การปรับเปลี่ยนวฒั นธรรมบญุ ข้าวจ่ใี หเ้ ขา้ กบั สมยั นยิ ม : กรณศี ึกษา งานบุญข้าวจ่ีวาเลนไทน์ โดยศนู ย์ ศลิ ปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น นางสาวกมลทพิ ย์ เชอื้ ตาอ่อน 623080629-2 รายงานนี้เปน็ ส่วนหนึง่ ของการเรียนการสอนรายวิชา 428 495 (สหกจิ ศกึ ษาในเอเชียตะวันออกเฉยี งใตศ้ กึ ษา)
ก ภาคนิพนธ์สหกิจศกึ ษาในเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใตศ้ กึ ษา ประจำปกี ารศึกษา 2565 ชื่อภาคนพิ นธ์ : การปรับเปลีย่ นวฒั นธรรมบุญข้าวจี่ให้เข้ากับสมัยนิยม : กรณศี กึ ษา งานบญุ ขา้ วจว่ี าเลนไทน์ โดยศูนย์ศิลปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ ชอ่ื ผจู้ ดั ทำภาคนิพนธ์ : นางสาวกมลทิพย์ เช้ือตาอ่อน ชือ่ สถานประกอบการ : ศนู ย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ ที่อยู่ : มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น 123 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จงั หวดั ขอนแก่น 40002 โทร. 043-202-663 e-mail: [email protected] ช่อื พ่ีเล้ียง: นางคณิตตา อักษร ตำแหน่ง : นักวชิ าการวัฒนธรรม ............................................. อาจารย์ท่ปี รกึ ษา (ผศ.ดร.ศิลปกิจ ตขี่ นั ตกิ ุล) วันท่ี 13 เดอื นเมษายน พ.ศ. 2566 ........................................................ (ดร.จิราธร ชาตศิ ริ ิ) ประธานกรรมการบริหารหลักสตู รศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศกึ ษา วนั ท่ี 13 เดอื นเมษายน พ.ศ. 2566 ลขิ สิทธข์ิ องคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น
ข กิตติกรรมประกาศ รายงานวิชาสหกิจศึกษาทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฉบับน้ี สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เนื่องจากความ ชว่ ยเหลอื จาก อาจารย์ ผศ.ดร.ศิลปกิจ ต่ขี ันติกลุ อาจารยท์ ปี่ รึกษาในรายวชิ าสหกิจศึกษาในเอเชียตะวนั ออกเฉียง ใตศ้ ึกษา ทอ่ี นุมตั ใิ นการทำรายงานวิจัย อกี ท้ังยงั ให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ตรวจทานความถูกต้อง ทำให้งานวิจัยชิ้น นสี้ ำเร็จตามวตั ถุประสงค์ ผู้วิจัยขอขอบคุณ รศ.ดร. นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสรา้ งสรรค์ นายวรศักด์ิ วรยศ ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น นางคณิตตา อักษร นักวิชาการ วัฒนธรรม และบุคลากรศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้โอกาสในการฝึกประสบการณ์ ให้ความ รว่ มมอื ในการเก็บข้อมูลทำการวจิ ัย ให้คำปรกึ ษา และให้การสนบั สนนุ ในด้านตา่ ง ๆแกผ่ ู้วจิ ยั เสมอมา สุดท้ายนี้ผู้วิจัยขอขอบคุณเพื่อน ๆ นักศึกษาสาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และเพื่อน ๆจาก มหาวทิ ยาลัยอื่น ๆ ทค่ี อยเปน็ กำลังใจในการฝึกสหกิจ และให้การสนับสนนุ คอยช่วยเหลือ ใหค้ ำแนะนำข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนการแลกเปลีย่ นข้อมูลการทำวิจัย เพื่อให้การวิจยั มีความสมบูรณ์มากยิง่ ขึ้น และขอขอบคุณพ่อ แม่ ที่ ให้โอกาสในการค้นควา้ ศึกษาหาความรู้ มาโดยตลอด ผู้ศกึ ษาขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ นางสาวกมลทพิ ย์ เช้ือตาอ่อน 26 มนี าคม 2566
ค นางสาวกมลทพิ ย์ เชื้อตาอ่อน. 2565. ภาคนิพนธ์หลกั สูตรศลิ ปศาสตรบัณฑติ สาขาวชิ าเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใต้ศกึ ษา คณะมนษุ ยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น. อาจารยท์ ีป่ รกึ ษา: ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารย์ ดร.ศลิ ปกจิ ตขี่ นั ติกุล1 บทคดั ย่อ การศึกษาเรื่อง การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบุญข้าวจี่ให้เข้ากับสมัยนิยม : กรณีศึกษา งานบุญข้าวจี่วา เลนไทน์ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแก่น จัดทำขึ้นเพือ่ ศึกษาความเป็นมาของการจดั งานบญุ ข้าวจ่ี วาเลนไทน์ และเพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมของงานบุญข้าวจี่ให้เข้ากับสมัยนิยม เนื่องจากในปัจจุบันมี การเปลี่ยนผ่านที่เรียกว่ายุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะศึกษาถึงประเพณีและวัฒนธรรมไทยว่าจะมีการ ปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างไรบ้าง โดยได้ศึกษาบุญข้าวจี่ กรณีศึกษา งานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ โดยศูนย์ ศิลปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น จากผลการศึกษาพบว่า ความเป็นมาของการจัดงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์เกิดจากความต้องการให้ นักศึกษาได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมชุมชน ผ่านแนวคิด “ไม่หลงของเก่า ไม่เมาของใหม่” เป็นการรับเอากจิ กรรมแบบสากล โดยไม่ละท้งิ ความเป็นดั้งเดมิ และมกี ารประยุกต์เอากิจกรรมวันแห่งความรักทั้ง สองงานไว้ด้วยกัน โดยการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสมัยนิยม งานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ มีกิจกรรมที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้เข้ากับสมัยนิยมมากขึ้น ทั้งกิจกรรมที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ เช่น กิจกรรมการประกวด Miss KKU Valentine 2023 กิจกรรมการประกวดถ่ายภาพเซลฟ่ี และกจิ กรรมทเี่ กิดจากการผสมผสาน 2 วฒั นธรรม เช่น กิจกรรมการจี่ ข้าวจี่ กิจกรรมการประกวดข้าวจี่แฟนซี กิจกรรมคู่ฮักมักจี่ เป็นต้น อย่างไรก็ตามงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ที่มีการ จัดกิจกรรมขึ้นในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ยังคงมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และยังคงมี กิจกรรมที่สอดคล้องกับการปฏิบัติบุญข้าวจี่แบบดั้งเดิม แต่จะเป็นการประยุกต์ให้เข้ากับวัฒนธรรมสมัยใหม่ ดัง แนวคิดของ Voget คือการนำเอาวัฒนธรรมเก่าของตัวเองมาผ่านการรวมเข้ากับวัฒนธรรมใหม่ โดยไม่ทิ้ง วฒั นธรรมดงั้ เดิมและยงั รับเอาวัฒนธรรมใหม่เข้ามาประยุกต์ได้อย่างลงตัว ซึง่ จะเหน็ ได้จากกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ ท่ไี ด้ถสู รา้ งขึน้ ใหมเ่ พอ่ื ใหเ้ ขา้ กบั สมยั นิยมมากข้ึน 1อาจารยป์ ระจากลมุ่ อาณาบริเวณศึกษา สาขาวิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น
สารบัญ ง กติ ติกรรมประกาศ ข บทคัดย่อ ค บทที่ 1 1 บทนำ 1 1 1.1 ความเปน็ มาและความสำคญั ของปญั หา 3 1.2 วัตถุประสงคก์ ารวิจยั 4 1.3 ขอบเขตการวิจยั 4 1.4 ความหมายหรอื นิยามศพั ท์เฉพาะ 4 1.5 ประโยชน์ทค่ี าดว่าจะได้รับจากการวจิ ยั 4 1.6 วรรณกรรมและงานวิจยั ที่เกย่ี วขอ้ ง 7 1.7 วธิ กี ารดำเนนิ การวิจยั 8 1.8 การนำเสนอ 9 บทที่ 2 9 ความเป็นมาของประเพณบี ญุ ขา้ วจ่ี วาเลนไทน์ 9 2.1 ความเป็นมาของการจดั งานบุญขา้ วจ่ี วาเลนไทน์ 10 2.2 ขน้ั ตอนการจดั งานบุญข้าวจ่ี วาเลนไทน์ 10 11 2.2.1 ระยะเวลาการดำเนินการ และสถานท่ี 20 2.2.2 รายละเอียดกจิ กรรม 20 บทที่ 3 20 การปรับเปลย่ี นวัฒนธรรมของงานบุญข้าวจใ่ี หเ้ ขา้ กับสมัยนยิ ม 21 3.1 การจดั งานบุญขา้ วจี่ตามประเพณีด้ังเดิมของวัดไชยศรี ชุมชนสาวะถี 24 3.2 การปรับเปลย่ี นวฒั นธรรมบุญขา้ วจ่ีใหเ้ ข้ากับสมยั นยิ ม ของงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ 24 บทที่ 4 สรปุ อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ
4.1 สรุป จ 4.1.1 ความเปน็ มาของการจดั งานบญุ ข้าวจ่ี วาเลนไทน์ 4.1.2 ขนั้ ตอนการจัดงานบญุ ข้าวจี่ วาเลนไทน์ 24 4.1.3 การจดั งานบญุ ขา้ วจีต่ ามประเพณีดั้งเดมิ ของวดั ไชยศรี ชุมชนสาวะถี 24 4.1.4 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบญุ ขา้ วจใี่ ห้เขา้ กับสมยั นิยม ของงานบญุ ข้าวจว่ี าเลนไทน์ 24 25 4.2 อภปิ รายผล 25 4.3 ขอ้ เสนอแนะ 26 27 4.3.1 ขอ้ เสนอแนะเชงิ นโยบาย 27 4.3.2 ขอ้ เสนอแนะในการวิจัยครั้งตอ่ ไป 27 บรรณานุกรม 28 ภาคผนวก 30 ภาคผนวก ก. 31 แบบสัมภาษณ์การวจิ ยั 31 ภาคผนวก ข. 35 ขอ้ มูลหน่วยงาน 35 ภาคผนวก ค. 36 ประวตั ผิ ศู้ ึกษา 36
สารบญั ภาพ ฉ ภาพที่ 1การจี่ขา้ วจ่โี ดยผู้ร่วมกจิ กรรมจี่ข้าว ในวันที่ 14 กมุ ภาพันธ์ 2566 11 ภาพที่ 2 บรรยากาศการประกวดขา้ วจแี่ ฟนซี 12 ภาพที่ 3 คณะกรรมการตัดสินการประกวดข้าวจแ่ี ฟนซี 12 ภาพท่ี 4 การประกาศรางวัลการประกวดขา้ วจ่แี ฟนซี 12 ภาพที่ 5 การประกาศผลรางวัลการประกวดถา่ ยภาพเซลฟี่ 13 ภาพที่ 6 การประกาศผลรางวลั คลิปไวรลั Tiktok 14 ภาพที่ 7 การฉายหนังกลางแปลง 14 ภาพท่ี 8 การเตน้ บาสโลบ โดยชมรมนกั ศึกษาลาว มหาวิทยาลัยขอนแกน่ 15 ภาพที่ 9 การแสดงหุ่นกระตบิ๊ ขา้ ว โดยคณะละครหนุ่ นวตั ศิลป์ 15 ภาพที่ 10 การประกาศรางวลั การประกวดคู่ฮักมักจ่ี 16 ภาพท่ี 11 บรรยากาศการประกวด Miss KKU Valentine 2023 17 ภาพที่ 12 การประกาศรางวลั การประกวด Miss KKU Valentine 2023 17 ภาพที่ 13 กจิ กรรมการตกั บาตรข้าวจ่ี 18 ภาพท่ี 14 การแสดงดนตรสี ดจากนักศึกษามหาวิทยาลยั ขอนแก่น 18 ภาพท่ี 15 การแสดงหมอลำกลอนจากวงโปงลางสินไซ และหมอลำพนั ปีจากชุมชนสาวะถี 19
สารบญั ตาราง ช ตารางท่ี 1 เอกสารทเี่ กี่ยวข้องกบั ประเพณบี ญุ ขา้ วจี่ 5 ตารางท่ี 2 เอกสารทเ่ี ก่ยี วข้องกับแนวคดิ เก่ียวกบั การปรับเปลี่ยนวฒั นธรรม 7 ตารางท่ี 3 ระยะเวลาในการดำเนนิ การจัดงานบญุ ข้าวจี่ วาเลนไทน์ 10
1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเปน็ มาและความสำคัญของปัญหา ชาวอสี านไม่เฉพาะชาวเมือง จะมีการทำบญุ ตามคติคำส่ังสอนของโบราณอันได้ยึดถือปฏิบตั สิ ืบทอดกันต่อมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สอนให้คนยึดมั่นในการทำบุญตามจารีตประเพณีในรอบ 1 ปี หรือ 12 เดือน ซึ่งเรียกว่า “ฮีตสิบสอง” หมายถึงจารีตประเพณี 12 อย่าง (อนุกูล คลังบุญครอง และ พละ เชาวรัตน์, 2531)ที่เกี่ยวเนื่องกบั หลกั ทางพุทธศาสนา ความเชอ่ื และการดำรงชีวิตทางเกษตรกรรมซ่ึงชาวอีสาน ยดึ ถอื ปฏิบัตกิ ันมาแตโ่ บราณ มีแนว ปฏิบัติแตกต่างกันไปในแต่ละเดือนเพื่อให้เกิดสริ ิมงคลในการดําเนินชวี ิต ไดแ้ ก่ ฮตี บุญเขา้ กรรม(บุญเดือนอ้าย) ฮีต บุญคูณลาน (บุญเดือนย่ี) ฮีตบุญข้าวจี่(บุญเดือนสาม) ฮีตบุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (บุญเดือนสี่) ฮีตบุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า) ฮีตบุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก) ฮีตบุญซำฮะ(บุญเดือนเจ็ด) ฮีตบุญเข้าพรรษา (บุญเดือนแปด) ฮีตบุญ ข้าวประดับดิน (บุญเดือนเก้า) ฮีตบุญข้าวสาก (บุญเดือนเก้า) ฮีตบุญออกพรรษา (บุญเดือนสิบ) ฮีตบุญกฐิน (บุญ เดือนสิบเอ็ด) ฮีตสิบสอง (บุญเดือนสิบสอง) เป็นประเพณีการทำบุญที่มีประจำเดือนของชาวอีสาน (สำนักงาน วัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม, 2562) โดยในเดือนสามซึ่งเป็นบุญข้าวจี่ เป็นประเพณีที่เกิดจากความสมัครสมาน ของชุมชนชาวบ้านจะนัดหมายกนั มาทำบญุ ร่วมกัน ครั้นเมื่อถึงรุง่ เช้าชาวบ้านจะช่วยกันจีข่ ้าว หรือปิ้งข้าว การทำ ข้าวจี่คือการเอาข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนเอาไม้เสียบย่างไฟ เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซำ้ อีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกแล้วเอาน้ำอ้อยหรือน้ำตาลทีเ่ ป็นก้อนยัดใส่แทนกลายเปน็ ข้าวเหนยี วยดั ไส้ (สำนกั งานวัฒนธรรมจังหวัดมหาสารคาม, 2562) แล้วตกั บาตรขา้ วจ่รี ่วมกัน สว่ นมากชาวบ้านจะ รีบทำตั้งแต่เช้ามืด พอสว่างก็ลงศาลาการเปรียญ (ชาวบ้านเรียกหอแจก) นิมนต์พระเณรเจริญพระพุทธมนต์แล้ว ฉัน หลังจากนั้นจะให้มีการเทศน์นิทานชาดก เรื่องนางปุณณทาสีเป็นอันเสร็จพิธี (ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแกน่ , ม.ป.ป. ) เป็นท้ังงานบุญและงานร่นื เรงิ ประจำหมู่บ้าน เพราะได้ทำขา้ วจ่ีไปถวายพระ หลงั จากพระฉันแลว้ กเ็ ลีย้ งกนั เองสนกุ สนาน มีคำพงั เพยอีสานว่า “เดือนสามค้อยเจ้าหวั คอยปน้ั เขา้ จี่ เข้าจ่ีบ่ใส่นำ้ ออ้ ยจวั นอ้ ยเชด็ นำ้ ตา” เดือนนี้ชาวนาส่วนใหญ่ถือกันมาตั้งแต่โบราณว่าเป็นเดือนสู่ขวัญข้าว คือมีการถวายข้าวเปลือกและมีการทำบุญ บ้าน สวดมนต์เสรจ็ พธิ ีสงฆ์ แลว้ ก็สู่ขวญั ข้าวตามธรรมเนียมพราหมณ์ บางบ้านกท็ ำเล็กน้อยพอเปน็ พธิ ีคือเอาข้าว ไปถวายสงฆแ์ ล้วทำพธิ ีตมุ้ ปากเลา้ เล็กนอ้ ยเปน็ การบชู าคณุ ของขา้ วในเลา้ หรือยงุ้
2 “เถงิ เม่ือเดอื นสามได้จงพากันทำเข้าจี่ ไปถวายสงฆเ์ จ้าเอาแท้หมบู่ ญุ ” ทง้ั นีป้ ระเพณีบญุ ข้าวจ่จี ดั ขน้ึ โดยทวั่ ไปในภาคอสี าน โดยจะมกี ารทำบุญและกิจกรรมการละเล่นต่างๆในงาน (ภัทรา เชาว์ปรัชญากุล, 2563) ในปัจจุบันมีน้อยคนนักที่จะทราบว่าบุญเดือนสามเป็น “บุญข้าวจี่” จึงได้มี หน่วยงานของภาครัฐเข้ามาส่งเสริม อีกทั้งพระสงฆ์ ผู้นำชุมชน คนเฒ่าคนแก่ และคนในชุมชนได้พยายามหา แนวทางปลุกจิตสำนึกให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของประเพณีบุญข้าวจี่ และหาทางส่งเสริมประเพณีบุญข้าวจี่ (พระอธิการสมาน สนฺติกโร, พระครวู าปีจนั ทคุณ, ไพฑูรย์ สวนมะไฟ และคณะ, 2564) รวมถงึ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ได้มีการจัดงานบุญข้าวจี่ ภายใต้ชื่อ “งานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์” เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ คนร่นุ ใหมเ่ ขา้ ถงึ และเห็นคุณค่าของบุญข้าวจีม่ ากยิ่งข้นึ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยเร่ิมจากดร. สายสุรี จุติกุล คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ จัดตั้ง ศูนย์อนุรักษณ์วัฒนธรรมอีสาน ขึ้นเป็นการภายใน ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ได้รับ การแต่งตั้งจากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมประจำจังหวัดขอนแก่น อีกศูนย์หนึง่ ต่อมาได้เปลี่ยนเปน็ “ศูนย์วัฒนธรรมจงั หวัดขอนแก่น” จึงเป็นอันวา่ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น ดำเนินงานวัฒนธรรม ทั้งระดับจังหวัดและระดับมหาวิทยาลัยในขณะเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2538 เปลี่ยนชื่อจาก “ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน” เป็น “สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2541 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม เปลี่ยนชื่อ “สำนักส่งเสริม วัฒนธรรม” เป็น “สำนักศิลปวัฒนธรรม” และในปี พ.ศ. 2561 เปลี่ยนชื่อจาก “สำนักวัฒนธรรม” เป็น “ศูนย์ ศิลปวัฒนธรรม” โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มภารกิจ ได้แก่ 1. กลุ่มภารกิจบริหารและอำนวยการ 2. กลุ่มภารกิจ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 3. กลุ่มภารกิจวิชาการและวิจัย เพื่อให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเปน็ ศูนย์กลางด้านศิลปวัฒนธรรมอีสานและอนุภูมิภาคล่มุ นำ้ โขง โดยมีวสิ ยั ทัศน์ คือ “ศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง เชื่อมโยงเครือข่ายสู่สากล” (ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ม.ป.ป.) อีกท้งั ยังเป็นหน่วยงานที่ดำเนินกิจกรรมหลักในการเป็นศูนย์ข้อมูล แหลง่ เรยี นรู้ และจดั กจิ กรรม ทางด้าน ศิลปวัฒนธรรมอีสาน เช่น กิจกรรมสีฐานเฟสติวัล บุญสมมาบูชาน้ำ งานสุขีมั่น สู่ขวัญวันเกิด รวมไปถึงงานบุญ ขา้ วจว่ี าเลนไทน์ ซง่ึ กเ็ ป็นอกี หนงึ่ โครงการทสี่ ำคัญของศนู ย์ศลิ ปวัฒนธรรม งานบุญขา้ วจี่ วาเลนไทน์ ได้มกี ารจัดขึ้น เป็นครั้งแรกในปี พุทธศักราช 2559 ภายใต้แนวคิด “ไม่หลงของเก่า ไม่เมาของใหม่” เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้ เล็งเห็นความสำคัญของการสืบสานวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ดีงามให้คงอยู่สืบต่อไป (MGR Online, 2559) สำหรับงาน บุญข้าวจ่ี วาเลนไทน์มีการจัดงานมาอย่างต่อเน่ืองในทุก ๆ ปี โดยเริ่มตัง้ แต่ ปี 2559, ปี 2560, ปี 2561, ปี 2562, ปี 2563 และในปี 2564 และปี 2565 นนั้ ศนู ย์ศลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ ไม่มกี ารจดั งานบุญขา้ วจี่ วา เลนไทน์ สืบเนอื่ งจากสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรค covid 19
3 บุญข้าวจี่วาเลนไทน์ เป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงศิลปะ รากฐานของประเพณีและวัฒนธรรมอีสาน ซึ่งใน ปัจจุบันประเพณีนี้ได้ถูกหลงลืมไป ทางศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงทำการส่งเสริมประเพณี ดังกล่าวด้วยการประยกุ ต์ใช้ให้เหมาะสมเข้ากบั ยคุ สมัย โดยมีการผสมผสานวัฒนธรรมไทย กับวัฒนธรรมตะวันตก เข้าด้วยกันอย่างลงตัว (ธนัชชา สีสองชั้น, 2564) ดังนั้นงานบุญข้าวจ่ี วาเลนไทน์จึงเกิดจากการผสานทั้ง 2 วัฒนธรรมแห่งความร่วมสมัย ประกอบกับกิจกรรมแนวสร้างสรรค์ที่เนน้ การอนุรักษ์และฟื้นฟู ประยุกต์ ประเพณี อย่างสร้างสรรค์เข้ากับยุคสมัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเครือข่ายการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมขับเคลื่อน ศักยภาพของทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่น โดยเฉพาะทุนทางศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีที่ดีงามให้ กลับมามีชีวิตอีกครั้ง สู่การประยุกต์ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ผสานกับแนวคิดร่วมสมัยในวันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวัน แห่งความรัก (ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ม.ป.ป.) โดยมีการสร้างประเพณีนี้ขึ้นมาผ่านแนวคิด “ไมห่ ลงของเก่า ไม่เมาของใหม”่ คอื การเอาบญุ ขา้ วจ่ที เี่ ป็นของเกา่ มารวมกับของใหม่ซึ่งก็คอื วนั วาเลนไทน์ ในงาน มีการจัดกิจกรรมมากมาย เช่น การจี่ข้าวจี่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผู้คนให้ความสนใจอย่างยิ่ง รวมถึงการแสดงดนตรี สากลและดนตรีพื้นเมืองจากนักศึกษา การเต้นบาสโลบ การฉายหนังกลางแปลง การแสดงละครหุ่นกระติ๊บข้าว ออกร้านสนิ ค้าทำมือจากนักศึกษา รวมถงึ การประกวดตา่ ง ๆ มากมาย อาทิ การประกวดขา้ วจีแ่ ฟนซี การประกวด ถ่ายภาพเซลฟี่ นอกจากนั้นยังมีการประกวด Miss Valentine (ณัฐวุฒิ จารุวงศ์, 2563) ซึ่งต่างจากการประกอบ พิธีกรรมแบบเดิมโดยที่ในเชา้ วันบญุ ชาวบ้านจะจัดอาหาร ทำการยา่ งขา้ วจี่ ตำข้าวแดกงา เตรยี มดอกไม้ ธูป เทียน ปัจจัย มายังสถานที่ประกอบพิธี นำอาหารที่เตรียมมาจัดสำหรับถวายพระภิกษุโดยเฉพาะข้าวจ่ี เมื่อถึงเวลาทท่ี ุก อย่างพร้อมแล้ว พระสงฆ์มาที่ศาลาโรงธรรมก็จะเริ่มพิธีสงฆ์ คือ 1. สวดมนต์ 2. ชาวบ้านตักบาตร 3. ถวาย ภัตตาหาร 4. พระสงฆ์เจริญพร 5. พระสงฆ์ฉันภัตตาหารที่ชาวบ้านถวาย รวมถึงข้าวจี่ เมื่อพิธีดังกล่าวเสร็จแลว้ ก็ ถือวา่ เปน็ อนั เสร็จพธิ ีสงฆ์ (พระอธิการสมาน สนตฺ กิ โร, พระครวู าปีจนั ทคุณ, ไพฑูรย์ สวนมะไฟ และคณะ, 2564) จากที่กล่าวไปข้างต้น จึงทำให้ผู้ศึกษาสนใจที่จะศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของบุญข้าวจี่ และการ ปรับเปลี่ยนงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ใหเ้ ข้ากับสมัยนิยม ว่าได้มีการปรับเปล่ียนวัฒนธรรมงานบุญข้าวจี่เข้ากับสมัย นิยมอย่างไร เปลี่ยนจากงานบุญข้าวจ่ีแบบดั้งเดมิ เป็นงานบญุ ข้าวจ่ีแบบสมัยใหม่ โดยศึกษาผ่าน การสังเกตุแบบมี ส่วนร่วม การสัมภาษณ์ พร้อมทั้งศึกษาผ่านเอกสาร วารสาร บทความวิชาการ และสื่อเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือที่มี ความเกี่ยวข้องกับเรอ่ื งการปรับเปลยี่ นบุญข้าวจี่ให้เข้ากบั สมยั นยิ ม 1.2 วัตถุประสงค์การวจิ ัย 1.2.1เพือ่ ศึกษาความเปน็ มาของการจัดงานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ 1.2.2 เพอื่ ศึกษาการปรบั เปลี่ยนวฒั นธรรมของงานบญุ ข้าวจี่ให้เข้ากับสมยั นยิ ม
4 1.3 ขอบเขตการวจิ ยั ขอบเขตด้านเน้อื หา งานวิจัยเล่มนี้เปน็ วจิ ัยเชงิ คณุ ภาพ โดยศึกษาเกยี่ วกับท่ีมาและความสำคัญของงานบุญข้าวจี่วาเลน ไทน์ และการเปลี่ยนแปลง ปรับตวั ของงานบุญขา้ วจีใ่ หเ้ ข้ากับสมยั นยิ ม โดยศกึ ษาจากข้อมูลหลักจากวารสาร เอกสารวิชาการ ส่ือออนไลน์ท่เี ก่ียวข้อง อาทิ เวบ็ ไซตข์ องศูนยศ์ ิลปวฒั นธรรม เวบ็ ไซต์ของมหาวิทยาลัยขอนแกน่ เปน็ ต้น รวมถึงข้อมลู จากการสัมภาษณ์ของบุคลากรจากศูนยศ์ ิลปวฒั นธรรม คณะผู้ดำเนินงานบญุ ขา้ วจีว่ าเลนไทน์ ตลอดจน ผู้มาร่วมงานบญุ ข้าวจว่ี าเลนไทน์ ขอบเขตดา้ นพน้ื ท่ี ศูนยศ์ ิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น ขอบเขตดา้ นระยะเวลาในการศกึ ษา ศึกษาตงั้ แตต่ น้ เดือนธนั วาคม 2565 ถึง เดือนมนี าคม 2566 1.4 ความหมายหรือนิยามศัพทเ์ ฉพาะ บุญขา้ วจี่วาเลนไทน์ หมายถงึ งานบญุ ประเพณีทจ่ี ะจัดขนึ้ ในเดือนกมุ ภาพันธ์ของทกุ ๆปี โดยศูนย์ ศลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ 1.5 ประโยชนท์ ี่คาดวา่ จะได้รบั จากการวิจัย 1.5.1 เพ่ือสรา้ งองค์ความรใู้ หก้ ับผทู้ สี่ นใจศึกษาเร่ืองของประเพณบี ุญขา้ วจ่ี 1.5.2 เพ่อื สรา้ งองคค์ วามรูเ้ รอ่ื งการปรับเปลย่ี นวฒั นธรรมของงานบุญข้าวจ่ใี หเ้ ขา้ กบั สมัยนิยม 1.5.3 เพื่อสร้างองค์ความรใู้ ห้กบั องค์กร หรือหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน เพอ่ื ต่อยอดในการส่งเสรมิ วัฒนธรรมทอ้ งถนิ่ ให้เข้ากบั สมยั นิยมมากข้ึน 1.6 วรรณกรรมและงานวจิ ัยทเี่ กยี่ วข้อง งานวิจัยเร่อื ง “การปรบั เปลีย่ นบุญข้าวจ่ใี ห้เขา้ กับสมยั นิยม : กรณศี ึกษา งานบุญข้าวจ่วี าเลนไทน์ โดย ศูนยศ์ ลิ ปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น” ในการทบทวนวรรณกรรมและงานวจิ ยั ที่เกี่ยวข้อง ผศู้ ึกษาคน้ พบ เอกสารทเี่ กยี่ วข้อง ดังน้ี 1.ประเพณบี ุญข้าวจ่ี 2.แนวคดิ เกีย่ วกบั การปรบั เปลี่ยนวัฒนธรรม
5 1. เอกสารทเ่ี กีย่ วข้องกับประเพณีบญุ ขา้ วจ่ี จำนวน 5 ช้ิน ดงั นี้ ลำดับ ชอ่ื ผแู้ ต่ง ช่ือเร่อื ง ปที ีพ่ มิ พ์ ประเภท 2541 วารสาร 1 ค. ตันสิงห์ บุญข้าวจี่ของไทยอสี าน 2551 รายงาน การศกึ ษาอิสระ 2 ธวชั แสงแดง บทบาทของเทศบาลตำบลโพธิ์ไทรในการอนุ รกั ษณแ์ ละฟื้นฟวู ฒั นธรรมประเพณบี ญุ ขา้ วจ่ี อำเภอโพธิ์ จังหวัดอบุ ลราชธานี 3 พระครภู าวนาโพธิ เดือนสาม(บุญขา้ วจ่ี) 2554 วารสาร คุณ 4 ธนัชชา สสี องชัน้ คติชนสร้างสรรค์ ในกจิ กรรมบุญข้าวจ่วี าเลน 2564 งานวิจัย ไทน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2563 5 พระอธกิ ารสมาน สนฺ แนวทางการส่งเสริมประเพณีบญุ ขา้ วจีข่ อง 2564 วารสาร ตกิ โร, พระครูวาปี ชมุ ชนตำบลท่งุ กลุ า อำเภอสุวรรณภูมิ จงั หวัด จันทคณุ , ไพฑรู ย์ รอ้ ยเอด็ สวนมะไฟ และคณะ ตารางท่ี 1 เอกสารทเี่ กย่ี วข้องกับประเพณีบุญขา้ วจี่ ค. ตนั สิงห์(2541) ไดท้ ำการศึกษาเรื่อง บุญขา้ วจ่ขี องไทยอสี าน โดยมีวัตถุประสงค์เพอ่ื ศกึ ษาความ เป็นมาและความสำคัญทางศาสนาของบุญข้าวจี่ โดยจะศึกษาต้องแต่ประวัติความเป็นมา พิธีทำข้าวจี่ มูลเหตุของ การทำบุญขา้ วจ่ี ซ่ึงมาจากเร่ืองของนางปุณณะ และผลท่ไี ด้จากการทำข้าวจี่ โดยสรุปไดว้ ่าการทำขา้ วจี่น้ันเป็นการ เตือนใจมิให้ประมาทมัวเมา กระทำจิตใจให้ผู้อื่นตื่นรู้อยู่เสมอ ฉะนั้น การทำบุญข้าวจี่จึงได้ชือ่ ว่ารักษาตนไว้ด้วยดี เช่นวยั ทง้ั 3 คอื ปฐมวัย มัชฌมิ วยั และปัจฉิมวยั ธวชั แสงแดง(2551) ไดท้ ำการศกึ ษาเรอื่ ง บทบาทของเทศบาลตำบลโพธไ์ิ ทรในการอนุรักษณ์และฟ้ืนฟู วฒั นธรรมประเพณีบุญข้าวจี่ อำเภอโพธ์ิ จงั หวัดอบุ ลราชธานี โดยมวี ตั ถปุ ระสงค์เพือ่ ศกึ ษาบทบาทในการอนุรักษณ์ และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีบุญข้าวจี่ อำเภอโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและ ข้อเสนอแนะในการอนุรักษณ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีบุญข้าวจี่ อำเภอโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพบว่า บทบาทของเทศบาลตำบลโพธิ์ไทรในการอนุรักษณ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีบุญข้าวจี่ อำเภอโพธิ์ จังหวัด อุบลราชธานีอยู่ในระดบั ปานกลาง ส่วนข้อเสนอแนะเทศบาลตำบลโพธ์ิไทร ควรเป็นหน่วยงานหลักในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูวฒั นธรรมประเพณบี ญุ ข้าวจีใ่ ห้คงอยู่สบื ไป
6 พระครภู าวนาโพธิคุณ(2554)ได้ทำการศึกษาเรอื่ ง เดือนสาม(บุญข้าวจ่ี) โดยมวี ัตถุประสงคเ์ พอ่ื ศกึ ษาถงึ ความเป็นมา การประกอบพิธีกรรมบุญข้าวจี่ และยังมกี ารเพิ่มบุญอีกบญุ หนึ่งเขา้ มานั่นคือ บญุ มาฆบูชา ซ่ึงมีความ เก่ียวขอ้ งกับบุญข้าวจ่ีคือมีการประกอบพธิ ีในเดือนสามเชน่ เดียวกนั และเป็นวันสำคัญทางศาสนาอีกวันหนึ่ง อันถือ ได้ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงวางรากฐานของพระพุทธศาสนา ซึ่งการทำบุญในวันมาฆบูชา เพื่อเป็นการทำบุญ ตามหลักของคำว่า “มาฆบูชา” ที่แปลว่าการบชู าพระรตั นตรยั ในวันเพ็ญเดือนมาฆะหรือเดือนสาม นอกเหนือจาก การบูชาตามปกตขิ องวนั สำคญั ทางศาสนา ธนัชชา สสี องชั้น(2564) ได้ทำการศกึ ษาเร่อื ง คติชนสร้างสรรค์ ในกจิ กรรมบญุ ข้าวจ่ีวาเลนไทน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2563 โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาคติชนสร้างสรรค์ ในกิจกรรมบุญข้าวจี่วา เลนไทน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2563 ผ่านการศึกษาแนวคิดคติชนสร้างสรรค์ผ่านเอกสารงานวิชาการ และสัมภาษณ์ โดยสรุปได้ว่ามีปัจจัยต่างๆเข้ามากระตุ้นให้เกิดคติชนสร้างสรรค์ภายใต้กิจกรรมต่างๆในงาน ได้แก่ กจิ กรรมจีข่ ้าวจี่ กจิ กรรมการประกวดถา่ ยภาพเซลฟ่ี กจิ กรรมการประกวด Miss Midnight Valentine KKU 2020 กิจกรรมการประกวดข้าวจี่แฟนซี กิจกรรมการแสดงหมอลำหุ่นสินไซ กิจกรรมการเต้นบาสโลบ จากนักศึกษาลาว มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น กิจกรรมแสดงดนตรี ตักบาตรวาเลนไทน์ และการแสดงหมอลำของชาวบา้ นสาวะถี พระอธิการสมาน สนฺติกโร, พระครูวาปีจันทคุณ, ไพฑูรย์ สวนมะไฟ และคณะ(2564) ได้ทำการศกึ ษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมประเพณีบุญข้าวจี่ของชุมชนตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความเป็นมาของประเพณีบุญข้าวจี่ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการจัด ประเพณีบุญข้าวจี่ของชาวตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริม ประเพณีบุญข้าวจี่ของชาวตำบลทุ่งกุลา อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยผลการวิจัยพบว่ามูลเหตุสำคัญที่ ชาวอีสานทำบุญข้าวจ่ใี นเดือนสาม กเ็ พราะเป็นเวลาท่ชี าวบา้ นหมดภาระในการทำนา ชาวบา้ นได้นำข้าวใหม่ขึ้นยุ้ง ขึ้นฉาง จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ นอกจากนี้ยังพบปัญหาการจัดประเพณีบุญข้าวจี่ของชุมชน ตำบลทุ่งกุลา เช่น ปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนและกำหนดการ ปัญหาด้านการดำเนินงาน ปัญหาด้านการเผยแพร่ ความรู้ เป็นตน้
7 2. เอกสารที่เก่ียวข้องกับแนวคิดเก่ียวกับการปรบั เปลี่ยนวฒั นธรรม จำนวน 2 ช้นิ ดังนี้ ลำดับ ช่ือผแู้ ตง่ ชื่อเรอ่ื ง ปที พ่ี มิ พ์ ประเภท วารสาร 1 รัชฌกร พลพิพฒั นส์ าร กระบวนการปรบั เปลย่ี นทางวัฒนธรรมใน 2560 วารสาร ประเพณีท้องถิ่นไทย 2 นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ทบทวนแนวคิดทฤษฎีการรื้อฟ้ืนเกย่ี วกับ 2563 วัฒนธรรมท้องถน่ิ ตารางที่ 2 เอกสารที่เกยี่ วขอ้ งกับแนวคดิ เกีย่ วกบั การปรบั เปล่ยี นวฒั นธรรม รชั ฌกร พลพิพฒั นส์ าร(2560) ได้ศึกษาเก่ยี วกับ กระบวนการปรบั เปล่ียนทางวฒั นธรรมในประเพณี ท้องถิ่นไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการ ปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในประเพณีท้องถิ่นไทย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมใน ประเพณีท้องถิ่นไทย มีการปรับเปล่ียนไปตาม 3 ประเด็น คอื 1)แนวคิดทางวัฒนธรรม 2) แนวคิดการถ่ายทอด 3) และแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน ในขณะที่มีอีกหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยน แต่ปัจจัยหลักที่มี อิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ 1) การพัฒนาทางการเมือง การปกครอง และเศรษฐกิจ 2) ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการส่อื สาร 3)สภาพสงั คมและวถิ กี ารดำเนินชีวิต 4) ความเชอ่ื และความศรทั ธา ซง่ึ ปจั จยั เหล่านีม้ คี วามสมั พันธ์ กนั และยงั เปน็ สิ่งที่สะทอ้ นประเพณที ้องถ่นิ ในแต่ละชว่ งเวลา นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ(2563) ได้ทำการศกึ ษาเกีย่ วกับ การทบทวนแนวคดิ ทฤษฎีการร้อื ฟื้นเกย่ี วกับ วฒั นธรรมทอ้ งถิ่น โดยมวี ัตถปุ ระสงค์เพอ่ื เป็นการทบทวนตรวจสอบ และทำความเขา้ ใจแนวคิดทฤษฎแี ละกระบวน ทัศน์เกี่ยวกับการรื้อฟืน้ วัฒนธรรม พร้อม ๆ กับการตั้งคำาถามเกี่ยวกับความหมายของ “วัฒนธรรม” และวิถีชีวิต ของคนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่ที่สัมพันธ์กับอำนาจของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในคริสต์ศตวรรษท่ี 21 รวมท้ัง ชี้ให้เห็นว่าแนวคิดที่ใช้ขับเคลื่อนและสนับสนุนการรื้อฟื้น อนุรักษ์ และสืบทอดวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ เกี่ยวข้องกับการเมืองเชิงอัตลักษณ์และการทำให้วัฒนธรรมเป็นสินค้าในระบบทุนนิยม ลัทธิบริโภคนิยม และ อุตสาหกรรมการท่องเทยี่ ว 1.7 วธิ กี ารดำเนินการวิจยั ศกึ ษาจากเอกสารทีเ่ ก่ียวข้อง เช่น วิจยั วารสาร บทความวชิ าการ ส่ือออนไลน์ที่น่าเชอื่ ถือ ข้อมูลและ เอกสารอนื่ ๆทใี่ ชท้ ำการศกึ ษาได้ทำการคน้ ควา้ จากแหล่งตา่ งๆต่อไปน้ี (1) หอสมุดมหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ (2) ฐานข้อมลู วิจัย (Thailis) https://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php
8 (3) Thai Journal Online (ThaiJO) https://www.tci-thaijo.org และบทสัมภาษณ์ผู้ดำเนินงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ และบุคคลทั่วไปผู้มาเข้าร่วมงานบุญข้าวจี่วาเลน ไทน์ ซึ่งได้ทำการเก็บขอ้ มูลจากการฝึกสหกจิ ศึกษาที่ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 – วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2566 เกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนบุญ ขา้ วจใ่ี ห้เข้ากบั สมัยนิยม 1.8 การนำเสนอ งานวจิ ยั เรอื่ ง “การปรบั เปล่ียนบญุ ข้าวจ่ีให้เข้ากบั สมยั นิยม : กรณศี ึกษา งานบุญข้าวจ่ีวาเลนไทน์ โดย ศนู ยศ์ ลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ ” ไดแ้ บ่งเน้ือหาออกเป็น 4 บท ดังนี้ บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคญั ของปัญหา 1.2 วตั ถุประสงค์การวิจัย 1.3 ขอบเขตการวิจยั 1.4 ความหมายหรือนิยามศัพท์เฉพาะ 1.5 ประโยชน์ทค่ี าดว่าจะได้รับจากการวจิ ยั 1.6 วรรณกรรมและงานวจิ ัยที่เกีย่ วข้อง 1.7 วิธีการดำเนินการวจิ ยั 1.8 การนำเสนอ บทท่ี 2 บริบทของงานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ 2.1 ความเปน็ มาของการจัดงานบญุ ขา้ วจ่ี วาเลนไทน์ 2.2 ขน้ั ตอนของการจัดงานบุญขา้ วจ่ี วาเลนไทน์ บทที่ 3 การปรบั เปลี่ยนวัฒนธรรมของงานบุญขา้ วจ่ใี ห้เข้ากับสมัยนิยม 3.1 การจัดงานบุญข้าวจีต่ ามประเพณีดั้งเดิมของวดั ไชยศรี ชมุ ชนสาวะถี 3.2 การปรับเปล่ียนบุญขา้ วจีใ่ หเ้ ข้ากับสมัยนิยม ของงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ บทท่ี 4 สรุป อภิปรายผล และขอ้ เสนอแนะ 4.1 สรุปผลการวิจัย 4.2 อภิปรายผล 4.3 ข้อเสนอแนะ
9 บทที่ 2 ความเป็นมาของประเพณีบญุ ข้าวจ่ี วาเลนไทน์ 2.1 ความเปน็ มาของการจัดงานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ พระครูบญุ ชยากรได้กล่าวถึงความเป็นมาของบญุ ข้าวจ่วี า่ “เร่มิ ตน้ ของการจดั งานบุญข้าวจ่ีนั้นมีมาต้ังแต่ โบราณ ตามประเพณีฮีต 12 ของภาคอีสาน และมีการยึดถือประเพณีมาตั้งแต่โบราณ มาโดยตลอดจนกลายเป็น ประเพณีตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยมุ่งเน้นเพื่อที่จะสั่งสอนให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของข้าว โดย ภายหลงั ไดน้ ำไปประยกุ ตเ์ ปน็ บุญข้าวจ่ี วาเลนไทน์ ซง่ึ ได้มีการจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ต้งั แต่ ปีพ.ศ. 2559 เพ่ือให้นักศึกษาได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมชุมชน อีกทั้งยังเป็นการบูรณาการความรู้ทางด้าน สุนทรีย์ศาสตร์ เช่นการแสดงมหรสพ งานบุญ เพ่ือใหเ้ ห็นความงามของชุมชน” (พระครูบุญชยากร, สัมภาษณ์วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566) การจัดงานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ มีแนวคิดริเริ่มจากนโยบายที่รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ และได้กำหนด เอาไว้เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559) ซึ่งเป็นการให้คุณค่าต่อ ทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญาจากความคิดสร้างสรรค์ เปน็ ทุนทางปัญญาสำคัญส่วนหน่ึงทช่ี ่วยสง่ เสริมให้การดำรงชีวิตอย่าง มีสุนทรียภาพและมปี ระสิทธิภาพ ดังนั้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 – 2559) รัฐบาลได้ดำเนินนโยบายที่เน้นการตั้งรับมากกว่ารุก พัฒนาเศรษฐกิจ(Creative Economy) ไปคู่กับเศรษฐกิจ ฐานความรู้(Knowledge-based Economy) และการลงทุนทางปัญญา โดยนำทุนทางวัฒนธรรมมาเป็นฐานของ การพัฒนา (งานวชิ าการและสอ่ื สารวฒั นธรรม, 2563) เพือ่ พฒั นาคุณภาพชวี ติ ในความรู้ทางปัญญา ภายใตแ้ นวคิด เชิงนโยบายดังกล่าว มหาวิทยาลัยขอนแก่นและเครือข่ายการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม จึงได้นำนโยบายดังกลา่ ว มาแปลงใหก้ ลายมาเปน็ การปฏิบัติได้จริง โดยผ่านการส่งเสริมแทนท่จี ะเปน็ การอนรุ ักษ์ไว้ เพือ่ ใหก้ ับสถานการณ์ใน ปัจจุบันแล้ว จงึ เกิดเปน็ คำวา่ “ไม่หลงของเก่า ไมเ่ มาของใหม่” ซง่ึ กลายมาเปน็ แนวคดิ หลักของการจดั ทำโครงการ บุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ เพื่อสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เสาหลักที่ 3 Culture and care Community ตามประเดน็ ยุทธศาสตร์ท่ี 4 คอื การเปน็ ศนู ยก์ ลางการทำนบุ ำรงุ ศิลปวฒั นธรรม และกลยทุ ธท์ ่ี2 การ อนุรักษ์ สืบสาน และสร้างคุณค่าศาสนา ศิลปวัฒนธรรมไทยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยวัตถุประสงค์ของการ จัดทำโครงการ คือ เพื่อกระตุ้นสำนึกในภูมิปัญญาวฒั นธรรมของตนเอง สู่ภูมิปัญญาบูรณาการ เป็นการนำทุนทาง วัฒนธรรมไปสร้างสรรค์ผลงานกระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์ฟื้นฟูศึกษาต่อยอดมรดกภูมิ ปัญญา และวัฒนธรรมอีสาน โดยมกี ารสร้างสรรค์ ประดิษฐ์คิดคน้ แนวทางของการจดั งานขึน้ มา เพอื่ ให้บคุ คลทั่วไป หันมาสนใจวัฒนธรรมดั้งเดิมมากขึ้น ซึ่งได้นำไปประยุกต์เข้ากับวันวาเลนไทน์ เหตุเพราะว่าวันวาเลนไทน์ เป็น วัฒนธรรมที่คนรู้จักเยอะและมีการจัดในเดือนเดียวกันกับบุญข้าวจี่ ทั้งนี้กรอบความคิดของการจัดงานก็มีความ
10 คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ มันเป็นเรื่องของความรักที่แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมตะวันออก และวัฒนธรรม ตะวนั ตก วันวาเลนไทนเ์ ป็นเทศกาลแหง่ ความรกั ในทางคริสต์ศาสนา และงานบุญขา้ วจ่ีก็เปน็ การสอื่ ความรักในทาง พุทธศาสนา จึงได้กรอบแนวคิดท่ีลงตวั กนั (นิยม วงศ์พงษ์คำ, สัมภาษณ์วันที่ 2 มีนาคม 2566) และจึงเป็นการรบั เอากิจกรรมแบบสากล โดยไม่ละทิ้งความเปน็ ด้ังเดิม และมีการประยุกต์เอากิจกรรมวันแห่งความรักทั้งสองงานไว้ ดว้ ยกัน ตามแนวคดิ “ไมห่ ลงของเก่า ไม่เมาของใหม่” (ธนชั ชา สสี องช้นั , 2563) 2.2 ข้นั ตอนการจดั งานบุญขา้ วจ่ี วาเลนไทน์ 2.2.1 ระยะเวลาการดำเนินการ และสถานที่ 1. วนั /เดือน/ปี ทดี่ ำเนินการ: ระหวา่ งวนั ที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2566 ลำดับ วนั ท่ี เวลา รายละเอยี ด สถานท่ี 1 10 มกราคม 2566 10.00 – 12.00 น. ประชุม/รา่ งโครงการ/ร่าง อาคารพทุ ธศลิ ป์ กำหนดการ/ร่างคำสง่ั มหาวิทยาลยั ขอนแก่น 2 27 มกราคม 2566 10.00 – 12.00 น. ประชมุ ติดตามการดำเนิน ณ หอ้ งประชุมกาล โครงการบญุ ข้าวจี่ วาเลน พฤกษ์ อาคารสิริคุณากร ไทน์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น 3 6 – 14 กมุ ภาพันธ์ 09.00 – 16.00 น. เตรียมงาน หอศิลป์ /ริมบึงสฐี าน 2566 มหาวทิ ยาลยั 4 14–15 กุมภาพันธ์ 17.00 – 24.00 น. วันจัดกิจกรรม รมิ บงึ สีฐานฝง่ั ทิศ 2566 ตะวันตก มหาวิทยาลยั ขอนแก่น ตารางท่ี 3 ระยะเวลาในการดำเนนิ การจัดงานบุญขา้ วจี่ วาเลนไทน์ จากตารางระยะเวลาของการเริ่มปฏิบัติงาน จะเห็นว่างานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ได้มีการเริ่มเตรียม งาน มีการวางแผนโครงการมาเปน็ เวลา 1 เดอื นก่อนท่ีจะมีการจัดกิจกรรมจริง โดยเร่มิ จากการวางแผนการทำงาน การเตรียมเอกสารเพื่อเสนอต่อที่ประชุมในวันที่ 10 มกราคม 2566 อันประกอบด้วย ร่างกำหนดการการจัดงาน บุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ ร่างคำสั่งเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการการทำงาน และร่างงบประมาณ โดยที่ประชุมก็ได้มีมติ ต่าง ๆ เพื่อพิจารณาแก้ไข เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีการประชุมติดตามการดำเนินการ โครงการบญุ ขา้ วจี่ วาเลนไทน์ ในวนั ท่ี 27 มกราคม 2566 กอ่ นทจี่ ะมกี ารเริ่มเตรยี มงานและจัดกจิ กรรมต่อไป
11 2. สถานท่ี: ริมบงึ สีฐานฝั่งทศิ ตะวนั ตก มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2.2.2 รายละเอียดกจิ กรรม 1. กิจกรรมจขี่ ้าวจ่ี กิจกรรมจี่ข้าวจี่เป็นกิจกรรมท่ีทำร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วม กิจกรรมได้ซึมซับบรรยากาศประเพณีบุญข้าวจี่ นับว่าเป็นประเพณีที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์และ สญั ลักษณข์ องชาวอีสาน เพราะเป็นประเพณที ่ีใหส้ มาชิกได้มีโอกาสชุมนมุ กัน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถมารับ อุปกรณ์สำหรับการจี่ข้าวจี่ ณ จุดบริการจี่ข้าวจี่ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำบัตร นักศึกษาหรือบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อเข้ารับอุปกรณ์สำหรับจี่ข้าวจี่ อุปกรณ์ที่ได้รับ ได้แก่ เตา ตะแกรง สำหรับยา่ ง ไม้สำหรบั เสยี บข้าว เกลือ ไข่ไก่ ข้าวเหนยี วน่ึงสุก และจานสำหรับวางขา้ วท่ีจ่ีสกุ แล้ว กิจกรรมจี่ข้าวจี่จะแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เปน็ ตน้ ไป และวนั ท่ี 15 กุมภาพันธ์ 2566 ต้งั แตเ่ วลา 05.00-07.00 น. ภาพท่ี 1การจี่ข้าวจี่โดยผรู้ ว่ มกิจกรรมจีข่ า้ ว ในวันที่ 14 กมุ ภาพันธ์ 2566 2. การประกวดข้าวจแ่ี ฟนซี กิจกรรมการประกวดข้าวจี่แฟนซี่ เป็นการประกวดที่จัดทำขึ้นเพื่อความสนุกสนาน เป็นกิจกรรม สำหรับกลุ่มเพื่อน มีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟู ประยุกต์ ประเพณีอย่างสร้างสรรค์ โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถสมัครเข้ามาร่วมกิจกรรมกันได้ที่หน้าเพจ Facebook ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักเกณฑ์การประกวด คือ สามารถเข้าร่วมได้เป็นทีม ทีมละ 5 คน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นนักศึกษา มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ รปู แบบของข้าวจ่ีต้องเป็นการประยุกตท์ ี่สื่อถึงความรกั และความสามคั คี ทั้งนี้ผู้ประกวดสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตนเองได้ตามใจชอบ และสามารถนำจาน หรือ ภาชนะสำหรับจัดวางขา้ วจี่ซึ่งเปน็ ผลงานของตนเองมาจากบ้านได้ พร้อมตั้งชื่อกลุม่ สำหรับการประกวด โดยทางผู้ จดั งานจะมีการนำปา้ ยชอ่ื กลมุ่ ต่าง ๆมาตดิ ใหต้ ามตะ หรือจุดสำหรบั การแขง่ ขัน
12 ภาพท่ี 2 บรรยากาศการประกวดขา้ วจ่แี ฟนซี ท่ีมา:FacebooK ศูนยศ์ ลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น, 2566 ภาพที่ 3 คณะกรรมการตดั สินการประกวดขา้ วจแี่ ฟนซี ภาพท่ี 4 การประกาศรางวลั การประกวดข้าวจ่แี ฟนซี ท่มี า:FacebooK ศูนย์ศิลปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น, 2566 3. กจิ กรรมการประกวดถา่ ยภาพเซลฟี่/คลิปไวรลั Tiktok การประกวดถ่ายภาพเซลฟ่ี เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นสร้างความรัก ความกลมเกลียวกันของคู่รัก และเพื่อเป็นการสร้างกิจกรรม ด้านประเพณี ศาสนา วัฒนธรรมและกิจกรรมคูร่ ักสู่สากล และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจรรมได้ร่วมสนุกถ่ายภาพเซลฟี่คู่
13 ไมว่ า่ จะเป็นคูร่ ัก คเู่ พอ่ื นสนิท คพู่ ่ีน้อง หรือคคู่ รอบครวั สดุ ที่รัก ของคณุ ภายในงาน “บญุ ข้าวจวี่ าเลนไทน”์ โดยจะ ให้คู่รัก ไม่ว่าเป็นคู่รักแบบแฟน แบบเพื่อน หรือจะถ่ายออกมาเป็นภาพครอบครัวก็สามารถทำได้ พร้อมข้าวจี่ใน คอนเซป็ ต์ “คู่ฟนิ กนิ ข้าวจว่ี าเลนไทน์” ถือเป็นการใช้โซเชย่ี ลมีเดียใหเ้ กิดประโยชน์สงู สุด และนอกจากนยี้ ังเป็นการ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมงานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ไปในตัว อีกด้วย โดยกิจกรรมการประกวดถ่ายภาพเซลฟี่ จะจัด ข้นึ ในวนั ท่ี 14 กมุ ภาพันธ์ 2566 ต้ังแตเ่ วลา 17.00 น. เปน็ ตน้ ไป และจัประกาศผล ในเวลา 22.30 น. ของวันที่ 14 กุมภาพันธ์นั้น โดยผู้ร่วมกิจกรรมจะเป็นใครก็ได้ บุคลทั่วไป หรือนักศึกษา บุคลากรภายในและภายนอก มหาวิทยาลัย ไม่จำกัดอายุ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถโพสต์ภาพถ่ายเซลฟี่เพื่อร่วมกิจกรรมในบัญชี Facebook ของท่าน พร้อมใส่ Hashtag #เซลฟีบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ 2566 พร้อมบรรยายภาพ ตั้งค่าบัญชีและโพสต์ Facebook ให้เป็นสาธารณะ (Public) ในทุกภาพ โดยภาพที่ได้รับยอดถูกใจใน Facebook เยอะที่สุดในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 22.30 น. จะได้รับรางวลั ชนะเลศิ ภาพที่ได้ยอดถูกใจรองลงมาจะได้รับรางวัลรองชนะเลศิ อนั ดบั 1 และ ภาพที่ถกู ใจรองลงมาอกี จะได้รบั รางวัลรองชนะเลศิ 2 ภาพท่ี 5 การประกาศผลรางวัลการประกวดถา่ ยภาพเซลฟ่ี ที่มา:FacebooK ศนู ยศ์ ลิ ปวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , 2566 การประกวดคลปิ ไวรัลTiktok เป็นกิจกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นการเชิญชวนให้คนมาร่วมงานในปีถัดไปอีกทั้งยังเป็นการสร้าง กิจกรรมให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถร่วมประชาสัมพันธ์โครงการได้อีกด้วย นับว่าเป็นการใช้สื่อโชเชี่ยลมีเดียให้เกิด ประโดยชน์ การประกวดผู้เข้ารว่ มกจิ กรรมสามารถสรา้ งสรรค์ผลงานได้ ต้ังแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เวลา 17.00 น. เป็ต้นไป และจะประกาศผลในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 16.00 น. การจัดทำคลิปวิดีโอสั้นหรือคลิปไวรัล (TikTok) นั้นต้องมีความยาวไม่เกิน 2 นาที เป็นคลิปสั้นระหว่าง วันที่ 13-14 กุมภาพันธ์ 2566 เนื้อหาในคลิปให้ แสดงถึงบรรยากาศ กจิ กรรม ความสนกุ สนานภายในงาน “บญุ ข้าวจ่ีวาเลนไทน์” ทีท่ างมหาวิทยาลัยขอนแก่นจัด ขึ้น โดยสามารถโพสต์คลิป VDO เพื่อร่วมกิจกรรมในบัญชี Tiktok ของท่านและต้องแชร์โพสไปยัง Facebook ของทา่ น พร้อมใส่ Hashtag #Tiktokบุญข้าวจี่วาเลนไทน์2566 ท้ังใน Tiktok และ Facebook พร้อมคำ บรรยาย
14 เชิญชวน แนะนำมาเที่ยวงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ ตั้งค่าบัญชีและโพสต์ของ Tiktok และ Facebook ให้เป็น สาธารณะ (Public) โดยคลิป Tiktok ทีไ่ ดร้ ับยอดถกู ใจใน Tiktok เยอะทสี่ ุด จะไดร้ ับรางวัลชนะเลิศ ภาพที่ 6 การประกาศผลรางวัลคลิปไวรลั Tiktok ท่มี า:FacebooK ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น, 2566 4. กจิ กรรมฉายหนงั กลางแปลง โดยหอภาพยนตร์อีสาน เป็นกจิ กรรมท่ีมวี ัตถปุ ระสงค์ เพ่อื อนุรักษ์ฟ้นื ฟู ตอ่ ยอดมรดกภูมิปัญญา และวัฒนธรรมอีสาน อีกท้ัง ยังเป็นการประยกุ ต์เพื่อให้เข้ากบั ยุคสมัยที่เปล่ียนไป กล่าวคือ มีการนำเอาหนังกางแปลงซ่ึงเป็นการฉายภาพยนตร์ ในสมยั ก่อนมาประยกุ ตเ์ ข้ากับความโรแมนติกในสมยั ใหม่ โดยภาพยนตรท์ ีน่ ำมาฉายจะเป็นภาพยนตร์รักโรแมนติก เพอ่ื สอื่ ถงึ แนวคดิ ของงานบุญข้าวจ่ี วาเลนไทน์ (ดหู นงั ฟังเพลง เตมิ รกั บญุ ขา้ วจี่ วถิ ีบุญเดอื นสาม) ประจำปี 2566 ภาพที่ 7 การฉายหนังกลางแปลง ท่มี า:FacebooK ศนู ย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแก่น, 2566 5. กิจกรรมการเตน้ บาสโลบ กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมของสาธารณรัฐประชาธิประไตยประชาชนลาว โดยเป็นกิจกรรมที่คนลาว นิยมเต้นตอนออกงานสังคม เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงสังสรรค์ รวมไปถึงงานเลี้ยงรับรองที่เปน็ ทางการ โดยทาง
15 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของกิจกรรมดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการแสดง ถึงความสัมพันธ์อันดี ระหว่างประเทศไทย และประเทศลาว ภายในงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ ก็ได้มีการจัดกิจกรรมการเต้นบาสโลบขึ้น โดยชมรมนักศึกษาลาว มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น โดยได้รบั เกยี รตจิ ากท่านอธกิ ารบดี มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ และรองศาสตราจารย์ ดร.นิยม วงศพ์ งษค์ ำ ไดใ้ หเ้ กียรตริ ่วมกจิ กรรมนด้ี ้วย นับเปน็ การกระชบั ความสัมพนั ธ์อนั ดรี ะหว่างไทย - ลาว ภาพที่ 8 การเตน้ บาสโลบ โดยชมรมนักศกึ ษาลาว มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น ทีม่ า:FacebooK ศนู ยศ์ ิลปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , 2566 6. การแสดงละครหุ่นกระตบ๊ิ ขา้ ว กิจกรรมการแสดงละครหุ่นกระติ๊บข้าว เป็นการแสดงจากคณะละครหุ่นนวัตศิลป์ มีการจัด กิจกรรมในรปู แบบของกิจกรรมสร้างสรรค์ หนุ่ เชดิ และเปน็ การเล่าเร่ืองโดยมผี ู้บรรยาย มตี นตรปี ระกอบเพ่ืออรร๔ รสของความระทึกใจ ตามเนื้อเรื่อง อีกทั้งกิจกรรมนี้ยังเปน็ การจดั ขึ้นเพื่อสนับสนุนให้นักศึกษา เยาวชนไดม้ ีส่วน ร่วมในกจิ กรรมดังกลา่ วโดยผ่านการฝึกซอ้ มร่วมกบั ศลิ ปนิ และปราชญ์ชาวบ้าน เพอื่ นำไปส่กู ารผลิตการแสดงหุ่นท่ีมี ความร่วมสมยั ภาพท่ี 9 การแสดงหุ่นกระต๊ิบข้าว โดยคณะละครห่นุ นวตั ศลิ ป์
16 ทม่ี า:FacebooK ศูนย์ศลิ ปวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแก่น, 2566 7.กิจกรรมการประกวดคู่ฮักมักจ่ี กิจกรรมคู่ฮักมักจ่ีเปน็ กิจกรรมท่จี ัดขน้ึ เพ่ือให้ครู่ ักได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ประกวดคู่ฮกั มักจ่ี (งาน ข้าวจี่ วาเลนไทน์)ข้าวจี่ แกล้มฮัก... โดยผู้ร่วมกิจกรรมสามารถเป็นบุคคลทั่วไป มาร่วมประกวดโชว์ความรัก ใน เทศกาลขา้ วจวี่ าเลนไทน์โดยท่ีไมจ่ ำเป็นวา่ จะต้องเป็นครู่ ักแบบหนสุ่ าวเทา่ นน้ั แต่ยงั รวมไปถึงคู่รักแบบเพ่ือน แม่ลูก ก็สามารถลงทะเบียนมาร่วมกิจกรรมได้อีกด้วย รับจำนวนจำกัด 20 คู่ ผู้ร่วมกิจกรรมที่มีสิทธิ์รับรางวัลต้องมาทำ กิจกรรมทงั้ 2 วัน คอื วันที่ 14-15 กมุ ภาพนั ธ์ 2566 โดยกิจกรรมท่ีคู่รักจะต้องร่วมกันทำภายในงาน คือ กิจกรรม ทำขนั หมากเบ็ง ไหว้พระไม้ หลังจากนัน้ ผเู้ ข้าร่วมกิจกรรมต้องไปเวียนเทียนรอบอาคารพระไม้ ตอ่ มาเป็นกิจกรรม ขา้ วจีร่ ้รี ัก ชั้นฮัก ปั้นแฮง (เป็นการเลา่ เรื่องผ่านการทำข้าวจใ่ี นฉบบั คู่รกั ) ตอ่ มาเป็นกิจกรรมคำถามวัดใจ บ่แม่นไผ กะได้ (คุณร้ใู จค่รู กั ของคุณแค่ไหน) กิจกรรมต่อมาคือการตอบคำถามจากกรรมการ และกิจกรรมสุดท้ายในเช้าของ วันที่ 15 กมุ ภาพันธ์ 2566 เปน็ กจิ กรรมจขี่ า้ วใส่บาตร เริ่ม 05.00 - 07.00 น. ภาพที่ 10 การประกาศรางวลั การประกวดคฮู่ ักมกั จ่ี ที่มา:FacebooK ศูนยศ์ ิลปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , 2566 8. กจิ กรรมการประกวด Miss KKU Valentine 2023 กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่สร้างความกล้าแสดงออกให้กับนักศึกษา โดยวัตถุประสงค์หลักของ กิจกรรมนี้เป็นการสร้างการบูรณาการเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยของกิจกรรมงานบุญวาเลนไทน์ให้มีความหลากหลาย มากขึ้น โดยเป็นการประยกุ ต์ สร้างสรรค์ให้เกิดความร่วมสมัย ระหว่างความเปน็ อีสานกับความสมัยใหม่ของการ ประกวด Miss KKU Valentine 2023 โดยคุณสมบัติผู้เข้าประกวดจะต้องเป็นเพศชายโดยกําเนิด อายุ ไม่เกิน 28 ปี นับจากวนั สมคั ร เปน็ ผู้ท่ียังไมผ่ ่านการศัลยกรรมหนา้ อก และความยาวเส้นผมไมเ่ กินตง่ิ หูหรือบางคน อาจจะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของกองประกวด และเป็นนักศึกษาที่กําลังศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกมหาวิทยาลยั ขอนแก่น ไม่จํากัดชั้นปี ไม่จํากัดหลักสูตร และไม่อยู่ในระหว่างพักการศึกษา เกณฑ์การ
17 ตัดสนิ ตัดสนิ จากบุคลกิ ภาพ ทา่ ทสี ง่างาม มคี วามมัน่ ใจในการพูด ปฏภิ าณไหวพริบและเนื้อหาในการพูด และต้อง มคี วามมน่ั ใจในการตอบคาํ ถาม ภาพที่ 11 บรรยากาศการประกวด Miss KKU Valentine 2023 ที่มา:FacebooK ศูนยศ์ ิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น, 2566 ภาพท่ี 12 การประกาศรางวัลการประกวด Miss KKU Valentine 2023 ที่มา:FacebooK ศนู ยศ์ ลิ ปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , 2566 9. กิจกรรมการตกั บาตรขา้ วจ่ี กิจกรรมน้ีถือเป็นวัตถุประสงค์หลักของการจัดงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์ คำ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กล่าวว่า “บุญข้าวจี่วาเลนไทน์จัดขึ้นเพื่อเป็นการ อนุรกั ษ์และฟ้นื ฟปู ระเพณีได้อยา่ งสรา้ งสรรค์ เข้ากับยุคสมัย ถอื ว่าเปน็ การขับเคลอ่ื นศักยภาพทางวฒั นธรรมท่ีมีอยู่ ในทอ้ งถิน่ ใหป้ รากฎเปน็ รปู ธรรม บญุ ข้าวจว่ี าเลนไทนถ์ อื วา่ เปน็ การพลกิ ฟน้ื วฒั นธรรม อยากให้เดก็ ยุคใหมเ่ ขา้ ใจวิถี วัฒนธรรม นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนหนุ่มสาว ฉลองความรักในวันวาเลนไทน์และสืบสานประเพณี ดั้งเดิมของชาวอีสานไปด้วย” (ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2566) กิจกรรมได้จัดขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพนั ธ์ จดั ให้มกี ารตกั บาตรในตอนเช้า เวลา 07.00 น. เปน็ ตน้ ไป โดยมีพระสงฆ์ จำนวน 14 รปู รบั บณิ ฑบาต
18 ภาพที่ 13 กจิ กรรมการตกั บาตรขา้ วจ่ี ท่มี า:FacebooK ศนู ยศ์ ิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ , 2566 10. กจิ กรรมการแสดงดนตรี และ หมอลำ การแสดงดนตรสี ดโดยนกั ศึกษา สุนทรียอย่างหน่ึง คือดนตรี ก่อนที่กิจกรรมต่างๆจะเร่ิมขึ้น การมีดนตรีใหฟ้ ังไปตลอดงาน นบั เปน็ การสรา้ งสนุ ยทรยี ์อย่างหนงึ่ ซ่งึ สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) เปน็ การสง่ เสริมใหป้ ระชาชนดำรงชวี ติ อยา่ งมสี นุ ทรีย์ อกี ทงั้ ยังเปน็ การนำวัฒนธรรมใหม่เข้ามาร่วม ในวัฒนธรรมแบบเก่าไดอ้ ยา่ งลงตัว เปน็ การนำมาเพอื่ สร้างสุนทรีย์ใหก้ บั คนรุ่นใหม่ เป็นการสรา้ งบรรยากาศในงาน ได้เป็นอย่างดี โดยการแสดงดนตรจี ะเร่มิ ข้นึ ต้ังแตเ่ วลา 17.00 น. เป็นตน้ ไป การแสดงดนตรีจะเลน่ สลบั กับ กิจกรรมตา่ ง ๆไปเร่ือย ๆจนกว่าจะจบงานของวนั ที่ 14 กุมภาพันธ์ ภาพท่ี 14 การแสดงดนตรีสดจากนักศึกษามหาวิทยาลยั ขอนแกน่ ทีม่ า:FacebooK ศูนย์ศิลปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , 2566 การแสดงหมอลำกลอน การแสดงหมอลำกลอนเปน็ การแสดงจากวงโปงลางสนิ ไซ และหมอลำพันปจี ากชุมชนสาวะถี โดย เปน็ การลำรว่ มกนั อาจจะเรยี กว่าประสานเสยี งกนั กว็ ่าได้ การแสดงหมอลำจะเริ่มแสดงในตอนเช้าของวันท่ี 15
19 กุมภาพันธ์ เวลา 05.00 น. เปน็ ต้นไป เป็นการแสดงทส่ี ือ่ ถึงความเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชมุ ชนภาคอสี าน ทั้งเนื้อ ร้อง และทำนอง แสดงใหเ้ ห็นถงึ ศิลปวฒั นธรรม เป็นการสร้างสนุ ทรยี ์ให้กับคนที่มารว่ มงานบุญขา้ วจีว่ าเลนไทน์ใน ตอนเช้า ภาพที่ 15 การแสดงหมอลำกลอนจากวงโปงลางสนิ ไซ และหมอลำพนั ปีจากชมุ ชนสาวะถี
20 บทท่ี 3 การปรับเปลีย่ นวฒั นธรรมของงานบุญขา้ วจ่ใี หเ้ ข้ากับสมัยนิยม การศึกษาในบทนี้ ผู้ศึกษาได้ศึกษาจากการวิเคราะห์จากกิจกรรมบางอย่างที่ปรากฏในงานบุญข้าวจี่วา เลนไทน์ และผ่านการตีความจากสัมภาษณ์และร่วมสังเกตการณ์จากผู้มีส่วนร่วมในงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ โดย ผ่านการผสมผสานระหว่าง 2 วัฒนธรรม จากการจัดงานบุญขา้ วจ่แี บบด้ังเดมิ สู่การเป็นงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ ซ่ึง มกี ารสร้างข้นึ ใหมท่ เี่ กดิ ข้ึนในบรบิ ทสงั คมปัจจบุ ัน 3.1 การจัดงานบุญข้าวจีต่ ามประเพณีดั้งเดิมของวดั ไชยศรี ชมุ ชนสาวะถี การประกอบพิธีกรรมในงานบุญข้าวจี่ แบบดั้งเดิมของวัดไชยศรีนั้น เป็นงานที่จัดขึ้นตามบรรพบุรุษท่ี ถ่ายทอดกันมา ตามแนวคิดเกี่ยวกับการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมแล้วนั้น การท่ีวัฒนธรรมจะมีการอยู่รอดหรือไม่ การสืบทอดหรือถ่ายทอดเป็นกระบวนการที่มีส่วนสำคัญอย่างมาก ที่จะสะท้อนการคงอยู่ของประเพณีและ วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ มนุษย์ได้กระทำหรือปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมา ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมที่มนุษย์ได้แสดง ออกมาในรูปแบบการแสดงและการละเล่นต่างๆ มีการถ่ายทอดติดต่อกันมาจนเป็นมรดกของสังคม(รัชฌกร พล พิพัฒน์สาร, 2560) โดยท่ีประเพณีบุญข้าวจี่ของวัดไชยศรีนั้น เป็นการจัดงานที่ไม่ยิ่งใหญ่มากนัก ต่างคนต่างทำ กล่าวคือ เมื่อถึงฤดูเกี่ยวข้าว เก็บข้าวขึ้นลาน และนำข้าวใหม่ที่ได้เก็บไว้ในยุ้งฉางเรียบร้อยแล้ว พอถึงช่วงเดือน สาม ประเพณีจี่ข้าว ก็จะนำข้าวใหม่ที่ได้มาทำข้าวจี่เพื่อรับประทานในครัวเรือน และนำไปถวายพระสงฆ์ตาม ประเพณีอีสานทั่วไป (จันทะนี คามะดา, 2548) พระครูบุญชยากร กล่าวว่า “การทำข้าวจี่น้ันแต่ก่อนก็จะเป็นการ นำข้าวมาจี่ไฟเพียงเท่านั้น สถานที่ในการจัดงานเพียงแต่จัดขึ้นภายในวัด ไม่มีกิจกรรมอะไรเป็นพิเศษขึ้นมา ใน ภายหลังจึงได้มีกิจกรรมขึ้นมา ซึ่งมีนัยยะสำคัญเพื่อเป็นการรวมกลุ่มคนมาร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เพ่ือใหค้ นเหน็ ความสำคัญของพระพุทธศาสนามากขน้ึ การทำบุญข้าวจมี่ ิใชเ่ พียงเพราะเปน็ บญุ ข้าวจ่ีอยา่ งเดียว แต่ เพอื่ ให้คนเห็นความสำคัญของขา้ ว” (พระครบู ุญชยากร, สัมภาษณว์ นั ท่ี 20 กมุ ภาพันธ์ 2566) ในการจัดงานบุญข้าวจ่ี ของวัดไชยศรี จัดข้นึ เพ่อื เปน็ การอนุรกั ษ์ประเพณีด้ังเดมิ ของชุมชนสาวะถไี ว้ และ นอกจากนี้ยังเป็นการจัดงานเพื่อให้ความสำคัญของสินไชซึ่งเป็นพลังงานสำคัญของชุมชน อีกทั้งการผลิตซ้ำชุด ความรู้ผ่านพื้นที่และพิธีกรรมได้มีส่วนช่วยให้สินไซมีความศักดิ์สิทธิ์และทรงคุณค่าอยู่ต่อไป การผลิตซ้ำทาง วัฒนธรรม คือ การถา่ ยทอดคุณค่า ประเพณที างวฒั นธรรม ท่ีมอี ยจู่ ากรุ่นหนึง่ สู่อีกรุ่นหนึ่ง(เยน็ จิตร ถิ่นขาม,มณีชัย ทองอยู่, 2552) นั่นคือ งานบุญเดือนสามตามฮีตสิบสองของคนอีสาน หรือบุญข้าวจี่ ภายใต้ชื่องาน “สินไซ บุญ ข้าวจี่ วิถีวัฒนธรรมอีสาน” จัดข้ึนทุกปี ณ วัดไชยศรีพื้นที่ปฏิบัติการสำคัญ โดยหลังจากนั้นก็ได้มีการสร้างสรรค์ งานเพื่อให้มีผู้สนใจเข้าร่วมมากขึ้น โดยมีการกำหนดจัดงานให้ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์และตรง กับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือ วันมาฆบูชา วันมาฆบูชาอาจกล่าวได้ว่าเป็นวันแห่งความรักในทาง
21 พระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้แสดงโอวาทปาติโมกข์คือหลักธรรมอันเป็นหัวใจของ พระพุทธศาสนา (พันธ์ทุ ิพ ตาทอง, 2560) 3.2 การปรบั เปล่ยี นวัฒนธรรมบุญข้าวจใ่ี ห้เข้ากับสมัยนยิ ม ของงานบุญขา้ วจี่วาเลนไทน์ จากการศึกษาเรื่องการปรับเปลี่ยนงานบุญข้าวจ่ีให้เข้ากับสมัยนิยม ทำให้เห็นว่า งานบุญข้าวจี่วาเลน ไทน์ มีกิจกรรมที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้เข้ากับสมัยนิยมมากขึ้น ทั้งกิจกรรมที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ เช่น กิจกรรมการ ประกวด Miss KKU Valentine 2023 กิจกรรมการประกวดถ่ายภาพเซลฟ่ี และกิจกรรมที่เกิดจากการผสมผสาน 2 วัฒนธรรม เชน่ กจิ กรรมการจขี่ า้ วจี่ กิจกรรมการประกวดขา้ วจี่แฟนซี กิจกรรมคฮู่ กั มักจี่ เป็นตน้ โดยสามารถนำ แนวคิดเกยี่ วกับการรื้อฟนื้ วัฒนธรรมมาอธบิ ายเร่อื งการปรับเปลย่ี นงานบุญข้าวจใี่ หเ้ ข้ากบั สมยั นิยมได้ ตามแนวคดิ เกย่ี วกับการฟื้นฟูและการรือ้ ฟน้ื วัฒนธรรม โดย Fred W. Voget ซง่ึ นำความคดิ เรอ่ื ง “ชาติ ภูมินยิ ม” (Nativism) ของ Linton มาขยายความเพิ่มเติมโดยอธิบายวา่ กล่มุ คนพื้นเมอื งหรือกลุ่มชาติพันธุ์จะมีการ ปรับตัวและตอบโต้กับวัฒนธรรมใหม่ที่เข้ามาใน 3 ลักษณะ ลักษณะแรกคือการรื้อฟื้นวัฒนธรรมเก่าข้ึนมาใหม่ (Revivalist Nativism) ลกั ษณะทีส่ องคอื การนำเอาวฒั นธรรมใหม่มาปฏิบัติ (Adjustive Nativism) และลกั ษณะที่ สามคือการนำเอาวฒั นธรรมเกา่ ของตัวเองมาผ่านการรวมเข้ากับวัฒนธรรมใหม่ (Reformative Nativism) ในการ ปรับตัวทางวัฒนธรรมนี้ Voget เชื่อว่าการผสมผสานทางวัฒนธรรมทั้งแบบเก่าและใหม่คือวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ คนพื้นเมืองสามารถดำารงชีวิตได้อย่างมั่นใจและพร้อมท่ีจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัย โดยไม่จมอยู่กับ ขนบธรรมเนยี มประเพณแี บบเก่า (นฤพนธ์ ดว้ งวเิ ศษ, 2563) Anthony F. C. Wallace อธิบายว่ากระบวนการรื้อฟื้นให้วัฒนธรรมมีชีวิตขึ้นมาใหม่ หมายถึง ความ พยายามของกลุ่มคนที่ต้องการสร้างวัฒนธรรมให้น่าพอใจมากกว่าเดิม (Satisfying Culture) ความพยามยามน้ี เกี่ยวข้องกับการเปล่ียนแปลงและพลวัตทางสงั คมที่สมาชิก ตระหนักรูแ้ ละมองดูวฒั นธรรมของตวั เองในฐานะเปน็ สิ่งที่ต้องถูกจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการใหม่ ๆ นอกจากนี้ Wallace กล่าวว่าวิธีการที่บุคคลจัดการกับ วฒั นธรรมมี 2 ลกั ษณะ คือ หนึ่ง การเกบ็ รกั ษา คือการทำใหว้ ัฒนธรรมดำรงอยู่ในแบบเดมิ และ สอง การสรา้ งใหม่ คือการทำใหว้ ฒั นธรรมต่างไปจากเดิม (นฤพนธ์ ดว้ งวเิ ศษ, 2563) จากแนวคิดเกี่ยวกับการฟื้นฟูและการรื้อฟื้นวัฒนธรรมข้างต้น จะเห็นว่างานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ที่มี การจัดกิจกรรมขึน้ ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยขอนแกน่ ก็ยังคงมีกิจกรรมที่เกีย่ วข้องกับพระพุทธศาสนาอยู่ ยังคงมี กิจกรรมท่ีสอดคล้องกบั การปฏิบัติบุญขา้ วจีแ่ บบด้งั เดิมอยู่ แต่จะเป็นการประยกุ ต์ให้เข้ากบั วัฒนธรรมสมยั ใหม่ ดัง แนวคิดของ Voget คือการนำเอาวัฒนธรรมเก่าของตัวเองมาผ่านการรวมเข้ากับวัฒนธรรมใหม่ โดยไม่ทิ้ง
22 วัฒนธรรมดั้งเดิมและยังรับเอาวัฒนธรรมใหม่เข้ามาประยุกต์ได้อย่างลงตวั สามารถเห็นได้จากกิจกรรมในงานบญุ ขา้ วจวี่ าเลนไทน์ ดังน้ี 1.กจิ กรรมการประกวดขา้ วจแี่ ฟนซี กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมและแบบใหม่เข้าด้วยกัน กล่าวคือ เป็นการนำเอาสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณี คือการจี่ข้าวจี่ธรรมดาๆ มาสร้างสรรค์ผ่านกติกาการ แข่งขัน เพื่อให้เกิดความคิดสร้าสรรค์ และเป็นการนำวัฒนธรรมการแข่งขันแบบสมัยใหม่ที่เป็ที่นิยมกันเข้ามา เพื่อให้เกิดความสนุกสนานมากย่ิงขึ้น ทำให้เกิดความสนใจจากบุคคลทั่วไป และยังเป็นการเปิดโอกาสให้นกั ศึกษา ไดอ้ อกแบบความคดิ สรา้ งสรรค์ของตัวเองในการปัน้ ขา้ วจ่ใี หเ้ ปน็ รูปทรงตา่ ง ๆ ไดอ้ ีกดว้ ย 2. กจิ กรรมการประกวดการถ่ายภาพเซลฟ่ี เป็นการประดิษฐ์กิจกรรมรูปแบบใหม่ เพื่อดึงดูความสนใจ เป็นกิจกรรมท่ีนำเอาความเป็นสมยั ใหม่ มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ตอ่ การประชาสัมพันธ์กิจกรรม โดยการประกาศลงบนโซเชี่ยลมีเดีย ผ่าน Hashtag #เซลฟ่ีบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ 2566 ทำให้มีผู้เห็นโพสต์มากขึ้นบน Facebook เป็นการประชาสัมพันธ์ให้มีผู้มาเข้า ร่วมงานในปตี อ่ ๆ ไปได้ 3. กิจกรรมการประกวด Miss KKU Valentine 2023 กิจกรรมการประกวด Miss KKU Valentine 2023 ถือเป็นกิจกรรมท่ีเป็นการสร้างวัฒนธรรมขึ้น ใหม่ ตามแนวคิดของ Wallace และเป็นการนำเอาวัฒนธรรมใหม่มาปฏิบัติ (Adjustive Nativism) ตามแนวคิด ของ Voget การประกวดนางงามหรือการประกวดตา่ ง ๆ เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่พึ่งเกิดขึ้นเม่ือไม่นานมานี้ สำหรบั งานบุญข้าวจี่วเลนไทน์แล้วการประกวดดังกล่าวถือเป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่ แต่ได้รับการยอมรับ เนื่องจากเป็น กจิ กรรมทแี่ สดงใหเ้ หน็ ถงึ การเปดิ กวา้ งและเป็นท่ยี อมรับในกลมุ่ LGBT 4. กจิ กรรมการประกวดคู่ฮกั มกั จี่ กิจกรรมนเ้ี ป็นกิจกรรมทถ่ี ูกจดั ขนึ้ มาใหม่ แตย่ ังคงความเปน็ ประเพณดี ัง้ เดมิ ไว้ อาจเรียกได้ว่าเป็น การนำเอาวัฒนธรรมแบบเก่ามาประยุกต์กับวัฒนธรรมแบบใหม่ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความประทับใจให้กับ คู่รักทม่ี าร่วมกจิ กรรม เนื่องจากได้รบั ความสนใจเป็นอย่างมาก เกษสุวรรณ สังหาวิทย์(2566) ผู้เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวว่า “กิจกรรมคู่ฮักมักจี่ เป็นกิจกรรมที่ สรา้ งความสนุกสนาน ไดค้ วามรู้เร่อื งการอนุรักษณว์ ัฒนธรรมอสี านด้งั เดิม เปน็ กจิ กรรมทล่ี งตวั ดี และได้บรรยากาศ ทแ่ี ปลกใหม”่ 5. กิจกรรมฉายหนงั กางแปลง
23 กิจกรรมการฉายหนังกางแปลงก็นับว่าเป็นกิจกรรมที่เป็นการนำเอาวัฒนธรรม เก่ามาประยุกต์ เพื่อให้เข้าวัฒนธรรมสมัยใหม่ โดยมีการนำหนังกางแปลงในยุคเกา่ มาเปิดฉายเพื่อสร้างบรรยากาศแบบโรแมนตกิ และเปิดหนังรัก ที่เป็นหนังของภาคอีสาน เป็นการสร้างบรรยากาศเพื่อให้เข้ากับงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ (ดูหนัง ฟังเพลง เติมรักบุญข้าวจี่ วิถีบุญเดือนสาม) ประจำปี 2566 โดยเข้ากับทั้งความเป็นอีสานของงานบุญข้าวจี่ และ ความเป็นตะวันตกของวนั วาเลนไทนอ์ ีกดว้ ย 6. กจิ กรรมดนตรกี ารแสดงดนตรีสด/หมอลำกลอน กิจกรรมการแสดงดนตรีสดและหมอลำกลอน เปน็ กจิ กรรมที่แสดงใหเ้ ห็นถึงความแตกต่างระหว่าง สองวัฒนธรรม ซึ่งจะเห็นว่าการแสดงดนตรสี ดเป็นกิจกรรมท่ีส่ือถึงวัฒนธรรมตะวันตก โดยในงานบุญข้าวจี่วาเลน ไทน์ เพลงที่นำมาแสดงจะเป็นเพลงสากล ในส่วนของการแสดงหมอลำนั้น เป็นกิจกรรมที่แสดงออกถึงวัฒนธรรม อีสาน อย่างไรก็ตามกิจกรรมทั้งสองสามารถนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นได้ โดยนำการแสดงดนตรีให้แสดงในตอน กลางคืนเพื่อสร้างบรรยากาศโรแมนติกตามแบบวัฒนธรรมตะวันตก และนำการแสดงหมอลำมาแสดงในตอนเช้า เพือ่ สร้างบรรยากาศการจขี่ ้าวจี่ เพือ่ เขา้ สพู้ ิธีกรรมทางศาสนา จากการสัมภาษณ์และสังเกตุการณ์ผู้ที่มาเข้าร่วมงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ โดยที่ความเห็นส่วน ใหญ่ มีความเห็นว่า “บุญข้าวจี่วาเลนไทน์นั้นมิได้มีความปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งยังไม่คิดว่ามีการปรับเปลี่ยน ขนาดนั้น แต่คิดว่าเป็นการนำเอากิจกรรม 2 อย่างมารวมกันและทำให้เกิดกิจกรรมใหม่ๆขึ้น ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า เปน็ การประยกุ ต์ เอาประเพณีวัฒนธรรมไทยกับสากลเขา้ ด้วยกัน เพอื่ ใหเ้ กิดความรว่ มสมัย” และความเห็นจากผู้เขา้ ร่วมกิจกรรมอีกส่วนหนึ่ง มีความเห็นว่า “บุญข้าวจี่มีการปรบั เปลี่ยนให้ เข้ากับบริบทสังคมในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนโดยมีการผสานระหว่างวัฒนธรรมของภาคอีสานและวัฒนธรรม ตะวนั ตกคือการนำเอาวันวาเลนไทนห์ รือวนั แห่งความรักมาประยุกตร์ ่วมกบั บญุ ข้าวจ่ีของชาวอีสานที่ถือว่าเป็นการ แสดงความรักใคร่กลมเกลียวของคนในภาคอีสาน มีการนำวัฒนธรรมของต่างชาติเข้ามาร่วมในกิจกรรมดว้ ย จาก เดิมที่เปลี่ยนไปในปีนี้มีการจัดกิจกรรมการประกวดเพิ่มขึ้น ต่างจากทุกๆปี เช่น การทำบุญใส่บาตรข้าวจี่ธรรมดา แตพ่ อมีการจดั กจิ กรรมขา้ วจี่วาเลนไทน์ มกี ารประกวดค่รู กั หนมุ่ สาว กเ็ พมิ่ ความสรา้ งสรรค์ สง่ เสรมิ การเข้ามาร่วม ทำบุญใส่บาตร ทำกิจกรรมร่วมกันกับคู่รัก เพื่อนรัก หรือครอบครัว ซึ่งเป็นการเพิ่มสีสนั ใหก้ ับงานเพื่อดงึ ดูดให้คน มาร่วมงานกันเยอะ ๆ และยังเขา้ ถึงกลุม่ ผคู้ นรุน่ ใหม่”
24 บทท่ี 4 สรุป อภปิ รายผล และข้อเสนอแนะ 4.1 สรปุ 4.1.1 ความเปน็ มาของการจดั งานบุญขา้ วจ่ี วาเลนไทน์ งานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ มีต้นแบบมาจากประเพณีบุญข้าวจี่ของวัดไชยศรี ชุมชนสาวะถี มีการยึดถือ ประเพณีมาตั้งแต่โบราณ โดยมุ่งเน้นเพื่อที่จะสั่งสอนให้ชาวบ้านเห็นความสำคัญของข้าว โดยภายหลังได้นำไป ประยกุ ตเ์ ป็นบุญขา้ วจ่ี วาเลนไทน์ ซึ่งไดม้ กี ารจดั ขึ้น ณ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ ต้งั แต่ ปีพ.ศ. 2559 เพ่ือให้นักศึกษา ได้จัดกิจกรรมที่ส่งเสรมิ ประเพณีและวัฒนธรรมชุมชน ผ่านแนวคิด “ไม่หลงของเก่า ไม่เมาของใหม่” เป็นการรบั เอากิจกรรมแบบสากล โดยไม่ละทิ้งความเป็นดั้งเดิม และมีการประยุกต์เอากจิ กรรมวันแห่งความรักท้ังสองงานไว้ ด้วยกัน โดยการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสมัยนิยม เนื่องจากงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์มีการเพิ่มกิจกรรมเพื่อให้เข้ากับ สมัยนยิ มมากขนึ้ 4.1.2 ขัน้ ตอนการจดั งานบุญขา้ วจ่ี วาเลนไทน์ งานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ได้มีการเริ่มเตรียมงาน มีการวางแผนโครงการมาเป็นเวลา 1 เดือนก่อนที่จะมี การจัดกิจกรรมจริง โดยเริ่มจากการวางแผนการทำงาน มีการประชุมวางแผนการดำเนินงาน ติดตามการ ดำเนินงาน มีการจัดงาน ณ ริมบึงสีฐานฝั่งทิศตะวันตก มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีกิจกรรมต่างที่๔กจัดขึ้นภายใน งาน ดงั นี้ 1. กิจกรรมจ่ขี า้ วจี่ 2. กจิ กรรมการประกวดขา้ วจแ่ี ฟนซี 3. กจิ กรรมการประกวดถ่ายภาพเซลฟ่ี/ คลปิ ไวรัล Tiktok 4. กจิ กรรมฉายหนังกลางแปลง โดยหอภาพยนตร์อีสาน 5. กิจกรรมการเต้นบาสโลบ 6. การแสดงละครห่นุ กระตบิ๊ ขา้ ว 7.กจิ กรรมการประกวดคู่ฮักมกั จี่ 8. กจิ กรรมการประกวด Miss KKU Valentine 2023 9. กจิ กรรมการตกั บาตรข้าวจี่ 10. กจิ กรรมการแสดงดนตรแี ละหมอลำ
25 4.1.3 การจัดงานบญุ ขา้ วจ่ีตามประเพณีดั้งเดมิ ของวดั ไชยศรี ชุมชนสาวะถี การประกอบพิธีกรรมในงานบุญข้าวจี่ แบบดั้งเดิมของวัดไชยศรีนั้น เป็นงานที่จัดขึ้นตามบรรพบุรุษที่ ถ่ายทอดกนั มา เปน็ การจดั งานที่ไม่ยิ่งใหญ่มากนกั การทำขา้ วจ่นี ั้นแต่ก่อนกจ็ ะเป็นการนำข้าวมาจี่ไฟเพียงเท่าน้ัน ไม่มีกิจกรรมอะไรเป็นพิเศษขึ้นมา ในภายหลังจึงได้มีกิจกรรมขึ้นมา เพื่อเป็นการรวมกลุ่มคนมาร่วมกิจกรรมทาง พระพุทธศาสนา และเพื่อให้คนเห็นความสำคัญของข้าว หลังจากนั้นก็ได้มีการสร้างสรรค์งานเพื่อให้มีผู้สนใจเขา้ ร่วมมากขึ้น โดยมีการกำหนดจัดงานให้ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์และตรงกับวันสำคัญทาง พระพทุ ธศาสนาคือ วันมาฆบูชา วนั มาฆบชู าอาจกลา่ วได้ว่าเป็นวนั แหง่ ความรักในทางพระพทุ ธศาสนา 4.1.4 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบุญขา้ วจใ่ี ห้เขา้ กบั สมัยนิยม ของงานบญุ ขา้ วจี่วาเลนไทน์ จากการศึกษาเรื่อการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบุญข้าวจี่ ทำให้ได้ข้อสรุปว่า งานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ มี กจิ กรรมท่ถี ูกสร้างสรรค์ข้นึ เพ่ือให้เขา้ กับสมยั นิยมมากขึ้น ทง้ั กจิ กรรมที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ เช่น กิจกรรมการประกวด Miss KKU Valentine 2023 กิจกรรมการประกวดถ่ายภาพเซลฟี่ และกิจกรรมที่เกิดจากการผสมผสาน 2 วัฒนธรรม เช่น กิจกรรมการจี่ข้าวจี่ กิจกรรมการประกวดข้าวจี่แฟนซี กิจกรรมคู่ฮักมักจี่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม งานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ที่มีการจัดกิจกรรมขึ้นในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็ยังคงมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธศาสนาอยู่ ยังคงมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับการปฏบิ ัติบุญข้าวจี่แบบดั้งเดิมอยู่ แต่จะเป็นการประยกุ ต์ให้ เข้ากับวัฒนธรรมสมัยใหม่ ดังแนวคิดของ Voget คือการนำเอาวัฒนธรรมเก่าของตัวเองมาผ่านการรวมเข้ากับ วัฒนธรรมใหม่ โดยไม่ทิ้งวัฒนธรรมดั้งเดิมและยังรับเอาวัฒนธรรมใหม่เข้ามาประยุกต์ได้อย่างลงตัว ซึ่งจะเห็นได้ จากกิจกรรมตา่ ง ๆ เหล่าน้ีทีไ่ ดถ้ สู ร้างขึ้นใหมเ่ พือ่ ให้เข้ากบั สมัยนยิ มมากขึ้น เช่น 1.กิจกรรมการประกวดขา้ วจแี่ ฟนซี 2. กจิ กรรมการประกวดการถา่ ยภาพเซลฟ่ี 3. กิจกรรมการประกวด Miss KKU Valentine 2023 4. กจิ กรรมการประกวดคู่ฮกั มกั จี่ 5. กิจกรรมฉายหนังกางแปลง 6. กิจกรรมดนตรกี ารแสดงดนตรสี ด/หมอลำกลอน จากการสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ผู้ที่มาเข้าร่วมงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ ความเห็นของผู้เข้าร่วม กิจกรรมมีทั้งบอกว่างานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์มีการปรับเปลี่ยน และไม่มีการปรับเปลี่ยน ฉะนั้นผู้ศึกษาจึงสามารถ สรปุ ไดว้ ่างานบุญขา้ วจ่ีวาเลนไทนมีการปรบั เปล่ียนวัฒนธรรมใหเ้ ข้ากบั สมัยนยิ ม โดยมกี ารผสานระหวา่ งวัฒนธรรม ของอสี านและวัฒนธรรมตะวันตกคือการนำเอาวนั วาเลนไทน์หรือวันแหง่ ความรักมาประยุกต์ร่วมกับบุญข้าวจี่ของ ชาวอีสาน มีการนำวัฒนธรรมของตา่ งชาติซงึ่ ก็คือวันวาเลนไทน์ ท่ีมีกรอบแนวคดิ ที่คลา้ ยคลึงกัน คือเรื่องของความ
26 รัก เข้ามาร่วมในกิจกรรมด้วย เช่น การทำบุญใส่บาตรนอกจากจะเป็การนำข้าวจี่ธรรมดา ๆมาใส่ ก็กลายมาเป็น ข้าวจรี่ ูปหวั ใจซ่งึ สอ่ื ถึงความรักในวนั วาเลนไทน์ และนอกจากน้ีมีการจัดการประกวดตา่ ง ๆ การแสดง เข้ามามีส่วน รว่ มอย่ใู นกิจกรรม โดยเป็นการสร้างจดุ สนใจเพอ่ื ให้ผูค้ นสนใจเขา้ รว่ มกิจกรรมบุญขา้ วจ่มี ากขึน้ 4.2 อภปิ รายผล จากการศึกษาขอ้ มูลเอกสาร ขอ้ มูลการสมั ภาษณ์ และจากการฝกึ ประสบการณ์ ณ ศูนย์ศลิ ปวฒั นธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่างานที่เกี่ยวข้องกับบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ มีการศึกษาในเรื่องของคติชนสร้างสรรค์ ซึ่ง ค้นพบว่าในเน้ือหาเอกสารงานวิจัย เป็นไปในทิศทางเดียวกนั แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกนั ซึ่งงานวิจัยเร่ือง การ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบุญข้าวจ่ีให้เข้ากับสมัยนิยม : กรณีศึกษา งานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น มีส่วนเติมเต็มงานของ ธนชั ชา สสี องชน้ั เรื่อง “คตชิ นสร้างสรรค”์ ในกิจกรรมบุญข้าวจ่ี วาเลนไทน์ มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ ประจำปี 2563 ซงึ่ ได้ศกึ ษาเรื่องการนำเอาประเพณีและวฒั นธรรมดั้งเดิมของ ชาวอีสาน ตามฮีตสิบสองได้มีการนำเอา คติชนสร้างสรรค์ โดยมาการนำเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสาน สร้างสรรค์ ในกิจกรรมบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2563 ผ่านการศึกษาแนวคิดคติชน สรา้ งสรรค์ผา่ นเอกสารงานวิชาการ และสมั ภาษณ์ โดยสรุปไดว้ า่ มีปจั จยั ตา่ งๆเข้ามากระตุน้ ใหเ้ กิดคตชิ นสร้างสรรค์ ภายใต้กิจกรรมตา่ งๆในงาน ได้แก่ กจิ กรรมจี่ขา้ วจี่ กิจกรรมการประกวดถ่ายภาพเซลฟี่ กิจกรรมการประกวด Miss Midnight Valentine KKU 2020 กิจกรรมการประกวดข้าวจี่แฟนซี กิจกรรมการแสดงหมอลำหุ่นสินไซ กิจกรรม การเต้นบาสโลบ จากนักศึกษาลาว มหาวิทยาลัยขอนแก่น กิจกรรมแสดงดนตรี ตักบาตรวาเลนไทน์ และการ แสดงหมอลำของชาวบ้านสาวะถี งานวจิ ยั ชน้ิ น้ี ไดน้ ำแนวคิดเกยี่ วกบั การรื้อฟนื้ และฟืน้ ฟูวฒั นธรรม มาอา้ งองิ ในงานวจิ ัยเพื่อให้งานวิจัย มีความน่าเชื่อถือ โดยนำงานวิจัยของ นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ ซึ่งศึกษาเรื่อง ทบทวนแนวคิดทฤษฎีการรื้อฟื้น วัฒนธรรมท้องถิ่น The Conceptual and Theoretical Review of Revitalization of Local Culture ได้ศึกษาเกี่ยวกับ แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีและกระบวนทัศน์เกี่ยวกับการรื้อฟื้นวฒั นธรรม ซึ่งชี้ให้เห็นวา่ แนวคดิ ท่ใี ช้ ขับเคลื่อนและสนับสนุนการรื้อฟื้น อนุรักษ์ และสืบทอดวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เกี่ยวข้องกับการเมืองเชิงอัต ลกั ษณ์และการทำให้วัฒนธรรมเปน็ สนิ ค้าในระบบทุนนิยม ลทั ธบิ ริโภคนยิ ม และอุตสาหกรรมการทอ่ งเท่ียว ใน การปรับตัวทางวัฒนธรรมนี้ Fred W. Voget อธิบายว่ากลุ่มคนพื้นเมืองหรือกลุ่มชาติพันธุ์จะมีการปรับตัวและ ตอบโต้กับวัฒนธรรมใหม่ที่เข้ามาใน 3 ลักษณะ ลักษณะแรกคือการรื้อฟื้นวัฒนธรรมเก่าขึ้นมาใหม่ (Revivalistic Nativism) ลักษณะที่สองคือการนำเอาวัฒนธรรมใหมม่ าปฏิบตั ิ (Adjustive Nativism) และลักษณะที่สามคือการ นำเอาวฒั นธรรมเกา่ ของตวั เองมาผ่านการรวมเข้ากบั วัฒนธรรมใหม่ (Reformative Nativism) โดย Voget เชือ่ ว่า การผสมผสานทางวัฒนธรรมทั้งแบบเก่าและใหม่คือวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้คนพื้นเมืองสามารถดำรงชีวิตได้อย่าง
27 มั่นใจและพร้อมที่จะเปลีย่ นแปลงไปสู่ความทันสมัย โดยไม่จมอยู่กับขนบธรรมเนียมประเพณีแบบเก่า คำาอธิบาย ดังกล่าวนี้คือการใช้กระบวนทัศน์แบบเหตุผลนิยม และนอกจากนี้ยังอ้างถึงแนวคิดของ Anthony F. C. Wallace เสนอความคดิ เร่ืองการเคลื่อนไหวเพือ่ รื้อฟื้นชีวติ (Revitalization Movements) ได้ช้ใี หเ้ ห็นวา่ วัฒนธรรมเป็นสิ่งท่ี ไม่หยุดนิ่งและเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา Wallace อธิบายว่ากระบวนการรื้อฟื้นให้วัฒนธรรมชีวิตขึ้นมาใหม่ หมายถงึ ความพยายามของกลมุ่ คนท่ีตอ้ งการสร้างวฒั นธรรมให้นา่ พอใจมากกวา่ เดมิ วธิ กี ารท่ีบุคคลจัดการกบั วัฒนธรรมมี 2 ลักษณะ คือ หนึ่ง การเก็บรักษา คือการทำให้วัฒนธรรมดำารงอยู่ในแบบเดิม และ สอง การ สร้างใหม่ คอื การทำใหว้ ัฒนธรรมต่างไปจากเดมิ 4.3 ข้อเสนอแนะ เมื่อศึกษาเรื่อง การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมบุญข้าวจี่ให้เข้ากับสมัยนิยม : กรณีศึกษา งานบุญข้าวจี่วา เลนไทน์ โดยศนู ย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแก่น จงึ มขี ้อเสนอแนะ 2 ดา้ น ดังนี้ 4.3.1 ข้อเสนอแนะเชงิ นโยบาย 1. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น และหลากหลาย ชอ่ งทาง 2. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ควรมีการจัดงานที่ขยายวัน และเวลาในการจัด กจิ กรรมมากขึน้ 3. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่นควรมีการ ให้ความรู้ และสร้างความเข้าใจให้กับผู้ มารว่ มงานเกยี่ วกบั ความสำคญั ของประเพณีบุญขา้ วจี่ เพื่อให้ผู้มาร่วมงานได้มสี ว่ นรว่ มในกิจกรรมอยา่ งแท้จริง 4.3.2 ข้อเสนอแนะในการวจิ ยั ครงั้ ต่อไป จากการศึกษายังมีประเด็นที่ควรศึกษา จึงควรมีการศึกษาเป็นงานวิจัยเพื่อต่อยอดงานวิจัยและ สร้างองค์ความรใู้ หมใ่ นประเดน็ ต่าง ๆ ดงั นี้ 1. ควรมกี ารศกึ ษาถึงบทบาทของหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายใน และภายนอก มาหาวิทยาลัย ว่ามสี ว่ น รว่ มต่องานบญุ ข้าวจว่ี าเลนไทนน์ ้ีอยา่ งไรบ้าง 2. ควรศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาประเพณีฮีตสิบสอง ทั้ง 12 เดือน ให้เข้ากับสมัยนิยมได้อย่างไร บา้ ง
28 บรรณานุกรม ค. ตนั สิง์. (2541). บญุ ขา้ วจขี่ องไทยอีสาน. วารสาร พ.ส.ล. ปีท่ี 31, 209 (มกราคม-กุมภาพนั ธ์ 2541) 61-63 จนั ทะนี คามะดา. (2548). ประเพณบี ญุ ขา้ วจกี่ บั สัมคมและวฒั นธรรม ตำนาอ้อ อำเภอเมอื ง จงั หวัดเลย. วทิ ยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาภาษาไทยเพอื่ การพัฒนา มหาวทิ ยาลัยราชภฏั เลย. ณฐั วุฒิ จารุวงศ.์ (2563). ผุดไอเดียใหม่ มข.จัด “บญุ ขา้ วจี่วาเลนไทน”์ รบั วนั แห่งความรกั . คน้ เมือ่ 4 มกราคม 2566, จาก https://xn--22c5d.xn--12c1fe0br.xn--o3cw4h/14967/ ธนัชชา สสี องชั้น. (2563). คตชิ นสรา้ งสรรค์ ในกจิ กรรมบุญข้าวจว่ี าเลนไทน์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น ประจำปี 2563. สาขาวชิ าภาษาไทย คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น. ธวชั แสงแดง. (2551). บทบาทของเทศบาลตำบลโพธไิ์ ทรในการอนุรกั ษ์และฟน้ื ฟูวัฒนธรรมประเพณบี ุญข้าวจ่ี อำเภอโพธิ์ไทร จังหวดั อบุ ลราชธานี.การศกึ ษาอิสระปรญิ ญารฐั ประศาสนศาสตรมหาบัณฑติ สาขาวชิ า การปกครองท้องถนิ่ วิทยาลยั การปกครองท้องถน่ิ มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น. นฤพนธ์ ด้วงวเิ ศษ. (2563). ทบทวนแนวคดิ ทฤษฎีการรื้อฟื้นวฒั นธรรมท้องถ่ิน. วารสารมานุษยวิทยา, ปที ี่ 3 (1) (มกราคม - มิถุนายน 2563),. 38-75. พนั ธ์ุทิพ ตาทอง. (2560). วาทกรรมสนิ ไซสาวะถ:ี สิม ฮูปแตม้ และบญุ ขา้ วจี่. วารสารพนื้ ถ่ินโขง ชี มลู , ปีที่ 3 (1) (มกราคม – มถิ ุนายน),. 31-54. พระครวู มิ ลธรรมนมิ ติ (บัวพันธ์ คำสที า). (2558). ศึกษาความเชื่อและคุณคา่ ประเพณบี ญุ ขา้ วจขี่ องชาวตำบล เทพครี ี อำเภอนาวงั จงั หวดั หนองบัวลำภู. วิทยานพิ นธป์ รญิ ญาพุทธศาสตรมหาบณั ฑติ สาขาวิชา พระพุทธศาสนาบณั ฑติ วทิ ยาลยั มหาวิทยาลยั มหาจุฬาลงกรณราชวทิ ยาลัย. พระครภู าวนาโพธคิ ณุ . (2554). เดือนสาม (บญุ ขา้ วจี)่ . วารสารศึกษาท่วั ไป มหาวิทยาลยั ขอนแก่น, ปีที่ 4(2) (พฤษภาคม-สิงหาคม), 84-85. พระอธิการสมาน สนฺติกโร, พระครวู าปีจันทคุณ, ไพฑรู ย์ สวนมะไฟ, พระนัฐวฒุ ิ สิริจนโฺ ท และปรเมธ ศรภี ิญโย. (2564). แนวทางการส่งเสรมิ ประเพณบี ุญข้าวจข่ี องชมุ ชนตำบลทุ่งกลุ า อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอด็ . วารสารวชิ าการ มจร บรุ รี มั ย์, ปที ี่ 6 (1) : มกราคม – มถิ นุ ายน,. 226-240. ภทั รา เชาว์ปรชั ญากุล. (2563). ประเพณีวฒั นธรรมข้าวและประเพณกี ารทำนาของไทย: บุญขา้ วจี่. พิพิธภัณฑสถานแหง่ ชาติชาวนาไทย Thaifarmersnationalmuseum เย็นจติ ร ถิ่นขาม, มณีชยั ทองอย.ู่ (2552). การผลติ ซ้ำทางวฒั นธรรมข้ามพรมแดนในการแต่งงานขา้ มวัฒนธรรม ระหว่างหญงิ ไทยกับชายญ่ปี นุ่ . วารสารวจิ ยั มข. (บศ), ปที ี่ 9 (4) (ตลุ าคม-ธันวาคม),. 90-101. รชั ฌกร พลพพิ ฒั น์สาร. (2560). กระบวนการปรบั เปลยี่ นทางวฒั นธรรมในประเพณที อ้ งถ่นิ ไทย. วารสารศิลป์
29 ปรทิ ศั น์, ปที ่ี 5 (2) (กรกฏาคม-ธนั วาคม),. 17-28. ศูนยศ์ ลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ . (ม.ป.ป.). ฮตี 12 คอง 14. คน้ เมอ่ื 2 มกราคม 2566, จาก https://cac.kku.ac.th/cac2021 ศูนยศ์ ิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ . (ม.ป.ป.). เดอื นสาม-บุญขา้ วจี่. คน้ เมอื่ 2 มกราคม 2566, จาก https://cac.kku.ac.th/cac2021/information/ สำนกั งานวฒั นธรรมจงั หวดั มหาสารคาม. (2562).ประเพณีฮตี สิบสอง ครองสบิ สี่ ชาวอสี าน เดือนอ้าย – เดอื น หก. ค้นเม่ือ 2 มกราคม 2566, จาก https://www.m-culture.go.th/mahasarakham อนกุ ูล คลังบญุ ครอง และพละ เชาวรตั น์. (2531). ทศั นะคตขิ องชาวชนบทอสี านตอ่ การทำบุญ. ภาควชิ าสง่ เสริม การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น.
30 ภาคผนวก
31 ภาคผนวก ก. แบบสัมภาษณก์ ารวิจัย สัมภาษณ์ รองศาสตราจารยด์ ร. นยิ ม วงศพ์ งษ์คำ รองอธกิ ารบดีฝ่าศลิ ปวัฒนธรรมและเศรษฐกจิ สร้างสรรค์ ท่ีมา:Facebook ศูนยศ์ ลิ ปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ , 2566 1. ความเป็นมาของงานบุญขา้ วจี่ วาเลนไทน์มมี าอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. แนวคดิ ในการรเิ รมิ่ ท่ีจะจดั งานบญุ ข้าวจวี่ าเลนไทน์ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. บุญข้าวจี่จากเดิมที่เป็นของชาวบ้าน เมื่อกลายมาเป็นข้าวจี่วาเลนไทน์แล้ว มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ท่านมีความคิดเหน็ อยา่ งไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. งานบุญข้าวจมี่ ีความสำคัญต่อสังคม และชุมชนชาวอีสานอย่างไร และงานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ได้มีความสำคัญ ต่อนักศกึ ษามหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ อยา่ งไรบ้าง ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 5. ส่ิงที่ได้รบั จากการฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณงี านบญุ ข้าวจี่ ให้กลายมาเปน็ บญุ ข้าวจี่ วาเลนไทน์ ในดา้ นวัฒนธรรม และด้านการพัฒนา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 6. ข้อเสนอแนะในการจัดงานบุญขา้ วจ่ี วาเลนไทนใ์ นปตี ่อ ๆ ไป ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
32 แบบสมั ภาษณ์การวจิ ัย สมั ภาษณน์ ายวรศกั ด์ิ วรยศ ผอู้ ำนวยการศนู ยศ์ ิลปวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น ทีม่ า:Facebook ศูนย์ศิลปวฒั นธรรม มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ , 2566 1. เนื่องจากท่านเป็นผู้ประสานงานบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์ ท่านทราบแนวคิดของการจัดทำงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์ หรอื ไม่ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. ท่านคิดวา่ บญุ ข้าวจว่ี าเลนไทน์มกี ารปรบั เปลย่ี นไปอย่างไรบา้ งจากแบบด้งั เดมิ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. ท่านคิดว่าการจัดงานบุญข้าวจี่วาเลนไทน์จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นๆอย่างไร ในการส่งเสริมวัฒนธรรม ของตนเอง ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. ส่งิ ทไี่ ด้รับจากการฟื้นฟูวฒั นธรรมประเพณงี านบุญข้าวจ่ี ใหก้ ลายมาเปน็ บุญข้าวจ่ี วาเลนไทน์ ในด้านวัฒนธรรม และด้านการพัฒนา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 5. ขอ้ เสนอแนะในการจัดงานบญุ ขา้ วจี่วาเลนไทน์ ในปีถดั ไป …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
33 แบบสมั ภาษณ์การวจิ ัย สัมภาษณ์ พระครูบญุ ชยากร (วสันต์) เจ้าอาวาสวดั ไชยศรี ชุมชนสาวะถี จังหวดั ขอนแกน่ ท่ีมา : กมลทพิ ย์ เช้อื ตาอ่อน ถา่ ยเมอ่ื 20 กมุ ภาพนั ธ์ 2566 1 ถามถึงความเป็นมาของงานบญุ ขา้ วจี่ของวดั ไชยศรี ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. บุญข้าวจี่จากเดิมที่เป็นของชาวบ้าน เมื่อกลายมาเป็นข้าวจี่วาเลนไทน์แล้ว มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ท่านมีความคิดเห็นอยา่ งไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. งานบุญขา้ วจ่มี คี วามสำคญั ตอ่ สังคม และชมุ ชนชาวอีสานอย่างไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. จุดมุง่ หมายของการจดั งานบุญขา้ วจี่ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 5. สงิ่ ทีไ่ ดร้ บั จากการฟนื้ ฟวู ัฒนธรรมประเพณีงานบุญข้าวจ่ี ใหก้ ลายมาเปน็ บญุ ข้าวจ่ี วาเลนไทน์ ในดา้ นวัฒนธรรม และด้านการพฒั นา ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 5. ข้อเสนอแนะในการจัดงานบญุ ขา้ วจ่วี าเลนไทน์ ในปถี ดั ไป …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
34 แบบสัมภาษณ์การวจิ ยั สำหรบั สัมภาษณ์บุคคลทั่วไป ข้อมูลท่ัวไปของผู้เข้ารว่ มกิจกรรม นกั เรียน /นักศกึ ษา บคุ ลากรภายในมหาวทิ ยาลัยขอนแก่น บุคลากรภายนอกมหาวทิ ยาลัยขอนแก่น อายุ 15-18 ปี 19-23 ปี 24–30 ปี 31- 45 ปี 1.ท่านทราบความสำคญั ของบญุ ข้าวจหี่ รือไม่ อย่างไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2.ทา่ นคิดว่าบุญข้าวจี่ วาเลนไทน์มกี ารปรบั เปลยี่ นวัฒนธรรมหรอื ไม่ ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. ท่านคดิ ว่าบญุ ขา้ วจ่ีวาเลนไทนม์ กี ารปรบั เปลี่ยนไปอย่างไรบ้างจากแบบดง้ั เดิม ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. ท่านคิดวา่ บุญขา้ วจ่ี วาเลนไทน์การปรบั เปล่ียนเพ่ือให้เข้ากบั สมยั นยิ มอยา่ งไร ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………… 5. ข้อเสนอแนะสำหรบั การจัดงานบุญขา้ วจ่ี วาเลนไทนใ์ นครงั้ ถดั ไป …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
35 ภาคผนวก ข. ขอ้ มูลหนว่ ยงาน ศูนยศ์ ลิ ปวฒั นธรรม มหาวทิ ยาลัยขอนแก่น KKU Art & Culture Center เป็นศูนยข์ ้อมลู เเหล่งเรยี นรู้ และจัดกจิ กรรมด้านศลิ ปวฒั นธรรมอสี าน ท่ตี ้ัง: มหาวทิ ยาลัยขอนแกน่ 123 หมู่ 16 ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จงั หวดั ขอนแกน่ 40002 Khon Kaen University, 123 Moo 16, Mittraphap Road, Nai Mueang Subdistrict, Mueang Khon Kaen District Khon Kaen 40002 โทรศัพท์/โทรสาร: 043-202-663, 043-332-760 เวบ็ ไซต์: https://cac.kku.ac.th
36 ภาคผนวก ค. ประวัตผิ ้ศู ึกษา นางสาวกมลทิพย์ เชื้อตาอ่อน เกดิ เม่ือวนั ท่ี 20 พฤศจิกายน 2543 ทอ่ี ยู่ปจั จบุ ัน : มหาวทิ ยาลยั ขอนแก่น 123 ม.16 ถ.มิตรภาพ ต.ในเมอื ง อ.เมือง จ.ขอนแกน่ 40002 ประวตั ิการศึกษา พ.ศ. 2563 กําลงั ศกึ ษาระดบั ปริญญาตรี สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใตศ้ ึกษา คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ขอนแกน่ พ.ศ. 2560 มธั ยมศึกษาตอนปลาย โรงเรยี นนาแกพิทยาคม พ.ศ. 2557 มธั ยมศกึ ษาตอนตน้ โรงเรียนนาแกพทิ ยาคม พ.ศ. 2554 ประถมศึกษา โรงเรยี นบ้านต้นแหน
Search
Read the Text Version
- 1 - 44
Pages: