หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำ หรือ พื้นที่น้ำ (อังกฤษ: water body) คือ บริเวณที่มีการสะสมของน้ำบนพื้นผิวโลกหรือบนผิว ดาวเคราะห์ เช่น มหาสมุทร ทะเล แม่น้ำ ไปจนถึง คลอง หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ
แหล่งน้ำบนโลกแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แหล่งน้ำบนดินและแหล่งน้ำใต้ดิน โดยแหล่งน้ำที่ พบเจอคือ แหล่งน้ำบนดิน อันได้แก่ ทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ เป็นต้น
1. แหล่งน้ำบนดิน แหล่งน้ำบนดินหรือที่เรียกว่าแหล่งน้ำผิวดิน (Surface water) เป็นแหล่งน้ำที่พบมากที่สุดและใช้ มากที่สุด แหล่งน้ำผิวดินแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1.1 น้ำจืด 1.2 น้ำกร่อย 1.3 น้ำเค็ม
แหล่งน้ำผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำ ทะเลสาบ ลำธาร ลำคลอง ห้วย หนอง บึง โดยส่วนใหญ่จะเป็นแอ่งขึ้น อยู่กับลักษณะภูมิประเทศนั้น ๆ ส่วนน้ำที่อยู่บนผิว ดินนั้นได้มาจากหลายแหล่ง เช่น ฝนตกรวมตัวกัน ไหลเป็นร่องน้ำจนเกิดการกัดเซาะทำให้เกิดแม่น้ำ หรือการละลายของหิมะ เป็นต้น
ภาพ : Shutterstock
ภาพ : Shutterstock
ภาคตัดขวางของแม่น้ำ
ภาคตัดขวางแหล่งน้ำใต้ดิน
2. แหล่งน้ำใต้ดิน แหล่งน้ำใต้ดินหรือที่เรารู้จักว่าแหล่งน้ำบาดาล (Ground water) น้ำใต้ดินเป็นน้ำที่เกิดจากการซึม ของน้ำบนผิวดิน โดยน้ำเหล่านี้อยู่ในระหว่างชั้นดิน ซึ่งอาจเกิดจากน้ำฝนและมีการไหลลงไปสะสมในชั้น ดินใต้ผิวโลก
น้ำใต้ดินจะมีความสะอาดเนื่องจากมีการกรองด้วย ดินและหินตามชั้นดินต่าง ๆ ดินชั้นบนจะมีช่องว่าง และรูพรุนในดินไม่มากนัก ทำให้น้ำสามารถไหลลงไป สู่บริเวณชั้นดินที่มีการกักเก็บน้ำบาดาล ที่เรียกว่า ชั้นหินอุ้มน้ำ (Aquifer) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีช่องว่าง ขนาดใหญ่ระหว่างดิน ทำให้สามารถกักเก็บน้ำได้ใน ปริมาณมาก
และหากบริเวณใดที่มีชั้นน้ำใต้ดิน มักจะเห็นน้ำพุ บริเวณนั้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากบริเวณชั้นหินมีการ กดทับของชั้นหินเนื้อละเอียด ทำให้เกิดแรงดันจน ทำให้เกิดน้ำพุ นอกจากนี้หากมีหินปูนและเป็นบริเวณ ที่มีแหล่งน้ำใต้ดิน น้ำบริเวณนั้นจะสามารถกัดเซาะ ทำให้หินปูนบริเวณนั้นกลายเป็นถ้ำขนาดใหญ่ได้
ภาพ : Shutterstock
น้ำบาดาล น้ำบาดาล คือ น้ำใต้ดินที่อยู่ลึกลงไปในดินมาก ๆ คือลึกระหว่าง ๑๕๐ - ๒๐๐ เมตร ซึ่งขังอยู่ในชั้นของทราย เป็นอ่างที่เก็บน้ำไว้ได้ เป็นปริมาณมากน้ำพุและน้ำบาดาลเป็นน้ำสะอาด ไม่มีเชื้อโรค เพราะ น้ำทั้งสองชนิดนี้ไหลซึมผ่านผิวดินลงไปลึก ดินจะกรองเอาสารที่ แขวนลอยอยู่ในน้ำและเชื้อโรคไว้เกือบหมด ส่วนบรรดาสารอินทรีย์ บางชนิดที่ละลายอยู่ในน้ำจะถูกแบคทีเรียในดินทำลายไปเกือบหมด แต่น้ำพุและน้ำบาดาลจะมีแร่ธาตุต่าง ๆ ละลายอยู่เป็นปริมาณมาก เพราะไหลผ่านดินลึกลงไปมาก
น้ำพุ น้ำพุ คือน้ำใต้ดินที่ไหลกลับขึ้นมาที่ผิวโลกตามธรรมชาติ อาจไหลขึ้นมาตลอดเวลาช้า ๆขังอยู่ในบ่อ เรียกว่า บ่อน้ำพุ หรือ พุ่งขึ้นมาอย่างแรงเป็นน้ำพุสูงขึ้นไปในอากาศก็ ได้น้ำที่ไหลขึ้นมา นั้นถ้าเป็นน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์เรียก ว่า \"พุน้ำเย็น\"แต่ถ้ามีอุณหภูมิสูงกว่าเรียกว่า \"พุน้ำร้อน\"ดังเช่น บ่อน้ำพุร้อนที่อุทยานแจ้ซ้อน จังหวัดลำปางซึ่งมีอุณหภูมิสูง ๘๐ องศาเซลเซียส
ภาพ : Shutterstock
น้ำเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต ถึงแม้ว่าน้ำจะเป็นทรัพยากรหมุนเวียน แต่ 97 เปอร์เซ็นต์ของ ปริมาณน้ำทั้งหมดบนโลกเป็นน้ำทะเลในมหาสมุทร มีส่วนที่เหลือเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เป็นน้ำจืด ซึ่งหาก แบ่งน้ำจืดออกเป็น 100 ส่วน ประมาณ 68.7 ส่วน ถูกกักเก็บ ในรูปแบบของน้ำแข็ง หิมะ อีก 30.1 ส่วนเป็นน้ำใต้ดิน ประมาณ 0.9 ส่วน เป็นความชื้นในดินและชั้นบรรยากาศ ดังนั้นจึงเหลือน้ำจืดเพียง 0.3 ส่วนเท่านั้นที่เป็นน้ำผิวดินที่ มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ (USGS, 2016)
แหล่งทำการประมงน้ำจืด แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ 1. แหล่งน้ำธรรมชาติ 2.แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
1.แหล่งน้ำธรรมชาติ แบ่งออกได้ 3 ประเภท 1.1 แม่น้ำและลำธาร 1.2 แหล่งน้ำท่วมหรือที่ลุ่มน้ำขัง 1.3 ทะเลสาบ หนอง บึง
2.แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น แบ่งออกได้ 2 ประเภท 2.1 เขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 2.2 สถานที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
แหล่งทำประมงชายฝั่ ง สภาพพื้นที่ชายฝั่ งทะเลของไทยแบ่งออกได้ 6 ลักษณะ
แหล่งทำประมงชายฝั่ ง 1. พื้นที่ดินดอนหรือป่าดอนชายเลน
แหล่งทำประมงชายฝั่ ง 2. บริเวณป่าไม้ชายเลน
แหล่งทำประมงชายฝั่ ง 3. บริเวณเขตน้ำตื้นชายฝั่ ง
แหล่งทำประมงชายฝั่ ง 4. บริเวณชายฝั่ ง ปากแม่น้ำ ทะเลสาบ
แหล่งทำประมงชายฝั่ ง 5. บริเวณชายฝั่ งที่เป็นหาดทราย
แหล่งทำประมงชายฝั่ ง 6. บริเวณชายฝั่ งที่เป็นโขดหิน
แหล่งทำประมงทะเล แหล่งทำประมงทะเลของไทยมี 2 แหล่ง
แหล่งทำประมงทะเล 1. แหล่งทำประมงในน่านน้ำไทย 2. แหล่งทำประมงนอกน่านน้ำไทย
แหล่งทำประมงทะเล 1. แหล่งทำประมงในน่านน้ำไทย มี 2 แหล่ง 1.1 ทะเลอ่าวไทย 1.2 ทะเลอันดามัน
แหล่งทำประมงทะเล 1.1 ทะเลอ่าวไทย ประกอบด้วยเขตต่างๆ 5 เขต 1.1.1 อ่าวไทยด้านตะวันออก ประกอบด้วย ชายทะเลที่อยู่ในเขตจังหวัด ระยอง จันทบุรี ตราด พื้นท้องทะเลเป็นโคลนปนทรายและเปลือกหอย
แหล่งทำประมงทะเล 1.1 ทะเลอ่าวไทย ประกอบด้วยเขตต่างๆ 5 เขต 1.1.2 อ่าวไทยตอนใน ประกอบด้วยชายทะเลที่อยู่ ในเขตจังหวัด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กรุงเทพฯ เพชรบุรี พื้น ท้องทะเลเป็นโคลนเหลว
แหล่งทำประมงทะเล 1.1 ทะเลอ่าวไทย ประกอบด้วยเขตต่างๆ 5 เขต 1.1.3 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนบน ประกอบด้วย ชายทะเลที่อยู่ในเขตจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎรธานี พื้นท้องทะเลเป็นโคลนเหลว
แหล่งทำประมงทะเล 1.1 ทะเลอ่าวไทย ประกอบด้วยเขตต่างๆ 5 เขต 1.1.4 อ่าวไทยด้านตะวันตกตอนล่าง ประกอบ ด้วยชายทะเลที่อยู่ในเขตจังหวัด นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส พื้นท้องทะเลไม่ราบ เรียบเป็นเนิน ประกอบด้วยโคลนเหลว โคลนปน ทรายและเปลือกหอย
แหล่งทำประมงทะเล 1.1 ทะเลอ่าวไทย ประกอบด้วยเขตต่างๆ 5 เขต 1.1.5 อ่าวไทยตอนใน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย พื้นท้องทะเลประกอบ ด้วยโคลนเหลวและทรายปนเปลือกหอยพื้นที่ส่วนใหญ่ จะอยู่กลางอ่าวไทย พื้นท้องทะเลจะเป็นสันสูงและร่อง ลึก มีความลึกสูงสุด 80 -90 เมตร
แหล่งทำประมงทะเล 1.2 ทะเลอันดามัน มีชายฝั่ งทะเลตั้งแต่จุดแบ่งเขตแดนตะวันตกของไทยที่ อยู่ระหว่างไทยกับพม่ายาวไปจนถึงจุดแบ่งด้านใต้ ระหว่างไทยกับมาเลเซียมีความยาวฝั่ งทะเลประมาณ 740 กิโลเมตร แบ่งได้ 2 เขต
แหล่งทำประมงทะเล 1.2 ทะเลอันดามัน 1.2.1 ทะเลอันดามันตอนบน ประกอบด้วยทะเลที่อยู่ใน เขตจังหวัด ระนอง พังงา ภูเก็ต
Search