Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

PLC

Published by An Dutsadee, 2021-11-19 07:19:17

Description: PLC

Search

Read the Text Version

1 รายงาน เครอื่ งมือการบรหิ ารจดั การสถานศึกษาสมัยใหม่ ชุมชนแห่งการเรียนร้ทู างวชิ าชีพ (professional learning community) เสนอ ดร.เชาวนี แก้วมโน จัดทำโดย นางสาวณชิ ชารีย์ สทุ ธิชาเจรญิ พงษ์ รหสั ๖๔๑๙๐๕๐๐๗๘ รายงานฉบับนี้เปน็ ส่วนหนงึ่ ของรายวชิ า ๙๐๕ – ๕๐๒ หลกั การและทฤษฎที างการบริหาร หลักสตู รศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศกึ ษา มหาวิทยาลยั หาดใหญ่

ก ก คำนำ รายงานฉบับนเี้ ปน็ ส่วนหนง่ึ ของรายวิชา 905 – 502 หลกั การและทฤษฎที างการบริหาร เรือ่ ง เครอื่ งมือ การบริหารจัดการสถานศึกษาสมัยใหม่ ซึ่งผู้จัดทำรายงานได้สนใจเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) และรายงานฉบับนี้จะอธิบายถึงแนวคิด ทฤษฎีในการบริหารการศึกษา และเครื่องมือในการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community)เพือ่ เป็นแนวคิดชมุ ชนการเรียนรทู้ างวิชาชพี ครูทถี่ ูกนำมาประยุกตใ์ ช้เพือ่ พฒั นาการศกึ ษาไทย คณะผู้จดั ทำขอขอบพระคุณ อาจารย์ ดร.เชาวนี แก้วมโน อาจารย์ประจำวิชา หลกั การและทฤษฎีทางการ บริหารเป็นอยา่ งสูงที่ให้ความรู้ คำแนะนำ แนวทางการศึกษา ตลอดจนการทำงาน ผจู้ ดั ทำหวงั ว่ารายงานฉบับนี้จะ ให้ความรู้ และเปน็ ประโยชนต์ อ่ ผู้ทีน่ ำไปใช้ใหเ้ กิดผลตามความคาดหวัง ผจู้ ัดทำ

สารบญั ข เร่อื ง ข คำนำ หน้า สารบัญ ทฤษฎีการบรหิ ารการศึกษา ก ความหมายของชุมชนแห่งการเรยี นรทู้ างวิชาชีพ ข ชุมชนแหง่ การเรยี นรู้ทางวิชาชีพ 1 ความทา้ ทายในการพฒั นาชมุ ชนแหง่ การเรยี นรู้ทางวชิ าชพี ในสถานศกึ ษา 1 องค์ประกอบของชมุ ชนการเรียนร้ทู างวชิ าชีพครู 2 กระบวนการและกลยุทธ์ในการส่งเสรมิ ชุมชนการเรยี นรู้ทางวชิ าชพี ครใู นสถานศึกษา 2 ปจั จยั ทสี่ ง่ ผลตอ่ ความสำเรจ็ ของชมุ ชนการเรียนร้ทู างวชิ าชีพครู 3 บทบาทของผบู้ ริหารสถานศกึ ษาในการสง่ เสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวชิ าชพี ครูในบริบทวัฒนธรรมไทย 5 6 7

1 1 ทฤษฎีการบริหารการศึกษา ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษาและนโยบายทางการศึกษาของไทยส่ วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมา จากต่างประเทศ ดังนั้น ผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษาของไทยจึงควรทำความเข้าใจบริบททาง วฒั นธรรมไทยทอี่ าจจะแตกต่างจากวฒั นธรรมของประเทศต้นกำเนิดของทฤษฎแี ละนโยบายน้ัน ๆ การตระหนักถึง วัฒนธรรมที่แตกต่างนี้ส่งผลให้ผู้บริหารสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติและบริหารองค์กรทางการศึกษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพยงิ่ ขนึ้ โดยทั่วไป พฒั นาการของทฤษฎีทางการบริหาร ประกอบด้วย 4 ระยะ ดังนี้ ทฤษฎีองค์การร่วม สมัย(classical organizational theory) แนวทางมนุษยสัมพันธ์ (the human relations approach) แนวทาง เชิงพฤติกรรมศาสตร์ (the behavioral science approach) และยุคหลังแนวทางพฤติกรรมศาสตร์ (the post- behavioral science era) การบริหารนับว่าเป็นสิ่งที่มีมาควบคู่กับการรวมกลุ่มของมนุษย์ แม้จะไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานทาง ทฤษฎีว่าคนในสมัยโบราณเขาใช้หลักการใดในการบริหาร แต่ผลงานของคนในยุคนั้นต่างก็ได้ทำให้คนในโลกยุค ปัจจุบันต่างก็ต้องทึ่งในความสามารถของเขา สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มหึมาที่ได้เกิดขึ้นอยู่แทบทั่วทุกมุมโลกที่เป้น แหล่งกำเนิดอารยธรรมต่าง ๆ สะท้องให้เห็นถึงความสามารถของการบริหารที่ผู้นำเมื่อครั้งโบราณกาลใช้ในการ สร้างงานท่นี ับเปน็ ความยิ่งใหญ่และน่ามหัศจรรย์ย่ิงนักมตี ัวอย่างมากมายทย่ี งั คงเป็นข้อกังขาให้คนในปัจจุบันได้ขบ คิดกัน ความสำเร็จเหล่านั้นเกิดขึ้นได้อย่างไรทฤษฎีการบริหารการศึกษาในอนาคตต้องตอบสนองต่อพหุปรัชญา (diversification philosophy) สภาวะแวดล้อมที่มีความยากลำบากยิ่งขึ้น (a more difficult environment) การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (technological change) และการแข่งขันในประเด็นทีห่ ลากหลาย (multipoint competition) เช่นผู้บริหารโรงเรียนจะต้องปรบั ตัวเองเพือ่ ให้สามารถบรหิ ารโรงเรียนในยคุ ดิจทิ ลั การพัฒนาองค์กรเป็นกระบวนการและความพยายามในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานขององค์ กรให้มี ประสิทธิภาพย่งิ ขึน้ การพฒั นาองค์กรตอ้ งอาศัยความเข้าใจและการจัดการให้องคก์ รเกิดการเปล่ียนแปลงอย่างเป็น ระบบ การพัฒนาองค์กรหมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและกระบวนการดำเนินงานขององค์กรซึ่งจะมี อิทธิพลต่อพฤติกรรมการทำงานและแรงจูงใจในการทำงานของสมาชิกในองค์กร ตัวอย่างการจัดการและกิจกรรม ในองค์กรที่มีเป้าหมายเพื่อการพัฒนาองค์กร ได้แก่ การพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization) และการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในองค์กร (professional learning community) เป็นต้น ความหมายของชมุ ชนแห่งการเรยี นรู้ทางวิชาชีพ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (professional learning community) คือ กลุ่มของนักการศึกษาท่ี ประชุมหรือพบกันเป็นประจำเพื่อแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญ ร่วมกันทำงานเพื่อพัฒนาทักษะการสอนและ ผลสมั ฤทธ์ทิ างการเรยี นของผู้เรยี น โรงเรยี นท่ีมกี ารพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมีประสิทธภิ าพมีลักษณะดังนี้ (1) บุคลากรเคารพซง่ึ กนั และกันในระหว่างการพูดคยุ (2) จัดสรรเวลาเพือ่ ให้บุคลากรได้สะทอ้ นความคดิ (3) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของนักเรยี นทั้งโรงเรียน

22 (4) ผลกั ดันใหเ้ กดิ การแกป้ ัญหาอยา่ งเปน็ รปู ธรรม (5) สร้างองคค์ วามรู้ (6) เน้นการฟังอย่างไมม่ อี คติ (7) จดั สรรเวลาและพยายามร่วมกนั พฒั นาให้ผู้เรียนมคี ณุ ภาพชวี ิตที่ดขี น้ึ วิชัย วงศ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล (2562) กล่าวว่า ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวชิ าชพี หรือ Professional Learning Community โดยเรียกชื่อย่อว่า PLC เป็นการผสมผสานแนวคิดของความเป็นมืออาชีพ (professional) และ ชมุ ชนแห่งการเรยี นรู้ (learning community) เขา้ ดว้ ยกนั ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ หมายถึง การรวมกลุ่มกันทางวิชาการ ของบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพเดียวกัน เพื่อพัฒนาสมรรถนะทาง วิชาชีพ และคุณภาพของผู้เรียนร่วมกัน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมมือร่วมใจ (collaborative learning) การ เรียนรูป้ ระสบการณ์การปฏบิ ัตงิ านในพืน้ ท่ี (lesson leamed)และการแลกเปลยี่ นเรยี นรู้ (sharing learning อย่าง ต่อเนื่องชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นนวัตกรรมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านการพัฒนาศักยภาพ ผู้สอนและนำไปสู่การพัฒนาผู้เรยี น เปน็ ความร่วมมอื รว่ มใจกนั ทางวชิ าการของผสู้ อนและบุคลากรทางการศึกษาที่ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ร่วมมือกันช่วยเหลือ สนับสนุน และส่งเสริมซ่ึงกนั และกนั ทำใหเ้ กดิ การพฒั นาอยา่ งต่อเน่อื ง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ที่ทำให้การดำเนินกิจกรรม PLC ประสบความสำเร็จ ดังน้ี 1. การเรียนรู้ร่วมกัน (Iearning together) ระหว่างสมาชิก ในชุมทนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบ่งปัน ความคิด ความรู้ และประสบการณ์เติมเต็มซ่ึงกันและกันเพื่อนำไปสู่การต่อยอดและการแก้ปัญหาในการจัดการ เรียนรู้ 2. การทำงานแบบร่วมมือร่วมใจ (work collaborative) บนพื้นฐานความคิดว่า สมาชิกทุกคนมีส่วน ร่วมกันรับผิดชอบในผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ไม่แยกส่วนความรับผิดชอบจนไม่สามารถบูรณาการการทำงานเข้า ดว้ ยกัน 3. สำนึกความรับผิดชอบ (accountable) คือ ความรับผิดชอบ ต่อการเรียนรู้ในฐานะที่ เป็นสมาชิกคน หนง่ึ ของชมุ ชนแห่งการเรียนร้ทู างวชิ าชีพที่จะต้องพัฒนาตนเองตามแผนการดำเนินการของ PLC ท่ไี ดต้ กลงร่วมกัน ความรบั ผิดชอบต่อภารกจิ การถอดบทเรยี นและนำบทเรียนมาแลกเปลยี่ นเรยี นรู้ ความทา้ ทายในการพฒั นาชุมชนแหง่ การเรียนรทู้ างวชิ าชีพในสถานศกึ ษา ชมุ ชนแห่งการเรียนรู้ทางวชิ าชีพช่วยสร้างและพฒั นาศักยภาพของครู อยา่ งไรกต็ าม เนอ่ื งจากบุคลากรใน โรงเรยี นส่วนใหญม่ ีเวลาวา่ งไมต่ รงกัน การจดั สรรและจัดการเวลาในการสร้างชุมซนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพอาจ เป็นความท้าทายของครูและผู้บริหารโรงเรยี น ด้วยเหตุดังกล่าว โรงเรียนหรือกลุม่ สาระการเรียนรูส้ ามารถจัดสรร เวลาส่วนหนึ่งจากการประชุมครูมาใช้ในการสร้างชุมซนแห่งการเรียนรู้ การประชุมจะทำให้เกิดบรรยากาศที่เน้น

33 ความรว่ มมอื อยา่ งเป็นธรรมซาติ ในการพฒั นาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพไม่ควรเร่ิมจากกิจกรรมท่ีครูต้องเปิดเผย ว่าตนเองมคี วามรู้และทกั ษะทางวิชาชพี มากนอ้ ยเพยี งใด เนื่องจากครอู าจจะอายและกลวั ท่จี ะบอกคนอื่นว่าตนไม่มี ความรู้ในเรื่องดังกล่าวมากนัก ดังนั้นควรเร่ิมจากกิจกรรมที่สร้างบรรยากาศผ่อนคลายและนำไปสู่การเรียนรู้ใน ขั้นตอนต่อไป เช่น การปรับทัศนคติของครูต่อกิจกรรมชุมชนแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพให้ดีขึ้น กิจกรรมพฒั นาครูด้านทกั ษะการส่ือสาร กจิ กรรม book club เป็นตน้ เม่อื ครเู ปดิ ใจต่อกันแลว้ กค็ วรจัดกจิ กรรมที่ ทำให้ครูเห็นความสำคัญของการยอมรับและเปิดเผยว่าตนเองมี ความรู้และทักษะทางวิชาชีพมากน้อยเพียงใด เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในด้านท่ียงั ด้อยหรือยังเรียนรูไ้ ม่เพียงพอ กิจกรรมในขั้นนีจ้ ะเกิดขึ้นในชั้นเรยี นมาก ยิ่งขึ้น เช่น การเปิดชั้นเรียนเพื่อให้มีการสังเกตการสอน การสาธิตการสอน การสนทนาหรือสอนงานเกี่ยวกับการ พฒั นานกั เรียนรายบคุ คล เป็นตน้ ในหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาของไทย การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในระยะแรก เน้นการทำความเข้าใจหลักการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในสถานศึกษา ( Intanam, 2010; Chookamnerd et al., 2014)จวบจนปัจจุบัน นักวิชาการยังคงพยายามศึกษาวิจัย เพื่อนำแนวคิดชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพครูไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในประเด็นเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น การพัฒนากรอบ แนวคิกระบวนการพัฒนาชุมชนการเรียนรทู้ างวชิ าชีพครูดา้ นสะเต็มศกึ ษา (Pongchai & Xupravati, 2019) การ พัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรูท้ างวิชาชพี ครูสำหรบั การจัดการเรียนรู้เพ่ือพฒั นาทักษะการคดิ วเิ คราะห์ของผู้เรียน (Metapanya, 2019) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียน มาตรฐานสากล (Leuanoi, 2019) เป็นต้น มากไปกว่านั้น ในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐได้ส่งเสริมให้สถานศึกษา พัฒนาครูและบุคลากรด้วยกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อาทิเช่นสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเปิดรับ ข้อเสนอโครงการจากสถานศึกษา โดยมเี ปา้ หมายเพื่อให้สถานศกึ ษานำกระบวนการชมุ ชนการเรยี นรทู้ างวิชาชีพครู ไปใช้พัฒนาการศึกษาในประเด็นที่หลากหลาย เช่น การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ การพัฒนา ทักษะการรหู้ นงั สือ การพัฒนาคุณธรรมจรยิ ธรรม เปน็ ตน้ (The Teachers’ Council of Thailand, 2020) ด้วย เหตุดังกลา่ ว แนวคิดชุมชนการเรยี นรู้ทางวิชาชีพครจู ึงถูกนำมาใช้ในสถานศึกษาอย่างแพรห่ ลายในปัจจุบนั องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวชิ าชีพครู องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในประเทศไทยถูกศึกษาและพัฒนาขึ้นในบริบทที่ หลากหลาย เช่น Intanam (2010) ศึกษาและพัฒนาองค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบท ของโรงเรียนประถมศึกษา ผลการวิจัยสรุปองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านปัจจัย คือ ครูมีทักษะทาง วชิ าการและกลไกการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสถานศกึ ษามโี ครงสร้างและสิ่งสนบั สนนุ ทเี่ อื้อต่อการพัฒนาชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพครู 2) ด้านกระบวนการ คือ ครูร่วมกันกำหนดค่านิยมและเป้าหมายร่วมของสถานศึกษา เปิด รบั คำชแ้ี นะ และร่วมสนทนาเพ่อื พัฒนาการปฏิบัตงิ าน และ 3) ดา้ นผลลพั ธ์ คอื ผลจากการพฒั นางานและการเป็น สมาชิกของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู นอกจากนั้น Chookamnerd and Sungtong (2014) ได้ศึกษา

4 4 องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทโรงเรียนที่จัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศตวรรษที่ 21 และสรุปได้ 6 ดา้ น คือ 1) การสรา้ งชุมชนกัลยาณมิตรทเี่ อาใจใส่และรบั ฟังซ่ึงกันและกนั 2) การมีภาวะผูน้ ำการเปลี่ยนแปลงทเี่ รา้ ศักยภาพของครูและบคุ ลากรในสถานศึกษา 3) การสร้างวสิ ยั ทัศน์ร่วมกนั 4) การเปิดเผยข้อมูลอย่างเป็นระบบเพ่ือพัฒนาวชิ าชีพครสู ู่การพฒั นาผู้เรยี น 5) การพัฒนาทมี งานทมี่ วี ุฒิภาวะและจติ วญิ ญาณความเปน็ ครู 6) การมีพืน้ ทีเ่ รยี นรูเ้ พื่อการปฏิบัตงิ านจริง กล่าวโดยสรุป ถึงแม้ว่าองค์ประกอบในการส่งเสริมชุมชนการเรยี นรู้ทางวิชาชพี ครูจะถูกศกึ ษาและพัฒนา ภายใต้บริบทที่แตกต่างกัน องค์ประกอบข้างต้นโดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับ 1) การเสริมสร้างศักยภาพของครูและ บุคลากรทางการศึกษาในระดับบุคคล 2) การเสริมสร้างศักยภาพระหว่างบุคคลหรือในทีมพัฒนาวิชาชีพ และ 3) การเสริมสร้างศักยภาพการเรยี นรู้ขององคก์ ร (Adae et al., 2019) องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรทู้ างวิชาชพี ครูมีความคลา้ ยคลงึ กนั ถงึ แม้วา่ ผวู้ จิ ัยจะเกบ็ และวิเคราะห์ ข้อมูลจากแหล่งที่มาหรือภายใต้บริบทที่แตกต่างกัน อาทิเช่น Vehachart (2018b) รายงาน 62 องค์ประกอบ ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูจากการวิเคราะห์บทความวิชาการและวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ องค์ประกอบทสี่ ำคญั ได้แก่ การรว่ มมือรวมพลัง การเผชิญหนา้ กับผูต้ ่อต้านเป้าหมายรว่ มของครู การมีค่านิยมและ วิสัยทัศน์ร่วมกันการพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกัน การให้อิสระแก่ครูในการพัฒนาความเป็นผู้นำของตนเอง และการ กระจายอำนาจความเป็นผู้นำทางวิชาชีพ ในทำนองเดียวกัน Aunjanum and Khanto (2016) ศึกษา องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ความเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยมหามกุฏราช วิทยาลัย โดยไดส้ รุป 4 องค์ประกอบหลกั และ12 องค์ประกอบย่อย ดงั นี้ 1) การมวี สิ ยั ทศั นร์ ่วมกัน ประกอบดว้ ย วิสัยทัศน์เชิงอนาคต เป้าหมาย และกลยุทธ์ร่วม2) การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย ทีมงาน ผู้นำทีม และ กระบวนการของทีม 3) โครงสร้างขององค์กรที่สนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย การกระจายอำนาจ การบังคับ บัญชา และการมอบหมายงานของผู้บริหาร และ 4) ภาวะผู้นำประกอบด้วย การมีความรู้ ความรับผิดชอบ และ การมีส่วนร่วมของผู้นำ ทั้งนี้ องค์ประกอบดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกับผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในบริบทสถานศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของ Chookamnerd and Sungtong (2014) ผลการสังเคราะห์แสดงใหเ้ หน็ 6 องคป์ ระกอบทีส่ ำคญั ได้แก่ การมีวิสยั ทัศน์ร่วมของทีม การร่วมแรงร่วม ใจ การมีภาวะผูน้ ำ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ การเป็นกัลยาณมิตร และการสร้างพื้นที่ปลอดภัย กล่าวโดยสรุป องค์ประกอบหลักของชมุ ชนการเรียนรทู้ างวชิ าชีพครูในสถานศึกษามี 3 ประการ ไดแ้ ก่ 1) ความพร้อมของทีมพัฒนาวิชาชีพ เช่น วิสัยทัศน์ของทีม ภาวะผู้นำ ความร่วมมือรวมพลัง การเตรียม บุคลากรในทมี ให้กล้าสะทอ้ นคิดและยอมรับความคิดเห็น เป็นตน้ 2) โครงสร้างขององคก์ รที่สนับสนุนชุมชนการเรยี นรู้ เช่น โครงสร้างการบริหาร การกระจายอำนาจ การ จดั พื้นท่ีให้เหมาะสมตอ่ การแลกเปลยี่ นเรยี นรู้และการปฏิบตั งิ านจริง เปน็ ต้น

5 5 3) กระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพ เช่น การวางแผนการสอน การสังเกตชั้นเรียน และการสะท้อน คิด เป็นต้น(Suwanwong, 2016) กระบวนการและกลยทุ ธ์ในการส่งเสรมิ ชุมชนการเรยี นรูท้ างวชิ าชีพครใู นสถานศกึ ษา แนวคิดชมุ ชนการเรยี นรู้ทางวิชาชพี ครถู ูกนำไปประยกุ ตใ์ ช้ในสถานศกึ ษาดว้ ยกระบวนการและกลยทุ ธ์ท่ี หลากหลายตามบรบิ ทของสถานศกึ ษาและเป้าหมายในการพฒั นาวิชาชีพ อาทิเชน่ Khanom et al. (2018) ใช้กระบวนการชมุ ชนการเรียนรทู้ างวชิ าชีพเพ่ือพฒั นาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครู 4 ข้ันตอน ได้แก่ 1) ขั้นการวางแผน เช่น การศึกษาสภาพปัญหา การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การกำหนดแผนการ ทำงานรว่ มกันเป็นตน้ 2) ข้ันดำเนินการ เช่น การปฏบิ ตั กิ ารสอนตามแผนการจัดการเรยี นรู้ท่รี ่วมกันออกแบบไว้ การแลกเปล่ียน เรยี นรู้เกี่ยวกับการปฏิบัตกิ ารสอน และการปรับปรงุ กิจกรรมการเรยี นรู้ เป็นต้น 3) ขั้นการตรวจสอบ เช่น การนิเทศติดตามการปฏิบัติการสอน และการตรวจสอบผลการเรียนรู้ของ ผูเ้ รยี น เป็นต้น 4) ขั้นปรับปรุงแก้ไข เช่น การร่วมกันสะท้อนคิดจากผลการนิเทศติดตามเพื่อปรับปรุงแก้ไขแผนการ จัดการเรยี นรแู้ ละกิจกรรมการเรยี นรู้ เป็นตน้ ในขณะที่Sanorkan (2019) ใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาครูให้สามารถจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น โดยมเี ป้าหมายสูก่ ารยกระดบั ผลสัมฤทธ์ทิ างการเรียนในยุคประเทศไทย 4.0 กระบวนการดงั กลา่ วประกอบด้วย 5 ขนั้ ตอน ได้แก่ 1) การสร้างทีมงานให้เหน็ คณุ ค่าร่วมในการจดั กจิ กรรมการเรียนรูแ้ บบกระตือรือรน้ 2) การรว่ มกนั กำหนดกลยทุ ธ์และกจิ กรรมเพื่อยกระดบั ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี น 3) การร่วมกนั สะท้อนผลการจัดการเรยี นร้เู พือ่ ค้นหาแนวทางใหม่ๆ และนวัตกรรมเพอื่ การพฒั นาผ้เู รียน 4) การสง่ เสรมิ ความรว่ มมอื ในการแลกเปลย่ี นวธิ กี ารและผลจากการใชเ้ ทคโนโลยใี นการจดั การเรยี นรู้ 5) การสนับสนุนให้ครูได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองจากบุคคลภายในและภายนอกทีม พัฒนาวชิ าชพี ทง้ั นี้ บคุ คลภายนอกทีมหมายรวมถึงเครือขา่ ยเพ่อื นครใู นโรงเรียนพืน้ ที่ใกลเ้ คยี ง เครือข่ายระดบั เขตพ้ืนท่ี การศกึ ษาหรอื เครอื ขา่ ยสอ่ื สังคมออนไลน์ และเครือขา่ ยภาคีอนื่ ๆ เช่นสถาบนั อุดมศึกษาในพื้นที่ บริษัทหรอื สำนักพมิ พ์ และองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนับสนนุ นโยบายและกิจกรรมทางการศึกษา เป็นต้น (Yordsala et al., 2019) มากไปกว่านั้น กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูถูกนำไปใช้เป็นฐานในการพัฒนาสถานศึกษา และพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในประเด็นท่ีหลากหลาย ยกตวั อย่างเชน่ Chuenura et al. (2016) ดำเนนิ การ พฒั นาโรงเรียนส่งเสริมการคิดโดยใชแ้ นวคิดชุมชนการเรยี นรู้ทางวิชาชีพครูเปน็ ฐาน กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพจึงถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดทำหลักสูตร พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ จัดกิจกรรมเสริมหลกั สตู ร และจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพัฒนาทักษะการคิด ตลอดจนการวัดและประเมินผลทักษะการคิดของ

66 ผู้เรียน ขั้นตอนเหล่านี้ถูกบูรณาการกับกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ที่เน้นการทำงานร่วมกันและ ช่วยเหลือซ่งึ กันและกันของครูและบุคลากรในสถานศึกษา ในประเดน็ ท่คี ล้ายคลึงกนั นี้ Rodpuang et al. (2017) นำเสนอกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบ 3P2R เพื่อพฒั นานกั ศึกษาวชิ าชีพครใู ห้มีทักษะการจัดการ เรยี นรทู้ ่ีส่งเสริมการคิดอยา่ งเปน็ ระบบและการสร้างสรรคน์ วตั กรรม กระบวนการดงั กลา่ วประกอบด้วย การเตรียม บคุ ลากรที่เกีย่ วข้อง (Prepare)การวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนในการแกป้ ัญหาร่วมกนั ระหว่างนักศกึ ษา ครพู ีเ่ ลีย้ ง และอาจารย์นิเทศก์ (Plan) การส่งเสริมให้นกั ศึกษาปฏิบัตกิ ารสอนจรงิ (Perform) การสงั เกตการสอนและทบทวน ผล (Review) การสะท้อนกระบวนการและผลการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน (Reflect) ทั้งนี้ การดำเนินงานตาม กระบวนการหรือขั้นตอนดังกล่าวจะต้องเป็นวงจรการเรียนรู้ที่เกิดขึน้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนกระทั่งสมาชิกในชุมชนการ เรียนร้ทู างวชิ าชพี เกิดการเรยี นรแู้ ละได้รบั การพัฒนาศกั ยภาพอยา่ งแทจ้ รงิ ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์เพื่อจัดกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทาง วิชาชีพครูให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกชั้นเรียน กลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยน จากการสั่งการและควบคุมครู มาเป็นการช่วยเหลือ สนับสนุน และชี้แนะให้ครูเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ผู้บริหารต้องใช้กลยุทธ์ในการเตรียมทีมพัฒนาวิชาชีพที่หลากหลาย เช่น ทีมวิพากษ์ (Critical Friends) ทีมให้ คำปรึกษา (Per Coaching Team)ทีมเรียนรู้และปฏิบัติการ (Learning and Practicing Team) และทีมวิจัย (Action Research Team) เปน็ ต้น (Maneeorn, 2017) อย่างไรกต็ าม กลยทุ ธ์ทส่ี ำคัญ คอื ส่งเสริมให้สมาชิกใน ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูได้รับโอกาสในการหมุนเวียนกันไปเรียนรู้ร่วมกับทีมพัฒนาวิชาชีพทีมอื่นๆ ใน สถานศึกษา เพื่อให้เข้าใจบทบาทที่แตกต่างกันของสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูมากยิ่งขึ้น ทั้งน้ี Chantapoon et al. (2018) ได้สรุปกลยุทธ์ในการเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูไว้อย่างครอบคลุม และชัดเจน ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 1) กลยุทธ์การกระจายอำนาจโดยเปิดโอกาสให้ครูได้เรียนรู้ ตัดสินใจและเลือกวิธีการปฏิบัติงานที่เหมาะสมด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำที่เหมาะสมจากผู้บริหาร 2) กลยุทธ์ การสรา้ งวฒั นธรรมและบรรยากาศท่เี อ้ือต่อการเรียนรู้ 3) กลยุทธ์การสนับสนนุ และพฒั นาครูใหเ้ กิดการเรียนรู้ทาง วิชาชีพ 4) กลยุทธ์การแสวงหาเครอื ข่ายเพื่อสนับสนนุ การเรยี นรูข้ องสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และ 5) กลยุทธ์การบริหารจัดโครงสร้างองค์กรและจัดสรรทรัพยากรเพื่อเสริมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จาก ข้อสรุปข้างต้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีบทบาทที่สำคัญในการกำหนดกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนชมุ ชนการเรียนรู้ทาง วชิ าชีพครูให้สอดคลอ้ งกับกลยุทธใ์ นการบรหิ ารสถานศึกษา ปจั จยั ทส่ี ่งผลต่อความสำเร็จของชมุ ชนการเรียนรูท้ างวิชาชพี ครู ภาวะผนู้ ำของผ้บู ริหารสถานศึกษาเปน็ ปัจจยั สำคัญทีส่ ง่ ผลตอ่ ความสำเรจ็ ของชุมชนการเรียนรทู้ างวชิ าชีพ ครใู นสถานศกึ ษา ดงั เหน็ ไดจ้ ากผลการศึกษาตัวแปรท่สี ง่ ผลตอ่ ความเปน็ ชุมชนการเรยี นร้ทู างวิชาชพี ครูของ Bhukrongna et al. (2015) พบว่า ความเป็นผู้นำทางวิชาการและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นปัจจัยที่ส่งผลทางตรงต่อการส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ในขณะที่ความรับผิดชอบในการทำงาน และการมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเป็นปัจจัยทางอ้อม ที่ส่งผลต่อความสำเร็จของชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สอดคล้องกับผลการวิจัยของ Nantapha and Sod-lum

77 (2018) ซง่ึ พบวา่ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผบู้ ริหารสถานศกึ ษา สง่ ผลต่อการพัฒนาชุมชนการเรยี นรู้ทางวิชาชีพ ครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล นอกจากภาวะผู้นำทางวิชาการและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงแล้ว Leuanoi (2019) ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสามารถใน การสื่อสารภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เป็นต้น และมีประสบการณ์ศึกษาดงู านในต่างประเทศ เพื่อเปิดโลกทัศน์ด้านการพัฒนาการศึกษา โดยนำประสบการณ์ดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับทีมพัฒนา วิชาชพี ดงั นั้น การมีภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาจึงเปน็ ปจั จัยสำคัญที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาภาวะผู้นำของ ครใู นชมุ ชนการเรยี นรทู้ างวิชาชพี ดว้ ยเชน่ กนั ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพประกอบด้วยภาวะผู้นำครูแล ะวัฒนธรรม คุณภาพของสถานศึกษาเป็นอีกสองปัจจัยที่เอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Takonok et al. (2019) อธิบายว่าภาวะผู้นำครูและความสำเร็จของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยภาวะผู้นำครูประกอบด้วย ทักษะการสอนแบบมืออาชีพ การเป็น แบบอย่างที่ดีทางการสอนการพัฒนาตนเองและเพื่อนครู และการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มากไปกว่านั้น Buaklamtanakit et al. (2019)สนับสนุนว่า การมีทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูสามารถพยากรณ์การสร้าง ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษาได้ร้อยละ 66.10 โดยทักษะดังกล่าวประกอบด้วย การคิดเชิงวิพากษ์ การเชื่อมโยงเนื้อหาการเรียนรู้กับชีวิตจริง การใช้เทคโนโลยี การส่งเสริมความร่วมมือในการทำงาน การบริหาร จัดการห้องเรียน และการพัฒนาทางวิชาชีพ ทั้งนี้ ภาวะผู้นำครูและทักษะในศตวรรษที่ 21 ของครูอ าจจะเป็น ปัจจัยที่สนับสนนุ วัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาซึ่งมีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการขับเคลื่อนชมุ ชนการเรียนรู้ ทางวชิ าชีพครู ดงั ท่ี Wongsan and Thawinkarn (2017) รายงานว่าวัฒนธรรมคณุ ภาพที่ส่งผลต่อการเป็นชมุ ชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนมาตรฐานสากล ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ด้านการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้าน การเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับครู และด้านการส่งเสริมให้ครูทำงานเป็นทีมอย่างไรก็ตาม การรับรู้วัฒนธรรม คุณภาพและความคิดเห็นของครูต่อกระบวนการส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพอาจมีความแตกต่างกันตาม ขนาดและบริบทของสถานศึกษา ดังนั้น ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร ภาวะผู้นำครู และวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา ซึ่งมีความแตกต่างกันตามบริบท รปู แบบและปัจจัยทางการบริหารสถานศึกษาดว้ ยเชน่ กัน (Yupakdee & Ariratana, 2017) บทบาทของผบู้ ริหารสถานศึกษาในการสง่ เสรมิ ชุมชนการเรียนร้ทู างวิชาชีพครูในบริบทวัฒนธรรมไทย จากการศกึ ษาวรรณกรรมทเ่ี กี่ยวข้องพบวา่ บทความวิชาการและบทความวจิ ยั ทีน่ ำเสนอบทบาทของ ผู้บริหารสถานศึกษาในการสง่ เสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชพี ครูมีอยู่จำนวนน้อย ตัวอย่างจากบทความดังกล่าว ได้แก่งานวจิ ัยของ Maneeorn (2017) นำเสนอบทบาทของผู้บรหิ ารในการยกระดับความเขม้ แขง็ ของชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพครูในสถานศึกษาไว้ 6 ประเด็น ดังนี้ 1) ผู้บริหารต้องเปลี่ยนรูปแบบการบริหารจากการออก คำสั่งและควบคุมมาเป็นการช่วยเหลือและแนะนำให้ครูเกิดการเรยี นรู้ 2) ผู้บริหารต้องประสานความร่วมมือจาก บุคลากรภายในและภายนอกสถานศึกษา 3) ผบู้ ริหารต้องจดั สรรเวลาเพอ่ื ให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยู่ในเวลาปฏิบัติงานปกติของโรงเรียน 4) ผู้บริหารต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูและ

8 8 ส่งเสริมให้ครูมีความสุขกับการเรียนรู้ร่วมกัน 5) ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม องค์กร และ 6) ผู้บริหารต้องพัฒนาทีมพัฒนาวิชาชีพย่อยๆ ในระบบใหญ่ของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูใน สถานศึกษา มากไปกว่านั้น Piromruen and Chachvarat (2019, p. 3) ยืนยันว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา คือ ตัวแปรสำคัญ ที่มีบทบาททำใหส้ ถานศกึ ษาปรบั เปลี่ยน”ท้ังนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาควรแสดงบทบาททีห่ ลากหลาย เพื่อกระตนุ้ และให้กำลังใจครใู นการเรียนรู้และพฒั นาทางวชิ าชีพ ไดแ้ ก่ บทบาทของผู้สอนและผู้นำทาง บทบาทใน การกำหนดเป้าหมายและตั้งคำถามเพื่อการเรียนรู้ บทบาทในการเป็นนักออกแบบการจัดการเรียนรู้ บทบาทใน การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของครู และบทบาทในการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพ กล่าวโดยสรุป ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในสถานศึกษาให้ประสบ ความสำเรจ็ โดยผู้บริหารแต่ละคนอาจจะเข้าใจบทบาทในการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่แตกต่างกัน ออกไป ข้ึนอยู่กับการรับรูบ้ รบิ ททางวฒั นธรรมภายในสถานศึกษาและของสังคมท่ัวไป ผู้บริหารสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการนำทีมพัฒนาวิชาชีพครูให้ก้าวข้ามบริบททางวัฒนธรรมบาง ประการทอี่ าจจะเป็นปัจจัยขัดขวางความสำเร็จของชุมชนการเรียนรทู้ างวชิ าชีพครใู นสถานศึกษา กล่าวอีกนัยหน่ึง คือบริบทวฒั นธรรมไทยบางประการทีไ่ ด้กล่าวไวแ้ ล้วข้างตน้ มีความแตกตา่ งกับบริบททางวฒั นธรรมทีช่ ่วยส่งเสริม กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เช่น โครงสร้างทางวัฒนธรรมแบบกระจายอำนาจ ( Aunjanum & Khanto, 2016) การให้โอกาสการเรียนรู้แก่ครูในการนำตนเองและพัฒนาความเป็นผู้นำ (Vehachart, 2018a) การกระจายความเป็นผู้นำให้ครูทุกระดับโดยการใช้ภาวะผู้นำร่วมของผู้บริหาร (Suwanwong, 2016) และการ กระจายอำนาจและเสรมิ พลังเพ่ือใหค้ รูและบคุ ลากรทำงานอย่างอิสระ (Chuenura et al., 2016) เป็นต้น ดังนั้น จากการทำความเข้าใจช่องว่างระหว่างบริบททางวัฒนธรรมที่ช่วยส่งเสริมและขัดขวางกระบวนการชุมชนการ เรียนรู้ทางวิชาชีพครูในสถานศึกษา (Hallinger & Kantamara, 2000, 2001) ผู้เขียนขอนำเสนอบทบาทของ ผบู้ ริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวชิ าชีพครทู ่ีสอดคล้องกบั บริบทวัฒนธรรมไทย 4 ประเด็น ดงั น้ี 1. ผู้บริหารต้องไม่ใชอ้ ำนาจสั่งการให้ครูเข้ารว่ มชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและไม่ควรแสดงอำนาจมาก เกนิ ไปในขณะแลกเปลีย่ นเรยี นรู้ร่วมกับครู การใชอ้ ำนาจของผูบ้ ริหารอาจจะทำให้ครยู อมเขา้ ร่วมชมุ ชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพเพราะเกรงใจหรือเกรงกลัวผู้บริหาร ครูบางคนอาจจะเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพราะ ต้องการให้เกียรติผู้บริหารเท่าน้ัน ด้วยเหตุดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของครูจึงไม่ได้เกิดข้ึนจริง อย่างเปน็ รูปธรรมหรือเกิดข้ึนแต่ไมย่ ่ังยนื ดังนั้น ผู้บริหารสถานศกึ ษาจึงควรมสี ่วนร่วมในกิจกรรมและกระบวนการ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างจริงจัง เพื่อแสดงพันธสัญญาใจร่วมกับครูทุกคนในสถานศึกษาให้เข้าร่วมชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชพี ครแู ละเพ่อื ชักจูงใหค้ รูทุกคนเต็มใจยอมรบั การเปลีย่ นแปลงเก่ยี วกับการจัดการเรียนการสอน ที่อาจจะเกิดข้ึนในอนาคตมากไปกว่าน้ัน ในขณะเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนการเรยี นรู้ทางวชิ าชีพครู ผู้บริหารควรเป็น ผู้ฟังที่ดี ควรฟังครูให้มากขึ้นกว่าที่เคยปฏิบัติ และพูดโน้มน้าวให้ครูเชื่อมั่นว่าการพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทาง วิชาชีพจะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้เรียน รวมทั้งพยายามโน้มน้าวให้ครูเชื่อมั่นในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อ พฒั นาวิชาชพี และเพ่ือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของครู

99 2. ผู้บริหารต้องสร้างจิตวิญญาณของทีมพัฒนาวิชาชีพครู โดยส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทาง วิชาชีพยอมรับ เคารพ และให้คุณค่ากับความคิดเห็นท่ีแตกต่าง ทั้งนี้ การที่สมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ครูแสดงความคิดเห็นที่หลากหลายอาจเป็นเพราะสมาชิกแต่ละคนมีความแตกต่างกันทางด้านอายุ เพศ ศาสนา ประสบการณ์ ภูมิหลังทางวัฒนธรรมและโลกทัศน์ ทำให้สมาชิกแต่ละคนมีวิธีการมองปัญหาและวิธีคิดเพื่อแก้ ปัญญาเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน ดังนั้น บทบาทที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษา คือ พยายามเปิด โอกาสให้ทกุ คนได้แสดงความคดิ เห็นอย่างเหมาะสม เช่น ผบู้ รหิ ารควรให้โอกาสครูท่ีมีความอาวุโสน้อยแสดงความ คดิ เห็นกอ่ นครทู ่ีมคี วามอาวโุ สมาก เนอ่ื งจากครูท่ีมีความอาวุโสน้อยกว่าอาจจะไม่กลา้ แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง จากความคิดเห็นของครูที่มีความอาวุโสมากกว่าเพราะกลัวว่าจะทำให้ครูท่านนั้นเสียหน้า ถึงแม้ว่าความคิดเห็นที่ แตกต่างออกไปจะเปน็ ประโยชน์ต่อสมาชิกในชมุ ชนการเรยี นรู้ทางวิชาชีพครู เปน็ ตน้ 3. ผู้บริหารต้องท้าทายครูให้เผชิญกับความไม่แน่นอนเพื่อช่วยให้ครูเปิดรับมุมมองใหม่และกล้าที่จะ เปลย่ี นแปลงวิธกี ารจดั การเรยี นรขู้ องตนเอง เนอื่ งจากครบู างคนอาจจะไม่กลา้ เปล่ยี นแปลงพฤติกรรมการสอนของ ตนเองถึงแม้ว่าจะได้เรียนรู้วิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ จากเพื่อนครูในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผู้บริหาร สถานศึกษาจึงต้องใส่ใจและให้กำลังใจครู ในขณะที่ครูกำลังรู้สึกกระวนกระวายที่ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมการสอนของตนเอง เช่น ครูอาจจะกังวลกับผลการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีใหม่ ครูอาจจะต้องใช้เวลา เพิ่มขึ้นในการเตรียมการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีใหม่ ครูอาจจะยังไม่เข้าใจการจดั การเรียนรู้รูปแบบใหม่อยา่ งถ่องแท้ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนของครูแต่ละคนทีละเล็กทีละน้อยจะนำมาซึ่งการ เปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมของสถานศึกษา ผู้บริหารจึงต้องใช้คำพูดที่จริงใจเพื่อเสริมพลังให้ครูมีภาวะผู้นำทาง วิชาการและกลา้ ที่จะนำการเปลีย่ นแปลงมาสู่การจัดการเรียนรูใ้ นหอ้ งเรียน กลา่ วโดยสรุป ผ้บู ริหารตอ้ งแสดงความ เข้าใจและให้กำลังใจครู ถึงแม้ว่าความพยายามในการเปลี่ยนแปลงอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร พร้อม ท้งั ต้องสนบั สนุนให้ครคู น้ หาและพฒั นาวธิ ีการจัดการเรียนร้ใู หม่ๆ อยเู่ สมอ 4. ผู้บริหารต้องส่งเสริมให้ครูมีความสุขจากการเป็นสมาชิกของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เนื่องจาก บริบทวัฒนธรรมไทยเน้นความสนุกสนานครื้นเครงและการดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกันด้วยเหตุดังกล่าว บทบาทท่ี สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษา คือ การสร้างบรรยากาศให้ครูและบุคลากรทางการศึกษารู้สึกมีความสุขและ สนุกสนานในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กิจกรรมดังกล่าวจึงควรผสมผสานระหว่าง ความเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้บริหารจึงต้องให้ความสำคัญกับคน (People Oriented) และงาน (Task Oriented) อย่างสมดุลในการจัดกิจกรรมชมุ ชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู มากไปกว่านั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควร ส่งเสริมใหเ้ กิดวัฒนธรรมการประณีประนอม การสร้างบรรยากาศที่ไม่ตงึ เครียดจนเกินไป และการหลีกเลี่ยงความ ขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างสมาชิกในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ทั้งนี้ การสร้างความสุขและการลดความ ขัดแย้งจะช่วยให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษารู้สึกอยากเข้าร่วมวงเรียนรู้ทางวิชาชีพ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนการ เรียนรูท้ างวิชาชพี ครใู นสถานศึกษามีความเข้มแข็งและประสบความสำเร็จอย่างยงั่ ยนื การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาครูในสถานศึกษาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การ สนทนาอยา่ งไม่เป็นทางการ การเสวนาทางวิชาการ การฝกึ อบรมเพอ่ื พัฒนาทักษะการส่ือสาร การเขียนบันทึกการ เรยี นรกู้ ารสังเกตชั้นเรียน เป็นตน้ ประเดน็ ที่สำคัญ คือ ผู้บริหารสถานศกึ ษาตอ้ งพิจารณาและจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม

10 10 ชุมชนการเรยี นรทู้ างวชิ าชีพครใู ห้สอดคลอ้ งกบั ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูและบรบิ ทวัฒนธรรมไทย อาทิ เช่น Hallinger and Kantamara (2000, 2001) ให้ความเห็นว่าวัฒนธรรมไทยโดยทั่วไปมักจะหลีกเลี่ยงความ ไม่แน่นอน (Uncertainty Avoidance) หรือคนไทยสว่ นใหญ่ไมช่ อบการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา จึงควรวิเคราะห์ความพร้อมในการยอมรับการเปล่ียนแปลงพฤติกรรมการสอนของครูในชุมชนการเรียนรู้ทาง วิชาชีพ จากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกกิจกรรมส่งเสริมชุมชนการเรียนรู้ทาง วิชาชีพให้สอดคล้องกับบริบททางวัฒนธรรมของสถานศึกษา อาทิเช่น หากครูส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมยอมรับความ เสียง (Risk Tolerance) จากความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอน ลักษณะกิจกรรมส่งเสริมชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในระยะแรกควรเน้นการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจและเตรียมครูให้พร้อมยอมรับการ เปลยี่ นแปลงทอี่ าจจะเกินข้นึ ในอนาคต

11 บรรณานุกรม วรภาคย์ ไมตรีพันธ์, วรลักษณ์ ชูกำเนิด, ปราณีต ศิริพงษ์, และพงศ์รัตน์ ธรรมชาติ, /“หนึ่งทศวรรษกับการ ขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในประเทศไทย:การทบทวนบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาผ่าน มุมมองบริบทวฒั นธรรมไทย,” /วารสารศกึ ษาศาสตร์มหาวทิ ยาลัยนเรศวร /ฉบับท2ี่ /(2564):/455. วรภาคย์ ไมตรพี ันธ์, THEORIES AND PROCESSES IN EDUCATIONAL ADMINISTRATION, หนา้ 74.

12


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook