8 ทักษะทางความฉลาดทางดิจิทัล
การตามให้ทันโลกสมัยใหม่DQ ความฉลาดทางดิจิทัล(DQ : Digital Intelligence Quotient) หรือความสามารถทางสังคม อารมณ์และการรับรู้ที่จะทำให้แต่ละคนสามารถเผชิญกับความ ท้าทายของชีวิตดิจิทัลสามารถปรับอารมณ์ ปรับตัว และปรับ พฤติกรรมให้เข้ากับชีวิตดิจิทัล ซึ่งจะครอบคลุมทั้งความรู้ทักษะ ทัศนคติและค่านิยม ที่จำเป็นหรือที่เรียกว่า ทักษะการใช้สื่อและ การเข้าสังคมในโลกออนไลน์
เ รื่ อ ง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข 8 ทักษะทางความฉลาดทางดิจิทัล 1 ทักษะที่ 1 การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตัวเอง 2 ทักษะที่ 2 การจัดสรรเวลา 3 ทักษะที่ 3 การรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ 4 ทักษะที่ 4 การรักษาความปลอดภัยของตนเองบนโลกไซเบอร์ 5 ทักษะที่ 5 การรักษาข้อมูลส่วนตัว 6 ทักษะที่ 6 การคิดวเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี 7 ทักษะที่ 7 การบริหารจัดการข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ 8 ทักษะที่ 8 การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม 9 บทสรุป 10 บรรณานุกรม 11 ป ร ะ วั ติ ผู้ จั ด ทำ 12
คู่มือเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล 8 ทักษะทางความฉลาดทางดิจิทัล ทักษะที่ 1 การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตัวเอง (Digital Citizen Identity) ทักษะที่ 2 การจัดสรรเวลา (Screen Time Management) ทักษะที่ 3 การรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying Management) ทักษะที่ 4 การรักษาความปลอดภัยของตนเองบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management) ทักษะที่ 5 การรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) ทักษะที่ 6 การคิดวเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) ทักษะที่ 7 การบริหารจัดการข้อมูลที่มีผู้ใช้งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) ทักษะที่ 8 การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy)
คู่มือเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ทักษะที่ 1 การรักษาอัตลักษณ์ที่ดีของตัวเอง (Digital Citizen Identity) เอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล เป็นความสามารถสร้างและบริหาร จัดการอัตลักษณ์ที่ดีของตนเองไว้ได้อย่างดีทั้งในโลกออนไลน์ และโลกความจริงอัตลักษณ์ที่ดีคือ การที่ผู้ใช้สื่อดิจิทัลสร้าง ภาพลักษณ์ในโลกออนไลน์ของตนเองในแง่บวก ทั้งความคิด ความรู้สึก และการกระทำ โดยมีวิจารณญาณในการรับส่ง ข่าวสารและแสดงความคิดเห็น มีความเห็นอกเห็นใจผู้ร่วมใช้ งานในสังคมออนไลน์ และรู้จักรับผิดชอบต่อการกระทำ ไม่ กระทำการที่ผิดกฎหมายและจริยธรรมในโลกออนไลน์ เช่น การ ละเมิดลิขสิทธิ์ การกลั่นแกล้งหรือการใช้วาจาที่สร้างความ เกลียดชังผู้อื่นทางสื่อออนไลน์ ตัวอย่างทักษะที่ 1 สร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้ลูก ให้เขาเห็นคุณค่าในตนเอง เพราะการ เ ห็ น คุ ณ ค่ า ใ น ต น เ อ ง จ ะ ช่ว ย พั ฒ น า อั ต ลั ก ษ ณ์ ที่ ดี แ ล ะ มั่น ค ง ไ ด้ สนับสนุนให้ลูกเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองในชีวิตจริง เพื่ อให้เขาเรียนรู้ การรับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ของตน ซึ่งจะส่งผลต่ออัตลักษณ์ที่ดีในโลก ออนไลน์ได้ ไม่เปรียบเทียบหรือทำให้ลูกสูญเสียความมั่นใจ เด็กๆ ที่ถูกเปรียบเทียบ ไม่มั่นใจในตนเอง มีแนวโน้มที่จะสร้างอัตลักษณ์ปลอมในโลกออนไลน์ได้
คู่มือเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ทักษะที่ 2 การจัดสรรเวลา (Screen Time Management) การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล เป็นความสามารถ ควบคุมตนเอง ความสามารถในการจัดสรรเวลาในการ ใช้ งานอุปกรณ์ดิจิทัลและอุปกรณ์เทคโนโลยีได้อย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้งานสื่อสังคม (Social Media) และเกม ออนไลน์ (Online Games) ด้วยความรับผิดชอบ ต่อตนเอง สามารถบริหารเวลาที่ใช้อุปกรณ์ยุคดิจิทัล รวม ไปถึงการควบคุมเพื่ อให้เกิดสมดุลระหว่างโลกออนไลน์ และ โลกความเป็นจริง อีกทั้งตระหนักถึงอันตราย และสุขภาพ จากการใช้เวลาหน้าจอนานเกินไป และผลเสียของการเสพ ติดสื่อดิจิทัล ตัวอย่างทักษะที่ 2 จัดให้มีกิจวัตรประจำวันตามเวลา เช่น เมื่อเลิกเรียนกลับมาบ้าน ควรอาบน้ำ กินข้าว ทำการบ้าน แล้วจึงใช้ สมาร์ทโฟนเพื่อผ่อนคลายได้ และจำกัดเวลาการใช้ในแต่ละวัน รวมทั้งควรมีเวลาที่ทุกคนในบ้านละจากหน้า จอ เพื่อพูดคุยและใช้เวลาร่วมกันด้วย เป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดสรรเวลาให้สมดุลระหว่างออนไลน์และโลกภายนอก ไม่ให้ความสำคัญกับหน้าจอ มากกว่าการมองหน้าสบตาคนที่มีชีวิตจริงๆ ตรงหน้า ควรละสายตาจากหน้าจอ เมื่อลูกพูดคุยด้วยทุกครั้ง ครอบครัวควรชวนกันทำกิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากการเฝ้าดูหน้าจอของแต่ละคน เช่น ชวนกันออกไปปั่ น จักรยาน เดินเล่นในสวนสาธารณะ ปลูกต้นไม้ ฯลฯ
คู่มือเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ทักษะที่ 3 การรับมือการกลั่นแกล้งบน โลกไซเบอร์ (Cyberbullying Management) การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ เป็นความสามารถในการ ป้องกันตนเอง การมีภูมิคุ้มกันในการรับมือและจัดการกับ สถานการณ์การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างชาญฉลาด การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือหรือช่องทางเพื่ อก่อให้เกิดการ คุกคามล่อลวงและการกลั่นแกล้งบนโลกอินเทอร์เน็ตและสื่อ สังคมออนไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายมักจะเป็นกลุ่มเด็กจนถึง เด็ก วัยรุ่น การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์คล้ายกันกับการกลั่นแกล้ง ในรูปแบบอื่น หากแต่การกลั่นแกล้งประเภทนี้จะกระทำผ่านสื่อ ออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล เช่น การส่งข้อความทางโทรศัพท์ ผู้กลั่น แกล้งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมชั้น คนรู้จักในสื่อสังคมออนไลน์ หรือ อาจจะเป็นคนแปลกหน้าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ผู้ที่กระทำจะรู้จักผู้ที่ถูก กลั่นแกล้งรูปแบบของการกลั่นแกล้งมักจะเป็นการว่าร้าย ใส่ ความ ขู่ทำร้าย หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย การคุกคามทางเพศ ผ่านสื่อออนไลน์ การแอบอ้างตัวตนของผู้อื่น การแบล็กเมล์ ตัวอย่างทักษะที่ 3 หมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูก หากลูกมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น ซึมเศร้า หวาดระแวง วิตกกังวล ควรถาม หาสาเหตุ และเป็นผู้รับฟังที่ดี ให้คำแนะนำที่เหมาะสม ทำให้ลูกรู้ว่า พ่อแม่พร้อมที่จะรับฟังและช่วยเหลือ หากลูกมีปัญหาถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ ควรแจ้งให้ผู้ใหญ่ รับรู้ และลูกควรปิดกั้นการสื่อสารจากผู้ที่กลั่นแกล้งทันที หากถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ ไม่ควรตอบโต้ แต่อาจแคปข้อความเก็บไว้ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการ ทางกฏหมาย
คู่มือเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ทักษะที่ 4 การรักษาความปลอดภัยของ ตนเองบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity Management) การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย เป็นความ สามารถในการสำรวจ ตรวจสอบ การป้องกัน และ การ รักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบเครือข่าย ป้องกัน ข้อมูลด้วยการสร้างระบบความปลอดภัยที่เข้มแข็ง และ ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลหรือการถูกโจมตีออนไลน์ได้ มี ทักษะในการรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลก ออนไลน์การรักษาความปลอดภัยของตนเองในโลก ไซเบอร์ คือการปกป้องอุปกรณ์ดิจิทัลข้อมูลที่จัดเก็บและ ข้อมูลส่วนตัวไม่ให้เสียหาย สูญหาย หรือถูกโจรกรรมจาก ผู้ไม่หวังดีในโลกไซเบอร์ ตัวอย่างทักษะที่ 4 ชวนให้เด็กๆ ศึกษาเรื่องการดูแลอุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ เบื้องต้น รู้ว่าเว็บไซต์แบบใดที่ไม่ปลอดภัยอาจ ทำให้ระบบปฏิบัติการณ์ของเครื่องเสียหาย ควรหลีกเลี่ยง บอกให้ลูกเข้าใจว่า ข้อมูลส่วนตัวของเราสามารถถูกโจรกรรมได้ ดังนั้น นอกจากระวังไม่เผยแพร่ข้อมูลของ ตนเองแล้ว ก็ต้องดูแลอุปกรณ์ดิจิทัลของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน สมาร์ทวอช ฯ ควร ถือว่าเป็นของใช้ส่วนตัว ไม่ควรแชร์กับใคร
คู่มือเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ทักษะที่ 5 การรักษาข้อมูลส่วนตัว (Privacy Management) การจัดการความเป็นส่วนตัว เป็นความสามารถในการจัดการ กับความเป็นส่วนตัวของตนเองและของผู้อื่น การใช้ข้อมูล ออนไลน์ร่วมกัน การแบ่งปันผ่านสื่อดิจิทัล ซึ่งรวมถึงการ บริหารจัดการ รู้จักป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เช่น การแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือดิจิทัล การขโมยข้อมูล อัตลักษณ์ เป็นต้น โดยต้องมีความสามารถในการฝึกฝนใช้ เครื่องมือ หรือวิธีการในการป้องกันข้อมูลตนเองได้เป็นอย่าง ดี รวมไปถึงปกปิดการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ในเว็บไซต์ เพื่อ รักษาความเป็นส่วนตัวความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ คือ สิทธิการปกป้องข้อมูลความส่วนตัวในโลกออนไลน์ของผู้ใช้ งานที่บุคคลหรือการบริหารจัดการข้อมูลส่วนตัว รวมถึงการ ใช้ดุลยพินิจปกป้อง ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่เป็นความ ลับของผู้อื่น ตัวอย่างทักษะที่ 5 สอนลูกให้เข้าใจเรื่องนโยบายความเป็นส่วนตัวของแต่ละแพลตฟอร์มออนไลน์ และชี้ให้ลูกตระหนักเรื่อง Digital footprint ว่าสิ่งใดที่หลุดเข้าสู่โลกออนไลน์แล้วจะคงอยู่ตลอดไป แม้ว่าเราจะลบออกไปแล้วก็ตาม ก่อนนำข้อมูล รูปภาพ คลิปต่างๆ เข้าสู่โลกดิจิทัล เด็กๆ จึงควรพิจารณาให้ดีถึงผลในระยะยาว สอนให้ลูกรู้ว่าข้อมูลอะไรที่ไม่ควรแบ่งปันในโลกออนไลน์ เช่น ที่อยู่ หมายเลขบัตรสำคัญต่างๆ หรือกระทั่ง การแชร์โลเคชั่น หรือเช็คอินแบบเรียลไทม์ ก็อาจเป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัย ทำให้ลูกเข้าใจว่าการตั้งรหัสผ่านต่างๆ เป็นเรื่องสำคัญ รหัสผ่านที่ดีควรคาดเดายาก และไม่ควรแบ่งปันรหัส ผ่านต่างๆ กับใคร
คู่มือเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ทักษะที่ 6 การคิดวเคราะห์มีวิจารณญาณที่ดี (Critical Thinking) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง ความสามารถใน การตัดสินของบุคคลว่าควรเชื่อ ไม่ควรเชื่อ ควรทำ หรือ ไม่ควรทำบนความคิดเชิงเหตุและผล มีความสามารถใน การวิเคราะห์แยกแยะระหว่างข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ ผิด ข้อมูลที่มีเนื้อหาเป็นประโยชน์และข้อมูลที่เข้าข่าย อันตราย ข้อมูลติดต่อทางออนไลน์ที่น่าตั้งข้อสงสัยและ น่าเชื่อถือได้ เมื่อใช้อินเทอร์เน็ต ทราบว่าเนื้อหาใดมี ประโยชน์ รู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ สามารถวิเคราะห์และ ประเมิน ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายได้ เข้าใจรูป แบบการหลอกลวงต่าง ๆ ในสื่อดิจิทัล เช่น ข่าวปลอม เว็บไซต์ปลอม ภาพตัดต่อ ข้อมูลอันที่เท็จ เป็นต้น ตัวอย่างทักษะที่ 6 ฝึกให้ลูกหมั่นตั้งคำถาม ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ แต่ควรตรวจสอบแหล่งที่มา และหาข้อมูลเพิ่มเติมจนมั่นใจก่อนปักใจ เชื่อ สอนวิธีการหาข้อมูลที่ถูกต้อง เว็บไซต์แบบใดเชื่อถือได้ เว็บไซต์แบบใดไม่น่าไว้วางใจ รวมทั้งสอนลูกใช้ Search engine การคีย์คำค้นหาที่เหมาะสม
คู่ มื อ เ กี่ ย ว กั บ ค ว า ม ฉ ล า ด ท า ง ดิ จิ ทั ล ทักษะที่ 7 การบริหารจัดการข้อมูลที่มีผู้ใช้ งานมีการทิ้งไว้บนโลกออนไลน์ (Digital Footprints) ร่องรอยทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจธรรมชาติ ของการใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลว่าจะหลงเหลือร่องรอยข้อมูลทิ้ง ไว้เสมอ ร่องรอยทางดิจิทัล อาจจะส่งผลกระทบในชีวิตจริง ที่เกิดจากร่องรอยทางดิจิทัลเข้าใจผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อ นำมาใช้ในการจัดการกับชีวิตบทโลกดิจิทัลด้วยความรับผิด ชอบ ข้อมูลร่องรอยทางดิจิทัล เช่น การลงทะเบียน อีเมล การโพสต์ข้อความหรือรูปภาพ ไฟล์งานต่าง ๆ เมื่อถูกส่งเข้า โลกอินเทอร์เน็ตแล้ว จะทิ้งร่องรอยข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ งานไว้ ให้ผู้อื่นสามารถติดตามได้ และจะเป็นข้อมูลที่ระบุตัว บุคคลได้อย่างง่ายดาย ตัวอย่างทักษะที่ 7 อย่างที่มีให้เห็นกันบ่อยๆตามข่าว เช่น กรณี “กราบรถกู”, “ลูกค้าทะเลาะกับ คนส่งเดลิเวอรี่” เป็นต้น ซึ่งบทสรุปก็คือต้องถูกให้ออกจากงานตามมาด้วย คดีความต่างๆอีกด้วย
คู่มือเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล ทักษะที่ 8 การใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม (Digital Empathy) ความเห็นอกเห็นใจและสร้างสัมพั นธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล เป็นความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น การตอบสนองความ ต้องการของผู้อื่น การแสดง ความเห็นใจและการแสดงน้ำใจ ต่อผู้อื่นบนโลกดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม มีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อ คนรอบข้าง ไม่ว่าพ่อแม่ ครู เพื่อนทั้งในโลกออนไลน์และใน ชีวิตจริง ไม่ด่วนตัดสินผู้อื่นจากข้อมูลออนไลน์แต่เพียงอย่าง เดียว และจะเป็นกระบอกเสียงให้ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือใน โลกออนไลน์ ตัวอย่างทักษะที่ 8 เรื่องของการให้ความช่วยเหลือกับผู้คนที่ได้รับความเดือดร้อนผ่าน โลกออนไลน์ เพราะมักจะมีมิจฉาชีพแอบแฝงมาหาผลประโยชน์กับ ความมีน้ำใจของคนอื่นๆด้วยเช่นกัน ดังนั้นเมื่อเห็นข่าวสารต่างๆที่ มีคนร้องขอความช่วยเหลือบนโลกออนไลน์ก็ขอให้ตรวจสอบ ข้อมูลให้รอบด้านก่อนว่าเป็นเรื่องจริง หรือเป็นเรื่องของมิจฉาชีพ ที่มาหลอกลวง เพื่ อที่จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพในทุกๆ กรณี
บทสรุป จะเห็นว่าความฉลาดดิจิทัลในระดับพลเมืองดิจิทัลเป็ นทักษะที่ สำคัญสำหรับนักเรียน และบุคคลทั่วไปในการสื่อสารในโลก ออนไลน์เป็นอย่างยิ่ง ทั้งเอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล การบริหาร จัดการเวลาบนโลกดิจิทัล การจัดการการกลั่นแกล้งบนไซเบอร์ การจัดการความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย การจัดการความเป็น ส่วนตัว การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ร่องรอยทางดิจิทัล ความเห็น อกเห็นใจและสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นทางดิจิทัล หากบุคคลมี ทักษะและความสามารถทั้ง 8 ประการจะทำให้บุคคลนั้นมีความ สามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กำกับ ตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัลอย่างเหมาะสม เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย
บ ร ร ณ า นุ ก ร ม Yuhyun Park. (2016). 8 digital skills we must teach our children. Retrieved March 8, 2017, https://www.weforum.org/agenda/2016/06/8-digital-skills-we-must- teach our-children สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2561). ความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQ) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562, จาก http://cclickthailand.com/contents/research/A2.-final.pdf. ปณิตา วรรณพิรุณ. (2560). “ความฉลาดทางงดิจิทัล,” พัฒนาเทคนิคศึกษา. 29 (102), 12-20.
Search
Read the Text Version
- 1 - 15
Pages: