Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore e-Book Unit 2 รูปร่างลักษณะภายนอกและภายในของปลา By krunoos

e-Book Unit 2 รูปร่างลักษณะภายนอกและภายในของปลา By krunoos

Published by นุสราสินี ณ พัทลุง, 2019-06-06 01:11:44

Description: e-Book Unit 2 รูปร่างลักษณะภายนอกและภายในของปลา By krunoos

Search

Read the Text Version

เอกสารประกอบการสอนรายวชิ ามนี วทิ ยา รหสั วชิ า 3601-2103 หลักสตู รประกาศนยี บตั รวชิ าชพี ชนั้ สงู พทุ ธศกั ราช 2557 สาขาวชิ าเพาะเลยี้ งสตั วน์ า้ ประเภทวชิ าประมง หน่วยท่ี ภาควชิ าประมง วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี สา้ นกั งานคณะกรรมการการอาชวี ศกึ ษา กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

Ichthyology หน่วยที่ 2 รปู รา่ งและลกั ษณะภายนอกและภายในของปลา (Shape of External and Internal of Fish) จดุ ประสงคเ์ ชงิ พฤติกรรม 1. นักศกึ ษาสามารถอธิบายการแบง่ สว่ นของตัวปลาได้ 2. นักศึกษาสามารถจ้าแนกรปู ร่างของปลาแบบตา่ งๆ ได้ 3. นักศึกษาสามารถอธบิ ายการวดั ขนาดและสัดส่วนต่างๆ ของปลาได้ 4. นักศึกษาสามารถบอกชอ่ื และอธบิ ายลักษณะหน้าทีข่ องอวัยวะภายนอกของปลาได้ 5. นักศกึ ษาสามารถบอกช่ือและอธบิ ายลกั ษณะหน้าท่ขี องอวัยวะภายในของปลาได้ 6. นกั ศกึ ษามีความสนใจใฝร่ ู้ มีความรับผดิ ชอบเรยี นรดู้ ว้ ยความซ่ือสตั ย์ มีคณุ ธรรมและมี มนุษย์สัมพนั ธ์ ดา้ เนินชวี ติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกจิ พอเพียง สาระการเรยี นรู้ ปลาแต่ละชนดิ มีรปู รา่ งลักษณะภายนอกท่ีแตกต่างกันออกไป ท้ังนีเ้ พือ่ ประโยชน์ในการหาอาหาร และเพื่อพรางศัตรู ปลาบางชนิดมีรูปร่างปราดเปรียวว่ายน้าได้รวดเร็ว บางชนิดมีรูปร่างแบนจากบน ลงล่าง เพราะเป็นปลาท่ีหากินตามหน้าดินและสะดวกในการฝังตัวลงไปในโคลน นอกจากน้ันปลามี ครีบเพื่อช่วยในการว่ายน้าและทรงตัว ลักษณะรูปร่างของปลายังน้ามาใช้ในการจัดจ้าแนกประเภท ของปลาอีกด้วย ส่วนอวัยวะภายในของตัวปลา มีอวัยวะต่างๆ อยู่หลายระบบ เช่น ระบบหมุนเวียน โลหิต ระบบยอ่ ยอาหาร ระบบสืบพนั ธุ์ และการขบั ถา่ ย ซึง่ จะกล่าวในรายละเอยี ดตอ่ ไป 2.1 รปู รา่ งของปลา การแบง่ รปู ร่างของปลา ปลาเปน็ สิ่งมชี ีวติ ท่ีอาศัยอย่ใู นนา้ ทม่ี ีสภาวะแวดล้อมท่แี ตกต่างกัน จึงมีววิ ัฒนาการของรูปรา่ งแตกต่าง กันออกไปหลายแบบ เพือ่ ให้เหมาะสมในการท่ีจะดา้ รงชวี ติ ในสภาพแวดล้อมนนั้ ๆ เชน่ การเคล่ือนทใี่ นน้า รูปร่างของปลาจึงมีหลายๆ แบบ ดงั นี้ 2.1.1 การแบง่ รูปรา่ งของปลาตามลักษณะการมองล้าตัวดา้ นขา้ ง ไดด้ งั น้ี 2.1.1.1 แบบกระสวย (fusiform หรือ torpedo shape) มองด้านข้างเห็นเป็นรูปเรียว ยาวแบบกระสวย ถ้ามองด้านหน้าตัดอาจเป็นรูปกลมหรือรีเล็กน้อย ทางส่วนหน้าจะหนาแล้วค่อยๆ เรียวเล็กลงไปทางหาง รูปร่างแบบนี้จะต้านน้าน้อย ปลากลุ่มนี้จึงว่ายน้าเร็วมีความว่องไวมาก หากิน ได้ทัง้ บรเิ วณกลางนา้ และผิวนา้ ตัวอยา่ ง เช่น ปลาโอ ปลาทู ปลาลัง ปลาทูน่า ปลาฉลาม เป็นต้น วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรยี บเรียงโดยครนู สุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ 1

Ichthyology (ภาพที่ 2.1) ภาพที่ 2.1 รปู ทรงแบบกระสวย ทีม่ า: Bond (1996) ตัวอยา่ งปลาท่มี รี ปู ทรงแบบกระสวย เชน่ ก. ปลาทู ค. ปลาโอลาย ข. ปลาทรายแดง ง. ปลาลงั ภาพที่ 2.2 ตวั อยา่ งปลาทม่ี ีรปู ทรงแบบกระสวย ทมี่ า: ก.-ค. ถ่ายภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) ง. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/ 2.1.1.2 แบบทรงกลม (globiform) เปน็ รปู รา่ งทม่ี ีลักษณะค่อนข้างกลมคลา้ ยลูกบอล หรอื ลกู โลก มกั จะเปน็ ปลาทว่ี ่ายน้าไปอย่างชา้ ๆ เช่น ปลาปักเป้า ปลาฟุตบอล ปลาทอง เป็นต้น (ภาพท่ี 2.3) วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดยครนู สุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ 2

Ichthyology ภาพที่ 2.3 แบบทรงกลม ทม่ี า : Bond (1996) ตัวอยา่ งปลาท่ีมรี ูปทรงกลม เช่น ก. ปลาปักเป้าจุดเขยี ว ข. ปลาปกั เป้าจุดแดง ภาพท่ี 2.4 ตัวอยา่ งปลาทม่ี ีรปู ทรงกลม ท่ีมา: ก. ถ่ายภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) ข. https://www.google.com/search?biw 2.1.1.3 แบบงู (anguilliform หรือ snake-shape หรือ serpentine-shape) รูปร่าง มลี ักษณะเรียวยาวคล้ายงู (serpentine shape) การว่ายน้าเหมือนกับการส่ันของเส้นเชือก ซ่ึงปลาย สว่ นทีไ่ ม่ถกู สน่ั จะมีแรงน้อยลงทา้ ใหม้ ีการตา้ นนา้ นอ้ ยลง การเคลื่อนไหวจะอาศัยกลา้ มเนือ้ ที่ล้าตวั เป็น ส่วนใหญ่ เชน่ ปลาไหล ปลาตหู นา ปลายอดจาก เปน็ ต้น (ภาพที่ 2.5) ภาพท่ี 2.5 รูปทรงแบบงู ท่มี า : Bond (1996) วทิ ยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรยี บเรียงโดยครูนสุ ราสินี ณ พทั ลุง 3

Ichthyology ตวั อย่างปลารปู ทรงแบบงู เช่น ก. ปลาตูหนา ข. ปลาไหลนา ภาพที่ 2.6 ตวั อย่างปลารปู ทรงแบบงู ทมี่ า: ก.-ข. ถ่ายภาพโดยนุสราสนิ ี (2561) 2.1.1.4 แบบเส้นด้าย (filiform หรือ thread-like shaped) รูปทรงมลี กั ษณะ เรยี วยาวและเลก็ คล้ายกับเส้นเชือก (thread-like shape) เคลือ่ นไหวไปมาโดยอาศยั กล้ามเนื้อลา้ ตัว และครบี เช่น snipe eel ซ่งึ เป็นปลาไหลน้าลกึ ชนิดหนึ่ง (ภาพท่ี 2.7) ภาพท่ี 2.7 รูปทรงแบบเส้นดา้ ย ทมี่ า : Bond (1996) ตวั อย่างปลารูปทรงแบบเสน้ ด้าย เช่น ก. snipe eel ข. bean's sawtoothed eel ค. sawtoothed eel ภาพที่ 2.8 ตัวอย่างปลารูปทรงแบบเสน้ ด้าย ทม่ี า: https://www.google.com/search?biw=1366&bih=608&tbm=isch&sa วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดยครูนุสราสินี ณ พทั ลุง 4

Ichthyology 2.1.1.5 แบบแถบแบนยาว (trachipteriform หรอื taeniform หรือ ribbon-shape) รปู ทรงมีลกั ษณะยาวและแบนขา้ งมาก เคลอ่ื นไหวไปมาโดยอาศยั กลา้ มเนอื้ ลา้ ตัว และครบี ทเี่ จริญดี เชน่ ปลาดาบเงิน ปลาดาบลาว เป็นตน้ (ภาพท่ี 2.9) ภาพท่ี 2.9 รูปทรงแบบแถบแบนยาว ที่มา : Bond (1996) ตวั อยา่ งปลารูปทรงแบบแถบแบนยาว เช่น ก. ปลาดาบเงินใหญ่ ข. ปลาดาบเงนิ ค. ปลาดาบลาวยาว ภาพที่ 2.10 ตัวอย่างปลารปู ทรงแบบแถบแบนยาว ทม่ี า: ก.-ข. https://www.google.com/search?biw=1366&bih=608&tbm ค. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/ 2.1.1.6 แบบลูกธนู (arrow-shaped หรอื sagittiform) รูปทรงแบบลกู ธนู ลักษณะ คล้ายรปู ทรงกระสวยแตล่ ้าตัวยาวกวา่ ภาคตัดขวางลา้ ตวั จะกลมหรือค่อนข้างกลม วา่ ยน้าได้ดี เชน่ ปลาการ์ ปลาไพท์ ปลาชอ่ น ปลาปากคม ปลาน้าดอกไม้ ปลาเขม็ ปลากระทุงเหว เปน็ ตน้ (ภาพท่ี 2.11) วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดยครนู ุสราสินี ณ พัทลงุ 5

Ichthyology ภาพที่ 2.11 รูปทรงแบบลูกธนู ท่ีมา: Bond (1996) ตัวอยา่ งปลารูปทรงแบบแบบลกู ธนู เชน่ ก. ปลาสาก ข. ปลากระทงุ เหวควาย ภาพท่ี 2.12 ตวั อยา่ งปลารปู ทรงแบบแบบลูกธนู ทม่ี า : ถ่ายภาพโดยนุสราสนิ ี (2561) 2.1.1.7 รูปทรงแบนขา้ ง (compressiform) ปลากลมุ่ นี้มีลักษณะลา้ ตัวแบนข้าง เหมือนถูกบีบ เม่ือมองทางด้านหน้าตดั จะมีล้าตัวบางแคบด้านข้างและดา้ นขวาแบนเขา้ หากันจะมี ลักษณะทีส่ ามารถแบง่ ออกเป็น 4 แบบ คอื 1) แบบแบนข้าง (compressed type) เป็นปลาท่ีมีรปู ร่างแบนขา้ ง เชน่ ปลา หางแข็ง ปลาสีกุน ปลาตะเพียน ปลาสลดิ เปน็ ตน้ (ภาพที่ 2.13) ก. ปลาสีกนุ ค.ปลาหางแข็ง ข.ปลานลิ ง. ปลาตะเพยี นขาว ภาพที่ 2.13 ตัวอยา่ งปลาที่มรี ูปทรงแบนข้าง ทม่ี า: ถ่ายภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) วิทยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรียงโดยครนู สุ ราสนิ ี ณ พทั ลุง 6

Ichthyology 2) แบบรปู ปอ้ ม (bream type) เปน็ ปลาทมี่ ีรปู ร่างแบนข้างคล้ายรูปไข่ อาศัย ตามพน้ื น้า กอพชื น้า ได้แก่ ปลากระดี่ ปลาผเี สอื้ (ภาพท่ี 2.14) ก. ปลากระด่ี ข. ปลาผเี สอ้ื ภาพท่ี 2.14 ตวั อยา่ งปลาท่มี รี ูปทรงแบนข้างแบบรูปป้อม ท่มี า: ก. ถ่ายภาพโดยนสุ ราสินี (2561) ข. https://www.google.com/search?q=ปลาผเี สอื้ นกกระจิบ&stick 3) แบบรูปเหลี่ยม (moonfish-type) เป็นปลาทม่ี ลี กั ษณะเปน็ เหล่ยี มแบน ขา้ งมาก เชน่ ปลาพระจันทร์ ปลาโฉมงาม ปลาแป้น ปลาตะกรับ เป็นตน้ (ภาพท่ี 2.15) ก. ปลาโฉมงาม ข. ปลาตะกรบั ภาพที่ 2.15 ตวั อยา่ งปลาท่ีมีรปู ทรงแบนข้างแบบรูปเหล่ียม ทม่ี า: ถ่ายภาพโดยนุสราสนิ ี (2561) 4) แบบลนิ้ หมา (pleuronectiid type) เป็นปลาที่มลี ักษณะเอาด้านข้าง ไปนอนกบั พน้ื แลว้ วิวฒั นาการเอาส่วนของตาขน้ึ มาอยบู่ นข้างเดียวกนั ได้แก่ ปลาล้นิ หมา ปลาลิน้ ควาย ปลาจักรผาน ปลาซีกเดียว เป็นต้น (ภาพท่ี 2.16) วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรียงโดยครนู สุ ราสนิ ี ณ พทั ลุง 7

Ichthyology ก. ปลาล้ินหมานา้ จืด ข.ปลาลนิ้ ควายเกลด็ ลนื่ ภาพท่ี 2.16 ตัวอย่างปลาที่มีรปู ทรงแบบล้นิ หมา ทม่ี า: ก. ถา่ ยภาพโดยนสุ ราสินี (2561) ข. https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/ 2.1.1.8 รูปทรงแบนลง (depressiform หรือ flattened) เป็นปลาที่มีลักษณะล้าตัว แบนจากบนลงล่าง เหมือนถูกของหนักทับจากด้านบน ปลากลุ่มน้ีมักอาศัยตามพ้ืนทะเล หากินท่ีพื้น ท้องน้า ท้ังสองด้านของล้าตัวสมมาตรกัน สันหลังอยู่ตรงกลาง ได้แก่ ปลากระเบนทุกชนิด เป็นกลุ่ม ปลาที่ไม่มีครีบก้น เน่ืองจากไม่ต้องใช้ และการปรับตัวกับพ้ืนท้องน้า บางชนิดแบนลงเฉพาะส่วนหัว สว่ นท้ายยงั คงแบนขา้ งหรือกลม เช่น ปลาฉนาก ปลาโรนนั ปลาโรนนิ (ภาพที่ 2.17) ภาพที่ 2.17 รปู ทรงแบนลง ทม่ี า: Bond (1996) ภาพที่ 2.18 ตวั อยา่ งปลาท่ีมีรปู ทรงแบนลง ทม่ี า: https://news.kapook.com/topics/ปลาโรนิน 2.1.2 การแบ่งรปู รา่ งปลาโดยเปรยี บเทียบสัดสว่ นระหว่างความยาวมาตรฐานกบั ความลึก ของตัวปลาไดด้ ังนี้ วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรยี งโดยครูนุสราสินี ณ พทั ลุง 8

Ichthyology 2.1.2.1 ล้าตวั ยาว (elongate) เป็นปลาท่ีมลี า้ ตวั ค่อนข้างยาวเมือ่ เปรยี บเทยี บกับ ความลกึ ของล้าตวั ความยาวมาตรฐานมากกว่าความลึก 4-8 เท่า หรอื อาจมากกว่านี้ เชน่ ปลาไหล ปลาน้าดอกไม้ ปลาดาบลาว ปลาดาบเงิน เปน็ ตน้ (ภาพที่ 2.19) ก. ปลาไหลนา ข. ปลาตหู นา ค. ปลาดาบเงนิ ภาพท่ี 2.19 ตวั อย่างปลาท่ีมลี า้ ตวั แบบยาว ทมี่ า : ก.-ข. ถ่ายภาพโดยนุสราสินี (2561) ค. https://www.google.com/search?biw=1366&bih=608&tbm 2.1.2.2 ล้าตัวสั้น (oblong) เปน็ ปลาทล่ี า้ ตวั จะส้นั กว่าแบบ elongate มคี วามยาว มาตรฐานต่อความลกึ ของตวั ปลามากกวา่ 2-4 เทา่ เชน่ ปลาใบขนุน ปลาโอ ปลาสกี ุน เปน็ ต้น (ภาพท่ี 2.20) ก. ปลาสีกนุ ข. ปลาโอลาย ค. ปลาสละ ภาพท่ี 2.20 ตัวอย่างปลาท่ีมีล้าตวั ส้ัน ทม่ี า: ถา่ ยภาพโดยนสุ ราสินี (2561) 2.1.2.3 ล้าตวั รปู ไข่ (ovate) มีความยาวมาตรฐานยาวกวา่ ความลึกของลา้ ตัว ประมาณ 1–2 เทา่ เช่น ปลาพระจันทร์ ปลาลิน้ หมาบางชนดิ ปลาจาระเมด็ เป็นตน้ (ภาพที่ 2.21) วิทยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรยี บเรยี งโดยครูนสุ ราสินี ณ พัทลุง 9

Ichthyology ก. ปลาจาระเม็ด ข. ปลาพระจนั ทร์ ภาพท่ี 2.21 ตัวอยา่ งปลาท่ีมีล้าตวั รปู ไข่ ทม่ี า: ถา่ ยภาพโดยนสุ ราสินี (2561) 2.2 เคร่อื งมอื วดั ขนาดและสัดสว่ นรา่ งกายของปลา อุปกรณ์และเคร่ืองมือที่ใชใ้ นการวัดความยาวของปลาน้ันมีหลายแบบ ทัง้ นข้ี นึ้ อย่กู ับขนาด ของปลาและความละเอยี ดของการศึกษา ซ่ึงมดี ังน้ี 2.2.1 ไม้บรรทัด ใช้วดั ปลาที่มีขนาดเล็กความยาวไมม่ ากนกั หนว่ ยของการวัดอาจเป็นเซนติเมตร มลิ ลเิ มตร หรอื นว้ิ กไ็ ด้ (ภาพท่ี 2.22) ภาพที่ 2.22 ไมบ้ รรทัด ทมี่ า: ถา่ ยภาพโดยนุสราสินี (2561) 2.2.2 เวอรเ์ นยี แคลปิ เปอร์ (vernier caliper) เป็นเครื่องมือที่ใชว้ ัดขนาดความยาวของปลาท่มี ีความยาวไมม่ ากนกั โดยทั่วไปใช้วัดปลาท่ีมี ความยาวไม่เกนิ 20 เซนติเมตร และสามารถวัดปลาได้หลายลกั ษณะในตัวเดียวกันและสะดวกรวดเร็ว เวอร์เนียแคลิปเปอร์ ท่ีใช้วัดปลามีทั้งแบบดิจิทัลและแบบสเกลวัด หน่วยท่ีใช้วัดอาจเป็นเซนติเมตร หรือมลิ ลิเมตรกไ็ ด้ (ภาพท่ี 2.23) สเกลเวอร์เนยี สามารถบอกความละเอียดถึง 0.05 มิลลิเมตร เวอร์เนยี แคลิปเปอร์มีส่วนประกอบดังนี้ (ภาพท่ี 2.24) ก สเกลหลัก ข สเกลเวอรเ์ นยี วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรยี งโดยครนู สุ ราสินี ณ พัทลุง 10

Ichthyology ค ปมุ่ เลอื่ นสเกลเวอร์เนียไปในสเกลหลัก ง นอ็ ตล้อคสเกลเวอรเ์ นีย จ ปากหนีบวัตถทุ ต่ี ้องการวดั เปน็ การวดั ภายนอก ฉ ปากวัดขนาดภายในของวัตถุ ภาพที่ 2.23 เวอรเ์ นยี แคลปิ เปอร์ ทมี่ า: ถ่ายภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) ง ฉ ก จ ค ข ภาพที่ 2.24 ส่วนประกอบของเวอรเ์ นยี แคลิปเปอร์ ที่มา: ถ่ายภาพโดยนุสราสนิ ี (2561) การวัดและอา่ นคา่ ของเวอรเ์ นียร์แคลปิ เปอร์ มีขั้นตอนการปฏิบตั ิดงั น้ี 1. เล่อื นปากเวอรเ์ นียรช์ ิดกนั และตรวจสอบว่าขีดศูนยข์ องสเกลเวอรเ์ นยี รจ์ ะตรงกบั ขีดศนู ยข์ องสเกลหลักหรอื ไม่ หากไม่เป็นเชน่ นั้นใหพ้ จิ ารณาความคลาดเคลื่อนศูนย์ 2. เลือ่ นปากของเวอร์เนยี รใ์ ห้ชดิ กบั ปลาท่ีจะวัด โดยการวดั ปลาใหว้ ัดดา้ นภายนอก 3. ลอ็ กสลกั ให้เวอร์เนยี ร์อยู่กบั ท่ี 4. การอา่ นคา่ การวดั ขนาดของปลา มีวธิ กี ารอา่ นดังนี้ ลา้ ดับท่ี 1 อา่ นตา้ แหน่งบนสเกลหลกั ก่อน วิทยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรียงโดยครูนุสราสนิ ี ณ พัทลุง 11

Ichthyology ลา้ ดบั ท่ี 2 อ่านค่าของเลขตรงขดี ศูนย์ของสเกลเวอร์เนยี รใ์ นต้าแหนง่ ท่ตี รงกับ สเกลหลกั เป็นคา่ ตา้ แหนง่ ที่ 1 หลงั จดุ ทศนิยม ลา้ ดบั ที่ 3 อา่ นคา่ ของเลขตรงขีดศูนย์ของสเกลเวอร์เนยี ร์ในต้าแหน่งทตี่ รงกบั สเกลหลกั เป็นค่าต้าแหน่งท่ี 2 หลังจุดทศนิยม 2.2.3 สายเทปวัด เทปวดั มหี ลากหลายรูปแบบ สา้ หรับท่ีใช้วัดปลาตอ้ งเป็นเทปที่ใช้ดงึ และเปิดปดิ ได้ สามารถ วดั ปลาท่ีมีขนาดความยาวได้มากกว่าไม้บรรทัดหรอื เวอร์เนยี รแ์ คลิปเปอร์ หรือวดั ปลาได้ประมาณ 5-10 เมตร หรอื อาจมากกว่านี้ หน่วยท่ีใชว้ ัดอาจเปน็ เซนติเมตร นิว้ หรือเมตร (ภาพที่ 2.25) ภาพท่ี 2.25 สายเทปวดั ทมี่ า: ถ่ายภาพโดยนสุ ราสินี (2561) 2.3 การแบง่ สดั สว่ นของปลา ปลาเป็นสัตว์น้าท่ีมีรูปร่างท้ังสองด้านเหมือนกัน คือมีลักษณะสมมาตร ยกเว้นในปลาซีก เดียว เช่น ปลาลิ้นหมา และปลาจักรผาน ที่มีการเปล่ียนแปลงของรูปร่างจากทตี่ อนเป็นระยะวัยอ่อน ท่ีมีร่างกายสมมาตรเป็นร่างกายแบบไม่สมมาตร โดยมีเพียงด้านเดียวที่มีตา ดังนั้นในการจัดแบ่งส่วน ตา่ งๆ น้ันจะมีส่วนทค่ี ล้ายกัน (ภาพท่ี 2.26) สามารถแบง่ ออกเป็นสว่ นดงั นี้ 1. ด้านหน้าหรือด้านหัว (anterior, front) เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านหน้าสุดของร่างกายปลา โดยยึดเอาก่ึงกลางตัวเป็นจุดสังเกต หรืออาจใช้ส่วนของจุดเร่ิมต้นหลังครีบหลังเป็นจุดหลัก ประกอบด้วยหัว อวัยวะต่างๆ บนหัว เช่น ตา หนวด ปาก แก้ม จมูก ตุ่มสิว อีกส่วนเป็นครีบหูและ ครบี ท้องในปลาบางชนิดมคี รบี ท้องอยคู่ อ่ นไปทางด้านทา้ ยของลา้ ตวั 2. ดา้ นท้าย (posterior, back) เป็นส่วนท่ีอยู่ทางด้านท้ายของร่างกายปลา ถัดจากครีบหลัง ไปทางด้านท้าย อวัยวะท่ีอยู่ในต้าแหน่งน้ี ได้แก่ ครีบหลังบางส่วน ครีบหาง ครีบก้น บางชนิดมีครีบ ฝอยหรอื ครบี ไขมนั รวมถงึ รกู น้ และชอ่ งเพศ 3. ด้านข้าง (lateral) เป็นส่วนที่อยู่ด้านข้าง แบ่งออกเป็นด้านซ้ายและด้านขวาของปลาจะ เทา่ และเหมือนกัน ยกเว้นปลาซกี เดยี วในระยะตวั เต็มวยั วิทยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรยี งโดยครนู ุสราสินี ณ พัทลุง 12

Ichthyology 4. ด้านบน หรือด้านหลัง (top, upper) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของล้าตัวปลา โดยนับเอา กระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์ ส่วนใหญส่ ังเกตจากเส้นข้างตัวโดยอยู่ในตา้ แหน่งเหนือเส้นข้างตัว เป็นส่วน ของครบี หลังและครบี หางด้านบน ปลาสว่ นใหญ่มสี ีด้านหลังเปน็ สีเขม้ กวา่ สดี า้ นท้อง 5. ด้านท้อง หรือด้านล่าง (ventral, lower, under) เป็นส่วนที่อยู่ทางด้านล่างของตัวปลา โดยนับเอากระดูกสันหลังเป็นเกณฑ์ ส่วนใหญ่สังเกตจากเส้นข้างตัวโดยอยู่ในต้าแหน่งใต้เส้นข้างตัว เป็นส่วนของครีบหู ครีบท้อง และครีบหางด้านล่าง ปลาส่วนใหญ่มีสีด้านท้องเป็นสีอ่อนกว่าสีทาง ดา้ นหลงั ด้านบนหรอื ด้านหลัง (top, upper) ดา้ นข้างขวา (lateral right) ดา้ นหน้า (anterior,front) ด้านท้าย (posterior, back) ฐาน (proximal) ปลาย (distal) ดา้ นขา้ งซา้ ย (lateral left) ด้านทอ้ ง หรือดา้ นลา่ ง (ventral, lower, under) ภาพที่ 2.26 การแบ่งร่างกายปลาตามตา้ แหน่ง (ปลาตะกรับ) ทม่ี า: ถา่ ยภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) 2.4 การวดั ขนาดและสัดสว่ นของปลา การวัดขนาดและสัดสว่ นความกวา้ งหรือความยาวของปลามดี งั นี้ (ภาพที่ 2.27) 2.4.1 การวดั ความยาวทั้งหมด (Total length; TL) เป็นความยาวท่ีวัดโดยเรมิ่ จากปลาย สุดของจะงอยปากทางด้านหน้าไปจนถงึ ปลายสุดของครีบหาง 2.4.2 การวดั ความยาวตรงรอยเวา้ ของครบี หาง (Forked length; FL) โดยวัดจากปลาย สุดทางด้านหวั ไปจนถึงสว่ นทีเ่ วา้ ลกึ ทีส่ ุดของรอยหยักเวา้ ของครีบหาง 2.4.3 การวดั ความยาวมาตรฐาน (Standard length; SL) โดยวดั จากปลายสุดทางด้าน หัวไปจนถงึ เส้นดง่ิ ท่ลี ากลงมาตัดกบั ฐานครีบหางหรือปลายสุดของกระดูก hypural plate วิทยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรยี งโดยครูนุสราสนิ ี ณ พัทลุง 13

Ichthyology 2.4.4 การวัดความยาวของจะงอยปากหรอื การวัดความยาวหน้าตา (Snout length; SnL) หรือ (preorbital length) โดยเร่มิ วดั จากปลายสุดของจะงอยปากมาถงึ เส้นตั้งฉากที่ตดั ผ่านขอบหน้า ของตา 2.4.5 การวัดขนาดเส้นผ่าศนู ย์กลางของตา (Eye diameter; ED) โดยวดั จากเส้นต้งั ฉากท่ี ตดั กบั ขอบทางด้านหนา้ สุดของตาไปจนจรดเส้นต้ังฉากที่ตดั กบั ขอบหลงั สุดของตา 2.4.6 การวัดขนาดความยาวของหัว (Head length ; HL) โดยเริม่ วัดจากปลายสุดของ จะงอยปากไปจนถึงเส้นตั้งฉากท่ลี ากลงมาตัดกับด้านทา้ ยสุดของแผ่นเหยือ่ ปดิ กระพ่งุ แก้ม (opercular flap) 2.4.7 การวดั ความลกึ ของลา้ ตัว (Body depth; BD) เป็นการวดั ชว่ งท่ีลึกหรือสงู ท่ีสดุ ของ ตวั ปลาโดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นบริเวณหนา้ ครบี หลงั เป็นแนวดง่ิ ลงไปท่ีบริเวณสว่ นท้องของปลา 2.4.8 การวดั ความยาวแก้มปลา (postorbital length) เปน็ การวดั จากขอบหลงั ตาปลาไป จนถงึ ขอบปลายสดุ ของแผน่ ปิดเหงอื ก (operculum) 2.4.9 การวัดความยาวครีบหลังอันแรก (length of first dorsal fin) เปน็ การวัดจากขอบ ครบี หลังด้านหนา้ สุดไปจนถึงขอบครบี หลังด้านท้ายสดุ ในแนวระนาบเม่ือกางครบี ออก 2.4.10 การวดั ความยาวครบี หลังอันทสี่ อง (length of second dorsal fin) เปน็ การวดั ความยาวจากขอบก้านครบี อันแรกสุดของก้านครบี อันท่ีสอง ไปจนถงึ ปลายสดุ ของกา้ นครีบอนั สดุ ทา้ ย ในแนวระนาบเมื่อกางกา้ นครีบออกเตม็ ที่ 2.4.11 การวัดความยาวของครบี หหู รือครีบอก (length of pectoral fin) เปน็ การวดั จาก ฐานครีบบริเวณท่อี ยู่ใกลแ้ ผ่นปิดเหงอื กมากท่สี ุด ไปจนถึงปลายสุดของครบี หูในแนวระนาบ 2.4.12 การวัดความยาวครีบกน้ (length of anal fin) เป็นการวัดจากขอบหนา้ สุดของ ครีบไปจนถึงขอบหลังสุดของครบี ก้นในแนวระนาบ 2.4.13 ความกว้างของจาน (disc width) หมายถึง ความกว้างจากดา้ นหนึง่ ไปยังอีกด้าน หนึง่ ของแผ่นจานปลากระเบน วัดได้เฉพาะกลุ่มปลากระเบน กระเบนไฟฟา้ ปลาโรนัน และปลาโรนนิ เปน็ ตน้ 2.4.14 ความยาวของจาน (disc length) ความยาวของแผน่ จานจากปลายสุดของจะงอย ปากไปยงั ขอบทางด้านทา้ ยสุดของครบี หู วดั ไดใ้ นกลุ่มปลากระเบน ปลากระเบนไฟฟ้า ปลาโรนนั และปลาโรนนิ เปน็ ต้น วทิ ยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรียงโดยครูนุสราสนิ ี ณ พัทลงุ 14

Ichthyology dorsal fin origin 1 st dorsal-fin base eye diameter 2 nd dorsal-fin base Postorbital length Length of caudal peduncle Depth of body Length of pectoral fin Depth of caudal peduncal Preorbital length anal-fin base Head length anal fin origin Standard length Forked length Total length ภาพท่ี 2.27 การวัดขนาดและสัดส่วนของปลากระดูกแข็ง ท่ีมา : ดัดแปลงจาก Rainboth (1996) วทิ ยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรียงโดยครนู ุสราสินี ณ พทั ลุง 15

Ichthyology ความยาวเวา้ หยกั ลกึ ของหาง (fork length) ความยาวมาตรฐาน (standard length) ความยาวหนา้ ครบี หลัง (length of first dorsal fin) ความยาวหนา้ ตา (preorbital length) ความลึกของลา้ ตัว (Body height) หวั (head) ลา้ ตวั (body) หาง (tail) ความยาวทงั้ หมด (total length) ก. ปลาฉลาม ข. ปลากระเบน วงศ์ Dasyatidae 16 ภาพที่ 2.27 การวัดขนาดและสดั สว่ นของปลากระดูกอ่อน (ต่อ) ทมี่ า : ก. ดัดแปลงจาก วมิ ล (2556) ข. อภินันท์ (2561) วิทยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดยครูนสุ ราสินี ณ พัทลงุ

Ichthyology การวดั ขนาดสัดส่วน ความกว้างและความยาวสว่ นต่างๆ ของปลาจากตวั อย่างจรงิ มแี นวทางการ ปฏิบัติดังนี้ (ภาพท่ี 2.28 ) ก. การวดั ความยาวทงั้ หมด ข. การวดั ความยาวหยกั ลกึ ค. การวดั ความยาวมาตรฐาน ง. การวดั ความลึกของลา้ ตวั จ. การวัดความกว้างของล้าตัว ฉ. การวัดความยาวหน้าตา ภาพที่ 2.28 แสดงวธิ กี ารวัดขนาดความยาวต่างๆ ของปลาหางแข็งจากตวั อยา่ งจรงิ ทม่ี า : ถา่ ยภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) วทิ ยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรียงโดยครนู สุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ 17

Ichthyology ช. การวดั ความกว้างของลกู ตาปลา ซ. การวดั ความยาวของครีบหลัง ฌ. การวัดความสูงของครีบหลัง ญ. การวัดความยาวของครบี ก้น ฎ. การวดั ความยาวของครีบหู ฏ. การวดั ความยาวแกม้ ภาพที่ 2.28 แสดงวิธีการวดั ขนาดความยาวตา่ งๆ ของปลาหางแขง็ จากตัวอยา่ งจรงิ (ต่อ) ทม่ี า : ถ่ายภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) วิทยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรียงโดยครูนุสราสนิ ี ณ พทั ลุง 18

Ichthyology 2.5 ลักษณะภายนอกของปลา เป็นส่วนที่สามารถมองเห็นได้จากภายนอก เปน็ ที่ตั้งของอวยั วะต่างๆ ท่มี ีความส้าคัญต่อการ ดา้ รงชพี เช่น ปาก จมูก ตา แก้ม ครีบ เกลด็ เส้นขา้ งลา้ ตวั คอดหาง รกู ้น การแบ่งสว่ นของตัวปลา ปลาเม่ือโตเต็มวัยแล้วจะมีรูปร่างแบบสมมาตรซ้าย-ขวา ยกเว้นปลาซีกเดียว ร่างกายปลาแบ่งออกได้ 3 สว่ น (วมิ ล, 2540 และ พิชยา, 2555) (ภาพที่ 2.29) คือ 2.5.1 ส่วนหัว (head) เริ่มตั้งแต่ปลายสุดของจะงอยปากจนถึงส่วนริมสุดของกระพุ้งแก้ม หรือกระดูกปิดเหงือก (opercle หรือ opercular bone) ส่วนหัวจะเป็นที่ตั้งของอวัยวะรับความรู้สึก ทุกชนิด เช่น ตา ปาก จมูก หนวด ส่วนของกะโหลกศีรษะเป็นที่ตั้งของระบบประสาท ได้แก่ สมอง และระบบหายใจ คอื เหงอื ก นอกจากน้ียังมีระบบยอ่ ยอาหารบางส่วน คอื ปาก ฟัน ลิ้น และช่องคอ 2.5.2 ล้าตัว (body หรอื trunk) อยถู่ ดั จากส่วนปลายสดุ ของกระดูกกระพุ้งแกม้ ไปจนถึง รูทวาร (anus) ในปลาท่ีมีเกลด็ อาจจะเป็นส่วนที่มีเกล็ดปกคลมุ มีเส้นขา้ งตัวมีต่อมเมือก เป็นส่วนที่ต้ัง ของครีบ (fin) เกือบทง้ั หมดยกเว้นครีบหางและครีบก้น นอกจากน้ียงั เป็นทีต่ ั้งของอวัยวะภายในได้แก่ ระบบทางเดนิ อาหาร ระบบขบั ถ่าย ระบบสืบพนั ธุ์ 2.5.3 หาง (tail) เป็นส่วนสุดท้ายของตัวปลา โดยเริ่มจากรูทวารไปจนสุดปลายครีบหาง เป็นที่ตั้งของครีบก้นและครีบหาง มีกล้ามเน้ืออยู่หนาแน่นเพื่อใช้ในการควบคุมทิศทางการเคล่ือนที่ เหมือนหางเสือและช่วยในการทรงตัว ปลาไม่มีคอแต่มีส่วนที่เรียกว่า อิสท์มัส (isthmus) ซึ่งอยู่ ระหวา่ งเหงอื กแบง่ เหงอื กออกเปน็ 2 ข้างซ้าย-ขวา เท่าๆ กนั operculum lateral scute caudal peduncle - Head body (ลา้ ตวั ) tail (หาง) ภาพที่ 2.29 การแบง่ ส่วนของตวั ปลา ทม่ี า: ถา่ ยภาพโดยนสุ ราสินี (2561) วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรยี งโดยครูนุสราสนิ ี ณ พัทลุง 19

Ichthyology 2.6 อวยั วะภายนอกของปลา อวัยวะภายนอกของปลาเปน็ อวยั วะทสี่ ามารถมองเห็นไดจ้ ากภายนอก มีลกั ษณะต่างๆ ดงั น้ี (ภาพท่ี 2.30) ครีบอก (pectoral fin) ครีบหลงั (dorsal fin) จมูก (nostril, nare) เสน้ ข้างตวั (lateral line) ตา (eye) ครีบหาง (caudal fin) ปาก (mouth) รูก้น (anus) คอดหาง (caudal peduncle) แผน่ ปดิ เหงอื ก (operculum) เกลด็ (scale) ครบี กน้ (anal fin) ครีบท้อง (pelvic fin, ventral fin) ภาพท่ี 2.30 ลกั ษณะภายนอกของปลากระดูกแขง็ ทม่ี า: ถ่ายภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) ภาพที่ 2.30 ลกั ษณะภายนอกของปลากระดกู อ่อนปลาฉลาม (ตอ่ ) 20 ทมี่ า: https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาฉลาม วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรียงโดยครนู ุสราสินี ณ พทั ลงุ

Ichthyology tail rostrum Pectoral fin Pelvic fin eye spiracle clasper ก. อวยั วะภายนอกปลากระเบน (ดา้ นหลัง) nostril pectoral fin mouth pelvic fin clasper gill slit cloaca ข. อวัยวะภายนอกปลากระเบน (ดา้ นท้อง) ภาพท่ี 2.30 อวยั วะภายนอกของปลากระเบน (ต่อ) ทมี่ า: ถ่ายภาพโดยนุสราสนิ ี (2561) 2.6.1 ปาก (mouth) เป็นช่องเปิดที่ใหญ่ท่ีสุดของร่างกาย อยู่ในต้าแหน่งส่วนหน้าของ ร่างกาย ท้าหน้าท่ีในการรับอาหาร รับน้าเพ่ือการหายใจ ช่วยในการเกาะยึด บางชนิดใช้ในการต่อสู้ บางชนิดใช้ในการหาอาหาร ปากของปลาแตกต่างกันที่ต้าแหน่ง ขนาด รูปทรง โดยเทียบขนาดกับ ความกว้างกับสว่ นหัวส่วนใดสว่ นหนง่ึ ปากปลาสามารถแบง่ ออกเป็น 3 ตา้ แหนง่ ไดแ้ ก่ (ภาพท่ี 2.31) 1) ต้าแหน่งปากด้านบน (superior mouth) มีต้าแหน่งของปากปลาเฉียงข้ึนทาง ด้านบน พบในปลาท่ีหากนิ ผิวนา้ เชน่ ปลาเขม็ ปลาเขือ ปลาคางเบือน ปลาซวิ ปลาซวิ ใบไผ่ วทิ ยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรยี บเรยี งโดยครูนสุ ราสินี ณ พทั ลุง 21

Ichthyology ปลาดาบลาวทะเล ปลาดาบลาวนา้ จดื เปน็ ตน้ (ภาพ ก.) 2) ต้าแหน่งปากด้านหน้าสุดของหัว (anterior mouth หรือ terminal mouth) เป็น กลุ่มปลาท่ีหากินกลางนา้ เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลากระแห ปลาทู ปลาลงั ปลาหลังเขยี ว ปลาแขง้ ไก่ ปลาจาระเม็ด ปลาสวาย ปลากระบอก ปลากะพงขาว ปลาสลิด (ภาพ ข.) 3) ต้าแหน่งปากอยู่ด้านล่าง (inferior mouth) ต้าแหน่งปากเฉียงลงทางด้านล่างอาจ อยู่ต้าแหน่งด้านล่างมากน้อยแล้วแต่ชนิดของปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาที่หากินท่ีพ้ืนท้องน้า เช่น ปลา กเุ รา ปลาสเตอร์เจียน ปลาหนวดพราหมณ์ ปลาฉลาม ปลากระเบน ปลาโรนัน ปลาจงิ้ จก ปลาหลด ปลาเลียหิน ปลาลกู ผง้ึ ปลาค้อ ปลาไส้ตนั เปน็ ต้น (ภาพ ค.) ก. ข. ค. ภาพท่ี 2.31 ต้าแหนง่ ท่ตี ั้งของปากปลา ทมี่ า: ก. https://pantip.com/topic/30832897 ข.-ค. ถ่ายภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) 2.6.1.1 รูปทรงของปาก (shape of mouth) เปน็ ผลจากการปรับตัวในแง่ของการววิ ัฒนาการ เพอื่ ให้เหมาะสมกับนิสัยการกนิ อาหารและแหลง่ ของอาหารท่ีปลาชนิดน้นั ๆจะกิน ดงั นน้ั ปากของปลานอกจากจะเปน็ แบบธรรมดาท่ี เห็นได้ทัว่ ๆไปแล้วยังมปี ากทมี่ ีลกั ษณะแตกต่างออกไปอีก 5 แบบ คือ 1) ปากแบบกล้องยาสูบ (tube-like mouth หรอื pipe-like mouth หรือ spout-like mouth) ปากแบบนม้ี ีลักษณะเป็นท่อหรือหลอดยนื่ ยาวออกไปทางด้านหน้าโดยมีช่องเปดิ ของปากอยู่ที่ส่วนปลายของท่อ เช่น ปลาปากแตร ปลาจม้ิ ฟันจระเข้ และปลาผเี ส้อื บางชนิด (ภาพท่ี 2.32) วทิ ยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรียงโดยครูนสุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ 22

Ichthyology ภาพที่ 2.32 รูปทรงปากปลาเป็นท่อหลอดหรือกล้องยาสูบ ทมี่ า: https://www.britannica.com/animal/sea-horse 2) ปากแบบปากนกหรอื ปากท่เี ป็นจะงอยแหลม (beak-like mouth) ปากแบบน้มี ีลักษณะเปน็ จะงอยยืน่ ยาวออกไปทางสว่ นหน้าของสว่ นหัวและมีปลายแหลม มลี กั ษณะ กวา้ งไม่ได้เปน็ ท่อหรือหลอดเหมอื นกบั ปากแบบกล้องยาสูบ ปากแบบนแ้ี บ่งย่อยได้เป็น 3 แบบ (ภาพที่ 2.33) (1) ปากแบบสว่ นของขากรรไกรลา่ งยาวเลยส่วนของขากรรไกรบน ออกไปทางด้านหน้า เช่น ปลาเข็ม (ภาพ ก.) (2) ปากแบบส่วนของขากรรไกรบนยาวเลยส่วนของขากรรไกรลา่ ง ออกไปทางดา้ นหน้า เช่น ปลากระโทงแทง (ภาพ ข.) (3) ปากแบบส่วนของขากรรไกรบนและลา่ งยาวเทา่ กัน เชน่ ปลา กระทุงเหว (ภาพ ค.) ก. ข. ค. ภาพที่ 2.33 รูปทรงปากปลาแบบปากนก ทม่ี า : ก. https://sirikhun.com/product-detail/44516ปลาเขม็ ทะเล ข. http://www.dooasia.com/fish/fish-mf011.shtml ค. ถา่ ยภาพโดยนุสราสินี (2561) วิทยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรยี บเรียงโดยครูนุสราสินี ณ พัทลุง 23

Ichthyology 3) ปากแบบฟันเลื่อย (saw-like mouth) ปากแบบนี้เกิดจากการเจริญ ของจะงอยปากท่ีเป็นกระดูกอ่อนออกไปทางด้านหน้าของส่วนหัว จะงอยปากจะมีแอ่ง (Socket) ซึ่ง เปน็ ทอ่ี ยขู่ องซฟ่ี ันท่ีมีลกั ษณะคล้ายฟนั เล่ือยท้ังสองขา้ งของสว่ นจะงอยปาก เช่น ปลาฉนาก (ภาพที่ 2.34) ก. ข. ภาพท่ี 2.34 ปากแบบฟนั เลื่อย ทมี่ า : ก. http://www.mnre.go.th/th/news/detail/2245 ข. https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาฉนาก 4) ปากแบบยืดหดได้ (protractile mouth) ปากแบบนี้สามารถยึดหดเข้า ออกไดด้ ี เชน่ ปลาแป้น ปลาตะเพยี นขาว ปลาใบปอ ปลากระเบนไฟฟา้ (ภาพที่ 2.35) ภาพท่ี 2.35 ปากแบบยืดหดได้ 24 ทมี่ า: ถ่ายภาพโดยนสุ ราสินี (2561) วิทยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรียงโดยครูนสุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ

Ichthyology 5) ปากแบบปากดูด (sucking mouth) แบ่งออกได้เป็นสองพวกย่อยๆ (ภาพท่ี 2.36) คือ (1) ปากดูดของปลาที่ไม่มีขากรรไกร (hagfish และ lampray) ปากมี ลักษณะกลมคล้ายกรวย (funnel-like mouth) อยู่ท่ีส่วนปลายของสว่ นหวั (ภาพ ก.) (2) ปากดูดของปลาท่ีมีขากรรไกร พบในปลากระดูกแข็งหลายชนิด เชน่ ปลาเลียหนิ ปลาลูกผง้ึ (ภาพ ข.) ข. ปลาลกู ผ้ึง ก. ปลาแลมเพรย์ ภาพที่ 2.36 ปากแบบปากดดู ทมี่ า: ก. http://zmku.sci.ku.ac.th/ZMKU%20image/Lab%2011_Fish_60_Color.pdf ข. http://www.dooasia.com/fish/fish-fwf189.shtml 2.6.2 จะงอยปาก (snout หรือ rostrum) อยู่ระหวา่ งปลายสุดปากถึงหนา้ ตา บริเวณน้จี ะ มีจมูกและหนวดอยู่ 2.6.3 จมูก (nostril หรือ nare) เป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับกลิ่น สารเคมี และประจุไฟฟ้า ในปลาไม่ได้ใช้เพ่ือการหายใจ ปลาปากกลมมี 1 รู ตรงกลางจะงอยปาก ปลากระดูกอ่อนจะมีด้านละ 2 รู และปลากระดูกแข็งสว่ นใหญ่จะมีดา้ นละ 2 รู ยกเวน้ ในกลุ่มปลานิล (ภาพที่ 2.37) ภาพท่ี 2.37 จมกู ปลา 25 ทมี่ า: ถา่ ยภาพโดยนุสราสนิ ี (2561) วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรยี งโดยครนู สุ ราสินี ณ พทั ลงุ

Ichthyology 2.6.4 ตา (eye) เป็นอวัยวะที่ใช้รับแสงให้เข้าไปแล้วสะท้อนเพื่อเห็นภาพให้มองเห็น ตา ปลาไมม่ เี ปลือกตา ยกเวน้ บางชนิด เช่น ในปลาฉลามหดู ้า ปลาบางชนดิ มีวุ้นใสคลมุ เชน่ ปลานวลจันทร์ทะเล หรือมีหนังคลุมท้ังตา เช่น ปลาแขยง ตาปลาส่วนใหญ่จะอยู่ 2 ข้างของหัว ยกเว้นปลาซกี เดียว มีตาอยู่ด้านขา้ งหัวดา้ นท่อี ย่ขู า้ งบนเมอ่ื ปลานอนอยู่บนพน้ื ทะเล ปลาสว่ นมากมี 2 ตา ยกเวน้ ปลา 4 ตา และปลาไม่มีตาซึ่งอยู่ใตท้ ะเลลกึ หรอื ในถ้ามืด (ภาพท่ี 2.38) ภาพท่ี 2.38 ตาปลา ทมี่ า: ถ่ายภาพโดยนสุ ราสนิ ี (2561) 2.6.5 แผ่นปิดเหงือก (operculum) ในปลากระดูกแขง็ แผ่นปิดเหงือกจะอยู่ 2 ข้างของหัว ท้าหน้าท่ีปิดเหงือก และขยับปิด-เปิดเพ่ือหายใจ โดยการปิดเปิดของส่วนที่เช่ือมกับกระดูก branchiostegal ray ท้าให้สามารถขยายอุ้งปากได้ใหญ่ข้ึนเพ่ือให้น้าสามารถขังอยู่ได้ในกระพุ้งแก้ม ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซ ในปลากระดูกอ่อนจะมีช่องแยกออกจากกันเรียกว่าช่องเหงือก (gill slit) แผ่นปิดเหงือกเรียกวา่ gill septum (ภาพที่ 2.39) ภาพที่ 2.39 ลักษณะของแผ่นปดิ เหงือก ท่ีมา: ถ่ายภาพโดยนุสราสนิ ี (2561) วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดยครูนสุ ราสินี ณ พทั ลงุ 26

Ichthyology 2.6.6 หนวด (barbel) หนวดอยู่บรเิ วณหัวใกล้ปากและจมูกหรืออาจอยู่ใต้คาง หนวดปลา เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนังช้ันนอก (ectoderm) จึงไม่มีโคนฝังอยู่เหมือนหนวดของสัตว์ช้ันสูง ลักษณะเป็นเน้ือนุ่มๆ หนวดปลาอาจจะส้ันหรือยาว จ้านวนมากหรือน้อยแล้วแต่ชนิดของปลา มี หน้าท่ีในการรับสัมผัสและช่วยหาอาหาร หนวดปลาบางชนิดมีตุ่มรับรส (taste bud) อยูด่ ้วย ปลาไม่ มีเกล็ด หนวดจะเจรญิ ดกี ว่าปลามีเกลด็ เพอื่ ชว่ ยในการรับความรู้สึกดีข้ึน สามารถแบ่งหนวดปลาตาม ต้าแหนง่ ทต่ี ้ังได้ 5 ชนิด คอื (ภาพที่ 2.40) 1) maxillry barbel เป็นหนวดที่มักเป็นคู่ขนาดใหญ่ต้ังอยู่บนกระดูก maxillary ของขากรรไกรบน พบในปลาแขยง ปลาดุก ปลากด ปลาแค้ เป็นต้น 2) mandible หรือ mandibulary barbel เป็นหนวดท่ีอยู่บริเวณขากรรไกรล่าง Mandible มเี ปน็ คพู่ บในปลาดกุ ปลากด เปน็ ตน้ 3) snout barbel เป็นหนวดคู่ท่ีอยู่บนจะงอยปาก หนวดคู่นี้หากอยู่บริเวณฐาน ของรูจมูกก็จะเรียกอกี อยา่ งว่า Nasal barbel พบอยู่ทั่วไปในปลากด 4) rostral barbel เป็นหนวดคู่ท่ีอยู่บนส่วนของจะงอยปากแต่อยู่ในร่องที่แบ่งส่วน ของจะงอยปากออกจากส่วนของขากรรไกรและอยู่ทางด้านบนของกระดูก premaxilla ประมาณ บริเวณรอยต่อของกระดูก premaxilla และ กระดูก maxilla หนวดแบบนี้พบในปลาตะเพียน เป็น ตน้ 5) mental หรือ chin barbel เป็นหนวดที่อยู่บริเวณใต้คาง มีท้ังเป็นคู่และเป็น หนวดเดีย่ วๆ พบในปลาจวด ปลาแพะ เปน็ ตน้ ข. ก. ง. ค. ใ 27 ภาพท่ี 2.40 ต้าแหน่งท่ตี ้ังของหนวดปลา . ใ ทม่ี า: ก.-ค. htttp://www.pfcollege.com/images/columใ n_1529463/ ง. อภินนั ท์ (2561) . วิทยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรียใงโดยครูนุสราสนิ ี ณ พทั ลุง

Ichthyology 2.6.7 ผิวหนงั (skin) ผวิ หนังของปลาท้าหนา้ ท่ีปอ้ งกันเช้ือโรคจากภายนอก เป็นท่ีรวมของ ประสาทรบั ความรสู้ ึก ช่วยในการหายใจ ขับถ่าย เป็นต้น ผิวหนังของปลาประกอบด้วยเนอื้ เยื่อ 2 ช้ัน ชน้ั นอกเรียก epidermis ช้นั ในเรียก dermis หรือ corium 2.6.8 เกล็ด (scale) เกล็ดเป็นส่ิงปกคลุมตัวปลา มีหน้าท่ีป้องกันอันตรายแก่ตัวปลามีต้น ก้าเนิดมาจากผิวหนังชั้นใน ถือเป็นโครงกระดูกภายนอก (exoskeleton) เน่ืองจากเป็นส่วนท่ีอยู่ ภายนอกและห่อหุ้มล้าตัวปลาเป็นส่วนใหญ่ ปลาท่ีไม่มีเกล็ดเรียกวา่ ปลาหนัง (catfish) ปลาที่มีเกล็ด เรียกว่า ปลาเกล็ด (carp) ปลาบางชนดิ มีเกล็ดปกคลุมเฉพาะบางส่วน ปลาบางชนิดมีเกล็ดทห่ี ลุดง่าย บางชนิดยึดตดิ แน่น (ภาพที่ 2.41) ภาพท่ี 2.41 เกล็ดปลา ทม่ี า: http://zmku.sci.ku.ac.th/ZMKU%20image/Lab%2011_Fish_60_Color.pdf 2.6.9 เส้นข้างตัว (lateral line) ทอดยาวจากขอบของกระพุ้งแก้มไปจนถึงโคนหาง เป็น อวัยวะรับความรู้สึก มีลักษณะเป็นรอยเส้นเล็กๆ บนเกล็ดข้างตัวปลา ในปลาไม่มีเกล็ด รอยเส้นนี้จะ อยู่บนผิวหนัง จุดเริ่มต้นคือบริเวณตอนบนสุดของช่องเหงือก ทอดยาวไปตามข้างตัวถึงปลายสุดของ กระดูกสันหลัง (hypural bone) ซ่ึงอยูต่ รงโคนครบี หาง ปกตจิ ะมีข้างละ 1 เส้น แต่ปลาบางชนิดอาจ มีมากกว่า 1 เส้นหรือไม่มีเลย เส้นข้างตัวอาจเป็นเส้นติดต่อกันไปตลอดหรือขาดเป็นตอนๆ และอาจ โค้งงออยู่ในต้าแหน่งที่สูงหรือต้่าก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ระดับกลางตัว หน้าท่ีของเส้นข้างตัวคือรับ ความส่ันสะเทือนของน้ารอบตัว การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความเค็ม ท้าให้ปลารับรู้ถึงความ เคล่ือนไหวของสง่ิ ที่อย่รู อบตัวได้ทัน ช่วยการหลบหลกี อนั ตรายและหาอาหาร (ภาพที่ 2.42) ภาพที่ 2.42 ลกั ษณะเสน้ ขา้ งตวั 28 ทมี่ า: ถา่ ยภาพโดยนุสราสินี (2561) วทิ ยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดยครูนสุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ

Ichthyology 2.6.10 ครีบ (fin) ครีบปลาอยู่บรเิ วณลา้ ตัวและสว่ นหางใชว้ ่ายน้าและทรงตัวประกอบด้วย ครีบหหู รอื อก ครีบทอ้ ง ครีบหลงั ครีบหาง และครีบก้น (ภาพที่ 2.43) ลักษณะครบี ในปลาปากกลมยัง ไม่มีการพัฒนาก้านครีบท่ีแท้จริง มีเพียงก้านกระดูกอ่อนเท่าน้ัน ปลากระดูกอ่อนก้านครีบเป็นแบบ ceratotrichia และมีก้านกระดูกออ่ นท่ีมีรูปร่างเป็นแท่งรองรับอยู่ด้านใต้ ส้าหรบั ในปลากระดูกแขง็ มี ครบี ทป่ี ระกอบด้วย ก้านครีบทเี่ ปน็ แบบ lepidotrichia ประกอบด้วยก้านครบี (fin ray) ได้แก่ ก้านครีบแข็ง (spiny fin ray ) ลักษณะเป็นก้านครีบแขง็ ทอ่ นเดยี วปลายแหลมคมอยู่ตอนต้นของครีบ ก้านครีบอ่อน (soft fin ray ) มีลักษณะเป็นปล้องหรือท่อสั้นๆ ต่อกันเป็นก้านครีบ และปลายก้าน ครีบอาจแตกเป็น 2-3 แขนงและเนอ้ื เย่อื ท่ียดึ ก้านครีบ (fin membrane) (ภาพที่ 2.44) ครบี หลงั (dorsal fin) ครีบหาง (cadual fin) ครีบอก (pectoral fin) ครบี กน้ (anal fin) ครบี ท้อง (pelvic fin) ภาพที่ 2.43 ลักษณะครีบปลา ทม่ี า: ถา่ ยภาพโดยนุสราสินี (2561) ก้านครบี แขง็ ก้านครบี ออ่ น เยื่อยดึ กา้ นครบี ภาพท่ี 2.44 ลกั ษณะของกา้ นครบี แขง็ ก้านครีบอ่อนและเย่ือยดึ กา้ นครีบ ทมี่ า: ถ่ายภาพโดยนุสราสนิ ี (2561) วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรยี งโดยครนู ุสราสนิ ี ณ พทั ลงุ 29

Ichthyology ครบี ปลาแบ่งได้2 แบบคอื 1. ครีบเด่ียว (single fin) มหี นา้ ทีท่ รงตัวไมใ่ ห้เอยี งซา้ ย-ขวาและเป็นหางเสือคัดทา้ ย ได้แก่ 1.1ครีบหลัง (dorsal fin) อยู่ส่วนหลังของล้าตัว อาจแยกเป็น 2-3 ตอน หรือแยก ออกเป็นแต่ละอัน ในปลากระดูกแข็งชั้นต่้าจะมีเพียงอันเดียวและเป็นก้านครีบอ่อนทัง้ หมด เช่น ปลา หลังเขียว ส่วนในปลาช้ันสูงจะมีตั้งแต่ 2 อันขึ้นไป โดยครีบอันแรกจะเป็นก้านครีบแข็ง และอันท่ี 2 จะเป็นก้านครีบอ่อนพบในปลากระบอก ปลาทู เป็นต้น โดยท่ัวไปปลามีครีบหลัง 1 อัน หากมี 2 อัน จะเป็นครีบหลังอันแรกท่ีเป็นก้านครีบแข็ง ปลาบางชนิดครีบหลังอันที่ 2 เป็นครีบไขมัน (adipose fin) (ภาพที่ 2.45) ปลาบางชนิดครีบหลังอันท่ี 3 เป็นครีบฝอย (finlet) (ภาพที่ 2.46) ในปลาบาง ชนิดครีบหลงั จะติดตอ่ กับครีบหางและครีบก้น พบในปลาไหล นอกจากนใ้ี นปลาบางชนดิ ครีบหลงั อาจ เปล่ยี นรูปร่างไป (ภาพท่ี 2.47) เพอ่ื การปรบั ตวั ในการด้ารงชีวิต เชน่ สว่ นหนา้ ของครบี หลังเปลีย่ นเป็น เส้นยื่นยาวออกไป (ภาพ ก) พบในปลาลิ้นหมาหงอนยาว ปลาโฉมงาม ปลาทรายแดง หรือครีบหลัง อันแรกเปลยี่ นไปเป็นอวัยวะยึดเกาะ (sucking disc) (ภาพ ข.) พบในปลาเหาฉลาม หรือครีบหลังอัน แรกเปลี่ยนไปเปน็ อวยั วะเปล่งแสง (ภาพ ค.) ใชเ้ ป็นเคร่อื งมอื ส้าหรับลอ่ เหยอ่ื พบใน ปลาแองเกอร์ (angler fish) ภาพท่ี 2.45 ลกั ษณะครบี หลังตอนเดียวและสองตอน ทีม่ า: อภินันท์ (2561) ภาพท่ี 2.45 ลกั ษณะครีบไขมัน (ต่อ) 30 ที่มา: ถา่ ยภาพโดยนุสราสินี (2561) วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรียงโดยครูนสุ ราสนิ ี ณ พทั ลุง

Ichthyology ภาพท่ี 2.46 ลักษณะครบี ฝอย ทีม่ า: ถ่ายภาพโดยนสุ ราสินี (2561) ก. ข. ค. ภาพท่ี 2.47 ลักษณะของครีบหลังท่ีเปลี่ยนรปู ทมี่ า: ก. ถา่ ยภาพโดยนุสราสินี (2561) ข. https://www.dmcr.go.th/detailAll/24207/nws/141 ค. https://www.google.com/imgres?imgurl=http://www.oknation.net/ 1.2 ครีบก้น (anal fin) เป็นครีบเดี่ยวท่ีมีต้าแหน่งอยู่ทางด้านท้ายของรูก้น ขนาดและ รูปรา่ งแตกต่างกนั ปลาบางชนดิ ครีบกน้ จะมลี กั ษณะหรือการท้าหนา้ ท่ีเปลี่ยนไป (ภาพท่ี 2.48) เช่น ปลาโฉมงามมีก้านครีบก้นเรียวยาว (ภาพ ก.) ส่วนปลาหางนกยูงบางส่วนของครีบก้นเปลี่ยนไปท้า หน้าท่ีช่วยในการสืบพันธุ์ (ภาพ ข) ปลาส่วนมากครีบก้นมี 1 อัน ยกเว้น ปลาซิวแก้ว (Corica sp.) มี ครบี กน้ 2 อนั ปลาท่ไี มพ่ บครบี ก้น เชน่ ปลากระเบน วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรยี บเรยี งโดยครูนุสราสินี ณ พทั ลุง 31

Ichthyology ก. ข. ภาพที่ 2.48 ลักษณะของครีบก้นแบบตา่ งๆ ทมี่ า: ก. ถา่ ยภาพโดยนุสราสินี (2561) ข. http://fishbase.se/photos/thumbnailssummary.php?ID=11891 1.3 ครีบหาง (caudal fin) อยู่ท้ายสุดของล้าตัว มี 1 อัน เป็นครีบเด่ียวท่ีจัดว่ามีขนาด ใหญ่กว่าครีบอื่นๆ มีหน้าท่ีว่ายน้าพุ่งตัวไปข้างหน้า และคัดท้ายให้ไปตามทิศทางท่ีต้องการ ลักษณะ ของครีบหางอาจบอกใหท้ ราบได้วา่ เป็นปลาที่วา่ ยนา้ เร็วหรือช้า รูปแบบของครบี หางจะแตกต่างกันไป ตามโครงสรา้ งและวิธีการหาอาหาร ครีบหางแบ่งตามโครงสร้างของกระดกู ภายในออกไดด้ งั น้ี (ภาพท่ี 2.49) 1) เฮเทอโรเซอรค์ ัลเทล (heterocercal tail) (ภาพ ก.) ครบี หางแพนบน (upper lope) ใหญ่กว่าแพนล่าง (lower lope) เนื่องจากปลายของกระดูกสันหลงั ขอ้ สดุ ท้ายยกเชิด ขนึ้ และโค้งไปตามขอบบนของหางจนสดุ ปลายครบี พบใน ปลาฉลาม ปลาสเตอรเ์ จยี น และปลาการ์ 2) ไฮโพเซอร์คัลเทล (hypocercal tail) (ภาพ ข.) แพนหางบน-ล่าง ไม่เท่ากันแต่ ลกั ษณะตรงกนั ข้ามกับท่กี ล่าวมาข้างต้น คือ แพนหางบนจะเล็กกว่าแพนหางล่าง เน่ืองจากกระดกู สัน หลังข้อสุดท้ายจะโค้งลงล่าง พบในปลาท่ีสูญพันธ์ุไปแล้วและอยู่ในลักษณะที่เป็นฟอสซิล ปลาท่ีพบ คอื ออสตราโคเดิร์ม (pterolepis) 3) ไดฟิเซอร์คัลเทลหรือโปรโตเซอร์คัล (diphycercal tail หรือ protocercal tail) (ภาพ ค.) เปน็ ครบี หางอนั แรกสุดของปลา ลักษณะเปน็ 2 สว่ นเทา่ ๆ กนั โดยมปี ลายกระดูกสันหลงั ข้อ สุดท้ายซ่ึงมีลักษณะเหยียดตรงเป็นเส้นแบ่ง พบในแอมฟิออกซัส ปลาปากกลม และตัวอ่อน (larva) ของปลาทกุ ชนิด 4) เลปโทเซอร์คัลเทล (leptocercal tail) (ภาพ ง.) ลักษณะเหมือนกันท้ัง 2 ซีก มี การเพมิ่ ความยาวของครีบหลังและครบี กน้ จนยาวต่อเน่ืองกบั ครีบหาง กระดูกสนั หลงั มีลกั ษณะตรง ไฮพูรัลเพลต ลดขนาดลงมากจนกระทั่งเป็นเส้นเรียว และยาวไปสุดปลายครีบ ซ่ึงแคบเล็กหรือเส่ือม จนไมม่ ีเหลือ พบในปลาแร็ตฟชิ ปลามปี อด ปลาไหล ปลากระเบน วิทยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรยี งโดยครนู สุ ราสินี ณ พทั ลุง 32

Ichthyology 5) ไอโซเซอร์คัลเทล (isocercal tail) (ภาพ จ.) กระดูกสันหลังข้อสุดท้ายเปลี่ยนรูป เป็นแผ่นเล็กๆ และส่วนปลายของกระดูกสันหลังไม่จรดส่วนปลายของครีบ แพนหางจะเท่ากันทั้งบน และล่าง กา้ นครบี ทีป่ ระกอบเปน็ ครบี หางจะแยกจากครีบหลังและครบี กน้ พบใน ปลาพระอาทิตย์ ปลาคอ้ ด (Sunfish, Mola mola) 6) โฮโมเซอร์คัลเทล (homocercal tail) (ภาพ ฉ.) เป็นครีบหางของปลากระดูก แข็งในปัจจุบัน มองจากภายนอกจะเห็นแพนหางบนและล่างเท่ากัน ส่วนโครงสร้างภายในจะแตกต่าง จากแบบที่กล่าวมาแล้ว คือ มีกระดูกยูโรสไตล์ (urostyle) ซง่ึ โค้งข้ึนข้างบนต่อออกมาจากกระดูกสัน หลังข้อสุดท้าย และมีไฮพูรัลโบนท่ีประกอบกันเป็นไฮพูรัลเพลต อยู่ทางด้านล่างของยูโรสไตล์ ก้าน ครีบหางจะต่อออกมาจากไฮพูรัลเพลต โดยมีก้านครีบของแพนหางบนและล่างจ้านวนเท่าๆกัน มี ลักษณะภายนอกท่ตี ่างกัน 6 แบบ (ภาพที่ 2.50) คอื 1) หางรูปส้อม (forked tail) (ภาพ ก.) มีรอยหยักเว้าลึกตรงกลาง ครีบจึง เป็น 2 แฉก คล้ายสอ้ ม ครบี แพนบนและล่างมีความยาวเท่ากนั หรือใกล้เคียงกนั เชน่ ปลาทู ปลาลัง ปลาอินทรี ปลาไน ปลาดาบลาว ปลาแขง้ ไก่ ปลาหลงั เขยี ว เปน็ ตน้ 2) หางเว้า (emarginated tail) (ภาพ ข.) หางเว้าแต่ไม่ลึกเท่าหางเว้าวง เดือน พบในปลาข้างลาย ปลาเห็ดโคน ปลาสลิด ปลากระดี่ เปน็ ต้น 3) หางเว้ารูปวงเดือนหรือรูปเคียว (concave หรือ lunate tail) (ภาพ ค.) ปลายหางเว้าคลา้ ยวงเดอื น ซงึ่ เป็นรอยหยักท่ตี น้ื กวา่ หางรปู สอ้ ม เชน่ ปลาโอ ปลาทูน่า เปน็ ตน้ 4) หางตัดตรง (straight หรือ truncate tail) (ภาพ ง.) ปลายครีบหางตัด ตรงลงมา เช่น ปลาซกี เดียว ปลาปักเปา้ ปลาหชู า้ ง ปลาตะกรบั ปลานิล เป็นตน้ 5) หางกลม (round tail) (ภาพ จ.) ปลายครีบกลมมนอย่างพัด เช่น ปลา ช่อน ปลาหมอไทย ปลากะพงขาว ปลาดกุ เป็นตน้ 6) หางปลายแหลม (pointed tail) (ภาพ ฉ.) ปลายครบี แหลมอยา่ งใบโพธิ์ เช่น ปลาบู่ ปลาม้า หรือปลากวาง ปลาเขือ ปลาใบปอ ปลาผีเสอ้ื เปน็ ตน้ วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรยี งโดยครูนุสราสนิ ี ณ พทั ลุง 33

Ichthyology ก. ข. ค. ง. จ. ฉ. ภาพที่ 2.49 ลกั ษณะโครงสรา้ งของครบี หางปลา ทมี่ า: วัลภา (2558) วทิ ยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรยี งโดยครูนสุ ราสนิ ี ณ พทั ลงุ 34

Ichthyology ก. หางรูปสอ้ ม ข. หางเวา้ เล็กนอ้ ย ค. หางเว้ารูปวงเดือนหรอื รูปเคยี ว ง. หางแบบตัดตรง จ . หางแบบกลม ฉ. หางแบบใบโพธ์ิ ภาพท่ี 2.50 ครบี หางแบบไฮโมเซอคัล ทมี่ า: ถา่ ยภาพโดยนุสราสินี (2561) 2. ครีบคู่ (paired fin) ทา้ หน้าทพี่ ยุงตวั และว่ายน้ารวมท้ังการหยดุ หรือเบรก ได้แก่ 2.1 ครีบอกหรือครีบหู (pectoral fin) เป็นครีบคู่ท่ีอยู่ส่วนท้ายของแผ่นปิดกระพุ้งแก้ม โดย อยขู่ ้างละ 1 อนั รูปรา่ งและตา้ แหน่งอาจเปลยี่ นไปตามวิวัฒนาการของปลา เช่น ปลาทีว่ ่ายน้าเร็วจะมี ครีบหูท่ีมีลักษณะเป็นรูปเคียว ปลาที่มีวิวัฒนาการมากครีบจะอยู่ในระดับสูง ปลาบางชนิดไม่มีครีบหู เช่น ปลาปากกลม ครีบหูของปลาบางชนิดอาจเปล่ียนรูปไป (ภาพที่ 2.51) เช่น ปลากระเบนมีครีบหู แผเ่ ปน็ แผน่ กว้าง (ก) ชว่ ยในการว่ายนา้ ได้ดี สว่ นปลานกกระจอกครีบหูมขี นาดใหญ่ (ภาพ ข) ทา้ ใหส้ ามารถบนิ ข้นึ เหนอื น้าได้ วทิ ยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรียงโดยครูนุสราสินี ณ พัทลงุ 35

Ichthyology กข ภาพท่ี 2.51 ลกั ษณะครบี หทู ีเ่ ปล่ยี นรูปไปเปน็ แบบต่างๆ ทมี่ า: ก. ถา่ ยภาพโดยนุสราสินี (2561) ข. https://www.google.com/search?biw=1093&bih 2.2 ครีบท้องหรือครีบเอว (pelvic fin) เป็นครีบคู่ท่ีอยู่ต้่ากว่าระดับครีบอกหรือครีบหู (ภาพที่ 2.52) ส่วนมากอยู่ท่ีบริเวณท้องปลา รูปร่างและต้าแหน่งที่ต้ังของครีบท้องจะแตกต่างกัน แล้วแต่ชนิดของปลาดังน้ี 1) ต้าแหน่งท้อง (abdomen position) (ภาพ ก.) อยู่เย้ืองไปข้างหลังครีบอกจนถึง บริเวณท้องใกล้รูทวาร จัดเป็นปลาที่ค่อนข้างโบราณ มีวิวัฒนาการต้่า พบในปลาโคก ปลาหลังเขียว (Sardine) ปลาแมว (anchovy ) เปน็ ต้น 2) ต้าแหน่งอก (thoracic position) (ภาพ ข.) อยู่ตรงใต้ครีบอกพอดี เช่น ปลาโอ ปลาทู ปลาลงั ปลาทรายขาว ปลาทนู า่ เป็นต้น 3) ต้าแหน่งคอ (Jugular position) (ภาพ ค.) อยู่ล้าไปทางหน้าของครีบอกจนเกือบ ถึงส่วนของอสิ ท์มสั เปน็ ปลาท่ีมีวิวัฒนาการสูง เชน่ ปลาล้ินหมา ปลากระบ่ี เป็นต้น ก. ข. ค. ภาพท่ี 2.52 ลักษณะตา้ แหนง่ ของครีบท้อง ทม่ี า: ก.-ข. ถ่ายภาพโดยนสุ ราสินี (2561) ค. https://www4.fisheries.go.th/local/file วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรียงโดยครูนุสราสนิ ี ณ พัทลงุ 36

Ichthyology 2.6.11 คอดหาง (caudal peduncle) อยตู่ อนท้ายของส่วนหางตอ่ กับครบี หาง เปน็ ส่วนท่ี แคบท่สี ดุ ของล้าตัว 2.6.12 รกู ้น (anus หรือ cloaca) รกู ้นส่วนใหญจ่ ะอยู่หน้าครีบก้น เป็นจุดแบ่งระหว่างส่วนล้าตัวกับส่วนหางในปลากระดูกแข็ง รูก้นเรียกว่า (anus) เพราะเป็นทางออกของอุจจาระเท่าน้ัน ส่วนเชื้อสืบพันธ์ุและปัสสาวะจะมี ทางออกอีกรูหน่งึ เรียกว่า (urogenital pore) ซ่ึงจะอยถู่ ัดจากแอนัสมาทางด้านท้าย แต่ในปลากระดูก ออ่ นรูกน้ เรยี กว่า โคลอาคา (cloaca) เพราะเป็นทางออกรว่ มของเสียและเชอ้ื สบื พนั ธ์ุ 2.7 อวยั วะภายในของปลา อวัยวะภายในของปลาส่วนใหญ่จะมีคล้ายกัน แต่แตกต่างออกไปตามกลุ่มของปลา จากปลา ปากกลม ปลากระดูกอ่อน (ภาพที่ 2.53) และปลากระดูกแข็ง (ภาพท่ี 2.54) ดังนี้ (ภาพท่ี 2.55) สามารถศึกษารายละเอยี ดเพม่ิ เตมิ ไดใ้ นบทที่ 7 ระบบทางเดินอาหารของปลา 2.7.1 หัวใจ (heart) เป็นกอ้ นเนื้อสีแดงเข้ม อยูท่ ี่บริเวณอกด้านใต้ของเหงือก ปลาฉลามจะมี หัวใจขนาดใหญ่แบ่งเปน็ สว่ นตา่ งๆดูชดั เจน สว่ นปลากระดูกแขง็ มหี ัวใจขนาดเล็ก (ภาพ ก.) 2.7.2 กระเพาะลม (gas-bladder) ไม่พบในพวกปลากระดูกอ่อนและปลากระดูกแข็งบาง ชนิด ลักษณะเป็นถุงสีขาวนวลเคลือบเงาเล็กน้อย ปกติ เป็นถุงเดี่ยวยาวเรียวทอดขนานอยู่ด้านบน ของอวัยวะภายในทั้งหมด มีปลายด้านท้ายตัน ยกเว้นปลาบางกลุ่ม เช่น ในวงศ์ปลาหลังเขียว (Clupeidae) จะมีด้านปลายเป็นรูเปิดสู่ภายนอกใกล้บริเวณรูก้น กระเพาะลมนี้จะมีท่อเรียกว่า (pneumatic-duct) เชื่อมตดิ ตอ่ กับทางเดนิ อาหาร ส้าหรบั ปลามีปอด (lungfish) กระเพาะลมนี้จะท้า หน้าที่เป็นปอด ส่วนปลาอ่ืนๆ น้ันกระเพาะลมจะช่วยเร่ืองการทรงตัวหรือการปรับตัวในเร่ืองการ เปลยี่ นแปลงความกดดนั (ภาพ ข.) 2.7.3 ตับ (liver) จะเป็นพูใหญ่สีเหลืองเห็นได้ชัดเจน อยู่เหนือหัวใจ เย้ืองไปทางด้านหลัง เล็กนอ้ ย สีของตับอาจแตกต่างกันไปบา้ งตามชนิดของปลา โคนของตบั ติดอยู่กบั เยือ่ ทีต่ ิดผนังด้านท้อง ของช่องตวั ตับมหี น้าท่ีสรา้ งน้ายอ่ ยและเป็นที่สะสม (ภาพ ค.) 2.7.4 ถุงนา้ ดี (gall bladder) เป็นถุงเลก็ ๆ รปู รา่ งกลม มีขนาดเล็กหรือใหญ่แล้วแตช่ นิดของ ปลาจะฝังอยู่ในพูของตับปลามีสีเขียว หรอื เขยี วอมฟา้ ข้นึ อยู่กับความเข้มข้นของน้าดี จากถุงน้าดีมีท่อ ติดกบั ตับเรียกว่า cystic duct (ภาพ ง.) 2.7.5 ไต (kidney) มีสีแดงเข้มเกือบจะเป็นสีน้าตาล มีเป็นคู่อยู่ทอดยาวเหนือช่องตัวติดอยู่ ใต้กระดูกสันหลงั อยนู่ อกเยือ่ บุชอ่ งท้อง ทา้ หน้าทข่ี ับถ่ายของเสยี ทีเ่ ป็นของเหลว ซง่ึ ร่างกายไม่ตอ้ งการ โดยจะมที อ่ ไปเช่อื มต่อกบั กระเพาะปสั สาวะ (urinary bladder) (ภาพ จ.) วทิ ยาลยั เทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรียงโดยครูนสุ ราสนิ ี ณ พัทลงุ 37

Ichthyology 2.7.6 ม้าม (spleen) มี สีแดงเข้ม มขี นาดเลก็ ติดอยู่บริเวณกระเพาะอาหารส่วนปลายมักจะ ทอดขนานไปดว้ ยกันมหี นา้ ที่ในการช่วยสร้างเมด็ เลือดแดง (ภาพ ฉ.) 2.7.7 กระเพาะอาหาร (stomach) เป็นอวัยวะท่ีค่อนข้างใหญ่เห็นได้ชัดเจน รูปร่าง แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดปลาต้ังอยู่บริเวณใต้ตับ กระเพาะอาหารเป็นส่วนติดต่อมาจากหลอดคอ รูปร่างมีหลายลักษณะอาจเป็นตัว U พบในปลาแรด ปลาลิ้นหมา เป็นต้น หรือรูปตัว J พบในปลาทู ปลาฉลาม เป็นต้น หรืออาจเหยียดตรง พบในปลาช่อน ปลานิล ปลาสลิด เป็นต้น กระเพาะจะ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ กระเพาะส่วนต้นซ่ึงมักจะโป่งหรือพองออกเรียกว่า cardiac ส่วนปลายมักจะ เรียวเล็กลงเรียกว่า pyloric ในปลาบางชนิดจะมีกระเพาะอาหารเสริมเรียก gizzard อยู่ถัดจาก กระเพาะอาหารมีกล้ามเน้ือหนา พบในวงศ์ปลากระบอก ปลาโคก (ภาพ ช.) 2.7.8 อัณฑะ (testis) เป็นอวัยวะสืบพันธ์ุของปลาเพศผู้ จะเห็นชัดเจนในระยะฤดูผสม พันธ์ุ มักมีลักษณะเป็นฝักคู่ขนานอยู่กับด้านบนของช่องตัว แต่พออวัยวะนี้เจริญมากขึ้นอาจมีรูปร่าง เปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น อัณฑะของปลาสวายจะมีลักษณะเป็นกระจุกของถุงเล็กๆ รูปร่างเรียวยาว ปลายแหลมเป็นพวงใหญ่ คล้ายตัว และอัณฑะของปลาดุกจะมีลักษณะเป็นแผ่นแบนเพียงสองด้าน เป็นต้น ส้าหรับปลาฉลามอัณฑะเป็นแท่นยาวแบน สีครีมสองฝักอยู่ในต้าแหน่งเดียวกับท่ีพบรังไข่ (ภาพ ซ.) 2.7.9 รงั ไข่ (ovary) เปน็ อวัยวะสืบพนั ธ์ขุ องปลาเพศเมีย มักจะพบเห็นไดช้ ดั เจนในฤดผู สม พันธุ์เม่ือไข่เริ่มแก่จะมีสีเหลืองเข้มขึ้น ปลากระดูกแข็งทั่วไปจะมีรังไข่เป็นฝักสีเหลืองเป็นคู่อยู่ขนาน ดา้ นบนของช่องตัว สีจะแตกต่างตามความเจริญมากน้อยของเมด็ ไข่ ส่วนรังไข่ของปลาฉลามจะมีข้าง เดยี วโดยมากพบทางด้านขวาไมเ่ ปน็ ฝักยาวเหมอื นปลากระดูกแขง็ (ภาพ ฌ.) 2.7.10 ตบั อ่อน (pancreas) เป็นอวัยวะสีเหลืองอ่อน ปลากระดูกแขง็ ท่วั ไปมกั มตี ับออ่ นอยู่ กระจดั กระจาย ส่วนของปลาฉลามยังเห็นเกาะกลุ่มเป็นก้อนติดอยู่ปลายม้าม และมีบางส่วนจะติดอยู่ กับเย่ือ mesentery ปลาบางชนิดตับออ่ นลดขนาดลงเหลือเพียงเป็นแถบเสน้ ใยขาวๆ เท่าน้ัน ในปลา บางชนดิ บางส่วนของตับออ่ นจะฝังตัวอยู่ในตบั ต้าแหนง่ ปกตขิ องตับออ่ นจะตั้งอยู่บริเวณสว่ นท้ายของ กระเพาะอาหาร ตับออ่ นมีหนา้ ที่สร้างนา้ ย่อยอาหารหลายชนดิ และฮอรโ์ มน 2.7.11 ล้าไส้ (intestines) ล้าไส้แบ่งเป็นส่วนต้น คือ ล้าไส้เล็ก (small-intestine) อยู่ต่อ จากกระเพาะอาหารลงมา ล้าไสเ้ ล็กจะมหี นา้ ที่ในการช่วยยอ่ ยอาหาร ล้าไส้ตอนปลายส่วนสุดท้ายท่ีจะ เปิดออกสู่ภายนอกเรียกล้าไส้ใหญ่ (rectum) หรือ large intestine) ล้าไส้ใหญ่ของปลากระดูกอ่อน จะขยายพองใหญ่ ซึ่งภายในจะมเี น้ือเยื่อพับซ้อนกันเป็นเพิ่มพื้นที่ในการดูดซึมอาหารท่ถี ูกย่อยแล้ว มี ลักษณะที่เรียกว่าแบบ (scroll valve) พับม้วนซ้อนเป็นหลายชั้นหรือแบบ (spiral valve) มีลักษณะ มว้ นวนเป็นบันไดเวียน ความยาวของล้าไสจ้ ะส้ันหรอื ยาวก็เป็นลักษณะบง่ ช้ีถึงนิสยั การกินอาหารของ วทิ ยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรยี บเรียงโดยครนู สุ ราสนิ ี ณ พทั ลุง 38

Ichthyology ปลา คือ ถ้าล้าไส้ยาวจะเป็นปลากินพืช ถ้าล้าไส้ส้ันจะเป็นพวกที่กินเนื้อ หรือบางกลุ่มเป็นปลาที่ชอบ กินตวั อ่อนแมลงน้า (ภาพ ญ.) 2.7.12 ไส้ติ่ง (pyloric caeca) ส่วนใหญ่จะพบในปลากระดูกแข็ง บางชนิดพบหลายอัน เช่น ปลาช่อน ปลาทู เป็นต้น บางชนิดไม่มีเลย ไส้ต่ิงมีลักษณะเป็นเส้นเล็กเรียวยาวอยู่บริเวณล้าไส้ เล็กตอนตน้ (duodenum) ตรงส่วนทีต่ ่อจากระเพาะอาหารลงมา ส่วนหน้าที่ยังไมช่ ัดเจนมากนัก แต่ เป็นไปไดว้ า่ ท้าหนา้ ท่ีเก่ียวกับการสรา้ งเอนไซม์ท่ีชว่ ยในการย่อยและดดู ซึมอาหาร (ภาพที่ 2.56) ภาพท่ี 2.53 อวยั วะภายในของปลากระดูกออ่ น ทม่ี า: https://athidtiya1995.files.wordpress.com/2014/11/internal-fish3.jpg ภาพที่ 2.54 อวยั วะภายในของปลากระดูกแข็ง ทม่ี า: https://www.google.com/search?ei=Sb49XLjdKon- วิทยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรียบเรยี งโดยครูนุสราสินี ณ พัทลุง 39

Ichthyology Heart Swim bladder ก. หวั ใจ ข. กระเพาะลม Liver Gall bladder ค. ตบั ง. ถุงนา้ ดี Kidney Spleen จ. ไต ฉ. มา้ ม Stomach Gonad ช. กระเพาะอาหาร ซ. อวยั วะสืบพันธ์ุ ภาพท่ี 2.55 ลกั ษณะอวัยวะภายในของปลานิล ที่มา: ก.-ฌ. http://zmku.sci.ku.ac.th/ZMKU%20image/Lab%2011_Fish_60_Color.pdf วิทยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรยี งโดยครนู ุสราสนิ ี ณ พัทลุง 40

Ichthyology Ovary Intestine ฌ. รงั ไข่ ญ. ล้าไส้ ภาพที่ 2.55 ลักษณะอวัยวะภายในของปลานลิ (ตอ่ ) ท่มี า: ก.-ซ. http://zmku.sci.ku.ac.th/ZMKU%20image/Lab%2011_Fish_60_Color.pdf ฌ.-ญ. ถ่ายภาพโดยนุสราสินี (2561) Pyloric caeca ภาพท่ี 2.56 ลกั ษณะไสต้ งิ่ ของปลาทู ที่มา : ถา่ ยภาพโดยนสุ ราสินี (2561) วิทยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรียงโดยครูนสุ ราสินี ณ พทั ลงุ 41

Ichthyology บรรณานกุ รม กรมประมง. 2530. ภาพปลาและสตั วน์ า้ ของไทย. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ. ________. 2557. ปลาลงั . (ออนไลน)์ สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/ [10 มิถุนายน 2561]. ________. 2557. ปลาลนิ้ ควายเกลด็ ลน่ื . (ออนไลน)์ สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file. [25 มิถุนายน 2561]. ________. 2557. ปลาดาบลาวยาว. (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file. [25 มถิ นุ ายน 2561]. ________. 2557. ปลาจาระเม็ด. (ออนไลน์) สบื คน้ จาก https://www4.fisheries.go.th/local/file. [25 มิถุนายน 2561]. ________. 2558. ปลาหมอชมุ พร. (ออนไลน์) สืบคน้ จาก https://www.fisheries.go.th/rgm- chumphon/ ปลาหมอชุมพร. [30 มถิ ุนายน 2561]. กฤษณ์ มงคลปัญญา และ อมรา ทองปาน. 2533. ชวี วทิ ยา. คณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์, กรงุ เทพฯ. จันทมิ า อปุ ถัมภ์. 2558. เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าชวี วทิ ยาของปลา. วิทยาลยั เกษตรและ เทคโนโลยีสงขลา, สงขลา. เทพ เมนะเศวต. ม.ป.ป. ปลา. กรุงเทพฯ : กองส้ารวจและค้นคว้า. กรมประมง. ทวีศักด์ิ ทรงศริ ิกลุ . 2530. คมู่ ือการจา้ แนกครอบครวั ปลาไทย. คณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์, กรงุ เทพ. นติ ยา เลาหะจนิ ดา. 2539. ววิ ฒั นาการของสตั ว.์ : คณะวทิ ยาศาสตร์ มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. นริ นาม. มปป. ตวั อยา่ งปลารปู ทรงแบบเสน้ ดา้ ย. (ออนไลน์) สืบคน้ จาก https://www.google.com/search?biw=1366&bih=608&tbm=isch&sa. [27 มิถนุ ายน 2561]. นิรนาม. มปป. ปลาผเี ส้ือนกกระจบิ . (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://www.google.com/search?q=ปลาผเี ส้อื นกกระจิบ&stick. [27 มิถุนายน 2561]. นริ นาม. มปป. ปลาโรนนิ . (ออนไลน)์ สบื คน้ จาก https://news.kapook.com/topics/ปลาโรนิน. [27 มถิ นุ ายน 2561]. วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปัตตานี เรยี บเรยี งโดยครูนสุ ราสนิ ี ณ พทั ลุง 42

Ichthyology บรรณานกุ รม (ตอ่ ) นิรนาม. มปป. เกล็ดแบบพลาคอยด์. (ออนไลน์) สืบคน้ จาก https://www.google.co.th/search?q=เกล็ด+placoid&tbm=isch&source=iu&ictx=. [27 มถิ นุ ายน 2561]. นริ นาม. มปป. ปลาลูกผง้ึ . (ออนไลน์) สืบคน้ จาก http://aqualib.fisheries.go.th/mobile/fxp_detail.php?txtFish_id=174 [28 มิถุนายน 2561]. นิรนาม. มปป. ปลาสเตอร์เจย้ี น. (ออนไลน)์ สืบคน้ จาก http://animal-of-the-world.blogspot.com/2010/03/blog-post.html [29 มิถุนายน 2561]. นิรนาม. มปป. ปลาแซลมอน. (ออนไลน)์ สืบคน้ จาก http://www.flku.jp/ [29 มิถุนายน 2561]. นริ นาม. มปป. ปลาสลดิ . (ออนไลน์) สบื ค้นจาก https://www.google.com/search?q= [29 มถิ นุ ายน 2561]. นิรนาม. มปป. ปลากดั . (ออนไลน์) สบื คน้ จาก www.google.com/search?biw=811&bih [30 มิถนุ ายน 2561]. นริ นาม. มปป. ปลากดั . (ออนไลน์) สบื ค้นจาก www.google.com/search?biw=811&bih [30 มถิ ุนายน 2561]. นิรนาม. มปป. ปลาตะเพยี นทราย. (ออนไลน)์ สบื คน้ จาก https://www.google.com/search?q= ปลาตะเพียนทราย&tbm. [30 มถิ ุนายน 2561]. นิรนาม. มปป. ปลาฉนาก. (ออนไลน)์ สบื ค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาฉนาก [10 สิงหาคม 2561]. นิรนาม. มปป. ปลาฉลาม. (ออนไลน)์ สบื คน้ จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาฉนาก [10 สงิ หาคม 2561]. นริ นาม. มปป. ปลาแลมเพรย.์ (ออนไลน)์ สบื ค้นจาก https://www.shutterstock.com/th/image-photo/river-lamprey-isolated- [10 สิงหาคม 2561]. นิรนาม. มปป. ต้าแหนง่ ทีต่ งั้ ของหนวดปลา. (ออนไลน์) สืบค้นจาก htttp://www.pfcollege.com/images/column_1529463/.[15 สงิ หาคม 2561]. วิทยาลยั เทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรียงโดยครนู ุสราสินี ณ พทั ลุง 43

Ichthyology บรรณานกุ รม (ตอ่ ) นริ นาม. มปป. เกล็ดปลา. (ออนไลน์) สบื ค้นจาก http://zmku.sci.ku.ac.th/ZMKU%20image/Lab%2011_Fish_60_Color.pdf [20 สิงหาคม 2561]. นิรนาม. มปป. เกล็ดปลา. (ออนไลน)์ สืบคน้ จาก http://zmku.sci.ku.ac.th/ZMKU%20image/Lab%2011_Fish_60_Color.pdf [25 สิงหาคม 2561]. นิรนาม. มปป. เหาฉลาม. (ออนไลน)์ สบื ค้นจาก https://www.dmcr.go.th/detailAll/24207/nws/141. [25 สงิ หาคม 2561]. นริ นาม. มปป. ปลาแองเกอร.์ (ออนไลน์) สบื ค้นจาก https://www.google.com/imgres?imgurl=http://www.oknation.net/. [27 สงิ หาคม 2561]. นริ นาม. มปป. ปลาซวิ แกว้ . (ออนไลน์) สืบค้นจาก http://fishbase.se/photos/thumbnailssummary.php?ID=11891 [27 สงิ หาคม 2561]. นิรนาม. มปป. ปลานกกระจอก. (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://www.google.com/search?biw=1093&bih. [27 สิงหาคม 2561]. นริ นาม. มปป. อวยั วะภายในของปลากระดกู อ่อน. (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://athidtiya1995.files.wordpress.com/2014/11/internal-fish3.jpg. [30 สิงหาคม 2561]. นิรนาม. มปป. อวยั วะภายในของปลากระดกู แขง็ . (ออนไลน์) สืบค้นจาก https://www.google.co.th/search?biw=1366&bih=667&ei. [30 สงิ หาคม 2561]. บพิธ จารุพันธ์ุ และนันทพร จารพุ นั ธุ์. 2540. สตั ววทิ ยา. คณะวิทยาศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ. ประจิตร วงศร์ ตั น์. 2541. มนี วทิ ยา (ปฏบิ ัตกิ าร). คณะประมง มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. ประวิทย์ สรุ นรี นาถ. 2531. การเพาะเลยี้ งสตั วน์ า้ ทวั่ ไป. ภาควชิ าเพาะเลี้ยงสตั ว์น้า คณะประมง มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์, กรงุ เทพฯ. วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรยี งโดยครูนุสราสนิ ี ณ พทั ลงุ 44

Ichthyology บรรณานกุ รม (ตอ่ ) ประวิทย์ สรุ นีรนาถ. มปป. ปลากระโทงแทงกลว้ ย (ออนไลน)์ สืบคน้ จาก http://www.dooasia.com/fish/fish-mf011.shtml. [15 มิถุนายน 2561]. ปรชี า สุวรรณพนิ จิ และนงลักษณ์ สวุ รรณพนิ จิ . 2537. ชวี วทิ ยา 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. : ส้านกั พิมพแ์ ห่ง จฬุ าลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , กรงุ เทพฯ. พิชยา ณรงค์พงศ์. 2555. มนี วทิ ยา. พิมพ์ครัง้ ท่ี 1 ส้านกั พมิ พ์แห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลยั , กรงุ เทพฯ. ราชบัณฑติ ยสถาน. 2525. พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑติ ยสถาน. อักษรเจรญิ ทัศน์, กรุงเทพฯ. วิมล เหมะจันทร. 2528. ชวี วทิ ยาปลา. สา้ นกั พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลยั , กรุงเทพฯ. _______________. 2556. ปลาชวี วทิ ยาและอนกุ รมวธิ าน. สา้ นกั พิมพแ์ ห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิ ยาลัย, กรงุ เทพฯ. วรี พงศ์ วฒุ พิ ันธชุ์ ัย. 2536. การเพาะพนั ธปุ์ ลา. ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลยั บรู พา. วฒุ ิชยั เจนการ และจิตตมิ า อายตุ ตะกะ. ม.ป.ป. พฤตกิ รรมของปลาฉลาม. สถาบนั ประมงน้าจืด แหง่ ชาติ กรมประมง, กรุงเทพฯ. วัลภา ชวี าภสิ ณั ห์. 2558. เอกสารประกอบการสอนชวี วทิ ยาของปลา. วทิ ยาลยั ประมงตณิ สูลานนท์, สงขลา. สบื สิน สนธิรัตน์. 2527. ชวี วทิ ยาของปลา. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรงุ เทพฯ. สภุ าพ มงคลประสิทธิ.์ 2529. มนี วทิ ยา (ปฏบิ ตั กิ าร). กรงุ เทพฯ : คณะประมง มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์, กรงุ เทพฯ. สุภาพร สกุ สเี หลือง. 2538. การเพาะเลย้ี งสัตวน์ า้ .: ศนู ย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ, กรงุ เทพ. . 2542. มนี วทิ ยา. ภาควชิ าชวี วทิ ยา มหาวิทยาลัยศรนี ครินทรวโิ รฒ, กรงุ เทพฯ. อภินันท์ สุวรรณรักษ์. 2561. มีนวทิ ยา. พมิ พ์ครงั้ ท่ี 2 คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางนา้ มหาวิทยาลยั แมโ่ จ้, เชียงใหม่. อุทัยรตั น์ ณ นคร. 2538. การเพาะขยายพนั ธปุ์ ลา. ภาควชิ าเพาะเลี้ยงสตั วน์ า้ คณะประมง, มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร์, กรงุ เทพฯ. วทิ ยาลัยเทคโนโลยกี ารเกษตรและประมงปตั ตานี เรยี บเรียงโดยครนู ุสราสินี ณ พทั ลุง 45

Ichthyology บรรณานกุ รม (ตอ่ ) อญั ชลี เอาผล. 2560. ลกั ษณะอวยั วะภายในของปลานลิ . (ออนไลน)์ สบื ค้นจาก http://zmku.sci.ku.ac.th/ZMKU%20image/Lab%2011_Fish_60_Color.pdf. [27 มถิ ุนายน 2561]. Anonymous. 2009. Angler Fish. [online]. (n.d.). Available from: http://www.eyezed.com/. [28 December 2010]. Bigelow, H.B., and Schroeder, W.C. 1995. “Sharks,” Fishes of the Western North Atlantic. The New Encyclopaedia Britannica 19: 208-215. Bond, C.E. 1979. Biology of Fishes. U.S.A.: Saunders, College Publishing. . 1996. Biology of Fishes. 2nd ed. U.S.A.: Saunders College Publishing. Bone, Q and Moore, R.H. 2008. Biology of Fishes. 3th ed. (n.p.): Taylor & Francis Group. Evans, D.H. 1993. The Physiology of Fishes. Florida: CRC Press. “Fishes”. 1995. The New Encyclopaedia Britannica 19: 192.206. Halstead, Bruce W. 1995. Poisonous and Venomous Marine Animals of the world. The New Encyclopacdia Britannica 19: 271-273. Hildebrand, M. 1995. Analysis of Vertebrate Structure. New York: John Wiley & Sons. Jobling, M. 1995. Environmental Biology of Fishes. London: Chapman & Hall. Lagler, K. F., et al. 1977. Ichthyology. New York: John Wiley & Sons. “Lungfishes (Dipnoi)”. 1995. The New Encyclopaedia Britannica 19: 216-218. Marshall, N.B. 1965. The Life of Fishes. London: Weidenfeld and Nicolson. Moyle, P.B. and Cech, Jr., J.J. (1982). Fishes an Introduction to Ichthyology. New Jersey: Prentice-Hall. . 2004. Fishes : an introduction to ichthyology. 5 ed. Upper Saddle River, NJ 07458: Prentice-Hall. Nelson, J.S. 2006. Fishes of The World. 4 ed. Hoboken, New Jersey: John Wiley & Sons. Nikolsky, G.V. 1965. The Ecology of Fishes. London: Acadamic press. Norman, J.R. 1948. A History of Fishes. New York: A.A. Wyn. Pincher, C. 1948. A Study of Fishes. New York: Duell, Sloan & Pearce. วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปตั ตานี เรียบเรียงโดยครูนสุ ราสินี ณ พทั ลงุ 46

Ichthyology บรรณานกุ รม (ตอ่ ) Schultz, L.P. 1948. The Ways of Fishes. New Jersey: D. Van Nostrand. “The early ray-finned fishes”. 1995. The New Encyclopaedia Britannica 19: 218-223. Webster’s Third New International Dictionary of The English Languagu Unabridged. Volume 2. 1976. Chicago: G & C Mcrrim. วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี เรยี บเรียงโดยครูนุสราสินี ณ พัทลุง 47