Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore final วิถีสายน้ำ คลองบางมด ชุมชนเกษตรกรรม บนความพหุวัฒนธรรม

final วิถีสายน้ำ คลองบางมด ชุมชนเกษตรกรรม บนความพหุวัฒนธรรม

Published by NoPTaNaT64, 2021-12-28 06:19:16

Description: final วิถีสายน้ำ คลองบางมด ชุมชนเกษตรกรรม บนความพหุวัฒนธรรม

Search

Read the Text Version

วิ ถี ส า ย น้ำ คล งบางมด ชุ ม ช น เ ก ษ ต ร ก ร ร ม บ น ค ว า ม พ หุ วั ฒ น ธ ร ร ม

วิถีสายน้ำ คลองบางมด ชุมชนเกษตรกรรม บนความพหุวัฒนธรรม ผู้เขียน: ศิริพันธ์ นันสุนานนท์ การแสวงหาความรู้นอกจากอ่านหนังสือ เพียงอย่างเดียว การพูดคุยกับปราชญ์ผู้รู้ ก็ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์แห่งความรู้ โดยเป็นความรู้ที่สั่งสมอยู่ใประสบการณ์ ของผู้เล่าเรื่องที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนเองคุ้นเคย อันสะท้อนวิถีชีวิต สายน้ำคลองบางมด ซึ่งได้รับการบรรจง ร้อยเรียงเป็นความทรงจำที่ชวนหลงใหล ของคนที่นี่

“ วิถีชีวิตในอดีต ผู้คนจะมีความผูกพันกับน้ำ ยังมีการทำการเกษตรกรรม เช่น การปลูกส้ม มะพร้าว และพืชผักสวนครัว” คำกล่าวของคุณลุงรังสรรค์ พูลเพิ่ม ประธานชุมชนชาวบางมดแห่งชุมชนวัดกลางนา ที่บอกเล่าถึงความเป็นมา ของคนริมคลองบางมด คลองบางมดถือว่า มีความสำคัญต่อเส้นทางสัญจรคมนาคม เชื่อมระหว่างบางกอกกับหัวเมืองทางตะวันตกและปักษ์ใต้ในอดีต และยังเป็น ทางระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก แนวทางน้ำค่อนข้างตรงต่างจากคลองธรรมชาติ บริเวณนี้ที่มีลักษณะคดเคี้ยว จึงเป็นคลองที่น่าจะขุดขึ้นเพื่อผันน้ำสำหรับการเกษตร เพราะคลองนี้ขยายมาจากลำประโดง ซึ่งเป็นลำน้ำขนาดเล็กที่มีต้นสายแยกออกจาก ฝังทิศใต้ของคลองขนาดใหญ่ คือคลองสนามไชยเยื้องกับวัดไทร การตั้งถิ่นฐาน ของคนรุ่นแรก ๆ เป็นการตั้งถิ่นฐานบริเวณสองฝั่งคลอง มีการประกอบอาชีพ เกษตรกรรม และกสิกรรม

ชุมชนริมคลองบางมด เป็นชุมชนที่ผสมผสาน ทางความแตกต่างทางวัฒนธรรม ได้อย่างลงตัว เห็นได้จากสถานที่ สำคัญต่าง ๆ ริมคลองบางมด เช่น สุเหร่าดารุ้ลอิบาดาะห์, สุเหร่าดาริสฮะซัน (สุเหร่า แบบสมัยใหม่) หรือ สุเหร่านูรูลหุดา (สุเหร่าไม้) เป็นต้น บริเวณใกล้ ๆ ก็มีศาลเจ้าแม่ทับทิมของชาวจีน และวัดของชาวไทยพุทธ ได้แก่ วัดพุทธบูชา วัดหลวงพ่อโอภาสี และวัดบัวผัน ถือเป็นหหุวัฒนธรรมที่ผสมผสาน ภายใต้จิตไมตรีที่มีต่อกัน ของผู้คนที่นี่ได้อย่างลงตัว

นอกจากนี้ ในส่วนเขตที่อยู่อาศัย ยังมีบ้านทรงไทยเรือนหงส์หยก ที่ชุมชนนูรุลหุดา ซึ่งสะท้อน ความเอกลักษณ์ของเรือนไทยโบราณ และภูมิปัญญาเชิงช่างอีกด้วย ซึ่งสถานที่ต่าง ๆ เหล่านี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรม ของผู้คนที่หลากชาติพันธุ์ อาทิ มุสลิม (มลายูและชวา) มอญ จีน และไทยที่ต่างได้ เข้าบุกเบิกทำที่นา สวนหมาก สวนมะพร้าว และมะม่วงนวลจันทร์ จนทำให้ครั้งหนึ่งที่นี่ มีผลไม้ ที่มีชื่อเสียง เช่น ส้มบางมด ที่มีรสชาติแหลมอมเปรี้ยว ซึ่งปัจจุบันมีการอนุรักษ์ ปลูกเป็นส้มเข่ง เหตุเพราะว่า น้ำในคลองไม่เหมาะสม กับการปลูกส้มแล้วก็ตาม

หลังจากการเกิดน้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2526 และการรุกของน้ำเค็ม ทำให้ชาวบ้านได้ละอาชีพชาวสวนหันไป ประกอบอาชีพอื่นแทน แต่ผู้คนที่นี่ ยังคง เก็บเรื่องราวผ่าน ของสะสมต่าง ๆ ภายในบ้าน เช่น ไม้ขุดร่องสวนของลุงสมจิตต์, เรือพุ่มพวง (เรือขายของชำหลาย ๆ อย่าง), การทำยอ อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับคนริมคลอง ที่ทำจากไม้หนา 2 ฟุต ภูมิปัญญาความเชี่ยวชาญเฉพาะตัว อาทิ ด้านงานประดิษฐ์ เช่น การนำ กะลามะพร้าว มาทำเป็นซอเครื่องดนตรี การทำว่าวของคุณลุงเกษม หรืออาชีพ ชาวสวน เช่น การทำสวนส้มบางมด ของลุงปรีชา ผู้ใหญ่ชาติ ลุงสมจิตร, มะม่วงนวลจันทร์ของลุงสมนึก

รวมทั้ง รูปถ่ายเก่าที่เป็นบุคคล และเทศกาลตามบ้านของตระกูลต่าง ๆ ที่สะท้อนวิถีชีวิตชาวบ้าน เช่น ชาวสวนส้มบางมด, ประเพณีมุสลิม กลุ่มบ้านอาคารทรงโบราณที่มีอายุ ตั้งแต่ 40 - 50 ปี อาทิ เรือนหงส์หยก เป็นอาคารบ้านเก่าริมคลองบางมด เป็นต้น

ยิ่งไปกว่านั้น องค์ความรู้ชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์ของคนริมคลอง ได้แก่ วิถีชีวิตการค้าที่เชื่อมโยงกับตลาดน้ำวัดไทรที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาท่องเที่ยว หรือว่า ท่าเรือวัดพุทธที่ครั้งหนึ่งเป็นศูนย์รวมการค้าส้มบางมด เป็นต้น หรือเส้นทาง การเดินทางโดยเรือ ผ่านคลองไปยังที่ต่าง ๆ เช่น การมีเรือบริการระหว่างดาวคะนอง กับสะพานควายการเดินทางโดยเรือ ผ่านคลองไปยังที่ต่าง ๆ เช่น การมีเรือบริการ ระหว่างดาวคะนองกับสะพานควาย การล่องเรือจากคลองบางมดออกแม่น้ำเจ้าพระยา ออกคลองบางน้ำเปรี้ยวไปจ.ฉะเชิงเทรา

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องราวที่ชวนเรียบง่ายอย่างเรื่องราวการแจวเรือ ของลุงใจที่รับ-ส่งนักเรียนในคลองบางมด ฯลฯ วิถีของเด็กริมคลอง การตีโป่ง การฝึกว่ายน้ำด้วยห่วงมะพร้าว การทำเรือล่มของนักเรียนเพื่อหนีเรียน วิถีความเป็นกุลสตรีริมคลอง ดูจากการขัดตุ่ม หม้อ ไห กระทะ ต้องขึ้นเงา ถักปลอกหมอนได้ เป็นต้น และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นที่เป็นเรื่องราวอื่น ๆ เช่น เรื่องราวชีวิตนักเลงริมคลองของลุงเบิ้ม ที่เรียกว่า วิถีจิ๊กโก๋ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องราวหลวงพ่อโอภาสี และการจีบผู้หญิง หรือจะเป็นการมีโทรศัพท์เครื่องแรก ของชุมชนที่บ้านตายืน ที่จะเรียกให้เพื่อนบ้านมารับโทรศัพท์ที่บ้านของเขา ซึ่งเราจะเห็นว่าเรื่องราวต่าง ๆ ของผู้คนที่นี่ที่ถูกเก็บซ่อนไว้ภายใต้วิถีแห่งความเรียบง่าย ถ้อยทีถ้อยอาศัย และมีความเป็นมิตรไมตรีต่อกัน กำลังรอคอยให้ผู้มาเยือน ได้เข้ามาเรียนรู้วิถีชาวสวนแห่งคลองบางมดให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

บ ร ร ณ า นุ ก ร ม ฟาติมะ ใบตานี. (เมษายน 2564). ตลาดมดตะนอย เขตบางมด กรุงเทพ. (ศิริพันธ์ นันสุนานนท์, ผู้สัมภาษณ์) ระพีพรรณ ทองอยู่. (เมษายน 2564). ชุมชนนูรุลหุดา เขตบางมด กรุงเทพ. (ศิริพันธ์ นันสุนานนท์, ผู้สัมภาษณ์) รังสรรค์. (เมษายน 2564). ประธานชุมชนวัดกลางนา เขตบางมด กรุงเทพ. (ศิริพันธ์ นันสุนานนท์, ผู้สัมภาษณ์)