ตามที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่ า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ประชาชนว่างงานและบัณฑิตจบ ใหม่ไม่สามารถหางานทำได้ รวมถึงนั กศึกษาที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ประชาชนที่ว่างงานย้ายกลับถิ่นฐานจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคม ตามมา นโยบายการฟื้ นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงมุ่งเน้ นที่การ ฟื้ นฟูเศรษฐกิจในระดับชุมชน ทั้งการสร้างงาน การพัฒนาอาชีพในชุมชน ทั้งนี้ เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีมหาวิทยาลัยใน สังกัดของรัฐกว่า 80 แห่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆของประเทศสามารถที่จะ ทำหน้ าที่เป็น System Integrator ในระดับตำบลได้ อีกทั้งมหาวิทยาลัยใน พื้นที่ยังสามารถใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ ทำงานและ ประสานความร่วมมือกับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่ วยงา นอื่นๆ เพื่อให้การทำงานแบบบูรณาการนี้ สามารถยกระดับเศรษฐกิจและ สั งคมรายตำบลซึ่งสามารถนำไปสู่ การลดความยากจนอย่างมีเป้าหมายชัดเจน (Targeted Poverty Alleviation) โครงการหนึ่ งมหาวิทยาลัยหนึ่ งตำบล (U2T) หรือโครงการยกระดับ เศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ โดยมี มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นหน่ วยงานบูรณาการโครงการ (System Integrator) 2. เพื่อให้เกิดการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนั กศึกษา ให้มีงานทำและฟื้ นฟูเศรษฐกิจชุมชน 3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชน ได้แก่ การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ (การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ) การสร้างและพัฒนา Creative Economy (การยกระดับการท่องเที่ยว) การนำ องค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน (Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ) และการ ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ ชุมชน) 4. เพื่อให้เกิดการจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Community Big Data) เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความ ยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางเป็นหนึ่ งในมหาวิทยาลัยของรัฐได้เข้าร่วม โครงการดังกล่าวด้วยโดยได้รับมอบหมายจาก อว. ให้รับผิดชอบตำบลใน เขตจังหวัดลำปางจำนวน 80 ตำบล ผลการดำเนิ นการในระยะที่ 1 สามารถ กล่าวโดยสรุปได้ว่ามหาวิทยาลัยฯ ประสบความสำเร็จในการดำเนิ นการตาม วัตถุประสงค์ทั้ง 4 ประการ กล่าวคือ 1) มหาวิทยาลัยได้ทำหน้ าที่เป็นหน่ วย งานบูรณาการโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) สามารถจ้างงานได้ จำนวน 1,718 คน แบ่งเป็นประชาชนทั่วไป 431 คน บัณฑิตจบใหม่ 854 คน และนั กศึกษา 433 คน 3) พัฒนาตามปัญหาและความต้องการของชุมชนทั้งสี่ ด้าน (จะได้วิเคราะห์เพิ่มเติมในตอนต่อไป) และ 4) ได้จัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ ของชุมชน (Community Big Data) เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสิน ใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน บนพื้นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนที่เก็บรวมรวมโดยผู้รับจ้าง ทำงานประจำตำบลทั้ง 80 ตำบลตามกรอบที่ อว. กำหนด สามารถสรุปได้ว่า ระดับของปัญหาความยากจนยังมีความแตกต่างกันค่อนข้างชัดเจนเมื่อเทียบ เกณฑ์ของ อว. ที่กำหนดไว้ 4 ระดับ คือ ตำบลที่ยังไม่สามารถอยู่รอด ตำบล ที่อยู่รอด ตำบลมุ่งสู่ความพอเพียง และตำบลมุ่งสู่ความยั่งยืน ตัวเลขสถิติดัง แสดงในตารางที่ 1 สามารถวิเคราะห์และอธิบายได้ว่า จากโจทย์หลักการ พัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความจนจำนวน 4 ประเด็น คือ 1.) การพัฒนาสัมมาชีพ และสร้างอาชีพใหม่ 2.) การสร้างและพัฒนา Creative Economy 3.) การนำ องค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน และ 4.) การส่งเสริมด้านสิ่ง แวดล้อม/Circular Economy มีสัดส่วนของตำบลที่มีศักยภาพในระดับที่ไม่ สามารถอยู่รอดเฉลี่ยร้อยละ 30.62 ในขณะที่ตำบลที่มีศักยภาพในระดับ ยั่งยืนมีสัดส่วนร้อยละ 33.75 ที่เหลือเป็นสัดส่วนของตำบลที่สามารถอยู่รอด และอยู่ได้อย่างพอเพียง ประชาชนใน 42 ตำบลหรือคิดเป็นร้อยละ 52.5 ของ จำนวนตำบลที่รับผิดชอบทั้งหมด 80 ตำบลยังประสบกับปัญหาความ ยากจนและยังต้องดิ้นรนเพื่อการดำรงชีพ ส่วนที่เหลือแม้จะสามารถอยู่รอด ได้แต่ก็ยังขาดปัจจัยที่เอื้อต่อความเป็นอยู่ เช่น ไม่สามารเข้าถึง สาธารณูปโภค-สาธารณูปการ บริการด้านสุขภาพอนามัย และการศึกษา เป็นต้น มีเพียง 12 ตำบลจาก 80 ตำบลที่ประชาชนส่วนใหญ่สามารถดำรง ชีวิตได้อย่างเป็นสุขและพอเพียง
ตารางที่ 1 ตัวเลขแสดงโจทย์การพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาความยากจนราย ตำบลและจำนวนกิจกรรม เมื่อแยกพิจารณาตามจำนวนกิจกรรมตามโจทย์หลักการพัฒนาเพื่อ แก้ปัญหาความยากจน ดังตัวเลขที่แสดงในตารางที่ 1 บ่งบอกให้ทราบว่า จากจำนวนกิจกรรมทั้งหมด กิจกรรมที่กระจายอยู่ในตำบลต่างๆ ทั้ง 80 ตำบล มีจำนวนกิจกรรมที่ไม่สามารถอยู่รอดได้เป็นสัดส่วนร้อยละ 47.20 (304/644) มีกิจกรรมที่สามารถอยู่รอดอย่างยั่งยืนคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.70 ที่เหลือเป็นสัดส่วนของกิจกรรมที่สามารถอยู่รอดได้และพอเพียง
u niversity s ystem i Ntegrator
มหาวิทยาลัย ราชภัฏลำปาง ภาพรวมการประเมินศั กยภาพตำบล กลไกการดำเนินงาน U2T มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ภาคเอกชน, สวทช., ตัวแทนภาครัฐ ของหน่ วยงานในจังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน หน่ วยปฏิบัติการ อว. ส่วนหน้ า จังหวัดลำปาง คณะ และหน่ วยงานภายในมหาวิทยาลัย (ผู้จัดการตำบล, กองนโยบายและแผน, งานคลัง, งานพัสดุ, กพน., สำนั กงานวัฒนธรรมฯ, ฯลฯ) ภาพรวมกลุ่ม/ลักษณะ การแต่งตั้งผู้จัดการตำบล, คณะทำงานในระดับตำบล, กิจกรรมแบ่งตามศั กยภาพตำบล และผู้จ้างงานในระดับตำบล มีการประสานงานร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์การปกครองส่วนท้องที่ (เทศบาล, อบต. เป็นต้น) (กำนั น, ผู้ใหญ่บ้าน, ผู้นำชุมชน เป็นต้น) โครงสร้างการดำเนิ นงาน กำหนดให้หน่ วยปฏิบัติการ อว. ส่วนหน้ า เป็นหน่ วยงานหลักในการ ประสานงาน,การดำเนิ นกิจกรรม, การให้ข้อมูลโครงการต่างๆ ร่วมกับหน่ วย งานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย สรุ ปองค์ความรู้ ผลลัพธ์ องค์ความรู้ นวัตกรรม/เทคโนโลยี กระบวนการใหม่ 37.35% 30.71% 9.96% มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมีการจ้างงาน U2T ในพื้นที่ดำเนิ นการ 80 ตำบลรวม 1,734 อัตรา ผลลัพธ์เชิงสั งคม ผลลัพธ์เชิงเศรษฐกิจ ผู้รับจ้างโครงการได้รับการพัฒนาทักษะ 4 ด้าน 1. การพัฒนาสัมมาชีพ การรวมกลุ่ม การพัฒนาสั มมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ วิสาหกิจ กลุ่มเกษตรกรเพิ่มมากขึ้น การสร้างและพัฒนา Creative Economy ด้านดิจิตอล ด้านการเงิน ด้านสังคม ด้านภาษาอังกฤษ การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชม 2. ชุมชนมีการบริหารจัดการพื้นที่และการ การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circolar Economy ใช้ทรัพยากรในพื้นที่ได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ มากขึ้น 3. ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานเพื่อออกไปหางาน ทำลดลง 4. ชุมชนมีการร่วมมือกันเป็นอย่างดี ส่งเสริม ให้เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็งและปลอดภัย 5. สังคม/ชุมชน เกิดการตระหนั กการป้องกัน และเฝ้าระวังสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่ า 2019 85.34% 100.18% 83.65% 75.95%
TSITAMBON System INtegrator
A JOURNAL
Search