Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

Published by Issariya Cream, 2023-02-15 18:13:41

Description: เอกสารเกี่ยวกับเรื่องการแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

Keywords: วิชาภาษาไทย ,การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

Search

Read the Text Version

การแยก ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น และ ผู้จัดทำ นางสาวอิสริยา พาเจริญวงษ์



คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)เล่มนี้มีเนื้อหา เกี่ยวกับรายวิชาภาษาไทย เรื่อง การแยกข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อให้บุคคลที่มีความสนใจ เรื่องการแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นสามารถนำ ความรู้จากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book)เล่มนี้ไปใช้ ในการเรียนรู้การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ซึ่ง ประโยชน์ที่ได้จากการเรียนรู้จะทำให้ผู้อ่านมีเหตุผล รู้จักพิจารณาและนำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปใช้ใน ชีวิตประจำวันได้จริง ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เล่มนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ นางสาวอิสริยา พาเจริญวงษ์ ผู้จัดทำ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๖



สารบัญ หน้า เรื่อง ๑ ๒ คำนำ ๒ สารบัญ ๓ การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ๓ ข้อเท็จจริง ๕ ๕ ความหมายของข้อเท็จจริง ๖ ลักษณะของข้อเท็จจริง ๖ ตัวอย่างข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง ๘ ข้อคิดเห็น ๙ ความหมายของข้อเท็จจริง ๑๐ ลักษณะของข้อเท็จจริง ๑๑ ตัวอย่างข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง ๑๒ แบบฝึกหัดชุดที่ ๑ ๑๓ แบบฝึกหัดชุดที่ ๒ เฉลยแบบฝึกหัดชุดที่ ๑ เฉลยแบบฝึกหัดชุดที่ ๒ อ้างอิง ประวัติผู้เขียน



การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ข้อความที่ใช้สื่อสารกันประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น การรู้จักแยกว่าอะไรเป็นข้อ เท็จจริง อะไรเป็นข้อคิดเห็น จะช่วยให้เราสามารถ ตัดสินใจและแก้ปัญหาบางอย่างได้ ข้อคิดเห็นจะถูก ต้องและน่าเชื่อถือเพียงใดขึ้นอยู่กับข้อมูลและเหตุผล ที่นำมาประกอบ การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจะทำให้ผู้อ่าน มีเหตุผล รู้จักพิจารณาและนำความรู้ที่ได้จากการ อ่านไปใช้ในชีวิตจริง ตัวอย่าง ดวงตาเป็นอวัยวะในการดู ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ส้มมีรสชาติอร่อยกว่ามะม่วง ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ๑

ข้อเท็จจริง ความหมายของข้อเท็จจริง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ : ๑๓๓) ให้ความ หมายข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นไว้ว่า “ข้อเท็จจริง” หมายถึง ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่ เป็นมาหรือเป็นอยู่ตามจริง ข้อความหรือ เหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง อาจกล่าวได้ว่า ข้อเท็จจริง นั้นต้องสามารถพิสูจน์สนับสนุนยืนยัน ได้ ๒

ลักษณะของข้อเท็จจริง ๑. มีความเป็นไปได้ ๒. มีความสมจริง ๓. มีหลักฐานเชื่อถือได้ ๔. มีความสมเหตุสมผล ตัวอย่างข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง ๑. กตเวที หมายถึง สนองคุณท่าน (พิสูจน์ได้โดยค้น ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕) ๒. ดวงตาเป็นอวัยวะที่ทำให้มองเห็น (พิสูจน์ได้ด้วย หลักวิชาการ) ๓. ทุกคนหนีไม่พ้นความตาย (พิสูจน์ได้จากประสบการณ์) ๓

ตัวอย่างข้อความที่เป็น ข้อเท็จจริง (เพิ่มเติม) ๑. จังหวัดเชียงรายอยู่ทางตอนเหนือของ ประเทศไทย ๒. การทำลายป่าไม้ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ๓. แมวมือมีฝีเท้าเบามาก ๔. เมื่อข้าวราคาตกต่ำทำให้ชาวนาเดือดร้อน ๕. มงคลเป็นนักเรียนโรงเรียนวัดถ้ำปลาวิทยาคม ๖. โลมาเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๗. ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติไทย ๘. กล้วยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ๙. แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกรุงเทพฯ ๑๐. กรุงเทพมหานคร เป็นทั้งเมืองหลวงและ ศูนย์กลางการปกครองของประเทศไทย ๑๑. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประดิษฐ์ อักษรไทย เมื่อปีพุทธศักราช ๑๘๒๖ ๔

ข้อคิดเห็น ความหมายของข้อเท็จจริง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ (ราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๒๕ : ๑๓๓) ให้ความ หมายข้อคิดเห็นไว้ว่า “ข้อคิดเห็น” หมายถึง ความเห็น ความรู้สึกนึกคิด ของผู้ส่งสารที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหา อาจกล่าวได้ว่า ข้อคิดเห็น นั้นไม่สามารถสนับสนุนยืนยันได้ ๕

ลักษณะของข้อคิดเห็น ๑. เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึก ๒. เป็นข้อความที่แสดงการคาดคะเน มักมีคำว่า อาจ อาจจะ น่า น่าจะ ๓. เป็นข้อความที่แสดงการเปรียบเทียบหรืออุปมา อุปไมย ๔. เป็นข้อความที่เป็นเป็นข้อเสนอแนะหรือเป็น ความคิดของผู้พูดและผู้เขียนเอง มักมีคำว่า ควร ควรจะ ตัวอย่างข้อความที่เป็นข้อคิดเห็น ๑. การปกครองในระบอบประชาธิปไตยดีทีสุด (ไม่มีข้อวินิจฉัย) ๒. คนเรียนเก่งย่อมประสบผลสำเร็จในชีวิตเสมอ (ไม่มีข้อยืนยัน) ๓. การรับประทานแต่ผักไม่น่าจะเป็นผลดีต่อ ร่างกาย(ไม่มีข้อยืนยัน) ๖

ตัวอย่างข้อความที่เป็น ข้อคิดเห็น (เพิ่มเติม) ๑. เชียงรายมีภูมิประเทศที่สวยงามน่าอยู่ ๒. ควรกินผักบุ้งเพราะจะทำให้ตาหวาน ๓. คนที่เชื่อถือโชคลาง เชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ลึกลับ ๔. บ่าววีร้องเพลงได้อารมณ์มากที่สุด ๕. สมชายชอบวิชาภาษาไทย ๖. ทะเลหัวหินมีความสวยงามน่าพักผ่อน ๗. ถ้าวันนี้ฝนตก พรุ่งนี้ฝนก็น่าจะตก ๘. ทำแบบนี้เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ๙. ทุเรียนรสชาติอร่อยกว่ามังคุด ๑๐. วันนี้เขาป่วย พรุ่งนี้เขาอาจไม่มา ๑๑. การตักบาตรเป็นการเสริมบุญให้แก่ชีวิตและ เป็นการสะสมบุญไว้ก่อนตาย ๗

แบบฝึกหัด ชุดที่ ๑ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านโจทย์ที่กำหนดให้แล้วตอบ คำถามให้ถูกต้อง ๑. ข้อเท็จจริงมีความหมายว่าอย่างไร ตอบ ๒. ข้อคิดเห็นมีความหมายว่าอย่างไร ตอบ ๓. ให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยคที่เป็นข้อคิดเห็นมา ๑ ประโยค ตอบ ๔. ข้อความที่เป็นข้อเสนอแนะ การคาดคะเน ของผู้ พูดหรือ ผู้เขียน เป็นข้อความแบบข้อเท็จจริงหรือ ข้อคิดเห็น ตอบ ๕. ข้อความที่มีหลักฐานอ้างอิงพิสูจน์ได้ มีความเป็นไปได้ เสมอ เป็นข้อความแบบข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็น ตอบ ๘

แบบฝึกหัด ชุดที่ ๒ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น คำชี้แจง : ให้นักเรียนพิจารณาประโยคที่กำหนดให้แล้วใส่ ก. หน้าข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง และใส่ ข. หน้าข้อความที่เป็น ข้อคิดเห็น ๑. จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีความสวยงามน่าอยู่ ๒. ทะเลบัวแดง ตั้งอยู่ในอำเภอกุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี ๓. ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่มักจะชอบสีชมพู ๔. สุนักและแมวของฉันน่ารักที่สุดในโลก ๕. วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. เป็น วันและเวลาราชการ ๖. ใน ๑ สัปดาห์มี ๗ วัน ๗. โทรศัพท์มือถือไอโฟน เป็นโทรศัพท์ที่ดีที่สุด ๘. การเดินทางด้วยรถไฟน่าจะสะดวกที่สุด ๙. การไหว้เป็นวัฒนธรรมไทย ๑๐. การตื่นนอนแต่เช้าตรู่เป็นกำไรของชีวิต ๙

เฉลย แบบฝึกหัด ชุดที่ ๑ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านโจทย์ที่กำหนดให้แล้วตอบ คำถามให้ถูกต้อง ๑. ข้อเท็จจริงมีความหมายว่าอย่างไร ตอบ ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเป็นอยู่ตาม จริง ข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่า เท็จหรือจริง ๒. ข้อคิดเห็นมีความหมายว่าอย่างไร ตอบ ความเห็น ความรู้สึกนึกคิดของผู้ส่งสารที่สอด แทรกอยู่ในเนื้อหา ๓. ให้นักเรียนยกตัวอย่างประโยคที่เป็นข้อคิดเห็นมา ๑ ประโยค แนวคำตอบ เราควรหันมาออกกำลังกายให้มากขึ้น ๔. ข้อความที่เป็นข้อเสนอแนะ การคาดคะเน ของผู้ พูดหรือ ผู้เขียน เป็นข้อความแบบข้อเท็จจริงหรือ ข้อคิดเห็น ตอบ ข้อคิดเห็น ๕. ข้อความที่มีหลักฐานอ้างอิงพิสูจน์ได้ มีความเป็นไปได้ เสมอ เป็นข้อความแบบข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็น ตอบ ข้อเท็จจริง ๑๐

เฉลย แบบฝึกหัด ชุดที่ ๒

เฉลย แบบฝึกหัด ชุดที่ ๒ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น คำชี้แจง : ให้นักเรียนพิจารณาประโยคที่กำหนดให้แล้วใส่ ก. หน้าข้อความที่เป็นข้อเท็จจริง และใส่ ข. หน้าข้อความที่เป็น ข้อคิดเห็น ข ๑. จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดที่มีความสวยงามน่าอยู่ ก ๒. ทะเลบัวแดง ตั้งอยู่ในอำเภอกุมภวาปี จังหวัด อุดรธานี ข ๓. ผู้หญิงไทยส่วนใหญ่มักจะชอบสีชมพู ข ๔. สุนักและแมวของฉันน่ารักที่สุดในโลก ก ๕. วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. เป็น วันและเวลาราชการ ก ๖. ใน ๑ สัปดาห์มี ๗ วัน ข ๗. โทรศัพท์มือถือไอโฟน เป็นโทรศัพท์ที่ดีที่สุด ข ๘. การเดินทางด้วยรถไฟน่าจะสะดวกที่สุด ก ๙. การไหว้เป็นวัฒนธรรมไทย ข ๑๐. การตื่นนอนแต่เช้าตรู่เป็นกำไรของชีวิต ๑๑

อ้างอิง นงคราญ เจริญพงษ์. (2555). การแยกข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น. สืบค้น เมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก. https://kunkrunongkran.wordpress.com/ภาษาไทย- ม-2/ภาษาไทย-ม-2-เทอม-2/การแยกข้อเท็จจริง-ข้อคิ/ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม. (2564). การแยกข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็น. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566, จาก. https://dltv.ac.th/utils/files/download/110749. ๑๒

ประวัติส่วนตัว ชื่อ : อิสริยา พาเจริญวงษ์ ประวัติการศึกษา ชื่อเล่น : ครีม อายุ : 19 ปี -ประถมศึกษาตอนต้น-ประถมศึกษา เกิดวันที่ : 2 มกราคม 2003 ตอนปลาย งานอดิเรก : ฟังเพลง : โรงเรียนกมลาลักษณ์ คติประจำใจ : อย่าหยุดที่จะพัฒนาตัวเอง -มัธยมศึกษาตอนต้น เพราะสิ่งที่คิดว่าดีแล้ว : โรงเรียนกมลาลักษณ์ อาจจะดีได้มากกว่าเดิม อาหารที่ชอบ : ส้มตำ -มัธยมศึกษาตอนปลาย ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 6 หมู่ 4 ตำบลศรีธาตุ : โรงเรียนศรีธาตุพิทยาคม อำเภอศรีธาตุ จังหวัดอุดรธานี -ปัจจุบัน : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 รหัสนักศึกษา 64040101126 ช่องทางการติดต่อ โทร : 0973211313 อีเมล : [email protected] ๑๓

ขอบคุณค่ะ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook