Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 10. พงศาวดารเมืองสกลนคร ที่ระลึกปลงศพผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ วรางค์รัตน์

10. พงศาวดารเมืองสกลนคร ที่ระลึกปลงศพผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ วรางค์รัตน์

Published by wilawan phiwon, 2021-02-18 03:52:42

Description: 10. พงศาวดารเมืองสกลนคร ที่ระลึกปลงศพผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ วรางค์รัตน์

Search

Read the Text Version



พงษาวดารเมืองสกลนคร ฉะบับลายมอื อามาตย์โท พระยาประจนั ตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา) มหาวทิ ยาลัยราชภัฏสกลนคร พมิ พใ์ นงานปลงศพ ผ้ชู ว่ ยศาสตราจารยส์ รุ ตั น์ วรางค์รตั น์ ณ สุสานประตมู า้ เมอ่ื ปีชวด พระพทุ ธศักราช ๒๕๖๓ พมิ พท์ โี่ รงพิมพ์พพิ ธิ ภัณฑเ์ มืองสกลนคร

ค พงษาวดารเมอื งสกลนคร ฉะบบั ลายมอื อามาตย์โท พระยาประจนั ตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา) ผู้เรียบเรียงพมิ พ์ : นายพจนวราภรณ์ เขจรเนตร จานวนท่พี มิ พ์ : ๕๐๐ เลม่ ปีที่พมิ พ์ : พ.ศ. ๒๕๖๓ จดั พมิ พ์โดย : มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร คณะทางาน : ดร.สถิตย์ ภาคมฤค รองผู้อานวยการสถาบนั ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม นางสาวจินตนา ลินธ์ิโพธ์ศิ าล นางสาวชตุ มิ า ภูลวรรณ นางสาวเอกสดุ า ไชยวงศ์คต นายกฤษดากร บันลอื นางสาววิลาวรรณ ผวิ อ่อน นายณฐั กานต์ หลกั คา ที่ปรึกษา : ผศ.ปรีชา ธรรมวินทร อธิการบดีมหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร ผศ.นนั ทยิ า ผิวงาม รองอธกิ ารบดีฝ่ายวชิ าการ ผศ.ชาครติ ชาญชติ ปรชี า รองอธกิ ารบดฝี ่ายบริหาร ผศ.ธรี าธาร ศรมี หา รองอธิการบดฝี ่ายกิจการนกั ศกึ ษา ผศ.ดร.กาญจนา วงษส์ วสั ดิ์ รองอธกิ ารบดฝี ่ายวางแผนและประกนั คณุ ภาพ ดร.มาลี ศรีพรหม รองอธกิ ารบดีฝ่ายวจิ ยั และพันธกจิ สัมพนั ธ์ อานวยการผลติ : นายสรุ สิทธ์ิ อุย้ ปัดฌาวงศ์ ผูอ้ านวยการสถาบันภาษา ศลิ ปะและวัฒนธรรม ผศ.ดร.พุฒจกั ร สทิ ธิ รองผอู้ านวยการสถาบนั ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม นางสาววชิ ญานกาญต์ ขอนยาง รองผู้อานวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวฒั นธรรม นางนงเยาว์ จารณะ หัวหน้าสานกั งานผ้อู านวยการสถาบนั ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ภาพ : สานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศลิ ปากร ออกแบบปก : นายหัตธไชย ศริ ิสถิตย์ สงวนลิขสิทธ์ิตามกฎหมาย

อามาตยโ์ ท พระยาประจนั ตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา) ผ้สู าเร็จราชการเมืองสกลนคร/ผบู้ ันทึกต้นฉะบบั

ก รองอามาตยโ์ ท พระบรบิ าลศุภกจิ (คาสาย ศิรขิ ันธ์) กรมการพเิ ศษเมืองสกลนคร/ผูต้ รวจทานตน้ ฉะบับ



ก พระยามหาอามาตยาธบิ ดี (หรนุ่ ศรเี พญ็ ) สมหุ มหาดไทยฝา่ ยเหนือ และอภริ ัฐมนตรีสภา (สภาองคมนตรี)/ผ้ใู ห้เรยี บเรยี งต้นฉะบบั



ก คำนำ เนื่องในงานปลงศพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ วรางค์รัตน์ อดีตรองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสกลนคร กาหนดงานวัน ที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๖๓ ณ ฌาปณสถาน สุสานประตูม้า อาเภอเมือง จังหวัดลาปาง ในการน้ีมหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร มีความประสงค์จัดพิมพ์หนังสือพงษาวดาร เมืองสกลนคร ฉะบับลายมือพระยาประจันตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา) ของพิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร เพ่ือแจกเป็นอนุสรณ์ ในงานน้ี พงษาวดารเมืองสกลนคร ฉะบับลายมือ อามาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา) หรือฉะบับ วัดแจ้งแสงอรุณน้ี มีการเรียบเรียงข้ึนเม่ือปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ ตามคาส่ังของพระยามหาอามาตยาธิบดี (หรุ่น ศรีเพ็ญ) สมุหมหาดไทยฝ่ายเหนือ และอภิรัฐมนตรีสภา (สภาองคมนตรี) สมัยรัชกาลที่ ๕ ต้นฉบับบันทึกเป็นอักษรไทน้อย เขียนด้วยดินสอ ดา บนกระดาษฝรั่ง หนา้ กระดาษละ ๑๒ บรรทัด มที ัง้ หมดจานวน ๒๒ หนา้

ข ท้ังนี้ พบเนื้อหาพงษาวดารเมืองนครพนม ที่เขียนโดย อามาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา) หรือเรียกวา่ “พงษาวดารเมืองนครพนมสังเขป ฉะบับพระยาจันทร์ โง้นคา” พิมพ์รวมในประชุมพงษาวดาร ภาคท่ี ๗๐ ของหอพระ สมุดวิชรญาณ เม่ือนามาเทียบเคียงดูก็รู้ได้ว่า เป็นสานวนและเน้ือ เร่ืองเดียวกัน สาหรับพงษาวดารเมืองสกลนคร ฉะบับลายมือเล่มน้ี ปรากฏมีการเขียนเพิ่มเติมบนตัวอักษรไทน้อย ด้วยลายมือ อักษรไทยของรองอามาตยโ์ ท พระบรบิ าลศภุ กิจ (คาสาย ศิรขิ นั ธ)์ กรมการพิเศษเมืองสกลนคร ท่ีเพ่ิมเติมและตรวจสอบเน่ืองจาก ต้นฉบับไม่สมบูรณ์ มีการลงนามกากับวันท่ี ๒๘ พฤษภาคม พทุ ธศักราช ๒๔๗๓ โดยในเลม่ ยงั คงรักษารูปแบบเดิมไว้อยู่ พงษาวดารเมืองสกลนคร ฉะบับ ลายมืออามาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา) หรือฉะบับ วัดแจ้งแสงอรณุ มีเนอ้ื หาสงั เขปในช่วงต้นกล่าวถึง เหตุการณ์ความ ไ ม่ พ อ ใ จ ใ น ก า ร ต้ั ง ต า แ ห น่ ง ก า ร ป ก ค ร อ ง เ มื อ ง น ค ร พ น ม ก่อนแยกออกไปต้ังเมืองมะหาไซกองแก้ว มีการสอดแทรกลาดับ สาแหรกสายตระกูล ส่วนช่วงท้ายเร่ืองเป็นการเข้าสู่การปกครอง ของราชสานักกรุงเทพเกี่ยวกับการเข้ามาต้ังถิ่นฐานของครอบครัว เมอื งมะหาไซกองแกว้ และการต้งั เจา้ เมอื งกรมการเมอื งสกลนคร

ค พงษาวดารเมืองสกลนครฉะบับนี้เอง ยังเป็นเอกสารสาคัญ ท่ีคณะกรรมการจัดทาพงษาวดารเมืองสกลนคร เม่ือปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ นามาใช้ในการประกอบเรียบเรยี งพงษาวดารเมืองสกลนคร ตอนท่ี ๓ แยกวงศต์ ระกูลจากเมืองนครพนม ภายหลังนามาตีพิมพ์ เผยแพร่เป็นที่รู้จักในชื่อ ตานานพงษาวดารเมืองสกลนคร ฉะบับ อามาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา) ที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรัตน์ วรางค์รัตน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ วิ ท ย า ลั ย ค รู ส ก ล น ค ร น า ม า เ รี ย บ เ รี ย ง พิ ม พ์ เ ผ ย แ พ ร่ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร ขออนุโมทนาในกุศลบุญราศี ทั ก ษิ ณ า นุ ป ร ะ ท า น กิ จ ท่ี เ จ้ า ภ า พ ไ ด้ บ า เ พ็ ญ อุ ทิ ศ แ ด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรัตน์ วรางคร์ ัตน์ ตลอดจนให้พิมพ์หนังสือนี้ ออกแจกเป็นวิทยาทาน ขอกุศลท้ังน้ีจงเป็นพลวปัจจัยดลบันดาล ให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัตน์ วรางค์รัตน์ ผู้ล่วงลับ ได้ประสบ แต่อิฏฐคุณมนุญผล สมดังเจตจานง ของเจ้าภาพจงทุกประการ เทอญ. พิพธิ ภัณฑ์เมอื งสกลนคร ๓ ธนั วาคม ๒๕๖๓

ง ก ง บำนแผนก จ ๑ คานา บานแผนก ๑๕ ประวตั ิ ผชู้ ่วยศาสตราจารย์ สุรตั น์ วรางคร์ ัตน์ พงษาวดารเมืองสกลนคร ฉะบบั ลายมอื อามาตย์โท พระยาประจันตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา) บรรณานุกรม

ก ผูช้ ่วยศาสตราจารย์ สุรตั น์ วรางคร์ ตั น์ ชาตะ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒ มรณะ ๓ ธนั วาคม ๒๕๖๓ อายุ ๘๑ ปี ๑๐ เดอื น ๒ วนั

ข ชวี ิตคอื การเดินทาง ชีวติ เปรยี บดั่งการเดินทาง พบเรือ่ งราวตา่ ง ๆ และผูค้ นหลากหลาย ชีวติ ผ่านอปุ สรรคและความสาเร็จมากมาย จุดมุ่งหมายเพอ่ื ครอบครวั และเพื่อมวลชน ชีวิตมเี วลาตอ้ งส้ินสุด ต้องพกั ต้องหยุด เพราะ กาย ใจ เหนอ่ื ยลา้ ชวี ิตเม่อื ถงึ กาลเวลา การจากลาลว้ นเปน็ นจิ จงั . ดว้ ยรักและอาลยั คณุ พอ่ ผู้แสนดี จากลูกสาว



ง สุ ภาพบุรุษแก้ว วชิ าการ รัตน์ เลศิ บรรเจดิ งาน มากล้น วรำงค์ กอปลาธาร ทอ้ งถนิ่ วิทยา รัตน์ ดจุ แสงขา้ มพน้ แหง่ หว้ งปญั ญา ดร.สถิตย์ ภาคมฤค รองผอู้ านวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สกลนคร



ข ดับแล้วแสงแหง่ หลา้ สกลนคร ผ้พู บโลกหลากนคร ก่อนก้ี ศกึ ษาจวบเจนจร ทุกถ่ิน ยา่ นสกล ขอสู่ภพเลิศน้ี แผน่ ฟ้านริ ันดร์นคร ดร.สถติ ย์ ภาคมฤค สาขาวชิ าการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั ราชภัฏสกลนคร

จ ประวัติ ผู้ชว่ ยศำสตรำจำรย์ สุรตั น์ วรำงค์รัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรัตน์ วรางค์รัตน์ เกิดเมื่อวันท่ี ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๒ มีภูมิลาเนาเดิมเป็นชาวจังหวัดอุทัยธานี เป็นบุตรของนายฟ้อน หลาเจริญสุข และนางน้าค้าง หลาเจริญสุข ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรัตน์ วรางค์รัตน์ สมรสกับนางสายพิณ สนั ติวงศ์ มบี ตุ รธิดา ๓ คน ประกอบดว้ ย นายดรุ ยิ างค์ วรางค์รัตน์ นายธนทรรศน์ วรางค์รตั น์ และนางสาวปรญิ ญา วรางคร์ ตั น์ กำรศกึ ษำ พุทธศักราช ๒๔๙๓ – ๒๔๙๘ เข้าศึกษาท่ีโรงเรียนเทศบาล ๑ “วัดหลวงราชาวาส” ในระดับชั้นประถมศึกษาจนสาเร็จ การศกึ ษา พุทธศักราช ๒๔๙๘ – ๒๕๐๓ เข้าศึกษาที่โรงเรียนอุทัยเทวี เวชอุทัยธานี ในระดับช้นั มธั ยมศึกษาจนสาเร็จการศกึ ษา พุทธศักราช ๒๕๐๓ – ๒๕๐๔ เข้าศึกษาท่ีโรงเรียนฝึกหัดครู นครสวรรค์ หลกั สตู รประกาศนียบตั รวชิ าการศึกษา (ป.กศ.) ๒ ปี

ฉ พุทธศักราช ๒๕๑๓ – ๒๕๑๕ เข้าศึกษาที่วิทยาลัยครู เทพสตรี ลพบุรี หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง (ป.กศ.สงู ) พุทธศักราช ๒๕๑๗ – ๒๕๒๑ เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัย ศรนี ครนิ วิโรฒ ประสานมิตร ในระดบั ชั้นปริญญาตรี สาขาดนตรี ศึกษา และมหาวิทยาลัยศิลปากร ในระดับชั้นปริญญาโท สาขาประวตั ิศาสตรเ์ อเชียตะวนั ออกเฉียงใต้ กำรรบั รำชกำร ตาแหน่ง ครูตรี พุทธศกั ราช ๒๕๐๕ โรงเรียนเมืองใหม่ (ชลอราษฎร์) จังหวัดลพบรุ ี พทุ ธศักราช ๒๕๑๐ ตาแหน่ง ครตู รี ระดับ ๒ พทุ ธศักราช ๒๕๑๐ กรมการฝกึ หดั ครู พทุ ธศกั ราช ๒๕๑๑ ตาแหน่ง ครูตรี ระดบั ๒ วิทยาลัยครูนครราชสีมา ตาแหนง่ ครตู รี ระดับ ๒ โรงเรยี นฝกึ หดั ครูสกลนคร

ช พทุ ธศกั ราช ๒๕๑๓ ตาแหนง่ ครูตรี ระดับ ๒ พุทธศกั ราช ๒๕๑๕ วทิ ยาลยั ครูสกลนคร พทุ ธศักราช ๒๕๑๕ ตาแหนง่ ครูโท ระดับ ๑ พุทธศกั ราช ๒๕๑๘ วิทยาลัยครูสกลนคร พุทธศักราช ๒๕๒๒ ตาแหน่ง อาจารย์โท ระดับ ๑ พุทธศักราช ๒๕๒๔ วิทยาลัยครสู กลนคร พทุ ธศกั ราช ๒๕๒๗ ตาแหนง่ อาจารย์ ๑ ระดบั ๓ พุทธศักราช ๒๕๓๗ วิทยาลยั ครสู กลนคร ตาแหน่ง อาจารย์ ๑ ระดบั ๔ วิทยาลัยครสู กลนคร ตาแหน่ง อาจารย์ ๑ ระดับ ๕ วทิ ยาลยั ครูสกลนคร ตาแหนง่ อาจารย์ ๑ ระดับ ๖ วทิ ยาลยั ครูสกลนคร ตาแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ ๘ วทิ ยาลัยครสู กลนคร

ซ พทุ ธศกั ราช ๒๕๓๘ ตาแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดบั ๘ เครอ่ื งรำชอิสรยิ ำภรณ์ สถาบันราชภฏั สกลนคร พุทธศกั ราช ๒๕๑๑ พทุ ธศักราช ๒๕๑๕ เบญจมาภรณ์ชา้ งเผอื ก พุทธศักราช ๒๕๒๑ จตั ุรถาภรณ์มงกุฎไทย พุทธศกั ราช ๒๕๒๖ จัตุรถาภรณ์ชา้ งเผือก พทุ ธศกั ราช ๒๕๓๒ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย พุทธศักราช ๒๕๓๖ ตรติ าภรณช์ ้างเผอื ก พุทธศกั ราช ๒๕๔๑ ทวีตยิ าภรณ์มงกฎุ ไทย ทวตี ยิ าภรณช์ า้ งเผือก ประวตั ิกำรทำงำนทม่ี หำวิทยำลัยรำชภฏั สกลนคร พุทธศกั ราช ๒๕๑๖ – ๒๕๑๗ หวั หน้าภาควิชาประวัตศิ าสตร์ พทุ ธศกั ราช ๒๕๒๐ – ๒๕๒๕ หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ พทุ ธศักราช ๒๕๒๖ – ๒๕๓๐ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ พทุ ธศักราช ๒๕๓๑ - ๒๕๓๔ หวั หนา้ ภาควิชาประวัตศิ าสตร์ พุทธศกั ราช ๒๕๓๔ – ๒๕๔๑ ผูอ้ านวยการศูนย์ศิลปวฒั นธรรม

ฌ พุทธศักราช ๒๕๓๘ – ๒๕๔๑ ผชู้ ว่ ยอธิการ สถาบนั ราชภัฏสกลนครฝา่ ยศลิ ปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม พุทธศักราช ๒๕๔๒ – ๒๕๔๓ รองอธกิ ารบดี ฝา่ ยศลิ ปวฒั นธรรม การร่วมมือกบั องคก์ รตา่ งๆ และเกยี รติคณุ พทุ ธศกั ราช ๒๕๒๖ – ๒๕๓๐ กรรมการสมาคมสังคมศาสตร์ แห่งประเทศไทย เป็นผู้แทนสมาคมสังคมศาสตร์ประจาภาคอิสาน พทุ ธศักราช ๒๕๓๒ ได้รับประกาศเกียรติคุณ จากสมาคมผู้ส่ือข่าวหนังสือพิมพ์จังหวัดสกลนคร เป็นผู้มีผลงาน ดเี ด่น ด้านการอนุรกั ษ์สง่ิ แวดล้อมศลิ ปกรรม พุทธศักราช ๒๕๓๔ ได้รับการจัดอันดับจาก หนงั สอื พมิ พ์ไทยรัฐเป็นคนดเี ด่น ๑ ใน ๑๐ ประจาปี ๒๕๓๒ พุทธศักราช ๒๕๓๔ ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นผู้มี ผลงานดีเด่น สาขามนุษยศาสตร์ภาคอีสาน ของสานักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแหง่ ชาติ พุทธศักราช ๒๕๓๔ – ๒๕๓๕ เป็นคณะศึกษาป่าชุมชน ภ า ค ต ะ วั น อ อ ก เ ฉี ย ง เ ห นื อ ร่ ว ม กั บ ส ถ า บั น วิ จั ย แ ล ะ พั ฒ น า มหาวิทยาลัยขอนแก่น และเขียนรายงานวิจัยเร่ือง ศักยภาพใน การรักษาป่าชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยกะเลิง โซ่ ในจังหวัด สกลนคร นครพนมและมกุ ดาหาร

ญ พุทธศักราช ๒๕๓๘ – ๒๕๓๙ ได้รับเลือกตั้วเป็นประธาน สมัชชาองค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถ่ิน ในกลุ่มผู้แทน หน่วยอนรุ ักษ์สิ่งแวดลอ้ มและศลิ ปกรรมทัว่ ประเทศ พุทธศักราช ๒๕๔๒ ผู้ประสานงานการติดตาม ประเมินโครงการกองทุนเพ่ือสังคมเขตอีสานตอนบน ร่วมกับ สถาบันวจิ ยั และพฒั นา มหาวิทยาลยั ขอนแกน่ เอกสำรทำงวิชำกำรชิ้นสำคญั พุทธศักราช ๒๕๒๓ ตานานพงศาวดารเมอื งสกลนคร พุทธศกั ราช ๒๕๒๔ การศึกษาเปรียบเทียบเชิง ป ร ะ เ พ ณี วั ฒ น ธ ร ร ม ช า ว ผู้ ไ ท ย - ช า ว โ ซ่ ก ร ณี ศึ ก ษ า อาเภอพรรณานคิ ม และอาเภอกสุ ุมาลย์ จงั หวดั สกลนคร พทุ ธศักราช ๒๕๒๕ บุ ค ล า ก ร ท า ง วั ฒ น ธ ร ร ม ในทอ้ งถ่ินจังหวัดสกลนคร พุทธศักราช ๒๕๒๗ ประวัติพระธาตุเชงิ ชมุ พุทธศกั ราช ๒๕๒๘ สภาพหมู่บา้ นริมหนองหาร เลม่ ๑ พทุ ธศกั ราช ๒๕๓๐ การเปล่ียนแปลงทางเศรษฐกิจ ในชุมชนล่มุ น้าสงคราม พ.ศ. ๒๔๗๕ – ปจั จุบัน

ฎ พุทธศกั ราช ๒๕๓๔ สภาพหมู่บา้ นรมิ หนองหาร เล่ม ๒ พทุ ธศักราช ๒๕๓๔ สารานุกรมชาติพันธุ์การแพทย์ กลมุ่ ไทลาว-ไทโซ่ พุทธศกั ราช ๒๕๓๕ กะเลงิ บา้ นบวั พุทธศักราช ๒๕๓๖ กะเลิงบา้ นกุดแฮด พุทธศักราช ๒๕๓๖ รวมบทความประวัติศาสตร์ สกลนคร พุทธศกั ราช ๒๕๔๐ ร ะ บ บ ข้ อ มู ล วั ฒ น ธ ร ร ม จงั หวดั สกลนคร พทุ ธศักราช ๒๕๔๑ การท่องเที่ยวเชิงอ นุรั กษ์ จังหวัดสกลนคร พทุ ธศกั ราช ๒๕๔๒ แหล่งโบราณคดบี า้ นดอนธงชัย พุทธศกั ราช ๒๕๔๒ เรือนพักอาศยั ชาวไทยเวียดนาม บา้ นท่าแร่ สกลนคร พทุ ธศักราช ๒๕๔๓ เส้นทางหมายเลข ๙ สู่เวียดนาม ตอนกลาง

ฏ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรัตน์ วรางค์รัตน์ เป็นผู้มีอัธยาศัยดี ภายหลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ได้เดินทางกลับไปพักผ่อน ยังภูมิลาเนา ณ บ้านเลขที่ ๙๑/๒ ถนนราษฎร์บูรณะ ตาบลพิชัย อาเภอเมือง จังหวัดลาปาง ต่อมาล้มป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง ตีบตัน เม่ือวันท่ี ๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ ได้เข้าพักรักษาตัว ณ โรงพยาบาลลาปาง ครั้นเมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๑.๑๕ น. โดยประมาณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สุรัตน์ วรางค์รัตน์ ไดถ้ งึ แกก่ รรมโดยสงบ รวมอายไุ ด้ ๘๑ ปี ๑๐ เดือน ๒ วนั . พิพิธภัณฑ์เมอื งสกลนคร ๓ ธันวาคม ๒๕๖๓

๑ พงษำวดำรเมืองสกลนคร ฉะบบั ลำยมอื อำมำตย์โท พระยำประจันตประเทศธำนี (โงน้ คำ พรหมสำขำ) ณ วัน ๓ ฯ๑ ๘ ค่า จุลศักราช ๑๒๔๙ ปีกุน นพศก พณหัว เจ้าท่านสมุหมหาดไทยฝ่ายเหนือปรีวิเคาน์ซิลเลอร์ ข้าหลวงใหญ่ ซ่ึงตั้งจัดราชการ หัวเมืองลาว หัวเมืองเขมร ฝ่ายตะวันออกอยู่ ณ เมืองนครจาปาศักดมิ์ บี ัญชาโปรดเกลา้ ฯ สง่ั ขา้ พระพุทธเจ้ากรมการ เมืองสกลนครให้กีดจัดแต่งเรียบเรียงเร่ืองพงษาวดารเมือง แต่ต้ัง เมืองนครพนม ที่แยกเป็นเมืองมะหาไซ เมืองสกลนครต่อ ๆ มานั้น พระเดชคุณเป็นทลี่ น้ ...(ส่วนนชี้ ารดุ )... จาเดิมเมืองนครพนม พระบรมราชาก่านเจ้าเมืองนครพนม มีบุตรชายชื่อท้าวกู่แก้ว บุตรหญิงชื่อนางวันทอง นายคาสิง บุตรเพี้ยรามแขกได้นางวันทองเป็นผัวเมีย ท้าวกู่แก้ว อายุได้ ๑๕ ปี พระบรมราชาก่านผู้เปนบิดาเอาท้าวกู่แก้วผู้บุตรไปถวาย เปนมหาดเล็กเจ้าจาปาศักดิ์ ได้สองปีพระบรมราชา ก่าน เจ้าเมืองนครพนมก็เถิงแก่กรรม เจ้าเวียงจันทน์ตั้งนายคาสิง บุตรเขยพระบรมราชาก่านผู้เป็นผัวนางวันทองเป็นพระนคร เจ้ า เมื อ ง นคร พนม ครั้ นทร า บควา ม เถิ ง ท้า วกู่ แก้วว่า

๒ บิดาเถิงแก่กรรม พ่ีเขยเป็นเจ้าเมือง ท้าวกู่แก้วขอกาลังเจ้าจาปาศักดิ์ได้แลว้ จึงลาเจ้าจาปาศักด์ิขึ้นมาเข้าในลุเซบ้ังไฟ เที่ยวเกล้ียกล่อม เอาท้าวเพียพวกล้อมเซ กระตาก กระปอง เมืองวัง เชียงฮ่ม ผาบัง เมืองตะโปน เมืองพิน เมืองคาเกิด เมืองคาม่วน จึงพาไพร่พลตั้งขัดตาทัพอยู่ท่ีตาบล บ้านนากระแด้ง แก่งเหล็กตั้งข้ึนเป็นเมืองมหาชัยกองแก้ว พระนครคาสิงเจ้าเมือง นครพนม จึงแต่งกรมการเอาช้างสองพลาย นอสองยอด เงินสี่สิบแน่น ส่งไปขอกาลังนาเจ้าฟ้าญวนเมืองพูซุนเจ้าฟ้าญวน ให้กาลังมา ๖,๐๐๐ มารบเมืองมะหาไซ นายใช้ทูตานุทูต เมืองนครพนม จึงลาเจ้าฟ้ามาก่อนกาลังแต่ในท้องเดือนสิบสอง เถิงเดือนอ้าย กาลังเจ้าฟ้าญวนมาเถิงเมืองคาเกิดฮู้ข่าว เถิงท้าวกู่แก้ว จึงแต่งเอาช้างพลายหนึ่งนอยอดหน่ึง ไพร่ ๑๐๐ คน ไปรับกาลังญวนที่เมืองคาเกิดว่าเป็นนายใช้เมืองนครพนม กาลังญวนเชื่อฟัง จึงยกมาตีเมืองนครพนม ท้าวกู่แก้วจึงเก็บ ไพร่พล ทส่ี มัครพรรคพวก ได้ ๓,๐๐๐ รวมทั้งกาลังญวน ๙,๐๐๐ เมืองนครพนมแตกข้ามโขงลงมาอยู่ดงเซกาข้างตะวันตก พระนคร เจ้าเมืองนครพนม จึงแต่งกรมการไปเฝ้าเจ้าเวียงจันทน์ ญวนจึงทาขัวข้ามน้าโขงมาตั้งค่ายอยู่หาดทรายข้างตะวัน ตก เจ้าเวียงจันทน์จึงแต่งพญาเชียงสาคุมไพร่ ๑,๐๐๐ มารบญวน ท่ีค่าย ชนะญวนฆ่าญวนตายมากจึงได้เรียกว่า หาดแกวกอง

๓ พญาเชียงสาแม่ทัพจึงเอา ครอบครัวพระนครคาสิง เจ้าเมือง น ค ร พ น ม ข้ึ น ไ ป อ ยู่ เวี ย ง จั น ท น์ ใ ห้ ต้ั ง บ้ า น ท ร า ย เวินทราย รวมสามะโนครัว ชายหญิง ๓,๕๐๐ เป็นเมืองพระยาเชียงสา แม่ทัพจึงเกล้ียกล่อมเอาท้าวกู่แก้วเป็ นพระบรมราชากู่แก้ว ข้ึนกบั เมืองเวียงจันทนต์ ามเดมิ พร ะ บร ม ร าชา กู่แก้วมี บุตร ชา ยชื่อว่า ท้า วอุ ด ทัง ราชา ท้าวพรหมมา ท้าวศรีวิชัย ท้าวอุ่นเมือง ท้าวเลาคา ท้าวราช ท้าวแก้วมณีโชติ ท้าวพรหมบุตร รวมแปดคน บุตรหญิงชื่อว่า นางแท่งคา นางแท่งแก้วนางคาเพานางมิ่ง นางตอม นางยอด นางคาพัว นาง เบ้า นางแมะ เมาะรวมบุตรหญิง เก้ า คน พระบรมราชาก่แู ก้ว อยใู่ นราชการ ๑๒ ปี จุลศักราช ๑๑๔๐ ปีจอสัมฤทธิศก เจ้าพระวอเจ้าเมืองหนองบัวลาภู ฟ้องกรุงเทพฯ ว่า เจ้าเวียงจันทน์ขบถเอากาลังกรุงเทพฯ ขึ้นมาตีเวียงจันทน์ แตก พระบรมราชากู่แก้ว จึงพาครอบครัวไปต้ังค่ายกวนหมู ได้ห้าเดือนก็เถิงแก่กรรมท้าวพรหมาผู้บุตรจึงพาครอบครัว บ่าวไพร่ออกมาอยู่นครพนมท้าวพรหมมาได้เป็นที่พระบรมราชา พรหมมา เจ้าเมือง คิดสมรู้กับเจ้านัน ท้าวอุทธังได้เป็นอุปฮาด ท้าวศรีวิชัยได้เป็นราชวงศ์ ได้ออกไปถวายดอกไม้ทองเงิน แตจ่ ุลศกั ราช ๑๑๔๒ ปชี วดอฐั ศก

๔ พระบรมราชาพรหมมามีบุตรชายชื่อว่า ท้าวกิ่งหงสา ท้าวหมาแพง ท้าวหมาหล้า ท้าวคาสาย ท้าวพูเพ ท้าวศรี ท้าวจันทร์ ท้าววัง ท้าวปุย ท้าวขวาง ท้าวโท ท้าวทัง ท้าวขัด ตะวัน ท้าวแสง ท้าวโก รวม ๑๕ คน บุตรหญิงชื่อว่า นางเกด นางเหม็น นางสุรคันทีมัณธีนางจีก นางจอม นางแก้วปัดถา นางสุรีรางตา นางตีม นางแก้ววันดี นางชม รวมบุตรหญิง ๑๐ คน อุปฮาดอุทธังมีบุตรชายชื่อว่า ท้าวจุลนี หน่ึง บุตรหญิง ช่ือว่า นางยอด นางอินสะ รวม ๒ คนอุปฮาดอุทธังก็เถิงแก่กรรม ราชวงศ์ศรีวิชัยได้เป็ นอุปฮาด พระพรมราชาพรหมมา อยู่ในราชการ ๑๔ ปี คิดขบถเข้ากับเจ้าเวียงจันทน์ เม่ือจุลศักราช ๑๑๕๕ ปีฉลู เอกศก เจ้านันเวียงจันทน์ขบถ จึงมีหนังสือไปขอกาลังด้วยเจ้าฟ้าญวน ๆ โปรดเกล้าโปรดขม่อม ให้กองทัพขึ้นมาจับเจ้านันท์เวียงจันทน์ พระบรมราชาพรหมมา ลสมรู้ด้วยจึงต้องจับ งไปกรุงเทพฯ ต้องโทษ ลงพระอาชญาร้อยที พอดีม่านพม่าม่านมาล้อมเมืองเชียงใหม่ เจ้านันเมืองเวียงจันทน์ ขออาสาตีม่านพมา่ มาล้อมเมืองเชยี งใหม่ใหช้ นะ จงึ โปรดเกล้าโปรด ขม่อมให้เจ้านันกับพระบรมราชาพรหมาขึ้นไปรบม่านท่ีเมืองเชียงใหม่ ให้มีชัยชนะ พระบรมราชาพรหมมาขึ้นไปเถิงเมืองเถิน

๕ จึงเบ่ือผักหวานเลยเถิงแก่กรรม นายสุดตาเป็นท่ีพระศรีเชียงใหม่ สุ ด ต า เ ดิ ม เ ป็ น พ่ี เ มี ย ต น พ ร ะ บ ร ม ร า ช า พ ร ห ม า อ ยู่ รั ก ษ า เ มื อ ง ลงไปเฝ้ากรุงเทพฯ โปรดเกล้าให้เป็นพระบรมราชาสุดตาเจ้าเมือง นครพนม ท้าวอุ่นเมืองเป็นทีอ่ ุปฮาดถงึ แก่กรรมท้าวศรวี ิชยั เป็นท่อี ุปฮาดท้าวเลา คาเป็นท่ีราชวงศ์ สองคนนีเ้ ป็นบุตรพระบรมราชากแู่ ก้ว อุปฮาดศรีวิชัยไม่ยอมรับไพร่เป็นเจ้าเมืองจึงเอาอพยพครอบครัว บ่าวไพร่ลงไปกรุงเทพฯ โปรดเกล้าโปรดขม่อมให้เป็นเมือง อยู่ปากน้า ท้าวอินทิสารอินทิสารไม่ปรากฏว่าเป็นบุตรผู้ใดเป็นท่ีพระปลัด ปากน้า ท้าวจุลนี บุตรท้าวอุทธัง ท้าวก่ิงหงสา ท้าวคาสาย ทา้ ววงั ทา้ วปยุ ท้าวหมาหนา้ บุตรพระบรมราชาพรหมาไมย่ อมวา่ เชื้อไพร่ได้เป็นเจ้าเมือง จึงเอาอพยพครัวไพร่ข้ามน้าโขง ไปอยู่กวนก่กู วนงวั ตามเดมิ ห่อมซอกเซบงั้ ไฟ เม่ือจุลศักราช ๑๑๕๗ ปีเถาะ ตรีศก ท้าวจุลนี ท้าวกิ่ง หงสา ก็พาบ่าวไพร่ขัดวา่ เช้ือไพร่ได้เป็นเจ้าเมืองนครพนมไม่ยอม ข้ึ น พ ร ะ บ ร ม ร า ช า สุ ด ต า จึ ง แ ต่ ง คนข้ึ น ไ ป ข อ ก า ลั ง ด้ ว ย เจ้าอินทร์ เจ้าเวียงจันทน์ ๆ จึงแต่งเจ้าศรีฐานกับพระยา สุโพเป็นแม่ทัพมาช่วย แต่งเพี้ยขันขวาไปขอกาลังด้วย เจ้านครจาปาศักดิ์ เมืองสุวรรณภูมิ เมืองร้อยเอ็ด แลทา้ วสมพมิตร เมืองกาฬสินธุ์ มาพร้อมกันท่ีเมืองนครพนม ทางกรุงเทพ

๖ พระมหานครโปรด ให้พระยามหาอามาตย์ขึ้นมาต้ังอยู่โพคา เม่ือจลุ ศักราช ๑๑๕๘ ปีมะโรง จตั วาศก พระยาอามาตยจ์ ึงแต่งคน ขน้ึ ไปเกลี้ยกลอ่ มท้าวจลุ นี ท้าวก่งิ หงสา ๆ ไมย่ อมลงมา ค ร้ั น เ ถิ ง จุ ล ศั ก ร า ช ๑ ๑ ๕ ๙ ปี ม ะ เ ส็ ง เ บ ญ จ ศ ก กองทัพเวียงจันทน์กับเมืองนครจาปาศักด์ิ แลหัวเมืองทั้งปวงยก ข้ามแม่น้าโขงไปรบพวกท้าวจุลนี ท้าวกิ่งหงสาท่ีกวนกู่ กวนงัว แตก กองทัพจึงไปตั้งขัดตาทัพอยู่เมืองมหาชัยจับได้ท้าวหมาหล้า นางคาพัว ผัวเมีย กับนางยอดภรรยาท้าวกิ่งหงสา แต่บ่าวไพร่เมืองนครพนม สองพันเศษตกไปหัวเมืองท้ังปวงก็มากนางยอดภรรยาท้าวก่ิงหงสา นน้ั ราชวงศห์ น้าเมืองไชยบรุ เี อาเป็นภรรยา ครั้นจุลศักราช ๑๑๖๑ ปีมะแม สัปตศก ท้าวก่ิงหงสา ทา้ วคาสาย จึงยกทพั ๖,๐๐๐ มาตั้งอยู่บึงสรา้ งหาด แคมน้าโขงว่า จ ะ ร บ กั บ เ มื อ ง น ค ร พ น ม พ ร ะ ย า สุ โ พ เ วี ย ง จั น ท น์ ผู้ร้ังทัพ กับอุปฮาดอุ่นเรือน จึงพร้อมกันปรึกษาเห็นว่า นางเกดเป็นพ่ีหญิง ท้าวก่ิงหงสา นางสุรคันทีเป็นน้องสาวท้าวก่ิงหงสาจึงแต่งบุตรหลาน ผู้หญิงร้อยหน่ึง มีขันธูปเทียนดอกไม้เอาไปปฏิสันถาร ท้าวก่ิง ท้าวคาสาย ก็ดีใจเห็นพ่ีสาวกับน้องสาว ท้าวกิ่ง ท้าวคาสายว่า ไม่ยอมขึ้นกับเมืองนครพนมจะขึ้นกับเจ้าเวียงจันทน์ พระยาสุโพกับอุปฮาดอุ่นเมือง จึงข้ามน้าโขงไปอยู่ที่วัดธาตุ

๗ เมืองนครเก่าจึงเอาท้าวกิ่งหงสา ท้าวคาสาย มารับน้าสาบาน ตวั แล้วก็พร้อมเลิกทพั กลบั เมอื ง จุลศักราช ๑๑๖๒ ปีวอก อัฐศก ท้าวจุลนี ท้าวก่ิงหงสา ท้าวคาสาย ท้าวน้อย พร้อมกันข้ึนไปเฝ้าเจ้า เวียงจันทน์ จึงให้ ท้าวจุลนีเป็นที่พระพรหมอาสาเจ้าเมืองมะหาไซกองแก้ว ท้าวก่ิง หงสาเป็นอุปฮาดพระนาคี ท้าวคาสายเป็นราชวงศ์ ท้าวน้อย บุตรพระพรหมอาสาเป็นราชบุตร ข้ึนกับเมืองเวียงจันทน์คร่ึง ขึน้ กบั เจา้ ญวนครง่ึ พระพรหมเจ้าเมืองมะหาไซกองแก้ว มีบุตรชาย ท้าวโถง ท้าวคา ท้าวเหม็น ท้าวเหง้า ท้าวเสือ ท้าวเสา ท้าวแถว ท้าวละ ท้าวนากท้าวหล้า รวม ๑๑ คน บุตรหญิง นางไผ่ นางสิง นางสุย นางบงึ นางตูด นางลนุ รวม ๖ คน พระนาคี อุปฮาดก่ิง มีบุตรชาย ท้าวคา ท้าวอิน ท้าวเกด ท้าวสิง ท้าวเมืองแก้ว ท้าวสอน ท้าวเขียว ท้าวจัน รวม ๘ คน บุตรหญิง นางตุย นางพอง นางลุน นางหมา นางน้อย นางกอง นางดอกแก้ว รวม ๗ คน พระนาคีอุปฮาดกิ่ง ได้อยู่ในราชการ สิบปีก็เถิงแก่กรรม เจ้าเวียงจันทน์ตั้งราชวงศ์คาสาย เป็นอุปฮาด ติเจา ท้าวก่า บุตรอุปฮาดพระนาคี เป็นราชวงศ์ อุปฮาดติเจา มีบุตรชาย ท้าวโก ท้าวเอ็น ท้าวปิด ท้าวเกด ท้าวตุง ท้าวคา

๘ ท้าวสอน ท้าวลาดคนน้ีมารดาเกี่ยววงศ์โคตรวิชัย ท้าวหมูคนน้ีมารดาเกี่ยววงศ์ ศิริขันธ์ ท้าวอุ่นหล้า รวม ๙ คน ๑๐ คน บุตรหญิง นางนาง นางจวง นางหมุด นางหมา นางสัน นางสี นางเขียว นางลาว นางน้อย รวมเก้าคน พระพรหมอาสาเจ้าเมืองมะหาไซ อยู่ในราชการได้ ๒๙ ปี เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ก็ขบถต่อกรุงเทพ พระมหานคร เมื่อจุลศักราช ๑๑๘๙ ปีกุน นพศก กองทัพกรุงเทพฯ ยกข้ึนมาตเี วยี งจันทน์ ต่อเถิงปีชวด สัมฤทธิศก ศักราช ๑๑๙ เจ้าอนุเวียงจันทน์ แตกข้ึนไปเมืองมะหาไซกองแก้วเลยขึ้นไปเมืองญวน กลับลงมา ทางเมืองพวน เจ้าน้อยเมืองพวนจึงได้จับเจ้าอนุเวียงจันทน์ สง่ ให้แม่ทัพกรุงเทพฯ เมื่อ ณ ปีมะเมีย ฉศก ศักราช ๑๑๙๖ ปี กองทัพกรุงเทพฯ ยกขึ้นไปตั้งเกลี้ยกล่อมเอาเมืองมะหาไซพระพรหมอาสาเจ้าเมือง มะหาไซกองแกว้ แตกหนีขน้ึ ไปเถิงเมอื งญวนกเ็ ลยเถิงแกก่ รรมเสยี คร้ันปีมะแม สัปตศก ศักราช ๑๑๙๗ อุปฮาดติเจา พ า เ อ า ค ร อ บ ค รั ว บ่ า ว ไ พ ร่ อ อ ก ม า สู่ พ ร ะ บ ร ม โ พ ธิ ส ม ภ า ร ต้ังอย่เู มอื งสกลนครเดียวนี้

๙ ถึง ณ ปีระกา นพศก ศักราช ๑๑๙๙ อุปฮาดติเจาคาสาย ก็เถงิ แกก่ รรม ถึง ณ ปีจอ สัมฤทธิศก ศักราช ๑๒๐๐ ปี ราชวงศ์คา ลงไปเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรุงเทพฯ จึงโปรดเกล้าโปรด ก ร ะ ห ม่ อ ม ใ ห้ ร า ช ว ง ศ์ ค า เ ป็ น ท่ี พ ร ะ ย า ป ร ะ เ ท ศ ธ า นี เจ้าเมืองสกลนคร โปรดให้ราชวงศ์ เมืองกาฬสินธุ์ ที่รักษา เมืองสกลนครอยู่แต่เก่าเป็นท่ีอุปฮาด โปรดให้ท้าวอินบุตรอุปฮาด นาคีเมืองมะหาไซคนเก่าเป็นราชวงศ์ โปรดให้ราชบุตร เมอื งกาฬสินธเุ์ ป็นราชบุตรเมอื งสกลนคร พระยาประจันตประเทศธานี มีบุตรชาย ท้าวชัย ท้าวพอง ท้าวสินลา ท้าวไค ท้าวทับ ท้าวรัง ท้าวแต รวม ๗ คน บุตรหญิง นางแพง นางหมุน นางนินทา นางบัวคา นางก่อ รวม ๕ คน อุปฮาดมีบุตรชาย ท้าวโคตร ท้านสีน ท้าวพิมพา ท้าวแสง ท้าวคาน ท้าวพู ท้าวโส รวม ๗ คน บุตรหญิง นางตอ้ื นางแท่ง นางทองแดง นางกัณหา รวม ๕ คน รางวงศ์อินมีบุตรชาย ท้าวเหม็นโง่นคา ท้าวขี ท้าวเมฆ ท้าวสงกา ท้าวตูบ ท้าวเลา ท้าวเสา ท้าวคาจัน ท้าวซาย

๑๐ รวม ๙ คน บุตรหญิง นางอุ่น นางบัวรพัน นางหมี นางพู นางหมู นางเขียด นางแกว นางปอง นางสุภา นางเฟือง นางเหลือง นางจันทร์แดง รวม ๑๓ คน ราชบุตรรับราชการ ได้สามปีก็ถึงแก่กรรม เมือ่ ปีชวด โทศก ศักราช ๑๒๑๒ ปี ทา้ วขตั ตยิ ะบตุ รใครไมท่ ราบ เป็นราชบุตร ได้ห้าปกี ็เถิงแก่กรรม เม่ือปีมะโรง เบญจศก จุลศักราช ๑๒๐๖ ท้าวอินทิสาร ได้เป็นที่ราชบุตร อุปฮาดรับราชการได้ ๑๓ ปี ก็เถิงแก่กรรม เม่ือปีจอ โทศก จุลศักราช ๑๒๑๒ ท้าวโถงเป็นท่ี พระอุปฮาด ท้าวเหม็นเป็นราชบุตร สองคนน้ีเป็นบุตรพระพรหม เจ้าเมืองมะหาไซกองแก้ว แต่ราชบุตรอินทิสารกลับคืนไปอยู่ กาฬสนิ ธุ์ พระอุปฮาดโถงมีบุตรชาย ท้าวลาด ท้าวมุม ท้าวจุม ทา้ วจี ท้าวอิน ทา้ วคา ทา้ วชยั ทา้ วพรหม ท้าวเส้น ท้าวสา รวม สิบคน บุตรหญิง นางจวง นางจันทร์ นางวัน นางปอง นางหมู นางยัน นางมาก นางมิ่ง นางดุม นางแอก นางอ่อน นางสัน รวม ๑๒ คน

๑๑ ราชวงศ์อินรับราชการได้ ๒๑ ปี ก็เถิงแก่กรรม เมอ่ื จลุ ศกั ราช ๑๒๒๐ ปมี ะเมีย สมั ฤทธศิ ก เมื่อจุลศักราช ๑๒๒๕ ปีกุน เบญจศก โปรดเกล้า โ ป ร ด ก ร ะ ห ม่ อ ม ใ ห้ ร า ช บุ ต ร เ ห ม็ น เ ป็ น ที่ พ ร ะ ภู ว ด ล บ ริ รั ก ษ์ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมบ้านโพหวาเป็นเมืองภูวดลสะอาง ท้าวเกดบุตรอุปฮาดติเจาเป็นอุปฮาด ท้าวชัยบุตรพระยาประเทศ ธานีเปน็ ราชวงศ์ ท้าวเมฆ บตุ รพระภูวดลบริรกั ษ์เป็นราชบุตร เมื่อจุลศักราช ๑๒๒๙ ปีเถาะนพศก โปรดเกล้า โปรดกระหม่อมให้ท้าวปิด บุตรอุปฮาดติเจา เป็นราชวงศ์ ท้าวลาดบุตรอุปฮาดโถงเป็นราชบตุ รเมอื งสกลนคร เถิงเม่ือ จุลศักราช ๑๒๓๔ ปีวอก จัตวาศก โปรดเกล้า โ ป ร ด ก ร ะ ห ม่ อ ม ตั้ ง ท้ า ว เ ห ม็ น โ ง่นค า บุ ต ร ร า ช ว ง ศ์ อิ น เ ป็ น พระศรีสกุลวงศ์ผู้ช่วยพระยาประเทศธานีเจ้าเมืองสกลนคร รับราชการได้ ๓๙ ปี อายุได้ ๘๖ ปี ก็เถงิ แกก่ รรม เมื่อจุลศักราช ๑๒๓๘ ปีชวด อัฐศก อุปฮาดโถง ราชบุตร ลาดก็เถงิ แก่กรรมในปนี ้นั เจา้ คุณพระยามหาอามาตย์ซ่ึงเป็นแม่ทัพอยู่เมืองหนองคาย โปรดว่าท่ีราชวงศ์ปิดว่าท่ีอุปฮาดพระศรีสกุลวงศ์ผู้ช่วยเหม็น

๑๒ ว่าที่ราชวงศ์ ท้าวจูมบุตรอุปฮาดโถงว่าที่ราชบุตร ท้าวฟอง บุตรพระยาประเทศธานีว่าท่ีพระศรีสกุลวงศ์ผู้ช่วย ท้าวนาค บุตรพระพรหมอาสาเจ้าเมืองมะหาไซเป็นว่าท่ีพระพฤฒิมนตรี ผชู้ ว่ ย คร้ันเมื่อจุลศักราช ๑๒๓๙ ปีฉลู นพศก โปรดเกล้าโปรด ก ร ะ ห ม่ อ ม ตั้ ง พ ร ะ ศ รี ส กุ ล ว ง ศ์ ผู้ ช่ ว ย เ ห ม็ น โง่นคาผู้ ว่า ที่ ร าช วงศ์ เป็นพระอุปฮาด ท้าวพวงผู้ว่าที่พร ะศรีสกุลวงศ์ผู้ช่วย เป็นราชวงศ์ ครั้นเถิงจุลศักราช ๑๒๔๐ ปีขาล สัมฤทธิศก โปรดเกล้า โปรดกระหม่อมตั้งราชวงศ์ปิดผู้ว่าท่ีพระอุปฮาดเป็ น พระยาประจันตประเทศธานี ทา้ วจมู เป็นราชบุตร ทา้ วหอม บตุ ร ทา้ วกระแสเป็นทีพ่ ระศรสี กลุ วงศ์ผูช้ ่วย พระยาประจันตประเทศธานีปิด มีบุตรชาย ท้าวแสง ท้าวเพา ท้าวฮดท้าวเลาคาท้าวจูม ท้าวเกด ท้าวสีม ท้าวนา รวม ๗ คน บุตรหญิง นางเหม็น นางผิว นางทองคา นางน้อย นางเขม็ นางสอน รวม ๖ คน พระอุปฮาดเหม็น มีบุตรชาย ท้าวพังคี ท้าวอรดี ท้าวนรกา ท้าวสิง ท้าวสัง ท้าวเส ท้าวโท รวม ๗ คน

๑๓ บตุ รหญิง นางหน่อแก้ว นางจันทโครพ นางหยด นางคาย นาง อวน นางโส นางใส รวม ๗ คน ราชวงศ์พองมีบุตรชาย ท้าวสุวรรณดี ท้าวอนิ ทรี ท้าวแตง อ่อน รวม ๓ คน บุตรหญงิ นางคาบด นางคาตัน นางสดี า นาง แทน รวม ๔ คน ราชบุตรจูมมีบุตรชาย ท้าวขี ท้าวอินทอง ท้าวชาลี ทา้ วคามี ท้าวโคตร รวม ๔ คน บุตรหญิงนางกดซาหนึ่ง พระยาประจันตประเทศธานีรับราชการได้ ๗ ปี กเ็ ถงิ แกก่ รรม เมอ่ื จุลศักราช ๑๒๔๗ ปีวอก ฉศก ครั้งเถิงเมื่อ จุลศักราช ๑๒๔๘ พณหัวเจ้าท่านสมุหมหาด ไทยฝ่ายเหนือปริวิเคาน์ซิลลอร์ ข้าหลวงใหญ่ ซึ่งจัดราชการ อยู่เมืองนครจาปาศักดิ์ โปรดว่าท่ีอุปฮาดเหม็นว่าที่ พระยาประจันตประเทศธานี ราชวงศ์พองว่าที่อุปฮาด ราชบุตรจูมว่าท่ีราชวงศ์ ท้าวเมฆ บุตรราชวงศ์อินว่าที่ราชบุตร ท้าวแสงบุตรพระยาประจันตประเทศธานีว่าที่พระพฤฒิมนตรี ค ร้ั น เ ถิ ง ปี กุ น น พ ศ ก โ ป ร ด เ ก ล้ า โ ป ร ด ข ม่ อ ม ต้ังพระอุปฮาดเหม็นเป็นพระยาประจันตประเทศธานี เจ้าเมือง สกลนครเดียวนี้ ข้าพระพุทธเจ้า และกรมการเมืองสกลนคร

๑๔ ได้พร้อมเรียบเรียงพงศาวดารเดิมเปนเมืองสกลนครแยกออกจาก เมืองนครพนม ตามปู่ย่าตายายเล่าสืบต่อๆ มาดังน้ี จะเทจ็ จรงิ ประการใด ควรมิควรสดุ แต่จะโปรดฯ. ไดต้ รวจแล้ว แต่ท่ีเรียบเรียงลงสมุดนี้ ละเอียดดี มีช่ือบุตรเจ้านายติดต่อ พงศ์พันธ์ุกันดีแต่ยังไม่ได้สอบพุทธศักราชปีท่ีมีเหตุผลเกิดขึ้น จะตรงกันหรือไม่ ส่วนใดบกพร่องในสมุดน้ีก็ได้เติมต่อลงไว้แล้ว ในตอนต้นท่ีราชบุตรเมืองระแหงยกพหุยาตรา มาสร้างเมือง มรุกขนคร สมมุติตนเปนพระยาขัตติยวงศาราชบุตรา ฯลฯ ศรีโคตรบูรณ์หลวงเป็นเมืองออกแก่เวียงจันทน์ ต้ังให้เจ้าเอวก่าน เปนเจ้าเมืองมีนามว่า พระบรมราชาก่าน ๆ มีบุตรหญิงชื่อว่า วันทอง น้องชายช่ือว่า กู่แก้ว ตอนต้นยังขาดอยู่ ตอนปลาย ต่อจากเจ้าคุณจันทร์เจ้าเมืองมาแล้ว มีใครเปนเจ้าเมืองต่อไป ยงั ไมม่ ีควรเรียบเรยี งไว้ บริบาล ๒๘/๕/๗๓

๑๕ บรรณานุกรม หนังสอื และบทความในหนงั สือ เกรยี งไกร ปรญิ ญาพล. (๒๕๕๘). พงศาวดารเมอื งสกลนคร : ฉะบับ รองอามาตย์โท พระบริบาลศภุ กิจ (คาสาย ศริ ิขันธ)์ . สกลนคร : โรงพิมพ์สกลนครการพมิ พ์. พจนวราภรณ์ เขจรเนตร. (๒๕๖๑). พงศาวดารเมืองสกลนคร : ฉะบับอามาตย์โท พระยาประจนั ตประเทศธานี (โงน้ คา พรหมสาขา). สกลนคร : สมศักดก์ิ ารพมิ พ์. สุรัตน์ วรางคร์ ัตน.์ บรรณาธิการ. ตานานพงศาวดารเมอื งสกลนคร : ฉะบับอามาตยโ์ ท พระยาประจนั ตประเทศธานี (โง้นคา พรหมสาขา ณ สกลนคร). สกลนคร : สกลนครการพิมพ์, ๒๕๒๓.

๑๖ ----------------------------- โรงพมิ พ์พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร งานวิชาการและวิจัย สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เลขที่ ๖๘๐ หมทู่ ี่ ๑๑ ถนนนิตโย ตาบลธาตุเชงิ ชุม อาเภอเมอื งสกลนคร จงั หวดั สกลนคร โทร. ๐ ๔๒๗๔ ๔๐๐๙