world/kzpma วโิ ชค มุกดามณ.ี (ม.ป.ป.). หอศิลป.์ สบื คน้ เมือ่ 11 ธนั วาคม 2565, จากhttps://kku.world/8mo32 อนวิ ัฒน์ ทองสดี า. (2562). กจิ กรรมศิลปะสำหรบั งานศิลปะรว่ มสมัย : กรณีศกึ ษาหอศลิ ปวฒั นธรรม แห่งกรุงเทพมหานคร. วารสารศลิ ป์ พรี ะศรี, 7(1), 173 – 186. สืบค้นเมอ่ื 19 ธนั วาคม 2565, จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jfa/issue/view/15932/3798 อภินันท์ มสุ กิ ะพงษ.์ (2555). บทบาทของสื่อในการเผยแพรว่ ัฒนธรรมไทย. สบื คน้ เมอ่ื 19 ธนั วาคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/360354 26

ภาคผนวก 27

ภาคผนวก ก ภาพการดำเนินงาน ภาพที่ 1 ภาพท่ี 2 ภาพท่ี 3 ภาพท่ี 4 ภาพที่ 5 ภาพท่ี 6 28

ภาคผนวก ข ขอ้ มลู หน่วยงาน ช่ือหนว่ ยงาน : ศนู ยศ์ ลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น สถานทต่ี ้ัง : มหาวิทยาลัยขอนแกน่ 123 ถนนมติ รภาพ ตำบลในเมอื ง อำเภอเมอื ง จังหวัดขอนแก่น 40002 เบอรต์ ิดต่อ : 043-202-663 และ 043-332-760 อเี มล : [email protected] 29

ภาคผนวก ค โปสเตอรส์ รปุ ผลการดำเนนิ งาน 30

ภาคผนวก ง ประวตั ผิ ูศ้ ึกษา ชอื่ -สกุล : วรรณชลนิ ท์ สงิ ห์ทองเศษ วัน เดือน ปเี กดิ : 26 เมษายน 2543 สถานท่ีอยู่ปจั จบุ ัน : 123 หอแปดหลัง หมู่ 16 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมอื ง อำเภอเมอื ง จงั หวดั ขอนแกน่ 40002 ประวัติการศึกษา : พ.ศ. 2565 กําลงั ศกึ ษาระดับปริญญาตรี สาขาเอเชียตะวนั ออกเฉยี งใตศ้ กึ ษา คณะมนษุ ยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ พ.ศ. 2561 มธั ยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสตรศี ึกษา พ.ศ. 2558 มธั ยมศึกษาตอนตน้ โรงเรียนสตรศี ึกษา พ.ศ. 2555 ประถมศึกษา โรงเรียนบา้ นพระเจ้า (ศรมี หาธาตุ) 31

32