Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานวิจัยนโยบาย_ลัดหลวง (1)

รายงานวิจัยนโยบาย_ลัดหลวง (1)

Published by ต้องตา รตา เต็งรัง, 2022-11-10 09:12:15

Description: รายงานวิจัยนโยบาย_ลัดหลวง (1)

Search

Read the Text Version

รายงานการวจิ ยั การพฒั นาขอ้ เสนอเชิงนโยบายในการจัดการเรยี นร้ชู ีวิตวิถใี หมใ่ นสถานการณโ์ ควดิ -19 กลมุ่ โรงเรยี นลดั หลวง สำนักงานเขตพน้ื ท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษาสมทุ รปราการเขต 1 โดย คณะวิจยั กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง สำนักงานเขตพืน้ ท่ีการศกึ ษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้ืนฐาน กระทรวงศกึ ษาธิการ

รายงานการวจิ ัย การพัฒนาขอ้ เสนอเชิงนโยบายในการจัดการเรียนรชู้ ีวิตวิถีใหมใ่ นสถานการณ์โควิด-19 กลมุ่ โรงเรียนลัดหลวง สำนกั งานเขตพ้ืนท่ีการศกึ ษาประถมศกึ ษาสมุทรปราการเขต 1 โดย คณะวจิ ยั กล่มุ โรงเรยี นลัดหลวง 1. นางสาววิไลลักษณ์ ภ่กู รดุ รองผอู้ ำนวยการโรงเรียนบา้ นบางจาก ประธานคณะทำงาน 2. นางสาวขัตติยา เขง่ เงนิ ครชู ำนาญการโรงเรยี นวดั ชมนมิ ติ ร รองประธานคณะทำงาน 3. นางสาวนาตยา มนั่ วงศ์ ครโู รงเรียนวัดครใุ น (ปตี ะนลี านนทศึกษา)คณะทำงาน 4. นางสาวไพริน เท่าสิงห์ ครูโรงเรียนวดั ครุนอก คณะทำงาน 5. นางสาวสนุ ิสา สขุ สุทธ์ิ ครูโรงเรยี นอนบุ าลสขุ สวัสด์ิ คณะทำงานและเลขานกุ าร 6. นางสาวประภาพร จำเริญ ครูโรงเรียนบ้านบางจาก คณะทำงานและผ้ชู ่วยเลขานุการ สำนักงานเขตพ้ืนทกี่ ารศกึ ษาประถมศึกษาสมทุ รปราการ เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขน้ั พื้นฐาน กระทรวงศึกษาธกิ าร

ก กติ ตกิ รรมประกาศ งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด- 19กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ฉบับนี้สำเร็จได้ ด้วยดี ขอกราบขอบพระคุณ นายตรี ศตสังวัตสร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านบางจาก นายทองหนัก สิริมาตร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลสุขสวัสด์ิ และนางต้องตา เต็งรัง ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 ที่ได้ให้ความรู้ คำแนะนำตรวจทาน และแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความ เอาใจใส่ทุกขั้นตอน เพื่อให้งานวิจัยฉบับนี้สมบูรณ์ที่สุด พร้อมทั้งขอกราบขอบพระคุณผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจ การสัมภาษณ์ และการสนทนา กลุ่ม ในการทำงานวจิ ยั ในครั้งนี้ คณะผวู้ จิ ยั ใคร่ขอกราบขอบพระคณุ เป็นอยา่ สูง ไว้ ณ โอกาส นี้ คณะผู้วจิ ัยกลมุ่ โรงเรยี นลดั หลวง

ข บทคัดย่อ การวจิ ัยคร้ังนีก้ ารวจิ ยั ใช้วิธีแบบผสมผสาน (mixed methods research) เชงิ ปรมิ าณ (quantitative methods) และการวิจัยเชงิ คณุ ภาพ (qualitative methods)ซ่ึงมีวตั ถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการ จัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ในสถานการณ์โควิด – 19 (2)เพื่อศึกษาความต้องการและข้อเสนอแนะในการ สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ในสถานการณ์ โควิด – 19 (3) เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการ จัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด – 19 การวิจัยศึกษาจากแบบสำรวจ และแบบสอบถาม จาก ผู้บริหาร คณะครู ผู้ปกครอง และนักเรียนของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนลัดหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 กลุ่มเป้าหมายมี 4 กลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ ผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนลัดหลวง จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 7 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน และ รักษาการแทนผู้อำนวยการ 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 90 คน นักเรียน จำนวน 425 คน และผู้ปกครอง จำนวน 289 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสำรวจ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) แบบสัมภาษณ์และสังเกตแบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลบรรยายเชิงคุณภาพ (content analysis) ผลการวิจยั พบว่า ตอนที่ 1 ผลการศึกษาสภาพและปัญหาจัดการเรียนรู้ของครู นักเรียน ผู้ปกครอง ในสถานการณ์ โค วิด-19ซึ่งมีผลการศึกษาสภาพและปัญหาจัดการเรียนรู้ของครู นักเรียน ผู้ปกครองในสถานการณ์โควิด-19 อยู่ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.17) โดยครู นักเรียน และผู้ปกครองมีสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้อยู่ ในระดับปานกลาง 4 รายการ เนื่องจากมีความพร้อมเรื่องค่าอินเตอร์เน็ตและค่าบริการโทรศัพท์ (ค่าเฉลี่ย 3.05) มีความพร้อมเรื่องอุปกรณ์ในการเรียนออนไลน์ (ค่าเฉลี่ย3.10) มีความรับผิดชอบในการเรียน (ค่าเฉลี่ย 3.32) มีความพร้อมในการมารับเอกสารการเรียน (ค่าเฉลี่ย3.59) มีสภาพและปัญหาจัดการเรียนรู้ของครู นักเรียน ผู้ปกครองในสถานการณ์ โควิด-19 อยู่ในระดับน้อย 1 รายการ จากมีความพร้อมเรื่องเครื่องรับ สญั ญาณโทรทัศน์ชอ่ ง DLTV (ค่าเฉล่ยี 2.79) ตอนที่ 2 ผลการศึกษาความต้องการของผู้บริหาร ครู ผู้เรียน และผู้ปกครอง ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ในด้านต่อไปน้ี ซึ่งมีผลการศึกษาความต้องการของครู นักเรียน และผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้สำหรับชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.90) โดยครู นักเรียน และผู้ปกครองมีความต้องการในการจัดการเรียนรู้สำหรับชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โค วดิ -19 อยูใ่ นระดบั ปานกลาง 3 รายการ คือ ต้องการการสนบั สนนุ เรื่องอุปกรณ์สำหรับเรยี นออนไลน์ (คา่ เฉล่ีย 3.84) ต้องการการสนับสนุนเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ต (ค่าเฉลี่ย 3.89) ต้องการการสนับสนุนเรื่องค่าบริการ อินเตอรเ์ นต็ (คา่ เฉลี่ย 3.98)

ค ตอนที่ 3 ผลการศึกษาความต้องการของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในการจัดการเรียนรู้ สำหรับชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งมีผลการศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของครู นักเรียน และผู้ปกครองในการจัดการเรียนรู้สำหรับชีวิตวิถีใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19 มีข้อเสนอแนะในระดับปาน กลาง 3 รายการ คือ ให้โรงเรียนหาแหล่งทุนสนับสนุนเครื่องรับโทรทัศน์ (ค่าเฉลี่ย 3.51) ใช้การเรียน แบบเอกสาร แทน การเรียนแบบออนไลน์ (ค่าเฉลี่ย 3.62) ให้ครูกระตุ้น เสริมแรง และติดตามอย่างสม่ำเสมอ (ค่าเฉลี่ย 3.93) และมีข้อเสนอแนะในระดับน้อย 1 รายการ คือ ให้โรงเรียนหาแหล่งทุนสนับสนุนอุปกรณ์และ ระบบออนไลน์ (คา่ เฉลย่ี 2.93) ตอนที่ 4 ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการเรียนรู้สำหรับชีวิตวิถีใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่ม โรงเรียนลัดหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 มีรายละเอียดดังนี้ 1) การ สื่อสารนโยบาย นโยบายในการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ควรมีความชัดเจนในข้อ ปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการปฏิบัติเป็นไปในแนวทางเดียวกัน 2) การพัฒนาหลักสูตรที่ส่งเสริม การเรียนรู้วิถีใหม่ มีการปรับหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่น ชัดเจนของหลักสูตร ตัวชี้วัดต่างๆ เพื่อให้ครูมีแนว ทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรที่กำหนด 3) การสนับสนุนอุปกรณ์ที่นักเรียนเข้าถึงการเรียนรู้ได้สะดวก จดั สรรอุปกรณท์ ่ใี ชใ้ นการเรียนออนไลนข์ องนักเรียน เช่น โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เพ่ือใหเ้ ขา้ ถึงนักเรียนทุกกลุ่ม เพราะนักเรยี นกลมุ่ โรงเรียนลดั หลวง ส่วนใหญข่ าดแคลนอุปกรณ์ ผู้ปกครองตอ้ งนำโทรศัพท์ไปทำงาน นักเรยี น จะได้เรียนหลังจากที่ผู้ปกครองกลับมาจากทำงาน และบางครอบครัวโทรศัพท์หนึ่งเครื่องพ่ี–น้องต้องสลับกัน เรียน 4) การแลกเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเลิศ จัดเวทีแลกเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการ จัดการเรียนรู้ที่เป็นเลิศของครูแต่ละโรงเรียนทั้งในระดับกลุ่มโรงเรียน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ครู สามารถนำไปจัดการเรียนรู้กับนักเรียนได้ 5) การอบรมพัฒนาครูในการจัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ จัดอบรม พัฒนาครูกลุ่มโรงเรียนลัดหลวงเกี่ยวกับโปรแกรมในการจัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อให้ครูสามารถจัดทำ สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ได้ด้วยตนเอง ตรงกับความต้องการ เกิดประโยชน์กับนักเรียนสำหรับวิทยากรนั้น ใน กลุ่มโรงเรียนลัดหลวงมีบุคลากรที่สามารถจะเป็นวิทยากรได้ เช่นโรงเรียนวัดชมนิมิตร โรงเรียนบ้านบางจาก โรงเรยี นวัดครุนอก และโรงเรยี นวัดรวก

ง สารบญั หน้า กิตตกิ รรมประกาศ......................................................................................................................................... ก บทคัดย่อ........................................................................................................................................................ ข สารบัญ........................................................................................................................................................... ง สารบัญตาราง................................................................................................................................................ ช สารบญั ภาพ................................................................................................................................................... ซ บทที่ 1 บทนำ…………………………………………………………….…….........................................................…..........1 ความเปน็ มาและความสำคัญของปญั หา…………………….........………......................…….........….........1 วตั ถปุ ระสงคข์ องการวิจัย.................................................................................................................2 ขอบเขตของการวจิ ยั …..…………………........................…….........……………....…...……........................2 กรอบแนวคดิ ในการวจิ ยั ………………............................................…….........…………….........….…......3 นยิ ามศัพท์เฉพาะ..............................………………………................................…………...….....……......4 ประโยชน์ท่ไี ด้รบั จากการวจิ ยั ……………………………………………………………………………..…….……….6 บทท่ี 2 เอกสารและงานวิจยั ท่ีเกย่ี วขอ้ ง......................................................................................................7 สภาพปญั หาการจัดการเรียนรชู้ วี ติ วีถใี หม่ภายใต้สถานการณ์โควดิ - 19........................................7 ความต้องการและขอ้ เสนอแนะการจดั การเรียนรชู้ วี ติ วถิ ใี หมใ่ นสถานการณโ์ ควิด-19...................8 แนวคิดเก่ียวกับการจัดการเรียนร.ู้ ……………………….........……………...…....….......................…..…..9 แนวคดิ เกีย่ วกับการจดั การเรยี นรใู้ นสถานการณโ์ ควดิ - 19…………………….........………........…… 22 แนวคดิ เกย่ี วกับการจัดทำขอ้ เสนอเชิงนโยบาย.........……...................………...…..............……….. 44 บทที่ 3 วิธีดำเนนิ การวจิ ัย....................................................................................................................... 49 ประชากรและกลมุ่ ตัวอย่างทใี่ ช้ในการวิจัย………..................................……...........…......……….. 49 เคร่อื งมือทใ่ี ช้ในการวจิ ยั .....……………...................…….........……………............................……….. 50 การสร้างเครือ่ งมอื ทใ่ี ชใ้ นการเก็บรวบรวมข้อมลู ……………………….........…………...............…..… 52 การเกบ็ รวบรวมขอ้ มูล..………………………...........................……………...........................……...…. 54

จ สารบญั (ต่อ) หน้า การวเิ คราะห์ขอ้ มลู ……………….........….....................................…………..........................…….… 55 สถิติทีใ่ ช้ในการวจิ ยั ……………….........….....................................…………..........................…….… 56 บทที่ 4 ผลการวเิ คราะห์ข้อมูล…………………......…………………………….................................…….......…… 59 ตอนท่ี 1 ผลการศึกษาสภาพและปญั หาจดั การเรยี นรู้ของครู นักเรียนผปู้ กครอง ในสถานการณ์ โควดิ 19.........……………....................................………......................... 59 ตอนที่ 2 ผลการศกึ ษาความตอ้ งการของผู้บรหิ าร ครู ผ้เู รยี น และผู้ปกครอง ในการจัดการเรียนรสู้ ำหรับชีวิตวถิ ีใหมใ่ นสถานการณ์โควดิ -19.......................….…… 61 ตอนที่ 3 ผลการศกึ ษาความคิดเหน็ และขอ้ เสนอแนะของผูบ้ รหิ าร ครู นกั เรยี น และผปู้ กครอง ในการจดั การเรยี นรสู้ ำหรบั ชวี ิตวิถใี หม่ในสถานการณ์โควดิ -19.….…. 62 ตอนท่ี 4 ขอ้ เสนอเชิงนโยบายการจัดการเรยี นรู้สำหรับชวี ติ วถิ ใี หมใ่ นสถานการณโ์ ควิด-19 กล่มุ โรงเรยี นลดั หลวง สำนกั งานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศกึ ษา สมทุ รปราการเขต 1.………………………………………………………………………………….…….66 บทท่ี 5 สรปุ อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ......……......………............................………......….….................70 สรุปผลการวจิ ยั ..................................................................……………....………....................……. 70 อภิปรายผลการวิจยั ...........................……………............…...…………....……......................…….... 72 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวจิ ัยไปใช.้ ..............................................……….....….................... 75 ขอ้ เสนอแนะในการวิจยั ครงั้ ต่อไป...........................................................……….................….... 76 บรรณานกุ รม.......................................................................................................................................... 77 ภาคผนวก……………..……………………………………….……………………....................…………………….……...... 79 ภาคผนวก ก รายช่ือผู้เชีย่ วชาญ..................................................…………………………..….......... 80 ภาคผนวก ข หนังสอื ขอเชญิ ขอความอนเุ คราะหเ์ ปน็ ผู้เชยี่ วชาญตรวจสอบคุณภาพ เครอื่ งมือการวิจัย..................................................................................................................................82 ภาคผนวก ค หนงั สือตอบรับการเปน็ ผู้เช่ียวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวจิ ัย.......... 86 ภาคผนวก ง หนงั สอื ขอความอนเุ คราะห์เกบ็ ข้อมลู เพือ่ การวจิ ยั ............................................ 90

ฉ สารบญั (ตอ่ ) หน้า ภาคผนวก จ เครื่องมอื ทีใ่ ชใ้ นการวิจัย..................................................................................... 92 ภาคผนวก ฉ แบบสรปุ การหาค่า IOC...................................................................................... 116 ภาคผนวก ช คำสง่ั กลมุ่ โรงเรยี นลัดหลวง สพป.สป.เขต 1 ที่ 1/2564..................................... 124 ภาคผนวก ซ ภาพกจิ กรรมการเกบ็ รวบรวมข้อมลู และวเิ คราะห์ข้อมลู กลมุ่ โรงเรียนลัดหลวง สพป.สป.เขต1..................................................................................................... 128

ช สารบัญตาราง ตารางท่ี 1 หน้า ตารางที่ 2 นโยบายและวธิ ีจดั การศกึ ษา และความคาดหวังในการจัดการเรียนร้ขู องแตล่ ะมณฑลของ ตารางที่ 3 ประเทศแคนาดา......................................................................................................... 22 ตารางที่ 4 ผลการศกึ ษาสภาพและปัญหาจดั การเรียนรขู้ องครู นกั เรยี น ผูป้ กครองในสถานการณ์ โควิด-19...................................................................................................................... 60 ผลการศึกษาความต้องการของครู นกั เรยี น และผู้ปกครองในการจัดการเรยี นร้สู ำหรบั ชีวติ วถิ ีใหม่ในสถานการณโ์ ควดิ -19.................................................................................... 61 ผลการศึกษาความคดิ เหน็ และข้อเสนอแนะของครู นักเรยี น และผปู้ กครองในการจัดการ เรยี นรูส้ ำหรับชวี ติ วิถีใหม่ ในสถานการณ์โควิด-19...................................................... 66

ซ สารบญั ภาพ หน้า ภาพประกอบ 1 กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย............................................................................................... 4

1 บทที่ 1 บทนำ 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปญั หา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ขัน้ พนื้ ฐานด้านการวจิ ยั เพ่อื สร้างองค์ความรู้และเพิม่ ศักยภาพด้านการวิจัยของบคุ ลากรในสังกัดโดยใช้การวจิ ัย เป็นฐานขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา เน้นการใช้กระบวนการวิจัยสร้างการเปลี่ยนแปลงในห้องเรียน และโรงเรียน เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการทำวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อการจัดทำนโยบาย การจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ โดยมุ่งพัฒนาศักยภาพนักวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย นักวิจัยจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จาก โรงเรียนคุณภาพระดับประถมศึกษา โรงเรียนคุณภาพระดับ มธั ยมศกึ ษาและโรงเรยี นทสี่ ามารถดำรงอยไู่ ด้อย่างมีคณุ ภาพ (Stand Alone) รวมถงึ โรงเรยี นขนาดใหญ่พิเศษ ขนาดกลางและขนาดเล็กเขตพื้นที่ละไม่ต่ำกว่า 20 คนและดำเนินการทำวิจัยเชิงพื้นที่ให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการ วางแผนและจัดทำนโยบายการจดั การเรียนรู้วถิ ีใหม่ให้เป็นไปในทิศทางท่ตี อบสนองตอ่ การจดั การเรียนรู้ให้ตรง ตามความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดตาม บริบทพน้ื ท่ีของกลุ่มโรงเรยี นและสำนักงานเขตพนื้ ท่กี ารศกึ ษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 มอบหมายคณะวิจัยกลุ่มโรงเรียนลัดหลวงประสานงานด้านวิจัยและ นวัตกรรมระดับกลุ่มโรงเรียนลัดหลวงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารับผิดชอบดำเนินการตามแผนงาน ยุทธศาสตร์เพื่อสนับสนุนด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ดำเนินการตามแนวทางท่ี สำนกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พ้ืนฐานกำหนด กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 8 โรงเรียน ที่อยู่ในเขตอำเภอพระประแดง ประกอบด้วย 1.โรงเรียนบ้านบางจาก 2.โรงเรียนอนบุ าลสุขสวัสดิ์ 3.โรงเรียนวดั ชมนิมติ ร 4.โรงเรียนวัดครุใน (ปีตะนีลานนท ศึกษา) 5.โรงเรียนวัดครุนอก 6.โรงเรียนพลอยจาตุรจินดา 7.โรงเรียนวัดกลาง (ธรรมวิธานราษฎร์วิทยา) 8.โรงเรียนวัดรวก (สายราษฎร์สงเคราะห์) ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบในการจัดการศึกษา พัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยตรง จึงมีความสนใจที่จะดำเนินการศึกษาสภาพปัญหา การจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ในสถานการณ์โควิด – 19 รวมถึงความต้องการและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ จดั การเรียนรู้ชีวติ วีถใี หมใ่ นสถานการณ์โควดิ – 19 เพ่ือนำไปสู่การวิจัย ดังนี้

2 1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียน ลดั หลวงสำนกั งานเขตพืน้ ที่การศึกษาประถมศกึ ษาสมุทรปราการ เขต 1 เปน็ อยา่ งไร 2) ความต้องการและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด- 19 ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนลัดหลวงเป็นอยา่ งไร 3) ควรมีข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ของ โรงเรียนกลมุ่ โรงเรยี นลัดหลวงอย่างไร ดังนั้น คณะวิจัยกลุ่มโรงเรียนลัดหลวงจึงจัดทำวิจัยการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการ จัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 เพื่อนำเสนอข้อมูลเชิงนโยบายส่งเสริมจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ใน สถานการณ์โควิด – 19 สำหรบั การวางแผนและพัฒนาการจัดการศกึ ษาให้ไดค้ ุณภาพเหมาะสมกับสถานการณ์ ตอ่ ไป 1.2 วตั ถปุ ระสงคข์ องการวจิ ัย 1.2.1 เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ในสถานการณ์โควิด – 19 ของ โรงเรยี นกลุ่มโรงเรยี นลัดหลวง สำนกั งานเขตพ้ืนที่การศึกษาประถมศกึ ษาสมุทรปราการ เขต 1 1.2.2 เพอื่ ศึกษาความต้องการและขอ้ เสนอแนะในการสนบั สนุนการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ ในสถานการณ์โควิด – 19 ของโรงเรียนกลุ่มโรงเรียนลัดหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมทุ รปราการ เขต 1 1.2.3 เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด – 19 กลุ่มโรงเรยี นลดั หลวง สำนักงานเขตพนื้ ท่ีการศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 1.3 ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ใน สถานการณ์โควิด-19 กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 โดยมขี อบเขตของการวจิ ยั ดังนี้ 1.3.1 ด้านประชากร/กลุ่มตวั อยา่ ง/กลุ่มผใู้ หข้ อ้ มลู ไดแ้ ก่ 1) ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน และผู้ปกครองของโรงเรียนในกลุ่ม โรงเรยี นลดั หลวง คอื

3 - ผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนลัดหลวง จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการ โรงเรยี นจำนวน 7 คน รองผอู้ ำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน และรกั ษาการแทนผู้อำนวยการ 1 คน - ครผู สู้ อน 133 คน - นกั เรยี นกลมุ่ โรงเรยี นลดั หลวง จำนวน 2,512 คน - ผปู้ กครองของนกั เรยี นกล่มุ โรงเรียนลดั หลวง จำนวน 2,512 คน 2) กล่มุ ตัวอยา่ งทต่ี อบแบบสำรวจ ได้แก่ - ครผู สู้ อน จำนวน 90 คน - นกั เรยี น จำนวน 425 คน - ผปู้ กครอง จำนวน 289 คน 3) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ได้แก่ ผู้บริหาร กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน 7 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 4 คน และรักษาการแทนผอู้ ำนวยการ 1 คน และครผู ู้สอน จำนวน 16 คน 4) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักในการสัมภาษณ์ (Interviewing key informants) ได้แก่ นกั เรยี น และผปู้ กครอง โดยคดั เลอื กจากทกุ โรงเรยี น จำนวน 32 คน 1.3.2 ดา้ นเน้ือหา ได้แก่ 1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด– 19 ของ โรงเรยี นกล่มุ โรงเรียนลดั หลวง 2) ความต้องการในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ภายใต้สถานการณ์โค วิด– 19 ของโรงเรยี นกลุ่มโรงเรยี นลดั หลวง 3) ข้อเสนอแนะในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ภายใต้สถานการณ์ โควิด– 19 ของโรงเรยี นกลุ่มโรงเรียนลดั หลวง 1.3.3 ด้านระยะเวลา ในการศึกษาครัง้ นี้ ระยะเวลาดำเนินการศึกษาระหว่าง เดือนกันยายน ถงึ ตุลาคม 2564 1.4 กรอบแนวคิดในการวจิ ัย การดำเนินการวิจัยเรื่อง การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ใน สถานการณโ์ ควดิ -19 กลุม่ โรงเรยี นลดั หลวง สำนกั งานเขตพน้ื ทกี่ ารศึกษาประถมศึกษาสมทุ รปราการเขต 1 ได้ ศึกษาแนวคิดเชิงนโยบาย และทิศทางการจัดการศกึ ษาในสถานการณ์โควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาในสถานการณ์พิเศษ/สถานการณ์วิกฤติ เพื่อให้ได้กรอบแนวคิดใน การวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

4 ในสถานการณ์โควิด–19 ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้ในสถานศกึ ษาระดับการศกึ ษาขัน้ พ้นื ฐาน ข้อเสนอแนะในการจัดการเรยี นรใู้ นสถานการณ์โควิด-19 และ ความต้องการในการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ของผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง จากสารสนเทศ ผลการวิจัยดังกล่าว จะนำไปเป็นฐานข้อมูลและแนวคิดในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการ ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มโรงเรียน ลัดหลวง สำนักงานเขตพืน้ ทีก่ ารศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ซึ่งเป็นกรณีที่สถานศกึ ษาไม่สามารถ จัดการเรยี นการสอนไดต้ ามปกติ สรุปเปน็ กรอบแนวคดิ ในการวิจยั ดังน้ี นโยบายและแนวทางในการจัดการ สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วีถี ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการเรียนรู้ เรยี นรู้ในสถานการณโ์ ควิด-19 ใหมภ่ ายใต้สถานการณ์ โควิด – ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์ โควิด-19 ต่างประเทศ 19 กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง สำนักงานเขต นโยบายและแนวทางในการจัดการ พื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เรียนรู้ในสถานการณ์โควดิ -19 ความต้องการและข้อเสนอแนะใน สมทุ รปราการ เขต 1 ในประเทศ การสนับสนุนการจัดการเรียนรู้วีถี ใหม่ภายใตส้ ถานการณ์โควดิ – 19 แนวทางการจัดการเรยี นรู้วถี ีใหม่ภายใต้ สถานการณ์โควิด – 19 ภาพประกอบ 1 กรอบแนวคดิ ในการวจิ ัย 1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ “ข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่” หมายถึง ข้อเสนอเชิงนโยบายใน การจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ หมายถึง ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยนโยบาย เพื่อการปฏิบัติในเชิงนโยบาย ซ่ึง มีองค์ประกอบสำคัญ คือ วัตถุประสงค์ (policy objectives) แนวการดำเนินงานของนโยบาย (policy means) และกลไกของนโยบาย (policy mechanism) “รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่” หมายถึง แนวทางหรือวิธีการที่สถานศึกษาใช้เพื่อการ จัดการเรียนการสอนในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควดิ –19) ในช่วงเปดิ ภาค

5 เรียนที่ 1/2564 (เดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2564) ประกอบด้วยแนวทางหรือวิธีการ 5 รูปแบบ คือ การเรียน ผ่านโทรทัศน์ (On air) การเรียนผ่านInternet โต้ตอบกับคุณครูได้แบบ Real Time (Online) การให้เอกสาร ใบงานและใหค้ ำแนะนำ (On hand) การเรยี นผา่ น Application ตา่ งๆ (On demand) และการจัดการเรียนรู้ รูปแบบผสมผสานรูปแบบต่างๆ (Blended learning) และแนวทางหรือวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ที่สถานศึกษากำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์แพร่ระบาดในพื้นที่กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง โดยในแต่ละ แนวทางมีการดำเนินการครอบคลุมถึงการบริหารสถานศึกษา/แนวทางหรือวิธีการจัดการเรียนรู้/กระบวนการ จดั การเรยี นร้/ู การพฒั นาศกั ยภาพครู/กระบวนการมสี ่วนร่วม/สื่อ นวตั กรรม และเทคโนโลยี “สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด – 19” หมายถึง ปัญหาที่เกิดจากแนวทางหรือวิธีการที่สถานศึกษาใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดยมีแนวทางหรือวิธีการที่มีความแตกต่างกันตาม สภาพบริบทของสถานศึกษาหรือสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่ ประกอบด้วย 5 รูปแบบ คือ การเรียน ผ่านโทรทัศน์ (On air) การเรียนผ่านInternet โต้ตอบกับคุณครูได้แบบ Real Time (Online) การให้เอกสาร ใบงานและให้คำแนะนำ (On hand) การเรียนผ่าน Application ตา่ งๆ (On demand) และการจดั การเรียนรู้ รูปแบบผสมผสานรูปแบบต่างๆ (Blended learning) และแนวทางหรือวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ที่สถานศึกษากำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์แพร่ระบาดในพื้นที่กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง โดยในแต่ละ แนวทางมีการดำเนินการครอบคลุมถึงการบริหารสถานศึกษา/แนวทางหรือวิธีการจัดการเรียนรู้/กระบวนการ จัดการเรยี นรู้/การพัฒนาศักยภาพครู/กระบวนการมีส่วนรว่ ม/สอื่ นวัตกรรม และเทคโนโลยี “ความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้บริหารต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ใน สถานการณ์โควิด -19” หมายถึง ความอยากได้ความมุ่งหวัง ความปรารถนา คำแนะนำของผู้บริหาร สถานศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 ด้านการบริหารสถานศึกษา ครอบคลุมทั้ง 4 งาน ประกอบดว้ ย งานบริหารวชิ าการ งานบรหิ ารงานบคุ คล งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทว่ั ไป “ความตอ้ งการและข้อเสนอแนะของครูต่อการจัดการเรียนรู้ชีวติ วิถีใหม่ในสถานการณโ์ ค วิด - 19” หมายถึง ความอยากได้ความมุ่งหวัง ความปรารถนา คำแนะนำของครูที่มีมีต่อการจัดการเรียนรู้ใน สถานการณ์โควิด-19 ด้านบทบาทผู้เกี่ยวข้อง (ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง) ด้านรูปแบบการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ ส่ือการสอน ดา้ นสภาพแวดลอ้ มและบรรยากาศการเรียนรู้ และด้านการปฏิสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล “ความต้องการและข้อเสนอแนะของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ใน สถานการณ์ โควิด -19” หมายถึง ความอยากได้ความปรารถนาที่เป็นความมุ่งหวัง คำแนะนำของนักเรียนที่ มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 โดยนักเรียนมีความมุ่งหวังเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ การ ส่งเสริมสนับสนุนวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน การตรวจงาน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การมอบหม าย

6 งานการเรียนรู้ การสนับสนุนสื่อ เทคโนโลยี การให้คำปรึกษา แนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสมและการ สนับสนนุ ของผู้ปกครองท่ชี ่วยเสริมคณุ ภาพการจัดการเรยี นการสอนและโอกาสในการเรยี นรู้ทม่ี คี ณุ ภาพ “ความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิ ถีใหม่ใน สถานการณ์โควิด -19” หมายถึง ความมุ่งหวัง ความปรารถนา คำแนะนำของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 โดยผู้ปกครองมีความมุ่งหวังเกี่ยวกับความชัดเจนในการสื่อสาร มาตรการ และ แนวทางในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์วิกฤต การสนับสนุนช่วยเหลือด้านสื่อการเรียนการสอน คุณภาพการสอน ข้อแนะนำเรื่องการปฏิบัติของนักเรียนในการเรียนรู้ แนวทางการดูแลสนับสนุนการเรียนรู้ ของบุตรหลาน การกำกบั ติดตามการเรยี นรขู้ องนกั เรียน การให้ขวัญกำลงั ใจ การสร้างแรงจงู ใจ “แนวทางของนโยบาย” หมายถึง วิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของ นโยบายการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 ของกลุ่มโรงเรียนลัดหลวง ทั้งโดยภาพรวม และราย องคป์ ระกอบด้านการบรหิ าร การจัดการเรียนรู้ และการชว่ ยเหลือดแู ลนักเรียน “กลไกของนโยบาย” หมายถึง วิธีการหรือกลวิธีที่จะทำให้การนำนโยบายไปปฏิบัติให้ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ต้องมีการออกกฎหมาย ออกระเบียบข้อบังคับ เป็นต้น ทั้งโดยภาพรวม และรายองคป์ ระกอบดา้ นการบรหิ าร การจดั การเรยี นรู้ และการชว่ ยเหลือดูแลนกั เรยี น 1.6 ประโยชน์ทไ่ี ดร้ ับจากการวจิ ยั 1.6.1 ทราบสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ในสถานการณ์โควิด – 19 ของ กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 เพื่อนำข้อมูลไปใช้ใน การแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบริบทของแต่ละ สถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พนื้ ฐาน 1.6.2 ทราบความต้องการและข้อเสนอแนะในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ใน สถานการณโ์ ควิด – 19 กลุ่มโรงเรยี นลดั หลวง สำนกั งานเขตพ้ืนท่กี ารศกึ ษาประถมศกึ ษาสมทุ รปราการ เขต 1 เพ่อื นำขอ้ มลู ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้วถิ ีชวี ิตใหม่ได้ตามความต้องการของผู้บรหิ าร ครู นกั เรยี นและผู้ปกครอง กลมุ่ โรงเรยี นลัดหลวง 1.6.3 ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายในการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ในสถานการณ์โควดิ – 19 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต้นสังกัด ใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินการด้านการจัดการศึกษาให้ เกดิ ประโยชนต์ อ่ ผ้เู รียนและเปน็ ทพ่ี งึ พอใจของผปู้ กครองและผทู้ เี่ กย่ี วขอ้ งอื่น ๆ

7 บทที่ 2 เอกสารและงานวจิ ยั ที่เกยี่ วขอ้ ง ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดและความรู้พื้นฐานจากเอกสารและงานวิจัยต่าง ๆ ที่ เกี่ยวกับสภาพปัญหา ความต้องการและข้อเสนอแนะต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์โควิด-19 ทั้งต่างประเทศและในประเทศ และ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อเป็นพื้นฐานในการ สร้างความรู้ความเข้าใจและกำหนด กรอบเบอื้ งตน้ ของการวิจัย โดยศกึ ษาสาระสำคญั ในประเด็นตอ่ ไปน้ี 2.1 สภาพปญั หาการจดั การเรยี นรู้ชีวิตวีถีใหม่ภายใต้สถานการณโ์ ควดิ –19 2.1.1 ความหมายของสภาพปญั หาการจัดการเรียนรู้ชวี ติ วีถใี หมภ่ ายใต้สถานการณโ์ ควดิ –19 2.2 ความต้องการและขอ้ เสนอแนะการจดั การเรยี นรู้ชีวิตวิถใี หมใ่ นสถานการณ์ โควิด -19 2.2.1 ความหมายของความต้องการและข้อเสนอแนะต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ใน สถานการณโ์ ควดิ -19 2.3 แนวคดิ เกย่ี วกบั การจดั การเรียนรู้ 2.3.1 ความหมาย หลักการ และรูปแบบในการจัดการเรยี นรู้ 2.3.2 แนวคดิ และหลกั การเก่ียวกับการจัดการเรียนรใู้ นสถานการณโ์ ควดิ -19 2.4 แนวคิดเก่ยี วกบั การจดั การเรียนรูใ้ นสถานการณ์โควดิ -19 2.4.1 นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรูใ้ นสถานการณโ์ ควดิ -19 ในต่างประเทศ 2.4.2 นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรใู้ นสถานการณโ์ ควิด-19 ในประเทศไทย 2.5 แนวคิดเกย่ี วกบั การจัดทำข้อเสนอเชงิ นโยบาย 2.5.1 ความหมาย ความสำคัญของขอ้ เสนอเชงิ นโยบาย 2.5.2 ลักษณะสำคญั ขอ้ เสนอเชิงนโยบาย/องคป์ ระกอบของข้อเสนอเชิงนโยบาย 2.5.3 กระบวนการจัดทำข้อเสนอเชงิ นโยบาย สาระในแต่ละตอนตามประเดน็ ดงั กลา่ ว มรี ายละเอยี ด ดังน้ี 2.1 สภาพปญั หาการจัดการเรียนรู้ชีวติ วีถีใหมภ่ ายใต้สถานการณโ์ ควิด – 19 2.1.1 ความหมายของสภาพปัญหาการจัดการเรยี นรู้ชีวิตวีถใี หมภ่ ายใต้สถานการณ์โควิด–19 สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ชีวิตวีถีใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด – 19 หมายถึง ปัญหาที่เกิดจาก แนวทางหรือวิธีการที่สถานศึกษาใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดยมีแนวทางหรือวิธีการที่มีความแตกต่างกันตามสภาพบริบทของ สถานศึกษาหรือสถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่ ประกอบด้วย 5 รูปแบบ คือ การเรียนผ่านโทรทัศน์

8 (On air) การเรียนผ่านInternet โต้ตอบกับคุณครูได้แบบ Real Time (Online) การให้เอกสารใบงานและให้ คำแนะนำ (On hand) การเรียนผ่าน Application ต่างๆ (On demand) และการจัดการเรียนรู้รูปแบบ ผสมผสานรูปแบบต่างๆ (Blended learning) และแนวทางหรือวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบอื่นๆ ที่ สถานศึกษากำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสถานการณ์แพร่ระบาดในพื้นที่กลุ่มโรงเรียนลัดหลวง โดยในแต่ละ แนวทางมีการดำเนินการครอบคลุมถึงการบริหารสถานศึกษา/แนวทางหรือวิธีการจัดการเรียนรู้/กระบวนการ จัดการเรยี นร/ู้ การพัฒนาศกั ยภาพครู/กระบวนการมสี ่วนรว่ ม/สอื่ นวตั กรรม และเทคโนโลยี 2.2 ความตอ้ งการและข้อเสนอแนะการจดั การเรยี นรู้ชวี ิตวิถีใหมใ่ นสถานการณ์โควดิ -19 2.2.1 ความหมายของความต้องการและข้อเสนอแนะต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ใน สถานการณโ์ ควดิ -19 1) ความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้บริหารต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ใน สถานการณ์โควิด-19 หมายถึง ความอยากได้ความมุ่งหวัง ความปรารถนา คำแนะนำของผู้บริหาร สถานศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 ด้านการบริหารสถานศึกษา ครอบคลุมทั้ง 4 งาน ประกอบด้วย งานบริหารวิชาการ งานบรหิ ารงานบคุ คล งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทว่ั ไป 2) ความต้องการและข้อเสนอแนะของครูต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ในสถานการณ์ โควิด-19 หมายถึง ความอยากได้ความมุ่งหวัง ความปรารถนา คำแนะนำของครูที่มีมีต่อการจัดการเรียนรู้ใน สถานการณ์โควิด-19 ด้านบทบาทผู้เกี่ยวข้อง (ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง) ด้านรูปแบบการเรียนรู้ กิจกรรมการเรยี นรู้ ส่ือการสอน ด้านสภาพแวดลอ้ มและบรรยากาศการเรยี นรู้ และดา้ นการปฏิสัมพนั ธร์ ะหวา่ ง บคุ คล 3) ความต้องการและข้อเสนอแนะของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ใน สถานการณ์โควิด -19 หมายถึง ความอยากได้ความปรารถนาที่เป็นความมุ่งหวัง คำแนะนำของนักเรียนที่มี ต่อการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 โดยนักเรียนมีความมุ่งหวังเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ การ ส่งเสริมสนับสนุนวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน การตรวจงาน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การมอบหมาย งานการเรียนรู้ การสนับสนนุ สื่อ เทคโนโลยี การให้คำปรึกษา แนะนำการปฏิบตั ิตัวทีถ่ กู ต้องเหมาะสมและการ สนับสนนุ ของผูป้ กครองทีช่ ่วยเสริมคณุ ภาพการจดั การเรียนการสอนและโอกาสในการเรยี นรทู้ ่ีมคี ุณภาพ 4) ความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนรู้ชีวิตวิถีใหม่ใน สถานการณ์โควิด -19 หมายถึง ความมุ่งหวัง ความปรารถนา คำแนะนำของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 โดยผู้ปกครองมีความมุ่งหวังเกี่ยวกับความชัดเจนในการสื่อสาร มาตรการ และ แนวทางในการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์วิกฤต การสนับสนุนช่วยเหลือด้านสื่อการเรียนการสอน คุณภาพการสอน ข้อแนะนำเรื่องการปฏิบัติของนักเรียนในการเรียนรู้ แนวทางการดูแลสนับสนุนการเรียนรู้ ของบุตรหลาน การกำกบั ติดตามการเรยี นรู้ของนักเรยี น การให้ขวัญกำลงั ใจ การสร้างแรงจูงใจ

9 2.3 แนวคิดเกีย่ วกบั การจดั การเรยี นรู้ 2.3.1 ความหมาย และหลกั การเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ 1) ความหมายของการจัดการเรยี นรู้ นกั วิชาการในด้านการศึกษา ไดใ้ ห้ความหมายของการจดั การเรียนรู้ ไว้ดงั น้ี วิชัย ประสิทธ์วุฒิเวชซ์ (2542, น. 255) ได้กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่มี ระบบระเบียบครอบคลุมการดำเนินการ ตัง้ แต่การวางแผน การจัดการเรียนรู้ จนถงึ การประเมนิ ผล สุวิทย์ มูลคำ (2549, น.16) กล่าวว่า การจัดการเรียนรู้ คือสภาพการเรียนรูท้ ี่กำหนดขึ้น เพ่ือ นำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนด ซึ่งหมายความรวมถึงรูปแบบ การสอน วิธี สอน และเทคนิคการสอน กระทรวงศึกษาธิการ (255 1, น.25) สรุปไว้ว่า การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการสำคัญ ใน การนำหลกั สตู รสกู่ ารปฏิบตั ิ หรือหลกั สูตรแกนกลางการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐานเป็นหลักสตู รท่ีมีมาตรฐาน การเรียนรู้ สมรรถะสำคัญและคุณลักษณะอันพงึ ประสงค์ของผู้เรียน เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและ เยาวชน ในการ พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณสมบัติตามเป้าหมายหลักสูตร ผู้สอนพยายามคัดสรร กระบวนการ เรียนรู้ จัดการเรียนรู้ โดยช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ผ่านสาระที่กำหนดไว้ในหลักสูตร 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งปลูกฝังเสริมสร้าง คณุ ลกั ษณะอันพึงประสงค์ พัฒนาทกั ษะตา่ ง ๆ อันเป็นสมรรถะสำคญั ให้ผ้เู รยี น บรรลตุ ามเป้าหมาย Hough and Duncan (1970, P.144) ได้อธิบายความหมายของการจัดการเรียนรู้ว่า หมายถึง กิจกรรมที่บุคคลได้ใช้ความรู้ของตนเองอย่างสร้างสรรค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้อื่นเกิดการเรียนรู้ และ มี ความสุข การจัดการเรียนรู้จึงเป็นกิจกรรมในแง่มุมต่าง ๆ \"'ด้านดังนี้ (1) ด้านหลักสูตร หมายถึง การศึกษาถึง จุดมุ่งหมายของการเรียน มีความเข้าใจในจุดประสงค์รายวิชา และการตั้งจุดประสงค์ การเรียนรู้ที่ชัดเจนและ เลือกเนื้อหาได้เหมาะสมกับท้องถิ่น (2) การจัดการเรียนรู้ หมายถึง การเลือกวิธี สอนและวิธีจัดการเรียนรู้ที่ เหมาะสมเพื่อช่วยให้ผูเ้ รียนบรรลุตามจุดประสงค์การเรียนรูท้ ่ีวางไว้ (3) การวัดผล หมายถึง การเลือกวิธีวัดผล ทีเ่ หมาะสมและและสามารถวเิ คราะหผ์ ลได้ และ (4) การประเมินผลการจัดการ เรียนรู้ หมายถึงความสามารถ ในการประเมินผลหลังการจัดการเรยี นรู้ Hills (1982, P.266) ให้ความหมายของการจัดการเรียนรู้ว่าหมายถึง กระบวนการ ให้ การศกึ ษาแกผ่ ูเ้ รียน ซง่ึ จะต้องอาศัยปฏิสมั พนั ธร์ ะหว่างผสู้ อนกบั ผเู้ รยี น สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้หมายถึง สภาพการเรียนรู้ที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนไปสู่ เป้าหมายหรือจุดประสงค์การเรียนการสอนที่กำหนดไว้มีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ จนถึง การประเมินผล ซึ่งในการจัดการเรียนรู้มีความสัมพันธ์และมีปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อม และผู้สอนกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ใหม่ทีผ่ เู้ รยี นสามารถนำประสบการณ์ใหม่นัน้ ไปใชไ้ ด้

10 2) หลักการในการจดั การเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ (255 1, น.25) ได้ให้หลักการในการจัดการเรียนรู้ว่าต้องให้ผู้เรียน มี ความรู้ความสามารถตามมาตรฐานการเรียนรู้ สมรรถะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่ กำหนดไว้ ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคน มี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ ต้อง ส่งเสริมใหผ้ ู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาตแิ ละเต็มตามศกั ยภาพ คำนงึ ถึงความแตกตา่ งระหว่าง บคุ คลและ พัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 ไดใ้ หห้ ลกั การท่ีสำคญั ในการจัดการเรียนรไู้ ว้ ดงั น้ี 1. การ 1. จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ยึดหลักการว่า ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้โดยการจัดวิธีการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน ให้สามารถพัฒนาตนเองได้ การจัดการเรียนรู้ควรเปน็ สิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีความสุข ในการเรียนรู้ ได้ลงมือศึกษาค้นคว้า คิดแก้ปัญหาและปฏิบัติงานเพื่อสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยมี ครูผู้สอนเป็นผู้ส่งเสริมสนับสนุน จัด สถานการณใ์ ห้เออื้ ต่อการเรยี นรู้ 2. การจดั การเรยี นรทู้ ีค่ ำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เปน็ การให้ความสำคัญ ของความ แตกต่างระหว่างผู้เรียนเพื่อวางรากฐานชีวิตให้เจริญงอกงามอย่างสมบูรณ์ มีพัฒนาการสมวัย อย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้ค้นพบและ แสดงออกถงึ ศักยภาพของตนเอง ครผู ูส้ อนจึงควรมขี อ้ มลู ผูเ้ รียนเปน็ รายบุคคลสำหรับใช้ ในการวางแผนการจัด กจิ กรรมการเรยี นรู้และนำไปพฒั นาผู้เรยี นใหเ้ หมาะสมกบั ความแตกต่างของผเู้ รยี น 3. การจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาได้อย่างเหมาะสมกับการทำงานของสมอง การเชื่อมโยง พัฒนาการทางอารมณ์ ซึ่งจะ ส่งผลให้ผู้เรียนมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ ทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่น อย่างมีความสุข โดยใช้ ประสบการณ์ตรงด้านร่างกายที่เป็นรูปธรรม ข้อเท็จจริงและทักษะด้านต่าง ๆ ที่ปรากฏในชีวิตจริงตาม ธรรมชาตเิ ปน็ เคร่ืองมอื ในการจัดการเรียนร้ใู หส้ อดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง 4. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการ คณุ ธรรมจริยธรรม ไดร้ บั รู้ เกิดการยอมรับ เห็นคณุ คา่ และพัฒนาอยา่ งตอ่ เน่ืองจนเปน็ ลักษณะนสิ ยั ท่ีดี สรุปหลักการในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถตามมาตรฐาน การ เรียนรู้ สมรรถะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้น พืน้ ฐานพทุ ธศักราช 2551 โดยยึดหลักวา่ ผเู้ รียนมคี วามสำคญั ทส่ี ดุ และเชื่อวา่ ทุกคนสามารถเรียนร้แู ละ พัฒนา ตนเองได้ โดยยืดประโยชน์ที่เกิดขั้นกับผู้เรียน ในกระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถ พัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ ความสำคญั ทั้งความรู้และคณุ ธรรมจรยิ ธรรม

11 3) ความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ ยุพิน ศิริพละ (2537, อ้างถึงใน ประกาศิต อานุภาพแสนยากร, 2555, น.2-3) ได้ระบุถึง ความสำคัญในการจัดการเรียนรู้ว่าเป็นกระบวนการพัฒนาผู้เรียนที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน เพ่ือ พัฒนาผู้เรียนทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์และสังคม การจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้มีความสัมพันธ์กัน การ จัดการเรยี นรมู้ คี วามสำคญั ดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้เร็วขึ้น จุดมุ่งหมายของการ จัดการเรียนรู้มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในตัวผู้เรียน 3 ประการ คือ ความรู้ ทักษะ และ เจตคติ ดังนั้น ในการสอนของผู้สอนที่มีการวางแผนไว้อย่างมีเป้าหมาย ย่อมจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการ เปลี่ยนแปลง พฤติกรรมไดอ้ ย่างรวดเรว็ และมีประสิทธภิ าพ 2. การจัดการเรียนรู้ช่วยให้จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาบรรลุผล จุดมุ่งหมายของการจัด การศึกษาต้องการให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดีและมีความสุข ดังนั้น ในการสอนจึงต้องใช้วิธีการสอน หลาย รูปแบบผสมผสานกัน ใช้เทคนิคการสอน และใช้จิตวิทยาเพื่อช่วยให้การเรียนการสอนบรรลุ จุดมุ่งหมายของ การจดั การศกึ ษา 3. การจัดการเรียนรู้ช่วยพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้เป็นขั้นตอนสำคัญขั้นหนึ่งของ กระบวนการพัฒนาหลักสูตร คือ ในขั้นการนำไปใช้ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ที่ สำคัญที่สุด คือ การเปลี่ยนแปลงตัวผู้สอนจากเป็นผู้สอนมาเป็นผู้ชี้นำผู้เรียนให้เป็นคนดี เข้าถึงองค์ความรู้ มี ความสามารถในการคดิ นำความรู้มาแก้ปญั หา เมื่อพฤติกรรมการสอนของผู้สอนและพฤติกรรมการเรียน ของ ผเู้ รยี นเปลีย่ นก็นับได้ว่าการเรยี นการสอนไดช้ ่วยพฒั นาหลักสูตร 4. การจัดการเรียนรู้เป็นการสร้างแบบอย่างให้กับผู้เรียนในการคิดการทำ ผู้สอนมีอิทธิพล ต่อพฤติกรรมของผู้เรียนเป็นอย่างมากทั้งด้านวาจา ความคิด บุคลิกภาพและความประพฤติ การกระทำ ของ ผู้สอนจะอยู่ในสายตาผู้เรียนตลอดเวลา ผู้เรียนจะเลียนแบบผู้สอนโดยไม่รู้สึกตัว ดังนั้น ผู้สอนจึงต้อง พัฒนา ตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ลูกศิษย์ซึมซับสิ่งที่ดีจากตัวผู้สอน เช่น การตรงต่อเวลา การพูดจาชัดเจน การแสดง ความคิดเห็นทตี่ รงไปตรงมา สภุ าพเรียบรอ้ ย เปน็ ตน้ 5. การจัดการเรียนรู้เป็นการเสริมสร้างความรู้ ผู้สอนเป็นผู้ช้ีนำหรือแนะแนวทางให้ผู้เรียน ไดค้ นั ควา้ หาความร้โู ดยการสังเกต สำรวจ ทดลอง วิเคราะหจ์ นพบคำตอบ ซึง่ เปน็ วธิ กี ารให้ผู้เรียนสร้าง ความรู้ ดว้ ยตนเอง 6. การจัดการเรียนรู้พัฒนาความเป็นมนุษย์ทุกด้าน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้ เน้นให้การจัดการเยนรู้ต้องพัฒนาคุณภาพมนุษย์ทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านร่า สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม ค่านิยม การประพฤติปฏิบัติ ฯลฯ เพื่อพัฒนาบุคคลให้เป็น \"มนุษย์ที่สมบูรณ์\" โดยคาดหวังว่า คนท่ี มีคุณภาพนี้จะทำให้สังคมมีความมั่นคง สงบสุข มีความเท่าเทียม กัน เจริญก้าวหน้าทันโลก แข่งขันกับสังคม อื่นในเวทีระหว่างประเทศได้ คนในสังคมมีความสุขมีงานทำ รวมถึงสามารถประกอบอาชีพการงานอย่างมี ประสิทธิภาพ

12 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ (2557) ได้ให้ระบุความสำคัญของการจัดการเรียนรู้ว่า เปรียบเสมือนเครอ่ื งมอื ท่ีส่งเสรมิ ให้ผู้เรยี นรกั การเรียน ตงั้ ใจเรียน และ เกิดการเรียนรูช้ น้ั การเรยี น ของผู้เรียน จะไปสู่จุดหมายปลายทาง คือ ความสำเร็จในชีวิตหรือไม่ เพียงใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับการจัดการ เรียนรู้ที่ดีของ ผู้สอน หรือผู้สอนด้วยเช่นกัน หากผู้สอนรู้จัก เลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่ดีและเหมาะสมแล้ว ย่อมจะมีผลดี ต่อการเรียนของผู้เรียนดังนี้ คือ 1) มีความรู้และความเข้าใจในเนื้อหาวิชาหรือกิจกรรมที่เรียนรู้ 2) เกิดทักษะ หรือมีความชำนาญในเนื้อหาวิชา หรือกิจกรรมที่เรียนรู้ 3) เกิดทัศนคติที่ดีต่อสิ่งที่เรียน 4) สามารถนำความรู้ ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวนั ได้ 5) สามารถนำความรู้ไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ต่อไปอีกได้ อนึ่ง การที่ ผู้สอนจะส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเจริญงอกงามในทุก ๆ ด้าน ทั้งทาง ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญานั้น การส่งเสริมที่ดีที่สุด ก็คือ การให้การศึกษาซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้เป็น ส่ิงสำคัญในการใหก้ ารศกึ ษาแกผ่ ู้เรียนเปน็ อยา่ งมาก 4) รูปแบบการจัดการเรยี นรู้ มีนักวิชาการทางการศึกษาได้ให้ความหมายของรูปแบบการสอนหรือรูปแบบการจัดการ เรียนรู้ หรอื รปู แบบการจดั กิจกรรมการเรียนการสอน ไวด้ งั นี้ กาญจนา คุณารักษ์ (2543, น.28) ได้กล่าวว่ารูปแบบการสอน หมายถึง แผนแสดงการเรียน การสอนสำหรับนำไปใช้สอนในห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด แผนดังกล่าวจะแสดงถึงลำดับความสอดคล้องกันภายใต้หลักการของแนวคิดพื้นฐานเดียวกัน องค์ประกอบ ทั้งหลายได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา และทักษะที่ต้องการสอน ยุทธศาสตร์การสอน วิธีการสอน กระบวนการสอน ข้นั ตอนและกจิ กรรรมการสอนและการวดั และประเมินผล ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต (2554, น.2-13) ได้ให้ความหมายของรูปแบบการสอน/รูปแบบ การเรียนการสอน คือ แบบแผนการดำเนินการสอนที่ได้รับการจัดเป็นระบบ อย่างสัมพันธ์สอดคล้องกับ ทฤษฎี/หลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือ และได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ โดยทั่วไปแบบแผนการ ดำเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วย ทฤษฎี/หลักการที่รูปแบบนั้นยืดถือและกระบวนการสอนที่มี ลักษณะเฉพาะอันจะนำผู้เรียนไปสู่จุดมุ่งหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกำหนด ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้ เป็นแบบ แผนหรือแบบอยา่ งในการจัดและคำเนินการสอนอ่นื ๆ ทีม่ จี ดุ มุ่งหมายเฉพาะเช่นเดยี วกันได้ ประกาศิต อานุภาพแสนยากร (2555, น. 108 ได้สรุปว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แบบแผนของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบสัมพันธ์สอดคล้องกับทฤษฎี หลักการเรียนรู้ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ ที่รูปแบบนั้นยึดถือและได้รับการพิสูจน์ทดสอบว่า มีประสิทธิภาพ สามารถช่วย ใหผ้ ู้เรยี นเกดิ การเรยี นรู้ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้น ๆ ซง่ึ รูปแบบ การจัดการเรียนรู้มักประกอบด้วย ปรชั ญา ทฤษฎี หลกั การ แนวคิด หรือความเช่ือท่ีเป็นพ้ืนฐานหรือ เปน็ หลกั ของรปู แบบการจัดการเรยี นรู้น้ัน ๆ มีจุดมุ่งหมายสำคัญเฉพาะรูปแบบนั้น มีการบรรยาย กระบวนการหรือขั้นตอนสำคัญ และอธิบายสภาพหรือ ลักษณะของการจัดการเรยี นการสอนทีส่ อดคล้องกบั หลักการท่ยี ดึ ถอื หรือใหข้ ้อมลู เก่ียวกับวิธีสอนและเทคนิค

13 การสอนต่าง ๆ อันจะช่วยให้กระบวนการเรียน การสอนนั้น ๆ เกิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งผู้สอนสามารถนำไปใช้ เปน็ แบบแผนหรือแบบอย่างในการดำเนินการ เสนอท่ีมีจดุ ม่งุ หมายเฉพาะตามทีร่ ูปแบบน้นั ยดึ ถอื ได้ สรุปรูปแบบการสอนคือ สภาพของการจัดการเรียนการสอนซึ่งได้รับการจัดไว้อย่างเป็น ระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิดหรือความเชื่อต่างๆ โดยประกอบด้วยกระบวนการ หรือ ขั้นตอนสำคัญในการเรียนการสอน รวมทั้งวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ ที่ช่วยให้นักเรียนบรรลุ วตั ถปุ ระสงคต์ ามทรี่ ูปแบบน้นั ๆ 5) รูปแบบการจดั การเรียนรู้แบบต่าง ๆ รปู แบบการจดั การเรยี นรหู้ รอื รปู แบบการสอนเป็นส่ิงที่ผสู้ อนควรต้องศกึ ษาเรยี นรู้เพื่อปรับใช้ สำหรับการเรียนการสอนในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ทันกับโลก ยุคโลกาภิวัฒน์ ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบต่าง ๆ สามารถ นำไปใช้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้เรียนนักวิซาการ ศกึ ษาไดจ้ ดั แบ่งรปู แบบการจดั การเรียนรู้ ไวม้ ดี ังน้ี ไสว ฟักขาว (256 1, น.38 ได้ยกตัวอย่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยส่งเสริมทักษะ ใน ศตวรรษที่ 21 ที่ผู้สอนควรศึกษา ทำความเข้าใจ และนำมาประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้ในวิชา ที่รับผิดชอบ ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรแู้ บบโครงงาน (Project - Based Learning) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ (Inquiry - Based Learning) รูปแบบการจดั การเรียนรูแ้ บบร่วมมอื (Cooperative Learning) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrative Learning) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสัมมนาของ โสเครตสิ (Socratic Seminar) ทิศนา แขมมณี (2555, น.224-256) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากลซึ่งได้รับ หลายรปู แบบ และสามารถจดั หมวดหมู่ของรูปแบบการสอนเหลา่ นั้นตามลักษณะของวตั ถปุ ระสงค์เฉพาะ หรือ เจตนารมณ์ของรปู แบบ ซ่ึงสามารถจัดกลุ่มไดเ้ ป็น 5 หมวด ดังนี้ 1. รปู แบบการเรียนการสอนที่เนน้ การพฒั นาตา้ นพทุ ธพิ สิ ัย (cognitive domain) 2. รูปแบบการเรยี นการสอนทเ่ี นน้ การพฒั นาตา้ นจิตพสิ ยั (affective domain) 3. รปู แบบการเรียนการสอนทเี่ นน้ การพัฒนาตา้ นทกั ษะพิสยั (psycho-motor domain) 4. รูปแบบการเรยี นการสอนทเี่ นน้ การพฒั นาทักษะกระบวนการ (process skills) 5. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ (integration) โดยแต่ละรูปแบบมี รายละเอียดประกอบ ดังน้ี 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain) รูปแบบ การเรียนการสอนหมวดนี้ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มุ่งช่วยให้ผู้เรยี นเกิดความรู้ความเข้าใจในสาระ ต่าง ๆ ซึ่งเน้ือหาสาระนนั้ อาจอยู่ในรปู ของขอ้ มูล ขอ้ เทจ็ จริง มโนทัศน์ หรอื ความคดิ รวบยอด รปู แบบ ท่ีคัดเลือกมา นำเสนอมี 5 รปู แบบดงั น้ี

14 1.1 รปู แบบการเรียนการสอนมโนทศั น์ 1.2 รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดกานเย 1.3 รูปแบบการเรยี นการสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างลว่ งหนา้ 1.4 รูปแบบการเรียนการสอนเนน้ ความจำ 1.5 รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ผงั กราฟิก 2. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านจิตพิสัย (Alfective Domain) รูปแบบ การเรียนการสอนหมวดนี้ เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความรู้สึก เจตคติ ค่านิยม คุณธรรม และจริยธรรมที่พึ่งประสงค์ ซึ่งเป็นเรื่องยากแก่การพัฒนาหรือปลูกฝัง การจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบ การสอนที่เพียงช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจ มักไม่เพียงพอต่อการช่วยให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีได้ จำเป็นต้อง อาศยั หลกั การหรอื วิธีการอ่นื ๆ เพ่มิ เติม รปู แบบทคี่ ดั เลอื กมานำเสนอมี 3 รปู แบบ ดังน้ี 2.1 รปู แบบการเรยี นการสอนตามแนวคดิ การพัฒนาดา้ นจิตพิสัยของบลูม 2.2 รูปแบบการเรยี นการสอนโดยการซักคา้ น 2.3 รูปแบบการเรยี นการสอนโดยใชบ้ ทบาทสมมติ 3. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านทักษะพิสัย ( Psycho-motor Domain) รูปแบบการเรยี นการสอนหมวดน้ี เป็นรูปแบบที่มุ่งช่วยพัฒนาความสามารถของผู้เรียนในด้านการ ปฏิบัติ การกระทำหรือการแสดงออกต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นต้องใช้หลักการ วิธีการ ที่แตกต่างไปจากการพัฒนา ทางด้านจิตพิสัยหรือพุทธิพิสัย รูปแบบที่สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาด้านนี้ที่สำคัญ ๆ มี 3 รูปแบบ ดังน้ี 3.1 รปู แบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการพัฒนาทักษะปฏบิ ตั ขิ องซมิ พ์ซัน (Simson) 3.2 รูปแบบการเรียนการสอนทกั ษะปฏิบตั ขิ องแฮรโ์ รว์ (Harrow) 3.3 รปู แบบการเรียนการสอนทกั ษะปฏิบัติของเดวีส์ (Davies) 4. รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการ (Process Skills) ทักษะ กระบวนการเป็นทักษะที่เกี่ยวกับวิธีดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นกระบวนการทางสติปัญญา เช่น กระบวนการสืบสอบแสวงหาความรู้หรือกระบวนการคิดต่าง ๆ อาทิ การคิดวิเคราะห์ การอุปนัย การ นิรนัย การใช้เหตุผล การสืบสอบ การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นต้น หรืออาจ เป็นกระบวนการทางสังคม เชน่ กระบวนการทำงานรว่ มกัน เป็นต้น รูปแบบท่นี ำเสนอมี 4 รปู แบบ คือ 4.1 รูปแบบการเรยี นการสอนกระบวนการสบื สอบ และแสวงหาความรเู้ ปน็ กลุม่ 4.2 รปู แบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดอปุ นยั 4.3 รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสรา้ งสรรค์ 4.4 รปู แบบการเรียนการสอนกระบวนการคดิ แกป้ ัญหาอนาคตตามแนวคดิ ของทอรแ์ รนซ์ 5. รปู แบบการเรียนการสอนท่เี นน้ การบรู ณาการ (Integration) รูปแบบการเรยี นการสอน ในหมวดนี้ เปน็ รปู แบบทพี่ ยายามพัฒนาการเรียนรดู้ ้านต่าง ๆ ของผเู้ รยี นไปพรอ้ ม ๆ กัน โดยใชก้ ารบูรณาการ ทง้ั ทางดา้ นเน้ือหาสาระและวิธกี าร รปู แบบในลักษณะนไ้ี ดร้ ับความนยิ มมากเพราะมคี วามสอดคลอ้ งกับ

15 ทฤษฎีทางการศกึ ษาทีม่ งุ่ เน้นการพฒั นารอบดา้ น หรอื การพฒั นาเปน็ องค์รวม รปู แบบในลกั ษณะดงั กลา่ ว ท่นี ำเสนอมี 4 รูปแบบใหญ่ ๆ คอื 5.1 รปู แบบการเรียนการสอนทางตรง 5.2 รูปแบบการเรียนการสอนโดยการสร้างเร่อื ง 5.3 รปู แบบการเรียนการสอนตามวฏั จักรการเรียนรู้ 4 MAT 5.4 รูปแบบการเรยี นการสอนของการเรยี นรแู้ บบร่วมมอื ไดแ้ ก่ รปู แบบจิก๊ ซอร์ (JIGSAW) รปู แบบเอส. ท.ี เอ. ดี. (STAD) รปู แบบ ที. เอ. ไอ. (TAI) รูปแบบ ท.ี จี. ท.ี (TGT) รูปแบบ แอล. ท.ี (LT) รปู แบบ จี. ไอ. (GI) รปู แบบ ซ.ี ไอ. อาร์. ซ.ี (CIRC) รูปแบบคอมเพลก็ ซ์ (Complex Instruction) Joyce and Weil (1988, อ้างถงึ ใน ประภาพรรณ เอ่ียมสภุ าษติ , 2554, น.2-25) จัดกลุม่ รปู แบบการสอนออกเป็น 4 กลุม่ โดยใช้คณุ ลกั ษณะที่ตอ้ งการใหเ้ กิดกับผู้เรยี นเป็นเกณฑ์ โดยจัดเป็นกลุ่ม รูปแบบการสอนเปน็ 4 กลมุ่ ดงั นี้ 1. รปู แบบการสอนทม่ี ุ่งพฒั นาปฏสิ มั พันธท์ างสงั คม 2. รปู แบบการสอนที่มุ่งพัฒนากระบวนการคดิ 3. รปู แบบการสอนทมี่ งุ่ พัฒนาบุคลิกภาพ 4. รูปแบบการสอนทม่ี ุ่งพัฒนาพฤติกรรม 2.3.2 แนวคิดและหลกั การเก่ยี วกับการจัดการเรยี นรูใ้ นสถานการณ์โควิด-19 ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นในสถานศึกษา สถานการณ์เหล่านี้ อาจเกิดจากพฤติกรรมของนักเรียนที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน หรืออาจเกิดจากภัย พิบัติต่าง ๆ ที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลให้ สถาบันการศึกษาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้ปิดทำการลงชั่วคราวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคซึ่งการ ปิดสถานศกึ ษาดังกลา่ วได้สง่ ผลกระทบต่อนักเรียน ร้อยละ 60 ท่ัวโลก (UNESCO, 2020) ซึง่ การเกดิ เหตุการณ์ ที่ไม่คาดคิดจนก่อให้เกิดสถานการณ์วิกฤติ จาเป็นอย่างยิ่งที่สถานศึกษาจะต้องมีมาตรการในการเตรียมความ พรอ้ มเพือ่ รองรบั สถานการณท์ ่ไี ม่อาจคาดเดาได้ 1) การเตรียมความพรอ้ มสาหรับเหตุการณ์ท่ไี มค่ าดคดิ สถานการณ์ทไี่ ม่คาดคดิ วา่ จะเกดิ ข้ึนในโรงเรยี นสง่ ผลให้เกดิ ปัญหาทั้งทางด้านรา่ งกายและ ทางดา้ นจติ ใจของนกั เรยี น CS & A International (2019) กล่าวว่า สถานการณ์ท่ไี มค่ าดคิดที่ก่อให้เกิดวกิ ฤติ นนั้ จะมีปจั จัยสำคัญท่ขี น้ึ อยูก่ บั 3 เสาหลัก (Three pillars) ประกอบด้วย 1) กระบวนการจดั การท่มี ีคณุ ภาพ และผา่ นการทดสอบว่าใช้ได้จรงิ 2) สมรรถนะของบุคลากรหรอื ทีมบคุ ลากร และ 3) การตัดสนิ ใจในระดับ บริหารทีม่ ีจากฐานของประสบการณท์ ่ีพบเจอ ทั้ง 3 ประการน้จี ะต้องทางานแบบสอดประสานเพื่อใหไ้ ดผ้ ลลพั ธ์ ท่ีสมดุลและลดความเสย่ี งท่ีจะเกดิ ขนึ้ ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพ ซึ่ง Lichtenstein,Schonfeld and Kline (1994) ไดก้ ล่าวว่า การปอ้ งกนั ปัญหาที่อาจเกิดข้ึนจะต้องพิจารณาทัง้ 2 สว่ นไปพร้อม ๆ กันทง้ั การเตรียมการการป้อง กนั และการดูแลในสถานการณ์วกิ ฤตซิ ง่ึ Lichtensteinetal. (1994) ได้เสนอรปู แบบการปอ้ งกนั และดูแลใน

16 สถานการณ์วกิ ฤติ โดยการกำหนดแผนและแนวทางเป็นระดับ 3 ระดับ ตงั้ แตร่ ะดับกระทรวง/ภาค ระดับเขต พ้ืนที่ และระดบั ของโรงเรียนดังน้ี 1. ทีมทำงานแก้วิกฤติระดับกระทรวง/ระดับภาค ประกอบด้วย ผู้แทนจากระดับเขตพื้นที่ และผเู้ ชี่ยวชาญในแต่ละสาขาภายนอกโรงเรยี น 2. ทีมทำงานแก้วิกฤติระดับเขตพื้นที่ ประกอบด้วย ผู้บริหารและภาคส่วนที่มีความ รับผดิ ชอบสำหรบั การแก้ไขปญั หาวิกฤติ ซ่ึงจะตอ้ ง 2.1 เป็นผู้กำหนดแนวทางโดยประยุกต์นโยบายและคำแนะนำที่ได้รบั จากทีมทำงานแก้วิกฤติ ระดบั กระทรวง/ระดับภาค 2.2 พฒั นาทีมงานในระดับเขตพนื้ ท่ใี หม้ สี มรรถภาพเพยี งพอในการแก้ไขปัญหา 2.3 จัดตง้ั คณะทำงานระดับโรงเรียนทีม่ ีความสามารถ 2.4 สรา้ งความสมั พันธ์ระหวา่ งทีมทำงานแกว้ กิ ฤติระดับเขตพนื้ ทีแ่ ละคณะทำงานระดบั โรงเรยี น 2.5) ติดต่อประสานงานเพอ่ื มอบหมายภารกิจใหก้ บั โรงเรียนและชุมชนทา่ มกลางปญั หา วกิ ฤติทเี่ กดิ ขน้ึ 3. ทีมทำงานแก้วกิ ฤติระดบั โรงเรยี น ถอื เป็นความรับผิดชอบสงู สุดของโรงเรียนในการนำ แผนการจัดการในภาวะวิกฤติไปปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องมีหน้าที่ในการคัดสรร คนที่มีความสามารถในการกำหนดทิศทางและสนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรยี นรวมทั้งชุมชนแก้ไขปัญหาวิกฤต ไปด้วยกัน ซึ่งทีมทำงานแก้วิกฤติระดับโรงเรียนจะมีบทบาทสำคัญในการประสานการให้คำแนะนำ การ เตรียมการกับสื่อ การติดต่อสื่อสารกับบุคลากรในโรงเรียนและชุมชน และอาจมีการวางแผนการควบคุ ม มวลชนในบางกรณีที่เกิดวิกฤติร้ายแรง โดยทีมทำงานแก้วิกฤติระดับโรงเรียนควรมีการกำหนดขั้นตอนในการ วางแผนและการเตรยี มการสำหรับสถานการณ์วกิ ฤติ ดังน้ี 3.1 การกำหนดทมี ทำงานแกว้ กิ ฤตริ ะดับโรงเรียน 3.2 การอบรมสมรรถนะของสมาชกิ ของทมี ทำงานแกว้ ิกฤตริ ะดบั โรงเรียน 3.3 การกำหนดแผนการแก้ไขปัญหาวิกฤตซิ ่ึงเกย่ี วขอ้ งกับ 3.3.1 การกำหนดความรบั ผดิ ชอบของทมี บรหิ ารในสภาวะวกิ ฤติ 3.3.2 การกำหนดการติดตอ่ ประสานงานทรี่ วดเร็วแก่ทมี ทำงานแก้วิกฤติ 3.3.3 การจัดทำทะเบยี นรายชื่อบคุ ลากรที่ไดร้ บั การอบรมในแตล่ ะดา้ นมา โดยเฉพาะ เชน่ การทำ CPR, การปฐมพยาบาลเบือ้ งตน้ นกั จิตวทิ ยา ฯลฯ 3.3.4 การกำหนดข้นั ตอนและรายละเอียดในแตล่ ะสถานการณ์วกิ ฤติ เช่น เสน้ ทาง การหนภี ัย ฯลฯ 3.3.5 การกำหนดแบบฟอร์มจดหมายในการตดิ ตอ่ ประสานงานกับผูป้ กครอง ในกรณวี ิกฤติ 3.4 การทบทวนแผนงานการแก้ปญั หาวิกฤติอย่างสม่ำเสมอ

17 3.5 การตรวจสอบอปุ กรณฉ์ ุกเฉินใหพ้ ร้อมใชง้ านไดต้ ลอดเวลา 2) ความสำคัญของการเตรียมการปอ้ งกนั ระบบของการรับมือกบั สถานการณ์วกิ ฤติท่ดี ีไมใ่ ชเ่ พียงแคก่ ารจัดทำระบบในเชงิ รุกเทา่ นนั้ แตค่ วรมจี ดุ เน้นทเ่ี นน้ การป้องกัน สำหรับการเตรียมการป้องกันสามารถดำเนนิ การไดใ้ นหลายระดับ ดงั น้ี (Lichtenstein et al., 1994) 1. การเตรียมการในระดับห้องเรียนที่จะรับมือกับสถานการณ์วิกฤติ คือ การที่ครูสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจซึ่งกันและกันกับนักเรียน การให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่นักเรียน การปรับหลักสูตรที่เน้นเนื้อหาที่จำเป็น การจัดการความเครียด รวมไปถึงการส่งเสริมความปลอดภัยให้กับ นักเรียน ทั้งความปลอดภัยภายในโรงเรียน ภายนอกโรงเรียน และการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขอนามัยทีด่ ี รวมท้ัง การส่งเสริมความไว้วางใจและการสนับสนุนจากชุมชน และผู้ปกครองเพื่อเตรียมพร้อมกับการรับมือใน สถานการณโ์ ควดิ -19 2. การเตรียมการระดับโรงเรียน คือจะต้องมีการเตรียมการบำรุงรักษาระบบที่มีอยู่อย่าง ต่อเนื่อง ทีมจัดการวิกฤติของโรงเรียนจะต้องทบทวนและปรับปรุงแผนการจัดการวิกฤติทุกปีและมีการฝึกข้ัน พื้นฐานในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติ เช่น การฝึกอบรมเบื้องต้น การใช้เทคนิคในการให้ค ำปรึกษาแก่ นักเรียนในภาวะวิกฤติ การเตรียมวิธีการประสานงานด้านการจัดการสุขภาพจิตกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ รวมทัง้ การจดั ระบบข้อมูลเพอื่ ใหแ้ นใ่ จว่ามกี ารสำรองขอ้ มลู ทเี่ พียงพอในการจัดการอย่างทนั ท่วงทีในกรณีท่ีเกิด ภาวะวกิ ฤติ 3. การเตรียมการระดับเขตพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีคณะกรรมการระดับพื้นที่และมีการจัดตั้งศูนย์ ป้องกันและรับมือกับวิกฤติที่จะเกิดขึ้นกับโรงเรียนในระดับภูมิภาค (Regional School CrisisPrevention and Response Center) ที่มีความร่วมมือกันในการให้บริการประเภทต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับ การประสานงานกับศูนย์ภูมิภาคอื่น ๆจะเห็นได้ว่า กลยุทธ์โดยรวมในการรับมือกับสถานการณ์วิกฤติจะมี ลักษณะทมี่ คี วามสมดลุ ระหว่างการป้องกัน การแทรกแซง และปฏกิ ริ ยิ าท่จี ะเกิดข้ึนในสถานการณ์วกิ ฤติ ดงั นนั้ สถานศึกษาและหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องเตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่ไม่คาดคิดที่อาจะเกิดขึ้นซึ่งเม่ือ เกิดวิกฤติขึ้น หน่วยงานทางการศึกษาก็จะพร้อมที่จะให้บริการผู้เรียนอย่างดีท่ีสุดโดยรบั รู้และตอบสนองความ ต้องการทางจิตใจของนักเรียน ซึ่งการเตรียมความพร้อมในลักษณะนี้จะช่วยฟื้นฟูความสามารถในการเ รียนรู้ และเพม่ิ พนู ทักษะการเผชิญปญั หาและพัฒนาการทางสังคมใหก้ บั ผเู้ รียนไดเ้ ป็นอย่างดี นอกจากนี้ มีนักวิชาการหลายท่านที่เสนอแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการปรับตัวต่อสถานการณ์ วกิ ฤตทิ ่ีเกดิ ข้ึนเพื่อเตรยี มพรอ้ มสำหรบั สิ่งทไี่ มค่ าดคดิ ท่อี าจจะเกิดขึ้น ดังน้ี Roy (อ้างถึงใน, Roy & Andrews, 1999) กล่าวถึงการปรับตัวเป็นกระบวนการและผลลัพธ์ ที่บุคคลบูรณาการการรับรู้และความรู้สึกเข้ากับสิ่งแวดล้อมให้กลมกลืน โดย Roy ใช้แนวคิดจากทฤษฎีระบบ มาอธิบายระบบการปรับตัวของบุคคลว่า บุคคลเป็นเหมือนระบบการปรับตัวที่มีความเป็นองค์รวม( Holistic adaptive system) และเป็นระบบเปิด ประกอบด้วย สิ่งนำเข้า (Input) กระบวนการเผชิญปัญหา (Coping

18 process) สิ่งนำออก (Output) และกระบวนการป้อนกลับ (Feedback process)แต่ละส่วนนี้จะทำงาน สัมพันธ์กันเป็นหนึ่งเดียว โดยเมื่อสิ่งเร้าที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในผ่าน เขา้ สูร่ ะบบการปรับตวั จะกระตนุ้ ใหบ้ ุคคลมีการปรับตัวตอบสนองตอ่ ส่ิงเร้านน้ั โดยใชก้ ระบวนการเผชิญปญั หา 2 กลไก คือ กลไกการควบคุม และกลไกการคิดรู้ กลไกทั้งสองนี้จะทำงานควบคู่กันเสมอ ส่งผลให้บุคคลแสดง พฤติกรรมการปรับตัวออกมา 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ด้านบทบาทหน้าที่ และด้านการพึ่งพา ระหว่างกัน ผลลัพธ์การปรับตัวมี 2 ลักษณะ คือ ปรับตัวได้ และปรับตัวไม่มีประสิทธิภาพ โดยสิ่งน ำออกจาก ระบบนี้จะป้อนกลับไปเป็นสิ่งนำเข้าระบบเพื่อการปรับตัวที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ ความสามารถในการปรับตัว ของแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันโดยข้ึนอยู่กับความรุนแรงของสิง่ เร้า และระดับความสามารถในการปรบั ตวั ของ บคุ คลในขณะนัน้ Rogers (1972) ผู้นำทฤษฎีว่าด้วยตน และทฤษฎีการให้คำปรึกษาแบบผู้รับคำปรึกษาเป็น ศูนย์กลาง เขาได้พิจารณาการปรับตัวในแง่ของการปรับตัวภายในตนเองโดยเขาเช่ือว่ามนุษย์ทุกคนเป็น ศูนย์กลางของประสบการณ์ต่าง ๆ รอบตัวซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ส่วนหนึ่งของประสบการณ์ที่บุคคล ได้รับรูแ้ ละมีการปฏิสมั พันธก์ ับผู้อื่น รวมท้ังการประเมนิ ผลจากการมีปฏิสมั พันธ์น้ันก่อใหเ้ กดิ ตัวเรา(Self) หรือ “โครงสร้างของตน” ขึ้นมาเป็นการรับรู้เกี่ยวกับตนในด้านต่าง ๆ เช่น บุคลิกลักษณะความสามารถของตน บทบาทต่างๆ ของตนในการเกี่ยวข้องกับผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม ทัศนคติและค่านิยมต่าง ๆ ของตัวเรา ประสบการณ์ท่ีแต่ละบคุ คลได้รับจึงมีส่วนสำคัญในการกำหนดบคุ ลิกภาพของบุคคลใหแ้ ตกต่างกัน โดยที่แตล่ ะ คนจะเข้าใจและรู้จักโลกส่วนตัวของเขาได้ดีที่สุด บุคคลที่ปรับตัวได้ คือ บุคคลที่เป็นตัวของตัวเอง เข้าใจและ ยอมรับตนเอง และผูอ้ ืน่ รวมทง้ั สามารถรับรู้ประสบการณต์ า่ ง ๆ ตามความเปน็ จรงิ นำประสบการณน์ ้นั มาจดั ให้ สอดคล้องกับโครงสร้างหรือบุคลิกลักษณะของตนอย่างไม่ขัดแย้งหรือบิดเบือนมีการรับรู้และความคิดเกี่ยวกบั ตนเองในทางบวก ส่วนบุคคลที่ปรับตัวไม่ได้ จะมีความขัดแย้งระหว่างความคิด เกี่ยวกับตนกับประสบการณ์ท่ี เกดิ ข้นึ มาใหมอ่ ย่างมาก ทำใหเ้ กิดความตึงเครยี ด วติ กกังวล สบั สนไมแ่ นใ่ จ สญู เสยี ความเปน็ ตวั ของตัวเองและ มคี วามคดิ เห็นเก่ียวกบั ตนจะเปน็ ไปในทางลบ Havighurst (1953) มองการปรับตัวในแง่ของการเรียนรู้งานตามพัฒนาการของชีวิตเขามี ความเห็นว่า พัฒนาการของชีวิตในแต่ละวัยนั้น แต่ละบุคคลมีงานประจำวัยที่ต้องเรียนรู้ควบคู่กันไปถ้าบุคคล สามารถพัฒนางานประจำวัยได้สำเร็จก็จะเป็นบุคคลที่มีความสุขและสามารถพัฒนางานประจำวัยในขั้นต่อไป ได้สำเร็จด้วย ในทางตรงกันข้ามงานในช่วงวัยใดไม่ประสบผลสำเร็จจะทาให้บุคคลนั้นไม่มีความสุข และพัฒนา งานประจำวัยในช่วงต่อไปได้ยากลาบาก ดังนั้นบุคคลที่มีการปรับตัวได้ในทัศนะของ Havighurst จึงหมายถึง บุคคลท่ปี ระสบความสำเร็จในการเรียนรู้และพัฒนางานประจำให้ผ่านพ้นไดด้ ว้ ยดี Williamson (1950) ผู้นำทฤษฎีการใหค้ ำปรึกษาแบบนำทางมีความเชอื่ วา่ มนุษยม์ ีสติปญั ญา และเหตุผล ตลอดจนมีแนวโน้มที่จะพัฒนาตนเองได้ แต่การที่จะพัฒนาได้นั้นต้องอาศัยความช่วยเหลือจาก ผูอ้ ืน่ โดยเฉพาะสังคมทแ่ี วดล้อมเขาอยู่ การท่ีบคุ คลมีปฏสิ ัมพนั ธก์ ับบคุ คลอื่นในสงั คมจะทาให้เขามองเห็นและ รู้จักตนเองในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ ความสามารถ ความสนใจ ค่านิยมและทัศนคติความต้องการและ เป้าหมายที่เขาเลือก ในขณะเดียวกนั กไ็ ด้เรียนรู้จากผูอ้ ื่น ได้รับรู้ประสบการณ์สังคมในด้านต่าง ๆ เช่น ค่านิยม

19 ทางสังคม มาตรฐานและข้อจำกดั ทางสังคม ปญั หาตา่ ง ๆ ในสังคมตลอดจนวิธกี ารท่ีจะจดั การแก้ไขทั้งทางตรง และทางอ้อม จากความเชื่อ ดังกล่าว Williamson จึงสรุปว่าบุคคลสามารถปรับตัวได้ถ้ามีความรู้ความเข้าใจ ในตนเองรวมท้ังการรู้จกั และการเขา้ ใจสงั คม 3) รปู แบบการจดั การวิกฤตใิ นองค์กร การจัดการวิกฤติเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการบริหารงานขององค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำคัญ ต่อการบริหารกลยุทธ์ที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ (Hall, 2006 ; Hermann, 1963) อธิบายว่าการ เกิดสถานการณ์วิกฤติขององค์กรจะเกิดขึ้นต่อเมื่อการที่องค์กรเกิดความกลัว ความสูญเสียต่อทรัพยากร ที่มี มูลค่าสูงขององค์กร รวมทั้ง การมีเวลาที่จำกัดในการจัดการสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และการเกิดสิ่งท่ีไม่คาดคิด กับองค์กร ในขณะที่ Darling (1994) กล่าวว่า “วิกฤติเป็นสถานการณ์ลักษณะหนึ่งที่เกิดจากการขาดการ วางแผนทเ่ี หมาะสมและการขาดบุคลากรท่ีมีทักษะและความพร้อมท่ีจะจดั การปญั หาอยา่ งเพียงพอ” MacNeil and Topping (2007) ให้ความสำคัญกับการบริหารโรงเรียน โดยกล่าวว่าผู้บริหารโรงเรียนจำนวนมากขาด ทักษะในการป้องกันวิกฤติที่เกิดขึ้น หรือแม้กระทั่งการตัดสินใจสั่งการภายใต้สถานการณ์กดดันใ น สภาพแวดล้อมที่ขาดแคลนทั้งด้านข้อมูล เวลา และทรัพยากร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรหรือสถานศึกษา จะต้องมีกระบวนการในการจัดการวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพซึ่ง Coombs and Holladay (1996) ไดก้ ลา่ วถงึ กระบวนการจดั การวกิ ฤติ วา่ ควรประกอบด้วย 4 ขัน้ ตอน ได้แก่ 1. การพัฒนาแผนการจัดการวิกฤติ (Critical management plan) สถานศึกษาจะต้องมี แผนการจัดการวิกฤติโดยคำนึงถึงข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ความร่วมมือของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง และทรัพยากร ทางการบริหารทเี่ พียงพอ 2. การพัฒนาทีมจัดการวิกฤติ (Critical management team) สถานศึกษาจะต้องมีทีม บุคลากรที่มีสมรรถนะในการจัดการ มีทักษะในการสื่อสาร ทักษะในการสังเกต รวมถึงทักษะในการทำงาน รว่ มกับผู้อน่ื 3. การจัดการเครือข่ายการสอื่ สาร (Communication Network) สถานศึกษาจะต้องมกี าร จัดการเครือข่ายการสื่อสารทั้งในส่วนของการสื่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งการสื่อสารทาง เทคโนโลยีทีส่ ำคัญ 4. การฝกึ อบรม การประเมินผล และการสะท้อนผล (Training, Evaluation & Feedback) สถานศึกษาจะต้องมีการพัฒนาบุคลากรโดยการฝึกอบรมทั้งแบบเผชิญหน้า และแบบออนไลน์มีการ ประเมนิ ผลทักษะ การปฏบิ ัติ และสะท้อนผลการพฒั นาเพือ่ การแก้ไขและปรบั ปรงุ Netolicky (2020) กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ผู้นาต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว และด้วยการมองการณ์ไกลในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ยังคงต้องคำนึงถึงทางเลือก ผลที่จะตามมา และ ผลข้างเคียงของการกระทาอย่างรอบคอบ Caplan (1964) ได้กล่าวถึงรูปแบบการจัดการวิกฤติ 3 ระดับว่า จะต้องประกอบด้วย

20 1. การแทรกแซงในระยะขั้นต้น (Primary intervention) ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมในการ ปอ้ งกันวกิ ฤติที่เกิดข้นึ 2. การแทรกแซงในระยะที่ 2 (Secondary intervention) เป็นการดำเนินงานเพ่ือลด ผลกระทบและปอ้ งกนั ไมใ่ ห้วิกฤติทวคี วามรุนแรงข้ึน 3. การแทรกแซงในระยะที่ 3 (Tertiary intervention) เป็นการดาเนินงานเพอื่ การติดตาม ใหค้ วามช่วยเหลอื ผูท้ ่ีประสบภาวะวกิ ฤตใิ นระยะยาว Paton (1992) ได้สรปุ ถึงกระบวนการเพ่ือการพฒั นาการจดั การวกิ ฤตทิ ี่มปี ระสิทธภิ าพ ดังนี้ 1. ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบสำคัญ (Key person) ของกระบวนการจัดการ วกิ ฤติ 2. แผนการจัดการวกิ ฤติจะตอ้ งได้รบั การพัฒนาในลักษณะใหค้ ำปรึกษาและร่วมมือเพื่อการ นำไปสู่การปฏิบัติจรงิ 3. บุคคลและหน่วยงานท่รี บั ผดิ ชอบในการจัดการวกิ ฤตจิ ะตอ้ งมสี ว่ นร่วมในการพัฒนาแผน การจัดการวิกฤตริ ่วมกนั 4. ต้องมีการจัดสรรทรัพยากรประกอบการดำเนินงานตามแผนการจัดการวิกฤติอย่าง เพียงพอและเหมาะสม 5. ควรมกี ารประเมนิ ความเส่ียงในกระบวนการจดั ทาแผนการจดั การวิกฤติ 6. จะต้องมีขอ้ มลู เหตุการณว์ กิ ฤติทผี่ า่ นมาเพื่อสนบั สนุนการจัดทาแผนอย่างเพยี งพอ 7. แผนการจัดการวิกฤติจะต้องมีการระบุและกาหนดภารกิจและความรับผิดชอบของ บุคลากรในแต่ละตำแหน่งที่รับผิดชอบ รวมไปถึงตำแหน่งของบุคลากรในทุกองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อการ เชือ่ มโยงและการประสานการทำงานร่วมกัน 8. แผนการจัดการวิกฤติจะต้องตั้งอยู่บนข้อมูลและความคาดหวังที่มีแนวโน้มที่จะสามารถ ปฏบิ ัตไิ ดอ้ ย่างแท้จรงิ 4) บทบาทของการจัดการเรียนรู้แบบ e-Learning ในการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์ โควดิ -19 ความสามารถในการจัดการวิกฤติเป็นความท้าทายสำหรับทุกองค์กร ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่จะ ประสบปัญหากับการปรับเปลี่ยนบุคลากร เช่น การโยกย้าย การบรรจุใหม่ ซึ่งประสบกาณ์ในการทำงานของ บุคลากรที่แตกต่างกันเป็นปัจจัยหนึ่งของการบริหารการจัดการภายใต้ภาวะวิกฤติ ซึ่งการพัฒนาหรือการ ฝึกอบรมอาจจะไม่ทันการกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นในองค์กร และการฝึกอบรมจะทำได้ก็ต่อเม่ือ องค์กรมีความพร้อมด้านทรัพยากร และต้องพึ่งพาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จากภายนอกซึ่งอาจมี ค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น การจัดการเรียนรู้แบบ e-Learning ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติจึงมีส่วนสำคัญในการ จัดการเรียนรู้ในสังคมที่มีการแข่งขันสูงในองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลาง

21 สถานการณ์วิกฤติ ในแง่ของการศึกษา ประโยชน์สำคัญในการจัดการเรียนรู้โดยใช้ e-Learningปรากฎให้เห็น ชดั เจนใน 3 ประเดน็ ดังน้ี (CS & A International, 2019) 1. ความยืดหยุ่น (Flexibility) การจัดการเรียนรู้แบบ e-Learning จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ อย่างไม่จากดั สถานทแี่ ละเวลา หรือ ‘anytime and anywhere learning’ 2. ความคงเสน้ คงวา (Consistency) การจดั การเรียนรแู้ บบ e-Learning จะช่วยให้การ อบรมหรอื การจัดการเรียนรมู้ คี ณุ ภาพและคงเส้นคงวา 3. การจัดการที่ทันสมัย (Managing updates) เมื่อเกิดเหตุสถานการณ์วิกฤติ เนื้อหาการ จดั การเรียนรูจ้ ะถูกปรับใหท้ ันสมัยตามไปด้วย โมดลู ที่อยใู่ นการจัดการเรียนร้แู บบออนไลน์จะเป็นการจัดการที่ รวดเรว็ และมกี ารจดั การทคี่ งเส้นคงวา พร้อมในการปฏบิ ัติงานอยเู่ สมอ 4. การจัดการที่มีประสิทธิผล (Effective management) สถานการณ์วิกฤติจะทำให้การ จัดการเรียนรู้แบบ e-Learning มีประสิทธิผลเมื่อเทียบกับต้นทุนที่ดำเนินการ เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้ ระบบนี้ในการฝึกทักษะได้อย่างบ่อยครั้ง จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกว่าระบบการสอนแบบเดิมท่ี ผู้สอนจะต้องจัดการเรียนรู้ซ้ำ ๆการจัดพัฒนาและฝึกอบรมในองค์กรขนาดใหญ่จะเป็นการนำ e-Learning มา ใช้เพื่อเป็นการรักษาระดับความรู้ (Knowledge maintain) มากกว่าการคำนึงถึงผลประโยชน์ขององค์กรเป็น สำคัญรวมทั้งในแง่ของการศึกษา การจัดการเรียนการสอนแบบ e-Learning ในการจัดการภาวะวิกฤติจะ สามารถเป็นส่วนเสริมที่สำคัญที่มีประโยชน์สาหรับการพัฒนาบุคลากรผู้สอนและผู้เรียน และเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ในการพัฒนาความสามารถในการจัดการภาวะวิกฤติ การจัดการเรียนรู้แบบe-Learning ที่จะมี ประสิทธิภาพมากที่สุด จะขึ้นอยู่ว่า การจัดรายวิชาแบบ e-Learning จะต้องได้รับการออกแบบจาผู้เชี่ยวชาญ ในศาสตร์เพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมแบบเสมือนจริง ( Virtual environment) ซึ่งอาจเป็นในลักษณะ วิธีการปฏิสัมพันธ์ (Interactive approaches) ที่ใช้สื่อ PowerPointในการสร้างหรือฝึกทักษะ หรืออาจเป็น การจัดทำใบงานหรอื ใบ assignment ทีม่ ีการประเมินผลอยา่ งทนั ทที ำใหผ้ ้เู รยี นสนใจและกระตือรอื รน้ กล่าวโดยสรุป การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์เร่งด่วนหรือสถานการณ์วิกฤติจำเป็นอย่างย่ิง ที่จะต้องมีมาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ โดยการกำหนดแผนและ แนวทางเป็นระดับขั้นของการบังคับบัญชา เริ่มตั้งแต่ ระดับกระทรวง/ภาค ระดับเขตพื้นที่ และระดับของ โรงเรียน ซงึ่ แตล่ ะระดับจะต้องกำหนดบทบาทและหนา้ ทอี่ ยา่ งชดั เจนและเชือ่ มโยงการทำงานเป็นเครอื ข่าย ซง่ึ นอกจากมีการเตรียมการที่สำคัญแล้ว จะต้องมีกลยุทธ์การเตรียมการป้องกันในทุกระดับตั้งแต่ระดับห้องเรียน ระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่ที่มีความสมดุลระหว่างการป้องกัน การแทรกแซง และปฏิกิริยาที่จะเกิดขึ้นใน สถานการณ์วิกฤติ ซึ่งนักวิชาการได้เสนอกระบวนการจัดการวิกฤติ ประกอบด้วยการพัฒนาแผนการจัดการ วิกฤติ การพัฒนาทีมจัดการวิกฤติ การจัดการเครือข่ายการสื่อสาร และการฝึกอบรม การประเมินผล และการ สะท้อนผล และจากการนำเสนอดังกล่าวข้างต้นได้กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้แบบ e-Learning ในการจัดการ เรยี นรู้ในสถานการณว์ ิกฤติที่สามารถให้ประโยชนแ์ ก่ผู้เรียนทงั้ ในเรื่องของความยืดหยุน่ ความคงเส้นคงวา การ จัดการที่ และความสามารถในการจัดการที่มีประสิทธิผล ซึ่งการจัดการเรียนรู้แบบ e-Learning ที่จะมี ประสิทธภิ าพมากท่สี ุด จะขึน้ อยู่กบั การออกแบบจากผู้เช่ยี วชาญในศาสตรเ์ พ่อื ให้เหมาะกับสภาพแวดลอ้ มแบบ

22 เสมือนจริง ทั้งในเรื่องของเนื้อหา วิธีการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผล และไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า การ จดั การเรียนรแู้ บบ e-Learningจะสามารถเปน็ สว่ นเสรมิ ทส่ี ำคัญท่ีมปี ระโยชนส์ ำหรบั การพัฒนาบคุ ลากรผู้สอน และผเู้ รยี น เพ่ือใหบ้ รรลวุ ัตถปุ ระสงค์ในการพฒั นาความสามารถของผูเ้ รยี นในสภาวะวกิ ฤติ 2.4 แนวคิดเก่ยี วกบั การจดั การเรยี นรใู้ นสถานการณ์โควดิ -19 2.4.1 นโยบายและแนวทางการจดั การเรยี นร้ใู นสถานการณโ์ ควดิ -19 ในตา่ งประเทศ 1) นโยบายและแนวทางการจดั การเรียนรูใ้ นสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ แคนาดา เมื่อประสบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในประเทศแคนาดา ในเดือนมีนาคม ปี 2020 ในระยะเรม่ิ แรกของการแพรร่ ะบาดของเชื้อไวรัส รฐั บาลของแคนาดา โดยแต่ละมณฑลไดม้ ีการส่ังปิด โรงเรียนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ซึ่งในระยะต่อมาได้มีการวางระบบโดยใช้การศึกษาทางไกล ผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นการอบรมสัมมนาผ่านเว็บ การจัดทาวิดีโอการสอนการจัดประสบการณ์การ เรียนรู้แบบออนไลน์โดยการสอนสด (live) รวมทั้งการสนับสนุนทรัพยากรการศึกษาแบบให้เปล่ากับครู ผู้ปกครองและนักเรียน ในขณะเดียวกัน นักการศึกษาชั้นนำจากทั่วโลกได้มีการแชร์บล๊อคและการเผยแพร่ บทความในประเด็นที่น่าสนใจทั้งในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Twitter,Facebook หรือสื่อสังคมอื่น ๆ เพื่อเป็น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมทั้งแลกเปลี่ยนความสำเร็จผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบทางไกลอย่าง หลากหลายวิธี (Osmond-Johnson, Campbell & Pollock, 2020)ในขณะที่ People for Education (2020) ได้สำรวจระบบการศึกษาของแคนาดาที่ตอบสนองการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยได้ เปรียบเทียบนโยบายและวิธีจัดการศึกษา และความคาดหวังในการจัดการเรียนรู้ (Learning expectations) ระหว่างเกดิ การแพรร่ ะบาดของแต่ละมณฑล ปรากฏดังตารางท่ี 1 ตารางท่ี 1 นโยบายและวธิ จี ดั การศึกษา และความคาดหวงั ในการจดั การเรียนร้ขู องแตล่ ะมณฑลของ ประเทศแคนาดา มณฑล นโยบายและวิธจี ดั การศกึ ษา ความคาดหวงั ในการจัดการเรยี นรู้ (Educational policy / approaches) (Learning expectations) British ต้งั แตว่ ันที่ 1 มถิ ุนายน นกั เรียนจะมที างเลอื กวา่ จะ ครูยงั คงดำเนนิ การจดั การเรยี นรู้ และการมี Columbia เขา้ เรียนในลกั ษณะบางเวลา ( part-timebasis) สว่ นร่วมของผูป้ กครองหรอื ผู้ดแู ลเดก็ จะ หรอื ไม่ โดยเร่มิ ในระยะที่ 3 ของแผนงานการกลบั ขนึ้ อยกู่ บั อายุและความสามารถของเด็กและ เข้าเรยี น (phase 3 of school return plan) เวลาทีผ่ ปู้ กครองหรอื ผดู้ แู ลเด็กจะสามารถ (รัฐบาล British Columbia) เข้ามามีส่วนรว่ มกบั โรงเรียน Alberta โรงเรียนยงั คงถกู ส่ังใหป้ ดิ ทำการตลอดปกี ารศกึ ษา - K-3: เรยี น 5 ชั่วโมงต่อสปั ดาห์ ท่เี หลืออยู่ ซ่ึงโรงเรยี นจะกลบั มาเปดิ เรยี นอกี คร้งั - Gr. 4-6: เรยี น 5 ช่วั โมงตอ่ สปั ดาห์ ในปกี ารศกึ ษา 2020/2021 ซ่ึงจะเปิดเรยี นในวนั ท่ี - Gr. 7-9: เรยี น 10 ชัว่ โมงตอ่ สปั ดาห์ 1 สงิ หาคม 2020 - Gr. 10-12: เรยี น 3 ชัว่ โมงตอ่ สัปดาห์ ต่อหนงึ่ ภาคการศึกษา

23 มณฑล นโยบายและวธิ ีจดั การศกึ ษา ความคาดหวงั ในการจดั การเรียนรู้ Saskatchewan (Educational policy / approaches) (Learning expectations) - โรงเรียนยังคงถกู ส่ังใหป้ ิดทำการตลอดปี - การจดั การเรยี นรู้ขนึ้ อยู่กบั การตัดสนิ ใจ การศกึ ษาทเ่ี หลอื อยู่ ของโรงเรยี นรวมท้งั การตดิ ตอ่ สอ่ื สารกบั - โรงเรียนจะเปดิ ทำการอกี คร้งั สาหรบั นกั เรยี น ผปู้ กครอง ระดับปฐมวัยถึงมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ โดย - กระทรวงศกึ ษาธกิ ารรว่ มทำงานกับ จดั เปน็ โรงเรยี นและครูในการจดั โครงการตาม การเรียนรรู้ ายบคุ คล (in-person learning) หลกั สูตรการสอนเสริม(supplemental ในปกี ารศกึ ษา 2020/2021 curriculum program) สูก่ ารปฏิบตั ิ โดย ผา่ นวธิ กี ารเรยี นทางไกลเพอ่ื ทำให้มนั่ ใจว่า นกั เรยี นทจี่ ะเรยี นร้ใู นรูปแบบการสอน ทางไกลจะมที รพั ยากรที่จำเปน็ เพยี งพอ Manitoba - การเรียนรูใ้ นห้องเรียนถกู ยกเลกิ จนถงึ สิน้ ปี - K-4: เรียน 5 ช่วั โมงตอ่ สัปดาห์ การศกึ ษา โรงเรยี นจะเปิดใหส้ ำหรบั บคุ ลากร - Gr. 5-8: เรยี น 10 ชว่ั โมงต่อสปั ดาห์ และหลักสูตรพเิ ศษเท่านน้ั - Gr. 9-12: เรียน 3 ชว่ั โมงตอ่ สปั ดาห์ - ครูและนักเรียนอาจจะพบปะกันไดใ้ นลกั ษณะ ต่อหนง่ึ ภาคการศกึ ษา กลุ่มเล็ก ๆ หรือพบในลักษณะตวั ต่อตวั เพื่อการ ประเมินผลการเรียนของนกั เรียน รวมทง้ั โรงเรยี นได้สนับสนุนการจัดคลนี ิคให้คำปรึกษา การจดั ทำแผนการเรยี นรู้เพอื่ การแกไ้ ขปญั หา ในสถานการณ์ทเ่ี กดิ ขนึ้ รวมทง้ั การจดั ให้มกี าร บรกิ ารทางดา้ นจติ บาบัด Ontario - โรงเรียนยังคงถูกสง่ั ใหป้ ดิ ทำการตลอดปี - K-3: เรยี น 5 ช่ัวโมงตอ่ สปั ดาห์ การศึกษาทเี่ หลอื อยู่ - Gr. 4-6: เรยี น 5 ชั่วโมงตอ่ สปั ดาห์ - มแี ผนในการเปดิ เรียนอีกครง้ั ในชว่ งภาคฤดู - Gr. 7-8: เรยี น 10 ชว่ั โมงต่อสปั ดาห์ ใบไม้รว่ ง ซ่ึงจะประกาศเปิดโรงเรยี นก่อนสิน้ - Gr. 9-12: เรยี น 3 ชัว่ โมงตอ่ สัปดาห์ ปีการศกึ ษาน้ี ตอ่ หนึง่ ภาคการศึกษา

24 มณฑล นโยบายและวิธจี ัดการศกึ ษา ความคาดหวงั ในการจัดการเรยี นรู้ Quebec (Educational policy / approaches) (Learning expectations) - โรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งจะกลับมาเปดิ - การเปดิ โรงเรียน (L’École Ouverte อีกครงั้ ในวันท่ี 11 พฤษภาคม ยกเว้นในเขต / The Open School) เป็นการให้ Greater Montreal area ทางเลือกโดยใชค้ าวา่ “Choose your - โรงเรยี นมัธยมและข้นั เตรียมมหาวทิ ยาลยั own adventure” หรือวุฒบิ ตั รวชิ าชพี (CEGEPs - ซ่ึงมเี ฉพาะใน - การใช้เคร่อื งมอื ในการเรยี นแบบ มณฑลQuebec) จะปดิ จนถึงฤดูใบไมร้ ่วง ทางไกลจะขึน้ อย่กู ับการตัดสินใจของ - การกลบั มาเขา้ เรยี นของนักเรยี นระดับ ผู้ปกครองและนกั เรยี น ไมไ่ ดเ้ ป็นการ ประถมศึกษาจะเปน็ ทางเลือกใหก้ ับผปู้ กครอง บังคบั ในการตดั สนิ ใจว่าจะให้นกั เรียนเรียนที่บา้ นหรือ - มีการใช้ Télé-Québec ซ่ึงเปดิ ทา จะสง่ นักเรยี นมาทโ่ี รงเรยี นตลอดที่โรงเรยี นสงั่ การจดั การเรยี นรู้แบบออนไลน์ทาง ปดิ ทำการ โทรทัศน์ เมอ่ื วนั ที่ 13 เมษายน โดยมี - ในวนั ที่ 1 กรกฎาคม 2020 นกั เรยี นระดับ เน้อื หาการสอนท้งั ในระดับปฐมวยั มัธยมศกึ ษาบางคนอาจเข้าเรียนในช้นั เรียนภาค ระดับประถมศกึ ษาระดบั มธั ยมศกึ ษา ฤดูรอ้ นเป็นการสว่ นบคุ คล หรืออาสาสมคั ร รวมทงั้ เน้ือหาสำหรบั ผู้ปกครองดว้ ยเช่นกัน หรอื ตามคำแนะนำของครู New Brunswick - โรงเรยี นปดิ ทำการจนถงึ อยา่ งนอ้ ยเดือน - K-2: เรียน 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กนั ยายน - Gr. 3-5: เรยี น 5 ช่วั โมงตอ่ สัปดาห์ - ครจู ะกลบั มาทำการสอนในวันที่ 1 มถิ ุนายน - Gr. 6-8: เรยี น 10 ชวั่ โมงตอ่ สปั ดาห์ และวันท่ี 5 มถิ นุ ายน เพอื่ ทำการสรุปงานของปี - Gr. 9-10: เรยี น 12.5 ชว่ั โมงต่อ การศึกษา 2019/2020 และวางแผนสำหรับ สัปดาห์ ภาคฤดใู บไม้รว่ ง - Gr. 11-12: เรยี น 12.5 ชว่ั โมงต่อ - นกั เรียนจะปดิ การเรยี นการสอนจนถึงหลัง สัปดาห์ การเรียนภาคฤดูรอ้ น - การจดั การเรยี นรู้สำหรบั เด็กปฐมวัยและการ อำนวยความสะดวกสำหรบั การดูแลเด็กจะเปดิ ประมาณวนั ที่ 19 พฤษภาคม และส่งเอกสาร แนวทางการดูแลเดก็ ไปยงั ผ้ปู กครองท่บี ้าน

25 มณฑล นโยบายและวธิ จี ดั การศกึ ษา ความคาดหวงั ในการจดั การเรียนรู้ (Educational policy / approaches) (Learning expectations) Prince Edward Island - โรงเรยี นยังคงถูกสัง่ ใหป้ ิดทำการตลอดปี ประถมศึกษา: 60 นาทีต่อวนั การศกึ ษา มธั ยมศกึ ษาตอนต้น: 90 นาทตี อ่ วนั - โรงเรียนบางแห่งเปิดทำการให้กับนักเรียน มธั ยมศึกษาตอนปลาย: 2 ช่วั โมงต่อ ซง่ึ จะไดร้ ับการดูแลจากศนู ยบ์ รกิ ารนักเรยี น สปั ดาห์ต่อภาคการศึกษา (StudentServices) หมายเหตุ: ท่ีปรกึ ษาและนักจติ วิทยา ของ Nova Scotia - โรงเรยี นรฐั บาลในปกี ารศึกษา โรงเรยี นจะใหบ้ รกิ ารใหค้ ำปรึกษากบั 2019/2020 จะปิดทำการในวนั ที่ 5 นกั เรยี นทต่ี อ้ งการความชว่ ยเหลอื มถิ ุนายน 2020 รวมท้ังโรงเรียนไดร้ ิเรมิ่ จัดโครงการ ช่วยเหลือครอบครวั ของนกั เรียนท่ี Newfoundland - โรงเรยี นปิดทำการอยา่ งไม่มีกำหนด ประสบกับปญั หาการขาดแคลนอาหาร & Labrador - แผนการเปิดโรงเรยี นยงั ไม่ได้ถกู กำหนดใน ดว้ ย - K- Grade 6: เรียน 5 ชว่ั โมงตอ่ แนวทางการจดั การศกึ ษาของมณฑล สปั ดาห์ - Grades 7-9: เรยี น 10 ชวั่ โมงตอ่ สปั ดาห์ - Grades 10-12: เรียน 3 ชวั่ โมงต่อ สัปดาห์ตอ่ ภาคการศึกษา - แผนการจัดการศึกษาและการเรียน การสอนจะเปล่ยี นเปน็ การสอนแบบ ออนไลน์ และครจู ะใช้การสอนโดยผา่ น Google Classroom และ Google Meet Yukon - โรงเรยี นปิดทำการตลอดปกี ารศกึ ษาที่ แต่ละโรงเรยี นจะมแี ผนการจดั การ เหลือโดยจะปฏบิ ัติตามแนวทาง “A Path เรยี นรู้ทบ่ี า้ น ( at-home learning Forward:Yukon’s plan for lifting plans) โดยพจิ ารณาจากบริบทที่เปน็ COVID-19restrictions” ของมณฑล เอกลักษณข์ องแตล่ ะชุมชนที่โรงเรียน ตั้งอยเู่ อกลกั ษณ์ของแตล่ ะชุมชนท่ีโรงเรยี น ตง้ั อยู่

26 มณฑล นโยบายและวธิ ีจัดการศกึ ษา ความคาดหวงั ในการจัดการเรียนรู้ (Educational policy / approaches) (Learning expectations) Northwest - การจดั การเรยี นรู้ทบ่ี ้าน (at-home Territories - โรงเรียนปิดทำการตลอดปกี ารศกึ ษาที่เหลือ learning) มีวธิ กี ารเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยจะปฏบิ ัตติ ามแนวทาง ระยะท่ี 1 เช่น การเรยี นรแู้ บบดจิ ิทลั และออนไลน์ ( Nunavut EmergingWisely: Path to Eased Public digital and onlinelearning) การเรยี นรู้ HealthRestrictions ของมณฑล โดยใช้กระดาษเป็นหลัก หรอื โทรศพั ทเ์ ปน็ หลัก( phone or paper-based - โรงเรยี นปิดทำการตลอดปกี ารศึกษาที่เหลือ learning)หรอื ทางเลอื กอืน่ ๆ โดยจะปฏบิ ตั ิตาม “Nunavut’s Path: - K-6: เรียน 5 ชัว่ โมงตอ่ สัปดาห์ movingforward during COVID-19” ของ - Grades 7-9: เรียน 10 ชว่ั โมงตอ่ มณฑล สปั ดาห์ - Grades 10-12: เรยี น 3 ช่ัวโมงต่อ สัปดาห์ตอ่ ภาคการศกึ ษา - หน่วยงานทางการศึกษาแต่ละ หนว่ ยงานและโรงเรียนจะช่วยกนั พฒั นาแผนงานทีต่ อบสนองตอ่ ความ ต้องการของชมุ ชน - K-3: เรียน 3 ช่วั โมงต่อสปั ดาห์ - Grades 4-6: เรยี น 5 ชั่วโมงตอ่ สปั ดาห์ - Grades 7-9: เรียน 7 ชวั่ โมงต่อสปั ดาห์ - Grades 10-12: เรียน 3 ช่ัวโมงตอ่ สัปดาห์ตอ่ ภาคการศึกษา - สำหรับครอบครัวนักเรยี นทไ่ี ม่มี อนิ เทอรเ์ น็ต สามารถทำงานผา่ นใบงาน และการสนับสนุนอ่นื ๆ ตามทส่ี ามารถ ทำได้ - ครูจะพัฒนาการเรยี นรแู้ บบสำเร็จรปู ใหน้ ักเรียนสามารถเรียนทบ่ี า้ นได้ (learning at home packages) ซ่ึง การเรียนรู้แบบสำเร็จรูปอาจแตกต่าง กนั สำหรับนกั เรยี นแตล่ ะคน ซึ่งอาจ เป็นใบงาน ใบกจิ กรรมทเ่ี ป็นชิน้ งาน หรือใบงานท่ีผา่ นอิเล็คทรอนกิ ส์

27 จะเห็นได้ว่าการจัดการเรียนรู้ตามระบบการศึกษาของประเทศแคนาดาระหว่างเกิดการแพร่ ระบาดของ COVID-19 จะมีนโยบายและวิธีจัดการศึกษา และความคาดหวังในการจัดการเรียนรู้ของแต่ละ มณฑลที่อาจเหมือนกันหรือแตกต่างกันในบางประเด็นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแต่ละมณฑล แม้ว่า นโยบายและวิธีจัดการศึกษาจะแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ เจตนารมณ์ที่จะให้นักเรียน เกิดการ เรียนรทู้ ่ามกลางสถานการณว์ ิกฤตทิ เ่ี กดิ ข้ึนทงั้ สถานการณ์ท่ีเกิดข้นึ ในโรงเรียน และสถานการณ์ที่ โรงเรียนจะมี โครงการใหค้ วามช่วยเหลอื ผู้ปกครองในกรณที เ่ี กิดปญั หาการดำรงชพี ในบางมณฑล 2) นโยบายและแนวทางการจดั การเรยี นรใู้ นสถานการณโ์ ควดิ -19 ในประเทศ ฟินแลนด์ ในระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากสำหรับ รัฐบาลประเทศฟินแลนด์ ที่จะต้องมุ่งเน้นที่การป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส Finnish National Agency for Education (2020) ได้กลา่ วว่ารฐั บาลฟนิ แลนดไ์ ด้ตดั สนิ ใจที่จะ ดำเนินการแก้ไขปญั หา สถานการณ์ด้านการศึกษาจากการประเมินของหน่วยงานด้านสุขภาพ ซึ่งการตัดสินใจได้ถูกยกระดับในการ แก้ไขปัญหาต้ังแต่ปลายเดอื นเมษายน โดยเรมิ่ ดำเนินการในระดับปฐมวยั และในระดับประถมศึกษา ต่อมาเม่อื ต้นเดือนพฤษภาคม จึงยกระดับการแก้ไขปัญหาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย สถานศกึ ษาระดับอาชวี ศกึ ษา สถาบนั อดุ มศึกษา และการศกึ ษาแบบเสรี ส่วนหน่งึ ของการแก้ไขปญั หา คอื รัฐบาลประเทศฟนิ แลนด์ได้ใหค้ ำแนะนำแกโ่ รงเรยี นใน การ จัดการศึกษาทางไกลจนกว่าจะสิ้นสุดภาคการศึกษา รวมทั้งคำแนะนำสำหรับโรงเรียนเกี่ยวกับวิธีการ ทำงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ แม้ว่าในขณะนั้นยังมีโรงเรียนบางแห่งที่ยังคงเปิดสอนอยู่ และจากการ แถลงข่าวของรัฐบาลที่ระบุว่า ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับนานาชาติและระดับประเทศ แสดงให้เห็นว่า การเผยแพร่การติดเชื้อ coronavirus ในหมู่เด็กด้วยกันจะไม่รุนแรงเท่าระดับผู้ใหญ่ และ เด็กไม่ใช่แหล่งที่มา ของการติดเชื้อ จากข้อมูลดังกล่าว โรงเรียนยังคงเปิดเรียนโดยยึดความปลอดภัยสำหรับ เด็กและบุคลากรของ โรงเรียนเป็นสำคัญ และไม่มีเหตุผลที่จะบังคับใช้พระราชบัญญัติการใช้อำนาจฉุกเฉิน ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในระยะนั้น ดังนั้น การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย รวมถึงระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษาตอนต้น ยังคงมี การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ในลักษณะที่ควบคุมและค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม รัฐบาลแนะนำ ว่า ในระดับมหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย สถาบันฝึกอบรม วิชาชีพ การศึกษาผู้ใหญ่และ สถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้ใหญ่ ยังคงเปิดสอนต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นสุดภาคการศึกษา และโรงเรียน สามารถตดั สนิ ใจดว้ ยตนเองในการจัดการเรียนการสอนตามความจำเปน็ การจัดการเรียนการสอนและแนวทางในการสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียน กระทรวงการศึกษาและวัฒนธรรม และสถาบันเพื่อสุขภาพและสวัสดิการของประเทศ ฟินแลนด์ได้ทำความ เข้าใจและให้คำแนะนำสำหรับผู้ให้บริการการศึกษา โดยระบุว่า นักเรียนในทุกระดับ รวมถึงบุคลากรใน โรงเรียนไม่ควรจะไปโรงเรียนหากมีอาการที่แสดงถึงความเป็นไปได้ที่จะเจ็บป่วย รวมทั้ง คำแนะนำเพิ่มเติมท่ี เกี่ยวข้องกับการหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางกายที่ไม่จำเป็น การจัดสถานที่สอนให้ กว้างขวางกว่าปกติ เวลาหยุด พักของนักเรียนและมื้ออาหารของโรงเรียนจะต้องจัดให้ภายในบริเวณ ห้องเรียนหรือกลุ่มของนักเรียนเอง บุคลากรจะถูกจัดให้สอนเฉพาะกลุ่ม ไม่มีการสอนข้ามกลุ่ม รวมทั้ง จะต้องมีข้อปฏิบัติและแนวทางด้าน

28 สุขอนามยั อย่างเคร่งครัด ซึ่งโรงเรยี นแตล่ ะแห่งสามารถตดั สินใจในการจัดการทีเ่ ป็นกรณพี ิเศษนอกเหนือจากน้ี ด้วยตนเอง นอกจากนี้ หน่วยงานเพื่อการศึกษาแห่งชาติของฟินแลนด์ (EDUFI) ได้ออกแนวทาง ปฏิบัติ สำหรับการเรียนไปจนถึงสิ้นสุดภาคเรียนและสำหรับในภาคเรียนถัดไปหากสถานการณ์ยังคงอยู่ ซึ่งแนวทาง ปฏิบัติของ EDUFI จะเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประเมินนักเรียน การสนับสนุนการเรียนรู้ แล ะบริการ สวัสดิการนักเรียน รวมทั้งมีการให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการกับสถานการณ์ที่นักเรียนขาดเรียน นอกจากนี้ ยงั มแี นวปฏิบตั เิ พมิ่ เติมสำหรบั การมาเรียนของนักเรยี น ดังน้ี 1) การหลกี เล่ียงการสมั ผัสทางร่างกาย โรงเรียนได้กำหนดให้มีการหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางกาย ซึ่งหมายความว่าไม่ควรจัด กิจกรรม ใหญท่ ม่ี คี นร่วมกิจกรรมจำนวนมาก และนอกเหนอื จากเด็กและบุคลากรครูแล้ว หา้ มมใิ ห้ บุคคลภายนอกเขา้ มา ใช้สถานที่ภายในโรงเรียนและศูนย์การศึกษาปฐมวัยและพื้นท่ีโดยรอบ ซึ่งแต่ละ โรงเรียนจะกำหนดแนวทาง ปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเองและมีการให้คำแนะนำแก่ ผู้ปกครอง โดยบุคลากรในโรงเรียนต้อง หลีกเลย่ี งการอยรู่ วมกนั ในระยะใกล้ ซ่งึ หมายความวา่ ครคู วรจดั การ ประชุมทางไกลเป็นหลัก 2) การปฏบิ ัตกิ จิ กรรมในพนื้ ที่ทม่ี บี ริเวณกว้างขวาง ครูและบุคลากรควรจัดพื้นที่ในการทำกิจกรรมกับนักเรียนระดับปฐมวัย และระดับประถม ศึกษาโดยให้จัดพื้นที่ที่มีบริเวณระยะห่างเพียงพอและกว้างขวางเพื่อป้องกันการสัมผัสและ การติดเชื้อได้ โดยง่าย และไม่ควรมีการเปลี่ยนกลุ่มในการจัดการเรียนการสอน ควรทำงานกับกลุ่มเดิม ตามกฎเพื่อป้องกัน การแพร่กระจายของการติดเชื้อ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและในวิชาเลือก หากมีความ จำเป็นที่จะต้อง จัดการเรียนการสอนเป็นกลุ่ม ครูจะต้องจัดระยะห่างให้มากพอและต้องจัดในบริเวณที่มี ความกว้างขวางมาก พอเท่าทจี่ ะเปน็ ไปได้ 3) กรณีที่เด็กป่วยจะถูกห้ามไม่ให้ไปโรงเรียนและได้รับการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ท่ี เก่ยี วขอ้ ง สิ่งสำคัญที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือ ในกรณีที่มีนักเรียนหรือบุคลากรของโรงเรียนเจ็บป่วย จะต้อง ถือเป็นมาตรการที่จะต้องแยกนักเรียนหรือบุคลากรออกจากพื้นที่ของโรงเรียน หากนักเรียนเจ็บป่วย ระหว่างวัน จะต้องติดต่อผู้ปกครองมารบั กลับบ้าน รวมทั้งจะต้องหลีกเล่ียงการสัมผัสใกลช้ ิดกับนักเรียน ที่ป่วย โดยรักษาระยะห่างทางกายภาพให้เพียงพอ ผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะต้องอยู่ห่างจากโรงเรียนและได้รับการ ดูแลอย่างน้อยเจ็ดวันนับจากเริ่มมีอาการ และดูแลอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะไม่มีการแสดงอาการ อย่างน้อยสอง วันก่อนกลับเข้ามาเรียนตามปกติ นอกจากนี้ แพทย์ที่รับผิดชอบโรคติดเชื้อในเขตเทศบาล หรือโรงพยาบาลจะ มีหน้าที่คอยดูแลและตรวจสอบวงจรของการมีโอกาสในการติดเชื้อ หากพบว่า มีนักเรียนหรือบุคลากรใน โรงเรียนได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น COVID-19 จะมีการตรวจสอบว่าจะมีผู้อื่น ได้รับการสัมผัสจากผู้ป่วยหรือไม่ และจะตอ้ งถกู ตดิ ตามและกักกันเปน็ เวลา 14 วัน นับจากการปรากฏของ อาการป่วย

29 คำแนะนำสำหรบั การศึกษาการจดั การศึกษาในระดับตา่ ง ๆ 1) การดแู ลเดก็ ปฐมวยั และการศึกษาระดับกอ่ นประถมศกึ ษา โรงเรียนที่ทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาและการดูแลเด็กปฐมวัยและการศึกษาระดับก่อน ประถมศึกษาที่จัดขึ้นจะต้องมีแนวปฏิบัติที่ให้ผู้ปกครองเกิดความมั่นใจในการจัดการเรียนการสอน อย่างไร ก็ตาม รัฐบาลฟนิ แลนดไ์ ดแ้ นะนำว่า หากเปน็ ไปไดเ้ ด็ก ๆ ควรจะไดร้ ับการดแู ลทบ่ี า้ น 2) การศกึ ษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น สถานที่เรียนจะทำการปิดทำการจนถึง 13 เมษายน 2020 และจะไม่มีการจัดการเรียน การสอนที่โรงเรียน การจัดการเรียนการสอนและการให้คำแนะนำจะถูกปรับเปลี่ยนโดยใช้วิธีการเฉพาะซึ่ง โรงเรียนจะสามารถตัดสนิ ใจในการปรับเปล่ียนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกบั นกั เรียนแต่ละคน แต่อย่างไรก็ ตาม มีขอ้ ยกเว้นสำหรบั การจัดศกึ ษาระดับกอ่ นระดับประถมศึกษาทส่ี ามารถจดั ในโรงเรียน สำหรบั นักเรียนใน เกรด 1 ถึง เกรด 3 ที่มีผู้ปกครองที่ทำงานในภาคที่สำคัญต่อการทำงานของสังคม รวมถึงนักเรียนที่จะต้องให้ ความดูแลเป็นพิเศษอาจได้รับการสอนที่โรงเรียนในกรณีที่มีความจำเป็น ซึ่งรัฐบาล แนะนำว่าหากเป็นไปได้ นกั เรยี นควรไดร้ บั การดแู ลทีบ่ า้ น ซง่ึ ขอ้ ตกลงเหลา่ นจ้ี ะมผี ลบงั คบั ใชใ้ นวนั พธุ ท่ี 18 มีนาคม 2563 3) การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายท่ัวไป ระดับอาชีวศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย และการศึกษาแบบเสรี สำหรับโรงเรียนและสถาบันการศึกษาในระดับดังกล่าว จะถูกปิดทำการจนถึง 13 เมษายน 2563 และการเรียนการสอนจะถูกระงับ และมีข้อแนะนำว่า การเรียนการสอนและการให้ คำปรึกษาสามารถ จัดได้อย่างหลากหลายวิธี เช่น รูปแบบการจัดการศึกษาทางไกล การจัดการศึกษาใน สภาพแวดล้อมที่ใช้ เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลาย รวมถึงการเรียนรู้แบบอิสระ แต่ทั้งนี้ ต้องอยู่ในการ ควบคุมดูแลจากโรงเรียน และสถาบันการศกึ ษาในแตล่ ะระดบั ซึง่ ขอ้ ตกลงเหลา่ นีจ้ ะมีผลบงั คับใช้ในวันพุธที่ 18 มนี าคม 2563 4) การกำหนดการสอบเพือ่ เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย คณะกรรมการสอบเพื่อเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย และกระทรวงการศึกษาและ วัฒนธรรมของฟินแลนด์ ได้จัดทำกำหนดการเก่ียวกบั สอบเขา้ ศกึ ษาต่อในระดับมหาวิทยาลยั เมือ่ วนั ท่ี 13 มนี าคม 2020 ซง่ึ ยงั คงมกี ารสอบเหมือนเดิม ไม่มกี ารเปลี่ยนแปลงใด ๆ ท้งั นี้ คณะกรรมการสอบเพอื่ เขา้ ศึกษา ตอ่ ระดับมหาวทิ ยาลัยได้ใหค้ ำแนะนำทีท่ ำใหม้ น่ั ใจวา่ การสอบจะถูกจัดข้นึ ในสภาพแวดลอ้ มทปี่ ลอดภัย 5) การอำนวยความสะดวกเกยี่ วกบั การศกึ ษาดา้ นอ่ืน ๆ ในส่วนของการจัดการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน เช่น พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ พิพิธภัณฑสถาน ท้องถิ่น โรงละคร โรงอุปรากรแห่งชาติ สถานที่ทางวัฒนธรรม ห้องสมุด เคลื่อนท่ี หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ศูนย์พักผ่อน สระว่ายน้ำสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการกีฬา ศูนย์ เยาวชน สโมสร การประชุมขององค์กร ห้องบริการดูแลผู้สูงอายุ และสถานที่จัดประชุม จะปิดการทำการ จนถงึ 13 เมษายน

30 อาจกล่าวได้ว่า การดำเนินการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ด้านการศึกษาในระหว่างการแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ของรัฐบาลประเทศฟินแลนด์ในช่วงต้น ๆ จะเป็นการให้คำปรึกษาแนะนำ ในการจัดการศึกษาทางไกล รวมทั้งแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยจากการติดเชื้อทั้งนักเรียนและบุคลากร ในโรงเรียน แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีโรงเรียนที่เปิดสอนในระหว่างสถานการณ์ด้วยความระมัดระวัง จึงทำ ให้รัฐบาลจึงต้องสร้างแนวปฏิบัติที่รัดกุมให้กับโรงเรียน เช่น การหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางร่างกาย การ ปฏิบัติ กิจกรรมในพื้นที่ที่มีบริเวณกว้างขวาง กรณีหากมีเด็กเจ็บป่วยจะถูกห้ามไม่ให้ไปโรงเรียนและได้รับการ ตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกำหนดคำแนะนำสำหรับการศึกษาการจัดการศึกษาในระดับต่าง ๆ ทั้งการดูแลเด็กปฐมวัยและการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา การศึกษาระดับประถมศึกษาและ มัธยมศึกษา ตอนต้น การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วไป ระดับอาชีวศึกษา ระดับมหาวิทยาลัย และการศึกษา แบบเสรีและการอำนวยความสะดวกเกยี่ วกบั การศกึ ษาด้านอนื่ ๆ 3) นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 ในสาธารณรัฐ ประชาชนจนี สำหรับการจัดการเรียนรู้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนในสถานการณ์โควิด ได้มีการ ดำเนนิ การเป็นระดบั ประกอบด้วย การดำเนนิ การระดับรฐั บาล การดำเนินการระดับมณฑล แนวนโยบาย และ แนวการปฏิบัติของภาคสังคมและองค์กรภาคเอกชน และการจัดทำแผนปฏิบัติการและแนวปฏิบัติ สำหรับ การศึกษาระดับปฐมวัยในระดับโรงเรียน ดังนี้ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization, 2020) 1. การดำเนินการของรฐั บาลตอ่ การจดั การกับสถานการณโ์ ควดิ -19 1.1 รัฐบาลได้มีการจัดตั้งสำนักงานผู้นำแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการทันที เพื่อตอบสนองตอ่ การระบาดของ COVID-19 โดย Dengfeng Wang ผู้อำนวยการฝ่ายกีฬาสุขภาพ และ ศิลปะการศึกษาของ กระทรวงศึกษาธกิ ารและเปน็ ผู้เช่ยี วชาญด้านจติ วทิ ยาคลนิ กิ สำนักงานผู้นำแหง่ ชาติ กระทรวงศกึ ษาธิการไดร้ ับ มอบหมายภารกิจที่เกีย่ วกับการดแู ลเรื่องการป้องกันไวรัสโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาทั้งหมด รวมถึงการ ออกแบบและกำหนดแนวทางการจัดการด้านสุขภาพ การจดั ระเบยี บสำหรบั ภาคการศกึ ษาใหม่ และเสริมสร้าง ให้มีการตรวจสอบและกำกับดูแลด้านสุขศึกษาและการป้องกันโรค ในขณะเดียวกัน รัฐบาลในระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่นก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการ ประสานงานกับส ำนักงานผู้นำแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ 1.2 การสร้างกรอบนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19 โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ประกาศและก ำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ มาตรการเฉพาะเกี่ยวกับกระบวนการกำกับดูแลและกลไกการทำงาน เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมี เอกสารทั้งสิ้น 15 ฉบับ ซึ่งมีเอกสาร 2 ฉบับเกี่ยวข้องโดยตรงกับการปอ้ งกันและควบคุม COVID-19 สำหรับผู้ ตั้งครรภ์และเดก็ เมือ่ วนั ท่ี 19 กุมภาพันธ์ 2020

31 1.3 การเผยแพร่แนวทางการปอ้ งกนั และควบคุม COVID-19 ในโรงเรียนอนุบาล โดยสำนักงานการศึกษาแห่งชาติกระทรวงศึกษาธิการเพื่อตอบสนองต่อ COVID-19 ซึ่ง มหาวิทยาลัยปักกิ่ง ได้จัดผู้เชี่ยวชาญ 29 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ของการศึกษาระดับ อนุบาล (ซึ่งให้บริการเด็กอายุ 3-6 ปี) และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันควบคุมและป้องกันโรคทุกระดับ การศึกษา รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการป้องกันและ ควบคุม COVID-19 ในโรงเรียนอนุบาล ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2020 เนื้อหาในเอกสารดังกล่าว สามารถ ดาวน์โหลดเนื้อหาบน WeChat ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเครือข่ายโซเชียลที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐ ประชาชนจีน เพื่อให้ผู้คนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา สำหรับเนื้อหาในเอกสารประกอบด้วย 1) หลกั การ สำหรับการควบคุมและป้องกนั โรค 2) เป้าหมายและการนำไปใช้ 3) ขอ้ มลู พ้นื ฐานเกย่ี วกับโรค 4) การเตรียมความพร้อมสำหรับโรงเรียน ประกอบด้วย ความรับผิดชอบของครูและบุคลากร และการจัดการชนั้ เรียนและ 5) การกำหนดการเปิดเรียนใหม่ ประกอบด้วย ความรับผิดชอบของครูและบุคลากร การจัดการชั้น เรียน และประเด็นสำคญั ทีเ่ กีย่ วข้องกับผ้ปู กครอง 1.4 การเผยแพร่คมู่ อื การป้องกนั และควบคมุ COVID-19 ในภาษาตา่ งประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารกับผู้ป่วยที่พูดเฉพาะภาษามณฑลหูเป่ย กระทรวงศึกษาธิการร่วมกับ คณะกรรมการกิจการภาษาแห่งรัฐและมหาวิทยาลัยหลายแห่ง ได้ร่วมมือกันใน การพัฒนาคู่มอื การป้องกัน และควบคุม COVID-19 เป็นภาษามณฑลหูเป่ย และกระทรวงศึกษาธิการไดพ้ ัฒนา คมู่ ือดังกลา่ วเป็น ภาษาตา่ งประเทศ โดยแปลเป็นภาษาตา่ งประเทศถงึ 8 ภาษา ได้แก่ ภาษาเกาหลี ภาษาญีป่ นุ่ ภาษาฟาร์ซี ภาษาอิตาเลียน ภาษาอารบิค ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษ และยังมีประโยคอกี 50 ประโยคทเี่ ปน็ ภาษาที่ใชก้ นั โดยทั่วไปในชีวติ ประจำวันท่ีศลุ กากรสำหรับผ้เู ดินทางระหว่างประเทศ และท่ใี ช้ ในโรงพยาบาลสำหรบั ผู้มีปัญหาดา้ นสขุ ภาพ 2. การดำเนินการระดับมณฑลต่อการจัดการกับสถานการณ์โควิด-19 (กรณีตัวอย่าง มณฑล เซย่ี งไฮ้) 2.1 การจดั ตั้งกล่มุ ผู้นำท่สี อดคล้องกบั สำนักงานผู้นำแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ในการตอบสนองต่อ COVID-19 มณฑลเซี่ยงไฮ้ได้จัดตั้งสำนักงานผู้นำ เพื่อตอบสนอง ต่อ COVID-19 ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องในระดับมณฑล โดยมีภารกิจรับผิดชอบการจัดการศึกษา โดยรวมของ มณฑล 2.2 การเผยแพรก่ ฎระเบยี บในการปอ้ งกันและควบคมุ COVID-19 คณะกรรมการการศึกษาเซี่ยงไฮ้ได้ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุม COVID-19 และ ไดเ้ ผยแพร่กฎระเบยี บดังกลา่ วทัง้ ทางเวบ็ ไซตแ์ ละแพลตฟอรม์ WeChat ซึง่ กฎระเบยี บทีก่ ำหนดไวจ้ ะเป็น หลักการโดยทั่วไป รวมถึงมาตรการที่เป็นรูปธรรม เช่น การเผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการเสริมสร้าง การ ป้องกันและการควบคุมการดำเนินงานในโรงเรียนระดับปฐมวัย การสื่อสารระหว่างโรงเรียนกับ ผู้ปกครองใน การใหค้ ำแนะนำและแนวทางการจัดการเรยี นการสอน การใช้ประโยชนจ์ ากแหลง่ ขอ้ มูลทางการศกึ ษา และการ

32 จัดฝึกอบรมออนไลน์เกี่ยวกับการป้องกันและจัดการกับ COVID-19 และที่สำคัญ การจัดการเรียนการสอนสด แบบออนไลน์หา้ มมิให้ใชก้ บั เดก็ ต้งั แต่แรกเกิดจนถงึ อายุ 6 ขวบ เน่ืองจาก อาจเกิดปัญหาในด้านสขุ ภาพ 2.3 การสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีส่วนรว่ มในการจัดการเรียนรู้โดยการผนวกการเลน่ กับการให้ ความรูด้ ้วยวิธกี ารทางวิทยาศาสตรท์ ่บี า้ น 2.3.1 การส่งมอบ “ชุดกิจกรรมที่มีคุณค่าสำหรับการเล่นและการเรียนรู้ ที่บ้าน” โดย คณะกรรมการการศึกษาปฐมวัยของสมาคมการศึกษาเซี่ยงไฮ้ได้น ำเสนอชุดของกิจกรรมและวัสดุที่เรียกว่า \"ชุดกิจกรรมที่มีคุณค่าสำหรับการเล่นและการเรียนรู้ที่บ้าน\" ชุดของกิจกรรมนี้ประกอบด้วย สุขภาพ กีฬา กิจกรรมการเล่น และกิจกรรมการศึกษาเพื่อการศึกษาต่อและเตรียมความพร้อมสำหรับการ เปิดโรงเรียนใหม่ พร้อมกับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญการจัดกิจกรรม เคล็ดลับในแต่ละคอลัมน์ในรูปแบบ ของภาพ วิดีโอ และ คำแนะนำงา่ ย ๆ ทเี่ หมาะสำหรับเดก็ และสำหรับผู้ปกครองในการจัดการเรยี นรู้ให้กบั บุตรหลานทบ่ี า้ น 2.3.2 การใหค้ วามคดิ เหน็ ของผู้เชย่ี วชาญทีเ่ น้นประเด็นพิเศษ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้จะแสดงความคิดเห็นทางวิชาชีพในหัวข้อพิเศษ เช่น “จะเผชิญหน้า กับสถานการณ์วิกฤติอย่างไรกับบุตรหลานของคุณ” ทั้งนี้ เพื่อจะได้นำความคิดเห็นที่เป็น ประโยชน์สอ่ื สาร กบั ผู้ปกครองในการจัดการเรยี นร้ใู ห้กับบตุ รหลานที่บา้ น 2.3.3 การรวบรวมแนวความคิดและกรณีตัวอย่างจากผู้ปกครอง ได้มีการรวบรวม แนวความคิดและกรณีตัวอย่างที่ดีและกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติท่ีดีของการเล่นและการทำกิจกรรม ระหว่างผู้ปกครองกับนักเรียน ซงึ่ จากกรณีดงั กล่าว สามารถรวบรวมแนวคดิ ไดม้ ากกว่า 3,500 แนวคดิ ภายใน 4 วัน และได้มีการคัดเลือกแนวคิดที่สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่เด็กได้เป็นอย่างดี นำมาจัดพิมพ์โดยแบ่ง ออกเป็น 8 หัวข้อสำคัญ ประกอบดว้ ย ดา้ นกฬี า การละเลน่ การทดลองทาง วทิ ยาศาสตร์ การใชช้ วี ิตประจำวนั ศลิ ปะ การสร้างสรรค์ การอ่าน และกิจกรรมการเรยี นรู้ทมี่ ี ลักษณะเฉพาะ 3. นโยบายและแนวการปฏบิ ตั ขิ องภาคสงั คมและองค์กรภาคเอกชน 3.1 ก า ร จ ั ด โ ค ร ง ก า ร 0-6 ห ร ื อ “0-6 Program of “Morning Babies, Kangkang is Coming!” ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มโดย องค์การ UNICEF China ร่วมกับการศึกษาระดับปฐมวัยแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน และศูนย์เด็กแห่งชาติสาธารณรฐั ประชาชนจีน ได้พัฒนาโครงการที่ชื่อว่า “Morning Babies, Kangkang is Coming!” เป็นการพัฒนาชุดทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับเด็กอายุ 0-3 ขวบ และ 3-6 ขวบ ซึ่งจะมีการปรับเนื้อหาให้ทันสมัยในทุกสัปดาห์ผ่านแอปพลิเคชัน WeChat ซึ่งชุด ทรัพยากรทางการ ศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรม 4 กิจกรรม ประกอบด้วย การเรียนรู้ทางอารมณ์ในการอยู่ ในสังคม การกีฬา ศลิ ปะ และการพฒั นาทางปัญญา 3.2 แนวทางปฏิบัติสำหรบั การศึกษาปฐมวยั ของสงั คมแหง่ ชาตสิ าธารณรัฐ ประชาชนจนี 3.2.1 สังคมแหง่ ชาติสาธารณรฐั ประชาชนจีนสำหรับการศึกษาปฐมวยั ได้เชญิ ผู้เช่ียวชาญจาก คณะกรรมการและสาขาที่เกี่ยวข้องหลายแห่งเพื่อเขียนบทความสั้น ๆ เกี่ยวกับหัวข้อ สำคัญในสถานการณ์ ปัจจุบัน หัวข้อเหล่านั้น ประกอบด้วย กลยุทธ์สำหรับความร่วมมือระหว่างครอบครัว และโรงเรียนอนุบาล การศึกษาสำหรับชีวิตประจำวัน เช่น การรักษาคุณค่าของชีวิตประจำวัน การพัฒนานิสัยที่ดีการเรียนรู้ที่จะ

33 จัดการชีวิตของตนเอง การศึกษาระบบนิเวศ การติดต่อสื่อสารด้วยความเข้าใจกับเด็ก การสนับสนุนและการ ป้องกันสุขภาพทางกายและสุขภาพจิตของครู การกีฬาและวิธีการดูแลตนเอง การอ่านหนังสือร่วมกันกับ ผู้ปกครอง การเตรียมความพร้อมมาโรงเรียนของเด็ก การป้องกันและควบคุม ความปลอดภัยสำหรับเด็ก อนบุ าล การปรบั หลกั สูตรอนุบาล และสร้างนสิ ัยสขุ อนามยั ทด่ี ีใหก้ บั เดก็ 3.2.2 การเผยแพร่แนวทางต่อตา้ นไวรัส โดยคณะกรรมการสุขภาพเด็กได้จัดทำ ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการปกป้องสุขภาพของเด็ก ซึ่งประกอบด้วย รวมถึงกลยุทธ์สำหรับโรงเรียน อนุบาลและ ครอบครัว รวมท้ังคณะกรรมการท่สี ่งเสริมการเล่นสำหรับเด็ก ไดจ้ ดั ทำแนวทางและคำแนะนำ ในการเลน่ ทีบ่ า้ น สำหรบั เดก็ อายุ 0-6 ปซี ึ่งเปน็ ประโยชนส์ ำหรบั ผู้ปกครองเป็นอยา่ งมาก 3.2.3 การรวบรวมคำถามและคำตอบสำหรับผู้บริหารและครู สังคมแห่งชาติ สาธารณรัฐ ประชาชนจีนได้รวบรวมคำถามสำหรับผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลและครูจากจังหวัด 9 จังหวัด และจัดหา ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาจัดเตรียมคำตอบและให้การแนะนำและคำปรึกษาที่เกี่ยวกับการ จัดการเรียนการ สอน 4. การจัดทำแผนปฏิบัติการและแนวปฏิบัติสำหรับการศึกษาระดับปฐมวัยในระดับ โรงเรียน ในระดับการปฏิบตั ิที่โรงเรียนน้นั ผบู้ รหิ ารโรงเรยี นและครทู ่ีปฏิบตั หิ นา้ ที่ผู้ช่วยผบู้ ริหาร ได้จัดตัง้ กล่มุ WeChat เพื่อรวบรวมสถานะของเด็กแต่ละคน รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการประกาศแนวทางหรื อการ เปลย่ี นแปลงนโยบาย รวมทง้ั ใชใ้ นการสอ่ื สารเกยี่ วกับการเรียนการสอนกบั เด็กในกลมุ่ เชน่ การสนทนากับเด็ก ภายในเวลา 30 นาทีเกยี่ วกบั วิธกี ารปอ้ งกนั ตนเองจากเชือ้ ไวรสั ตารางการใช้ชีวิต ในแต่ละวนั ของเด็ก กจิ กรรม ที่เด็กชอบมากที่สุด และเพราะเหตุใดจึงชอบกิจกรรมเหล่านั้น เป็นต้น นอกจากนี้ ตามแผนปฏิบัติการยังได้มี หลกั สตู รพเิ ศษ หรอื “Special Curriculum” ในแต่ละสปั ดาห์ สำหรับการตอบข้อซกั ถามจากผ้ปู กครอง กล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรู้ใหแ้ ก่นักเรยี นของสาธารณรฐั ประชาชนจีนในสถานการณ์ โควิด ได้ถูกจัดอย่างเป็นระบบ นับตั้งแต่ การดำเนินการระดับรัฐบาล ซึ่งจะมีหน่วยงานที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อจัดการกับ สถานการณC์ OVID -19 โดยไดม้ กี ารสรา้ งกรอบนโยบายเพื่อควบคุมและป้องกันการ แพร่กระจายของ COVID- 19 การเผยแพรแ่ นวทางการป้องกันและควบคมุ COVID-19 การเผยแพรค่ ู่มือ การปอ้ งกนั และควบคมุ COVID- 19 ในภาษาต่างประเทศ ซึ่งการดำเนินการในระดับรัฐบาลจะส่งผ่านไปยัง การดำเนินการในระดับมณฑล โดย มีการจัดตั้งกลุ่มผู้นำที่สอดคล้องกับสำนักงานผู้นำแห่งชาติมีการเผยแพร่กฎระเบียบในการป้องกันและควบคุม COVID-19 การสนับสนุนให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่บ้าน การให้ ความคดิ เหน็ ของผู้เช่ยี วชาญทเ่ี น้นประเด็นพิเศษ และการรวบรวมแนวความคิดและกรณตี ัวอยา่ งจากผู้ปกครอง เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน นอกจากน้ี มี การกำหนดนโยบายและแนวการปฏิบัติของภาคสังคมและ องค์กรภาคเอกชน โดยมีการจัดโครงการที่ ริเริ่มโดย องค์การ UNICEF China ในการพัฒนาชุดทรัพยากรทาง การศึกษา และกำหนดแนวทางปฏิบัติ สำหรับการศึกษาปฐมวัยของสังคมแห่งชาติสาธารณรัฐประชาชนจีน และ การจัดทำแผนปฏิบัติการและแนวปฏิบัติสำหรับการศึกษาระดับปฐมวัยในระดับโรงเรียน โดยการจัดตั้ง กลุ่ม WeChat เพื่อรวบรวม สถานะของเด็กแต่ละคน รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารเกี่ยวกับการเรียน การสอนกับเด็กในกลุ่ม และมีหลักสูตรพิเศษสำหรบั การตอบข้อซักถามจากผปู้ กครองอกี ด้วย

34 4) นโยบายและแนวทางการจัดการเรียนร้ใู นสถานการณโ์ ควดิ -19 ในประเทศ สงิ คโปร์ สำหรับการจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศสิงคโปร์ จะมีการ ปรับเปลี่ยน เพ่ือให้เหมาะสมกบั สถานการณ์ ดงั นี้ (Ministry of Education, Singapore, 2020) 1) โรงเรียนและสถาบันการเรยี นรู้ระดับสูงปรบั เปลีย่ นการจัดการเรยี นรโู้ ดยการ ใชก้ ารเรียนรู้ ทบี่ ้านเปน็ หลกั แบบเต็มรูปแบบ (HBL) ในขณะทโ่ี รงเรยี นอนบุ าลและศูนยด์ ูแลเด็กไดป้ ิดทำการ 1.1) กระทรวงศึกษาธิการ (MOE) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและครอบครัว (MSF) ได้ ดำเนินมาตรการป้องกันที่จำเป็นเพื่อดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนและบุคลากรทุกคนของโรงเรียน รวมท้ัง ได้มีความพยายามในการบูรณาการของหลายกระทรวงในการที่จะเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยในการ จัดการเรียนการสอนของโรงเรียน สถาบันการเรียนรู้ระดับสูง (IHL) และโรงเรียนอนุบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดการสอนทางไกล 1.2) การจัดการเรียนรู้โดยการใช้การเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลักแบบเต็มรูปแบบ (HBL) ได้เริ่ม ต้ังแตว่ ันท่ี 8 เมษายน 2020 นกั เรยี นระดบั ประถมศกึ ษา มธั ยมศึกษา การเตรยี มเขา้ มหาวทิ ยาลยั และสถาบนั การเรยี นรู้ระดบั สงู (IHL) รวมถึงนักเรียนจากโรงเรยี นการศึกษาพเิ ศษ (SPED) จะเปล่ยี นไปใช้การเรยี นรทู้ บ่ี า้ น เป็นหลักเต็มรูปแบบ (HBL) จนถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2020 นอกจากนี้ โรงเรียนอนุบาลทั้งหมดและศูนย์ดูแล เด็ก รวมถึงศูนย์ดูแลนักเรียนพิเศษจะระงับการให้บริการทั่วไป ในช่วงเวลานี้สถาบันการศึ กษาเอกชนได้รับ คำแนะนำให้จัดการเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลักแบบเต็มรูปแบบ (HBL) หรือไม่เช่นนั้นก็ทำการปิดโรงเรียนชั่วคราว ชั้นเรียนจะเริ่มดำเนินการอีกครั้ง ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 กระทรวงศึกษาธิการและ MSF จะติดตาม สถานการณ์ COVID-19 อย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินว่า จะต้องมีการต่อช่วงเวลาในการจัดการในลักษณะนี้ต่อไป อกี หรอื ไม่ 1) โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สถาบันการศึกษา พิเศษ และสถาบันการเรยี นร้ทู สี่ ูงขน้ึ 2.1) การจัดประสบการณ์การเรียนรูท้ ีบ่ ้านเป็นหลักแบบเตม็ รูปแบบ (HBL) โรงเรียนไดม้ ีการ จัดเตรียมนักเรียน ผู้ปกครอง และครูสำหรับการทำงานแบบ HBL โดยโรงเรียนจะให้ คำแนะนำและการ สนับสนุนสำหรับนักเรียน โดยการจัดหาวัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการเรียนรู้ที่บ้านทั้ง การใช้ออนไลน์และวัสดุ ทเี่ ปน็ ชนิ้ งานเพอื่ ให้เกดิ การเรยี นรู้อยา่ งตอ่ เน่อื ง โรงเรียนจะช่วยเหลอื นักเรยี นท่ี อาจต้องการใช้อุปกรณ์ดิจิตอล หรือการใช้สัญญาณอินเทอร์เน็ต ซึ่งหน่วยงานที่ชื่อว่าแพลตฟอร์มการเรียนรู้ ของนักเรียนสิงคโปร์ ( SLS) จะ เปิดให้นักเรียนเข้าชมได้อย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาวิกฤตินี้ตลอดระยะเวลา ของการเรียน HBL แบบเต็มรูปนี้ นกั เรยี นจะไดร้ ับการสนบั สนนุ อย่างเตม็ ท่ีจากครแู ละบคุ ลากรในโรงเรียนในขณะเดียวกัน บคุ ลากรของโรงเรียน สามารถที่จะติดต่อกับนักเรียนและผู้ปกครองได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมถึงครูจากโรงเรียนการศึกษา พิเศษ (SPED) ก็สามารถจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียนพิเศษ โดยติดต่อกับผู้ปกครองที่บ้านในการจัดการเรียนรู้ ตามหลกั สูตรท่ีตอบสนองต่อความต้องการของนักเรยี น แต่ละคนโดยครสู ามารถดแู ลนักเรยี นพเิ ศษได้ตามปกติ

35 2.2) ด้วยการปรับเปลี่ยนเป็นการจดั ประสบการณก์ ารเรียนรู้ที่บ้านเปน็ หลัก แบบเต็มรูปแบบ (HBL) ส่งผลให้การทดสอบและประเมินผลถูกปรับเปลี่ยนตามความจำเป็นการสอบกลางภาคของทุกโรงเรียน ได้ถูกเลื่อนออกไป อย่างไรก็ตาม การทดสอบระดับชาติ รวมถึงการทดสอบ GCEO และการทดสอบ A-Level Mother Tongue Language examinations ในเดือนมิถุนายน และการสอบไล่ปลายปีการศึกษา และการ สอบออกจากชนั้ ประถมศึกษายังคงดำเนินต่อไปตามแผนท่ไี ด้วางไว้พร้อมด้วยมาตรการการป้องกันทส่ี ำคัญ 2.3) การเรียนรู้แบบผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้าและการเรียน โดยใช้ e- Learning เป็นส่วนสำคัญของหลักสูตรของสถาบันการศึกษาชั้นสูง (IHLs) ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่าน มา สถาบันการศึกษาชั้นสูง (IHLs) ได้ทำการปรับปรุงโมดูลออนไลน์ที่อิงกับรายวิชาเรียนเกือบทั้งหมด และได้เพิ่ม มาตรการด้านความปลอดภยั ในการใช้หลักสูตรออนไลน์ รวมทง้ั ยงั ไดม้ ีการปรับเปลี่ยนรปู แบบการสอบและการ ประเมิน ซึ่งสถาบันการศึกษาชั้นสูง (IHLs) ได้มีการติดต่อกับนักศึกษาในการสนับสนุน การจัดการเรียนรู้และ ความก้าวหน้าในการเรียนของนักศึกษาเปน็ อย่างดี รวมท้งั ชว่ ยใหน้ กั ศกึ ษาสามารถ จบการศกึ ษาได้ภายในเวลา ท่กี ำหนด 2) โรงเรียนปฐมวัยและศนู ยด์ ูแลนักเรยี น 3.1) นับตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 โรงเรียนระดับ ปฐมวัยทุก โรงได้ปดิ ทำการช่ัวคราวสำหรับนักเรียนทวั่ ไป อย่างไรกต็ าม ยังคงเปิดใหบ้ ริการอย่างจำกัด สำหรับผู้ปกครองท่ี ไม่สามารถหาวิธีการจัดการเพื่อดูแลบุตรหลานของตนได้ เช่น ผู้ปกครองที่ทำงานเกี่ยวกับการให้บรกิ ารในศูนย์ ดูแลสุขภาพ รวมถึง ECDA จะยกเลิกข้อกำหนดการเข้าเรียนขั้นต่ำสำหรับเงิน อุดหนุนก่อนวัยเรียนในเดือน เมษายน และ MSF จะยกเลิกข้อกำหนดการเข้าเรียนขั้นต่ำสำหรับเงิน ช่วยเหลือค่าดูแลนักเรียน (SCFA) ใน เดอื นเมษายน 3.2) สื่อการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดเรียนรู้ที่บ้านเป็นหลักแบบเต็มรูปแบบ (HBL) ได้ถูกพัฒนาข้ึนโดยโรงเรยี นตา่ ง ๆ และได้มีการแบง่ ปันให้กับโรงเรียนในเครอื ข่ายและ ผู้ปกครองอย่างตอ่ เนอื่ ง และถือเป็นหน้าที่ที่โรงเรียนจะต้องติดต่อสื่อสารกับนักเรียนในช่วงเวลานี้ เพื่อตรวจสอบความเป็นอยู่และ ความกา้ วหนา้ โดยทวั่ ไป 3.3) รัฐบาลได้ส่ือสารกบั บคุ คลท่ีไดร้ ับผลกระทบจากสถานการณ์และทำความ เข้าใจถึงความ กังวลของผทู้ ไ่ี ดร้ ับผลกระทบจากปิดทำการของโรงเรียนช่วั คราว รวมถึงการหยดุ ให้บริการ ในศนู ย์ดแู ลนักเรียน โดยตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 เป็นต้นไป สถานที่ทำงานทุกแห่งจะต้องปรับเปลี่ยน การสื่อสารโทรคมนาคม ทจ่ี ำเปน็ ผู้ปกครองจะได้รบั การสนบั สนนุ อยา่ งดยี ิง่ เพอื่ ให้ลูกหลานของพวกเขา ไดเ้ รียนรทู้ ่ีบ้านในช่วงเวลาน้ผี ้ทู ่ี ทำงานในบริการที่จำเป็น เช่น การดูแลสุขภาพที่ไม่สามารถจัดหาการดูแล ทางเลือกที่ปลอดภัยให้บุตรหลาน ของตนอาจติดต่อประสานงานกับทางโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียน อนุบาลของบุตรหลานเพื่อขอรับ ความชว่ ยเหลือเป็นกรณีพิเศษ จะเห็นได้ว่า การจัดการเรียนรู้ในสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศสิงคโปร์ จะเน้นที่การ ปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยกระทรวงศึกษาธิการได้ ดำเนินมาตรการ ป้องกันที่จำเป็นเพื่อดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของนักเรียนและบุคลากรทุกคนของโรงเรียน รวมทั้งได้มีความ

36 พยายามในการบูรณาการของหลายกระทรวงในการที่จะเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัย ในการจัดการเรียน การสอนของโรงเรยี น โดยเฉพาะอย่างยง่ิ การจัดการสอนทางไกล และการจดั การเรียนรู้ โดยการใช้การเรียนรู้ท่ี บ้านเป็นหลักแบบเต็มรูปแบบ (HBL) โดยโรงเรียนจะให้คำแนะนำและการสนับสนุน สำหรับนักเรียน จัดหา วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการเรียนรู้ที่บ้านทั้งการใช้ออนไลน์และวัสดุที่เป็นชิ้นงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่อง ให้ความช่วยเหลือในการใช้อุปกรณ์ดิจิตอลหรือการใช้สัญญาณ อินเทอร์เน็ต บุคลากรของโรงเรียน สามารถที่จะติดต่อกับนักเรียนและผู้ปกครองได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และมีการปรับเปลี่ยนการทดสอบ และประเมินผลตามความจำเป็น สำหรับสถาบันการศึกษา ชั้นสูง (IHLs) จะใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน ระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้าและการเรียนโดยใช้ e-Learning เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และ ความกา้ วหนา้ ในการเรียนของนกั ศกึ ษา 2.4.2 นโยบายและแนวทางการจดั การเรียนรู้ในสถานการณโ์ ควิด-19 ในประเทศไทย 1) นโยบาย แนวคิด หลกั การในการจัดการเรียนรูใ้ นสถานการณโ์ ควดิ -19 จากการที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 7 เมษายน 2563 มีมติรับทราบการเลื่อน เปดิ เทอมจากวนั ท่ี 16 พฤษภาคม เปน็ วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จึงจำเปน็ ตอ้ งวางแนวทางการจัดการเรียนการ สอนภายใต้สถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ในทุกระดับชั้นและทุกประเภท โดยกระทรวงศึกษาธิการได้มีการ กำหนดแนวนโยบายเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19 ให้สามารถเกิดขึ้นได้อย่าง มี ประสทิ ธภิ าพสูงสดุ เท่าท่ีสภาพแวดล้อมจะอำนวยใหบ้ นพืน้ ฐาน 6 ขอ้ ดังนี้(กระทรวงศึกษาธิการ, 2563) 1) จัดการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของทุกคนที่เกี่ยวข้อง “การเปิดเทอม” หมายถึง การเรียนที่โรงเรียนหรือการเรียนที่บ้าน ทั้งนี้การตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับผลการประเมินสถานการณ์ อยา่ งใกล้ชิด 2) อำนวยการใหน้ ักเรยี นทุกคน สามารถเขา้ ถงึ การเรยี นการสอนได้แมจ้ ะไม่สามารถไป โรงเรยี นได้ 3) ใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การเสนอขอช่องดิจิทัล TV จาก กสทช. ทั้งหมด 17 ช่อง เพื่อให้นักเรียนทุกระดับชั้น สามารถเรียนผ่าน DLTV ได้ ทั้งนี้ ไม่มีการลงทุนเพื่อจัดซื้อ อุปกรณ์ใด ๆ เพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น ซึ่ง กสทช.อนุมัติแล้วให้เริ่มออกอากาศ 16 พฤษภาคมนี้ เป็นเวลา ไม่เกิน 6 เดือน หรือ ถ้าสามารถกลับมาดำเนินการสอนได้ตามปกติก็ให้หยุดทดลองออกอากาศ แบ่งเป็น ของสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 15 ช่อง เป็นของสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 1 ช่อง และเป็นของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย (กศน.) จำนวน 1 ช่อง โดยใหอ้ อกอากาศแบบความคมชดั ปกติ (SD) 4) ตัดสนิ ใจนโยบายตา่ ง ๆ บนพน้ื ฐานของการสำรวจความตอ้ งการ ท้งั จากนกั เรียน ครู และโรงเรียน ไม่คิดเอง โดยให้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเป็นทีต่ ัง้ และกระทรวงจะ สนับสนุนเครือ่ งมือ และอปุ กรณต์ ามความเหมาะสมของแตล่ ะพ้ืนที่

37 5) ปรับปฏิทินการศึกษาของไทยให้เอื้อต่อการ “เรียนเพื่อรู้” ของเด็กมากขึ้น รวมทั้งมี การปรับ ตารางเรียนตามความเหมาะสม โดยเวลาที่ชดเชยจะคำนึงถึงภาระของทุกคนและการได้รับความรู้ ครบตาม ช่วงวัยของเดก็ 6) บุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน จะได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และทำให้ท่านได้รับ ผลกระทบเชิง ลบจากการเปลีย่ นแปลงน้อยทสี่ ุด 2) แนวทาง วิธีการและรปู แบบ/สภาพการจัดการเรยี นรู้ในสถานการณ์โควดิ -19 กระทรวงศึกษาธิการ (2563) ได้ออกแบบการเรียนการสอนในช่วง COVID-19 โดยมี รายละเอียดใน ภาพรวม ดงั นี้ 1) รูปแบบการเรียนการสอนออกแบบให้สอดคล้องกับความปลอดภัยของพื้นที่ โดยมีการ เรียนรู้แบบ onsite ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยสามารถไปโรงเรียนได้ ขณะที่พื้นที่ไม่ปลอดภัยจะมีการ เรียนรู้ หลักผ่านทางการ on-air ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมีการเรียนรู้ เสรมิ ผ่านระบบ online โดยกำหนดการจดั การเรียนรู้ 3 รปู แบบ ดงั นี้ 1.1 การเรยี นที่โรงเรียน (ON-SITE) 1.2 การเรียนผ่านทีวี (ON-AIR) ใน 4 ระบบ ได้แก่ ระบบดาวเทียม (Satellite) ทั้ง KU- Band (จานทึบ) ช่อง 186 – 200 และ C-Band (จานโปร่ง) ช่อง 337 – 351 ระบบดิจิทัลทีวี (Digital TV) ช่อง 37 – 51 ระบบเคเบิล้ ทวี ี (Cable TV) และระบบ IPTV 1.3 การเรียนผ่านอนิ เทอรเ์ น็ตและแอปพลเิ คชัน (ONLINE) ใน 4 ช่องทาง ไดแ้ ก่ เ ว ็ บ ไ ซ ต ์ www.deep.go.th (DEEP : Digital Education Excellence Platform) เ ว็ บ ไ ซ ต ์ DLTV – www.dltv.ac.th เว็บไซต์ Youtube- www.youtube.com DLTV1 Channel – DLTV15 Channel และ แอปพลเิ คชนั DLTV บน Smartphone/Tablet 2) นโยบายหลกั ทน่ี ำมาใช้ คอื เพมิ่ เวลาพกั ลดการประเมนิ และงดกจิ กรรมตา่ ง ๆ ที่ไม่จำเป็น โดยเน้นเรียนเฉพาะวิชากลุ่มสาระหลัก เพื่อให้นักเรียนผ่อนคลายลง ซึ่งนักเรียนมีเวลาพัก ในภาคเรียนท่ี 1/2563 จำนวน 17 วัน และในภาคเรียนที่ 2/2563 จำนวน 37 วัน รวมทั้งสิ้น 54 วัน ฉะนั้น ภาคเรียนที่ 1/2563 เรยี นตั้งแต่ 1 กรกฎาคม -13 พฤศจกิ ายน 2563 เปน็ เวลา 93 วนั แล้วปิดภาคเรียน 17 วัน สว่ นภาค เรียนที่ 2/2563 เรียนตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2563 - 9 เมษายน 2564 เป็นเวลา 88 วัน แล้วปิดภาคเรียน 37 วัน ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2564 ซึ่งจะมีเวลาเรียนรวมทั้งสิ้น 181 วัน ส่วนเวลา ที่ขาดหายไป 19 วัน จาก 200 วัน ให้แต่ละโรงเรียนสอนชดเชย ดังนั้น การเปิดเทอมปีการศึกษาหน้า จะกลับมาปกติในวันจันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2564

38 3) การเตรียมพร้อมในด้านระบบการเรียนรู้ทางไกลและระบบออนไลน์จะเริ่มทดสอบ ตั้งแต่ วันที่ 18 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป เพื่อเตรียมความพร้อมให้มากที่สุด ในกรณีที่วันที่ 1 กรกฎาค ม 2563 ไม่ สามารถเปดิ เทอมทโี่ รงเรียนได้ 4) กระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้สนับสนุนการเรียนการสอนทางไกล ในสัดส่วน 80% เพื่อให้ ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนขั้นพื้นฐานได้ อีกร้อยละ 20 หรือมากกว่า ให้ทางโรงเรียนและ คุณครูในแต่ละ พ้นื ทีพ่ จิ ารณาออกแบบตามความเหมาะสม 5) การเรียนผ่านการสอนทางไกล จะใช้ทีวิดิจิทัล และ DLTV เป็นหลัก ซึ่งได้รับการ อนุเคราะห์สื่อจากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีดิจิทัลแพลตฟอร์ม ของ กระทรวงศกึ ษาธิการ หรือ DEEP และการเรยี นการสอนแบบโต้ตอบออนไลน์เปน็ สอ่ื เสริม ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้มีการกำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนระบบทางไกล โดย แบง่ เปน็ 4 ระยะ คือ ระยะท่ี 1 การเตรยี มความพร้อม (7 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2563) สำรวจความพร้อมในด้านอุปกรณ์การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ของนักเรียน ผู้ปกครอง ครู และ ระบบการบริหารจัดการการเรียนการสอน รวมถึงขออนุมัติใช้ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล จาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กจิ การโทรทศั น์ และกจิ การโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพ่ือ จัดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมขออนุมัติ เผยแพร่การเรียนการ สอนจากห้องเรียนต้นทาง ในระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของสถานี วิทยุโทรทัศน์การศึกษา ทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) จากมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดทำส่ือ วีดิทัศน์การสอน โดยครตู น้ แบบ ระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรยี นรู้ และรวบรวมส่ือ การเรียนรู้ออนไลน์ใน OBEC Content Center ชุดโปรแกรมและ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ครบวงจรของ กระทรวงศึกษาธิการ เช่น Tutor ติวฟรี.com, e-Book เป็นต้น รวมถึงเตรียมโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบ เครือข่าย เพื่อรองรับการให้บริการ แพลตฟอร์มการเรียนรู้ ให้เชื่อมโยงกับระบบ Digital e-Learning ของ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ระยะที่ 2 การทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล (18 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2563) จะทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล ในระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผ่าน ช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล โดยการเผยแพร่สัญญาณจากมูลนิธิการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม ใน พระบรมราชูปถัมภ์ (DLTV) ในระดับปฐมวัยเน้นกิจกรรมเตรียมความพร้อมเด็ก และ ระดับประถมศึกษาถึง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย ผ่านช่อง

39 รายการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลและระบบออนไลน์โดยครูต้นแบบ ด้วยเครื่องมือ การเรียนรู้ตามความ เหมาะสมและบริบทของสถานศึกษา รวมทั้งเปิดศูนย์รับฟังความคิดเห็นการเรียน การสอนทางไกล จาก ผู้ปกครอง ประชาชน และผู้เก่ียวข้อง เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงและพัฒนา และ ประชาสัมพันธ์ สร้างการ รบั รู้ ความเข้าใจ แนะนำชอ่ งทางการเรียนทางไกลใหก้ บั ผูป้ กครองและผ้เู กยี่ วขอ้ ง ระยะที่ 3 การจดั การเรยี นการสอน (1 กรกฎาคม 2563 – 30 เมษายน 2564) ได้วางแผนไว้สำหรับ 2 สถานการณ์ นั่นคือ สถานการณ์ที่ 1 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังไม่คลี่คลาย จะจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยถึง ระดับ มัธยมศกึ ษาตอนต้น ดว้ ยระบบทางไกลผ่าน DLTV และระดบั มัธยมศึกษาตอนปลาย ด้วยวดี ิทศั น์การ สอนโดย ครูต้นแบบ และระบบออนไลน์ด้วยเครื่องมือการเรียนรู้ตามความเหมาะสมและบริบทของ สถานศึกษา และ สถานการณ์ที่ 2 กรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) คลี่คลาย จะจัดการเรียนการสอนปกติในโรงเรียน โดยให้เว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และมีแผน เตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ โดยจะต้องได้รับการอนุมัติจาก คณะกรรมการศึกษาธิการ จงั หวัด ซึ่งมผี ้วู า่ ราชการจังหวดั เป็นประธาน ระยะที่ 4 การทดสอบและการศึกษาต่อ (1 เมษายน – 15 พฤษภาคม 2564) ประสานงานกับหนว่ ยงานที่เกยี่ วข้องกับการทดสอบและคัดเลอื กเข้าศึกษาต่อ คอื กระทรวง การอุดมศกึ ษา วทิ ยาศาสตร์ วิจยั และนวตั กรรม เกย่ี วกับระบบคดั เลือกเข้าศกึ ษา ในสถาบนั อุดมศึกษา (TCAS GAT PAT) และ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เกี่ยวกับการทดสอบ O-net ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ช้นั มธั ยมศกึ ษาปีที่ 3 และชนั้ มธั ยมศึกษาปที ่ี 6 ระยะที่ 5 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ (1 มกราคม 2564 – 10 ตลุ าคม 2564) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ซึ่งมีการแพร่ระบาดจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและแพร่กระจายไปทั่วทุกภูมิภาค โดย กระทรวงศึกษาธิการไดม้ ีการประกาศใหส้ ถานศกึ ษาทกุ แห่งของรฐั และเอกชน ทั้งในระบบและนอกระบบที่อยู่ ในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาด ของโรคติดเชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) (ศบค.) กำหนดให้ 29 จังหวัด ปดิ เรยี นด้วยเหตพุ เิ ศษ ตง้ั แต่วนั จันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 เป็นต้นไป โดยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอน 5 รูปแบบ ดงั ตอ่ ไปน้ี 1. การเรียนการสอนที่โรงเรียน (ON-SITE) ดำเนินการได้ในกรณีที่โรงเรียนอยู่ในพื้นท่ี ปลอดภัย โดยมีมาตรการรองรับเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และได้รับการอนุมัติจาก สบค. จังหวัด

40 2. การเรียนการสอนผ่านทีวี (ON-AIR) เป็นการจัดการเรียนการสอนแบบทางเดียว ผ่าน ระบบสื่อสารช่องทางหลักโดยส่งสัญญาณครูผู้สอนต้นทางมาจาก โรงเรียนวังไกลกังวล อ.หัวหิน จังหวัด ประจวบครี ขี นั ธ์ ช่องทางส่อื สารหลักมีดังนี้ 2.1 ส่งสญั ญาณผา่ นดาวเทียม KU-BAND (จานทบึ 75 ซม.) CH-186-CH-200 2.2 ระบบเคเบิ้ลทีวี (Cable TV) 2.3 ระบบ IPTV 3. การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต (ONLINE) ใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านเครือข่าย อนิ เตอรเ์ น็ต ผา่ นระบบ Web Conference เป็นการจดั การเรียนการสอนแบบสองทาง ทน่ี ิยมใช้กนั ในปัจจุบัน ในระดับช้ันมัธยม และอุดมศึกษา โดยใช้ Google App For Education , Microsoft Office 365 For Education , DEEP, Zoom , Webex ,MS TEAM ,Class Room และโปรแกรมประยุกต์อื่นๆ ตามความ เหมาะสม 4. การเรียนการสอนแบบ (ON-DEMAND) เปน็ รปู แบบการเรยี นการสอนผ่าน Application 4.1 เวบ็ ไซต์ DLTV (www.dltv.ac.th) 4.2 YouTube (DLTV 1 Chanel – DLTV 15 Channel) 4.3 Application DLTV บน Smart Phone / Tablet 5. การเรียนการสอนแบบ (ON-HAND) สำหรับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การ รบั ชม โดยการนำหนงั สอื แบบฝึกหดั ใบงาน ไปเรียนร้ทู บ่ี า้ นภายใตค้ วามชว่ ยเหลือของผู้ปกครอง สำหรับการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่า การ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร (คณุ หญงิ กัลยา โสภณพนิช) ดแู ลรับผิดชอบ จดั ทำแพลตฟอรม์ ของ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อเป็นเวทีเชื่อม 176 หน่วยงาน และโยงคนพิการทั้งประเทศ ให้สามารถเข้าถึงโอกาสทางการศึกษา การ พัฒนาตนเองได้มากข้ึน ตามแนวทาง“ปรับบา้ นเปน็ ห้องเรยี น เปล่ียนพ่อแม่ เป็นครู” โดยแพลตฟอร์มนี้จะสามารถทำให้พ่อแม่ ผู้ปกครองเรียนรู้วิธีการดูแลพัฒนาผู้เรียน ที่พิการ ตามแบบต่าง ๆ ต่อไปได้ ทั้งยังสามารถบรรจุสื่อการเรียนการสอนออนไลน์ การให้คำปรึกษา แนะนำ และเรื่องอื่น ๆ ไปยัง หนว่ ยงาน สถานศึกษาในสงั กดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร ไดด้ ว้ ย ทั้งนี้ แพลตฟอร์มของโรงเรียนที่จัดการศึกษาพิเศษ คือ เมื่อค้นหาเข้าไปก็จะทราบข้อมูล ว่า จังหวดั นม้ี คี นพิการประเภทใดบ้าง มกี ค่ี น บ้านอย่ทู ่ีไหน เป็นต้น โดยดำเนนิ การไดแ้ ลว้ 3 จงั หวดั และจะขยาย ผลใหค้ รบทกุ จงั หวัด 3) ผลกระทบจากการเรียนรใู้ นสถานการณ์โควดิ -19 องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ (United Nations Children's Fund - UNICEF) (2563) ได้ทำการสำรวจผลกระทบโควิด-19 ต่อเด็กและเยาวชนในประเทศไทย พบว่า เด็กและ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook