Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่ 3 หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

หน่วยที่ 3 หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Published by นุสราสินี ณ พัทลุง, 2021-11-30 07:37:56

Description: หน่วยที่ 3 หลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Search

Read the Text Version

3.6 การอนุบาลสัตว์น้ำ การอนุบาลสัตว์น้ำเป็นการเลี้ยงสัตว์น้ำวัยอ่อนให้ เจริญเติบโตถึงขนาดปล่อยเลี้ยงมีปัจจัยที่ เกี่ยวข้องหลายประการดังนี้ 3.6.1 ที่กักขังควรได้รับการออกแบบที่ถูกต้อง เหมาะสม ตั้งอยู่ในที่ปลอดภัยและสามารถดูแลได้ อย่างใกล้ชิดอัตราการปล่อยที่ไม่หนาแน่นเกินไป By Krunoos

3.6.2 เลือกใช้อาหารให้เหมาะสม เพราะสัตว์น้ำ แต่ละชนิดและในแต่ละระยะจะสามารถใช้ประโยชน์ จากอาหารได้แตกต่างกันเนื่องจากระบบอาหารและ ระบบเอนไซม์ที่ย่อยอาหารไม่เหมือนกันดังนั้น อาหารที่ใช้อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนจึงต้องเลือกให้ เหมาะสมกับนิสัยการกินอาหารของสัตว์น้ำชนิด นั้นๆ ประทักษ์ (2550) กล่าวว่า สัตว์น้ำวัยอ่อน สามารถแยกได้ 3 ประเภท ตามลักษณะทางเดิน อาหารดังนี้ By Krunoos

1) กลุ่มสัตว์น้ำวัยอ่อนที่พบว่ากระเพาะอาหารมี การเจริญเติบโตและพร้อมจะทำหน้าที่ของกระเพาะ อาหารได้ตั้งแต่เริ่มกินอาหารเมื่อไข่แดงยุบหมดไป สัตว์น้ำประเภทนี้จะสามารถใช้อาหารสำเร็จรูปหรือ อาหารประเภทแห้งได้โดยไม่มีปัญหา เช่น ปลาตระ กูลแซลมอน ซึ่งจะมีการพัฒนาของกระเพาะอาหาร ตั้งแต่เกิด By Krunoos

2) กลุ่มปลาที่ไม่มีกระเพาะอาหารในระยะวัย อ่อนแต่จะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์เมื่อสัตว์น้ำ เจริญเติบโตขึ้น ได้แก่ ปลาดุก By Krunoos

3) กลุ่มที่ไม่มีกระเพาะอาหารตลอดช่วงชีวิตมี แต่เพียงลำไส้เท่านั้น เช่น ปลาไนไม่มีกระเพาะอาหาร แต่มีลำไส้ยาวและกินอาหารไม่เลือก By Krunoos

3.6.3 การอนุบาลสัตว์น้ำในบ่อดิน บ่อดิน (Earthen Pond) เป็นบ่อที่มีประสิทธิภาพลงทุน ค่อนข้างต่ำ อนุบาลสัตว์น้ำได้ปริมาณมากและเจริญ เติบโตได้ดี ขนาดโดยทั่วไปกว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร และลึก 1 เมตร การอนุบาลสัตว์น้ำในบ่อดินให้ มีอัตราการรอดตายสูงมีขั้นตอนการเตรียมบ่อดังนี้ By Krunoos

1) ทำความสะอาดบ่อและใส่ปุ๋ยคอก ถ้าเป็นมูลไก่ มูลเป็ด ควรใช้ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อไร่ 2) ปล่อยน้ำเข้าบ่อโดยผ่านผ้ากรอง ระดับน้ำมี ความลึก 5-10 เซนติเมตร เพื่อให้ปุ๋ยย่อยสลายได้ดี หลังจากนั้น 3-5 วัน จึงเพิ่มระดับน้ำมีความลึก 30- 50 เซนติเมตร น้ำจะเริ่มมีสีเขียว แสดงว่ามีอาหาร ธรรมชาติจำพวกแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ เกิดขึ้น หากมีอาหารธรรมชาติน้อยไปก็ให้ใส่ปุ๋ยเพิ่ม ลงไป จนกระทั่งมีอาหารธรรมชาติเพียงพอแล้วจึง เพิ่มน้ำให้ได้ระดับ 50-80 เซนติเมตร By Krunoos

3) นำลูกสัตว์น้ำลงอนุบาลในบ่อดิน หากลำเลียง ด้วยถุงพลาสติกอัดออกซิเจนให้นำถุงที่บรรจุ ลูกปลาแช่น้ำไว้ประมาณ10-15นาทีเพื่อปรับอุณหภูมิ น้ำภายในถุงพลาสติกให้เท่ากับอุณหภูมิของน้ำใน บ่อแล้วปล่อยลูกสัตว์น้ำออกช้าๆ หากลำเลียงโดย ใช้ระบบท่อหรือใช้รถยนต์บรรทุกขนาด1ตัน บรรทุก ถังไฟเบอร์กลาสขนาดความกว้าง 0.8 เมตร ยาว 1.6 เมตร และลึก 0.9 เมตร โดยใช้สายยางขนาด 2 นิ้ว เชื่อมต่อบริเวณก้นถัง เมื่อลำเลียงถึงบ่ออนุบาล ก็ปล่อยลูกสัตว์น้ำลงสู่บ่อดิน การลำเลียงจะดำเนิน การในช่วงตอนเช้าก่อนแดดจัด By Krunoos

4) อัตราการปล่อยลูกสัตว์น้ำขึ้นอยู่กับกลุ่มของ ลูกสัตว์น้ำ คือ กลุ่มปลากินพืชจะอนุบาลอัตราที่หนา แน่นกว่ากลุ่มปลากินสัตว์ และแตกต่างกันในแต่ละ ชนิด เช่น ลูกปลาไนปล่อยอัตรา 300,000 ตัวต่อไร่ ลูกปลาตะเพียนขาวปล่อยอัตรา 800,000 ตัวต่อไร่ By Krunoos

5) การให้อาหารระหว่างการอนุบาลในบ่อดิน กลุ่ม ปลากินพืชให้กินอาหารธรรมชาติในบ่อและให้อาหาร สมทบโดยนำไข่แดงผสมน้ำสาดทั่วบ่อวันละ 4 เวลา คือ เช้า สาย บ่าย เย็น และให้อาหารผสมที่มีส่วน ผสมของปลาป่นและรำประมาณ 40 กรัมต่อวันต่อ ลูกปลา 1 ล้านตัว วันที่ 5 ลดไข่แดง เหลือ 3 เวลา แล้วเพิ่มอาหารผสม และเมื่อลูกปลามีขนาดใหญ่จึง ให้อาหารผสมอย่างเดียวหว่านให้ทั่วบ่อ วันละ 3 เวลา ลูกปลา 1 ล้านตัว จะให้อาหารวันละ 12 กิโลกรัม By Krunoos

ส่วนการให้อาหารลูกปลากลุ่มกินเนื้อก่อนปล่อย ลูกปลา 1 วัน ให้ปล่อยไรแดงติดต่อกัน 5-7 วัน ใน อัตรา 12 -15 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อเป็นอาหารของ ลูกปลาเสริมด้วยไข่ไก่ต้ม 10 ฟอง ปั่ นให้ละเอียด ละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อ และให้อาหารเม็ดเล็กพิเศษ วันละ 2 มื้อ จากนั้นเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำ ของปลาดุกเล็กให้ลูกปลากินวันละ 3 มื้อ โดยแบ่ง เป็นหลายๆจุดทั่วบ่ออนุบาล 30 วัน จะได้ลูกปลา ขนาดความยาว 3-5 เซนติเมตร By Krunoos

6)การกำจัดศัตรูสัตว์น้ำจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน เช่น กบ เขียด คางคก งูจะมีชุกชุมมากในฤดูฝน ต้องกำจัดโดยช้อนไปทำลายตั้งแต่ระยะที่เป็นไข่ หรือตัวอ่อน ส่วนแมลงจะกำจัดหลังจากปล่อยลูก สัตว์น้ำได้ 3 วัน และถ้าพบแมลงเป็นจำนวนมากให้ สาดด้วยน้ำมันดีเซล เบนซิน หรือน้ำมันพืชอีกทุกๆ 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง ก่อนราดน้ำมันให้กำจัด วัชพืชและเลือกทำในวันที่ลมสงบมีแสงแดดจัด น้ำมันจะแผ่กระจายบางๆ บนผิวน้ำ เมื่อแมลงขึ้นมา หายใจน้ำมันจะปิดช่องหายใจทำให้แมลงตาย แต่การราดน้ำมันดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ By Krunoos

7) หมั่นตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำอย่าง สม่ำเสมอ ถ้าน้ำใสให้เติมปุ๋ยสูตร 16-20-0 ปริมาณ 3 กิโลกรัมต่อไร่ โดยละลายน้ำสาดให้ทั่วๆบ่อ พร้อม เติมน้ำเขียว 1 ตัน ในช่วงเช้า ถ้าลูกสัตว์น้ำลอยตัว แสดงว่าน้ำมีปริมาณออกซิเจนต่ำ ควรเปลี่ยนถ่าย น้ำและปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่ควรต่ำกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร By Krunoos

8) การตรวจสอบปริมาณลูกสัตว์น้ำ หลังจากลง ลูกสัตว์น้ำเป็นระยะเวลา 10-15 วัน ควรตรวจสอบ ปริมาณลูกสัตว์น้ำโดยใช้กระชังผ้าโอล่อนแก้วลาก ตรวจสอบปริมาณลูกสัตว์น้ำเป็นจุดๆ หรือลากตาม ยาวจากกลางบ่อด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งเพื่อ ตรวจสอบหาขนาดและความสมบูรณ์ของลูกสัตว์น้ำ By Krunoos

3.6.4 การอนุบาลสัตว์น้ำในบ่อคอนกรีต บ่อ คอนกรีต (Concrete Pond) โดยทั่วไปขนาด 1-50 ตารางเมตร ความลึกไม่เกิน 60 เซนติเมตร รูปแบบ อาจเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือรูปทรงกลม ดังภาพที่ และ ควรสร้างแบบบ่อลอยเพราะสะดวกและง่ายต่อการ ระบายน้ำ มีหลังคากันแดดบางส่วนหรือคลุม ทั้งหมด นิยมใช้อนุบาลลูกปลาสวยงาม ลูกปลาดุก และลูกกบ By Krunoos

3.6.5 การอนุบาลสัตว์น้ำในวัสดุอื่นๆ เช่น ตู้ กระจก กระชัง และถังไฟเบอร์ By Krunoos

3.7 การเตรียมบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ บ่อเลี้ยง (Rearing Pond) เป็นบ่อที่ใช้สำหรับ เลี้ยงสัตว์น้ำให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการ อาจ เป็นบ่อซีเมนต์หรือบ่อดิน มีขนาดตั้งแต่ 800 ตารางเมตร ขึ้นไป ความกว้างไม่ควรเกิน 20 เมตร ความลึก 1-2 เมตร By Krunoos

การเตรียมบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นการทำความ สะอาดบ่อและการปรับสภาพแวดล้อมของบ่อให้มี ความเหมาะสมให้สามารถใช้เลี้ยงสัตว์น้ำได้โดยมี ผลผลิตตอบแทนสูง ประโยชน์ของการเตรียมบ่อ เลี้ยงสัตว์น้ำทำให้พื้นบ่อมีโอกาสได้รับแสงแดดและ ออกซิเจน ทำให้อินทรียวัตถุที่อยู่ในบ่อย่อยสลายได้ ดี ปราศจากเชื้อโรคและศัตรู มีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ By Krunoos

3.7.1 การเตรียมบ่อใหม่ บ่อใหม่ควรมีการวัด ความเป็นกรด-ด่าง ของดินแล้วหว่านปูนขาว หลัง จากนั้นใส่ปุ๋บคอกเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของ ดินอัตรา 250-500 กิโลกรัมต่อไร่สูบน้ำเข้าบ่อให้ได้ ความลึก 30-50 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 5-7 วัน จึงปล่อย ปลาลงเลี้ยง By Krunoos

3.7.2 การเตรียมบ่อเก่า บ่อเก่าที่ผ่านการเลี้ยง สัตว์น้ำมาแล้วให้ระบายน้ำออกแล้วปรับปรุงบ่อโดย กำจัดวัชพืชทั้งในบ่อและรอบๆ คันบ่อให้สะอาดเพื่อ ไม่ให้เป็นที่อาศัยของศัตรูสัตว์น้ำ ลอกเลนที่มีสีดำ คล้ำและมีกลิ่นเหม็นออกใส่ปูนขาวโดยโรยให้ทั่วพื้น บ่อและขอบบ่อ ควรหว่านในขณะที่ดินยังเปียกใน อัตรา 60-80 กิโลกรัมต่อไร่ ตากบ่อทิ้งไว้ 2-3 วัน ปล่อยน้ำเข้าให้มีความลึก 30-50 เซนติเมตร เพื่อ กระตุ้นให้เกิดอาหารธรรมชาติ By Krunoos

กรณีบ่อเก่ามักพบปัญหาศัตรูปลา ได้แก่ มวน กรรเชียง มวนวน งู กบ เขียด ปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ เป็นต้น การกำจัดศัตรูปลาทำได้หลายวิธี เช่น การลอกเลนออกจากบ่อแล้วตากบ่อให้แห้ง ใน กรณีที่ไม่สามารถสูบน้ำออกจากบ่อจนหมดได้ จำเป็นต้องใช้ยาเบื่อเมาหรือสารเคมีเพื่อกำจัดศัตรู ปลา ดังราบละเอียดดังต่อไปนี้ By Krunoos

1) โล่ติ๊นหรือหางไหล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Derris elliptica (Roxb.) Benth ที่รากมีสารพิษที่ เรียกว่า โรติโนน (Rotenone) ซึ่งจะทำให้เส้นเลือด ฝอยที่เหงือกปลามีขนาดลดลง ทำให้การแลก เปลี่ยนออกซิเจนได้น้อยลงจึงทำให้ปลาตาย อัตรา การใช้ที่ได้ผลดีที่สุดคือ 1.5 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์ เมตร โดยนำรากโล่ติ๊นมาทุบแช่น้ำ 1 คืน น้ำจะมีสี ขาวนำไปสาดให้ทั่วบ่อปลาศัตรูที่รับพิษจะตาย ภายใน 1-6 ชั่วโมง พิษโล่ติ๊นจะสลายตัวภายใน 7 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ By Krunoos

2)กากชาหรือกากเมล็ดชา (Tea Seed Cake) เป็นกากที่เหลือจากการบีบน้ำมันจากเมล็ดชาจะมี สารซาโปนิน (Saponin) ซึ่งเป็นสารที่สามารถ ทำลายเม็ดเลือดแดงฆ่าปลาชนิดต่างๆ ได้ วิธีใช้นำ ไปแช่น้ำพอท่วม 1 คืน แล้วกรองเอาแต่น้ำนำไปสาด ให้ทั่วบ่อ ใช้ในอัตรา 68 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร พิษจะสลายหมดภายใน 5-10 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ของน้ำ By Krunoos

3)โซเดียมไซยาไนด์ เป็นสารเคมีลักษณะเป็น ก้อนสีขาวไม่มีกลิ่นแต่จะมีกลิ่นเฉพาะตัวเมื่อได้รับ ความชื้น เมื่อละลายน้ำจะให้กรด (Hydrocyanic Acid) ซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์น้ำเพราะยับยั้งการรับ ออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง การใช้โซเดียม ไซยาไนด์เพื่อกำจัดศัตรูสัตว์น้ำใช้ในอัตรา 1.5-2 กรัมต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร โดยใส่สวิงด้ามยาวแล้ว แกว่งในน้ำพิษจะสลายตัวภายใน 1-2 วัน จะสลายตัว เร็วขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โซเดียมไซยาไนด์มีพิษ รุนแรงมาก ผู้ใช้ควรระมัดระวังโดยสวมถุงมือทุก ครั้งเมื่อหยิบจับ เก็บให้มิดชิด และไม่สูดดมอากาศ บริเวณที่มีโซเดียมไซยาไนด์ By Krunoos

3.8 มาตรฐานงานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้มีการพัฒนาและขยาย ตัวมาโดยตลอดซึ่งส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและ ด้านลบในแง่เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่ง แวดล้อมประเทศไทยจึงได้กำหนดมาตรฐานงาน ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีรายละเอียดดังนี้ By Krunoos

3.8.1 สถานที่ ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องมีการ ขึ้นทะเบียนฟาร์มอย่างถูกต้อง อยู่ใกล้แหล่งน้ำ สะอาดห่างจากแหล่งกำเนิดมลพิษ มีระบบการ เปลี่ยนถ่ายน้ำที่ดี การคมนาคมสะดวก และมีสาร ธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน By Krunoos

3.8.2 การจัดการทั่วไป ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ต้องปฏิบัติการเพาะพันธุ์และอนุบาลสัตว์น้ำตาม คู่มือการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำของกรมประมงหรือวิธี การอื่นที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ มีแผนที่แสดง แหล่งที่ตั้งและแผนผังของฟาร์มน้ำทิ้งจากบ่อเพาะ พันธุ์และบ่ออนุบาลต้องมีค่าไม่เกินมาตรฐานน้ำทิ้ง จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การเพาะพันธุ์และการ อนุบาลต้องดำเนินการอย่างถูกสุขลักษณะ เช่น มาตรฐานน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำจืดต้องมีค่าบีโอ ดี (Biochemical Oxygen Demand: BOD) ไม่ เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร และความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ในช่วง 6.5-8.5 By Krunoos

3.8.3 ปัจจัยการผลิต ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ต้องใช้ปัจจัยการผลิต เช่น อาหาร อาหารเสริม วิตามิน ที่ขึ้นทะเบียนกับทางราชการ ในกรณีที่ กำหนดให้ปัจจัยการผลิตนั้นต้องขึ้นทะเบียนและไม่ หมดอายุ ปัจจัยการผลิตต้องปลอดจากการปนเปื้ นของยาและสารต้องห้ามตามประกาศทางราชการ กระบวนการผลิตและการจัดเก็บอาหารถูก สุขลักษณะปลอดภัยต่อสัตว์น้ำและผู้บริโภค By Krunoos

3.8.4 การจัดการดูแลสุขภาพสัตว์น้ำ ฟาร์ม เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องมีการจัดเตรียมบ่อ กระชัง และอุปกรณ์ที่ใช้อย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันโรคที่จะ เกิดกับสัตว์น้ำ มีการเฝ้าระวังและดูแลสุขภาพสัตว์ น้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อสัตว์น้ำมีอาการผิดปกติหรือ ป่วยควรพิจารณาด้านการจัดการ เช่น การเปลี่ยน ถ่ายน้ำตามความเหมาะสมหรือเพิ่มออกซิเจนก่อน การใช้ยาและสารเคมี ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ให้ เลือกที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องและปฏิบัติตามฉลาก อย่างเคร่งครัด ไม่ใช้ยาและสารเคมีต้องห้ามตาม ประกาศของทางราชการ เมื่อสัตว์น้ำป่วยหรือมีการ ระบาดของโรคต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ และมี วิธีการจัดการซากและน้ำทิ้งที่เหมาะสม By Krunoos

3.8.5 สุขลักษณะฟาร์ม ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ต้องมีการจัดการระบบน้ำทิ้งเหมาะสม หากมีน้ำทิ้ง จากบ้านเรือนต้องแยกจากระบบการเลี้ยง ห้องสุขา แยกเป็นสัดส่วนห่างจากบ่อเพาะพันธุ์และบ่ออนุบาล และมีระบบจัดการของเสียอย่างถูกสุขลักษณะ จัด อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งปัจจัยการผลิตต่างๆ ใน บริเวณฟาร์มให้เป็นระเบียบ สะอาดถูกสุขลักษณะ อยู่เสมอ มีระบบการจัดเก็บขยะที่ดี เช่น ถังขยะมีฝา ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันแมลงวัน หนู แมลงสาบ และ การคุ้ยเขี่ยของสัตว์เลี้ยง By Krunoos

3.8.6 การเก็บเกี่ยวและการขนส่ง ฟาร์มเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำควรมีการวางแผนเก็บเกี่ยวผลผลิต ถูกต้องตามความต้องการของตลาด และมีหนังสือ กำกับการจำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำ มีการจัดการที่ดี ระหว่างการขนส่งลูกพันธุ์สัตว์น้ำผลผลิตสัตว์น้ำที่ เก็บเกี่ยวต้องไม่มียาหรือสารเคมีตกค้างเกิน มาตรฐานกำหนด By Krunoos

3.8.7 การเก็บข้อมูล ฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมี การจดบันทึกการจัดการเพาะพันธุ์และอนุบาล การ ให้อาหาร การตรวจสุขภาพ การใช้ยาและสารเคมี อย่างสม่ำเสมอ และบันทึกข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน By Krunoos

สรุป การเลือกทำเลสร้างฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเลือกพื้นที่ที่มีความเหมาะสมและถูกต้องตาม หลักวิชาการทั้งลักษณะภูมิประเทศ คุณสมบัติของ ดิน ใกล้แหล่งน้ำและมีปริมาณเพียงพอ อยู่ใกล้ ตลาด การคมนาคมสะดวก มีความพร้อมด้าน สาธารณูปโภค ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ และศึกษา ด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เข้าใจ แล้วสร้างบ่อ เลี้ยงสัตว์น้ำที่มีความแข็งแรง น้ำไม่รั่วซึม ทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน By Krunoos

สรุป โรงเพาะฟักออกแบบได้เหมาะสม มีวัสดุ อุปกรณ์เพียงพอ สะดวกในการปฏิบัติงาน ก่อน เลี้ยงสัตว์น้ำมีการเตรียมบ่อเป็นอย่างดี จะสามารถ กำหนดการผลิตได้ตามเป้าหมาย เพื่อให้การเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำมีความมั่นคงและยั่งยืน ไม่ส่งผลกระ ทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการต้อง ปฏิบัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทุกขั้นตอนถูกต้องตาม มาตรฐานงานฟาร์ม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีลักษณะ ตามต้องการ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค By Krunoos


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook