Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore FA92414C-D22E-447B-86F6-3ADB4806EF24

FA92414C-D22E-447B-86F6-3ADB4806EF24

Published by นภิสา การะนัด, 2022-04-28 09:51:03

Description: FA92414C-D22E-447B-86F6-3ADB4806EF24

Search

Read the Text Version

บ้านเรือนไทย 4 ภาค บ้านเรือนไทย 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนื อ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ ถือเป็ นอีกหนึ่ งแบบบ้านที่บ่งบอก ถึงเอกลักษณ์ไทยได้เป็ นอย่างดี นอกจากการออกแบบที่ สวยงาม โดดเด่น เรือนไทย 4 ภาคส่วนใหญ่ มักออกแบบแตกต่าง กันไปตามสภาพแวดล้อมขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ โดยเน้ นที่ความสะดวกสบายและประโยชน์ ใช้สอย

1. บ้านเรือนไทยภาคใต้ 1 ลักษณะเรือนไทย ลักษณะที่ โดดเด่ นของเรือนไทยทางภาคใต้คือเรือนยกใต้ถุนสู งหลังคาทรงจั่ว ที่มีทรงสูง ชายคาต่อยาวออกไปคลุมถึงบันได มีพื้นที่ข้างนอก หรือ “ชาน” เชื่อม แต่ละเรือนเข้าด้วยกัน เสาเรือนไม่นิ ยมฝั งลงไปในพื้นดิน แต่จะใช้ตอม่อหรือฐาน เสาที่ทำด้วยไม้เนื้ อแข็ง ศิ ลาแลง หรือที่ทำจากการก่ออิฐฉาบปูนรองรับ เป็ น ลักษณะเด่นทางภาคใต้เรียกได้ว่าเป็ นเรือนไทยที่มี “ตีนเสา” เพื่อป้ องกันปั ญหาการ ผุกร่อนของเสาเมื่อได้รับความชื้นจากพื้นมาก ๆ วิธีการสร้างนั้ นจะประกอบส่วนต่างๆ ของเรือนบนพื้นดินก่อนแล้วจึงยกส่วน โครงสร้างต่างๆขึ้นประกอบเป็ นตัวเรือนอีกทีหนึ่ ง ปั จจัยทางภูมิศาสตร์ 1.ด้านสภาพภูมิอากาศของภาคใต้เป็ นอาณาบริเวณที่มีอากาศร้อน ฝนตกชุก ความชื้น สู ง 2.ภาคใต้มี 2 ฤดู คือฤดูร้อนและฤดูฝน ในฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนจัดเหมือนภาคอื่น เนื่ องจากได้รับการถ่ายเทความร้อนจากลมทะเลที่พัดผ่านอยู่ตลอดเวลา ในฤดูฝน ฝนจะตกชุกมากกว่าภาคอื่น ๆเพราะได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนื อ และลม มรสุ มตะวันออกเฉี ยงใต้ 3.สภาพภูมิประเทศของภาคใต้อยู่่ติดทะเล การปลูกสร้างบ้านเรือนของชาวใต้ที่รู้จักใช้ ภูมิปั ญญาสร้างบ้านเรือนให้ยืดหยุ่นและสอดรับกัับภัยธรรมชาติได้เป็ นอย่างดี ความเชื่ อ ห้ามปลูกเรือนบนจอมปลวก ห้ามปลูกบ้านคร่อมตอไม้ ห้ามปลูกเรือนคร่อมคู คลองหรือแอ่งน้ำ ห้ามสร้างบ้านบนทางสัญจร ห้ามปลูกบ้านตรงพื้นที่เฉอะแฉะ สกปรก ดินเลนสีดำ ดินมีหลากสี มีกลิ่นไม่บริสุทธิ์ ห้ามปลูกบ้านเดือน 4 ให้ปลูก บ้านเดือน 10 การทำบันไดบ้านต้องหันไปทางทิศเหนื อหรือทิศตะวันออกจำนวน บันไดต้องเป็ นเลขคี่ การคัดเลือกเสาเรือน ภาคใต้ให้ความสำคัญกับเสาเรือนซึ่งเป็ น โครงสร้างรากฐานสำคัญ ปลูกเรือนให้ปลูก \" ตามตะวัน\" คือหันข้างเรือนไปทางทิศ เหนื อหรือทิศใต้ จึงจะเป็ นมงคล ยู่เย็นเป็ นสุขสบายดี

2 2. บ้านเรือนไทยภาคเหนื อ ลักษณะเรือนไทย บ้านเรือน ในภาคเหนื อ นิ ยมสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น สอดคล้องกับวิถีชีวิต นิ ยมสร้างเป็ นเรือนแฝด ตัวเรือนมีขนาดเล็กใต้ถุนสูง เป็ นเรือนทึบมีหน้ าต่างน้ อย มี “เติ๋น” หรือระเบียงอยู่บริเวณหน้ า หลังคาทรงจั่ว ประดับยอดหลังคาด้วยไม้แกะสลักไขว้กัน เรียกว่า \"กาแล\" ชาวเหนื อที่มีฐานะดีจะ อยู่ เรือนที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่และประณีตมากขึ้น ทำให้เกิดเป็ นโครงสร้าง สถาปั ตยกรรมแบบง่ายๆ ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เป็ นสถาปั ตยกรรมท้องถิ่นหรือ พื้นบ้านตามแบบวัฒนธรรมล้านนา ปั จจัยทางภูมิศาสตร์ 1.ภาคเหนื อลักษณะภูมิอากาศทางภาคเหนื อค่อนข้างหนาวเย็น ทำให้บ้าน เรือนไทยภาคเหนื อถูกออกแบบให้มีลักษณะมิดชิดเพื่อกันลมหนาวและรักษา ความอบอุ่นภายในตัวบ้าน 2.ภาคเหนื อพื้นที่ส่วนใหญ่โอบล้อมด้วยหุบเขาและป่ าไม้จำนวนมาก ความเชื่ อ 1. ตามคติความเชื่ อแล้วก่อนสร้างเรือนจะต้องหาสถานที่ ที่ เหมาะสมสำหรับปลูก บ้านให้ตรงตามตำรา เชื่อกันว่า หากปลูกเรือนใน \"มื้อจั๋น วันดี\" คือฤกษ์ที่ เหมาะสมแล้วผู้อยู่อาศั ยย่อมมีความสุขความเจริญและอยู่เย็นเป็ นสุข 2. การเข้าป่ าตัดไม้ทำเสา ตามคติโบราณจะกำหนดช่วงเวลาที่เป็ นมงคลเอาไว้ว่าควร จะตัดไม้ในเดือนใด เมื่อตัดไม้แล้ว หากไม้ล้มไปในทิศใดจะมีข้อความทำนายว่าควร นำเอามาทำเป็ นเสาเรือนหรือไม่ และหากไม้ไปพาดกับต้นไม้อื่น ไม่ควรนำมาสร้าง เรือน เมื่อหาเสาเรือนครบ ช่างไม้จะเป็ นผู้ปรุ งเครื่องเรือน โดยจะกำหนดความสูง และขนาดของเรือน ขณะตัดเสาก็กล่าวคำโฉลกให้ได้คำที่ดีเป็ นสิริมงคล 3. พิธีขุดหลุมเสาเรือน ก่อนจะขุดหลุมเสาเรือนต้องทำพิธีขอที่ดินกับพญานาค เพราะมีความเชื่อกันว่าพญานาคเป็ นสัตว์มีอิทธิฤทธิ์เป็ นเจ้าแผ่นดิน อำนวยความสุข หรือภัยพิบัติให้มนุษย์ได้

3. บ้านเรือนไทยภาคกลาง 3 ลักษณะเรือนไทย เรือนไทยภาคกลาง มีลักษณะเป็ นเรือนยกพื้นใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศี รษะ คนยืน รู ปทรงล้มสอบ หลังคาทรงสูงหลังคาของเรือนไทยเป็ นแบบทรงมนิ ลาสูง มีปั้ นลม กันสาด ใช้ไม้ ทำโครง และใช้จากแฝกหรือกระเบื้องดินเผา ชายคายื่นยาว เนื่ องจากเรือนไทยในภาคกลาง มีลักษณะเฉพาะอย่างนี้ คนทั่วไปจึงเรียกว่า เรือนไทยเดิมภาคกลาง ซึ่งประกอบด้วยเรือนลักษณะต่างๆ ดังนี้ เรือนเดี่ยว เรือนหมู่ เรือนหมู่คหบดี และ เรือนแพ ปั จจัยทางภูมิศาสตร์ 1.ภาคกลางเป็ นพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสายหลักๆ เป็ นสังคมเกษตรกรรม คนจึงนิ ยมปลูกบ้านริมน้ำ 2.ภาคกลางมีภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าวเกือบจะตลอดทั้งปี จึงมีการออกแบบให้ ป้ องกันความอบอ้าวของอากาศ ฝน และแสงแดดจ้า 3.ภาคกลางเป็ นพื้นที่ที่เกิดอุทกภัยได้ง่ายจากน้ำท่วมขัง จึงต้องยกพื้นใต้ถุนสูง 4.ทิศทางของลม ภาคกลางนิ ยมวางเรือนตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความ เหมาะสม ความเชื่ อ ความเชื่อของภาคกลางจะมีวิธีชิมรสดิน ขุดหลุมลึกราวศอกเศษเอาใบตองปูไว้ ใต้ก้นหลุมนำหญ้าคาสดและสะอาดทับไว้ ข้างบนใบตองสักกองหนึ่ ง ทิ้งไว้ค้างคืน จนไปดินเป็ นเหื่อที่จับบนใบตองถ้ามีรสหวานแสดงว่าที่นั่ นมี คุณสมบัติ ปานกลาง พออยู่ได้ ถ้ามีรสจืดถือว่าดีเป็ นมงคลอยู่เย็นเป็ นสุข หากมีรสเค็มและรสเปรี้ยว ไม่ เป็ นการดี ส่วน วิธีดมดินให้ขุดดินขึ้นมาดมดู ถ้ามีกลิ่นหอมดังดอกบัวหรือดอก สารภี แสดงว่าที่นั่ นอุดม สมบูรณ์ ดีนั กเรียกว่าที่พราหมณ์ ถ้ากลิ่นหอมดังดอก พิกุลเรียกว่าสัตภูมิดี เช่นกันจะอยู่เย็นเป็ นสุขถ้า กลิ่นหอมเย็นหรือหอมดังดอกไม้ อย่างอื่น ก็ถือเป็ นพื้นที่ที่ดีเหมือนกัน ถ้ากลิ่นเผ็ดหรือกลิ่นเหม็นกลิ่นเค็มถือว่าเป็ น ทำเลที่ไม่ดี

4. บ้านเรือนไทยภาคอีสาน 4 ลักษณะเรือนไทย บ้านเรือนไทยภาคอีสาน จะประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ ได้แก่ 1.) ลักษณะชั่วคราว จะสร้างไว้ใช้เฉพาะบางฤดูกาล เช่น เถียงนา ทำยกพื้นสูงเสาไม้ จริง โครงไม้ไผ่หลังคามุงหญ้า พื้นไม้ไผ่สับฟากทำฝาโล่ง 2.) ลักษณะกึ่งถาวร เป็ นเรือนขนาดเล็กที่ไม่มั่นคงแข็งแรงนั ก ชาวอีสานเรียกว่า ”เรือนเหย้า” ซึ่งเป็ นเรือนของเขยของบ้าน เรือนจะแยกที่จากเรือนใหญ่ (เรือนพ่อแม่) เรือนประเภทนี้ วัสดุก่อสร้างมักไม่พิถีพิถัน 3.) ลักษณะถาวร เป็ นเรือนเครื่องสับหรือเรือนไม้กระดาน ลักษณะใต้ถุนสูง ไม่นิ ยม เจาะช่องหน้ าต่างจะทำหน้ าต่างเป็ นช่องแคบ ๆ ส่วนประตูจะมีเพียงประตูเดียว หลังคาเรือนทำเป็ นทรงจั่ว รอบหลังคาไม่มีชายคาหรือปี กนกยื่นคลุมตัวบ้าน ปั จจัยทางภูมิศาสตร์ 1.ภาคอีสานมีที่ราบลุ่มที่มีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม คนมักเลือกทำเลที่ตั้งบ้านเรือนในบริเวณเหล่านี้ รวมทั้งอาศั ยอยู่ ตามริมหนองบึง 2.ภาคอีสานอยู่ในบริเวณที่ราบสูง มีเทือกเขาล้อมรอบและมีสภาพคล้ายแอ่งกระทะ มีการตั้งถิ่นฐานไปอยู่บนโคกหรือเนิ นสูง เพื่อป้ องกันหากเกิดอุทกภัย 3.ในฤดูหนาวของภาคอีสานจะมีลมพัด และอากาศที่หนาวเย็นทำให้เรือนจะต้องทึบ เพื่อกันลมได้ เพื่อให้ภายในบ้านมีความอบอุ่น ความเชื่ อ 1.ชาวอีสานมีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหันไปทางทิศตะวันออกและวันตก ให้ด้านยาวหันไปทางทิศเหนื อ และใต้ ซึ่งเป็ นลักษณะที่เรียกว่า วางเรือนแบบ \"ล่อง ตาเว็น\" เพราะถือกันว่า หากสร้างเรือนให้ \"ขวางตาเว็น\" แล้วจะ \"ขะลำ\" คือเป็ น อัปมงคล ทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข 2.มีความเชื่อเรื่องกลิ่นของดิน โดยการขุดดินลึกราว 1 ศอก เอาดินขึ้นมาดมกลิ่นว่าเป็ น อย่างไร ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้าดินมีกลิ่นหอมถือว่าดินนั้ นอุดมสมบูรณ์ดี เป็ นมงคลอยู่เย็น เป็ นสุข แต่ถ้าดินมีกลิ่นเย็น กลิ่นเหม็นคาว ถือว่าดินนั้ นไม่ดีใครปลูกสร้างบ้านอยู่ เป็ นอัปมงคล

ตัวอย่างบ้านเรือนไทยภาคใต้ 5 ตัวอย่างบ้านเรือนไทยภาคเหนื อ https://www.mculture.go.th/phatthalung/images/ article/news3320/n20210927165626_35366.jpg https://art-culture.cmu.ac.th/public/img/parallax-museum4.jpg ตัวอย่างบ้านเรือนไทยภาคกลาง ตัวอย่างบ้านเรือนไทยภาคอีสาน https://static.wixstatic.com/media/bc58d2_f250a4b14cff4c24b2f35 856075179e1.jpg/v1/fit/w_450%2Ch_272%2Cal_c%2Cq_80/file.jpg https://sites.google.com/site/3552momo/_/rsrc 1430542100280/phakh-xisan/huan_isan_02.jpg


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook