Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สำเนาของ USI และ TSI มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง (2)

สำเนาของ USI และ TSI มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง (2)

Published by Wassana Wongsa, 2021-12-13 09:00:32

Description: สำเนาของ USI และ TSI มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง (2)

Search

Read the Text Version

บทสรุ ป การแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนเป็นกระบวนการที่มีความ ละเอียดอ่อน มิใช่เพียงรู้เหตุผลพื้นฐานแล้วแก้ได้ในทันที เช่น รู้ว่าชาวบ้าน ยากจนเพราะไม่มีเงิน ก็แจกเงิน หรือรู้ว่าชาวบ้านไม่มีที่ทำกินก็แจกโฉนดที่ดิน การทำเช่นที่ว่าไม่ใช่การขจัดปัญหาแต่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้ าซึ่งไม่มีความ ยั่งยืน จนแล้วแจกเงินเมื่อเงินหมดก็จนใหม่แล้วก็แจกใหม่ จนเพราะไม่มีที่ดินทำ กินแล้วแจกโฉนดที่ดิน ชาวบ้านมีที่ดินแล้ว ถามว่ามีทักษะความสามารถในการ ใช้ที่ดินนั้ นให้เกิดประโยชน์ ได้หรือไม่ ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยตรัสไว้ว่า “เขา อยากกินปลา อย่าเอาปลาให้เขา แต่ให้เอาเครื่องมือหาปลาให้พร้อมสอนให้เขามี ทักษะในการจับปลา” หลักปรัชญานี้ สามารถถ้าสามารถนำไปประยุกต์จะแก้ ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน การแก้ปัญหาใดๆ ให้ประสบความสำเร็จ ต้องแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมิใช่การแก้ ปัญหาที่ปลายเหตุ กรณีของปัญหาความยากจนก็เช่นเดียวกัน ต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ ก่อนว่าที่เขาจน จนเพราะอะไร จนที่ตัวเงิน (monetary poverty ) หรือจนที่ตัวคน (human poverty) จากนั้ นก็พินิ จพิเคราะห์ให้ลึกซึ้งในปัจจัยรอบด้านทั้งภูมิกายภาพ และภูมิสังคมที่ทำให้เขายากจน แล้วจึงค่อยหาแนวทางในการแก้ไข กล่าวให้ชัดเจน คือ ต้องแก้ไขปัญหาความยากจนโดยประยุกต์หลักการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ว่า “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” การดำเนิ นโครงการ U2T ของมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางที่ผ่านมาได้ทำความเข้าใจและ เข้าถึงปัญหาความยากจนของชาวบ้านแล้วอย่างน้ อย 80 ตำบล พันธกิจที่ต้องดำเนิ นการต่อไป คือ จะพัฒนาเขาอย่างไรเพื่อให้หลุดพ้นจากความยากจน มหาวิทยาลัยฯ มีศักยภาพและความ พร้อมในการช่วยเหลือสนั บสนุนการดำเนิ นการดังกล่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของ บุคลากร องค์ความรู้ เทคนิ คและวิธีการ อาจขาดอยู่บ้างในส่วนของปัจจัยด้านงบประมาณ เสนอแนะว่าการประสานความร่วมมือกับองค์กรและ/หรือหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จังหวังลำปาง อบจ.ลำปาง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในพื้นที่ เป็นเรื่องที่ จำเป็นเพราะจะทำให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ (win/win situation) ประเด็นสุดท้ายที่ขอฝากเป็นแนวทางการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นการต่อยอดจากการดำเนิ นโครงการที่ผ่านมาเพื่อให้เป้าหมายสูงสุดของ โครงการบรรลุผลตามที่ตั้งไว้ คือ มหาวิทยาลัยฯ ต้องดำเนิ นการอย่างไรก็ได้ที่จะ ทำให้กิจกรรม/ตำบลที่ไม่สามารถอยู่รอดได้ ให้อยู่ในสถานภาพที่สามารถอยู่รอดได้ และจะดำเนิ นการอย่างไร ให้กิจกรรม/ตำบลที่สามารถอยู่รอดแล้วหรือเพียงพอแล้ว สามารถอยู่รอดและเพียงพออย่างยั่งยืน


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook