Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่ 4 การใช้และการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

หน่วยที่ 4 การใช้และการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

Description: หน่วยที่ 4 การใช้และการประหยัดพลังงานไฟฟ้า

Search

Read the Text Version

หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 4 การใชแ้ ละการประหยดั พลังงานไฟฟา้ สาระการเรียนรู้ การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยลด การใช้พลังงาน ยังช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย ซ่ึงในการ ประหยัดพลังงานนั้นสามารถดำเนินได้โดยใช้กลยุทธ์ 3 อ. คือ อปุ กรณ์ประหยัดพลังงานไฟฟ้า อาคารประหยัดพลังงานไฟฟ้า และอุปนิสัยประหยัดพลังไฟฟ้า สิ่งท่ีมีความสำคัญอย่างมาก อย่างหน่ึง ที่จะช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า คือ การ เลือกซ้ือ เลือกใช้ และดูแลรักษาเคร่ืองใช้ไฟฟ้าให้สามารถใช้ งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีอายุงานได้ยาวนาน รวมท้ัง ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าในเบื้องต้นจะช่วยให้ สามารถวางแผนเพอื่ ลดการใช้พลงั งานไฟฟา้ ได้ง่ายขนึ้

ผลการเรยี นรู้ท่ีคาดหวัง 1. อธิบายกลยทุ ธก์ ารประหยัดพลังงานไฟฟา้ 2. จำแนกฉลากเบอร์ 5 ของแทก้ ับของลอกเลียนแบบ 3. เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าได้เหมาะสมกับสถานการณ์ท่ี กำหนดให้ 4. วางแผนการประหยดั พลังงานไฟฟา้ ในครวั เรอื น 5. อธบิ ายวิธกี ารดแู ลรกั ษาเคร่ืองใช้ไฟฟา้ ในครวั เรือน 6. อธบิ ายองค์ประกอบของค่าไฟฟ้า 7. อธบิ ายปัจจยั ทม่ี ผี ลตอ่ คา่ ไฟฟา้ แปรผัน (Ft) 8. คานวณคา่ ไฟฟ้าในครวั เรอื น ขอบข่ายเน้ือหา เรื่องท่ี 1 กลยทุ ธ์การประหยดั พลงั งานไฟฟา้ 3 อ. เรื่องที่ 2 การเลือกซื้อ การใช้ และการดูแลรักษา เครือ่ งใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เรื่องที่ 3 การวางแผนและการคานวณ ค่าไฟฟ้าใน ครวั เรือน

เรอ่ื งที่ 1 กลยุทธ์การประหยดั พลงั งานไฟฟ้า 3 อ. การประหยัดพลังงาน คือ การใช้พลั งงานอย่างมี ประสิทธิภาพ และรู้คุณค่า การประหยัดพลังงานนอกจากช่วย ลดปริมาณการใช้พลังงาน ยังเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายของ ครัวเรือนและประเทศชาติแล้ว ยังช่วยลดปัญหาผลกระทบจาก สิ่งแวดล้อมได้ด้วย กลยุทธ์หนึ่งของประเทศไทย ที่ประสบ ความสำเร็จด้านการประหยัดการใช้ไฟฟ้าและพลงั งานของชาติ คอื การเลือกแนวทางทเ่ี หมาะสมสอดคล้องกบั ชีวิตและอปุ นสิ ัย ของคนไทย ด้วยการใช้ “กลยุทธ์การประหยัดพลังงาน 3 อ.” ได้แก่ อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า อาคารประหยัดไฟฟ้า และ อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า ซ่ึงฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 ที่ ดำเนินการโดย กฟผ. เป็นตัวอย่างหนึ่งของกลยุทธ์ประหยัด พลังงานที่ประสบความสำเร็จ ตามกลยุทธ์ 3 อ. โดยแบ่ง รายละเอียดเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 กลยุทธ์ อ. 1 อปุ กรณป์ ระหยดั ไฟฟ้า ตอนที่ 2 กลยุทธ์ อ. 2 อาคารประหยดั ไฟฟา้ ตอนที่ 3 กลยทุ ธ์ อ. 3 อปุ นิสยั ประหยดั ไฟฟ้า

1. กลยทุ ธ์ อ. 1 อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า กลยุทธ์ อ. 1 อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้า เป็นการส่งเสริมให้ ทุกครัวเรือนเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ประหยัดไฟ กฟผ. จึงได้ดำเนินโครงการ “ฉลากประหยัด ไฟฟ้าเบอร์ 5 หรือ ฉลากเบอร์ 5” มุ่งส่งเสริมให้ผู้ผลิต เคร่ืองใช้ไฟฟ้า ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าท่ีมีประสิทธิภาพการ ประหยัดพลังงาน โดยมีการรับรองภายใต้สัญลักษณ์ “ฉลาก ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5” โดยในปัจจุบัน กฝผ. ได้ให้การรับรอง อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าฉลากเบอร์ 5 รวม 24 รายการ ดังนี้ • ปี 2536 โครงการประชาร่วมใจ ใช้หลอดผอม • ปี 2537 โครงการฉลากประหยดั ไฟฟ้าเบอร์ 5 ต้เู ย็น • ปี 2538 โค รงการฉ ลากป ระห ยัด ไฟ ฟ้ าเบ อ ร์ 5 เคร่ืองปรับอากาศ

• ปี 2539 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หลอด ตะเกียบ • ปี 2541 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 บัลลาสต์ นริ ภยั • ปี 2542 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ข้าว กล้องหอมมะลิ • ปี 2544 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลม ไฟฟ้า • ปี 2547 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 หม้อหุง ขา้ วไฟฟา้ • ปี 2547 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 โคมไฟ ประสทิ ธภิ าพสูง • ปี 2550 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 บัลลาสต์ อิเลก็ ทรอนิกส์ T5 • ปี 2551 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลม สา่ ยรอบตวั • ปี 2552 โครงการฉลากประหยัดไฟฟา้ เบอร์ 5 หลอด ผอมเบอร์ 5 • ปี 2553 โครงการฉลากประหยดั ไฟฟ้าเบอร์ 5 Standby Power 1 Watt (เคร่ืองรบั โทรทศั น์/จอคอมพิวเตอร์)

• ปี 2554 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตารีด ไฟฟ้า • ปี 2554 โค รงการฉ ลากป ระห ยัด ไฟ ฟ้ าเบ อ ร์ 5 Retrofeit • ปี 2555 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 พัดลม ระบายอากาศ • ปี 2555 โครงการฉลากประหยดั ไฟฟ้าเบอร์ 5 เครื่องทา นา้ อุ่นไฟฟา้ • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เครอ่ื งซัก ผ้าชนิดฝาบนถังเดี่ยว • ปี 2556 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 LED (Light Emitting Diode) • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตา ไมโครเวฟ • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เตา แมเ่ หล็กไฟฟา้ • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 กาต้มน้า ไฟฟา้ • ปี 2557 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เคร่ืองรับ โทรทัศน์

• ปี 2558 โครงการฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 ตู้แช่ แสดงสินคา้ ปัจจุบนั ฉลากเบอร์ 5 มีผูล้ อกเลยี นแบบจานวนมากเพื่อให้ ประชาชนหลงเชื่อ โดยมีการติดฉลากเลียนแบบ หรือติดเพียง คร่ึงเดียว ซ่ึงหาก กฟผ. ตรวจพบจะแจ้งดำเนินคดีตาม กฎหมาย ท้ังนี้ กฟผ. ได้จดทะเบียนเคร่ืองหมายรับรองตาม พ ระ ราช บั ญ ญั ติ เค ร่ือ งห ม าย ก ารค้ า ห าก บุ ค ค ล ใด ลอกเลียนแบบถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ดังนั้น ในการ เลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อให้มั่นใจว่าได้เครื่องใช้ไฟฟ้าท่ีมี ประสิทธภิ าพในการประหยัดพลังงานได้จริง ผู้บริโภคหรือผู้ซ้ือ ตอ้ งสังเกตและตรวจสอบให้มน่ั ใจว่าเป็นฉลากเบอร์ท่ีได้รับการ รับรองจริงจาก กฟผ. โดยสามารถสังเกตลักษณะของฉลาก เบอร์ 5 ได้ ดงั ภาพ

2. กลยุทธ์ อ. 2 อาคารประหยดั ไฟฟา้ กลยุทธ์ อ. 2 อาคารประหยัดไฟฟ้า เป็นการส่งเสริมให้ ผู้ป ระกอบ การภ าคธุรกิจและภ าคอุตสาห กรรม เห็ น ความสำคัญและพร้อมใจกันใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าท่ีมี ประสิทธิภาพสูง เช่นเดียวกับกลุ่มภาคที่อยู่อาศัยพร้อมไปกับ การใช้มาตรการต่าง ๆ ที่เป็นการประหยัดไฟฟ้า ซ่ึงได้แก่ การ บริหารการใช้ไฟฟ้า การปรับปรุงระบบป้องกันความร้อนเข้าสู่ อาคาร การใช้ระบบ ปรับอากาศประสิทธิภาพสูง การปรับปรุง ระบบแสงสว่าง และการจัดการอบรมให้ความรู้ ด้านการใช้ พลังงานอย่างถูกต้อง ลดต้นทุนการผลิตสินค้าให้สามารถ แข่งขันได้ในตลาดโลก โดยการประหยัดพลังงานไฟฟ้าใน อาคารสามารถดำเนนิ การได้ ดงั นี้ 1) การออกแบบวางตำแหน่งอาคาร ให้หันอาคารไปยังทิศ ท่ีหลบแดดทิศตะวนั ตก 2) ถ้าพื้นท่ีดินไม่เอ้ืออานวยให้วางอาคารหลบแดดทิศ ตะวันตก ให้ใช้ไม้ยืนต้นให้ ร่มเงาแก่อาคาร พร้อมท้ิงชายคา หลังคาหรอื จัดทาแผงบงั แดดช่วยเสรมิ การบังแดด 3) ผนัง หลังคา และฝ้าเพดานอาคาร ให้ใช้วัสดุท่ีมี คุณสมบัติเป็นฉนวนความรอ้ นสะท้อน หรือป้องกนั ความรอ้ น

4) ใช้วัสดุนวัตกรรมช่วยระบายความร้อน เช่น ลูกระบาย อากาศอลูมเิ นียมที่ทำงานโดยไม่ต้องอาศยั พลังงานไฟฟ้า 5) ระบบปรับอากาศ ให้ใช้ชนิดประหยัดไฟ และแยก สวิตช์เปิด – ปิดเฉพาะเคร่ือง เพื่อให้ควบคุมการเปิด -ปิดตาม ความประสงคก์ ารใชง้ านในแตล่ ะบริเวณ 6) ลดจานวนพัดลมดูดอากาศ เพื่อป้องกันการสูญเสีย อากาศเยน็ มใิ ห้ออกไปจาก หอ้ งปรับอากาศมากเกินไป 7) ระบบไฟฟ้าแสงสว่างให้พยายามใช้ประโยชน์จากแสง ธรรมชาติในเวลากลางวัน เช่น ใช้กระเบื้องโปร่งแสง หน้าต่าง ใช้กระจกใส เปน็ ตน้ 8) หลอดไฟให้ใช้ชนิดเกิดความร้อนที่ดวงโคมน้อย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ เพื่อเครื่องปรับอากาศไม่ต้องใช้พลังงาน มาลดความร้อนจากหลอดไฟแสงสวา่ งโดยไมจ่ าเปน็ 9) หลอดฟลูออเรสเซนต์ให้ใช้อุปกรณ์นวัตกรรม คือ บัล ลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟ และ ประหยัดค่าไฟฟ้า ใช้ครอบโลหะสะท้อนแสงช่วยเพ่ิมความ สว่างแก่หลอดไฟเป็น 2 – 3 เท่า โดยใช้จานวนหลอดไฟเท่า เดมิ

10) ออกแบบภูมิทัศน์รอบอาคารเพ่ือลดความร้อนเข้าสู่ ตวั อาคาร เชน่ ปลูกหญ้ารอบอาคาร ขุดสระน้า ติดตั้งน้ำพุ ดัก ลมกอ่ นพดั เขา้ สอู่ าคาร และปลูกไมย้ นื ตน้ ใหร้ ่มเงา เป็นตน้ 3. กลยุทธ์ อ. 3 อุปนิสัยประหยดั ไฟฟา้ กลยุทธ์ อ. 3 คือ อุปนิสัยประหยัดไฟฟ้า เป็นการปลูกจิต สานกึ และอปุ นิสยั ใหค้ นไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทย ใช้ พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดย กฟผ. ได้มีการนาร่องจัดทำ โครงการห้องเรียนสีเขียวข้ึนในโรงเรียนระดับต่าง ๆ ทั่ว ประเทศกว่า 420 โรงเรียน ได้จัดเป็น ฐานการเรียนรู้ มีการ ติดตั้งอุปกรณ์การเรียนรู้ให้เป็นฐานกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ฐาน การเรียนรู้ไฟฟ้า มีประโยชน์มากมาย แหล่งกำเนิดไฟฟ้า เปรียบเทียบประสิทธิภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น และ สอดแทรกแบ บฝึกหัดเกี่ยวกับการใช้พ ลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพเข้าไปในบทเรียน เพ่ือเสริมสร้างทัศนคติให้กับ เยาวชน และผลการดาเนินโครงการประสบผลสำเร็จสามารถ ขยายผลไปยงั ชุมชน จึงนับว่าเป็นโครงการที่เสริมสร้างทัศนคติ ในการใช้พลงั งานไฟฟา้ ไดอ้ ยา่ งมีประสทิ ธิภาพ การสร้างหรือพัฒนาอุปนิสัยประหยัดพลังงานอาจไม่ใช่ เร่ืองง่าย จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือ ร่วมใจจากสมาชิกใน ครัวเรือน องค์การหรือสานักงาน ซึ่งจำเป็นต้องสร้างความรู้

ความเข้าใจ ในเรื่องของแนวทางปฏิบัติที่นำไปสู่อุปนิสัยการ ประหยัดพลังงาน และผลท่ีจะได้รับ ทั้งในส่วนของตนเอง คือ สามารถประหยัดคา่ ใชพ้ ลงั งานไฟฟ้า และการช่วยประเทศชาติ ให้ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในภาพรวม ซ่ึงจะเป็นการเสริมสร้าง และสนบั สนุนความมั่นคงของพลังงานไฟฟ้า ปิด คอื ปดิ ไฟดวงท่ีไม่จำเป็น ปรับ คือ ปรับอณุ หภูมเิ ครอ่ื งปรับอากาศท่ี 26 องศา เซลเซียส ปลด คอื ปลดปลก๊ั เครอ่ื งใช้ไฟฟ้าท่ไี ม่ใช้งาน เปล่ยี น คือ เปลยี่ นมาใช้อุปกรณห์ รือเครื่องใชไ้ ฟฟ้าท่ี ประหยดั พลังงาน

เรื่องท่ี 2 ก ารเลื อก ซื้ อ ก ารใช้ แล ะก ารดู แล รัก ษ า เคร่อื งใช้ไฟฟา้ ภายในบ้าน โดยท่ัวไป เคร่ืองใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน มักมีการใช้ พลังงานสูงแทบทุกชนิด ดังน้ัน ผู้ใช้ต้องมีความรู้เก่ียวกับการ เลือกซื้อและการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดให้เหมาะสมและ ถกู วิธี เพอ่ื ทาให้เกดิ ความประหยัดและคุ้มค่า ในท่ีนี้จะกลา่ วถึง เครื่องใช้ไฟฟา้ ที่มีการใชท้ วั่ ไปในครัวเรือน ดงั นี้ 1. เคร่ืองทำน้ำอุ่นไฟฟา้ เคร่ืองทำน้ำอุ่นไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ท่ีทำให้น้ำร้อนขึ้น โดย อาศัยการพาความร้อนจาก ขดลวดความร้อน (Electrical Heater) ขณะท่ีกระแสน้าไหลผ่าน ส่วนประกอบหลักของ เครอ่ื ง ทำน้ำอุ่นไฟฟ้า คือ 1) ตวั ถังน้ำ จะบรรจนุ ำ้ ซงึ่ จะถกู ทำให้ร้อน 2) ขดลวดความร้อน เป็นอุปกรณท์ ใ่ี ห้ความร้อนกบั น้ำ 3) อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้า เม่อื อณุ หภมู ิของน้ำถงึ ระดบั ทตี่ งั้ ไว้

การเลอื กซอื้ และการใช้อย่างถูกวิธแี ละประหยัดพลังงาน 1) เลือกเคร่ืองทำน้ำอุ่นไฟฟ้าให้เหมาะสมกับการใช้ สำหรับ บ้านทั่วไปเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า ขนาดไม่เกิน 4,500 วัตต์ ก็ น่าจะเพียงพอ ซ่ึงจะช่วยทั้งประหยัดไฟฟ้าท่ีใช้ในเคร่ืองทำ นำ้ อุน่ ไฟฟา้ และปัม๊ น้ำ 2) ตง้ั อุณหภูมิน้ำไมส่ ูงจนเกนิ ไป (ปกตอิ ยูใ่ นช่วง 35 - 45 C) 3) ใช้หัวฝักบัวชนิดประหยัดน้ำ จะช่วยประหยัดน้ำได้ถึง ร้อย ละ 25 - 75 4) ใช้เคร่ืองทำน้ำอุ่นท่ีมีถังน้ำภายในตัวเครื่องและมีฉนวนหุ้ม เพราะสามารถลดการใช้พลังงานได้มากกว่าชนิดที่ไม่มีถังน้ำ ภายใน รอ้ ยละ 10 - 20 5) ปิดวาลว์ น้ำและสวิตช์ทันทีเม่ือเลกิ ใชง้ าน 6) ไมเ่ ปิดเครื่องตลอดเวลาขณะฟอกสบู่อาบน้ำ หรอื ขณะสระผม การดูแลรกั ษาและความปลอดภัย 1) หม่ันตรวจสอบการทำงานของเครอ่ื งใหม้ ีสภาพพร้อมใช้งานอยูเ่ สมอ โดยเฉพาะอยา่ งย่งิ ระบบความปลอดภัยของเครอ่ื ง 2) ตรวจดูระบบท่อน้ำและรอยตอ่ อยา่ ให้มกี ารรว่ั ซึม 3) เม่ือพบความผดิ ปกตใิ นการทำงานของเครอื่ ง ควรให้ชา่ งผู้ชานาญ ตรวจสอบ 4) ต้องมกี ารต่อสายดนิ

2. กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ก ระ ติ ก น้ ำ ร้อ น ไฟ ฟ้ าเป็ น อุ ป ก รณ์ ใน ก าร ต้ ม น้ ำให้ ร้อ น ประกอบด้วยขดลวดความร้อน (Electrical Heater) อยู่ ด้านล่างของกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า และอุปกรณ์ควบคุมอณุ หภูมิ (Thermostat) เป็นอุปกรณค์ วบคมุ การทำงาน เม่ือกระแสไฟฟ้าไหลผ่านขดลวด จะเกิดความร้อน และ ถ่ายเทไปยังน้าภายในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ทำให้น้ำมีอุณหภูมิ สูงขึ้นจนถึงจุดเดือด จากนั้นอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะตัด กระแสไฟฟ้าในวงจรหลักออกไป แต่ยังคงมีกระแสไฟฟ้าไหล ผ่านขดลวดความร้อน และแสดงสถานะนี้ โดยหลอดไฟ สัญญาณอุ่นจะสว่างข้ึน เมื่ออุณหภูมิของน้ำร้อนภายในกระติก นำ้ ร้อนไฟฟา้ ลดลงจนถงึ จุด ๆ หนึง่ อุปกรณ์ควบคุมอณุ หภูมจิ ะ ทำงานโดยปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดความรอ้ นเตม็ ทที่ ำ ใหน้ ้ำเดือดอีกคร้งั กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าโดยท่ัวไปที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะมี ขนาดความจุต้ังแต่ 2 - 4 ลิตร และใช้กำลังไฟฟ้าระหว่าง 500 - 1,300 วตั ต์

การเลอื กซื้อและการใช้อย่างถกู วิธแี ละประหยัดพลังงาน 1) เลือกซ้ือรนุ่ ทีม่ ตี รามาตรฐานอตุ สาหกรรม (มอก.) 2) ใส่น้ำให้พอเหมาะกับความต้องการหรือไม่สูงกว่าระดับท่ี กำหนดไว้ เพราะจะทำให้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเกิดความ เสียหาย 3) ระวังอย่าให้น้ำแห้ง หรือปล่อยให้ระดับน้ำต่ำกว่าขีดท่ี กำหนด เพราะจะทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในกระติกน้ำร้อน ไฟฟา้ เป็นอันตรายอยา่ งยง่ิ 4) ถอดปล๊ักเมื่อเลิกใช้น้ำร้อนแล้ว เพื่อลดการสิ้นเปลือง พลังงาน ไมค่ วรเสียบปลก๊ั ตลอดเวลา แตห่ ากมีความตอ้ งการใช้ น้ำร้อนเป็นระยะ ๆ ติดต่อกัน เช่น ในที่ทำงานบางแห่งท่ีมี น้ำ

ร้อนไว้สำหรับเตรียมเครื่องด่ืมต้อนรับแขก ก็ไม่ควรถอดปลั๊ก ออกบ่อย ๆ เพราะทุกครั้งเมื่อดึงปลั๊กออกอุณหภูมิของน้ำจะ ค่อย ๆ ลดลง กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าไม่สามารถเก็บความร้อนได้ นาน เมื่อจะใช้งานใหม่ก็ต้องเสียบปล๊ัก และเริ่มต้มน้ำใหม่ซ่ึง เป็นการส้นิ เปลอื งพลงั งาน 5) อยา่ นำสิง่ ใด ๆ มาปิดช่องไอน้ำออก 6) ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ใน สภาพใชง้ านไดเ้ สมอ 7) ไม่ควรต้งั ไว้ในหอ้ งทีม่ กี ารปรบั อากาศ การดูแลรักษา การดูแลรักษากระติกน้ำร้อนไฟฟ้าใหม้ ีอายุการใช้งานนาน ข้ึน ลดการใช้พลังงานลง และป้องกันอุบัติเหตุ หรืออันตรายที่ อาจจะเกิดข้นึ 1. หมั่นตรวจดูสายไฟฟ้าและข้ัวปล๊ักให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เสมอ 2. ควรนำนำ้ ทสี่ ะอาดเทา่ น้ันมาตม้ มิฉะนัน้ ผิวในกระติกน้ำร้อน ไฟฟ้าอาจเปล่ียนสี เกิดคราบสนิมและตะกรนั 3. หมั่นทำความสะอาดตวั กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าด้านใน อย่าใหม้ ี คราบตะกรัน ซึ่งจะเป็นตัวต้านทาน การถ่ายเทความร้อนจาก

ขดลวดความร้อนไปสู่น้ำ ทำให้เวลาในการต้มน้ำเพิ่มข้ึน เป็น การสูญเสยี พลงั งานโดยเปลา่ ประโยชน์ 4. เม่ือไม่ต้องการใช้กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ควรล้างด้านในให้ สะอาด แล้วคว่ำลง เพ่ือให้น้ำออกจากตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า แลว้ ใชผ้ า้ เช็ดด้านในให้แห้ง 5. การทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของกระตกิ น้ำรอ้ นไฟฟ้า - ตัวและฝากระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้หมาดแล้ว เช็ดอยา่ งระมัดระวัง - ฝาปิดดา้ นใน ใชน้ ้ำหรือน้ำยาลา้ งจานล้างให้สะอาด - ตัวกระติกน้ำรอ้ นไฟฟ้าด้านใน ใช้ฟองน้ำชุบน้ำเช็ดใหท้ ่ัว ล้าง ให้สะอาดด้วยน้ำ โดยอย่าราดน้ำ ลงบนส่วนอ่ืนของตัวกระติก น้ำร้อนไฟฟ้า นอกจากภายในกระติกน้ำร้อนไฟฟ้าเท่าน้ัน อย่า ใช้ของมีคมหรือฝอยขัดหม้อขูดหรือขัดตัวกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า ดา้ นใน เพราะจะทำให้สารเคลือบหลุดออกได้

3. พดั ลม พัดลมที่ใช้ในบ้านเป็นอุปกรณ์หลักที่ช่วยในการหมุนเวียน อากาศ และระบายความรอ้ นภายในบา้ น ซึ่งในปจั จบุ นั พัดลมท่ี ใช้มหี ลากหลายลักษณะและประเภทขน้ึ อยกู่ บั การใชง้ าน ส่วนประกอบหลักของพัดลม ได้แก่ ใบพัด ตะแกรงคลุม ใบพัด มอเตอร์ไฟฟ้า สวิตช์ควบคุมการทางาน และกลไก ควบคุมการหมุนและส่าย การเลือกซื้อและการใชอ้ ย่างถกู วิธแี ละประหยัดพลังงาน 1. เลือกซื้อพัดลมท่ีเป็นระบบธรรมดา เพราะจะประหยัดไฟ กว่าระบบท่มี ี รีโมทคอนโทรล หรือระบบไอนา้ 2. เลือกซื้อย่ีห้อและรุ่นที่ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) และมีฉลากเบอร์ 5 3. เลือกท่ีมีขนาดใบพัดและกาลังไฟฟ้าให้เหมาะสม และตรง กับความตอ้ งการใชง้ าน

4) เลือกใช้ความแรงของลมให้เหมาะกับความต้องการ ความ แรงของลมยิ่งมากยิง่ เปลืองไฟ 5) ปิดพัดลมทันทีเมอ่ื ไมใ่ ช้งาน 6) ในกรณีที่พัดลมมีระบบรีโมทคอนโทรลอย่าเสียบปลั๊กท้ิงไว้ เพราะจะมไี ฟฟา้ เลี้ยง อุปกรณต์ ลอดเวลา 7) ควรวางพัดลมในที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะพัดลมใช้ หลักการดูดอากาศจากบริเวณรอบ ๆ ทางด้านหลังของตัว ใบพัด แล้วปล่อยออกสู่ด้านหน้า เช่น ถ้าอากาศบริเวณรอบ พัดลมมีการถ่ายเทดี ไม่ร้อนหรืออับช้ืน ก็จะได้รับลมเย็น รู้สึก สบาย และยังทำให้มอเตอร์สามารถระบายความร้อนได้ดี เป็น การยืดอายุการใชง้ านอีกดว้ ย การดูแลรักษา การดูแลรักษาพัดลมอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้พัดลม ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และยงั ช่วยยืดอายุการทางาน มีข้อ ควรปฏิบัติ ดังนี้ 1) หม่ันทำความสะอาดตามจุดต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างย่ิง ใบพัด และตะแกรงครอบใบพัด อย่าใหฝ้ ุ่นละอองเกาะจบั และ ต้องดูแลใหม้ ีสภาพดอี ยู่เสมอ อย่าให้แตกหัก ชำรดุ หรอื โค้งงอ ผดิ ส่วน จะทำให้ลมท่ีออกมามคี วามแรงของลมลดลง

2) หมั่นทำความสะอาดช่องลมตรงฝาครอบมอเตอร์ของพัดลม ซึ่งเป็นช่องระบาย ความร้อนของมอเตอร์ อย่าให้มีคราบน้ำมัน หรือฝุ่นละอองเกาะจับ เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพของ มอเตอร์ลดลง และสน้ิ เปลืองไฟฟา้ มากข้ึน 4. โทรทัศน์ โทรทัศน์เป็นอุปกรณ์ที่แปลงสัญญาณคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นภาพ ด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มี ความซับซ้อน มี สว่ นประกอบ ดังนี้ 1) ส่วนประกอบภายนอก คือ ตัวโครงท่ีห่อหุ้มอุปกรณ์ อเิ ล็กทรอนิกส์ จอภาพซ่ึงจะมี การเคลือบสารพิเศษทางด้านใน ป่มุ หรือสวิตช์ตา่ ง ๆ และช่องต่อสายอากาศ เปน็ ต้น 2) ส่วนประกอบภายใน คือ อุปกรณ์อเิ ลก็ ทรอนิกส์ ตัวรับ เปล่ียนสัญญาณที่มาในรูป ของคล่ืนแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นภาพ และเสียง ส่วนประกอบของจอภาพและระบบเสียงรวมทั้งลา โพง เปน็ ตน้

การเลือกซ้ือและการใช้อยา่ งถูกวธิ แี ละประหยดั พลงั งาน 1) การเลือกใชโ้ ทรทัศน์ควรคานึงถงึ ความต้องการในการใช้งาน โดยพิจารณ าจากขนาดและการใช้กำลังไฟฟ้า สำหรับ เทคโนโลยเี ดยี วกัน โทรทศั น์ท่ีมีขนาดใหญ่ ย่งิ กินไฟมากขึ้น 2) อย่าเสียบปล๊ักทิ้งไว้ เพราะโทรทัศน์จะมีไฟฟ้าหล่อเลี้ยง ระบบภายในอยู่ตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองไฟ และอาจ กอ่ ให้เกิดอนั ตรายในขณะเกดิ ฟ้าแลบได้ 3) ปิดและถอดปล๊ักทันทีเมื่อไม่มีคนดู หากชอบหลับหน้า โทรทัศน์บ่อย ๆ ควรใช้โทรทัศน์ รุ่นท่ีต้ังเวลาปิดโดยอัตโนมัติ เพื่อช่วยประหยดั ไฟฟ้า 4) หากชมโทรทศั น์ชอ่ งเดียวกนั ควรดูด้วยกัน ประหยัดท้ังคา่ ไฟ และอบอนุ่ ใจได้อยดู่ ว้ ยกนั ทั้งครอบครัว 5) เลิกเปิดโทรทัศน์ล่วงหน้าเพ่ือรอดูรายการที่ช่ืนชอบ เปิดดู รายการเมือ่ ถึงเวลาออกอากาศ 6) ไม่ควรปรับจอภาพให้สว่างมากเกินไป และไม่ควรเปลี่ยน ชอ่ งบ่อย เพราะจะทาให้หลอดภาพมีอายกุ ารใช้งานลดลง และ สิ้นเปลอื งไฟฟ้าโดยไมจ่ ำเปน็

การดแู ลรักษา การดูแลรักษาและใช้โทรทัศน์ให้ถูกวิธี นอกจากจะช่วยให้ โทรทัศน์เกิดความคงทน ภาพท่ีได้คมชัด และมีอายุการใช้งาน ยาวนานขนึ้ ควรมีขอ้ ปฏิบัติ ดังนี้ 1) ควรวางโทรทัศน์ไว้ในจุดที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อให้ เครอ่ื งสามารถระบายความร้อนไดส้ ะดวก 2) หมั่นทำความสะอาดเป็นประจำเพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองท่ี เกาะบนจอภาพ โดยใช้ผ้านุ่มเช็ดตัวเคร่ืองโทรทัศน์ ส่วน จอภาพควรใช้ผงซักฟอกอย่างอ่อน หรือน้ำยาล้างจานผสมกับ น้ำเช็ดเบา ๆ จากนั้นเช็ดด้วยผ้านุ่มให้แห้ง และต้องถอดปล๊ัก ออกกอ่ นทำความสะอาดทุกคร้ัง 5. เตารีดไฟฟ้า เตารีดไฟฟ้าเป็นเคร่ืองใช้ไฟฟ้าที่มีใช้กันแทบทุกครัวเรือน หากเปรียบเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอ่ืน ๆ เตารีดจัดเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้าท่ีใช้กำลังไฟฟ้าสูง การทราบแนวทางการเลือก ซื้อและใช้งานอย่างถูกวิธีจะสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ ใน ท้องตลาดเตารีดสามารถแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ เตารีดแบบ ธรรมดา แบบมไี อน้ำ และแบบกดทบั

ส่วนประกอบและการทำงานเตารีดมีส่วนประกอบสำคัญ 3 สว่ น คอื 1) ไส้เตารีดไฟฟ้า ทำมาจากโลหะผสมระหว่างนิกเกิลและ โครเมียม ทำหน้าที่ให้กำเนิดความร้อนเม่ือได้รับกระแสไฟฟ้า โดยความร้อนจะมากหรือน้อยขึ้นกับส่วนผสมของโลหะและ ความยาวขดลวด 2) เทอร์มอสแตต ทำหน้าที่ปรับความร้อนของไส้เตารีดให้ เท่ากับระดับทไ่ี ดต้ ้ังไว้ 3) แผ่นโลหะดา้ นลา่ งของเตารีด ทำหน้าทีเ่ ป็นตวั กดทบั เวลา รีด และกระจายความร้อน การเลือกซื้อและการใช้เตารีดไฟฟ้าอย่างถูกวิธีและประหยัด พลังงาน ในการใช้เตารีดไฟฟ้าอย่างประหยัดพลังงาน เราไม่ควรที่ จะลดปรมิ าณความร้อนท่ีใช้ในการรีดลง แต่ควรใช้เตารีดไฟฟ้า

รีดผ้าอย่างรวดเร็วที่ระดับความร้อนที่เหมาะสมกับความหนา และชนดิ ของผา้ รวมทงั้ ควรปฏบิ ตั ดิ งั น้ี 1) เลือกซ้ื อเฉ พ าะเต ารีด ไฟ ฟ้ าท่ี ได้ รับ ม าต รฐาน อตุ สาหกรรม (มอก.) และมีฉลากเบอร์ 5 2) เลือกซื้อขนาดและกาลังไฟฟ้าให้เหมาะกับความ ต้องการและลักษณะการใชง้ าน 3) ควรเกบ็ ผา้ ท่รี อรดี ใหเ้ รยี บรอ้ ย และให้ผา้ ยบั น้อยทสี่ ุด 4) ควรแยกประเภทผ้าหนาและผ้าบาง เพื่อความสะดวก ในการรดี 5) ควรรวบรวมผ้าที่จะรีดแต่ละคร้ังให้มากพอ การรีดผ้า ครงั้ ละชุดทำใหส้ ิน้ เปลืองไฟฟ้ามาก 6) ไม่ควรพรมน้ำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้สูญเสีย ความรอ้ นจากการรดี มาก 7) ควรเริ่มรีดจากผ้าบาง ๆ หรือต้องการความร้อนน้อย ก่อน จากน้ันจึงรีดผ้าท่ตี อ้ งการความร้อนสูง และควรเหลือผา้ ท่ี ต้องการความรอ้ นน้อยสว่ นหนง่ึ ไวร้ ีดในตอนทา้ ย 8) ควรถอดปลกั๊ กอ่ นเสร็จสน้ิ การรีด 3 - 4 นาที

การดูแลรกั ษา 1. ตรวจดูหน้าสัมผสั เตารีดไฟฟ้า หากพบคราบสกปรก ให้ ใช้ฟองน้ำชุบน้ำยา ทำความสะอาดเช็ดออก เพราะคราบ สกปรกจะเป็นตัวต้านทานความร้อน ทำให้สน้ิ เปลืองไฟฟ้ามาก ขึ้นในการเพม่ิ ความรอ้ น 2. สำหรับเตารีดไฟฟ้าไอน้ำ น้ำท่ีใช้ควรเป็นน้ำกลั่นเพ่ือ ป้องกันการเกิดตะกรัน ซึ่งตะกรันจะเป็นสาเหตุของการเกิด ความตา้ นทานความรอ้ น 3. เม่ือเกิดการอุดตันของช่องไอน้ำซึ่งเกิดจากตะกรัน เรา สามารถกำจัดได้โดยเติมน้ำส้มสายชูลงในถังเก็บน้ำของเตารีด ไฟ ฟ้ าไอน้ ำ แล้วเสียบ สายไฟ ให้ เตารีดร้อนเพ่ื อท ำให้ น้ำส้มสายชูกลายเป็นไอ จากนั้นเติมน้ ำลงไป เพ่ือล้าง น้ำส้มสายชูออกให้หมด แล้วจึงใช้แปรงเล็ก ๆ ทำความสะอาด ช่องไอน้ำ 4. การใช้เตารีดไฟฟ้าไปนาน ๆ แม้ว่าจะไม่เกิดการ เสียหายชำรุด ก็ควรมีการตรวจหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ภายใน บางอย่าง รวมทั้งสายไฟท่ีต่อกันอยู่ซึ่งอาจชำรุด เสื่อมสภาพ ทำให้วงจรภายในทางานไมส่ มบูรณ์

6. ตู้เยน็ ตู้เย็น เป็นอุปกรณ์ท่ีมีใช้แพร่หลายในครัวเรือน เป็น อุปกรณ์ทำความเย็นเพ่ือถนอมอาหารโดยการลดอุณหภูมิ ตู้เย็นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานตลอด 24 ชั่วโมง ดังน้ันการ เลือกและใช้ตู้เย็นอย่างเหมาะสมจะช่วยประหยัดพลังงาน ไดม้ าก อุ ป ก รณ์ ห ลั ก ๆ ท่ี ท ำให้ ภ าย ใน ตู้ เย็ น เกิ ด ค ว าม เย็ น ประกอบดว้ ย 1. คอมเพรสเซอร์ ทำหน้าท่ีในการอดั และดูดสารทำความ เยน็ ใหห้ มนุ เวยี นในระบบ ของตู้เย็น 2. แผงทำความเย็น มีหน้าท่ีกระจายความเย็นภายใน ตเู้ ย็น

3. แผงระบายความร้อน เป็นส่วนท่ีใช้ระบายความร้อน ของสารทำความเย็น แผงระบายความร้อนนี้ติดตั้งอยู่ด้านหลัง ของตเู้ ย็น 4. ตัวตู้เย็นทำจากโลหะ และอัดฉีดโฟมอยู่ระหว่างกลาง เพอ่ื ทำหนา้ ท่เี ป็นฉนวนกันความร้อนจากภายนอก โดยปกติเรา ระบขุ นาดของตเู้ ย็นเป็นคิว หรือลูกบาศก์ฟตุ 5. อุปกรณ์อ่ืน ๆ เช่น อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ สวิตช์โอ เวอร์โหลด พดั ลมกระจาย ความเยน็ ฯลฯ ความเย็นของตู้เยน็ เกิดขึ้นจากระบบทำความเย็น เม่ือเราเสียบ ปล๊ักไฟฟ้าให้กับตู้เย็น คอมเพรสเซอร์จะดูดและอัดไอสารทำ ความเย็นให้มีความดันสูงขึ้น และไหลไปยังแผงระบายความ ร้อนเพ่ือถ่ายเทความร้อนสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก จากน้ันจะ เปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ไหลผ่านวาลว์ ควบคมุ สารทำความ เย็นเพือ่ ลดความดัน ไหลต่อไปทีแ่ ผงทำความเยน็ เพื่อ ดูดความ ร้อนจากอาหารและเคร่ืองด่ืมที่แช่อยู่ในตู้เย็น ณ จุดน้ี สารทำ ความเย็นจะเปล่ียนสถานะกลายเป็นไอ และกลับไปยัง คอมเพรสเซอร์เพ่อื เรม่ิ วงจรทำความเย็นใหมอ่ ีกคร้ัง

การเลือกซอ้ื และการใชอ้ ย่างถูกวธิ ีและประหยดั พลงั งาน 1) เลือกซือ้ ตเู้ ยน็ ทีไ่ ด้รบั การรับรองฉลากเบอร์ 5 2) เลือกซื้อประเภทและขนาดให้เหมาะกับความต้องการและ ลกั ษณะการใชง้ าน 3) ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มตามจานวนคร้ังของการเปิด - ปิดตู้เย็น เพราะเม่ือเปิดตู้เย็น ความร้อนภายนอกจะไหลเข้าตู้เย็น ทาให้ คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักมากขึ้นเพ่ือรักษาอุณหภูมิ ภายในตเู้ ย็นใหค้ งเดิมตามท่ีตัง้ ไว้ 4) ถ้าอุณหภูมิโดยรอบสูงขึ้น ปริมาณความร้อนจะถูกถ่ายเท เข้าไปในตู้เย็นมากขึ้น เป็นการเพิ่มภาระให้กับระบบทำความ เย็น ดังนั้นจึงไม่ควรติดตั้งตู้เย็นใกล้กับแหล่งกำเนิด ความร้อน ใด ๆ หรอื รับแสงอาทิตยโ์ ดยตรง 5) ไม่เก็บอาหารในตู้เย็นมากเกินไป เพราะจะทำให้อุณหภูมิใน ตู้เย็นไม่สม่ำเสมอ ควรให้มีช่องว่าง เพื่อให้อากาศภายใน ไหลเวยี นได้สม่ำเสมอ 6) ถ้านำอาหารท่ีมีอุณหภูมิสูงไปแช่ในตู้เย็นจะส่งผลกระทบ ดงั น้ี (1) ทำให้อาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณข้างเคียงเสื่อม คณุ ภาพหรอื เสยี ได้

(2) หากตู้เย็นกำลังทำงานเต็มท่ีจะทำให้ไอสารทำความ เย็ น ก่ อน เข้ าเค รื่อ งอั ด ร้อ น จน ไม่ สามารถท ำห น้ าท่ี ห ล่ อเย็ น คอมเพรสเซอร์ได้เพียงพอ และส่งผลให้อายุคอมเพรสเซอร์ส้ัน ลง (3) สญู เสียพลังงานไฟฟ้ามากขน้ึ 7) เม่ือดึงปลั๊กออกแล้วไม่ควรเสียบปลั๊กใหม่ทันที เพราะเม่ือ เครื่องหยุด สารทำความเย็นจากส่วนที่มีความดันสูงจะไหลไป ทางที่มีความดันต่ำจนความดันภายในวงจรเท่ากัน ดังน้ันถ้า คอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานทันที สารทำความเย็นยังไหลกลับไม่ ทัน เคร่ืองจงึ ตอ้ งออกแรงฉุดมากเพื่อเอาชนะแรงเฉื่อยและแรง เสียดทาน ซึ่งจะสง่ ผลใหม้ อเตอรข์ องเคร่อื งอัดทำงานหนัก และ เกดิ การชำรดุ หรอื อายกุ ารใช้งานสนั้ ลง การดูแลรักษา 1. สำหรับตู้เย็นที่มีแผงระบายความร้อนควรทำความ สะอาดแผงระบายความร้อนตู้เย็นสม่ำเสมอ ถ้ามีฝุ่นเกาะ สกปรกมาก จะระบายความร้อนไม่ดี มอเตอร์ต้องทำงานหนัก เปลืองไฟมากข้นึ 2. อย่าให้ขอบยางประตมู ีจุดชารุดหรือเส่ือมสภาพ เพราะ ความร้อนจะไหลเข้าตู้เย็น ทำให้มอเตอร์ต้องทำงานหนักและ เปลืองไฟฟ้ามาก ตรวจสอบโดยเสียบกระดาษระหว่างขอบยาง

ประตูแล้วปิดประตู ถ้าสามารถเลื่อนกระดาษไปมาได้แสดงว่า ขอบยางเสอ่ื มสภาพ ควรตดิ ตอ่ ช่างมาเปลีย่ นขอบยาง 3. อุปกรณ์ระบายความร้อน จะติดต้ังอยู่ด้านหลังตู้เย็น เพื่อให้สามารถระบายความร้อนได้ดี ควรวางตู้เย็นให้มี ระยะห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 10 ซม. ด้านบนอย่างน้อย 30 ซม. ดา้ นข้างอย่างน้อย 2 - 10 ซม. 7. หลอดไฟ หลอดไฟ เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างท่ีมีใช้กันทุกครัวเรือน ถือเป็นสิ่งจำเป็นสาหรับการดำรงชีวิต นอกจากประโยชน์ใน เร่ืองแสงสว่างแล้ว ยังสามารถใช้ในการตกแต่ง และสร้าง บรรยากาศอีกด้วย โดยหลอดไฟที่ใช้กันอยู่มีหลายชนิด มี คุณสมบัติในการให้แสงสว่างและทางไฟฟ้าต่างกัน ดังน้ันหาก ผู้ใช้รู้จักเลือกใช้หลอดไฟอย่างเหมาะสม จะทำให้สามารถ ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายได้มาก เพื่อให้สามารถ เลอื กซื้อได้อย่างถกู ต้อง ผู้ใช้ควรรู้จักคุณสมบัติ ของหลอดไฟก่อน ซ่ึงคุณสมบัติของหลอดไฟต่าง ๆ เหล่านี้ ส่วนมากมักจะมีบอกอยู่ท่ีข้างกล่อง หรือฉลากกำกับ ผลิตภัณฑ์ ก่อนซื้อจึงควรมีความเข้าใจเก่ียวกับคุณสมบัติ ดังกล่าว เพ่ือเลือกซื้อหลอดไฟประเภทต่าง ๆ ได้อย่าง

เหมาะสม ต่อไปนี้คือ ชนิด คุณสมบัติและลักษณะการใช้ของ หลอดไฟประเภทต่าง ๆ ท่ีนยิ มใชใ้ นบา้ นพกั และอาคารตา่ ง ๆ

การเลือกซอ้ื และการใชอ้ ยา่ งถกู วิธแี ละประหยดั พลังงาน 1) สำรวจรูปทรงของหลอดไฟ เพื่อกำหนดการใช้งาน ทิศ ทางการใหแ้ สง และองศาของแสง 2) สำรวจข้ัวหลอดที่ใช้ ซ่ึงมีแบบขั้วเกลียว ข้ัวเกลียวเล็ก ขั้ว เข็ม หรอื ขวั้ เสยี บ

3) ตรวจสอบว่า ต้องมีอุปกรณ์ใดท่ีใช้กับหลอดไฟ หรือ โคมไฟ เช่น หม้อแปลง บัลลาสต์ สวติ ชห์ รีไ่ ฟ เปน็ ตน้ 4) พิจารณาคุณสมบัติของหลอดไฟ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยคณุ สมบัติของหลอดไฟทต่ี ้องนำมาพิจารณา มีดังนี้ - ค่าฟลักซ์การส่องสว่าง (Luminous Flux) เป็นปริมาณแสง สว่างท้ังหมดที่ได้จากแหล่งกาเนิดแสง มีหน่วยวัดเป็นลูเมน (lm) - ค่าความสว่าง (Illuminance) เป็นปริมาณแสงสว่างที่ตก กระทบบนวัตถุ (lumen) ต่อ 1 หน่วยพื้นท่ี มีหน่วยเป็น ลูเมน ต่อตารางเมตร (lm/sq.m.) หรือ ลักซ์ (Lux) น่ันเอง โดยทั่วไป อาจเรียกว่า ระดับความสว่าง (Lighting level) จึงเป็นตัวที่ บอกวา่ แสงท่ไี ด้เพยี งพอหรอื ไม่ - ค่าความเข้มการส่องสว่าง (Luminous Intensity) เป็นความ เข้มของแสงที่ส่องออกมาจากวัตถุ โดยทั่วไปจะวัดเป็นจำนวน เท่าของความเข้มท่ีได้จากเทียนไข 1 เล่ม จึงมีหน่วยเป็นแคน เดลา (Candela, cd) - ค่าความส่องสวา่ ง (Luminance) เป็นตัวที่บอกปรมิ าณแสงที่ สะท้อนออกมาจากวัตถุ (candela) ต่อ 1 หน่วยพ้ืนท่ี มีหน่วย

เป็น แคนเดลาต่อตารางเมตร (cd/sq.m.) บางครั้งจึงอาจ เรยี กวา่ ความจา้ (Brightness) - ค่าประสิทธิผล (Efficacy) เป็นปริมาณแสงสว่างท่ีออกมาต่อ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ มีหน่วยวัดเป็น ลูเมนต่อวัตต์ (lm/w) หลอดที่ มคี า่ ประสทิ ธิผลสูง แสดงวา่ หลอดนี้ใหป้ ริมาณแสงออกมามาก แตใ่ ชก้ ำลังไฟฟา้ นอ้ ย - ค่าความถูกต้องของสี (Colour Rendering, Ra หรือ CRI) เป็นค่าทใี่ ช้บอกวา่ หลอดไฟประเภทต่าง ๆ เม่อื แสงส่องสีไปบน วัตถุจะทาให้สีของวัตถุน้ันผิดเพี้ยนจากความเป็นจริงมากน้อย เพียงใด ไม่มีหน่วยแต่มักเรียกเป็น เปอร์เซ็นต์ (%) ตามค่า ความถูกต้อง เช่น แสงอาทิตย์มีค่า Ra = 100 เพ ราะ แสงอาทิตย์ให้สเปกตรัมครบทุกสี เมื่อส่องไปบนวัตถุจะไม่เห็น ความผดิ เพยี้ นของสี เปน็ ต้น - ค่าอุณหภูมิสีของแสง (Color Temperature) สีของแสงที่ได้ จากหลอดไฟเทียบกบั สีที่เกดิ จากการเผาวตั ถุดาอุดมคตใิ ห้ร้อน ท่ีอุณหภูมินั้น มีหน่วยเป็นเคลวิน (K) อุณหภูมิสีเป็นตัวท่ีบอก ว่าแสงที่ได้มีความขาวมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีค่าอุณหภูมิสีของ แสงต่ำแสงท่ีได้จะออกมาในโทนเหลืองหรือแดง ถ้ามีค่า

อุณหภูมิสีของแสงสูงแสงท่ีได้จะออกมาในโทนขาวกว่า ใน ทอ้ งตลาดทั่วไปมีใหเ้ ลือก 3 โทนสี นอกจากน้ีแล้วสิ่งท่ีควรรู้เพิ่มเติม คือ โทนสีของอุณหภูมิสี ของแสง เพื่อให้สามารถได้แสงตามต้องการ โดยโทนสีของ หลอดไฟในปัจจบุ นั มดี งั นี้ สีวอร์มไวท์ (Warm White) ให้แสงสีแดงออกโทนส้ม เป็น โทนสีร้อน โทนอบอ่นุ คา่ อณุ หภมู สิ ขี องแสงอยู่ที่ ต่ำกว่า 3,000 เคลวิน สีคูลไวท์ (Cool White) ให้แสงสีจะเร่ิมออกมาทางสีขาว เป็นโทนสีที่ดูเย็นสบายตา ดูค่อนข้างสว่างกว่าเม่ือเทียบกับสี วอร์มไวท์ ค่าอณุ หภูมิสีของแสงอยทู่ ี่ 3,000 - 4,500 เคลวนิ สีเดย์ไลท์ (Day Light) ให้แสงสีโทนออกขาวอมฟ้า แต่ คล้ายแสงธรรมชาติ ตอนเวลากลางวัน ดังน้ันค่าความถูกต้อง ของสีจึงมีมากกว่าเม่ือเทียบกับสีวอร์มไวท์หรือสีคูลไวท์ ค่า อณุ หภมู ิสีของแสงอยทู่ ่ี 4,500 - 6,500 เคลวนิ ขึน้ ไป 5) พิจารณาถึงค่าความสว่างที่เหมาะสม โดยสมาคมไฟฟ้าและ แสงสว่างแห่งประเทศไทย ได้มีการกำหนดค่าความส่องสว่างที่ เหมาะสมของแต่ละห้องในบา้ น

6) พิจารณาโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า หลอดไฟ แต่ละชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าแตกต่างกัน โดยหลอด LED จะ ประหยัดไฟฟ้ามากที่สดุ ซึ่งสามารถเปรียบเทยี บการใชพ้ ลงั งาน ไฟฟา้ และค่าใช้จ่ายของหลอดไฟทัง้ 3 แบบ 7) ควรเลือกซ้ือหลอด LED หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรส เซนต์ ท่ีมีฉลากเบอร์ 5 เนื่องจากกินไฟน้อย และมีอายุการใช้ งานนาน 8) เลอื กใช้หลอดไฟท่ีไดม้ าตรฐาน 9) ลดจำนวนหลอดไฟในบริเวณทอ่ี าศยั แสงธรรมชาติได้ 10) ควรตั้งโคมไฟที่โต๊ะทางาน หรือติดต้ังไฟเฉพาะจุด แทน การเปดิ ไฟท้ังหอ้ งเพอื่ ทางาน 11) ปดิ สวิตช์ไฟ เม่ือไมใ่ ชง้ าน การดูแลรกั ษา 1) หมั่นทำความสะอาดหลอดไฟ เพราะจะช่วยเพิ่มแสงสว่าง โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากข้ึน ควรทำความสะอาดอย่างน้อย 4 ครงั้ ต่อปี หรือทุก ๆ 3 เดอื น 2) สำหรับหลอดไฟท่ีเก็บไว้ ควรเก็บในบริเวณที่ไม่มีการ กระทบกระทั่งกันจนเกดิ การชารุดเสยี หาย

เรื่องที่ 3 การวางแผนและการคานวณค่าไฟฟา้ ในครัวเรือน แม้ว่าทุกคนจะช่วยกันประหยัดไฟฟ้า แต่ในบางครัวเรือน ยังไม่สามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้ เนื่องจากไม่ทราบว่าค่าไฟฟ้าใน แต่ละเดือน มาจากการใช้เคร่ืองใช้ไฟ ฟ้ าชนิ ดใด และ องค์ประกอบค่าไฟฟ้ามอี ะไรบ้าง ดังนั้นหากสามารถคำนวณค่า ไฟฟ้าในครัวเรือนและวางแผนการใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนได้ ก็จะ สามารถช่วยให้ ประหยัดค่าไฟ ฟ้ าลงได้ โดยในเร่ืองน้ี ประกอบด้วย 2 ตอน คอื ตอนท่ี 1 การคำนวณค่าไฟฟ้าในครัวเรอื น ตอนท่ี 2 การวางแผนการใชไ้ ฟฟ้าในครัวเรือน ตอนท่ี 1 การคำนวณค่าไฟฟา้ ในครวั เรอื น ค่าไฟฟ้าที่เราชาระอยู่ทุกวันน้ี ไม่เหมือนกับค่าสินค้าทั่ว ๆ ไป เชน่ ซ้ือน้ำท่ีบรรจุขวด ราคาขวดละ 5 บาท จำนวน 2 ขวด แม่ค้าคิดราคา 10 บาท แต่ถ้าซ้ือ 12 ขวด แทนท่ีจะคิดท่ีราคา 60 บาท อาจจะลดให้เหลือ 55 บาท นั่นหมายถึงว่า ย่ิงซ้ือจาน วนมาก ราคามีแนวโน้มจะถูกลง เข้าตำราเหมาโหลถูกกว่า แต่ ค่าไฟฟ้ากลับใช้หลักคิดตรงกันข้าม กล่าวคือ ราคาไฟฟ้าถ้ายิ่ง ใช้มาก ค่าไฟฟ้าจะยิ่งสูงขึ้น เราเรียกอัตราชนิดน้ีว่า “อัตรา ก้าวหน้า” สาเหตุท่ีใช้อัตราก้าวหน้านี้ เน่ืองจากเชื้อเพลิงท่ีใช้ ผลติ ไฟฟา้ มีจำกัดและตอ้ งนำเข้าจากตา่ งประเทศ ส่งผลกระทบ

ต่อประเทศชาติ จึงต้องการให้ประชาชนใช้ไฟฟ้าเท่าท่ีจาเป็น และใชอ้ ยา่ งประหยัด จึงต้งั ราคา คา่ ไฟฟ้าให้เปน็ อตั รากา้ วหนา้ 1) องคป์ ระกอบคา่ ไฟฟ้า หากเรามาดูค่าไฟฟ้าที่จ่ายกันอยู่ในปัจจุบัน จะพบว่า มี องค์ประกอบ 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าฐาน ค่าไฟฟ้าผัน แปร (Ft) และภาษมี ลู คา่ เพ่มิ (1) คา่ ไฟฟา้ ฐาน ค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งการไฟฟ้านครหลวงใช้คำว่า ค่าพลังงาน ไฟฟ้า เป็นค่าไฟฟ้าท่ีสะท้อนต้นทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบสายส่ง ระบบจำหน่าย และค่าการผลิตพลังงานไฟฟ้า ภายใต้สมมติฐานความต้องการไฟฟ้า ค่าเช้ือเพลิง ค่าซ้ือไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ ณ วันที่กำหนดโครงสร้างค่า ไฟฟ้า โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะ พิจารณาปรับค่าไฟฟ้าฐานคราวละ 3 -5 ปี ดังนั้นในระหว่าง ชว่ งเวลาดังกล่าว ค่าใช้จ่ายท่ีอยู่เหนือการควบคุม คือ ค่าไฟฟ้า ผันแปร (Ft) ที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตไฟฟ้า ซ่ึงอาจมีการ เปล่ียนแปลงทั้งเพ่ิมข้ึนหรือลดลง คณะกรรมการกากับกิจการ พลังงาน (กกพ.) จึงใช้กลไกตามสูตรอัตโนมัติมาปรับค่าไฟฟ้า ผันแปร (Ft)

(2) ค่าไฟฟา้ ผนั แปร (Ft) ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือท่ีนิยมเรียกกันว่าค่าเอฟที (Ft) หมายถึง ค่าไฟฟ้าท่ีสะท้อนการเปล่ียนแปลงของค่าใชจ้ ่ายท่ีอยู่ นอกเหนือการควบคุม ได้แก่ ค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้า และ ค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐท่ีเปลี่ยนไปจากค่าไฟฟ้าฐาน โดย คณะกรรมการกากับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะพิจารณาปรับ ค่าทกุ 4 เดือน (3) ภาษมี ูลค่าเพมิ่ ตามหลักการภาษีแล้ว ผู้ใช้สินค้าหรือผู้ขอรับบริการ จะ เป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพ่ิม ซึ่งค่าไฟฟ้าก็เช่นเดียวกัน ผู้ใช้ ไฟฟ้าจะเป็นผู้รับภาระภาษีมูลค่าเพ่ิม โดยคิดจากค่าไฟฟ้าฐาน รวมกับค่าไฟฟ้าผันแปร ในอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 โดย ภาษใี นสว่ นน้จี ะถูกนำส่งให้กับกรมสรรพากร

2) อตั ราค่าไฟฟา้ อตั ราคา่ ไฟฟ้าแบง่ ออกเป็น 8 ประเภท ไดแ้ ก่ (1) ประเภทท่ี 1 บ้านอยอู่ าศัย สำหรับการใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย รวมทั้งวัด สำนักสงฆ์ และสถานประกอบศาสนกิจของทุกศาสนา ตลอดจนบริเวณท่ีเก่ียวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเคร่ือง เดียว (2) ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ ธุรกิจรวมกับบ้าน อยู่อาศัย อุตสาหกรรม หน่วยราชการ ส ำนักงาน หรือ หน่วยงานอ่นื ใดของรัฐ องคก์ รปกครองส่วนท้องถ่ิน รฐั วิสาหกิจ สถานฑูต สถานที่ทาการของหน่วยงานราชการต่างประเทศ และสถานท่ีทำการขององค์การระหว่างประเทศ หรืออื่น ๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซ่ึงมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉล่ีย ใน 15 นาทีท่ีสูงสุด ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ โดยต่อผ่านเคร่ืองวัด ไฟฟา้ เครอื่ งเดยี ว (3) ประเภทที่ 3 กจิ การขนาดกลาง สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพ่ือประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอ่ืนใดของรัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถานฑูต สถานท่ีทาการของ

หน่วยงานราชการต่างประเทศ และสถานที่ทาการขององคก์ าร ระหว่างประเทศ ตลอดจนบริเวณท่ีเก่ียวข้อง ซึ่งมีความ ต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีท่ีสูงสุด ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ แต่ไม่ถึง 1,000 กิโลวัตต์ และมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า เฉล่ยี 3 เดือนก่อนหน้าไม่เกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อ ผ่านเคร่ืองวัดไฟฟ้าเครอ่ื งเดยี ว (4) ประเภทท่ี 4 กจิ การขนาดใหญ่ สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม หน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอ่ืนใดของรัฐ องค์กร ปกครองส่วนท้องถ่ิน รัฐวิสาหกิจ สถานฑูต สถานท่ีทำการของ หน่วยงานราชการต่างประเทศ และสถานท่ีทำการขององคก์ าร ระหว่างประเทศ หรืออ่ืน ๆ ตลอดจนบริเวณที่เก่ียวข้อง ซึ่งมี ความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีท่ีสูงสุด ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ข้ึนไป หรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือนก่อนหน้าเกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่าน เคร่ืองวดั ไฟฟา้ เครอ่ื งเดยี ว (5) ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอยา่ ง สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพือ่ ประกอบกจิ การโรงแรม และ กจิ การ ให้เช่าพักอาศัย ตลอดจนบริเวณที่เก่ียวข้อง ซ่ึงมีความต้องการ

พลังไฟฟ้าเฉล่ียใน 15 นาทีท่ีสูงสุด ต้ังแต่ 30 กิโลวัตต์ข้ึนไป โดย ตอ่ ผา่ นเคร่อื งวดั ไฟฟ้าเคร่ืองเดียว 3) การคำนวณคา่ ไฟฟ้า ค่าพลงั งานไฟฟ้าคดิ ได้จากปรมิ าณพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ ใช้ในแต่ละเดือน พลังงาน ไฟฟ้าทั้งหมดจะได้จากค่าพลังงาน ไฟฟ้าท่ีใช้กับเคร่ืองใช้ไฟฟ้าแตล่ ะชนิด คา่ พลังงานไฟฟ้าอ่านได้ จากเครอ่ื งวัดทเ่ี รยี กว่า มาตรกิโลวัตต์ – ช่ัวโมงหรือท่ีรจู้ กั กันว่า “มเิ ตอร์หรือมาตรวดั ไฟฟา้ ” เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะใช้พลังงานไฟฟ้าต่างกัน ท้ังนี้ ข้ึนอยู่กับชนิดและขนาด ของเคร่อื งใช้ไฟฟ้า ตามตัวเลขที่กำกับ บนเคร่ืองใช้ไฟฟ้าท่ีระบุท้ังความต่างศักย์ (V) และ กำลังไฟฟ้า (W) รวมไปถึงความถ่ี (Hz) ของไฟฟา้ ท่ใี ช้กบั เครื่องใช้ไฟฟ้านน้ั กำลังไฟฟ้า หมายถึง พลังงานไฟฟ้าที่นำไปใช้งานในเวลา 1 วินาที มีหน่วยเป็น จูลต่อวินาที หรือ “วัตต์” (W) สามารถ คำนวณหากำลังไฟฟ้าได้จากความสัมพันธร์ ะหว่างพลังงาน ไฟฟ้า ที่ถูกใช้ไปในเวลา 1 วนิ าที ดงั นี้



ตอนท่ี 2 การวางแผนการใช้ไฟฟา้ ในครัวเรอื น การวางแผนการใช้เคร่ืองใช้ไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ในครัวเรือน ช่วยให้สามารถควบคุมค่าไฟฟ้า ในแต่ละเดือนได้ การเริ่มวาง แผนการใช้เครื่องใชไ้ ฟฟา้ ภายในบา้ น สามารถทาไดด้ ังนี้ 1) สำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน กำลังไฟฟ้า และ จำนวนเวลาการใช้งานว่ามี เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใดบ้าง มีขนาด กำลังไฟฟ้าเทา่ ใด และใช้งานเป็นเวลานานเท่าใด 2) นำข้อมูลท่ีสำรวจมาคำนวณค่าไฟฟ้า และวางแผนการ ใช้เคร่ืองใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท ให้เกิดความประหยัดมากข้ึน ตอ่ ไป นอกจากน้ีการวางแผนการใช้ไฟฟ้า ยังช่วยให้ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถสังเกตได้ถึงความผิดปกติ ของเคร่ืองใช้ไฟฟ้า เช่น ค่า ไฟฟ้าอาจมีคา่ มากกว่าที่ประมาณการไว้ ก็เป็นจุดสังเกตให้ผู้ใช้ ไฟฟ้า ทบทวนการใช้งาน และตรวจสอบว่ามีเคร่ืองใช้ไฟฟ้า ประเภทใดผิดปกติหรือไม่ อาจเกิดไฟฟ้าร่ัว หรือเสื่อมสภาพ หมดอายกุ ารใชง้ าน เป็นตน้