Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การใช้สีเพื่องานออกแบบ (1).docx

การใช้สีเพื่องานออกแบบ (1).docx

Published by jantanuch, 2021-05-09 09:17:40

Description: การใช้สีเพื่องานออกแบบ (1).docx

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการสอน รหสั 20302-2002 วิชา การใช้สีเพือ่ งานออกแบบ สาขาวชิ า การออกแบบ ประเภทวิชา ศลิ ปกรรม หลกั สตู ร ประกาศนียบัตรวชิ าชพี พทุ ธศักราช 2562 จดั ทำโดย นางจนั ทนุช โกมลเสนาะ กล่มุ วชิ าชีพเลอื ก แผนกวชิ าการออกแบบ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชยี งใหม่ สำนกั งานคณะกรรมการการอาชีวศกึ ษากระทรวงศึกษาธกิ าร คำนำ

เอกสารการสอนเลมนี้ไดจัดทําขนึ้ เพ่ือประโยชนสําหรบั นักศกึ ษาท่ีศกึ ษาในรายวชิ า การใช้สเี พอ่ื งาน ออกแบบ รหัสวชิ า 20302-2002 รวมถึงบคุ คลทว่ั ไปท่ีสนใจดานการใช้สีประเภทต่างๆ รวมถงึ เพ่ือเปน็ พื้นฐานในการเขียนภาพประกอบเร่ืองในส่งิ พมิ พป์ ระเภทต่างๆ ซึง่ ในปจจบุ ัน ในสงั คมเป็นที่นยิ มในในกล่มุ วยั รุ่น รวมถึงวัยทำงาน เอกสารการสอนเลมน้ีไดอธิบายถงึ พ้นื ฐานในการใช้สปี ระเภทตา่ งๆ ความหมายของสี แมส่ ี จิตวทิ ยา การใช้สี เทคนิคการใชส้ ี ลกั ษณะของสแี ต่ละชนดิ ผูเรียบเรียง ขอขอบพระคุณบุคคลตาง ๆ ท่ชี วยใหเอกสารฉบบั นส้ี าํ เร็จไดตามความประสงค ความ ผิดพลาดใด ๆ ทีเ่ กิดขนึ้ ในเอกสารการสอนฉบับน้ผี ูเรียบเรยี งขอนอมรบั ในความผดิ พลาดนั้น และพรอมทจี่ ะ นาํ ไปปรับปรุงในการจดั พิมพคร้ังตอ ๆ ไป นางจันทนุช โกมลเสนาะ ครชู ำนาญการ สาขาวชิ าการออกแบบ ประเภทวิชาศลิ ปกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ กรกฎาคม 2563

ลกั ษณะรายวชิ า 1. ช่ือวิชาและรหสั วิชา การใช้สีเพ่ืองานออกแบบ รหัสวชิ า 20302-2002 2. สภาพรายวิชา วชิ าชีพเลอื ก หลกั สตู รประกาศนียบัตรวิชาชพี พทุ ธศกั ราช 2562 3. ระดับรายวชิ า ภาคเรียนที่ 2 ชั้น ปวช.ปีท่ี 1 5. เวลาศึกษา ทฤษฎี 1 ชั่วโมง ปฏบิ ตั ิ 3. ชวั่ โมง รวมทัง้ สน้ิ 4 ตอ่ สปั ดาห์ 6. จำนวนหนว่ ยกติ 2 หนว่ ยกิต 7. จดุ ประสงค์รายวิชา เพอื่ ให้ 1. มีความรู้ความเขา้ ใจเกีย่ วกับทฤษฎีสสี แี ละการใช้สใี นการออกแบบ 2. มีทกั ษะการใช้สใี นการออกแบบประเภทตา่ งๆ 3. มีกจิ นสิ ยั ทด่ี ีในการปฏิบตั ิงาน 8.สมรรถนะรายวิชา 89 คำอธบิ ายรายวชิ า 1. แสดงความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสีและการใชส้ ใี นการออกแบบประเภทตา่ งๆ 2. ใชส้ ีโปสเตอร์ ดนิ สอสี สนี ้าํ สเี มจกิ ในการออกแบบตามหลักการและวธิ ีการใชส้ ี ศกึ ษาและปฏิบตั ิเกี่ยวกบั สี คุณลกั ษณะของสี ชนดิ และคุณสมบัติของสี แม่สวี ัตถุ ธาตุ แมส่ ขี องแสง วงจรสี หลักการใช้วรรณะของสี ค่าในนํา้ หนักของสี การใชส้ ี ตรงขา้ ม สกี ลมกลนื สีเอกรงคส์ ขี ัดกัน สสี ว่าง ในที่มืด สีสว่ นรวม สเี ลือ่ มพราย จิตวทิ ยาเกี่ยวกับสีและการใช้คูส่ ี เทคนคิ วิธกี ารผสมสี การเลอื กใช้สีแต่ละชนิดให้ สัมพันธ์กบั งานออกแบบ การฝึกทกั ษะการใชส้ ใี นการออกแบบตามหลักการ และ วธิ ีการใชส้ ีชนิดตา่ งๆ(ได้แก่ สี โปสเตอร์ ดินสอสี สีนา้ํ สีเมจกิ

หนว่ ย 1. ความหมายของสี สี หมายถงึ แสงทม่ี ากระทบวัตถุแลว้ สะท้อนเขา้ ตาเรา ทำให้เหน็ เปน็ สตี า่ งๆ การทเี่ รามองเห็นวัตถุเป็นสี ใดๆ ได้ เพราะวัตถุนั้นดูดแสงสีอื่น สะท้อนแต่สีของมันเอง เช่น วัตถุสีแดง เมื่อมีแสงส่องกระทบ ก็จะดูดทุกสี สะท้อนแต่สีแดง ทำให้เรามองเห็นเป็นสแี ดง เรารับรู้สไี ด้เพราะ เมื่อสามร้อยกว่าปที ี่ผ่านมา ไอแซก นิวตัน ได้ คน้ พบ ว่า แสงสีขาวจาก ดวงอาทิตย์เม่อื หกั เห ผ่านแท่งแก้วสามเหลย่ี ม ( prism) แสงสีขาวจะกระจายออกเป็น สีรุ้ง เรยี กว่า สเปคตรมั มี 7 สี ได้แก่ มว่ ง คราม น้ำเงนิ เขียว เหลอื ง สม้ แดง (ศกั ดา ศริ พิ นั ธ์.ุ 2527 : 5 อ้าง ถึงใน http://rbu.qru.ac.th/~somsak/design/ lesson5/ lesson_5.html ) และได้มีกำหนดให้เป็นทฤษฎี สีของแสงขึ้น ความจริงสีรุ้งเป็นปรากฏการณ์ ตาม ธรรมชาติ ซึ่งเกิดขึ้น และพบเห็นกันบ่อยๆ อยู่แล้ว โดยเกิด จากการหักเห ของ แสงอาทิตยห์ รือ แสงสว่าง เมอ่ื ผ่าน ละอองน้ำในอากาศซง่ึ ลักษณะกระทบต่อสายตาให้เห็น เป็นสี มีผลถึงจิตวิทยา คือมีอำนาจให้เกิดความเข้มของแสง ที่อารมณ์ และความรู้สึกได้ การที่ได้เห็นสีจาก สายตา สายตาจะส่งความรสู้ ึกไปยังสมองทำให้เกดิ ความรสู้ กึ ต่างๆ ตาม อทิ ธิพลของสี เช่น สดชนื่ เร่ารอ้ น เยือก เย็น หรือตื่นเต้น มนุษย์เราเกี่ยวข้องกับสีต่างๆ อยู่ตลอดเวลาเพราะ ทุกสิ่ง ที่อยู่รอบตัวนั้น ล้วนแต่มีสีสัน แตกตา่ งกนั มากมาย ความสำคญั ของสีท่มี ตี ่อวถิ ีชีวิตของเรา สีเปน็ ส่งิ ที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของเราอย่างมาก นบั แต่สมัยดึกดำบรรพ์ จนถึงปัจจบุ ัน เราได้นำสีมา ใช้ ใหเ้ กดิ ประโยชนโ์ ดยใชเ้ ปน็ สญั ลักษณใ์ นการถา่ ยทอด ความหมายอย่างใดอย่างหนงึ่ สจี ึงเปน็ สิ่งท่ีควรศึกษา เพ่อื ใช้ประโยชนก์ ับวิถีชวี ิตของเรา เพราะสรรพส่ิงท้งั หลายท่แี วดล้อมตัวเราประกอบไปดว้ ยสี ทั้งสนิ้ ในงาน ศลิ ปะ สีเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึง่ และในวิถีชีวิตของเราสีเปน็ องคป์ ระกอบที่มีอิทธพิ ลตอ่ ความรสู้ ึก อารมณ์ และจิตใจ ไดม้ ากกวา่ องค์ประกอบอน่ื ๆ เชน่ 1 . ใช้ในการจำแนกสิง่ ตา่ ง ๆ เพื่อให้เห็นชดั เจน 2 . ใชใ้ นการจดั องค์ประกอบของสิง่ ต่าง ๆ เพอ่ื ใหเ้ กิดความสวยงาม กลมกลืน เชน่ การแต่งกาย การ ตกแต่งบ้าน 3 . ใชใ้ นการจัดกล่มุ พวก คณะ ด้วยการใชส้ ีต่าง ๆ เช่น คณะสี เคร่อื งแบบตา่ ง ๆ 4 . ใช้ในการสื่อความหมาย เปน็ สญั ลักษณ์ หรอื ใช้บอกเลา่ เรอ่ื งราว 5 . ใช้ในการสรา้ งสรรค์งานศลิ ปะ เพ่ือใหเ้ กดิ ความสวยงาม สรา้ งบรรยากาศ สมจริงและนา่ สนใจ 6 . เปน็ องค์ประกอบในการมองเหน็ สิ่งต่าง ๆ ของ มนุษย์ สีทอี่ ยู่รอบตัวเราน้ันมีทม่ี า 3 ทาง คือ 1 . สสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และนำมาใช้โดยตรง หรือด้วยการสกัด ดัดแปลงบ้าง จากพืช สัตว์ ดิน แรธ่ าตุตา่ ง ๆ 2 . สสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมี เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้น เพื่อให้ สามารถ นำมาใช้ได้ สะดวกมากขน้ึ ซงึ่ เปน็ สีท่ีเราใชอ้ ย่ทู ่วั ไปในปัจจบุ นั 3 . แสง เป็นพลังงานชนิดเดียวที่ให้สี โดยอยู่ในรูปของรังสี (Ray) ที่มีความเข้มของแสง อยู่ในช่วง ท่ี สายตา มองเหน็ ได้ ปัจจุบัน มนุษย์เรามีวิวัฒนาการมากขึ้น เกิดคตินิยมในการรับรู้ และชื่นชมในความงามทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) สีจึงได้รับการพัฒนาเพ่อื นำมาใช้อย่างกว้างขวางและวจิ ติ รพสิ ดาร จากเดิมทีเ่ คยใชส้ เี พยี งไม่กสี่ ี ซ่ึง เป็นสีตามธรรมชาติ ได้นำมาประดิษฐ์ คิดค้น และผลิต สีรูปแบบใหม่ ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิด การ สรา้ งสรรคค์ วามงามอย่างไมม่ ขี ีดจำกดั โดยมกี ารพฒั นามาเป็นระยะ ๆ อยา่ งต่อเนือ่ ง

หนว่ ย 2. แม่สี ในวถิ ีชีวติ ของเรา ทุกคนรูจ้ ัก เคยเห็น เคยใชส้ ี และสามารถบอกได้วา่ สง่ิ ใดเปน็ สแี ดง สีเหลือง สีเขยี ว สีฟา้ สี มว่ ง สีขาว และสอี ่นื ๆ แต่เป็นเพียงรู้จัก และเรียกช่ือสีได้ถูกต้องเท่านั้น จะมพี วกเราก่คี นที่จะร้จู ักสีได้ลกึ ซึง้ เพราะ เรายงั ขาดส่ือการเรยี นเกย่ี วกบั เร่อื งนี้นนั่ เอง ปจั จบุ ันน้ี เรายังมองข้ามหลักวิชา ที่จำเปน็ ต่อการดำรงชีวิต ประจำวันของเราอยู่ ถ้าเรารูจ้ ักหลักการเบ้ืองตน้ ของสี จะทำใหเ้ ราสามารถเขยี น ระบาย หรอื เลอื กประยุกต์ใช้สี เพ่ือสร้างความสุขในการดำเนินวถิ ชี ีวิตของเราไดด้ ีขึ้น นักวิชาการสาขาต่างๆ ได้ศึกษาค้นคว้าเรื่องสี จนเกดิ เปน็ ทฤษฎสี ี ตามหลักการของนักวชิ าการสาขานน้ั ๆ ดงั น้ี 1.แม่สีของแสง (spectrum primaries) คอื สีท่ีเกดิ จากการผสมกนั ของคลื่นแสง มแี ม่สี 3 สี คอื 1. สแี ดง (Red) 2. สเี ขียว (Green) 3. สีน้ำเงิน (Blue) เมื่อนำแม่สีของแสงมาผสมกันจะเกดิ เปน็ สตี า่ งๆ ดงั น้ี 1. สีม่วงแดง (Magenta) เกิดจากสีแดง (Red) ผสมกบั สีน้ำเงนิ (Blue) 2. สฟี า้ (Cyan) เกดิ จากสีเขียว (Green) ผสมกบั สีนำ้ เงิน (Blue) 3. สีเหลอื ง (Yellow) เกิดจากสีเขยี ว (Green) ผสมกับสี แดง (Red) และเม่ือนำแม่สีท้ัง 3 มาผสมกัน จะไดส้ ีขาว 2แม่สขี องนักจติ วิทยา (psychology primaries) คือสที ่มี ีผลต่อความรูส้ ึกของมนษุ ย์ ในดา้ นจติ ใจ ซ่ึงจะกลา่ วในเรอื่ ง \"ความรู้สึกของสี\" นกั จิตวิทยาแบง่ แมส่ ี เป็น 4 สี คอื 1. สีแดง (Red) 2. สีเหลือง (Yellow) 3. สีเขยี ว (Green) 4. สีน้ำเงนิ (Blue) เมอื่ นำแมส่ ี 2 สที ีอ่ ยใู่ กล้กนั ในวงจรสี มาผสมกันจะเกิดเป็นสีอกี 4 สี ดังน้ี 1. สสี ้ม (orange) เกดิ จากสี แดง (Red) ผสมกับสี เหลือง (Yellow) 2. สเี ขียวเหลอื ง (yellow-green) เกดิ จากสี เหลอื ง (Yellow) ผสมกับสเี ขยี ว (Green) 3. สีเขียวนำ้ เงนิ (blue green) เกิดจากสี เขียว (Green) ผสมกบั สนี ้ำเงนิ (Blue) 4. สมี ว่ ง (purple) เกดิ จากสี แดง (Red) ผสมกบั สีนำ้ เงนิ (Blue) 3.แมส่ ีวตั ถธุ าตุ (pigmentary primaries) คือสีวทิ ยาศาสตร์ทใ่ี ชใ้ นการเขียนภาพต่างๆ เช่นภาพวาด ภาพโฆษณา ภาพประกอบเรื่อง ซึง่ ใน หลักการเดยี วกันทั้งส้นิ ประกอบด้วย สขี ั้นท่ี 1 (Primary Color) คือ สพี ้นื ฐาน มีแม่สี 3 สี ได้แก่ 1. สีเหลอื ง (Yellow) 2. สแี ดง (Red) 3. สนี ำ้ เงนิ (Blue)

สีข้ันที่ 2 (Secondary color) คอื สีทีเ่ กิดจากสขี นั้ ที่ 1 หรอื แมส่ ผี สมกนั ในอตั ราสว่ นทีเ่ ท่ากนั จะทำให้เกดิ สใี หม่ 3 สี ไดแ้ ก่ 1. สีส้ม (Orange) เกดิ จาก สีแดง (Red) ผสมกบั สเี หลอื ง(Yellow) 2. สมี ว่ ง (Violet) เกดิ จาก สแี ดง (Red) ผสมกบั สีน้ำเงิน(Blue) 3. สีเขียว (Green) เกิดจาก สเี หลือง (Yellow) ผสมกับสีน้ำเงนิ (Blue) สขี ้นั ที่ 3 (Intermediate Color) คือสีทเ่ี กดิ จากการผสมกันระหวา่ งสขี องแม่สีกับสีข้นั ท่ี 2 จะเกดิ สีข้ึนอีก 6 สี ได้แก่ 1. สนี ำ้ เงินม่วง ( Violet-blue) เกดิ จาก สนี ้ำเงนิ (Blue)ผสมสมี ่วง (Violet) 2. สีเขยี วน้ำเงนิ ( Blue-green) เกิดจาก สีน้ำเงนิ (Blue)ผสมสเี ขยี ว (Green) 3. สีเหลอื งเขยี ว ( Green-yellow) เกดิ จาก สเี หลือง(Yellow)ผสมกบั สเี ขยี ว (Green) 4. สีสม้ เหลือง ( Yellow-orange) เกดิ จาก สเี หลอื ง (Yellow)ผสมกับสีส้ม (Orange) 5. สแี ดงสม้ ( Orange-red) เกดิ จาก สแี ดง (Red) ผสมกบั สีส้ม (Orange) 6. สีมว่ งแดง ( Red-violet) เกดิ จาก สีแดง (Red) ผสมกบั สีมว่ ง (Violet) 4. สีกลาง (neutral colors) เปน็ สีท่เี กิดจากการนำเอาสที ุกสผี สมรวมกนั เขา้ หรือเอาแมส่ ที ั้ง 3 สี รวมกัน กจ็ ะได้สีกลาง ซึ่งเป็นสีเทาแก่ๆ เกอื บดำ

วงล้อสี (Colors wheel) จากสี 12 สี ในวงลอ้ จะแบง่ ออกเป็น 2 วรรณะ คือ - วรรณะสีอุ่น (warm tone) - วรรณะสเี ย็น (cool tone) • ค่าในนำ้ หนักของสี Value of color 1. คา่ ความเขม้ หรือน้ำหนักของสี สีตา่ งๆท่เี กดิ ขน้ึ ในวงจรสีหากเรานำมาเรียงน้ำหนักความอ่อนแก่ ของสหี ลายสี เช่น มว่ ง นำ้ เงิน เขยี วแกมนำ้ เงนิ เขยี ว และเหลืองแกมเขยี ว หรอื ม่วงแดง แดง ส้ม ส้ม สม้ แกมเหลอื ง และเหลือง หรือเรยี กว่าคา่ ในนำ้ หนักของสหี ลายสี (Value of different color) ดังตวั อยา่ ง 2. ค่าความเข้มอีกประเภทหนง่ึ เกิดจากการนำสีใดสหี นึ่งเพยี งสเี ดียวแลว้ นำมาไล่น้ำหนกั อ่อนแกใ่ นตวั เอง เราเรียกว่าคา่ น้ำหนักสเี ดียว (Value of single color)

หน่วย 3. คณุ ลักษณะของสี คุณลกั ษณะของสีมี 3 ประการ คือ 1. สีแท้ หรือความเป็นสี (Hue ) หมายถึง สที ีอ่ ยู่ในวงจรสีธรรมชาติ ทัง้ 12 สี สี ทเ่ี ราเห็นอยู่ทุกวนั นแ้ี บ่งเป็น 2 วรรณะ โดยแบง่ วงจรสีออกเปน็ 2 ส่วน จากสเี หลือง วนไปถึงสมี ว่ ง 2.วรรณะของสี 1. สรี อ้ น (Warm Color) ให้ความร้สู กึ รุนแรง ร้อน ต่ืนเตน้ ประกอบดว้ ย สีเหลอื ง สเี หลืองสม้ สีสม้ สแี ดงส้ม สีแดง สมี ่วงแดง สีม่วง 2. สเี ย็น (Cool Color) ใหค้ วามรู้สกึ เย็น สงบ สบายตาประกอบดว้ ย สีเหลือง สีเขยี วเหลือง สีเขยี ว สนี ำ้ เงินเขยี ว สนี ้ำเงิน สมี ว่ งนำ้ เงิน สมี ว่ ง เราจะเห็นวา่ สีเหลอื ง และสีม่วง เปน็ สที ่อี ยไู่ ด้ทงั้ 2 วรรณะ คือเป็นสกี ลาง เป็นได้ทั้งสีรอ้ น และสีเยน็ 3. สีทเี่ ปน็ ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น สีเหลืองและมว่ งจะอยู่ได้ทั้งสองวรรณะข้ึนอย่กู ับสี แวดล้อม เชน่ หากนำสเี หลืองไปไว้กบั สแี ดงและส้มก็กลายเป็นสโี ทนรอ้ น แตห่ ากนำมาไว้กบั สี เขียวก็จะเป็นสีโทนเยน็ ทนั ที 4. สกี ลาง (Muddy Colors) สีกลาง ในความหมายนเ้ี ปน็ สีท่ีเขา้ กับสีไดท้ กุ สี ไดแ้ ก่ สนี ้ำตาล สีขาว สเี ทา และดำ สเี หล่าน้ีเมอ่ื นำไปใช้งานลดความรนุ แรงของสอี ่นื และจะเสรมิ ใหง้ านดูเด่นยิง่ ขนึ้ การใช้สีต่างวรรณะ หลกั การทว่ั ไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถา้ ใช้สวี รรณะร้อน 80% สีวรรณะเย็น ก็ 20% เปน็ ต้น ซง่ึ การใชแ้ บบน้สี รา้ งจุดสนใจของผดู้ ู ไม่ควรใชอ้ ัตราสว่ นทีเ่ ท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มสี ีใดเดน่ ไม่ นา่ สนใจ

3. สตี รงข้าม (Complementary Colors) หมายถงึ สสี องสีที่อยู่ตรงข้ามกนั บนวงจรสี ให้ความรูส้ ึกที่ขัดแย้งกนั อยา่ งรนุ แรง มี 6 คคู่ ือ 1. เหลอื ง (Yellow) กับ มว่ ง(Violet) 2. แดง (Red) กบั เขียว(Green) 3. นำ้ เงนิ (Blue) กับ สม้ (Orange) 4. ส้มเหลือง(Yellow-Orange) กบั ม่วงน้ำเงิน (Blue-Green) 5. ส้มแดง (Red-Orange) กบั เขยี วน้ำเงนิ (Blue-Green) 6. เขยี วเหลือง (Yellow-Green) กับ ม่วงแดง (Red-Violet) การนำสีตรงขา้ มกันมาใชร้ ่วมกนั อาจกระทำไดด้ งั น้ี 1. มพี ้ืนท่ีของสีหน่ึงมาก อกี สีหน่ึงนอ้ ย 2. ผสมสอี ่ืนๆ ลงไปสีสใี ดสหี น่ึง หรอื ท้ังสองสี 3. ผสมสตี รงข้ามลงไปในสที ง้ั สองสี การใชส้ ีตรงกันขา้ ม 1. การใชส้ แี บบลดความเขม้ ของสคี ตู่ รงขา้ มลงเป็นการเนน้ สใี ดสีหน่งึ เปน็ หลัก และลดโทนสีคูต่ รงขา้ ม ลง ไมใ่ หม้ ีความเข้มหรือสสี ดมากเกินไปจนทำให้สที ่ตี ้องการเนน้ ดไู มโ่ ดดเดน่ 2. การใช้สีแบบลดพืน้ ทีล่ ง เป็นการลดพ้ืนทสี่ คี ู่ตรงขา้ มไม่ใหเ้ ท่ากัน โดยเน้นสีใดสหี นึ่งเปน็ หลัก สว่ นมากเนน้ การออกแบบและลวดลายตา่ ง ๆ ใหด้ แู ปลกตา 3. การใช้สแี บบทำใหส้ หี ม่นท้ังสองสี เปน็ การทำใหค้ ู่สตี รงขา้ มหม่นลงไปท้ังสองสี ซึ่งจะชว่ ยทำให้ ภาพดเู บาบางลงได้ ส่วนมากเน้นภาพที่ตอ้ งการความกว้าง ไม่หนาแน่นของภาพ วธิ นี เ้ี หมาะ กับ ภาพทตี่ อ้ งการให้ดูกว้างใหญ่

4. การใช้สแี บบนำสีเข้มมาตัดเส้นเปน็ การเน้นขอบรูปให้เขม้ ขึ้น ส่วนมากใช้กบั ภาพท่ีต้องการ เนน้ ให้เด่นชดั การใชส้ ตี ัดเสน้ จะทำใหภ้ าพมีความโดดเดน่ ขนึ้ 5. การใชส้ ีแบบทำให้เป็นจุดเลก็ ๆ กระจายกนั เปน็ การสรา้ งสรรค์การใช้สคี ่ตู รงข้ามวิธหี นงึ่ แทน การระบายสีแบบปรกติ แต่เปล่ยี นมาใชว้ ิธีการจุดลงไปแทน ภาพที่ได้จงึ ดูแปลกตา 4. ความจดั ของสี (Intensity) หมายถึง ความสด หรอื ความบริสทุ ธ์ิของสีใดสีหน่งึ สที ีถ่ ูกผสมดว้ ย สดี ำจนหมน่ ลง ความจดั หรือความบรสิ ทุ ธจิ์ ะลดลง ความจัดของสีจะเรียงลำดับจากจัดทสี่ ดุ ไปจน หม่นท่สี ุด ไดห้ ลายลำดบั ด้วยการค่อยๆ เพิ่มปริมาณของสดี ำทีผ่ สมเขา้ ไปทลี ะน้อยจนถึงลำดบั ทคี่ วามจัดของสีมนี ้อยทส่ี ุด คือเกือบเป็นสี ดำ

5. น้ำหนักของสี (Values) หมายถงึ สที ี่สดใส (Brightness) สีกลาง (Grayness) สที ึบ(Darkness) ของสีแต่ละ สี สที กุ สจี ะมีนำ้ หนักในตวั เอง ถ้าเราผสมสีขาวเข้าไปในสีใดสีหน่ึง สีน้ันจะสวา่ งข้ึน หรือมีน้ำหนักอ่อนลง ถ้าเพ่ิม สขี าวเข้าไปทีละน้อยๆ ตามลำดับ เราจะไดน้ ำ้ หนกั ของสีทีเ่ รียงลำดบั จากแกส่ ุด ไปจนถงึ ออ่ นสุด น้ำหนักอ่อนแก่ ของสีก็ได้ เกิดจากการผสมด้วยสีขาว เทา และ ดำ น้ำหนักของสีจะลดลงด้วยการใช้สีขาวผสม ( tint) ซึ่งจะทำ ให้ เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนหวาน สบายตา น้ำหนักของสีจะเพิ่มขึ้นปานกลางด้วยการใช้สีเทาผสม ( tone) ซึง่ จะทำใหค้ วามเขม้ ของสีลดลง เกดิ ความรู้สกึ ทส่ี งบ ราบเรียบ และนำ้ หนักของสีจะเพิ่มขึ้นมากขน้ึ ด้วยการใช้สี ดำผสม ( shade) ซง่ึ จะทำใหค้ วามเขม้ ของสีลดความสดใสลง เกดิ ความรสู้ ึกขรึม ลึกลับ นำ้ หนักของสียงั หมายถึง การเรยี งลำดับนำ้ หนักของสีแทด้ ว้ ยกนั เอง โดยเปรยี บเทยี บ น้ำหนักอ่อนแก่กบั สีขาว – ดำ เราสามารถเปรียบเทียบระหว่างภาพสีกบั ภาพขาวดำได้อย่างชัดเจนเมื่อนำภาพสีที่เราเห็นว่ามีสีแดงอยู่ หลายค่าท้ังออ่ น กลาง แก่ ไปถา่ ยเอกสารขาว-ดำ เมือ่ นำมาดจู ะพบวา่ สแี ดงจะมนี ้ำหนักอ่อน แก่ ต้ังแตข่ าว เทา ถึงดำ น่ันเป็นเพราะว่าสีแดงมนี ำ้ หนักของสีแตกตา่ งกันนน่ั เอง

หน่วย 5 จิตวทิ ยาเก่ียวกบั สี สีต่างๆ ทเ่ี ราสมั ผัสดว้ ยสายตา จะทำให้เกดิ ความรสู้ ึกขน้ึ ภายในตอ่ เรา ทันทีที่เรามองเห็นสี ไม่ว่าจะเป็น การแต่ง กาย บา้ นท่ีอยอู่ าศยั เครื่องใช้ต่างๆ แล้วเราจะ ทำอย่างไร จึงจะใช้สีได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกบั หลัก จิตวิทยา เราจะตอ้ งเขา้ ใจวา่ สใี ดใหค้ วามรู้สึก ต่อมนุษยอ์ ยา่ งไร ซงึ่ ความรสู้ ึกเก่ียวกบั สี สามารถจำแนกออกได้ ดังนี้ สแี ดง ให้ความรู้สึกร้อน รนุ แรง กระตุ้น ทา้ ทาย เคล่ือนไหว ตืน่ เต้น เร้าใจ มีพลัง ความอดุ ม สมบรู ณ์ ความมั่งคงั่ ความรัก ความสำคญั อนั ตราย สีแดงชาด จะทำให้เกดิ ความอุดมสมบูรณ์ สีส้ม ใหค้ วามรสู้ กึ ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มชี ีวติ ชวี า วัยรนุ่ ความคึกคะนอง การ ปลดปล่อย ความเปร้ียว การระวงั สีเหลอื ง ใหค้ วามรสู้ กึ แจ่มใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่น ชีวติ ใหม่ ความสด ใหม่ ความ สุกสว่าง การแผ่กระจาย อำนาจบารมี สเี ขียว ใหค้ วามรสู้ ึกงอกงาม สดชื่น สงบ เงียบ ร่มร่ืน ร่มเยน็ การพักผ่อน การผ่อนคลาย ธรรมชาติ ความปลอดภัย ปกติ ความสุข ความสขุ ุม เยอื กเยน็ สเี ขยี วแก่ จะทำให้เกิดความร้สู ึกเศรา้ ใจความแก่ชรา สีน้ำเงิน ใหค้ วามรสู้ ึกสงบ สุขุม สภุ าพ หนักแน่น เครง่ ขรึม เอาการเอางาน ละเอยี ด รอบคอบ สง่า งาม มศี ักด์ิศรี สูงศักด์ิ เป็นระเบยี บถอ่ มตน สีฟ้า ใหค้ วามรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปรง่ ใส สะอาด ปลอดภัย ความสวา่ ง ลมหายใจ ความเปน็ อสิ ระเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปนั สคี ราม จะทำใหเ้ กิดความรูส้ ึกสงบ สีมว่ ง ใหค้ วามรสู้ กึ มเี สน่ห์ นา่ ตดิ ตาม เรน้ ลบั ซ่อนเรน้ มีอำนาจ มพี ลังแฝงอยู่ ความรัก ความ เศร้า ความผิดหวงั ความสงบ ความสงู ศักด์ิ สนี ้ำตาล ใหค้ วามรสู้ กึ เก่า หนัก สงบเงียบ สขี าว ให้ความรสู้ กึ บริสทุ ธ์ิ สะอาด ใหม่ สดใส สดี ำ ใหค้ วามรูส้ กึ หนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตนั สชี มพู ให้ความรูส้ ึก อบอุน่ อ่อนโยน นุ่มนวล ออ่ นหวาน ความรกั เอาใจใส่ วยั ร่นุ หนมุ่ สาว ความ น่ารัก ความสดใส สไี พล จะทำให้เกดิ ความรู้สึกกระชุ่มกระชวย ความเป็นหนมุ่ สาว สเี ทา ให้ความรสู้ กึ เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลกึ ลบั ความหดหู่ ความชรา ความสงบ ความเงยี บ สภุ าพ สขุ ุม ถ่อมตน สีทอง ให้ความรสู้ กึ ความหรหู รา โอ่อ่า มีราคา สูงคา่ สงิ่ สำคญั ความเจรญิ รุ่งเรอื ง ความสุข ความ ม่ังคั่ง ความร่ำรวย การแผ่กระจาย จากความรู้สกึ ดังกลา่ ว เราสามารถนำไปประยุกต์ใชใ้ นชวี ิตประจำวนั ไดใ้ นทกุ เร่ือง และเมื่อต้องการ สร้างผลงาน ทีเ่ กย่ี วกับการใช้สี เพื่อทจี่ ะได้ผลงานทตี่ รงตามความต้องการในการสื่อความหมาย และจะช่วยลด ปญั หาในการ ตัดสนิ ใจท่จี ะเลือกใช้สีตา่ งๆได้ เชน่ 1. ใชใ้ นการแสดงเวลาของบรรยากาศในภาพเขยี น เพราะสีบรรยากาศในภาพเขียนนัน้ ๆ จะแสดงใหร้ ู้ ว่าเป็นภาพตอนเชา้ ตอนกลางวัน หรอื ตอนบ่าย เป็นตน้

2. ในดา้ นการค้า คือ ทำใหส้ ินค้าสวยงาม น่าซื้อหา นอกจากนีย้ ังใชก้ ับงานโฆษณา เช่น โปสเตอรต์ ่างๆ ช่วยให้จำหนา่ ยสินคา้ ไดม้ ากขน้ึ 3. ในด้านประสิทธภิ าพของการทำงาน เชน่ โรงงานอตุ สาหกรรม ถ้าทาสีสถานท่ที ำงานให้ถูกหลัก จติ วทิ ยา จะเปน็ ทางหนง่ึ ที่ชว่ ยสร้างบรรยากาศให้น่าทำงาน คนงานจะทำงานมากขึ้น มี ประสทิ ธภิ าพในการทำงานสงู ข้นึ 4. ในดา้ นการตกแต่ง สีของห้อง และสขี องเฟอรน์ ิเจอร์ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความสวา่ งของห้อง รวมท้งั ความสขุ ในการใช้ห้อง ถ้าเป็นโรงเรียนเด็กจะเรียนไดผ้ ลดีขึ้น ถ้าเปน็ โรงพยาบาลคนไขจ้ ะหายเรว็ ข้ึน สกี ับการออกแบบ ผสู้ รา้ งสรรคง์ านออกแบบจะเปน็ ผทู้ ่เี กี่ยวข้องกับการใชส้ ีโดยตรง มณั ฑนากรจะคดิ ค้นสีขึ้นมาเพื่อใชใ้ น งานตกแต่ง คนออกแบบฉากเวทีการแสดงจะคดิ คน้ สีเกยี่ วกับแสง จติ รกรก็จะคิดค้นสีขน้ึ มาระบายให้เหมาะสม กบั ความคดิ และจนิ ตนาการของตน สที ่ใี ช้สำหรบั การออกแบบนน้ั ถ้าเราจะใช้ให้เกดิ ความสวยงามตรงตามความต้องการของเรา มหี ลกั ใน การใช้สดี ังน้ี 1. การใช้สเี อกรงค์ (Monochrome) หมายถึง การใชส้ ี สเี ดียว หรอื การใช้สีทีแ่ สดงความเด่นชัด ออกมาเพยี งสเี ดยี ว แตม่ ีการลดหล่ันกนั ในเร่ืองน้ำหนกั สี เพ่ือให้เกดิ ความแตกตา่ ง วธิ กี ารใชส้ เี อกรงค์ คอื จะใชส้ ี ใดสีหนึ่งท่ีเป็นสีแท้(Hue)หรือมีความสด (Intensity) เป็นตัวยืนเพยี งสเี ดียวให้เป็นจุดเด่นของภาพ สว่ นประกอบ รอบๆนน้ั จะใช้สีเดียวกนั แต่ลดความสดของสีใหน้ ้อยกว่าสีหลัก สที ีน่ ำมาเป็นส่วนประกอบอาจแบ่งนำ้ หนักได้ ตั้งแต่ 3 - 6 สี 2. การใชส้ กี ลมกลืน (Harmony) หมายถึง การเคียงคู่กนั ของสีตา่ งๆ ซึง่ ไปดว้ ยกนั โดยไมข่ ัดแยง้ หรือ ตดั กัน ความกลมกลนื ของสีทำได้หลายลักษณะคอื 2.1 กลมกลนื ด้วยคา่ ของน้ำหนกั ของสีๆเดยี ว (Total Value Harmony) คอื การใช้สียนื เพยี งสเี ดียว แต่มีค่าหลาย นำ้ หนกั หรอื เปน็ แบบเดียวกบั สีเอกรงค์ อาจใช้การผสมสีขาวใหน้ ้ำหนกั อ่อนลง และผสมดำให้น้ำหนักเขม้ ข้ึน 2.2 กลมกลืนโดยใช้สใี กลเ้ คยี ง (Symple Harmony) เปน็ การใช้สีขา้ งเคียงกนั ในวงจรสีซึง่ มลี ักษณะสีใกล้เคยี ง กนั เช่น ม่วง - ม่วงน้ำเงนิ - นำ้ เงนิ หรอื เขียวเหลือง - เขียว - เขยี วนำ้ เงิน 2.3 สกี ลมกลนื โดยใช้สคี ู่ผสม (Two Colours Mixing) หมายถึง สคี ่ใู ดคหู่ นง่ึ ที่ผสมกันแล้วไดส้ ีท่ี3 เชน่ สีนำ้ เงิน ผสมกับสีเหลอื งไดส้ เี ขยี ว แล้วนำ้ ทง้ั 3สี มาใช้ในงานเดยี วกัน 2.4 สีกลมกลนื โดยใชว้ รรณะของสี (Tone) หมายถงึ นำสีในกลุ่มวรรณะเดยี วกนั มาจดั อยูด่ ้วยกนั เชน่ สใี น วรรณะรอ้ น เช่น แดง สม้ เหลอื ง มว่ งแดง หรือสใี นวรรณะเยน็ ได้แก่ นำ้ เงิน ม่วง เขียว เขยี วนำ้ เงิน เปน็ ตน้ 3.การใชส้ ขี ัดกัน / สตี ดั กัน (Discord) หมายถึง การกลับค่าของน้ำหนักระหวา่ งสแี ก่กับสีอ่อน โดยการกลบั สที แ่ี ก่มาเปน็ สีอ่อนด้วยการผสมสขี าว หรอื ทำใหเ้ จอื จางลง เพื่อให้มีนำ้ หนักอ่อนกวา่ อกี สีหน่งึ ทเ่ี ปน็ สีที่อ่อน แตป่ รับใหเ้ ปน็ สีแกโ่ ดยการผสมดำ หรือสเี ข้ม เพือ่ เพม่ิ นำ้ หนักสีให้เข้มขนึ้ แล้วนำมาจัดเข้าด้วยกันเพือ่ สร้างความแตกตา่ งหรือความขัดแยง้ ทเ่ี หมาะสม ทำ ให้ผลงานดูมจี งั หวะ นา่ สนใจกว่าการใช้สีกลมกลืนซึ่งอาจดูซ้ำๆ และจืดชืด การกลับค่าของสี มกั ใชเ้ พื่อแตง่ แตม้ ภาพเปน็ บางจุดใหเ้ กดิ ความนา่ สนใจ ซึ่งมักจะใช้คู่สรี ะหวา่ งสแี ก่กับสีอ่อนที่ มีความเข้มต่างกนั อย่างชัดเจน เช่น โครงสีของภาพเปน็ สเี หลืองซง่ึ เป็นสีอ่อน แต่กลับเพ่ิมน้ำหนักสใี หเ้ ข้มข้ึน ขณะเดียวกัน กน็ ำสีม่วงซ่ึงเป็นสแี กม่ าลดคา่ นำ้ หนกั ลงให้อ่อนกวา่ สเี หลอื ง โดยการนำมาเป็นสว่ นประกอบใน ปริมาณนอ้ ย จะทำใหภ้ าพไม่จืดชดื และน่าสนใจข้ึน

สตี ดั กนั คือสที ่ีอยตู่ รงขา้ มกันในวงจรสี (ดูภาพวงจรสี ด้านซา้ ยมอื ประกอบ) การใชส้ ีให้ตดั กนั มคี วามจำเป็นมาก ในงานออกแบบ เพราะช่วยให้เกดิ ความนา่ สนใจ ในทนั ทที ่ีพบเห็น สีตัดกนั อย่างแท้จรงิ มี อยดู่ ้วยกัน 6 ค่สู ี คอื 1. สเี หลอื ง ตรงขา้ มกับ สีม่วง 2. สีสม้ ตรงขา้ มกับ สีน้ำเงนิ 3. สแี ดง ตรงข้ามกับ สีเขียว 4. สเี หลืองสม้ ตรงขามกบั สีมว่ งนำ้ เงิน 5. สสี ม้ แดง ตรงข้ามกับ น้ำเงินเขยี ว 6. สมี ว่ งแดง ตรงขา้ มกับ สเี หลืองเขียว การใช้สีตดั กัน ควรคำนึงถึงความเปน็ เอกภาพดว้ ย วธิ ีการใชม้ ีหลายวธิ ี เชน่ 1. ใชส้ ใี หม้ ปี รมิ าณต่างกัน เชน่ ใช้สีแดง 20 % สเี ขียว 80% หรือ 2. ใชเ้ น้ือสผี สมกนั และกนั หรอื ใชส้ หี นึง่ สใี ดผสมกบั สีคู่ท่ีตัดกัน ด้วยปริมาณเล็กน้อย 3. ผสมหรอื ใส่สีกลางลงในงานที่ใชส้ ีคูต่ รงขา้ มเพื่อลดความรุนแรงของสี 4. การใชส้ ใี กล้เคยี งกับสีค่ตู รงข้าม (Split Complementary) เปน็ การใช้สที ่หี ลกี เลย่ี งการใชส้ คี ู่ตรง ข้ามโดยตรง เทคนิคน้ที ำให้งานดนู มุ่ นวลข้นึ มีลูกเล่นสร้างจดุ สนใจไดด้ ี สงั เกตจากภาพตวั อยา่ ง ดา้ นลา่ งสีม่วงท่มี พี ้ืนทีน่ ้อยแต่กลบั ดโู ดดเดน่ ขึ้นมาได้ 4. สีส่วนรวม หรือสีครอบงำ Tonality สสี ว่ นรวมหรือสีครอบงำหมายถงึ สีใดสหี นึ่งที่มจี ำนวนมากกวา่ สีอนื่ ในพ้นื ทีห่ รือภาพนั้นๆ เชน่ ภาพต้นไม่ที่ เรามองเห็นเปน็ สเี ขยี ว แต่ความจรงิ แลว้ ในสีเขียวของตน้ ไม้นน้ั อาจมสี ีอ่ืนประกอบอย่ดู ว้ ยเช่น สี เขยี วออ่ น สี เหลอื ง สนี ้ำตาล เปน็ ตน้ งานจติ รกรรมทั้งแนวปจั จุบนั และสมยั ใหมล่ ว้ นแลว้ แตต่ ้องใช้อิทธิพลของสสี ว่ นรวมเขา้ ไปเก่ียวข้องท้ังสิ้น แม้ว่าสอี ื่นจะเด่นชัดในบางสว่ นของภาพก็ตาม สสี ว่ นรวมหรือสีครอบงำน้จี ะชว่ ยทำให้ ภาพมีเอกภาพและสมบรู ณข์ ้ึน ตัวอย่างเช่น ภาพเขยี นของศลิ ปินชาวอิตาเล่ียนสมนั โบราณ มักจะใช้สี เหลืองหรอื สนี ้ำตาลเปน็ สีครอบงำทง้ั หมดภายในภาพแทบทุกช้นิ ทั้งนี้ไม่จำกดั เฉพาะสองสที ่ียกตวั อย่างมา เทา่ นั้นอาจเปน็ สีกลุ่มอน่ื ๆได้ ข้นึ อยู่กับความตอ้ งการของผสู้ รา้ งสรรค์ สคี รอบงำหรอื สีส่วนรวม อาจจำแนกไดส้ องประการคือ • ประการแรกครอบงำโดยมีสใี ดสีหน่ึงแผ่กระจายเต็มภาพ เชน่ ภาพทงุ่ หญ้า ซึง่ แม้จะมสี ีอื่นๆของพวก ดอกไม้ ลำต้น ก็ตามแต่สีสว่ นรวมก็ยังเปน็ สเี ขยี วของทงุ่ หญา้ อยู่นน่ั เอง เราเรยี กสคี รอบงำหรือสี ส่วนรวมของภาพคือสเี ขียวนั่นเอง ยกตัวอยา่ งงา่ ยๆอีกประการเชน่ เวลาเราดฟู ุตบอลทแ่ี ข่งกนั ใน สนาม จากมุมสงู ๆเราจะเหน็ สีสว่ นรวมเปน็ สีเขียวครอบงำอยูถ่ ึงแมจ้ ะมีสีอ่ืนๆของนกั กีฬาอยูก่ ็ตาม ก็ถูก อทิ ธพิ ลของสีเขียวขม่ ลงจนหมด • ภาพแสดงตวั อย่าง สีส่วนรวมทีม่ ีสีใดสีหน่ึงแผก่ ระจายเต็มภาพ

ในงานออกแบบ หรือการจัดภาพ หากเรารู้จักใช้สใี หม้ ีสภาพโดยรวมเปน็ วรรณะรอ้ น หรอื วรรณะเยน็ เราจะ สามารถควบคุม และสร้างสรรคภ์ าพใหเ้ กิดความประสานกลมกลนื งดงามได้ง่ายขึ้น เพราะสีมีอิทธพิ ลต่อ มวล ปริมาตร และชอ่ งวา่ ง สีมีคณุ สมบตั ทิ ่ีทำใหเ้ กิดความกลมกลืน หรอื ขัดแย้งได้ สีสามารถเนน้ ใหเ้ กิด จดุ เด่น และ การรวมกันให้เกดิ เป็นหนว่ ยเดยี วกนั ได้ โดยต้องนำหลกั การต่างๆ ของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคลอ้ ง กบั เป้าหมายในงานของเรา 5. สเี ลื่อมพราย ( Scintillation or Vibration ) สเี ลื่อมพรายเป็นการใชส้ ใี ห้เกิด ปฎิกิรยิ า สน่ั สะเทอื น เคลื่อนไหวต่อสายตา โดยอาศัยสีตรงข้าม และสี สว่ นประกอบ เปน็ ตัวนำให้เกิด ปฎกิ ริ ยิ าทางสายตาในงานจิตรกรรมการเขยี นโดยเกล่ียสีจนเรยี บอาจทำใหภ้ าพ นา่ เบอ่ื เรยี บงา่ ยเกนิ ไป การใช้สเี ลื่อมพรายคือการ จุด แตม้ ระบาย เป็นสว่ นเล็ก ๆ หลายสีสลับกันด้วยสีสด ๆ เช่นเม่อื ต้องการให้มองเหน็ เป็นสเี ขียวอาจใชว้ ิธแี ตม้ สนี ้ำเงินสลับกบั สีเหลอื ง หรือต้องการให้ร้สู กึ เคลอื่ นไหวอาจ ใชส้ ีเขยี ว ( Emeraid ) และสมี ว่ ง (Violet ) ซ่งึ เปน็ สว่ นประกอบของสีน้ำเงนิ มาจุดสลับปะปนกัน และใชส้ คี ู่ของ สีนำ้ เงนิ คอื สีสม้ จุดลงไปดว้ ย จะเกดิ Vibration ของสนี ำ้ เงินข้นึ ทันที 6.การใชส้ ใี นเชิงสัญลักษณ์ • สแี ดง มคี วามอบอุน่ รอ้ นแรง เปรียบดงั ดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ยงั แสดงถึง ความมีชวี ิตชวี า ความรกั ความปรารถนา เชน่ ดอกกุหลาบแดงวันวาเลนไทน์ ในทางจราจรสีแดงเปน็ เคร่ืองหมายประเภทหา้ ม แสดง ถงึ สิ่งที่อนั ตราย เป็นสีทตี่ อ้ งระวัง เปน็ สีของเลือด ในสมัยโรมัน สีของราชวงศ์เป็นสแี ดง แสดง ความม่ังคั่งอดุ มสมบรู ณ์และอำนาจ • สเี ขียว แสดงถงึ ธรรมชาติสีเขียว รม่ เยน็ มักใช้ส่ือความหมายเกยี่ วกับการ อนุรักษ์ธรรมชาติ เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อม การเกษตร การเพาะปลูก การเกดิ ใหม่ ฤดูใบไม้ผลิ การงอกงาม ในเครื่องหมายจราจร หมาย ถงึ ความปลอดภยั ในขณะเดยี วกนั อาจหมายถงึ อนั ตราย ยาพิษ เนื่องจากยาพิษ และสัตว์มพี ิษ ก็ มักจะมสี เี ขยี วเชน่ กนั • สเี หลอื ง แสดงถึงความสดใส ความเบกิ บาน โดยเรามักจะใชด้ อกไมส้ ีเหลอื ง ในการไปเยี่ยมผูป้ ว่ ย และ แสดงความรุ่งเรืองความมงั่ คั่ง และฐานันดร ศักด์ิ ในทางตะวันออกเป็นสีของกษัตรยิ ์ จกั รพรรดิข์ องจนี ใช้ฉลอง พระองคส์ เี หลือง ในทางศาสนาแสดงความเจิดจ้า ปญั ญา พุทธศาสนา และยงั หมายถึงการ เจ็บป่วย โรคระบาด ความรษิ ยา ทรยศ หลอกลวง • สนี ำ้ เงนิ แสดงถงึ ความเปน็ สุภาพบุรษุ มคี วามสุขมุ หนักแนน่ และยังหมายถึง ความสงู ศักด์ิ ในธงชาติ ไทย สนี ำ้ เงนิ หมายถงึ พระมหากษตั รยิ ์ ในศาสนา คริตส์เป็นสีประจำตวั แม่พระ โดยทวั่ ไป สนี ้ำเงนิ หมายถงึ โลก ซึง่ เราจะ เรยี กว่า โลกสนี ้ำเงิน (Blue Planet)เนอ่ื งจากเปน็ ดาวเคราะห์ท่มี องเหน็ จาก อวกาศโดยเหน็ เป็นสีน้ำเงนิ สดใส เนือ่ งจากมีพ้นื น้ำท่กี วา้ งใหญ่

• สีม่วง แสดงถงึ พลงั ความมีอำนาจ ในสมัยอยี ปิ ตส์ ีมว่ งแดงเปน็ สีของกษัตริ ย์ ต่อเน่ืองมาจนถงึ สมยั โรมัน นอกจากน้ี สมี ว่ งแดงยงั เป็นสชี ุดของพระ สังฆราช สีม่วงเปน็ สที ม่ี พี ลงั หรือการมีพลงั แอบแฝงอยู่ และเป็นสแี หง่ ความผูกพัน องคก์ ารลูกเสือโลกก็ใชส้ มี ่วง สว่ นสมี ว่ งอ่อนมักหมายถึง ความเศรา้ ความ ผดิ หวงั จากความรัก • สฟี า้ แสดงถึงความสว่าง ความปลอดโปร่ง เปรยี บเหมือนทอ้ งฟา้ เป็นอิสระ เสรี เปน็ สีขององค์การ สหประชาชาติ เป็นสขี องความสะอาด ปลอดภยั สีขององค์การอาหารและยา (อย.) แสดงถงึ การอนรุ ักษ์ สิง่ แวดล้อม การ ใช้พลังงานอยา่ งสะอาด แสดงถงึ อิสรภาพ ทส่ี ามารถโบยบินเปน็ สแี หง่ ความคดิ สร้างสรรค์และจนิ ตนาการทีไ่ ม่มีขอบเขต • สีทอง มกั ใช้แสดงถึง คุณคา่ ราคา สง่ิ ของหายาก ความสำคญั ความสงู ส่ง สูงศักด์ิ ความศรัทธาสงู สุด ในศาสนาพุทธ หรอื เป็นสีกายของพระ พทุ ธรูป ในงานจิตรกรรมเป็นสกี ายของพระพุทธเจ้า พระมหากษัตรยิ ์ หรือเปน็ สว่ นประกอบของเคร่ืองทรง เจดียต์ ่าง ๆ มักเปน็ สีทอง หรือ ขาว และเปน็ เคร่ืองประกอบยศศักด์ิ ของกษตั รยิ แ์ ละขุนนาง • สขี าว แสดงถงึ ความสะอาด บริสทุ ธ์ิ เหมอื เดก็ แรกเกิด แสดงถงึ ความว่างเปลา่ ปราศจากกเิ ลส ตณั หา เป็นสอี าภรณ์ของผทู้ รงศลี ความเช่อื ถือ ความดีงาม ความศรทั ธา และหมายถึงการเกดิ โดยทแ่ี สงสขี าว เป็นทีก่ ำเนิดของแสงสี ตา่ ง ๆ เป็นความรกั และความหวงั ความห่วงใยเออื้ อาทรและเสียสละของ พ่อแม่ ความอ่อนโยน จรงิ ใจ บางกรณีอาจหมายถงึ ความอ่อนแอ ยอมแพ้ • สดี ำ แสดงถงึ ความมืด ความลกึ ลับ ส้นิ หวงั ความตายเป็นทสี่ ิน้ สดุ ของทุกสิง่ โดยท่ีสที ุกสี เม่ืออย่ใู น ความมืด จะเหน็ เป็นสีดำ นอกจากนยี้ ังหมายถึง ความชวั่ ร้าย ในคริสต์ศาสนาหมายถงึ ซาตาน อาถรรพ์ เวทมนต์ มนต์ดำ ไสยศาสตร์ ความชิงชัง ความโหดร้าย ทำลายล้าง ความลุ่มหลงเมามวั แต่ยังหมายถึงความอดทน กล้า หาญ เข้มแขง็ และเสยี สละได้ด้วย • สีชมพู แสดงถึงความอบอนุ่ อ่อนโยน ความอ่อนหวาน น่มุ นวล ความนา่ รกั แสดงถงึ ความรักของ มนษุ ย์โดยเฉพาะรนุ่ หนุ่มสาว เปน็ สีของความ เอื้ออาทร ปลอบประโลม เอาใจใสด่ ูแล ความปรารถนาดี และอาจ หมายถงึ ความเป็นมิตร เปน็ สีของวยั รุน่ โดยเฉพาะผหู้ ญิง และนิยม ใชก้ บั สงิ่ ของเคร่ืองใช้ของ เด็กวัยรุ่นเป็นส่วนใหญ่ สมี ีผลต่อการออกแบบ คือ 1. สรา้ งความร้สู กึ สใี ห้ความรูส้ ึกต่อผพู้ บเห็นแตกต่างกนั ไป ท้ังนี้ข้ึนอยู่กับประสบการณ์ และภมู หิ ลงั ของแต่ละคน สบี างสสี ามารถรกั ษาบำบัดโรคจิตบางชนดิ ได้ การใชส้ ีภายใน หรือภายนอกอาคาร จะ มผี ลต่อการ สมั ผสั และสร้างบรรยากาศได้ 2. สรา้ งความน่าสนใจ สีมีอิทธพิ ลตอ่ งานศลิ ปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทบั ใจ และความ นา่ สนใจเป็นอนั ดบั แรกท่ีพบเหน็ 3. สีบอกสัญลกั ษณ์ของวตั ถุ ซง่ึ เกิดจากประสบการณ์ หรือภูมหิ ลงั เชน่ สีแดงสัญลักษณข์ องไฟ หรอื อนั ตราย สเี ขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรอื ความปลอดภยั เปน็ ตน้ 4. สชี ่วยให้เกิดการรบั รู้ และจดจำ งานศิลปะการออกแบบตอ้ งการให้ผ้พู บเหน็ เกดิ การจดจำ ใน รปู แบบ และผลงาน หรอื เกดิ ความประทบั ใจ การใช้สีจะต้องสะดดุ ตา และมเี อกภาพ

หนว่ ย 6 ชนดิ ของสที ี่ใช้งานออกแบบ กอ่ นหน้านี้เราไดร้ ้จู ักกับคุณสมบัติของแล้วแลว้ วา่ ประกอบไปด้วย เนอื้ สี Hue, น้ำหนกั สี Value และความสดของ สี Intensity ข้ันต่อไปเราจะมารจู้ กั กับชนิดของสีแตล่ ะชนิด และคุณสมบัตเิ หล่าน้ันเพอ่ื นำมาใช้งาน สีแต่ละ ประเภท สามารถแบ่งออกตามคณุ สมบตั ิของสี ไดแ้ ก่ ดินสอสี (CRAYON) ดนิ สอสี เรียกกันอีกอยา่ งว่า สไี ม้ มลี ักษณะเป็นกึ่งโปรง่ แสง เป็นสผี งละเอียด ผสมกับข้ผี งึ้ หรือไข สัตว์ นำมาอดั ให้เปน็ แทง่ อยู่ในลักษณะของดนิ สอ เพ่ือให้เหมาะสำหรบั เด็ก ๆ ใชง้ าน มีลักษณะคลา้ ยกับสีชอลค์ แตเ่ ป็นสีท่มี ีราคาถูก เน่อื งจากมีส่วนผสม อ่ืน ๆ ปะปนอยู่มาก มีเนื้อสนี ้อยกว่า ปจั จุบันมีการพฒั นาให้สามารถ ละลายน้ำ หรือนำ้ มันได้ โดยเม่อื ใช้ ดนิ สอสรี ะบายสีแล้วนำพูก่ นั จุม่ นำ้ มาระบายตอ่ ทำให้มีลักษณะคลา้ ยกับ ภาพสีนำ้ ( Aquarelle ) บางชนดิ สามารถละลายได้ในน้ำมัน ซงึ่ ทำให้กนั นำ้ ได้ การระบายสีไม้ สีไม้เปน็ สีพนื้ ฐานที่ใชฝ้ ึกวาดรปู และใชก้ ันอย่างแพรห่ ลายเน่ืองจาก - สามารถควบคมุ พน้ื ท่ีในการระบายไดด้ ีกวา่ สเี ทียน สชี อลค์ สนี ำ้ ประเภทตา่ งๆ - ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมยงุ่ ยากเช่นเดยี วกับสนี ำ้ - พกพาสะดวก - มคี วามเหมาะสมในการทำงานในสำนักงาน และการ present อยา่ งรวดเร็ว อาทิ งาน กอ่ สรา้ ง ท่ตี ้องใชส้ ีไมร้ ะบายเพือ่ แยกความแตกตา่ งของพื้นที่ เปน็ ต้น - สามารถแกไ้ ขได้ง่าย ระบายเสริมได้งา่ ย ดีกวา่ สีหมกึ และปากกาเมจิก เทคนิคการระบายสไี ม้ 1. เหลาปลายดนิ สอใหแ้ หลม ดินสอสไี มท้ ีแ่ หลม จะชว่ ยใหเ้ ป็นเสน้ ควบคุมการระบายได้ แสดงเอกลักษณ์ ของสไี ม้ ภาพคม พกทเ่ี หลาดนิ สอ พร้อมกบั การเปล่ยี นดา้ นของการขีดเส้นตอ่ ไป ฝกึ ฝนใหเ้ ปน็ ความเคยชิน 2. ระบายให้เป็นเส้นไว้กอ่ นในคร้งั แรก ส่วนใหญ่ เรา จะระบายสีไม้ให้เต็มเน้ือกระดาษตั้งแต่ครั้งแรก จนภาพโดยรวมดูเหมือนผลไม้ชำ้ โดยเหลอื พื้นท่ขี องกระดาษ ช่วยให้ภาพมมี ิติ มากกว่าการระบายให้ทึบทั้งหมด และยงั ช่วยใหเ้ หลือพน้ื ท่ีกระดาษสขี าวในการจะระบายสคี รั้งตอ่ ๆ ไป เพ่ือแก้ไขความไม่สม่ำเสมอของสเี ดิม หรอื ผสมสใี หมใ่ ห้เกิดมิติ แสงเงา และความสวยงามได้มากยง่ิ ข้ึน

3. การระบายสีให้สม่ำเสมอโดยระบายเป็นพืน้ ทเ่ี ล็กๆ ในการระบายสไี ม้ ปัญหาที่พบมากทส่ี ุดคือ สี ไมส่ ม่ำเสมอ ควบคุมไดย้ าก วธิ แี กป้ ญั หาน้คี ือการพยายามระบายใหเ้ ปน็ เส้นสน้ั ๆ ทีละน้อย เราจะค้นพบว่าช่างดู น่าเบอ่ื และนา่ จะระบายได้ชา้ กวา่ แตใ่ นความเป็นจริง เม่ือเราระบายพน้ื ท่ีเลก็ ๆ จะชว่ ยใหเ้ ราเปรยี บเทียบสกี บั พืน้ ทีท่ เี่ ราเพ่ิงระบายไป ทำให้กำหนดนำ้ หนกั มอื ไดใ้ กลเ้ คียงกวา่ การระบายเป็นเสน้ ยาวๆ และนำมาตบใหเ้ รยี บๆ เท่ากันภายหลงั ไดย้ าก และเสียเวลามากกวา่ 4. การผสมสี - ผสมสโี ดยใช้สที ่ีแตกต่างกัน ระบายเป็นเสน้ ให้เหลือเนอ้ื กระดาษสขี าว ไวส้ ำหรับสที สี่ องทจ่ี ะ ระบายลงไป เช่นสนี ำ้ เงิน ระบายทับด้วยสีเหลือง จนได้สีเขยี ว ทีม่ ีมิติมากกว่า การระบายสเี ขยี วโดยตรง เพียงอย่างเดยี ว - การระบายสี โดย ใช้สที ่อี อ่ นกว่า หรอื เข้มกวา่ ระบายทับในส่วนที่แสดง แสงและเงา

สโี ปสเตอร์ (POSTER COLOUR) สโี ปสเตอร์(Poster Color) เปน็ สนี ้ำชนดิ หน่งึ เนอ่ื งจากมีน้ำเป็นส่วนผสม นยิ มบรรจขุ วด มเี น้ือสีขน้ คอ่ นข้างหยาบ และมีคุณสมบัติทบึ แสง เพราะเติมแป้งหรือเนอื้ สขี าวลงไป เรยี กวา่ \"สแี ปง้ \" การเขยี น ภาพดว้ ยสีโปสเตอร์เปน็ งานจิตกรรมทเ่ี ป็นกระบวนการสืบเน่ืองจากการวาดภาพแรเงา เช่นเดยี วกบั การ เขียนดว้ ยสนี ำ้ คือเปลย่ี นจากการใช้ดนิ สอระบายนำ้ หนักลงบนรปู ร่าง รปู ทรงท่วี าด มาเป็นการใชส้ ี โปสเตอร์แทนสโี ปสเตอร์เปน็ สที ่ีมีลักษณะขุ่นทบึ เน้อื สีมีลกั ษณะคล้ายแป้ง ซ่งึ แตกตา่ งจากลกั ษณะของ สีนำ้ ทโ่ี ปร่งใสไมม่ เี น้ือสี สีโปสเตอร์เหมือนกันกบั สนี ้ำตรงทเ่ี มื่อจะใชใ้ นการระบายภาพวาดจะต้องผสม นำ้ กอ่ นการเขียนสีโปสเตอร์ สามารถระบายด้วยพู่กนั ซ้ำๆท่ีเดิมได้ ซ่งึ แตกต่างจากสีน้ำ ถ้าระบายถูไปมา ดว้ ยพู่กันซ้ำหลายๆครง้ั จะทำใหส้ ีช้ำ สกปรก กระดาษเป็นขุยดูไม่ใสสวย สำหรบั สีโปสเตอร์ นอกจาก การใชพ้ ู่กันเกลย่ี สีซ้ำท่ีได้แล้ว ยังนยิ มผสมกบั สีขาวเมื่อต้องการให้สอี ่อนลงมากนอ้ ยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กบั ปรมิ าณสีขาวทผี่ สมลงไป และเมื่อต้องการให้ความจดั ของสหี ม่นลงหรือเม่ือต้องการให้สีน้นั มดื เขม้ ขึ้น ก็ ให้ผสมดว้ ยสีดำตามปรมิ าณมากน้อยตามทต่ี ้องการ สีนำ้ (WATER COLOUR) https://www.youtube.com/watch?v=BNwH6G6gTU8

คุณสมบตั ขิ องสีน้ำ สนี ้ำเป็นผลผลิตใหมส่ ำหรับสงั คมที่ส่งเสริมใหก้ ารพิมพ์และวาดเขยี นมีคุณค่าสมบรู ณ์ยิ่งข้ึน โดยเฉพาะอย่างย่ิง ความสมบูรณ์ทางดา้ นบรรยากาศและบริเวณว่าง ลักษณะเฉพาะที่เด่นของสีน้ำก็คือ ความโปร่งใส ( Transparent ) เวลาระบายใช้พู่กันแตะสีละลาย กับน้ำ ระบายบนกระดาษขาว พยายามระบายไปครั้งเดียว ไม่ควรระบายสีต่างๆ ซ้ำหรือทับกันหลายหน เพราะจะทำใหส้ ีหมน่ ขาดคณุ สมบตั โิ ปร่งใส และควรรักษาใหพ้ ู่กนั สะอาดอยูเ่ สมอเมื่อตอ้ งการเปล่ียนสีใหม่ สีน้ำมสี ่วนประกอบทีส่ ำคัญ คอื เนื้อท่ีบดแลว้ อยา่ งละเอยี ด ( Pigment ) ผสมกับกาวอารบคิ ซ่งึ สกัด มาจากต้นอะคาเซีย ( Acacia tree ) กาวชนดิ นม้ี ีคณุ สมบัตพิ เิ ศษ คือ ละลายนำ้ ง่ายและเกาะตดิ กระดาษแน่น ทัง้ ยังมีลกั ษณะโปร่งใสอีกดว้ ย คณุ สมบตั ทิ ่ัวไปของสีน้ำ 1.ลักษณะโปร่งใส( Transparent Quality ) เนื่องจากสนี ้ำมสี ว่ นผสมของกาว และสที ่ีบดอย่างละเอียด ดงั นั้น เมอื่ ระบายน้ำบนกระดาษสขี าวจึงมี เนอ้ื ท่ีไมห่ นาทบึ จนเกดิ ไป ทำให้เกิดลักษณะโปรง่ ใส และการระบายสนี ำ้ จะต้องระบายไปทีเดยี ว ไม่ ระบายซ้ำกนั เพราะจะทำให้สชี ้ำหรอหมน่ ได้ และควรระบายจากสอี ่อนไปหาสีแก่ ในบางกรณีอาจจะ ระบายจากสีแกไ่ ปหาอ่อนก็ได้ ท้ังนี้ต้องคอยระวงั อยา่ ให้น้ำท่ใี ช้ผสมสีขนุ่ หรอื คลำ้ เพราะจำทำให้สหี มน่ หรอื ทบึ ได้ 2. ลกั ษะเปียกชุ่ม( Soft Quality ) เน่ืองจากในการระบายสี จะต้องผสมผสานกับนำ้ และระบายให้ซึมเข้าหากันเมื่อต้องการให้กลมกลนื กัน ดงั นั้น เมือ่ ระบายไปแล้วลักษณะของสีท่ีแห้งบนกระดาษ จะคงความเปียกชมุ่ ของสี ปรากฏให้เหน็ อยู่ เสมอ และในบางกรณที ี่ใช้สีน้ำระบายมากเกินไป แล้วปล่อยให้สแี หง้ ไปเอง กจ็ ะเกิดคราบของสี (Sfumato ) ปรากฏใหเ้ หน็ ซ่ึงถือเปน็ ลักษณะพิเศษทไ่ี ดร้ ับความนิยมเป็นอย่างมาก ย่ิงศิลปนิ สีนำ้ ท่าน ใดสามารถสรา้ งสรรค์ใหค้ ราบน้นั น่าดแู ละมีความหมายขึน้ ถอื วา่ เปน็ ลกั ษณะพิเศษของสีน้ำทีม่ ีค่าควร ชื่นชมเปน็ อย่างย่ิง 3.สนี ้ำมคี ุณสมบตั ิทแ่ี ห้งเรว็ เมอ่ื เทยี บกับสนี ำ้ มัน ดังน้นั จึงทำให้เกิดความเชือ่ ต่อผู้สนใจท้งั หลายว่า เปน็ ส่ือที่ระบายยาก และเหมาะ สำหรบั ผู้ท่สี ามารถตดั สนิ ใจรวดเรว็ ในการถา่ ยทอดเท่านั้น อยา่ งไรก็ดีความเช่อื ดังกล่าวอาจแกไ้ ขได้ ดว้ ยการลงมอื ทำจรงิ เพราะเหตวุ า่ การระบายสนี ำ้ มีวธิ รี ะบายหลายวิธี และเราสามารถควบคมุ คณุ สมบตั แิ ห้งเรว็ นี้ได้ ด้วยการผสมกลเี ซอรนี ลงในน้ำผสมสีกจ็ ะชว่ ยใหแ้ ห้งชา้ ได้ 4.สนี ำ้ มคี ณุ สมบตั ริ ุกรามและยอมรับ( Advance, Receda ) ทงั้ น้ีเกี่ยวข้องกับเนือ้ สีและสารเคมีท่ีผสม ซ่ึงผสู้ นใจจะต้องสอบทานดว้ ยตนเองวา่ สีใดทมี่ ีคณุ สมบัติรุกรานสีอนื่ หรอื สใี ดยอมให้สอี ืน่ รุกราน และสีใดทีต่ ิดกระดาษแนน่ ล้างน้ำไม่ออก ( Stained Color ) ลกั ษณะและคุณสมบัตขิ องสนี ้ำโดยสรุปทัง้ 4 ประการนี้ ชว่ ยให้รู้ว่า สีนำ้ มขี ีดจำกดั ในการนำไปใช้เปน็ ส่อื ได้มากน้อยเพยี งใด ทัง้ นี้สีน้ำกย็ ังเปน็ ส่อื ทม่ี ีประโยชน์ และมีคุณคา่ ทเ่ี ดน่ ๆ 3 ประการคือ

1.สีน้ำสามารถใชเ้ ป็นสื่อถา่ ยทอดรูปแบบของสิง่ ตา่ งๆได้ ตามทเี่ รามองเหน็ และเรารสู้ กึ เพ่อื แสดงคุณค่าของความรู้สึกเรียบงา่ ย ( Simpli-city ) คุณค่าของบรรยากาศและเวลา 2.สีน้ำสามารถใชเ้ ปน็ สื่อบันทกึ ความรสู้ ึกประทับใจ และประสบการณ์ของเราโดยตรงต่อ สถานทีแ่ ละสิ่งแวดลอ้ มที่เราสัมผสั ( Impression ) 3.สนี ้ำโดยตวั ของมนั เอง มีคณุ ค่าของความงาม เท่ากับความงามของโลกภายนอกเท่าท่ีเรา สามารถรบั รไู้ ด้ ( Time and Space ) สนี ำ้ มคี ุณสมบัติโปร่งใส นิยมระบายบนกระดาษขาว ซึง่ มีลกั ษณะผวิ ของกระดาษตา่ งๆกัน นอกจากนี้ยังมีลักษณะชุ่มเยม้ิ มีคราบ เปน็ ลักษณะเฉพาะของสีนำ้ เอง ดงั น้ัน คุณคา่ และประโยชน์ ของสีนำ้ จงึ ต่างกบั สื่อวสั ดปุ ระเภทอ่นื เชน่ คุณค่าของความเรยี บง่าย และคณุ ค่าด้านความรสู้ ึกของ บรรยากาศ เปน็ ตน้ http://53011124003.blogspot.com/2013/03/blog-post.html การใชส้ นี ำ้ ในงานสถาปัตยกรรม การวาดตน้ ไม้ สีอะคริลิค (ACRYLIC COLOUR) สีอะครลิ ิค เปน็ สีทมี่ สี ่วนผสมของสารพลาสตกิ โพลเี มอร์ ( Polymer) จำพวก อะครีลิค ( Acrylic ) หรอื ไวนิล ( Vinyl ) เป็นสีที่มกี ารผลติ ข้ึนมาใหม่ลา่ สุด เวลาจะใชน้ ำมาผสมกับน้ำ ใชง้ านได้เหมือนกับสนี ้ำมนั และสนี ำ้ มัน มีทั้งแบบโปรง่ แสง และทึบแสง แตจ่ ะแห้งเร็วกวา่ สนี ้ำมัน 1 - 6 ชว่ั โมง เมอื่ แหง้ แลว้ จะมี คุณสมบัติกนั น้ำได้และเปน็ สีทตี่ ิดแนน่ ทนนาน คงทนต่อสภาพดนิ ฟา้ อากาศ สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ

ยดึ เกาะติดผวิ หน้าวัตถุไดด้ ี เมื่อระบายสแี ลว้ อาจใชน้ ้ำยาวานิช ( Vanish ) เคลือบผวิ หน้าเพื่อป้องกนั การขูดขีด เพื่อให้คงทนมากย่ิงขึ้น สีอะครีลิคทใ่ี ชว้ าดภาพบรรจุในหลอด มีราคาคอ่ นข้างแพงมลี กั ษณะเป็น WATER-BASE ซึง่ หมายความวา่ สอี ะครลิ คิ แตกตา่ งจากสนี ้ำมัน เพราะไม่ต้องใช้ทนิ เนอร์ในการล้าง แต่ สามารถใชน้ ำ้ ทำความสะอาดได้เลย แต่ยังมีคุณสมบตั ิคล้ายสีนำ้ มนั ถ้าใชน้ ำ้ ยา Medium ผสมกบั สี จะใช้ เวลานานในการแห้ง สีอะคริลคิ มีหลากหลายแบบมาก อยู่ในภาชนะที่แตกตา่ งกนั คณุ สมบัติของสีอะครลิ คิ คือทึบแสงหากเขยี นดว้ ยพู่กัน หรอื เกรยี ง ผลท่ีออกมาจะดคู ล้ายสนี ำ้ มนั หาก นำมาผสมน้ำจะดูคล้ายสนี ำ้ ผสมน้ำน้อยๆก็จะมลี ักษณะคล้ายสีโปสเตอร์ แต่มีความทนมานกวา่ สนี ำ้ และสี โปสเตอร์ วสั ดุท่ีรองรบั คือพวก ผา้ ผา้ ใบ กระดาษวาดเขียนอยา่ งหนา ดนิ เผา นิยมใช้ในการ Paint เส้อื ผ้า เพราะเม่อื แห้งแล้วจะซักไม่ออก เม่ือใช้งานแล้วควรลา้ งพู่กันใหส้ ะอาดทันที เพราะหากสีเกาะแลว้ จะลา้ งไม่ออก พกู่ นั จะเสยี การใช้สเี มจกิ เป็นสีบรรจุในแทง่ พลาสติก, ไส้สักหลาด บางคร้ังก็เรียกว่าปากกาสักหลาดมีท้ังเชอื้ นำ้ และเช้อื นำ้ มนั เชือ้ นำ้ สามารถละลายน้ำได้ เช้ือน้ำมนั เม่ือแหง้ แลว้ จะไม่ละลายน้ำ สีเมจิก มีคุณสมบตั โิ ปร่งแสง มีหลายสีให้เลอื ก เป็นชดุ ๆ ตง้ั แตช่ ุดละ 12 สี, 24 สี, 36 ส,ี 48 สี จนถงึ 60 สี และมีสีเมจกิ อีกบางชนดิ เชน่ สยี หี่ อ้ โคปกิ เป็นสเี มจกิ 2 หวั มแี บบใหเ้ ลือก แบบพู่กนั หรือปากตัด สามารถไลส่ ีได้ และมีหลายโทนสใี ห้เลือก สเี ม จิกเป็นสที ร่ี ะบายงา่ ยมากเพราะมลี ักษณะคล้ายปากกา มีท้งั แบบปากแหลม และแบบปากตดั ข้อดขี องสชี นดิ น้คี อื ระบายง่าย สะดวก ไมเ่ ลอะเทอะ ข้อเสียคือหากใช้ระบายในพื้นทก่ี ว้างๆ จะเกิดรอยเป็นเสน้ ๆ ทำให้ งานไมส่ วย อยากแนะนำให้ใช้สีเมจิกเฉพาะในพนื้ ท่ีท่ีไม่กว้างนกั หรือใชต้ ดั เสน้ จะได้ภาพทีเ่ รียบรอ้ ยสวยงาม

การใชส้ ีเมจิก ในงานสถาปัตยกรรม สี\" ในการตกแต่งบ้าน วรรณของสีในการตกแต่งภายในสามารถแยกประเภทเป็นโทนสีงา่ ย ๆ ตามการใช้งานได้หลากหลายประเภท ซึง่ พอจะแจกแจงตามจุดประสงคข์ องการใช้โดยสงั เขปไดด้ ังต่อไปน้ี การตกแต่งโดยใชส้ ีวรรณะร้อน (Warm Color) เช่น แดง ส้ม เหลือง มว่ งแดง มว่ ง ร้านค้าหรอื สำนักงานที่ใช้สีประเภทน้ี นอกจากจะช่วยใหห้ ายจากความเฉื่อยชาแล้ว ยังมีสว่ นใจการสร้าง บรรยากาศให้มคี วามรู้สึกของ Welcome Atmosphere อบอนุ่ เปน็ กันเอง การใช้สปี ระเภทน้ีควรจะเลอื กใชภ้ ายในห้องท่ีต้องการกระตนุ้ อารมณค์ วามรสู้ กึ ให้มชี ีวติ ชวี า ส่วนของอาคาร อาทเิ ช่น ส่วนต้อนรบั ส่วนโรงอาหารตลอดจนส่วน Service ตา่ ง ๆ มกั จะใช้สโี ทนน้กี นั มาก การใชส้ ีโทนร้อนใน การตกแต่ง ควรจะเลือกใชใ้ นปรมิ าณนอ้ ย เมือ่ เทยี บกบั องค์ประกอบรวมของสภี ายในท้ังหมดการตกแต่งโดยใชส้ ี วรรณะเย็น (Cool Color) เช่น นำ้ เงนิ น้ำเงินคราม ม่วงคราม เขียวเหลอื ง เขยี วแก่ สโี ทนเยน็ เปน็ สที ไ่ี ดล้ อกเลียนสขี องธรรมชาติ เช่น สีของทอ้ งทะเลและผืนฟา้ เมือ่ นำมาใช้ตกแต่งภายในสี ประเภทนจี้ ึงมีผลช่วยให้สมองผ่อนคลาย ลดความเครียด เป็นสที ใี่ ห้ความรสู้ กึ เปิดโลง่ สบาย ระงับความกระวน กระวายและดมู รี ะเบียบแบบแผน สโี ทนเยน็ มกั จะเหมาะกบั การตกแต่งหอ้ งพักผ่อน ห้องนำ้ ตลอดจนห้องทำงานของผู้บริหารทต่ี อ้ งการ บรรยากาศของความเป็นระเบียบ น่าเชือ่ ถือ สโี ทนเย็น ยงั ช่วยสรา้ งความร้สู กึ ในการลดความรอ้ นได้ทนั ที การตกแตง่ โดยใช้สีกลาง (Neutral Color) สกี ลุ่มนีเ้ ปน็ สีทไ่ี ม่ถือวา่ อยวู่ รรณะใดของสี และถือไดว้ ่าไมม่ ี เนือ้ สีอยู่จริง คือสามารถอยู่คู่กบั สที กุ ๆ โทนสไี ด้งา่ ย ในขณะเดียวกนั ก็สามารถใชส้ นี ตี้ กแตง่ ไดท้ ันที สีใจกลุ่มนี้ ไดแ้ ก่ สีขาว เทา ดำ นำ้ ตาล เบจ ครมี เปน็ ต้น Neutral Color ให้ความรสู้ กึ ราบเรยี บ สะอาดตา การตกแตง่ ในบ้านเรามักใช้สีโทนนเี้ ปน็ หลกั ไมว่ ่าจะเป็น บา้ นหรือสำนักงาน การใชส้ ปี ระเภทน้ีโดยไม่มีการผสมผสานของสีวรรณะอ่ืน ๆ จะทำให้บรรยากาศภายในดูนา่ เบอื่ จะบางครงั้ ดูหดหู่ไดง้ า่ ย การตกแตง่ โดยใชส้ ีประเภทน้ีมักจะใชใ้ นบรเิ วณท่มี ีพ้นื ทข่ี นาดใหญ่ เช่น โถงสว่ นกลาง ทางเดิน เปน็ ต้น การตกแต่งโดยใช้สี Monotone กลุ่มสีเอกรงค์ หรอื สีโมโนโทน มีลกั ษณะเป็นกลุ่มสีเดียวกนั ท่แี บ่งเปน็ หลายโทน สี หรือมีนำ้ หนักอ่อน-แก่แตกตา่ งกนั ไป

โดยมหี ลกั เกณฑก์ ารใชค้ ือ เลือกสีจากวงจรสวี รรณะใดวรรณะหน่ึง โดยเลือกสีที่เข้าจัดเปน็ สหี ลกั แลว้ ลด ความเข้มของสลี งตามลำดับประมาณ 4-5 ลำดบั เช่น การตกแตง่ ใช้โทนสีแดงเปน็ สีหลกั หรือสแี ม่ หลังจากนั้น จะลดความสดของสลี งเปน็ แดงอ่อน แดง-ส้ม สม้ -เหลอื ง เหลอื ง ตามต้องการ สีประเภทน้เี ปน็ สีทม่ี โี ครงสรา้ งสีไมร่ นุ แรงและดูกลมกลืนกันได้อย่างดี การเลือกสปี ระเภทน้เี พื่อการตกแต่ง จะทำให้พน้ื ที่ภายในห้องดมู ีความเรยี บงา่ ย และประณตี การตกแตง่ โดยใช้สีตรงกันข้าม (Contrast) การเลือกใช้สีตรงขา้ มมาตกแต่ง มใี หเ้ หน็ ไมม่ ากนักกบั การตกแตง่ ภายใน ตวั อย่างการใชส้ ีประเภทน้ี อาทิเช่น การจบั คเู่ ฉดตรงข้าม แดง-เขียว ฟ้า-สม้ เหลอื ง-มว่ ง เปน็ ตน้ สีตรงขา้ มจะทำให้ห้องหรอื พื้นท่ีเกดิ ความนา่ สนใจมากกวา่ กล่มุ สีอื่น ๆ ท้ังน้ีการเลือกใช้สปี ระเภทน้ีจะต้อง ใช้ส่วนการผสมทเี่ หมาะสม โดยอาจใช้หลักการของอัตราสว่ น 70:30 หรอื 80:20 แลว้ แตค่ วามเหมาะสม การตกแต่งโดยใชส้ ีพาสเทล (Pastel) สีพาสเทลคือสใี นวรรณะตา่ ง ๆ ท่เี กิดจากการเอาสขี าวมาผสมเพ่ือลด ความเข้มข้นของเน้ือสลี ง สปี ระเภทน้ีเป็นสีท่ีมคี วามนยิ มในการเลอื กใชส้ งู เนือ่ งจากให้ความรู้สกึ โปร่งโลง่ สบาย สีโทนนส้ี ามารถสรา้ ง บรรยากาศให้ห้องเกิดอารมณ์ได้ตา่ ง ๆ นานา ไมว่ ่าจะเป็นนุ่ม ๆ หวาน ๆ และโรแมนติก เช่น สชี มพู สสี ้มออ่ น สี ครมี เปน็ ตน้ การใช้สที ่เี หมาะสมกบั การตกแต่งนอกจากจะเปน็ การสร้างบรรยากาศที่ดแี ลว้ ยงั เป็นการแก้ไขปัญหาใหก้ บั พ้ืนท่ีไดอ้ ยา่ งดี ทง้ั นขี้ ้ึนกับความต้องการของผู้ใช้ในการวางยุทธศ์ าสตร์ วา่ พน้ื ทีใ่ ดตอ้ งการอารมณ์แบบไหน การเลือกสใี หส้ ำนกั งานทสี่ วยงามน้นั ไม่มคี วามจำเป็นและข้อกำหนดตายตวั ในการใชส้ ี อีกท้งั ไม่จำเปน็ ต้อง กังวลถึงเรื่อง Trend เพราะเทรนดเ์ หล่านผี้ า่ นมาและผ่านไปตามยคุ สมัย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook