Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore การจัดการขยะ

การจัดการขยะ

Published by krumancharee, 2019-05-14 23:40:26

Description: การจัดการขยะเพื่อลดปริมาณขยะ เป็นการรักาาสิ่งแวดล้อมที่สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการจัดการขยะ สามารถใช้หลัก 4Rs ได้

Search

Read the Text Version

คำนำ จังหวัดปทุมธานีได้ให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยและวัสดุรีไซเคิลมาใน อันดบั ตน้ ๆ จากปท ผ่ี ่านมาทางจังหวัดได้บรรจลุ งในยทุ ธศาสตร์ของจงั หวัดประจำป 2553 - 2556 โดยได้กำหนดเปน็ วาระของจังหวัด ท้งั นเ้ี พือ่ สร้างจติ สำนกึ ให้เกดิ ความรว่ มมอื จากทกุ ภาคส่วน ท้งั ภาครฐั ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยมวี ตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื ลดปริมาณขยะท่ีต้องนำไปกำจดั ซง่ึ ในแต่ละปไ ดเ้ พ่มิ ข้นึ ตามสดั ส่วนของจำนวนประชากรของจังหวัด ถงึ แม้ท่ีผา่ นมาทางจังหวดั มกี ารจัดการขยะมลู ฝอยอยู่แลว้ ไม่วา่ จะเปน็ ในชุมชน สถาบนั การศึกษา หรือแม้กระทั่งตามครัวเรือน แต่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเป็นรูปแบบ (Model) มากยง่ิ ขน้ึ ทางจงั หวดั จงึ มงุ่ เนน้ การสง่ เสรมิ และใหค้ วามรกู้ บั ประชาชนในการจดั การขยะตง้ั แตต่ น้ ทาง จึงได้ร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย ที่ปรึกษาโครงการในการจัดทำวาระจังหวัดการจัดการขยะมูลฝอยและวัสดุรีไซเคิล อย่างครบวงจร รวมทั้งจัดทำ “คู่มือการจัดการขยะมูลฝอยและวัสดุรีไซเคิลจังหวัดปทุมธานี” เพื่อเป็นรูปแบบแนวทางการลด การคัดแยกและใช้ประโยชน์จากขยะมูลฝอยให้แก่หน่วยงานและ ประชาชนท่ัวไป สุดท้ายนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือเล่มนี้จะเป็นแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอยและ วัสดุรีไซเคิล เพื่อให้จังหวัดปทุมธานีของเราเป็นจังหวัดสีเขียว “Pathumthani Green City” ที่มี สภาพแวดล้อมดี และพร้อมจะเปน็ แบบอยา่ งใหแ้ กส่ ังคมอืน่ ๆ ตอ่ ไป ปรชี า บุตรศรี ผวู้ า่ ราชการจังหวดั ปทุมธานี

สารบญั 3 4 บทนำ 5 คำนิยาม 7 ประเภทของขยะมูลฝอย 8 แนวทางการจดั การขยะมลู ฝอย 8 จงั หวัดปทุมธานี 8 9 • ข้อมูลทัว่ ไป 36 • การจดั การขยะมูลฝอย 38 • แนวทางการจดั การขยะมูลฝอยและวัสดรุ ไี ซเคิล 39 • การจัดการขยะอินทรีย ์ 48 ภาคผนวก ธนาคารวัสดุรไี ซเคิล เอกสารอ้างองิ

3 บทนำ จงั หวดั ปทมุ ธาน ี เปน็ จงั หวดั หนง่ึ ของประเทศไทยทม่ี อี าณาเขตตดิ ตอ่ กบั กรงุ เทพมหานคร จากการขยายตัวของจังหวัดปทมุ ธานเี ป็นไปอย่างรวดเรว็ มกี ารเตบิ โตของโครงสรา้ งพื้นฐานต่างๆ รวมทง้ั สง่ิ ปลกู สรา้ งแทนทพ่ี น้ื ทช่ี นบทซง่ึ เปน็ เกษตรกรรม เพอ่ื รองรบั การเจรญิ เตบิ โตของภาคธรุ กจิ ภาคอตุ สาหกรรม และภาคการศกึ ษา ซง่ึ จากการเปลย่ี นแปลงอยา่ งรวดเรว็ ดงั กลา่ วทำให้เกิดปัญหา หลายๆ ด้านตามมา และหน่ึงในปัญหาเหลา่ นั้น กค็ อื ปญั หาขยะมลู ฝอย จากข้อมูลป 2552 ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในจังหวัดปทุมธานีในแต่ละวันนั้นมีไม่น้อยกว่า 1,300 ตัน ซึ่งปริมาณดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหากับจังหวัดปทุมธานีเป็นอย่างมาก ทั้งการสูญเสีย บุคลากรและค่าใชจ้ า่ ยในการจัดการ และการส้นิ เปลอื งทรพั ยากรทม่ี คี ่าไปกับการกำจดั ดว้ ย และ ทรัพยากรท่ีมีค่าเหล่าน้ีนั่นเองที่เป็นปัญหาใหญ่ท่ีจังหวัดปทุมธานีเร่ิมหันมาให้ความสำคัญมากข้ึน โดยเฉพาะสว่ นทส่ี ามารถนำกลับมาใชใ้ หม่ได้ ดงั นน้ั แนวทางหนง่ึ ในการจัดการขยะในจังหวัดปทุมธานีกค็ อื การสง่ เสรมิ ให้ทุกภาคส่วน ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการลด คัดแยก และนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ตั้งแต่ต้นทางได้อย่าง เหมาะสม ซง่ึ แนวทางดงั กลา่ วจะประกอบอยใู่ นคมู่ อื เลม่ นท้ี ผ่ี ปู้ ฏบิ ตั สิ ามารถนำไปประยกุ ตใ์ ชภ้ ายใน หนว่ ยงานของตนได้ หากมีขอ้ ผดิ พลาดประการใดทางผู้จัดทำขออภัยมา ณ ทน่ี ดี้ ว้ ย สำนกั งานทรพั ยากรธรรมชาติและส่ิงแวดลอ้ มจังหวดั ปทมุ ธานี สถาบนั การจดั การบรรจุภณั ฑ์และรีไซเคิลเพอื่ สิ่งแวดลอ้ ม สภาอตุ สาหกรรมแห่งประเทศไทย สิงหาคม 2553

4 คำนยิ าม 1. ขยะหรือมูลฝอย หมายถึง เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถงุ พลาสตกิ ภาชนะท่ีใส่อาหาร เถ้า มูลสตั ว์ ซากสตั ว์ หรือสงิ่ อนื่ ใดท่เี ก็บกวาดจากถนน ตลาด ทเ่ี ลีย้ งสตั ว์หรอื ท่ีอน่ื และหมายความรวมถึงมลู ฝอยตดิ เช้อื มลู ฝอยทีเ่ ป็นพษิ หรืออันตรายจาก ชมุ ชนและครวั เรือน ยกเว้นเศษวสั ดุเหลอื ใช้จากโรงงานซ่งึ มีลกั ษณะและคณุ สมบัติท่ีกำหนดไวต้ าม กฎหมายว่าด้วยโรงงาน 2. วัสดรุ ไี ซเคลิ หมายถึง ส่งิ ของหรือวสั ดเุ หลอื ใช้ ทีส่ ามารถนำกลบั มาผา่ นกระบวนการ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่กลับมาใช้ได้ใหม่ ได้แก่ วัสดุประเภทกระดาษ แก้ว พลาสติก โลหะ/อโลหะ และกลอ่ งเครื่องดืม่ เปน็ ตน้ 3. การคดั แยกขยะ หมายถงึ กระบวนการแยกขยะหรอื สง่ิ ทไ่ี มใ่ ชแ้ ลว้ ออกเปน็ ประเภทตา่ งๆ ตามองค์ประกอบ ไดแ้ ก ่ กระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ/อโลหะ และกลอ่ งเคร่อื งดืม่ เป็นตน้ 4. ภาชนะแยกประเภท หมายถงึ ทร่ี องรบั ของเสยี วสั ดหุ รอื สง่ิ ของตา่ งๆ ทไ่ี มใ่ ชแ้ ลว้ ซง่ึ แยกตามองค์ประกอบของเสยี เหลา่ น้นั 5. บรรจภุ ณั ฑ์ หมายถงึ ภาชนะสำหรบั ใสส่ ง่ิ ของ เครอ่ื งใชส้ นิ คา้ หรอื เพอ่ื การหบี หอ่ หอ่ หมุ้ บรรจ ุ หรือผกู มดั ส่ิงของต่างๆ ตามวัตถปุ ระสงคข์ องผใู้ ชห้ รือผอู้ อกแบบ เชน่ บรรจุภัณฑข์ นสง่ บรรจภุ ัณฑช์ ัน้ นอก บรรจภุ ัณฑ์ชน้ั ใน เปน็ ต้น 6. องคก์ รปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ (อปท.) หมายถงึ องคก์ ารบรหิ ารสว่ นจงั หวดั เทศบาล องคก์ ารบรหิ ารสว่ นตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพทั ยา และองคก์ รปกครองสว่ นท้องถิน่ อนื่ ท่ีมี กฎหมายจดั ตั้ง 7. ธนาคารวสั ดุรไี ซเคลิ หมายถงึ สถานที่ท่ีมีกิจกรรมการรบั ฝากหรอื การซอ้ื -ขายวสั ดุ รไี ซเคลิ และคดิ เปน็ มลู คา่ โดยสมาชกิ สามารถมาฝากและจะบนั ทกึ รายการลงสมดุ คฝู่ าก ซง่ึ สามารถ ถอนไดเ้ ช่นเดยี วกับธนาคารทัว่ ไป โดยธนาคารฯ จะมรี ายได้จากสว่ นตา่ งที่รับซือ้ จากสมาชกิ และที่ จำหนา่ ยให้กบั ร้านรบั ซ้อื ของเก่า 8. ศูนย์วัสดุรีไซเคิล หมายถึง สถานที่ที่มีการรวบรวมวัสดุรีไซเคิล โดยผ่านกิจกรรม การรับซื้อ หรือรับฝากวัสดุรีไซเคิลจากสมาชิก ซึ่งจะมีการดำเนินงานภายใต้คณะทำงานที่ได้รับ การคดั เลอื ก ทง้ั นค้ี ณะทำงานจะรบั ผดิ ชอบ กจิ กรรมตา่ งๆ และรายไดท้ เ่ี กดิ ขน้ึ หากมผี ลประกอบการ ทด่ี ี สามารถนำไปปันผลใหส้ มาชิกได้

5 ประเภทของขยะมลู ฝอย ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของขยะมูลฝอยตามกรมควบคุมมลพิษป 2549 ได้แบ่ง ประเภทของขยะออกเปน็ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ขยะอินทรีย เป็นขยะที่ย่อยสลายได้เร็วตามธรรมชาติ สามารถนำไป เป็นอาหารสัตว ์ หรอื หมกั ทำปุ๋ยได้ เชน่ เศษอาหาร เศษผักและเปลือกผลไม้ เศษกิง่ ไม้ ใบหญา้ เป็นต้น ประเภทที่ 2 ขยะรีไซเคิล หรือวัสดุรีไซเคิล ส่วนใหญ่เป็นบรรจุภัณฑ์ หรือเป็น วสั ดเุ หลอื ใชท้ ส่ี ามารถนำกลบั มาใชใ้ หมไ่ ด ้ โดยสว่ นใหญจ่ ะมเี ครอ่ื งหมายรไี ซเคลิ แสดงบนบรรจภุ ณั ฑ ์ เช่น กลอ่ งเครื่องด่มื ขวดน้ำพลาสตกิ แกว้ น้ำพลาสตกิ กระดาษขาว-ดำ กระป๋องน้ำอดั ลม ทอ่ พวี ซี ี สายยาง เป็นต้น เครื่องหมายรีไซเคลิ

6 ประเภทที่ 3 ขยะทั่วไป เป็นขยะประเภทอื่นที่ไม่ใช่ขยะอินทรีย์ วัสดุรีไซเคิลและขยะ อันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ถุง พลาสตกิ เปอนอาหาร ซองขนมขบเค้ยี ว หอ่ พลาสตกิ ใสข่ นม ซองบะหมี ่ เปลือกลกู อม กล่องโฟม ท่เี ปอ นอาหาร เป็นต้น ประเภทที่ 4 ขยะอันตราย เป็นขยะที่มีส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งของสารพิษ วตั ถไุ วไฟ วตั ถทุ ท่ี ำใหเ้ กดิ โรค วตั ถกุ มั มนั ตรงั ส ี หรอื วตั ถกุ ดั กรอ่ น เปน็ ตน้ ซง่ึ จะกอ่ ใหเ้ กดิ อนั ตราย ต่อคน สตั ว์ ทรัพย์สนิ และส่ิงแวดล้อม ซง่ึ ต้องมกี ารจัดการอยา่ งถูกวิธ ี เช่น นำ้ ยาลา้ งเล็บ นำ้ ยา ลา้ งหอ้ งนำ้ หลอดไฟฟลอู อเรสเซนต ์ ถา่ นไฟฉาย ภาชนะบรรจสุ ารกำจดั แมลงหรอื วชั พชื แบตเตอร่ี มอื ถอื เป็นตน้

7 แนวทางการจดั การขยะมูลฝอย โดยทัว่ ไปแลว้ แนวทางกำจัดขยะมูลฝอยจะเป็นตามแผนภาพด้านล่าง หากมีการสง่ เสริมให้ ประชาชนมีความรู้ในการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งขยะที่สามารถนำกลับมาใช้ ประโยชน์ไดอ้ กี แทนทีจ่ ะนำไปกำจัด ไดแ้ ก ่ ขยะอินทรยี แ์ ละวัสดรุ ไี ซเคิล ซึง่ นอกจากจะเปน็ การยืด อายุของหลุมฝังกลบแล้ว ยังเป็นการประหยัดทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานในการผลิตวัสดุ อปุ กรณ์ สนิ ค้าหรอื บรรจุภณั ฑข์ ึน้ มาใหม่อกี ดว้ ย ขยะ ขยะอนิ ทรีย์ วสั ดุรไี ซเคิล ขยะทั่วไป ขยะอันตราย • ฝง กลบ • บางสว่ นรไี ซเคลิ ได้ • อาหารสตั ว์ • ธนาคารวสั ดรุ ไี ซเคลิ • เตาเผา เช่น แบตเตอร่ี • ปยุ๋ หมกั • ศนู ย์วัสดรุ ไี ซเคิล/ รถยนต์ • น้ำหมกั ชวี ภาพ ตลาดนดั รีไซเคิล • ฝงกลบ • ผา้ ปา่ รีไซเคิล/ ขยะแลกไข่ • บริจาค ดังนั้น เมื่อการอุปโภคบริโภคยังคงเกิดขึ้นอยู่ทุกวัน ปัญหาขยะก็ยังคงต้องอาศัยแนวทาง จัดการที่มีประสิทธิภาพ และในการจัดการก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายด้านเพื่อป้องกันมิให้เกิดผล กระทบตอ่ คนทีอ่ าศัยบรเิ วณใกล้เคียงรวมท้ังส่ิงแวดล้อมรอบข้างอกี ด้วย จงั หวดั ปทมุ ธานจี งึ ไดร้ เิ รม่ิ แนวทางในการจดั การขยะมลู ฝอยขน้ึ ภายใตโ้ ครงการสง่ เสรมิ วาระ จงั หวดั ในการจดั การขยะมลู ฝอยและวสั ดรุ ไี ซเคลิ อยา่ งครบวงจรจงั หวดั ปทมุ ธาน ี โดยมวี ตั ถปุ ระสงค์ เพ่อื ท่จี ะส่งเสริมความรู้แก่ทุกภาคส่วนให้มีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางและจัดการขยะมูลฝอย แตล่ ะประเภทอยา่ งถูกต้องตามหลกั วชิ าการเพอื่ ใหเ้ กิดประโยชนส์ ูงสุด

8 จังหวดั ปทมุ ธานี ขอมูลทวั่ ไป จงั หวดั ปทมุ ธานมี ีพื้นท ี่ 1,525.856 ตารางกิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานคร 27.8 ตาราง กิโลเมตร มีอาณาเขตตดิ ตอ่ • ทศิ เหนือ ตดิ กับอำเภอบางไทร อำเภอบางปะอนิ และอำเภอวงั น้อย จังหวัดพระนครศรี อยุธยา อำเภอหนองแค และอำเภอวหิ ารแดง จงั หวดั สระบุรี • ทิศตะวันออก ติดกับอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก และอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวดั ฉะเชิงเทรา • ทิศตะวันตก ติดกับอำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอบางเลน จงั หวดั นครปฐม และอำเภอไทรนอ้ ย จงั หวัดนนทบุรี • ทศิ ใต้ ตดิ กบั เขตหนองจอก เขตคลองสามวา เขตสายไหม เขตบางเขน เขตดอนเมอื ง กรุงเทพมหานคร และอำเภอปากเกรด็ อำเภอบางบัวทอง จงั หวดั นนทบรุ ี การจดั การขยะมูลฝอย ปัจจุบนั จังหวดั ปทุมธานีประกอบด้วย 7 อำเภอ 60 ตำบล 466 หมบู่ ้าน สว่ นการปกครอง สว่ นทอ้ งถนิ่ ประกอบดว้ ย องคก์ ารบริหารส่วนจังหวดั 1 แห่ง เทศบาลเมือง 7 แหง่ เทศบาลตำบล 12 แหง่ และองคก์ ารบริหารสว่ นตำบล 45 แหง่

9 จากการสำรวจข้อมูลปรมิ าณขยะในป  2552 พบวา่ จังหวัดปทมุ ธานีมปี รมิ าณขยะมูลฝอย ประมาณ 1,300 ตนั /วัน มวี ธิ ีการกำจัดส่วนใหญเ่ ป็นแบบเทกองและฝังกลบ ซง่ึ ในอดีตมบี อ่ ฝงั กลบ อยู่ 2 แห่ง คอื • บ่อฝังกลบของเทศบาลเมอื งคูคต มเี น้ือทป่ี ระมาณ 230 ไร่ • บ่อฝังกลบของเทศบาลเมอื งปทุมธานี มเี นอ้ื ท่ีประมาณ 238 ไร่ ปจั จบุ ันทงั้ 2 แห่งไม่สามารถเปดิ ดำเนินการได้ เนือ่ งจากถกู รอ้ งเรยี นคัดคา้ นจากประชาชน ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องนำขยะและสิ่งปฏิกูลไปกำจัดในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นพื้นที่ ของเอกชน และจงั หวัดใกลเ้ คียง ดงั นั้นแนวโนม้ รปู แบบของการกำจัดขยะในอนาคตทีเ่ ป็นลกั ษณะ ของการดำเนนิ การร่วมกนั ในพนื้ ที่ขนาดใหญ่ อาจเกดิ ขึ้นได้ยากในพืน้ ที่จังหวดั ปทมุ ธาน ี จากเหตผุ ลทศ่ี นู ยก์ ำจดั ขยะรวมของจงั หวดั ปทมุ ธานที ง้ั 2 แหง่ ไมส่ ามารถเปดิ ดำเนนิ การได้ ประกอบกับราคาที่ดินที่แพงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดการขยะในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ตอ้ งมกี ารปฏิรปู ให้เหมาะสมกับพน้ื ท่ี สงั คม และส่ิงแวดล้อม โดยรูปแบบหนง่ึ ทีจ่ ะดำเนนิ การได้ กค็ ือ การสง่ เสรมิ ใหป้ ระชาชนเข้ามามีส่วนรว่ มโดยยึดหลกั การ 3R คือ การลด การคดั แยก และ การนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม ่ เพอื่ ลดปริมาณขยะต้ังแตต่ ้นทางทเี่ ป็นแหล่งกำเนดิ อยา่ งแทจ้ ริง แนวทางการจดั การขยะมลู ฝอยและวัสดุรไี ซเคลิ เพอ่ื ใหก้ ารลด คดั แยก และนำขยะไปใชป้ ระโยชนเ์ ปน็ ไปอยา่ งครบวงจรและเกดิ ประสทิ ธภิ าพ มากท่ีสดุ ทางจงั หวัดฯ จงึ ไดก้ ำหนดแนวทางในการดำเนินการออกเป็น 4 ต้นแบบใหญ่ๆ ไดแ้ ก่ ต้นแบบท่ี 1 การจัดการขยะและวัสดรุ ไี ซเคิลในชมุ ชน/หมู่บ้าน ประกอบด้วย 4 ต้นแบบย่อย ดังน้ี

10 ต้นแบบที่ 1.1 การจดั การขยะและวัสดรุ ไี ซเคิลโดยองค์กรปกครองส่วนทอ้ งถ่ิน ดำเนินการเอง องคก์ รปกครองส่วนทอ้ งถ่ิน (อปท.) จะเป็นผ้ดู ำเนินงานเองและทำหน้าท่ใี นการรับขยะและ วัสดุรีไซเคิลจากครัวเรือนที่ร่วมโครงการ โดยมีการนัดหมายวัน เวลา ในการจัดเก็บและรับซื้อ วัสดุรไี ซเคลิ จากน้นั จะรวบรวม คัดแยก และจำหนา่ ยใหก้ ับร้านรบั ซื้อของเกา่ ในพืน้ ทีส่ ำหรับขยะ ย่อยสลายได้ เชน่ เศษอาหาร อาจนำไปทำปุ๋ย ทำนำ้ หมักชวี ภาพ ส่วนขยะทั่วไปและขยะอนั ตราย จะรวบรวมเพอ่ื นำไปกำจัดโดย อปท. ตอ่ ไป ขน้ั ตอนการดำเนินงาน อบรมผ้นู ำชมุ ชน แต่งตง้ั คณะทำงาน ประสานร้านรับซ้อื ในพืน้ ที่ ประชาสมั พันธ์/รณรงค์โครงการ เร่มิ ดำเนินงาน ประชมุ ตดิ ตามผลการดำเนนิ งาน ข้ันตอนที่ 1 อบรมผู้นำชุมชน เพอ่ื สง่ เสรมิ ความรปู้ ระโยชนจ์ ากการคดั แยกขยะ และวสั ดรุ ไี ซเคลิ เทคนคิ การคดั แยกขยะ และการแปรรปู ขยะอนิ ทรยี ไ์ ปใชป้ ระโยชนใ์ หก้ บั แกนนำ โดยหวงั ผลใหเ้ กดิ การเผยแพรค่ วามร้สู ่ชู มุ ชน ข้ันตอนท่ี 2 แต่งตง้ั คณะทำงาน มาจากผู้แทนของ อปท.และผู้แทนของชุมชน/ หมู่บ้านที่ร่วมโครงการ โดยจะหารือในการนดั วนั เวลา และกำหนดเส้นทางในการจัดเก็บ รวมทั้งคัดเลือกร้าน รับซอื้ ที่ใหร้ าคายุตธิ รรม

11 ขั้นตอนที่ 3 ประสานร้านรับซอ้ื ในพืน้ ที่ คดั เลอื กรา้ นรบั ซอ้ื โดยผา่ นการเปรยี บเทยี บ ราคาอย่างน้อย 3 ราย โดยเน้นร้านที่รับซื้อวัสดุ รไี ซเคิลไดเ้ กือบทกุ ประเภทและใหร้ าคาดที ี่สุด ขน้ั ตอนท่ี 4 ประชาสมั พนั ธแ์ ละรณรงคโ์ ครงการ คณะทำงานจะประชาสมั พนั ธแ์ ละรณรงคโ์ ครงการ ให้ชุมชนรับทราบ เช่น การเดินเคาะประตูบ้าน ติดป้าย ประชาสัมพันธ์ หรือประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุชุมชนและ โทรทัศน์ทอ้ งถ่ิน เป็นต้น ขนั้ ตอนท่ี 5 เรม่ิ ดำเนนิ งาน ในวนั เปิดโครงการควรจดั กิจกรรม เกย่ี วกบั การรไี ซเคลิ เพอ่ื เปน็ การสรา้ งความ สนใจและกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วน รว่ มกับโครงการมากขน้ึ ขั้นตอนที่ 6 ติดตามผลการดำเนินงาน คณะทำงานจะประชุมผลการดำเนนิ งานทุกเดอื นเพอื่ ปรบั ปรงุ ปัญหาและอปุ สรรคทเ่ี กิดขึน้ รวมทัง้ สรุปตัวเลขปริมาณวสั ดุรไี ซเคิลที่รวบรวมได้ ตัวอย่าง การดำเนนิ งาน

12 ตน้ แบบที่ 1.2 การจัดการขยะและวสั ดุรไี ซเคิลในชมุ ชน/หมบู่ ้าน โดยชมุ ชน/ หมู่บ้านเปน็ ผู้ดำเนินการเอง ครัวเรือนเป็นผ้คู ัดแยกขยะตั้งแตต่ น้ ทาง รปู แบบคลา้ ยต้นแบบท่ี 1.1 แตกตา่ งกนั ที่ชุมชน/ หมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการเอง ในขณะที่ อปท.จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำและสนับสนุน การดำเนนิ งาน โดยการดำเนนิ งานประกอบด้วย 3 รูปแบบ ไดแ้ ก่ 1. คณะกรรมการหรือผแู้ ทนของชุมชน/หมู่บ้านรับซอ้ื โดยตรงจากแต่ละครัวเรอื น 2. คณะกรรมการหรือผแู้ ทนของชุมชน/หมู่บา้ นตัง้ จุดรับซื้อเอง 3. รา้ นรบั ซือ้ ทีผ่ ่านการคัดเลือกเขา้ ไปรับซอื้ แตล่ ะครวั เรือน เมอื่ รวบรวมและจำหน่ายใหก้ ับรา้ นรบั ซือ้ ของเกา่ แลว้ ควร บันทึกปรมิ าณขยะและวสั ดุรีไซเคลิ ท่ีรวบรวมไดส้ รปุ เป็นรายเดือน สว่ นเศษอาหารจะนำไปทำปยุ๋ หมกั ในขณะทีข่ ยะท่วั ไปและขยะอนั ตราย จะรวบรวมให้ อปท.นำไปกำจดั ข้นั ตอนการดำเนนิ งาน ประชมุ /อบรมคณะกรรมการชมุ ชน/หมู่บ้าน แต่งตั้งคณะทำงาน กำหนดรปู แบบการดำเนินงาน ประชาสมั พนั ธ์/รณรงคโ์ ครงการ คณะทำงานรับซ้ือหรอื คัดเลือกร้านรับซื้อในพ้นื ที่ เรม่ิ ดำเนนิ งาน ประชมุ ติดตามผลการดำเนินงาน

13 ขนั้ ตอนท่ี 1 ประชมุ /อบรมคณะกรรมการ ของชุมชน/หมบู่ า้ น เพ่ือทำความเข้าใจและคัดเลือกรูปแบบ การดำเนนิ งาน ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน และประโยชน์ ของโครงการ ขั้นตอนท่ี 2 แต่งต้งั คณะทำงาน สรรหาผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน โดยส่วนใหญ่มาจากคณะกรรมการหรือผู้แทนของ ชมุ ชน/หมบู่ า้ นทร่ี ว่ มโครงการ และมผี แู้ ทนของ อปท.รว่ มเปน็ ทป่ี รกึ ษา ทง้ั นเ้ี พอ่ื ใหก้ ารดำเนนิ งาน มีประสทิ ธภิ าพมากยงิ่ ข้ึน ขั้นตอนท่ี 3 กำหนดรูปแบบการดำเนนิ งาน เลอื กรปู แบบทเ่ี หมาะสมอาจใหค้ ณะกรรมการหรอื ชมุ ชน/หมบู่ า้ นดำเนนิ งานเองหรอื ใหร้ า้ น รับซื้อที่ผ่านการคัดเลือกเข้าไปรับซื้อแต่ละครัวเรือนได้ หรือจะตั้งเป็นจุดรับซื้อเพื่อให้สมาชิกของ ชุมชน/หมบู่ า้ นนำวัสดุรไี ซเคลิ มาจำหนา่ ยยังจดุ ที่กำหนดได้ ขน้ั ตอนที่ 4 ประชาสมั พันธแ์ ละรณรงคโ์ ครงการ ผา่ นส่อื ตา่ งๆ เช่น ปา้ ยไวนลิ แผน่ พับ ใบปลิว เพอื่ ให้ แต่ละครัวเรอื นแยกขยะแต่ละประเภทแลว้ รวบรวมไว้ ข้ันตอนท่ี 5 คณะทำงานรับซื้อหรอื คดั เลอื ก ร้านรบั ซอ้ื ในพ้ืนท่ี หรอื อาจจะประสานกบั อปท. ในพืน้ ทใี่ หม้ ารับวัสดรุ ีไซเคิล ตามวันและเวลาที่กำหนดไว้ก็ได้ ขนั้ ตอนที่ 6 เริ่มดำเนินงาน คณะทำงานจะรบั สมัครสมาชิก โดยทางคณะทำงานอาจหาภาชนะ รองรับสำหรับแยกประเภทให้กับครัวเรือนท่ีร่วมโครงการ หรือส่งเสริมความรู้ให้ครัวเรือนมีการ คัดแยกประเภทของขยะก่อนจะรวบรวมให้คณะทำงานจัดเก็บ ซึ่งครัวเรือนที่ร่วมโครงการจะติด สตก๊ิ เกอร์ หรอื ทำสญั ลกั ษณห์ นา้ บา้ นเพอ่ื ความสะดวกแกผ่ จู้ ดั เกบ็ ขนั้ ตอนที่ 7 ประชุมตดิ ตามผลการดำเนินงาน คณะทำงานจะมกี ารประชมุ และรวบรวมปรมิ าณ วัสดุรีไซเคิลที่เข้าสู่โครงการรวมท้ังปรับปรุงโครงการ ใหด้ ขี ้นึ

14 ตัวอยา่ งการดำเนินงาน ตน้ แบบที่ 1.3 การจดั การขยะและวสั ดรุ ีไซเคิลในชมุ ชนในรูปแบบของธนาคาร วัสดุรีไซเคิล เป็นการจัดการวัสดุรีไซเคิลผ่านทางธนาคารวัสดุรีไซเคิล โดยสมาชิกจะนำวัสดุรีไซเคิล มาฝากกบั ธนาคารฯ และสามารถถอนเงนิ ไดต้ ามวัน เวลาทำการของธนาคารฯ ซ่ึงมรี ูปแบบคล้าย ธนาคารพาณิชยท์ ว่ั ไป (รายละเอียดเกีย่ วกับธนาคารวัสดรุ ไี ซเคิลในภาคผนวก) ขนั้ ตอนการดำเนินงาน ประชุมคณะกรรมการชมุ ชน/หมูบ่ า้ น แตง่ ต้ังคณะทำงาน จัดตัง้ ธนาคารวัสดุรีไซเคิล ประชาสมั พนั ธ์/รณรงค์โครงการ เรม่ิ ดำเนนิ งาน ประชมุ ตดิ ตามผลการดำเนนิ งาน

15 ขน้ั ตอนท่ี 1 ประชุมคณะกรรมการชมุ ชน/หมบู่ า้ น เพื่อทำความเข้าใจกับคณะทำงานเกี่ยวกับการดำเนินงาน การสื่ิอสารให้สมาชิกในชุมชน เขา้ ใจในการจดั การขยะมูลฝอยจากครวั เรือน ขน้ั ตอนที่ 2 แต่งตง้ั คณะทำงาน คณะทำงานมาจากคนในชุมชน อาจเป็นผู้นำ ชุมชนหรืออาสาสมัครก็ได้ ทำหน้าที่รับผิดชอบใน กิจกรรมรบั ฝากและบริหารจดั การภายในธนาคารฯ ขั้นตอนท่ี 3 จดั ตัง้ ธนาคารวัสดรุ ไี ซเคลิ คณะทำงานดำเนนิ การประชมุ รว่ มกนั เพอ่ื กำหนดแนวทางการจดั ตง้ั ธนาคารฯ เชน่ การสรรหา สถานท่ดี ำเนนิ การ การกำหนดวนั และเวลาดำเนินการธนาคารฯ วธิ กี ารรบั ฝาก การจัดสรรรายได้ การสรา้ งแรงจงู ใจ เป็นต้น ตลอดจนการแบ่งหนา้ ทีค่ วามรับผิดชอบของคณะทำงานในหน้าทต่ี า่ งๆ อย่างชดั เจน ขน้ั ตอนที่ 4 การประชาสมั พนั ธแ์ ละรณรงค์ โครงการ คณะทำงานควรกำหนดแนวทางการ ประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนให้ครัวเรือนในชุมชน/ หมู่บ้านมาสมัครเป็นสมาชิกของธนาคารฯ วิธีการ ประชาสมั พนั ธ์ เชน่ การบอกตอ่ เสยี งตามสาย แผน่ พบั การประกาศในที่ประชุม ทั้งนี้ขึ้นกับความเหมาะสม ของแตล่ ะพน้ื ท่ี ข้นั ตอนที่ 5 เริ่มดำเนนิ งาน วันแรกที่เปิดธนาคารฯ จะมีคนในชุมชนที่ สนใจมาสมัครเป็นสมาชิก ซึ่งอาจสมัครในนามราย บคุ คล หรือครอบครัว หรือในนามของกล่มุ กไ็ ด้

16 ขน้ั ตอนที่ 6 ประชมุ ตดิ ตามและประเมนิ ผล เจ้าหน้าที่ธนาคารฯ จะนำข้อมูลรายรับ-จ่าย ปริมาณวัสดุรีไซเคิล และปัญหา/อุปสรรคที่เกดิ ข้ึน หารอื กบั คณะทำงานเพอ่ื ปรบั ปรงุ ใหธ้ นาคารฯ พฒั นา ดยี ิง่ ข้นึ ต่อไป ตัวอยา่ ง การดำเนินงาน ต้นแบบที่ 1.4 การจดั การขยะและวสั ดุรีไซเคลิ ในหม่บู ้านจดั สรรใหม่ หมู่บ้านจัดสรรท่ีเกิดขึ้นใหม่จะมีการจัดการขยะท่ีเกิดข้ึนโดยการคัดแยกขยะใส่ภาชนะตาม ประเภทของขยะ ไดแ้ ก่ ขยะเศษอาหาร วัสดรุ ไี ซเคลิ และขยะอนั ตราย โดยคณะกรรมการหมูบ่ า้ น จะติดต่อให้ร้านรับซื้อที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามารับซื้อวัสดุรีไซเคิลตามวัน เวลาที่นัดหมายกับบ้าน ท่เี ป็นสมาชิก ในขณะทขี่ ยะเศษอาหาร จะมกี ารสง่ เสริมให้ทำปยุ๋ หมกั ใช้ในครัวเรือน ส่วนขยะท่ัวไป และขยะอันตรายจะส่งใหอ้ งคก์ รปกครองส่วนท้องถิน่ ไปกำจัด

17 ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน ประชุมคณะกรรมการหมูบ่ ้าน แต่งตั้งผรู้ ับผดิ ชอบ (คณะกรรมการ) จดั เตรียมอุปกรณแ์ ละเอกสารทเี่ กี่ยวข้อง ประชาสมั พันธ/์ รณรงค์โครงการ ประสานร้านรบั ซ้ือของเกา่ ในพื้นที่ เริ่มดำเนินงาน ประชมุ ตดิ ตามผลการดำเนนิ งาน ข้ันตอนท่ี 1 ประชมุ คณะกรรมการหมู่บ้าน เพอ่ื แตง่ ตง้ั ผรู้ บั ผดิ ชอบในการดำเนนิ งาน รวมทง้ั กำหนดแนวทางและรปู แบบการดำเนนิ งาน ขน้ั ตอนท่ี 2 แต่งตง้ั ผู้รบั ผดิ ชอบ ผู้รับผิดชอบมาจากอาสาสมัครหรือคณะ กรรมการหมู่บ้านซ่ึงจะมีหน้าท่ีประชุมและทำความ เข้าใจกบั คนในหมบู่ ้านในการแยกขยะ ข้นั ตอนที่ 3 จัดเตรยี มอปุ กรณแ์ ละเอกสารที่ เกีย่ วขอ้ ง อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในรูปแบบนี้ ประกอบด้วย ถังพลาสติกขนาด 20 ลิตรหรือถังขยะหรือถุงสี เพื่อให้ ลกู บา้ นหรอื ครวั เรอื นคดั แยกขยะแตล่ ะประเภท แบบฟอรม์ บันทึกน้ำหนักขยะและวัสดุรีไซเคิล และอาจมีสติ๊กเกอร์ สำหรบั ติดหนา้ บ้านที่เขา้ รว่ มโครงการ

18 ขน้ั ตอนท่ี 4 ประชาสมั พันธ/์ รณรงค์ การประชาสัมพันธ์จะใช้สื่อต่างๆ ที่มีอยู่ใน หม่บู ้าน เช่น ป้ายไวนิล แผน่ พบั ป้าย cut out หรอื การประชาสมั พนั ธผ์ า่ นการประชมุ ของคณะกรรมการ หมูบ่ ้าน เปน็ ต้น เพ่ือใหส้ มาชิกรับทราบวันที่จัดเก็บ ซ่ึงส่วนใหญจ่ ะเป็นวนั เสาร์-อาทิตย์ ขัน้ ตอนท่ี 5 ประสานรา้ นรับซอื้ ในพน้ื ที่ ผู้รับผิดชอบจะทำการประสานร้านรับซ้ือในพื้นที่ให้เข้ารับวัสดุรีไซเคิลจากบ้านของสมาชิก ตามวนั และเวลาทก่ี ำหนด โดยรา้ นรบั ซอ้ื ทผ่ี า่ นคดั เลอื กอาจทำสญั ญาเปน็ รายครง้ั ๆ ละ 15 วนั - 1 เดอื น ข้ันตอนที่ 6 เร่มิ ดำเนนิ งาน ในวันเริ่มดำเนินการจะทำการรับสมัครสมาชิกร่วมโครงการพร้อมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อ สร้างแรงจงู ใจ เชน่ ในวนั เปดิ โครงการอาจแจกภาชนะรองรับ การแสดงของเดก็ ๆ เปน็ ตน้ ขั้นตอนที่ 7 ประชมุ ตดิ ตามผล การดำเนนิ งาน ทมี งานควรสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อปรบั ปรุงรูปแบบอยา่ งตอ่ เนือ่ ง และอาจมีการทำกิจกรรม เสริมหรือรายได้จากการดำเนินงานสามารถนำไป ปรับปรงุ สงิ่ แวดลอ้ มหรือทัศนยี ภาพในหมู่บ้านได้

19 ตัวอยา่ ง การดำเนินงาน สรปุ การเตรยี มการดำเนนิ งานสำหรบั ตน้ แบบท่ี 1 (ตน้ แบบท ่ี 1.1-1.4) 1. จดั อบรมใหก้ บั คนในชมุ ชน/หมู่บา้ น 2. จัดทำส่ือประชาสัมพนั ธ์ เชน่ ปา้ ยผ้า ไวนิล แผ่นพบั ใบปลวิ อาจเป็นการสนับสนุนของ อปท. 3. จดั เตรียมอปุ กรณ์ในการดำเนินงาน เชน่ ถังพลาสติก ตาชัง่ ขนาด 20 หรอื 60 กิโลกรมั ถุงลกู เต๋า เครอ่ื งคิดเลข เปน็ ตน้ 4. จัดทำแบบฟอร์มท่เี กี่ยวข้อง เชน่ บนั ทึกรายรับ-รายจ่าย บันทึกจำนวนสมาชกิ ทะเบียน ร้านรับซอ้ื ในพ้ืนท ่ี บันทกึ การรับฝากของสมาชิก เป็นต้น 5. จดั กจิ กรรมสรา้ งแรงจงู ใจ เชน่ การใหร้ างวลั แกผ่ ทู้ น่ี ำวสั ดรุ ไี ซเคลิ มารว่ มโครงการสงู สดุ การร่วมโครงการอยา่ งตอ่ เนื่อง เป็นต้น ปจ จยั ทท่ี ำใหป้ ระสบความสำเรจ็ สำหรบั ตน้ แบบท่ี 1 (ตน้ แบบท ่ี 1.1-1.4) 1. นโยบายภาครฐั คอื อปท. ในพน้ื ทอ่ี าจมกี ารกำหนดงบประมาณหรอื แผนงานทส่ี อดคลอ้ ง กบั การทำโครงการพัฒนาชุมชน/หมู่บา้ น 2. ศักยภาพผู้นำท้องถิ่น ได้แก่ ผู้นำชุมชน/หมู่บ้านที่มีความเข้มแข็งและเป็นผู้นำในการ ทำกิจกรรมต่างๆ

20 3. การมสี ว่ นรว่ มของภาคประชาชนในชุมชน (ความตระหนักดา้ นสิ่งแวดล้อม) โดยผ้ทู ่ี อาศยั อยใู่ นชมุ ชน/หมบู่ า้ นมคี วามรสู้ กึ ในการมสี ว่ นรว่ มในการพฒั นาหรอื ปรบั ปรงุ ดา้ น สง่ิ แวดลอ้ ม 4. เครื่องมือ/องค์ความรู้ Best Practice อปท. ควรสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น วัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ องค์ความรใู้ นการดำเนินงาน หรอื มตี วั อย่างชุมชน/หมู่บา้ นที่มี การดำเนนิ งานในลกั ษณะเดยี วกันใหเ้ รยี นรู้ 5. ใช้สื่อมวลชนช่วยผลักดันในการขยายผล โดยสื่อมวลชนในพื้นที่จะมีส่วนในการ เผยแพร่และประชาสัมพันธก์ ิจกรรม เพอื่ ให้เกิดการขยายผลในพืน้ ท่ีใกล้เคียง 6. การสร้างแรงจูงใจ เมอื่ มกี ารดำเนินโครงการเกดิ ขนึ้ แล้วควรมกี ารจัดกจิ กรรมในการ สรา้ งแรงจูงใจใหป้ ระชาชนทีอ่ ยูใ่ นพ้ืนทเ่ี ขา้ มามสี ว่ นร่วมอยา่ งต่อเนอ่ื ง ต้นแบบท่ี 2 การสร้างจติ สำนกึ ในการจดั การขยะแกเ่ ยาวชน ประกอบด้วย 2 ตน้ แบบยอ่ ย ต้นแบบท่ี 2.1 การจดั ต้ังธนาคารวสั ดรุ ไี ซเคิลในโรงเรียนระดับประถมศกึ ษา เป็นการจัดตั้งธนาคารวัสดุรีไซเคิลในโรงเรียนโดยนักเรียนเป็นคณะทำงานของธนาคารฯ ต้นแบบน้ีเน้นการสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะให้กับเยาวชนโดยหวังว่าจะเป็นนิสัยติดตัวและ นำไปปฏิบัตติ ่อในครอบครัวตอ่ ไป ขั้นตอนการดำเนนิ งาน ประชมุ แต่งตั้งคณะทำงาน จัดตง้ั ธนาคารวสั ดรุ ีไซเคลิ ประชาสัมพนั ธ/์ รณรงค์โครงการ เร่ิมดำเนินงาน ประชมุ ตดิ ตามผลการดำเนินงาน

21 ขั้นตอนที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงาน ซ่ึงอาจจะมาจากนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ ประกอบดว้ ย ผจู้ ดั การธนาคาร เจา้ หนา้ ทค่ี ดั แยก เจา้ หนา้ ท่ี ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายบัญชี-การเงิน เจา้ หน้าทร่ี บั ฝากถอน เป็นต้น ข้ันตอนที่ 2 จัดต้งั ธนาคารวสั ดุรไี ซเคลิ คณะทำงานจะประชุมและหารือในการจัดตั้ง ธนาคารวสั ดรุ ไี ซเคลิ ซง่ึ จะจดั เตรยี มสถานท่ี วสั ดอุ ปุ กรณ์ งบประมาณดำเนินงาน วัน เวลาทำการ ประสานรา้ น รบั ซอื้ เปน็ ตน้ ข้ันตอนที่ 3 ประชาสมั พนั ธแ์ ละรณรงคโ์ ครงการ ประชาสัมพันธ์ให้เพื่อนักเรียนทราบเกี่ยวกับ การเขา้ รว่ มโครงการ การคดั แยกขยะและรวบรวมเพ่ือ นำมาฝาก เป็นต้น โดยประชาสัมพันธ์ผ่านหน้าเสาธง เสยี งตามสาย บอรด์ ประชาสมั พนั ธข์ องโรงเรยี น ชว่ั โมง กจิ กรรม เปน็ ตน้ ขั้นตอนที่ 4 เริ่มดำเนินงาน วันเปิดธนาคารวันแรกจะรับสมัครสมาชิก และมีการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อสร้างความสนใจใน โครงการ ขั้นตอนที่ 5 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน คณะทำงานรายงานผลการดำเนินงานให้กับอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้บริหารของโรงเรียน และรว่ มกันคิดแนวทางตอ่ ยอดสู่กิจกรรมอ่ืนๆ ดา้ นส่ิงแวดล้อมตอ่ ไป

22 ตวั อย่างการดำเนินงาน ต้นแบบท่ี 2.2 การจัดการขยะและวัสดุรไี ซเคิลในสถาบันการศกึ ษาระดับ มัธยมศึกษา/อดุ มศึกษา เปน็ การสรา้ งจติ สำนกึ และปลกู ฝงั นสิ ยั ในการคดั แยกขยะกอ่ นทง้ิ แกน่ กั เรยี น นสิ ติ นกั ศกึ ษา และบคุ ลากรในเรยี นระดบั มธั ยมศกึ ษา/อดุ มศกึ ษา โดยการจดั ตง้ั ภาชนะรองรบั หรอื ถงั ขยะตามจดุ ตา่ งๆ แลว้ รวบรวมขยะในถงั มาคดั แยกเพอ่ื เพม่ิ มลู คา่ และจำหนา่ ยเปน็ รายไดข้ องโครงการ นอกจากน้ี ยงั สามารถตง้ั ธนาคารวสั ดรุ ไี ซเคลิ ในรปู แบบเดยี วกบั ธนาคารขยะในโรงเรยี นระดบั ประถมศกึ ษาอกี ดว้ ย ขน้ั ตอนการดำเนนิ งาน ประชมุ ต้ังทีมงาน/คณะทำงาน สำรวจจุดต้ังภาชนะรองรับ กำหนดรูปแบบภาชนะรองรับ ประชาสมั พันธ์/รณรงค์โครงการ เริม่ ดำเนนิ งาน ติดตามและประเมนิ ผลการดำเนินงาน

23 ขั้นตอนที่ 1 ประชุมตั้งทีมงาน/คณะทำงาน คณะทำงานจะทำหนา้ ทีร่ บั ผดิ ชอบในการจัดการขยะ โดยมีอาจารย์ท่ปี รกึ ษา/ผู้บริหารของสถาบนั อดุ มศกึ ษาเปน็ ผู้รับผดิ ชอบโครงการ ขั้นตอนที่ 2 สำรวจจุดตั้งภาชนะรองรับ โดยเน้นจุดทีม่ กี จิ กรรมคอ่ นข้างมาก เชน่ บรเิ วณ อาคารเรยี น โรงอาหาร อาคารกิจกรรม เปน็ ต้น ขั้นตอนที่ 3 กำหนดรูปแบบภาชนะรองรับ ซ่ึงจะใชถ้ ังสี หรือถงั ใส หรือใสถ่ งุ สใี นถงั ขนาดใหญ่-เลก็ ขึน้ กบั พ้ืนที่ตง้ั ถังมาก-นอ้ ย ความ สวยงาม โดยท่ัวไปภาชนะรองรบั อาจแบ่งภาชนะรองรับเปน็ 4 ประเภท ได้แก่ 1. ขยะอนิ ทรยี ์ 2. ขยะท่ัวไป 3. วัสดรุ ไี ซเคิล 4. ขยะอันตราย แต่ก็สามารถแบง่ ตามประเภทของขยะทมี่ ใี นแตล่ ะ สถาบันการศึกษานั้นๆ ได้ เช่น ถังรับขยะอินทรยี ์ ถังรับ วสั ดุรีไซเคลิ พวกพลาสตกิ แกว้ กระป๋อง กล่องเคร่ืองดื่ม หรือถังรับกระดาษ เปน็ ตน้ ขั้นตอนที่ 4 รณรงค์และประชาสัมพันธ์ สื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคลากรทราบผ่านสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการทิ้งขยะให้ ถูกถงั ถกู ประเภท และความสำคัญในการแยกขยะก่อนทง้ิ ขั้นตอนที่ 5 เริ่มดำเนินงาน ทีมงานอาจจัดกิจกรรมในการต้ังภาชนะรองรับเพื่อให้ทุกคน ทราบและมสี ว่ นร่วมโครงการ

24 ขั้นตอนที่ 6 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน คณะทำงานจะสรุปตัวเลขปริมาณขยะและวัสดุ รีไซเคิลท่ีคัดแยกได้มาใช้ในการประชุมหารือเพ่ือปรับปรุง แนวทางอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง อาจเปน็ จดุ บกพรอ่ งหรอื จดุ ทย่ี งั ไมม่ ี การทงิ้ ขยะถกู ถัง และถกู ประเภท โดยวัสดรุ ไี ซเคิลจะมีการ จำหน่ายให้กับร้านรับซื้อของเก่าในพื้นท่ีเพ่ือเป็นรายได้ สโู่ ครงการหรอื สถาบันการศึกษา หมายเหตุ: หากสถาบันการศึกษาใดมีพื้นที่และต้องการคัดแยกประเภทวัสดุรีไซเคิลเพื่อ เพิ่มมูลค่าสามารถทำได้โดยนำวัสดุรีไซเคิลที่อยู่ในภาชนะรองรับแต่ละประเภทมาคัดแยกตาม ประเภท ได้แก่ • ขยะอนิ ทรยี ์ ทเ่ี ปน็ เศษอาหาร เศษผกั ผลไม้ สามารถนำมาทำปยุ๋ หมกั หรอื เปน็ อาหารสตั ว์ • วสั ดรุ ีไซเคิล คดั แยกเป็นกระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ/อโลหะ และกลอ่ งเครอื่ งด่ืม เพอ่ื จำหน่าย • ขยะทั่วไป และขยะอนั ตรายส่งองค์กรปกครองสว่ นท้องถน่ิ กำจัด ตวั อย่าง การดำเนินงาน

25 สรปุ การเตรียมการดำเนินงานสำหรบั ตน้ แบบท่ี 2 (ต้นแบบท ่ี 2.1-2.2) 1. จดั อบรมให้กบั เจ้าหน้าทธี่ นาคารฯ พนักงานทำความสะอาด หรอื แม่บ้าน 2. จดั เตรียมสถานทใ่ี นการรวบรวมและคดั แยกขยะ สถานทต่ี ้ังธนาคารฯ 3. จดั ทำสื่อประชาสมั พนั ธ์ เช่น ปา้ ยผ้า ไวนิล แผน่ พบั ใบปลวิ เป็นตน้ 4. อุปกรณ์ในการดำเนินงาน เช่น ถงั ขยะขนาด 120 หรอื 240 ลติ ร ตาชงั่ ขนาด 20 หรือ 60 กิโลกรัม เคร่อื งคิดเลข ถุงลูกเตา๋ เปน็ ต้น 5. แบบฟอรม์ ทเี่ ก่ียวข้อง เชน่ บนั ทกึ รายรับ-รายจ่าย บันทึกจำนวนสมาชกิ ทะเบยี นรา้ น รับซือ้ ในพน้ื ท่ ี บนั ทึกการรบั ฝากของสมาชกิ เปน็ ต้น 6. จดั กจิ กรรมสรา้ งแรงจูงใจ 7. เงนิ หมนุ เวียน เป็นเงินตั้งต้นทธ่ี นาคารฯ จะนำไปใช ้ เช่น การจา่ ยใหส้ มาชกิ เม่ือมีการ ถอนเงินในคร้ังแรก ซึ่งทางสถาบนั การศกึ ษาอาจต้องต้ังงบประมาณในส่วนน้ีไว้ ปจจัยท่ที ำใหป้ ระสบความสำเร็จสำหรับตน้ แบบท่ี 2 (ตน้ แบบที่ 2.1-2.2) 1. นโยบายผู้บรหิ ารสถาบนั ฯ ได้แก่ ผอู้ ำนวยการโรงเรียน อธิการบดขี องมหาวทิ ยาลยั ท่ี เลง็ เหน็ ความสำคัญในการจดั การขยะ 2. งบประมาณ ควรมกี ารตั้งงบประมาณสนบั สนนุ การดำเนนิ งานทกุ ป 3. การมสี ว่ นรว่ มของนกั ศึกษาและบุคลากร (ความตระหนักดา้ นสิง่ แวดล้อม) เชน่ การ ส่งเสรมิ ให้นักเรียน นิสติ นกั ศึกษา ทำกิจกรรมด้านสิง่ แวดลอ้ ม อาจผา่ นสโมสรหรือ ชมรมต่างๆ 4. เคร่อื งมอื /องคค์ วามรู้ Best Practice เป็นการสง่ เสริมการจัดการขยะโดยสถาบนั การ ศึกษาจัดกิจกรรมหรือหลักสูตรการเรียน การสอนที่เกี่ยวข้องกับจิตสำนึกในการ คัดแยกขยะ รวมทัง้ การศกึ ษาดูงาน 5. ใชส้ อ่ื มวลชนชว่ ยผลกั ดนั ในการขยายผลในการประชาสมั พนั ธโ์ ครงการ รวมทง้ั การให้ สถาบนั การศกึ ษาเปน็ ศนู ยก์ ลางในการเผยแพรแ่ ละแหลง่ เรยี นร ู้ การดำเนนิ งานสสู่ ถาบนั การศึกษาอืน่ ชุมชน หรอื หน่วยงานต่างๆ ในพ้ืนที่ 6. การจดั สรรรายไดจ้ ากโครงการ ควรเปน็ ไปอยา่ งเหมาะสมแกท่ กุ ฝา่ ย ทง้ั สมาชกิ พนกั งาน ทำความสะอาด และหนว่ ยงานอาคาร

26 ต้นแบบท่ี 3 การจัดตั้งศูนย์วสั ดรุ ไี ซเคิลโดยกลมุ่ อาชพี ซาเล้ง เปน็ การรวมตัวของกลมุ่ ผปู้ ระกอบอาชพี รบั ซอื้ ของเกา่ หรอื ซาเลง้ เกิดเปน็ ศนู ย์วสั ดรุ ไี ซเคลิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพ่ิมคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มซาเล้งและสร้างอำนาจการต่อรองกับร้านรับซ้ือ ของเกา่ โดยจะจำหนา่ ยวัสดรุ ีไซเคลิ ให้กับรา้ นรบั ซ้ือรายใหญห่ รอื โรงงานรไี ซเคิล ท้งั น้รี ายไดจ้ าก การขายวัสดรุ ไี ซเคิลนนั้ นำมาจดั สรรเปน็ เงินปนั ผลและสวสั ดกิ ารตา่ งๆ ให้แกส่ มาชกิ ต่อไป ข้นั ตอนการดำเนนิ งาน ช้ีแจงโครงการ สำรวจและขน้ึ ทะเบียนกลุ่มซาเล้ง สำรวจพน้ื ที่ จัดเตรียมอปุ กรณ์ท่ีเก่ียวขอ้ ง รับสมคั รซาเล้งร่วมโครงการ ประชุมติดตามผลการดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 1 ชี้แจงโครงการ ให้แก่ผู้ท่เี ก่ียวข้องในพื้นที่ ได้แก่ อปท. กลุ่มซาเล้ง สถานีตำรวจเพอ่ื ทำความเขา้ ใจเก่ยี วกับ โครงการ แนวทางการดำเนนิ งาน และประโยชนก์ ารทำโครงการ โดยหนว่ ยงานทีเ่ กีย่ วขอ้ งจะทำ หนา้ ที่พี่เลี้ยงใหก้ บั ศนู ย์ฯ ดว้ ย

27 ขั้นตอนที่ 2 ขึ้นทะเบียนกลุ่มซาเล้ง จะมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของกล่มุ ซาเล้งและทำการ ขน้ึ ทะเบยี น โดยซาเลง้ ทไ่ี ดร้ บั การขน้ึ ทะเบยี นจะไดร้ บั บตั รประจำตวั เสอ้ื กก๊ั และป้ายทะเบยี นรถ ขั้นตอนที่ 3 สำรวจพื้นที่ เพ่ือหาสถานที่ในการตั้งศูนย์วัสดุรีไซเคิล โดยเป็นสถานทคี่ ่อนข้างปิดมิดชิด เพื่อปอ้ งกนั วัสดุ รีไซเคิลสูญหายและเดินทางสะดวกสำหรับกลุ่ม ซาเล้งท่ีจะนำวัสดุรีไซเคิลมารวบรวมและคัดแยก ก่อนจำหนา่ ยให้กบั รา้ นรบั ซือ้ ขั้นตอนที่ 4 จัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ในศนู ย์ฯ ควรมีตาช่ัง เครอ่ื งคดิ เลข ถงุ มอื ผา้ ปดิ จมกู สมดุ บนั ทกึ นำ้ หนกั ทส่ี มาชกิ นำมาฝาก สมดุ บนั ทกึ รายรับ-รายจ่าย ขั้นตอนที่ 5 รับสมัครซาเล้งร่วมโครงการ โดยจะประชาสัมพนั ธร์ ับสมคั รสมาชิกของศูนยฯ์ ซึง่ จะแจ้งถงึ ประโยชน์ท่ีสมาชิกจะได้รบั ด้วย ขั้นตอนที่ 6 ประชุมติดตามผลการดำเนินงาน หน่วยงานท่ีเก่ียวข้องจะคอยให้คำแนะนำและเป็น ที่ปรึกษาในการดำเนินงาน รวมทั้งร่วมประชุมติดตามผล การดำเนนิ งานอย่างตอ่ เนอ่ื ง

28 ตวั อยา่ งการดำเนินงาน

29 สรปุ การเตรยี มการดำเนนิ งานสำหรบั ตน้ แบบที่ 3 1. จัดประชุมช้ีแจงหน่วยงานท่เี ก่ยี วขอ้ ง ไดแ้ ก ่ อำเภอ อปท. สำนกั งานตำรวจในพืน้ ที่ 2. จัดอบรมให้กับกลมุ่ ซาเลง้ ที่ร่วมโครงการ 3. ทำการขึน้ ทะเบียนซาเลง้ ทร่ี ว่ มโครงการ 4. จดั ทำสือ่ ประชาสมั พนั ธ์ เช่น ปา้ ยผา้ ไวนิล แผ่นพับ ใบปลิว เป็นต้น 5. อุปกรณ์ในการดำเนินงาน เช่น ตาชั่งขนาด 20 หรือ 60 กิโลกรัม ถุงลูกเต๋า เสื้อกั๊ก ปา้ ยทะเบยี น ถงุ มอื ผา้ ปิดจมกู เป็นต้น 6. แบบฟอร์มทเ่ี ก่ยี วข้อง เช่น บันทึกรายรบั -รายจ่าย บนั ทึกจำนวนสมาชกิ ทะเบยี นรา้ น รบั ซอ้ื ในพน้ื ท ่ี บันทกึ การรับฝากของสมาชกิ 7. จัดกจิ กรรมสรา้ งแรงจงู ใจ เช่น ใหข้ องรางวลั สำหรับซาเลง้ ท่นี ำวัสดรุ ีไซเคิลมาทีศ่ นู ยฯ์ อย่างสม่ำเสมอ 8. เงินทุนหมุนเวียน ในเบื้องต้นเงินที่ใช้ในการรับซื้อวัสดุรีไซเคิลจากสมาชิกอาจมาจาก การระดมทนุ หรือการขายหนุ้ ให้กบั สมาชกิ ซงึ่ การขายหนุ้ จะมกี ารให้เงนิ ปนั ผลปลายป ขน้ึ กับผลประกอบการของศูนยฯ์ ปจจัยทที่ ำใหป้ ระสบความสำเรจ็ สำหรบั ตน้ แบบท่ี 3 1. ตอ้ งมหี น่วยงานทด่ี ูแลและรับผดิ ชอบโดยตรง ไดแ้ ก ่ อำเภอ อปท. และสถานตี ำรวจ ในพื้นทีร่ ว่ มกันดูแลกลุม่ ซาเล้งเหลา่ นี้ 2. ผู้นำหรือผู้รับผิดชอบศูนย์ซาเล้ง ต้องมีความเสียสละ และความรับผิดชอบในการ ดำเนินงานของศูนยฯ์ รวมทง้ั มกี ารดำเนนิ งานที่โปร่งใส เพอ่ื ปอ้ งกันความขัดแย้งทีอ่ าจ เกดิ ขนึ้ ภายในศูนยฯ์ 3. ต้องมกี ารสรา้ งองคค์ วามรู้ และพัฒนาทักษะใหก้ ลุ่มซาเล้ง 4. สง่ เสรมิ ทกั ษะการรวมกลมุ่ ของซาเลง้ โดยชใ้ี หเ้ ลง็ เหน็ ถงึ ประโยชนส์ ว่ นรวมเปน็ หลกั ต้นแบบที่ 4 การจัดการขยะและรไี ซเคิลในสำนกั งาน เปน็ การสง่ เสรมิ ใหข้ า้ ราชการ พนกั งาน บคุ ลากรในสำนกั งานมกี ารคดั แยกขยะในสำนกั งาน ด้วยการต้ังภาชนะรองรับในพ้นื ทสี่ วนกลาง และการจดั ตั้งธนาคารวสั ดรุ ไี ซเคิลหรือตลาดนดั วัสดุ รไี ซเคลิ ซง่ึ สว่ นตา่ งของรายไดจ้ ากการจำหนา่ ยสามารถนำมาเปน็ สวสั ดกิ ารใหก้ บั พนกั งานในองคก์ ร หรือปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน

30 ขน้ั ตอนการดำเนินงาน ประกอบดว้ ย 2 แนวทางที่ควรดำเนินงานควบคกู่ ันไดแ้ ก่ การตั้งภาชนะแยกประเภทและ การตงั้ ธนาคารหรือตลาดนดั วัสดุรไี ซเคิล ดังแผนภาพ การตง้ั ภาชนะแยกประเภท แตง่ ตง้ั คณะทำงาน การต้ังธนาคาร/ตลาดนดั วัสดุรีไซเคิล สำรวจประเภทขยะและ กำหนดรปู แบบภาชนะรองรับ จัดเตรียมสถานทร่ี วบรวม วสั ดรุ ีไซเคลิ จากการซือ้ ขาย จดั หาและวางภาชนะรองรบั จดั เตรียมแบบฟอรม์ และ เอกสารทเี่ กี่ยวข้อง รณรงค์และประชาสัมพนั ธ์ ประสานรา้ นรับซือ้ ของเก่า เริ่มดำเนนิ การ ตดิ ตามและประเมินผล

31 แนวทางที่ 1 การตงั้ ภาชนะแยกประเภทขยะมลู ฝอย ขั้นตอนที่ 1 ตั้งคณะทำงาน ซง่ึ เป็นผแู้ ทนจากฝ่ายต่างๆ เพือ่ ให้เกดิ การทำงาน อยา่ งมปี ระสิทธิภาพสงู สดุ เชน่ ฝ่ายประชาสมั พันธ์ ฝ่าย บัญชแี ละการเงิน เป็นต้น โดยผู้แทนดงั กลา่ วจะทำความ เข้าใจกับพนักงานในฝ่ายของตนเก่ียวกับการจัดการขยะ ได้เปน็ อย่างดี ขั้นตอนที่ 2 สำรวจประเภทขยะและกำหนด รูปแบบภาชนะรองรับ สังเกตว่าภายในสำนักงานส่วนใหญ่มี ขยะและวัสดุรีไซเคิลประเภทใด และรูปแบบ ภาชนะรองรบั เป็นแบบใด ขนาดใด สอี ะไร อาจ เปน็ ถังรบั กระดาษ 1 ใบ แกว้ 1 ใบ หรอื ถงั รับขยะอนิ ทรยี ์ วสั ดรุ ีไซเคลิ และขยะอันตราย ขั้นตอนที่ 3 จัดหาและวางภาชนะรองรับ โดยวางตามจดุ ตา่ งๆ ของหนว่ ยงานทเ่ี ปน็ พื้นท่สี ว่ นกลางและ ตามฝ่ายต่างๆ เชน่ บรเิ วณมมุ ทางเดิน บรเิ วณหนา้ ห้องนำ้ เปน็ ตน้ ซึ่งเป็นบรเิ วณทม่ี ีผู้คนผ่านไปมาตลอด ขั้นตอนที่ 4 รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เน้นให้ทุกคนแยกขยะก่อนทิ้ง และทิ้งขยะลง ในถังที่จัดไว้ให้ถูกต้องตามประเภทของถัง โดยอาจ เก็บภาชนะรองรับขยะส่วนตัวที่ต้ังใต้โตะให้หมดแล้ว ทงิ้ ในภาชนะรองรับส่วนรวมทจ่ี ัดไว้ให้

32 ขั้นตอนที่ 5 ประสานร้านรับซื้อในพื้นที่ ขยะและวัสดุรีไซเคิลที่อยู่ในภาชนะรองรับจะนำ มาคัดแยกแล้วจำหน่ายให้ร้านรับซื้อท่ีผ่านการคัดเลือก และให้ราคาดีทสี่ ุด ขั้นตอนที่ 6 เริ่มดำเนินงาน เป็นการเร่มิ ต้งั ภาชนะรองรับยังจดุ ต่างๆ และอาจจดั กจิ กรรมส่งเสรมิ การคัดแยกขยะ ขั้นตอนที่ 7 ติดตามและประเมินผล ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามผลการดำเนินงานโดยอาจมีทีมตรวจประเมินการทิ้งขยะ ของพนักงานรว่ มกบั การจัดกิจกรรมรณรงคอ์ ยา่ งตอ่ เน่ือง

33 แนวทางท่ี 2 ธนาคารหรือตลาดนดั รีไซเคลิ ขั้นตอนที่ 1 แต่งตั้งคณะทำงาน คณะทำงานมาจากฝ่ายตา่ งๆ ของหน่วยงาน ซึง่ เปน็ ชุดเดยี วกับแนวทางที่ 1 ขั้นตอนที่ 2 จัดเตรียมสถานที่รวบรวม และซื้อ-ขาย ซึ่งอาจใชบ้ รเิ วณลานจอดรถ หรือใตถ้ ุนอาคาร ซ่ึงเป็นบรเิ วณทสี่ ามารถขนย้ายวัสดรุ ไี ซเคลิ ได้สะดวก ขน้ั ตอนท่ี 3 จดั เตรยี มแบบฟอรม์ และอปุ กรณท์ เ่ี กย่ี วขอ้ ง ได้แก่ บนั ทกึ รายรับ-รายจ่าย การขายวสั ดรุ ีไซเคลิ แก่รา้ นรบั ซ้ือ ตาชั่งน้ำหนัก ตั้งแต่ ขั้นตอนที่ 4 - 7 เป็นการดำเนินงานที่ สามารถทำควบคู่กบั แนวทางท่ี 1 ขั้นตอนที่ 4 รณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพ่อื ใหพ้ นักงานทกุ คนในหน่วยงานทราบวนั เวลา และสถานทีร่ ับซ้อื วัสดรุ ไี ซเคิล

34 ขั้นตอนที่ 5 ประสานร้านรับซื้อของเก่า โดยเลอื กรา้ นท่ีใหร้ าคารบั ซ้ือดที ส่ี ุด ขั้นตอนที่ 6 เริ่มดำเนินงาน ตามวัน เวลา และสถานที่ทไี่ ด้ประชาสมั พันธ์ ใหพ้ นกั งานทราบ โดยไมจ่ ำเปน็ ตอ้ งทำการทกุ วนั อาจ เป็นสปั ดาห์ละครัง้ ช่วงกลางวัน แลว้ แตค่ วามสะดวก ขั้นตอนที่ 7 ติดตามและประเมินผล เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ปรับปรุง ปัญหาและอุปสรรค และหาแนวทางในการต่อยอด โครงการตอ่ ไป ตัวอยา่ งการดำเนินงาน

35 สรปุ การเตรียมการดำเนินงานสำหรบั ต้นแบบท่ี 4 1. จัดประชุมคณะทำงาน 2. จัดอบรมใหก้ บั พนกั งาน และแม่บา้ นทำความสะอาด 3. จัดทำส่อื ประชาสัมพนั ธ์ เช่น ป้ายผา้ ไวนลิ แผ่นพบั ใบปลวิ เปน็ ต้น 4. อปุ กรณ์ในการดำเนนิ งาน เช่น ถงั ขยะขนาด 60 ลติ ร ตาชงั่ ขนาด 20 หรอื 35 กิโลกรัม เปน็ ต้น 5. แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง เช่น บันทึกรายรับ-รายจ่าย บันทึกจำนวนสมาชิก ทะเบียน รา้ นรบั ซือ้ ในพ้นื ที่ บันทึกการรบั ฝากของสมาชิก 6. จดั กิจกรรมสร้างแรงจงู ใจ เชน่ ให้ของรางวัลสำหรบั ผู้ทีน่ ำวสั ดุรไี ซเคลิ มารว่ มโครงการ อย่างสม่ำเสมอ ปจจัยท่ที ำใหป้ ระสบความสำเรจ็ สำหรับต้นแบบท่ี 4 1. นโยบายผู้บริหารองค์กร คือ เห็นความสำคัญและมีการจัดสรรงบประมาณในการ ดำเนินงานและการจัดกิจกรรมรณรงคโ์ ครงการ 2. ควรมีผู้รับผิดชอบโดยตรง เพ่ือให้การดำเนนิ งานเปน็ ไปอย่างตอ่ เนอ่ื งไม่ตดิ งานประจำ ทท่ี ำอยู่ 3. การจดั สรรรายไดท้ ่ีเกดิ ขนึ้ ต้องเป็นไปอยา่ งเหมาะสม จะทำใหไ้ มข่ ดั แยง้ กับพนกั งาน ทำความสะอาดหรือผู้ทมี่ ีหน้าท่ีในการจัดการขยะในสำนกั งาน 4. การประชาสมั พนั ธแ์ ละรณรงคโ์ ครงการ ตอ้ งเปน็ ไปอยา่ งตอ่ เนอ่ื งและสมำ่ เสมอ เนอ่ื งจาก แตล่ ะองคก์ รมพี นกั งานทเ่ี ข้าใหมต่ ลอดเวลา จงั หวดั ปทมุ ธานนี อกจากจะมกี ารจดั การวสั ดรุ ไี ซเคลิ ดงั ตน้ แบบทง้ั 4 ทก่ี ลา่ วมาขา้ งตน้ แลว้ ยังมีการจัดการขยะอินทรีย์อีกด้วย ซึ่งมีวิธีการดำเนินงานหลายรูปแบบ ได้แก่ การทำน้ำหมัก ชีวภาพและการทำปุ๋ยอัดเมด็

36 การจดั การขยะอนิ ทรีย 1. นำ้ หมักชวี ภาพ นำ้ หมักชีวภาพ ได้จากการนำผกั ผลไม้ หรือพชื มาหมกั ผสมกับกากน้ำตาลหรือนำ้ ตาล ทรายแดงในภาชนะปิด โดยกระบวนการหมักจุลินทรีย์จะได้ของเหลวสีน้ำตาลที่เป็นประโยชน์ต่อ การเกษตร ซึ่งจะเป็นประโยชน์หลายอย่าง เช่น รดน้ำต้นไม้ ล้างห้องน้ำ ดับกลิ่นเหม็นในท่อ ระบายนำ้ แกน้ ำ้ เสีย ใสบ่ ่อปลา ทำปุ๋ย เป็นตน้ ส่วนผสม 1. เศษอาหาร ผัก หรือผลไม้ 3 กโิ ลกรัม 2. นำ้ ตาลทรายแดงหรอื กากนำ้ ตาล 1 กโิ ลกรมั 3. นำ้ สะอาด 10 ลติ ร 4. ถงั หรือภาชนะทใ่ี ส ่ ข้ันตอนการดำเนนิ งาน 1. ใสน่ ้ำและน้ำตาลลงในภาชนะตามสัดส่วนท่ีเตรยี มไว้ 2. เตมิ เศษอาหาร ผกั และผลไมแ้ ลว้ ผสมใหเ้ ขา้ กนั หรอื นำเศษอาหาร ผกั ผลไมใ้ ส่ถงุ ปุ๋ยหรือกระสอบ เพ่ือ ความสะดวกในการนำไปใช้ โดยถังหมักอาจติด กอกน้ำด้านลา่ ง 3. ปดิ ฝาทง้ิ ไวเ้ ป็นระยะเวลา 7 วนั เปดิ ฝาดจู ะพบฝ้า สีขาว กลิ่นคล้ายน้ำส้มสายชู แต่ถ้าปิดฝาแล้วพบ ฝ้าสดี ำ หรอื มกี ลน่ิ เหมน็ ใหเ้ ติมกากนำ้ ตาล 4. นำมาใช้โดยผสมน้ำตามสัดส่วนต่างๆ กนั เชน่ รดน้ำต้นไม้ผสม 1:100 เคลด็ ลบั 1. หากใชผ้ ลไม้ผสมหรือเป็นวัตถดุ บิ ในการหมกั เชน่ สม้ สับปะรด มะเฟอง จะได้กล่ินหอม 2. สามารถผลติ จากสตั วไ์ ด้ 3. ในระหวา่ งการหมักและการเกบ็ นำ้ หมักหลังบรรจุขวดแล้วไมค่ วรตากแดด

37 2. ปยุ๋ อนิ ทรีย์อัดเม็ด ปุย๋ อนิ ทรีย์อดั เม็ด เป็นการนำปุ๋ยหมักมาแปรรปู ในลักษณะอดั เม็ด เพ่อื เพิ่มมูลค่า ปัจจบุ นั เปน็ ท่ีนยิ มในการนำมาใช้เนื่องจากสะดวกตอ่ การใช้งาน สว่ นผสม 1 ส่วน 1 ส่วน 1. เศษอาหาร 1 สว่ น 2. แกลบดำ 1 สว่ น 3. แกลบดิบ 30% 4. ปุ๋ยคอก 5. รำรวม ขน้ั ตอนปฏิบัติ 1. นำสว่ นผสมทกุ อยา่ งคลกุ เคลา้ ใหเ้ ขา้ กนั โดยใชน้ ำ้ หมกั ชวี ภาพเปน็ วสั ดใุ นการผสม จะพลกิ กลบทกุ ๆ 7 วัน และราดด้วยนำ้ หมักให้ชมุ่ ประมาณ 1 เดอื น 2. นำมาผา่ นเครอื่ งบดละเอยี ดจะได้ปยุ๋ หมกั ท่เี ป็นผงละเอยี ด แล้วนำเขา้ เครื่องผสมพร้อม ราดดว้ ยนำ้ หมกั ชวี ภาพอีกครัง้ 3. นำเข้าเคร่อื งอัดเม็ด จากน้นั นำไปผึ่งให้แห้งเพื่อบรรจกุ ระสอบตอ่ ไป

ภาคผนวก

39 ธนาคารวสั ดุรไี ซเคิล หมายถึง สถานที่ทำการธนาคารฯ มีการดำเนินงานคล้ายกับธนาคารทั่วไป โดยสิ่งที่ฝาก ไมใ่ ชเ่ งิน แต่เป็นวัสดรุ ไี ซเคิล ท้ังนสี้ มาชกิ สามารถถอนเงินสดได้ตามวัน เวลาทำการของธนาคารฯ โดยธนาคารฯ สามารถดำเนนิ งานได้ทง้ั ในสถาบนั การศึกษาและชุมชน/หมบู่ ้าน วัตถุประสงค์การจัดตงั้ ธนาคารฯ 1. เพื่อให้เกิดจติ สำนึกในการคดั แยกขยะจากครวั เรอื น โรงเรยี นหรือสถานท่ีทำงาน 2. เพ่อื สง่ เสรมิ การออมใหก้ ับเยาวชน 3. เพอ่ื ใหต้ ระหนกั ถงึ ความสำคญั ของการนำกลบั มาใชใ้ หม ่ ซง่ึ เปน็ สง่ิ สำคญั ในการอนรุ กั ษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม ข้นั ตอนการจดั ต้งั ธนาคารฯ 1. ตั้งทมี งาน/เจ้าหน้าทธี่ นาคารฯ 2. กำหนดสถานที่ต้ังธนาคารฯ 3. จดั เตรียมเอกสารและอปุ กรณ์ท่ีเกย่ี วข้อง 4. ประสานรา้ นรบั ซื้อของเกา่ 5. การประชาสัมพนั ธ์และรณรงค์ 6. การเปดิ ดำเนนิ งาน 7. การตดิ ตามและประเมนิ ผล 1. การตั้งทมี งาน/เจา้ หนา้ ที่ธนาคารฯ ทมี งานหรอื เจา้ หนา้ ทธ่ี นาคารฯ จะมาจากผแู้ ทนหรอื การสมคั ร ซง่ึ มกี ารดำเนนิ งานดงั น้ี • ธนาคารวัสดุรีไซเคิลโรงเรียน/สถาบันอุดมศึกษา อยู่ภายใต้การดูแลของอาจารย์ ที่ปรึกษา/อธกิ ารบดี/คณะทำงานโครงการ • ธนาคารวสั ดุรีไซเคลิ ชมุ ชน อยูภ่ ายใตก้ ารดแู ลของคณะกรรมการชมุ ชน โครงสรางของธนาคารฯ ผู้จดั การธนาคารฯ เจา้ หน้าท่ีฝา่ ยสมาชิก เจา้ หนา้ ท่ี เจ้าหน้าที่ฝา่ ยคดั แยก และประชาสัมพันธ์ ฝา่ ยบญั ชี และขนถ่ายขยะ

40 ธนาคารวสั ดรุ ไี ซเคลิ ควรประกอบดว้ ย 1. ผ้จู ดั การธนาคารฯ ทำหน้าท่ี • รับผิดชอบกจิ กรรมทกุ อยา่ งท่เี กิดภายในธนาคารฯ ให้เปน็ ไปด้วยความเรียบรอ้ ย • คัดเลือกร้านรับซื้อของเก่าและประกาศราคารับฝากวัสดุรีไซเคิลทุกครั้งที่มีการ เปลี่ยนแปลง • รายงานผลประกอบการใหค้ ณะกรรมการธนาคารฯ และสมาชิกทราบทกุ เดอื น 2. เจ้าหน้าที่ฝ่ายสมาชิกและประชาสัมพันธ์ ทำหน้าที่ • รบั สมคั รสมาชิก และทำทะเบียนคุมสมาชิกใหเ้ ปน็ ปัจจุบนั • ประชาสัมพันธ์และรณรงคโ์ ครงการอยา่ งต่อเน่ือง 3. เจา้ หน้าทฝ่ี า่ ยบัญชี ทำหนา้ ท่ี • รบั ฝาก-ถอนจากสมาชิก ทำบัญชีรายรบั -จ่าย • ประสานร้านรบั ซื้อของเก่าในพื้นท่ี • สรปุ ผลประกอบการรายงานผจู้ ัดการธนาคารฯ ทุกวนั ที่เปดิ ทำการ 4. เจ้าหนา้ ทฝ่ี า่ ยคัดแยกขยะ ทำหนา้ ทค่ี ดั แยกวสั ดุรไี ซเคลิ • แตล่ ะประเภททง้ั วสั ดุรีไซเคิลท่สี มาชกิ นำมาฝากเพอ่ื เปน็ การเพิ่มมูลค่าก่อนจำหนา่ ย **เทคนคิ กรณที ีเ่ ป็นโรงเรยี น/สถาบันการศึกษา ทมี งานธนาคารทั้ง 4 ตำแหน่งจะใหน้ กั เรยี นหรือเจา้ หน้าทขี่ องสถาบันการศึกษาช่วย ดำเนนิ งาน กรณที ีเ่ ปน็ ชุมชน ทีมงานธนาคารอาจเริ่มต้นแค่ผจู้ ดั การธนาคารฯ และเจา้ หนา้ ทีธ่ นาคารฯ และไม่มคี ่า ตอบแทนในการปฏบิ ัตงิ าน

41 2. กำหนดสถานทตี่ ้งั ธนาคารฯ อาจหาสถานที่ที่ไม่ได้ใช้แล้ว หรือพื้นที่ว่างแล้วปิดมิดชิดเพื่อป้องกันการสูญหายของ วัสดุรไี ซเคิล **เทคนคิ กรณที เ่ี ปน็ โรงเรยี น/สถาบันการศึกษา ใชอ้ าคารทม่ี ีพนื้ ท่ี แลว้ ก้นั เปน็ คอกสำหรับแยกประเภทวัสดุรีไซเคลิ กรณีทเ่ี ป็นชุมชน สถานทีอ่ าจใช้พ้ืนทีบ่ ้าน วดั หรอื ทีว่ ่างในชุมชน หากไมม่ สี ถานทีอ่ าจใช้เตน็ ท์ โดยซื้อ ขายภายในวนั เดยี ว 3. จัดเตรยี มเอกสารและแบบฟอร์มทีเ่ กี่ยวข้อง แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ใบฝาก-ถอน บันทึกการนำฝาก บันทึกจำนวนสมาชิก สมดุ เงินสด อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตาชั่งขนาด 20 หรือ 60 กิโลกรัม เครื่องคิดเลข ถุงลูกเต๋า เป็นตน้

42 4. ประสานรา้ นรับซ้ือในพ้ืนท่ี ทมี งานธนาคารฯ จะเปรยี บเทยี บรา้ นรบั ซอ้ื ทกุ 15 วนั หรอื ทกุ เดอื น เนอ่ื งจากการซอ้ื -ขาย ของเกา่ หรือวสั ดรุ ีไซเคิลนัน้ มกี ารเปลีย่ นแปลงราคาอยูเ่ สมอ โดยการคัดเลอื กจะเปรยี บเทยี บอย่าง น้อย 3 รายท่ีให้ราคาดีที่สุด 5. ประชาสมั พันธแ์ ละรณรงคโ์ ครงการ ทีมงานต้องประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกทราบวัน เวลาทำการของธนาคารฯ หรือเมื่อ ธนาคารฯ มกี จิ กรรมตา่ งๆ ขน้ึ นอกจากนค้ี วรมกี ารรณรงคใ์ หส้ มาชกิ มารว่ มโครงการอยา่ งตอ่ เนอ่ื ง **เทคนิค กรณที ่เี ปน็ โรงเรยี น/สถาบนั การศึกษา ธนาคารฯ อาจเปิดทำการตอนเชา้ กอ่ นเข้าเรียน เช่น 07.00-07.30 น. หรอื อาจเป็นชว่ ง กลางวนั เช่น 11.30 - 12.30 น. เป็นตน้ กรณีทเ่ี ปน็ ชมุ ชน เนื่องจากสมาชิกต้องไปทำงาน ดังนั้นธนาคารฯ มักเปิดทำการวันเสาร์-อาทิตย์ ช่วงเวลา แลว้ แต่สะดวกอาจเป็นชว่ งเชา้ หรือบา่ ยก็ได้ 6. เร่มิ ดำเนินงาน ว นั แรกท่ีธนาคารฯ เปดิ ดำเนนิ งานจะเป็นการรบั สมคั รสมาชกิ วนั แรกและจะมีการจดั กจิ กรรมเพือ่ สรา้ งความสนใจใหค้ นเขา้ มาร่วมงาน

43 7. ประชมุ ติดตามและประเมนิ ผล เจา้ หน้าทีธ่ นาคารฯ จะสรปุ ผลประกอบการ เงินทุนหมุนเวยี น กำไร ขาดทนุ ปญั หา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยโรงเรียน/สถาบันการศึกษา จะรายงานให้กับ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรืออธิการบดีมหาวิทยาลัยทราบ ส่วนชุมชนจะเก็บข้อมูลและอาจหารือกับ คณะกรรมการชมุ ชนเป็นครั้งคราว ขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบดว้ ย • การดำเนินงานระหวา่ งเปดิ ธนาคาร ไดแ้ ก่ การรับสมคั รสมาชกิ การฝากวสั ดุรีไซเคิล การถอนเงนิ • การดำเนินงานระหวา่ งปิดธนาคาร ไดแ้ ก่ การลงบันทกึ แบบฟอร์มตา่ งๆ การดำเนนิ งานระหวา่ งเปิดธนาคารฯ 1. การรบั สมัครสมาชกิ ผทู้ ่สี นใจสมคั รเปน็ สมาชิกของธนาคารฯ นำบัตรประจำตัวประชาชนบตั ร/นักศกึ ษา/บัตรนกั เรียน ใบสมัคร กรอกใบสมคั ร รบั สมุดค่ฝู าก

44 2. การฝากวสั ดุรไี ซเคลิ สมาชกิ นำวัสดุรีไซเคลิ อย่างน้อย 1 กก. มาพรอ้ มสมุดคู่ฝาก กรอกใบนำฝาก จนท.ตรวจสอบวัสดรุ ีไซเคลิ และชัง่ น้ำหนัก พรอ้ มคำนวณเงนิ บันทึกในสมดุ คู่ฝาก *** ผ้จู ัดการธนาคารตรวจสอบความถกู ตอ้ งของใบนำฝาก และบนั ทกึ การรบั ฝากวสั ดุรีไซเคลิ ให้สอดคล้องกนั

3. การถอนเงนิ 45 สมาชกิ นำสมดุ คูฝ่ ากมาพร้อมบตั รประจำตวั ประชาชน/ บตั รนกั ศกึ ษา/บัตรนกั เรียน กรอกใบถอนเงนิ จนท.ตรวจสอบความถูกตอ้ งกบั เอกสาร ของธนาคารและมอบเงนิ ให้สมาชิก การดำเนินงานหลงั ปดิ ทำการ หลงั ปดิ ธนาคารวสั ดรุ ไี ซเคลิ ในแตล่ ะวนั เจา้ หนา้ ทธ่ี นาคารจะทำการ เจา้ หนา้ ทจ่ี ะตอ้ งดำเนนิ การ ดังน้ี เก็บใบฝาก-ถอนเขา้ แฟม้ เป็นหลักฐาน ลงบนั ทกึ ในทะเบียนคมุ สมาชกิ ลงบันทึกสรปุ การฝาก-ถอนของสมาชิก สรปุ บันทกึ การรับฝากวสั ดุรีไซเคลิ ของสมาชิก สรปุ การคดั แยกวัสดรุ ีไซเคิลหลงั จากแยกประเภท ก่อนจำหนา่ ยให้รา้ นรับซือ้ ของเกา่ *** แตล่ ะเดือน จะสรุปการฝาก - ถอน บนั ทึกการขายวัสดรุ ไี ซเคิลและสรุปบัญชีรายรบั -จ่าย

46 ตัวอย่างแบบฟอรมตา่ งๆ สมุดคฝู่ าก ใบถอนเงนิ ใบนำฝาก ทะเบียนคุมสมาชิก บันทึกการนำฝาก วัสดุรีไซเคิล บันทึกการจำหน่าย วัสดุรีไซเคิล สรุปการฝาก-ถอน สรุปรายรับ-จ่าย

47 ตวั อย่างกจิ กรรมในวนั เปดิ โครงการ ประกวดชดุ แฟนซี จากวสั ดุรไี ซเคิล การแสดงวงดนตรรี ีไซเคลิ ประกวด ออกแบบโปสเตอร์ ของโครงการ

48 เอกสารอางอิง • กรมควบคุมมลพษิ , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม, ค่มู อื แนวทางการลด คดั แยกและใช้ประโยชนข์ ยะมลู ฝอย สำหรบั อาสาสมัครพิทกั ษท์ รัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ มหมู่บ้าน, 2551 • กรมส่งเสรมิ คุณภาพส่งิ แวดลอ้ ม, กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาตแิ ละส่ิงแวดล้อม, คูม่ อื การมสี ่วนร่วมของประชาชนในการจดั การขยะชุมชน, 2546 • กรมควบคุมมลพิษ, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม, คมู่ ือแนวทางการดำเนินการลด คัดแยก และใชป้ ระโยชนข์ ยะมลู ฝอยสำหรบั องคก์ ร ปกครองสว่ นทอ้ งถน่ิ , 2552 • กรมส่งเสริมคณุ ภาพสง่ิ แวดลอ้ ม, กระทรวงทรพั ยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม, คู่มือธนาคารขยะรีไซเคิล, 2549 • กรมควบคุมมลพษิ , กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิง่ แวดลอ้ ม, คูม่ ือแนวทางและข้อกำหนดเบอื้ งต้น การลดและใช้ประโยชนข์ ยะมลู ฝอย, 2552


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook