ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 7. ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจ ก่อน - หลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด กิจกรรมการพยาบาล (ก่อนการสวนหัวใจและหลอดเลือด) 4. ให้คำแนะนำการเตรียมตัวเพื่อเข้ารับการสวนหัวใจและหลอดเลือด โดย 4.1 ดูแลการพักผ่อน และให้ยา lorazepam (1) 1 tab ๏ hs และประเมินการนอนหลับของผู้ป่วย 4.2 NPO เว้นยา AMN 4.3 ตอนเช้าเจาะเลือดส่งตรวจ CBC, BUN, Cr, electrolyte, coagulation 4.4 ให้ 0.9 % NSS 1000 ml v 40 ml/hr at 08.00 น. 4.5 แจ้งผู้ป่วยไม่นำของมีค่า ฟันปลอม ไม่สวมแว่น ไม่สวมรองเท้า ของมีค่า 4.6 นัดครอบครัวผู้ป่วย ตอนเช้า ก่อนทำ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 7. ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจ ก่อน - หลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด กิจกรรมการพยาบาล (ก่อนการสวนหัวใจและหลอดเลือด) 5. ประเมินความเข้าใจผู้ป่วยและญาติอีกครั้งพร้อมให้กำลังใจผู้ป่วย 6. หยุดยา enoxaparin 12 hr ก่อนสวนหัวใจและหลอดเลือด 7. ประเมินสัญญาณชีพก่อนส่งผู้ป่วยทำการสวนหัวใจและหลอดเลือด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 7. ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจ ก่อน - หลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด กิจกรรมการพยาบาล (หลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด) 1. ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัว ดังนี้ 1.1 จัดให้นอนหงายราบ ห้ามยกศีรษะ ห้ามงอขาข้างที่ใส่สายสวนหัวใจโดยใช้อุปกรณ์ช่วยดามขา cath leg และมีการนำหมอนทรายทับแผลไว้เป็นเวลา 6 - 12 ชั่วโมง 1.2 ไม่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนสามารถรับประทานอาหารได้ในท่านอน เฝ้าระวังการสำลัก จนกว่าจะนำที่ล็อกขาขวาออก จึงจะสามารถลุกนั่งรับประทานอาหารได้ตามปกติ 1.3 ผู้ป่วยต้องทำกิจกรรมบนเตียงจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้น และจะเปิดทำแผลพร้อมประเมินแผล ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ ช่วง 3 วันแรก แนะนำให้ผู้ป่วยลุกเดินลงจากเตียงเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 7. ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจ ก่อน - หลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด กิจกรรมการพยาบาล (หลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด) 1.4 ถ้ามีอาการปวดให้แจ้งต่อพยาบาลทราบ เพื่อรายงานแพทย์ให้ยาลดอาการปวด และประคบเย็น ภายใน 24 ชั่วโมงแรก 1.5 ให้ 0.9 % NSS 1000 ml v 40 ml/ hr 1.6 record V/S ทุก 2-4 ชั่วโมงและประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ได้แก่ ภาวะเลือดออก ภาวะเลือดคั่งใต้ผิวหนัง ไม่มีเจ็บแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย 1.7 หลีกเลี่ยงไอ จามแรง ๆ หรือเบ่ง เพราะอาจทำให้เลือดออกจากแผลบริเวณขาหนีบได้ 1.8 ถ้ารู้สึกอุ่น ๆ บริเวณขาหนีบอาจเกิดจากมีเลือดออกจากแผลให้รีบแจ้งพยาบาลทราบทันที
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 7. ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจ ก่อน - หลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด กิจกรรมการพยาบาล (หลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด) 2. record I/O ทุก 8 ชั่วโมง ติดตามการขับถ่ายปัสสาวะ หากผู้ป่วยปัสสาวะ ไม่ออกภายใน 6 ชั่วโมง ให้สวนปัสสาวะทิ้ง (urinary catherterzation) 3. ดูแลการพักผ่อน และให้ยา lorazepam (1) 1 tab ๏ hs 4. ติดตามค่า serum cr และ eGFR ตามเพื่อติดตามการทำงานของไต ภายหลังการสวนหัวใจ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 8. ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด ข้อมูลสนับสนุน 1. ผู้ป่วยหลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด 2. มีแผลบริเวณขาหนีบข้างขวา วัตถุประสงค์ 1. ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 8. ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด เกณฑ์การประเมินผล 1. ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ภาวะเลือดคั่งใต้ผิวหนัง ภาวะเลือดออก ปัสสาวะค้าง เจ็บแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ปวด บวมบริเวณแผล ภาวะน้ำเกิน 2. V/S T= 36.5 - 37.4 C ,HR= 60 - 100 bpm, RR=12 - 20 bpm , BP=90/60 - 130/80 mmHg 3. ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ มีการยกตัวของคลื่นไฟฟ้าหัวใจเกิดขึ้น (ST elevation) เกิดขึ้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 8. ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด กิจกรรมการพยาบาล 1. ประเมินสัญญาณชีพทุก 2 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่ และต่อเนื่องทุก 4 ชั่วโมง ประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจและติดคลื่นไฟฟ้าหัวใจติดตัวผู้ป่วยใน 24 ชั่วโมงแรก 2. ประเมินภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้แก่ ภาวะเลือดออก ภาวะเลือดคั่งใต้ผิวหนัง บวม ปวด 3. ประเมินการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย 4. ประเมินภาวะไตทำงานผิดปกติ ได้แก่ อ่อนเพลีย บวมตามร่างกาย ปัสสาวะปริมาณลดลง 5. ให้ 0.9 % NSS 1000 ml v 40 ml/hr และกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 1,000 - 1,500 ml
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 8. ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด กิจกรรมการพยาบาล (ต่อ) 6. ประเมินระดับ pain score ถ้ามีอาการปวดให้รายงานแพทย์ทราบเพื่อให้ยาลดอาการปวด ได้แก่ มอร์ฟีน (morphine) 7. ดูแลให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่าง ๆ บนเตียง เพื่อป้องกันแผลมีเลือดออก บวม เกิดก้อนเลือด 8. หลีกเลี่ยงไอ จามแรง ๆ หรือเบ่ง เพราะอาจทำให้เลือดออกจากแผลบริเวณขาหนีบได้ 9. ถ้ารู้สึกอุ่น ๆ บริเวณขาหนีบอาจเกิดจากมีเลือดออกจากแผลให้รีบแจ้งพยาบาล ทราบทันที
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 8. ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการสวนหัวใจและหลอดเลือด กิจกรรมการพยาบาล (ต่อ) 10. นำหมอนทรายออกหลังจากนั้น 2 ชั่วโมง และนำที่ดามขาออก หลัง 4 ชั่วโมง 11. ประเมินปริมาณสารน้ำเข้า - ออก 24 ชั่วโมง ติดตามปัสสาวะ หากผู้ป่วยไม่ปัสสาวะออกภายใน 6 ชั่วโมงหลังการสวนหัวใจให้สวนปัสสาวะทิ้ง 12. ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร ยา ดูแลความสุขสบายและช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 9. ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ข้อมูลสนับสนุน 1. ผู้ป่วยและญาติซักถามวิธีการปฏิบัติตัวหลังกลับบ้าน 2. สีหน้าวิตกกังวล 3. ผู้ป่วยขาดการออกกำลังกายและชอบรับประทานอาหารรสหวาน เค็ม ของทอด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 9. ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน วัตถุประสงค์ 1. ผู้ป่วยและญาติมีความรู้ในการดูแลตนเอง เกณฑ์การประเมินผล 1. ผู้ป่วยบอกวิธีการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านได้ถูกต้อง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 9. ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน กิจกรรมการพยาบาล 1. พูดคุยซักถามเพื่อประเมินความรู้และการรับรู้ของผู้ป่วยและญาติ 2.พูดคุย ประเมินแบบแผนกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย 3.ให้ความรู้และคำแนะนำ ดังนี้ การดูแลแผล อาหาร การออกกำลังกาย อาการที่ต้องมาพบแพทย์ ก่อนนัด การรับประทานยา การจัดสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ บ้าน การมาตรวจตามนัด 4. สนับสนุนให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยในการเปลี่ยนพฤติกรรมและเน้นให้ญาติมีส่วนร่วม ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย
Thanlikstyeonuinfogr! Don't hesitate to ask any questions!
Search