ตำแหน่งปรากฏของดาวเคราะห์
การบอกตำแหน่งดาวเคราะห์ การบอกตำแหน่งวัตถุบนท้องฟ้าบอกได้โดยใช้ มุมห่าง มุมทิศ และมุมเงย ระยะเชิงมุม (angular distance) ระหว่างดาว 2 ดวง คือ มุม ระหว่างรัศมีที่ลากจากจุดศูนย์กลางของโลกไป ยังดาวทั้งสอง มุมห่าง (elongation) คือ ระยะ เชิงมุมระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ จาก มุมมองของผู้สังเกตบนโลก A คือ มุมทิศ (วัดไป ตามเข็มนาฬิกาจากทิศเหนือ)
ดาวเคราะห์วงในหมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ มากกว่า โลก และมีวงโคจรสั่นกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ -ดาวเคราะห์วงนอกหมายถึง ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวง อาทิตย์มากกว่า โลก และมีวงโคจรยาวกว่าโลก ได้แก่ ดาว อังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน5 พ.ค. 2558
การบอกตำแหน่ง การบอกตำแหน่งวัตถุบนท้องฟ้าบอก ได้โดยใช้มุมห่าง มุมทิศ และมุมเงย ระยะเชิงมุม (angular distance) ระหว่างดาว 2 ดวง คือ มุมระหว่างรัศมี ที่ลากจากจุดศูนย์กลางของโลกไปยัง ดาวทั้งสอง มุมห่าง (elongation) คือ ระยะเชิงมุมระหว่างดวงอาทิตย์กับดาว เคราะห์ จากมุมมองของผู้สังเกตบน โลก A คือ มุมทิศ (วัดไปตามเข็ม นาฬิกาจากทิศเหนือ)
มุมระหว่างดาวเคราะห์ที่อยู่ทิศตะวันตกเกี่ยวกับ พระอาทิตย์ดาวที่มีEตะวันตก -นำหน้าพระอาทิตย์ -ขึ้นจากขอบฟ้าก่อนพระอาทิตย์ -ตกหลังพระอาทิตย์
E = 0°conjunction (รวมทิศ) A=ดาวเคราะห์อยู่หลังดวงอาทิตย์ E = 90°quadrature (ตั้งฉาก) B=ดาวเคราะห์อยู่หน้าดวงอาทิตย์เกิด E = 180°opposition (ตรงข้าม) การผ่านหน้าดวงอาทิตย์เกิดการ Transit C=ดาวเคราะห์ที่มีมุมห่างจากดวง อาทิตย์มากที่สุด D=บนโลกเป็นดาวเคราะห์ทิศEก่อน พระอาทิตย์ขึ้น E=ดาวเคราะห์ที่มีมุมห่างจากดวง อาทิตย์มากที่สุด F=บนโลกจะเห็นดาวเคราะห์ทิศ W หลัง พระอาทิตย์ตก
Greatest Elongation East. สูงสุดทางขอบฟ้าตะวันตก-ตกหลัง พระอาทิตย์d/D =Emax d=D sin E ma d=ระยะห่างจากดาวเคราะห์ถึงดวงอาทิตย์ D=ระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์ 1.00 Emax= greatest elongation
มุมห่างดาวพุธดาวศุกร์ ดาวศุกร์มีมุมห่างสุดมากกว่าดาวพุธ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใหญ่กว่า ดาวพุธ โดยดาวศุกร์มีมุมห่างสุด 47 องศา และดาวพุธมีมุมห่างสุด 28 องศา 4. ทำไมเราจึงไม่เคยสังเกต เห็นดาวศุกร์อยู่กลางท้องฟ้า
ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน หรือ ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม เป็น ปรากฏการณ์ที่มีลักษณะคล้าย ใบหน้าคนกำลังยิ้ม โดยดาวคู่ดัง กล่าว ได้แก่ ดาวศุกร์ และดาว พฤหัสบดี เมื่อมองจากโลก จะอยู่ ห่างกัน 2 องศา ในระยะท้องฟ้า และจะมีดวงจันทร์เสี้ยว ขึ้น 3 ค่ำ อยู่ด้านล่างระหว่างดาวทั้งสอง ดวง และห่างกัน 2 องศา
ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ชุมนุม ดาวเคราะห์ชุมนุม” เป็นปรากฏการณ์ทาง ดาราศาสตร์หนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เนื่องจาก ดาวเคราะห์เปลี่ยนตำแหน่งบนท้องฟ้าไปเรื่อย ๆ ตามแนวสุริยะวิถี (เส้นทางการเคลื่อนที่ของ ดวงอาทิตย์บนฟ้า) ดังนั้น การที่ดาวเคราะห์ ปรากฏบนท้องฟ้าในทิศเดียวกัน หรือเคลื่อนที่ มาอยู่ในตำแหน่งใกล้เคียงกันจึงถือเป็นเรื่อง ปกติ
ปรากฏการณ์เคลื่อนที่ถอยหลัง การเคลื่อนที่ถอยหลัง (Retrograde Motion) โดย ปกติแล้วเราจะเห็นดาวเคราะห์เคลื่อนที่บนท้องฟ้า เปลี่ยนตำแหน่งจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก เมื่อเทียบกับดาวที่เป็นฉากหลัง แต่จะมีบางช่วง เวลาที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่จากทิศตะวันออกไปทิศ ตะวันตก แล้วจะกลับมาเคลื่อนที่จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออกอีกครั้ง
ปรากฏการณ์เคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์ดาวศูกร์ผ่านหน้าดวง อาทิตย์ (Transit of Venus) เป็น ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ดาวศุกร์ เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงคั่นระหว่างโลก และดวงอาทิตย์ ทำให้ดวงอาทิตย์ ดาว ศุกร์ และโลก เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน มี ลักษณะคล้ายสุริยุปราคาขนาดเล็ก ดาว ศุกร์จะปรากฏเป็นจุดดำกลมขนาดเท่า เม็ดถั่วเขียว แล้วค่อยๆโคจรเคลื่อนผ่าน ด้านหน้าดวง ...
วันวสันตวิษุวัต วันวสันตวิษุวัต (วะ-สัน-ตะ-วิ-สุ- วัด) (Vernal Equinox) ตรงกับวันที่ 20 หรือ 21 มี.ค. เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวัน ออกและตกทางทิศตะวันตกพอดี ส่งผลให้ ช่วงเวลากลางวันเท่ากับกลางคืนพอดี นับเป็น วันที่ประเทศทางซีกโลกเหนือเข้าย่างสู่ฤดู ใบไม้ผลิ ส่วนซีกโลกใต้เข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง
วันเหมายันต์ เหมายัน (เห-มา-ยัน) หรือ ทักษิณายัน (อังกฤษ: winter solstice) เป็นการที่ดวงอาทิตย์โคจรไป ถึงจุดหยุด (solstice) คือ จุดสุดทางใต้ในราววัน ที่ 22 ธันวาคม เป็นจุดในฤดูหนาวในซีกโลก เหนือ ส่วนในซีกโลกใต้จะเกิดขึ้นราวเดือน มิถุนายน มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน, ตรงข้าม กับครีษมายัน
วันศารทวิษุวัต . เวลาที่พระอาทิตย์โคจรไปถึงจุดที่ทำให้โลกมี เวลากลางวันกลางคืนเท่ากัน ตกในราววันที่ ๒๔ กันยายน, เทียบคำ
วันครีษมายัน ครีษมายัน (ครีด-สะ-มา-ยัน) เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นทางทิศตะวันออกโดยเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด ถือเป็นวันเปลี่ยนฤดูกาลเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศใน แถบซีกโลกเหนือ และเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูหนาวของ ประเทศในซีกโลกใต้
การแบ่งดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์วงใน (Inferior Planets) หมายถึง ดาว เคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ และดาวศุกร์ เราจึงมองเห็นเคราะห์จึงมองเห็นดาว เคราะห์วงในอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ เหนือขอบฟ้าด้านทิศ ตะวันตกเวลาพลบค่ำ หรือเหนือขอบฟ้าด้านทิศตะวัน ออกเวลารุ่งเช้าเท่านั้น โดยดาวพุธจะห่างจากดวงอาทิตย์ ไม่เกิน 28° และดาวศุกร์อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 44° (Greatest elongation) ดังภาพที่ 1 เมื่อใช้ กล้องโทรทรรศน์ส่องดู ดาวเคราะห์ทั้งสองจะปรากฏให้ เห็นเป็นเสี้ยวสว่างซึ่งมีขนาดเปลี่ยนไปในแต่ละคืน ขึ้น อยู่กับระยะห่างจากโลก และแสงเงาจากดวงอาทิตย์
ดาวเคราะห์วงนอก (Superior Planets) หมายถึง ดาว เคราะห์ที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน ดาว เคราะห์ชั้นนอกสามารถปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนในช่วง เวลาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เวลาขึ้นหรือ ตก เมื่อส่องดูด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นว่า ดาวเคราะห์ชั้น นอกปรากฏให้เห็นเป็นวงค่อนข้างกลมและมีขนาดค่อนข้าง คงที่ เนื่องจากอยู่ไกลจากโลกมากว่าดวงอาทิตย์ จึงหันด้าน ที่สะท้อนแสงอาทิตย์เข้าสู่โลกเสมอ
Search
Read the Text Version
- 1 - 22
Pages: