11 ปีท่ี 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 เหตุผลในการเลอื กรับบรกิ ารการคลอดกบั ผดุงครรภโ์ บราณโตะ๊ บีแด อาเภอยะหา จังหวัดยะลา Reasons for Choosing Midwife Services of Toh Bee Dae Yaha District, Yala Province สาริณี ปเู ตะ1, วันนิศา รกั ษามาตย์2,*, อิศรา ศริ มณีรัตน์3 Sarinee Puteh1, Wannisa Raksamat2,*, Issara Siramaneerat3 1โรงพยาบาลสง่ เสริมสุขภาพตาบลบาโงยซแิ น อาเภอยะหา จงั หวัดยะลา 2วทิ ยาลยั เทคโนโลยที างการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก อาเภอไทรนอ้ ย จงั หวัดนนทบุรี 3มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีราชมงคลธัญบรุ ี อาเภอคลองหลวง จงั หวดั ปทุมธานี 1Bahosinae Health Promotion Hospital, Yaha District, Yala 2Kanchanapisek Medical and Health Technology College, Sainoi District, Nonthaburi 3Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Klong Luang Distinct, Pathum Thani บทคดั ย่อ การศึกษาเหตผุ ลในการเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด อาเภอยะหา จงั หวัดยะลา เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สัมภาษณ์เจาะลึกเกี่ยวกับการเลือกรับบริการการคลอดกับ ผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดของหญิงหลังคลอด จานวน 10 คน โดยมีข้อคาถามตามประเด็นในวัตถุประสงค์ ได้แก่ 1) ขอ้ มูลพื้นฐานของหญิงหลังคลอด 2) การสนับสนุนของครอบครัวในระหว่างต้ังครรภ์ 3) ปัจจัยดา้ นสังคมและวัฒนธรรม และ 4) ปจั จัยด้านการเขา้ ถึงการบริการ จากนัน้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เน้อื หา ผลการศึกษาพบวา่ 1) หญิงหลังคลอดส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-25 ปี (ร้อยละ 60.0) และ 26-30 ปี (ร้อยละ 40.0) สถานภาพ สมรส เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ร้อยละ 30.0) และ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ร้อยละ 60.0) ประกอบอาชีพเป็นแม่บ้าน รายได้ส่วนใหญ่มาจากรายได้ของสามี โดยมี ความสามารถในการพูดภาษาไทยอยู่ในระดับพูดได้บ้าง สาหรับประสบการณ์การคลอดพบว่าส่วนใหญ่เคยผ่าน ประสบการณ์คลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดมาแล้ว และมีการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดมากกว่า 1 ครั้ง (รอ้ ยละ 20.0) 2) การสนับสนนุ ของครอบครัวในระหว่างการต้ังครรภ์ พบว่า สามมี ีส่วนรว่ มในระหว่างการต้ังครรภ์ ในดา้ นการ พาไปฝากครรภ์กับผดงุ ครรภโ์ บราณโต๊ะบีแด และในดา้ นคา่ ใชจ้ ่ายตา่ ง ๆ โดยในแต่ละครัง้ ทีผ่ ดุงครรภโ์ บราณโต๊ะบแี ดนัด ให้ไปฝากครรภ์ สามีจะมีส่วนร่วมในการดูแลเร่ืองอาหาร แนะนาให้หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารท่ีมีประโยชน์ งด อาหารแสลงต่าง ๆ ดูแลหญิงตั้งครรภ์เม่ือมีอาการแพ้ท้อง อาการไม่สุขสบายต่าง ๆ และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือก รบั บรกิ ารการคลอดและสง่ เสริมให้ฝากครรภก์ ับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบแี ด 3) สังคมและวัฒนธรรม พบว่า วัฒนธรรมการคลอดของหญิงมุสลิมนั้น อนุญาตให้ผู้ทาคลอดเป็นเพศหญิง เทา่ น้ัน นอกจากเหตุผลจาเป็นสุดวสิ ัยและไม่ขดั กับหลกั ศาสนาและเปน็ บุคคลท่ีมีความรู้ทางการแพทย์ และนยิ มคลอดท่ี บ้าน เน่ืองจากเช่ือในความสามารถและความชานาญในการทาคลอดของผดุงครรภโ์ บราณโต๊ะบีแด มีความสะดวกสบาย ในการคลอด มกี ารคลอดกบั ผดงุ ครรภ์โบราณโต๊ะบแี ดต้ังแต่สมยั บรรพบรุ ษุ จึงสบื ต่อกันมาจนถงึ รุ่นลกู หลาน เมื่อถงึ เวลา คลอดสภาพแวดลอ้ มขณะคลอดผู้คลอดจะรสู้ ึกอบอุน่ ทไ่ี ด้คลอดท่ีบ้านซ่งึ มีญาติ พ่นี อ้ ง และเพื่อน ๆ มาคอยใหก้ าลงั ใจ 4) การเขา้ ถึงบริการและการอานวยความสะดวกของหญงิ ที่คลอดกับผดงุ ครรภโ์ บราณโตะ๊ บีแด พบว่า หญงิ หลัง คลอดให้ความสาคัญต่อความสะดวกสบายในการเดินทาง ประกอบกับเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าไปคลอดที่โรงพยาบาล ไม่ เสยี ค่าใช้จา่ ยในการเดินทาง สว่ นด้านการรับรขู้ า่ วสารสาธารณสขุ พบวา่ หญิงหลงั คลอดไมไ่ ด้รบั ขา่ วสาร และไม่ใหค้ วาม สนใจเกย่ี วกับความรู้ด้านสาธารณสุข เน่ืองจากตนไม่มคี วามรู้ การเขา้ ถงึ ของหน่วยงานสาธารณสขุ นน้ั ไม่ครอบคลุมพ้ืนท่ี ต่าง ๆ อกี ทัง้ หญงิ หลงั คลอดไม่ไดร้ บั การแนะนาจากเจา้ หน้าทีส่ าธารณสขุ และอาสาสมคั รชมุ ชน คาสาคัญ: การคลอด, ผดุงครรภโ์ บราณ, โต๊ะบแี ด, การเลือกรับบรกิ าร Corresponding Author: *วนั นศิ า รักษามาตย์ วิทยาลัยเทคโนโลยที างการแพทยแ์ ละสาธารณสขุ กาญจนาภเิ ษก จงั หวดั นนทบุรี Email: [email protected] วารสารสาธารณสขุ และวทิ ยาศาสตร์สขุ ภาพ Thai Journal of Public Health and Health Sciences
12 ปีท่ี 1 ฉบบั ท่ี 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 Abstract The reason to the selection of birth care services for midwives in Yala province. Using structured interviews and In-depth interviews were used to interview postpartum women among of 10 cases. The data were analyzed by content analysis. The study indicated that; 1) Most postpartum women are between 20-25 years old (60.0%) and 26-30 (40.0%) years old. Most of them graduated from junior (30.0%) and senior high schools (60.0%). Moreover, most of occupation of respondents were housewife. Most income comes from the husband's income. The ability to speak Thai was average level. For the experience of the birth, women who gave birth are most likely to have had the experience of having a primitive pregnant attendant. 2) Husband participation during pregnancy revealed that husband participated during pregnancy in terms of taking care of antenatal care with ancient midwives and in terms of expenses. Husbands take part in food care and advise pregnant women to eat healthy foods. Furthermore, the participation in decision making during pregnancy, husbands participate in decision making to choose birth care services and promote antenatal care with traditional midwifery. 3) In term of the Muslim women's birth culture, it allows only a female to take care pregnant and the birth at home because of the belief in the ability and expertise of the midwives of the midwife. 4) Access to the services and facilities of women born to midwives, the postpartum women are more sensitive to travel comfort. The cost is cheaper to go to hospital and no cost to travel. In terms of public health awareness, it was found that postpartum women did not receive news and do not pay attention to the knowledge of public health. Because of their lack of knowledge and access, public health agencies do not cover the areas including not recommended by community health officials and volunteers. Key words: birth, Midwifery, traditional midwife, admission วารสารสาธารณสขุ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ Thai Journal of Public Health and Health Sciences
13 ปที ี่ 1 ฉบบั ที่ 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 บทนา จากรายงานขององค์การอนามัยโลก พ.ศ. 2551 ค่าคาดประมาณการตายของมารดาในประเทศไทยมี อัตราการตายของมารดาเท่ากับ 48:100,000 การเกิดมีชีพ และอัตราการตายของทารกอายุต่ากว่า 1 ปีเท่ากับ 13:1,000 การเกิดมีชีพ(กระทรวงสาธารณสุข, 2551) ข้อมูลอัตราการตายของมารดาและทารกไม่เพียงแต่จะ บอกถึงปัจจัยเสี่ยงของการตั้งครรภ์และการคลอด แต่ยังชี้ให้เห็นถึงสุขภาพโดยรวมของผ้หู ญิงโดยตรงและสภาพ เศรษฐกิจและสังคมโดยอ้อม การประเมินจานวนการตายของมารดาและทารกเป็นสิ่งที่ทาได้ยากและซับซ้อนใน ระดับประเทศ จึงเป็นปัญหาท่ีผู้เกี่ยวข้องจะต้องเร่งดาเนินการแก้ไข เพราะทาให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณ จานวนมากในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ อีกท้ังสุขภาพอนามัยของมารดาทั้งร่างกายและจิตใจมีผลโดยตรงต่อการ เจริญเตบิ โตและพัฒนาการของทารกต้ังแต่อยใู่ นครรภต์ ลอดจนถึงระยะภายหลังคลอด ดังน้ันหญิงตั้งครรภ์ควรมี สุขภาพร่างกายและจิตใจสมบูรณ์แข็งแรงในระหว่างต้ังครรภ์ และควรได้รับการคลอดที่ถูกต้องจากเจ้าหน้าท่ี สาธารณสขุ สาหรับ ป ระเท ศไท ยอัตราการเสียชีวิตของเด็กและหญิ งระยะตั้ งครรภ์และหลังคลอด ลดลงอย่างมี นัยสาคัญยกเว้นพ้ืนท่ีภาคใต้ ซึ่งพบว่าอัตราการตายของมารดาในภาคใต้คิดเป็น 2 เท่าของอัตราการตายของ มารดาในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ และพบปัญหาน้ีสูงท่สี ุดใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ไดแ้ ก่ จงั หวัด ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส คิดเป็นร้อยละ 82.81, 67.43 และ 63.93 ต่อแสนคนในการเกิดมีชีวิต ตามลาดับ สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตทุ ่ีสามารถปอ้ งกนั ได้ในบริบทของสูติศาสตรส์ มัยใหม่ มเี พียงนอ้ ยรายที่ น่าจะเป็นเหตุสุดวิสัย เนื่องจากหญิงต้ังครรภ์มุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงฝากครรภ์กับผดุงครรภ์ โบราณเพราะวิถีชวี ติ ความเชอ่ื ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นตัวกาหนดบรรทัดฐานปฏบิ ัติตนของหญงิ ตั้งครรภ์ (ศรี วิภา เลี้ยงพันธุ์สกุล และคณะ, 2558) อีกทั้งยังคงมีการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณหรือโต๊ะบีแด มากกว่าหญิง ตั้งครรภใ์ นพน้ื ทอ่ี นื่ ๆ (สุดารตั น์ ธรี ะวร, 2547) โต๊ะบีแดถือเป็นบุคคลที่ประชาชนมุสลิมวางใจและเชื่อถือ ดังน้ันมารดาและทารกมีโอกาสเสี่ยงสูงท่ีจะ เสียชีวิตในระหว่างต้ังครรภ์และการคลอด (กระทรวงสาธารณสุข, 2551) และจากสภาพปัญหาและสถานการณ์ สภาวะสุขภาพของแม่และเด็กในจังหวัดยะลาต้ังแต่พ.ศ. 2552 – 2559 ยังพบการตายของแม่โดยพบว่าจานวน มารดาตาย พ.ศ. 2552 จานวน 2 คน พ.ศ. 2553 จานวน 3 คน พ.ศ. 2558 จานวน 1 คน พ.ศ. 2559 จานวน 2 คน รวม 8 คน สาเหตุจากการตกเลือดหลังคลอด จานวน 5 คน ความดันโลหิตสูงจานวน 3 คน (สานักงาน สาธารณสขุ จังหวดั ยะลา, 2559) ทั้งนเ้ี นื่องจากสาเหตุและปจั จัยจากพฤตกิ รรมการบรโิ ภคอาหาร และความเช่ือ พ้ืนบ้านที่ได้รับจากอิทธิพลของผู้ใกล้ชิด ได้แก่ บิดา มารดา สามี เครือญาติ และจากการฝากครรภ์ล่าช้า อายุ ครรภเ์ กินไตรมาส 2 และพฤติกรรมการกินยาเมด็ เสรมิ ธาตุเหล็กไม่สมา่ เสมอ (สานักงานสาธารณสขุ จงั หวดั ยะลา, 2559) จากข้อมูลบัญชีสาธารณสุข งานอนามัยแม่และเด็ก สานักงานสาธารณสุข อาเภอยะหา จังหวัดยะลา พบว่าในปีงบประมาณ 2559 ช่วงเดือน มกราคม ถึงเดือน ธันวาคม มีการคลอดจานวน 746 ราย คลอดที่ โรงพยาบาลจานวน 709 ราย และคลอดที่บา้ นโดยโต๊ะบีแด จานวน 37 ราย (สานกั งานสาธารณสขุ จังหวัดยะลา, 2559) ซ่ึงถือว่าเป็นจานวนท่ีมาก ประกอบกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขที่สนับสนุนให้หญิงต้ังครรภ์ คลอดท่ีโรงพยาบาล โดยเปลี่ยนบทบาทของโตะ๊ บแี ดเปน็ ผู้นาสง่ หญิงตง้ั ครรภ์คลอดทโ่ี รงพยาบาล อีกทัง้ งานวิจัย ท่ีศึกษาเหตุผลเกี่ยวกับการเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดในช่วง 10 ปีท่ีผ่านมา ไม่มี การศึกษาเก่ียวกับเร่ืองน้ี ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษา การเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด อาเภอยะหา จังหวดั ยะลา เพ่ือเป็นแนวทางให้เจ้าหน้าท่สี าธารณสขุ ใช้เป็นข้อมลู พ้นื ฐานในการปรบั ปรุงงาน วาง แผนการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการป้องกันและพัฒนาการบริการแก่หญิงต้ังครรภ์และหลังคลอด เพอื่ ลดอัตราการป่วยและการตายของแม่และเดก็ ใน 3 จงั หวดั ชายแดนภาคใตต้ ่อไป วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ Thai Journal of Public Health and Health Sciences
14 ปที ่ี 1 ฉบบั ที่ 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 วตั ถปุ ระสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปัจจยั ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโตะ๊ บีแด อาเภอยะหา จงั หวดั ยะลา ระเบียบวิธวี จิ ัย การศึกษาคร้ังนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Design) ใช้แบบสัมภาษณ์อย่างมี โครงสร้าง โดยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) กับหญิงที่เคยรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์ โบราณโตะ๊ บแี ด อาเภอยะหา จังหวดั ยะลา ผวู้ จิ ัยได้กาหนดขอบเขตดงั นี้ 1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคร้ังน้ี คือ หญิงท่ีคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดใน ปีงบประมาณ 2559 ระหว่างเดือน มกราคม ถึงเดือน ธันวาคม ที่อาศัยอยู่ในเขตพ้ืนท่ีอาเภอยะหา จังหวดั ยะลา จานวน 37 คน (สานักงานสาธารณสุขจงั หวัดยะลา, 2559) 2. กลุ่มตัวอย่าง หญิงหลังคลอดที่ผู้ศึกษานามาศึกษาในครั้งน้ี เป็นหญิงหลังคลอดที่เลือกรับบริการการ คลอดกับผดงุ ครรภ์โบราณโต๊ะบีแด ท่ีอาศัยอยู่ในเขตพ้ืนท่ีอาเภอยะหา จังหวัดยะลา จานวน 10 คน จาก ท้ังหมด 37 คน เน่ืองจากกล่มุ ตัวอย่างบางส่วนไดอ้ อกไปนอกประเทศเพ่ือไปหางานทา รวมถึงย้ายถ่ินฐาน ไม่สามารถติดต่อได้ โดยทาการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบก้อนหิมะ(Snowball sampling) โดยผู้วิจัยจะ เลือกหญิงหลังคลอดท่ีเลือกรบั บริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดมาจานวนหนึ่ง และให้คนน้ัน แนะนาคนอื่น ๆ อีกท่ีมีลักษณะเหมือนตนเอง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ที่บ้านของกลุ่ม ตัวอย่าง 3. เคร่อื งมอื ท่ใี ชใ้ นการวจิ ัย 1) แบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์ท่ีใช้ในการสัมภาษณ์เจาะลึกมีข้อคาถามตามประเด็นในวัตถุประสงค์แบ่ง ออกเป็น 4 สว่ น ดังน้ี 1. ข้อมูลพน้ื ฐานของหญิงหลังคลอด จานวน 7 ข้อ 2. การสนบั สนุนของครอบครัวในระหว่างตัง้ ครรภ์ จานวน 2 ขอ้ 3. ปัจจยั ดา้ นสงั คมและวัฒนธรรม จานวน 2 ขอ้ 4. ปจั จัยด้านการเขา้ ถงึ การบริการ จานวน 1 ขอ้ รวม 12 ขอ้ 2) เครือ่ งมือท่ีใชป้ ระกอบการเกบ็ ข้อมลู ประกอบด้วย 1. กล้องถ่ายรูป (Digital camera) 2. หนว่ ยบันทึกภาพ (Memory stick) 3. สมดุ บนั ทึกและปากกา ใช้ในการบันทกึ ผลการสมั ภาษณ์ 4. การตรวจสอบคณุ ภาพเครือ่ งมือ ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content Validity) ของแบบสัมภาษณ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 3 ทา่ น ประกอบดว้ ย นกั วิชาการสาธารณสขุ ชานาญการ จานวน 1 ทา่ น พยาบาลวิชาชีพงานอนามยั แม่และเด็ก จานวน 1 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัย 1 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของภาษา ความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และความครอบคลุมของเน้ือหา จากนั้นนาผลการพิจารณาของผู้ทรงท้ัง 3 ท่าน หาค่าดัชนีความสอดคล้อง(Index of Item Objective Congruence : IOC) ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.85 ซึ่งมากกว่า 0.50 ถือว่าผ่านเกณฑ์ (วรรณ์ดี แสงประทปี ทอง, 2548) และงานวิจัยนไี้ ด้ปรบั ปรงุ ความเหมาะสมของภาษาของขอ้ คาถาม จานวน 12 ข้อ ไดข้ ้อ คาถามทีม่ คี ณุ ภาพตามเกณฑจ์ งึ นาไปเกบ็ ขอ้ มลู ตอ่ ไป วารสารสาธารณสุขและวทิ ยาศาสตรส์ ุขภาพ Thai Journal of Public Health and Health Sciences
15 ปที ี่ 1 ฉบบั ท่ี 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 5. การเก็บรวบรวมขอ้ มูล การเก็บรวบรวมข้อมลู ในการวจิ ัยคร้งั น้ี ผวู้ ิจยั ได้ดาเนนิ การตามขั้นตอนดงั นี้ 1) ติดต่อประสานงานกับหญิงหลังคลอด เพื่อช้ีแจงวัตถุประสงค์การสัมภาษณ์ และขอความ ร่วมมือในการทาวิจัย โดยก่อนที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ศึกษาได้ให้หญิงหลังคลอดลงชื่อยินยอมให้ทาการวิจัยก่อน เก็บข้อมูล ซึ่งโครงการวิจัยน้ีผ่านการรับรองการดาเนินการวิจัยตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์โดย คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภเิ ษก เลขรบั รองท่ี KMPHT 60020034 2) ดาเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยใช้แบบสัมภาษณ์เจาะลึก อาศัยการจดบันทึก และขอ อนุญาตบันทึกเสียงสัมภาษณ์ บันทึกภาพทุกคร้ังร่วมกับการสังเกต เพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วน ป้องกันการ คลาดเคลอ่ื นของขอ้ มลู และดาเนนิ การถอดเทปหลังการสมั ภาษณเ์ ชงิ ลึกเสรจ็ ทกุ ครง้ั 6. การวิเคราะหข์ ้อมลู แบบสัมภาษณ์เจาะลึกท่ีมีความสมบูรณ์นามาวิเคราะห์โดยให้อยู่ภายใต้กรอบแนวคิดและ วัตถุประสงค์ท่ีกาหนดไว้เบ้ืองต้นด้วยการวิเคราะห์เน้ือหา (Content analysis) จากนั้นจึงนาข้อมูลมาสรุปและ อภปิ รายผลการศึกษาตามวัตถปุ ระสงค์การศึกษา ผลการศกึ ษา ขอ้ มลู พื้นฐานของหญิงหลังคลอด ขอ้ มูลพื้นฐานของหญิงหลังคลอดพบว่าหญิงหลังคลอดส่วนใหญ่ มีอายรุ ะหว่าง 30-40 ปี จานวน 6 คน มสี ถานภาพสมรส สว่ นใหญเ่ ปน็ ชาวไทยเชื้อสายมลายู นับถอื ศาสนาอสิ ลาม เครง่ ครดั ต่อศาสนา และนิยมส่งบตุ ร หลานเรยี นหลักธรรมของศาสนา ด้านภาษา สว่ นใหญ่นิยมพดู ภาษามลายูถ่ิน นอกจากนี้ยงั พบวา่ ระดับการศึกษา เก่ียวเน่ืองกับระดับความรู้ และความสามารถในการเรียนรู้ การศึกษาจะเป็นพ้ืนฐานที่สาคัญในการคิดการ ตัดสินใจ ซ่ึงรวมถึงการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลอด โดยพบว่าหญิงหลังคลอดส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับ มัธยมศกึ ษาตอนต้นและมัธยมศกึ ษาตอนปลาย หญงิ หลังคลอดทกุ คนประกอบอาชีพเปน็ แม่บา้ น สาหรับประสบการณ์การคลอดพบว่า หญิงที่คลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดส่วนใหญ่เคยผ่าน ประสบการณ์คลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดแล้วและมีการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด มากกว่า 1 ครั้ง จานวน 2 คน หลงั คลอดไม่เกิดปัญหาใด ๆ จงึ มแี นวโนม้ ทีจ่ ะเลอื กคลอดกบั ผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบแี ดอีก การสนับสนนุ ของสามใี นระหวา่ งตั้งครรภ์ จากการสมั ภาษณห์ ญิงหลังคลอดทค่ี ลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบแี ด พบว่า สามีมสี ่วนรว่ มในระหว่าง การตั้งครรภ์ ในด้านการพาไปฝากครรภ์กับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด และในด้านคา่ ใช้จ่ายต่างๆ สามีจะเป็นคน พาผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดมาตรวจครรภ์ที่บ้าน สามีจะมีส่วนร่วมในการดูแลเร่ืองอาหาร แนะนาให้หญิง ตั้งครรภร์ บั ประทานอาหารทม่ี ีประโยชน์ งดอาหารแสลงต่างๆ ดแู ลหญิงต้ังครรภเ์ มื่อมีอาการแพ้ทอ้ ง และอาการ ไม่สบายต่าง ๆ เม่ือหญงิ ตัง้ ครรภม์ ีความวิตกกังวลเก่ียวกับการคลอด สามีจะเป็นผู้ปลอบและให้กาลังใจ บางครั้ง พาหญงิ ต้ังครรภไ์ ปฝากครรภต์ ามนัดท่ีสถานบริการสาธารณสุข จากการสัมภาษณ์หญิงหลังคลอดที่คลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด พบว่า สามีมีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจเลือกรับบริการการคลอดและส่งเสริมให้ฝากครรภ์กับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด โดยสามีจะถามความ คิดเห็นของหญิงตั้งครรภ์ด้วยเช่นกัน เน้นความสะดวกสบายของหญิงต้ังครรภ์ เม่ือหญิงต้ังครรภ์ต้องการซื้อยา บารุงมารับประทาน สามีจะเห็นด้วย และเคารพการตัดสินใจของหญิงต้ังครรภ์ สามีบางรายมีรายได้น้อย จึงตดั สนิ ใจให้หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภแ์ ละเลอื กรับบริการการคลอดกบั ผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบแี ด เพื่อลดค่าใช้จา่ ย วารสารสาธารณสขุ และวิทยาศาสตรส์ ขุ ภาพ Thai Journal of Public Health and Health Sciences
16 ปที ี่ 1 ฉบบั ที่ 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 สังคมและวัฒนธรรม จากการสัมภาษณ์หญิงที่คลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด จานวน 10 คน พบว่า เหตุผลท่ีเลือกรับ บริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด เนื่องจากเช่ือในความสามารถและความชานาญในการทาคลอด ของผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด มีความสะดวกสบายในการคลอดมีการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดต้ังแต่ สมัยบรรพบุรุษ จึงสืบต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกหลานคนในชุมชนส่วนใหญ่ไม่ไปฝากครรภ์และคลอดท่ีโรงพยาบาล ด้านความเชื่อตามศาสนาอิสลามจากการให้สัมภาษณ์ของหญิงที่คลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด พบว่า ผดุง ครรภ์โบราณโต๊ะบีแดมีบทบาทมากในสังคมมุสลิม ตามหลักการแลว้ หญิงหลังคลอดต้องดูแลเอาใจใส่ตั้งแต่ระยะ ของการต้ังครรภ์ โดยเฉพาะการทาพิธีกรรมทางด้านความเชื่อในวัฒนธรรมประเพณี เช่น ในช่วงระยะของการ ต้ังครรภ์จะมีกล่อมท้องในหญิงต้ังครรภ์ การทาพิธีแนแงซ่ึงเป็นพิธีกรรมที่ทาเฉพาะบุตรคนแรกเท่าน้ัน เมื่ออายุ ครรภ์ครบ 7 เดอื น โดยมคี วามเชื่อว่าจะทาให้คลอดลกู ไดง้ า่ ย และปลอดภยั การอาบน้าทีน่ าน้ามาอ่านแล้วขอพร โดยทีน่ านา้ ทีผ่ า่ นการขอพรมาลบู หนา้ ท้อง เชือ่ วา่ ลกู ที่คลอดออมามีผิวพรรณดผี ดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดจะทาพิธี ลูบไล้ครรภ์เพ่ือเป็นสิริมงคล ซึ่งหญิงต้ังครรภ์ต้องเตรียมของในพิธีประกอบด้วย มะพร้าว 3 ผล 2 ผลไม่ปอก เปลือกและนามาผูกติดกันเป็นคู่ ใช้ทาลายอาถรรพ์อีก 1 ผล ปอกเปลือกขูดผิวกะลาให้เรียบ ใช้สาหรับลูบไล้ ครรภ์ และเตรยี มนา้ มันไว้สาหรับลูบไลค้ รรภ์ ผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดจะจัดให้หญิงต้ังครรภ์นอนชันเข่า มีมะพร้าวที่ขูดผิวกะลาแล้ว จากนั้นนา มะพร้าวไปกล้งิ บนครรภ์พร้อมทงั้ ท่องคาถา เชือ่ กนั วา่ เป็นการขอให้ครรภ์น้คี ลอดโดยสะดวกปลอดภัยอีกท้ังมีการ ท่องคาถา (ขอพรดุอาร์) เวลาแต่งท้องและฝากครรภ์ มีการทาน้ามันหรือหมากพลูให้กิน อีกท้ังโต๊ะบีแดเป็นผู้มี ความรู้ด้านศาสนาอีกด้วย มีการใช้ดุอาร์ (บทขอพร) กากับ การขอพรจากองค์อัลเลาะฮ์ จะสร้างความอุ่นใจ สบายใจแก่ผู้คลอด และญาติได้เป็นอย่างมาก โดยโต๊ะบีแดต้องทาหน้าท่ีตั้งแต่ก่อนคลอด ขณะคลอดการคลอด กับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดจะทาการคลอดที่บ้าน โดยเตรียมสถานที่คลอดเป็นมุมหน่ึงของห้อง มีฉากก้ันหรือ ม่านก้ัน ภายในม่านหรือฉากจะมีมารดาหรือญาติผู้ใหญ่ท่ีเป็นหญิงของหญิงรอคลอดจะอยู่ใกล้ๆ ส่วนสามีจะอยู่ ดว้ ยหรอื รออยู่ขา้ งนอกสว่ นหลังคลอดจะมีการติดตามผลการรักษาตลอดเวลา ลกั ษณะการอยไู่ ฟหลังคลอด ห้อง ท่ใี ช้จะต้องมิดชิดต้องไม่มีลมผ่านมากนัก หอ้ งต้องอบเพอ่ื อบตัว ด้านล่างเป็น กระบะหรือปูด้วยแผ่นสังกะสี แล้ว ใช้ไม้ท่ีเป็นฟืนจุด บางครั้งจะมีการรมยา จะใช้แคร่หรือเตียงไม้ไผ่ โดยการนอนป้ิงบนแคร่เลย มีการดื่มน้าต้ม สมุนไพรเช่ือวา่ ทาให้ร่างกายแขง็ แรงและมีลกู ห่าง และมีการร้ือเตาไฟ 45 วนั หลงั คลอด ส่วนความเชื่อเรื่องอาหาร หญิงหลังคลอดเช่ือว่าการรับประทานอาหารมากชนิดในช่วงหลังคลอดจะทา ให้มดลูกขยายตัวและเขา้ อู่ช้า ต้องรับประทานอาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เน้ือตากแห้ง พรกิ ไทย จะช่วยให้มดลูก แห้งและเข้าอู่เร็ว หากกินอยา่ งอืน่ อาจจะทาให้แสลงต่อฝีเย็บและอาจทาให้แผลหายยาก การจะช่วยใหม้ ดลูกเข้า อู่เรว็ ทาไดโ้ ดยการนาถ่านกอ้ นมาวาง ด้านในมีผงยาสมุนไพรโรยลงบนถา่ นก้อน หญงิ หลังคลอดน่ังคร่อมด้านบน ใช้ควันกับความร้อนท่ีไม่ร้อนมาก ควันช่วยลมช่องคลอดให้น้าคาวปลาระบายออกมาทางช่องคลอดได้มากข้ึน และสรรพคุณของยาช่วยในเรอื่ งของยารกั ษาแผล ฝีเย็บให้หายและแห้งเร็วขึ้น ความร้อนท่ไี ด้รับจะช่วยเรื่องของ การฆา่ เชอ้ื โรค การดูแลเรอื่ งนา้ คาวปลาขณะอยู่เรอื นไฟ หญิงหลงั คลอดต้องสังเกตวา่ สีของน้าคาวปลาท่อี อกมาที่ มอี ยู่ 3 -4 วันแรก สนี ้าคาวปลาจะมสี ีแดงดี ตอ่ มาจะนอ้ ยลงและเปลีย่ นเปน็ สีนา้ ตาลในปลายสัปดาหแ์ รก และจะ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองๆ ขาวๆ จางลงไปในปลายสัปดาห์ที่ 2 และค่อยๆ หมดไปในปลายสัปดาห์ท่ี 3 หรืออาจจะ นานไปถึง 4-6 สัปดาห์ ในช่วงหลังคลอดหญิงหลังคลอดจะดูแลตนเองอย่างมากหลังจากทารกคลอด จะต้องมีการทาอะซาน และอิกอมะฮ์ หรือ การประกาศเชิญชวนให้ปฏิบัติละหมาด แก่ทารกเพียงวินาทีแรกที่เรือนร่างได้สัมผัสโลก ภายนอก และการฝังรกของเด็กซึ่งการดารงไว้ซ่ึงการปฏิบัติตามวัฒนธรรมและจากความเชื่อตามหลักศาสนา อิสลาม สาหรับผู้ทาคลอดต้องเป็นผู้หญิงโดยเฉพาะเนื่องจากการดูแลตามหลักศาสนา เป็นสิ่งท่ีปฏิบัติสืบต่อกัน มาเป็นแบบแผนโดยวางอยู่บนพ้ืนฐานคาสอนจากอัล-กุรอานและซุนนะห์ หรือคาสอนจากพระเจ้าและแนวทาง ปฏิบัติตามหลักคาสอนของพระเจ้า จึงถือว่าเป็นพิธีหรือประเพณีท่ีเป็นศาสนกิจท่ีมุสลิมจะต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง วารสารสาธารณสขุ และวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ Thai Journal of Public Health and Health Sciences
17 ปีท่ี 1 ฉบบั ท่ี 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 ตามความเช่ือในเร่ืองเพศท่ีเป็นข้อห้ามหลัก ผู้ชายไม่สามารถเห็นสัดส่วนของผู้หญิงได้ ได้แก่ การคลอดกับผู้ทา คลอดทเ่ี ป็นผู้หญงิ ท่ตี ามหลักศาสนาอิสลาม ไม่อนุญาตให้ผชู้ ายอน่ื นอกจากสามหี รอื บคุ คลท่ศี าสนายกเว้นถกู เนื้อ ต้องตัว หรือเหน็ ส่วนท่ีควรปกปดิ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีรับบริการในโรงพยาบาลหรอื การรักษาของแพทย์ผู้ท่ีจะ เห็นเรือนร่างได้ต้องเป็นสามีหรือพ่ีนอ้ ง โดยกาเนดิ หลงั จากคลอดผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดจะกลบั มาดแู ลมารดา โดยทาความสะอาดและให้อาบน้าต้มสมุนไพรแล้วบบี นวดคลึงมดลกู ใหห้ ดรัดตัว เสรจ็ แล้วก็เก็บเคร่อื งมือกลับไป กับค่าสมนาคุณ การให้ค่าสมนาคุณทาคลอดไม่กาหนดแน่นอน จะให้กันตามฐานะของเจ้าของบ้าน ไม่มีการ เรยี กร้อง บางรายก็ไม่มีเงินให้ เนื่องจากสานึกของผดุงครรภ์โบราณโตะ๊ บแี ดทีเ่ ช่ือว่าการช่วยทาคลอดให้ทารกได้ ถอื กาเนดิ ถอื เปน็ กศุ ลอยา่ งย่งิ การเข้าถงึ การบรกิ าร จากการให้สมั ภาษณข์ องหญิงที่คลอดกบั ผดุงครรภโ์ บราณโตะ๊ บแี ด พบว่าการคลอดกับผดงุ ครรภ์โบราณ โต๊ะบีแดมีความสะดวก ประกอบกับค่าใช้จ่ายในการคลอดเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าไปคลอดที่โรงพยาบาล ไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายระหว่างการคลอดคนในชุมชนเลือกคลอดท่ีบ้านกับผดุงครรภ์โบราณ เป็นเพราะค่าใช้จ่ายน้อยกว่ากว่าบริการของรัฐ ถึงแม้ว่าสถานบริการบางแห่งไม่คิดค่าบริการแต่จาเป็น ต้องใช้ จา่ ยเร่อื งค่าเดนิ ทาง คา่ ใช้จา่ ยอื่น ๆในการคลอดกบั ผดุงครรภโ์ บราณโต๊ะบแี ดนั้น ผดุงครรภโ์ บราณโต๊ะบแี ดจะมา ทาคลอดท่บี ้าน ไม่ตอ้ งเคลือ่ นยา้ ยไมม่ ีปญั หาระหวา่ งการเดนิ ทางสืบเน่ืองจากแหลง่ บริการของรฐั อยูไ่ กล สรปุ และอภิปรายผลการศกึ ษา ปัจจัยท่ีเก่ียวข้องกับการเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด อาเภอยะหา จังหวัด ยะลา ได้แก่ ด้านการสนับสนุนของสามีในระหว่างตั้งครรภ์ จากผลการวจิ ัยพบวา่ ผู้ใหส้ มั ภาษณใ์ ห้ความสาคัญต่อ การมีส่วนร่วมในระหว่างการตัง้ ครรภข์ องสามีในดา้ นการพาไปฝากครรภ์กับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดและในดา้ น คา่ ใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนการมสี ว่ นรว่ มในการตดั สินใจของสามีและคนในครอบครวั นัน้ สามมี ีสว่ นร่วมในการตดั สินใจ เลอื กรับบริการการคลอดและสง่ เสริมให้ฝากครรภ์กับผดุงครรภ์โบราณโตะ๊ บีแด ครอบครัวเปน็ หน่วยทางสังคมท่ี เล็กท่ีสุดแต่เป็นหน่วยท่ีสาคัญที่สุด (รุจา ภู่ไพบูลย์, 2542) เป็นแหล่งให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการกระทา ของสมาชิกในครอบครัว ซ่ึงครอบครัวเด่ียวและครอบครัวขยายเป็นรูปแบบครอบครัวไทยที่พบได้บ่อย ซ่ึงในความ แตกตา่ งของรูปแบบนีจ้ ะพบวา่ ครอบครวั เดย่ี วประกอบด้วย พอ่ แม่ ลูก จะค่อนขา้ งมีอสิ ระในการคดิ และตดั สินใจ ของสมาชิกในครอบครัว ซ่ึงต่างจากครอบครัวขยายท่ีมีการอยู่รวมกันตั้งแต่ขั้นปู่ ย่า ตา ยาย ลูก หลาน ซ่ึง อานาจในการตัดสินใจอาจจะอยู่กับผู้อาวุโสในครอบครัว ซ่ึงเป็นผลให้เกิดการกระทาพฤติกรรมต่าง ๆ ของ สมาชิกในครอบครัว (สุพัตรา สุภาพ, 2542) ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ เช่นเดียวกัน สามีเป็นผู้นาครอบครัว ดังน้ันอานาจการตัดสินใจเลือกจึงยังเป็นสิทธ์ิของผู้นาครอบครัวอยู่ ถึงแม้จะเป็นครอบครัวเดี่ยว สอดคล้องกับอิสมาแอ อาลี และคณะ (2535) จากการศึกษาปัจจัยทาง ประชากรและสงั คมท่ีมคี วามสัมพันธต์ ่อการได้รับบริการอนามยั แมแ่ ละเด็ก จงั หวดั สงขลา พบว่ามารดาอยู่ ไฟหลังคลอดร้อยละ 19 เพราะเช่ือว่าการอยู่ไฟหลังคลอดจะช่วยให้มดลกู เข้าอเู่ ร็ว สบายตัว และทาตามท่ี บดิ ามารดาบอกใหป้ ฏิบัติ ดา้ นสังคมและวัฒนธรรม จากผลการวิจัยพบว่าผู้ให้สัมภาษณ์ให้ความสาคัญต่อการเลือกรับบริการการ คลอดกบั ผดงุ ครรภ์โบราณโต๊ะบีแดของคนในชุมชน เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่เลอื กรับบริการการคลอดกับ ผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด และเช่ือมั่นในความสามารถความชานาญในการทาคลอด มีความสะดวกสบายในการ คลอด การคลอดกบั ผดงุ ครรภ์โบราณโต๊ะบีแดตง้ั แต่สมัยบรรพบรุ ุษ จึงสืบตอ่ กนั มาจนถงึ รุ่นลกู หลาน ทาให้คนใน พ้ืนทีเ่ ลอื กทจ่ี ะไมไ่ ปฝากครรภ์และคลอดทโ่ี รงพยาบาล ความเชื่อตามศาสนาอิสลามนน้ั ผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด มีบทบาทมากในสังคมมุสลิม โดยเฉพาะการทาพิธีกรรมทางด้านความเชื่อในวัฒนธรรมประเพณี การท่องคาถา (ขอพรดุอาร์) มีการใช้ดุอาร์ บทขอพรจากพระผู้เป็นเจ้าจะช่วยให้การคลอดง่ายขึ้น และสามารถรักษาจิตใจของ วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตรส์ ขุ ภาพ Thai Journal of Public Health and Health Sciences
18 ปีที่ 1 ฉบบั ท่ี 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 ผู้ป่วยได้ โดยจะสร้างความอุ่นใจ สบายใจแก่ผู้คลอดและญาติได้เป็นอย่างมาก (ลีนา ตังกะนะภัคย์, 2535) ซ่ึง พฤตกิ รรมที่บคุ คลแสดงออกมาจะขึน้ อย่ภู ายใตบ้ ริบทของสงั คมและวฒั นธรรมน้นั ๆ และเปน็ ปัจจัยสาคัญท่ีสง่ ผล ถึงพฤติกรรมการเลือกคลอดของหญิงมุสลิมท่ีสังคมและวัฒนธรรมมีบทบาทต่อการดาเนินชีวิตสูง ทั้งด้านความ เชื่อตามวฒั นธรรม และความเช่ือทางศาสนา (สุพัตรา สุภาพ, 2542) สอดคล้องกับลีนา ตังกะนะภัคย์ (2535) ที่พบว่าการคลอดท่ีบ้านกับผดุงครรภ์โบราณขณะคลอดและหลังคลอดผดุงครรภ์โบราณจะกล่าวดูอาร์ เปน็ การขอพรจากองค์อัลเลาะฮ์ ซึ่งจะสรา้ งความอุ่นใจ สบายใจแก่ผคู้ ลอด และญาตไิ ด้เปน็ อย่างมาก และ จากการศึกษาของอามนี ะห์ ดารงผล (2549) พบวา่ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นมารดาวยั รุ่นมสุ ลิมเช่ือวา่ การคลอด ทบี่ า้ นสามารถปฏบิ ตั ิกิจกรรมต่าง ๆ ตามประเพณี วัฒนธรรม และไม่ขัดกับหลกั ศาสนา โดยเฉพาะการทา อาซานและอิกอมะฮ และการฝั่งรกซึง่ ถือเปน็ ขอ้ ปฏิบัติทางศาสนาท่ีมสุ ลิมทกุ คนต้องปฏิบตั ิ สาหรับดา้ นการเข้าถงึ บริการและการอานวยความสะดวกของหญิงที่คลอดกบั ผดงุ ครรภโ์ บราณโต๊ะบีแด จากผลการวิจัย พบว่าผู้ให้สัมภาษณ์ให้ความสาคัญต่อ ความสะดวกสบายในการเดินทาง ประกอบกับเสีย คา่ ใชจ้ ่ายถกู กว่าไปคลอดทโี่ รงพยาบาล ไม่เสียคา่ ใช้จ่ายในการเดินทาง เนื่องจากผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดจะมา ทาคลอดท่ีบ้าน และจากผลการวิจัยพบว่าหญิงหลังคลอดไม่ได้รับข่าวสาร และไม่ให้ความสนใจเก่ียวกับความรู้ ด้านสาธารณสุข เนื่องจากตนไม่มีความรู้และการเข้าถึงของหน่วยงานสาธารณสุขไม่ครอบคลุมพ้ืนที่ต่างๆ ไม่ได้ รับการแนะนาจากเจา้ หน้าที่สาธารณสขุ และอาสาสมคั รชุมชน อาจเน่ืองจากแหลง่ บรกิ ารของรฐั อยู่ไกล ถ้าไปใช้ บริการต้องเสีย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูงในขณะที่ทาคลอดท่ีบ้านเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ดังน้ันถ้าแหล่ง บรกิ ารทาคลอดสมยั ใหม่อย่ไู กลและครอบครัวมรี ายได้นอ้ ยแล้ว มารดาไทยมสุ ลิมจะหันมาใชบ้ รกิ ารทาคลอดแบบ พื้นบ้านแทน ในขณะท่ีครอบครัวที่มีรถยนต์หรือมีเงินพอท่ีจะจ่ายค่าน้ามัน หรือค่าเช่ารถยนต์ จะใช้บริการของ สถานบริการของรฐั หรอื เอกชน (ลีนา ตังกะนะภคั ย์, 2535) ขอ้ เสนอแนะ 1. ขอ้ เสนอแนะจากการศึกษาในคร้ังนี้ 1.1) หน่วยงานด้านสาธารณสุขระดับจงั หวัด นาผลการศึกษาวิจัยในครั้งน้ีไปเป็นฐานขอ้ มูลใน การพัฒนาการเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดให้เกิดประโยชน์ และเป็นข้อมูลพื้นฐานใน การวางแผนปรบั ปรงุ งาน เพอื่ ลดอัตราปว่ ยและตายของแม่และเดก็ ในพ้ืนท่ี 3 จังหวัดชายแดนใต้ 1.2) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในจังหวัดควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้เก่ียวกับด้านสาธารณสุข ให้กบั ประชาขนหญิงต้งั ครรภ์ ได้แก่ การดแู ลตนเองในระยะตง้ั ครรภแ์ ละระยะหลงั คลอด 1.3) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้ด้าน การดูแลหญิงตั้งครรภ์กับผดุงครรภโ์ บราณโตะ๊ บีแด และเน้นการส่งเสริมการมสี ่วนร่วมของโตะ๊ บแี ดกับหน่วยงาน สาธารณสขุ จงั หวดั 1.4) หน่วยงานสาธารณสุขจังหวัดควรจัดการอบรมให้ความรู้ด้านการดูแลตนเองแก่หญิง ตงั้ ครรภ์และหลังคลอดอย่างไรให้ปลอดภัย สนับสนนุ ให้มีการฝากครรภ์และการคลอดที่สถานบริการของรัฐ โดย ปรับเปล่ียนทัศนคติและความเชื่อของผู้คนในชุมชน รวมท้ังส่งเสริมให้ความรู้ความเข้าใจถึงความเสี่ยงและ อันตรายทอ่ี าจเกดิ ขน้ึ จากการคลอดนอกสถานพยาบาล 2. ขอ้ เสนอแนะในการศกึ ษาคร้ังต่อไป 1) ควรมีการเปรียบเทียบการเลือกรับบริการการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแด กับการ คลอดกับผดุงครรภ์แผนปัจจุบันโดยเฉพาะด้านสังคมและวัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพ่ือนามาเป็นข้อมูลในการ กาหนดนโยบายต่อภาครัฐต่อไปเพ่อื เตมิ เต็มการบรกิ ารแกห่ ญงิ ตงั้ ครรภ์และหลงั คลอด 2) ควรมีการศึกษาแนวปฏบิ ัติตามภูมปิ ัญญาของผดุงครรภ์โบราณโต๊ะบีแดท่ีเกิดประสทิ ธภิ าพ แก่หญงิ หลงั คลอดในพนื้ ท่ีท่แี ตกตา่ งกันเพือ่ สะทอ้ นใหเ้ หน็ ถงึ ข้อเดน่ ข้อด้อยของการใชบ้ ริการในศาสตร์นี้ วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ Thai Journal of Public Health and Health Sciences
19 ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สงิ หาคม 2561 เอกสารอา้ งอิง กระทรวงสาธารณสขุ . (2551). การสาธารณสขุ ไทย. กรงุ เทพฯ: สานักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง สาธารณสขุ . รุจา ภู่ไพบูลย์. (2542). การพยาบาลครอบครัว: แนวคิดทฤษฏีและการนาไปใช้. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: วีเจ พริ้นติง้ . ลีนา ตังกะนะภัคย์. (2535). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้บริการทาคลอดแบบพ้ืนบ้านและแบบสมัยใหม่ของ มารดาไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา ศกึ ษาศาสตร์เพ่ือพฒั นาชุมชน). สงขลา: มหาวิทยาลยั สงขลานครนิ ทร์. วรรณด์ ี แสงประทีปทอง. (2548). การพฒั นาเคร่อื งมือและการเก็บรวบรวมขอ้ มูลในการประเมนิ หลักสูตร. นนทบรุ ี: มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทัยธรรมาธิราช. ศรวี ิภา เลี้ยงพนั ธ์ุสกลุ , นิรัชรา ลิลละฮ์กุล, จามรี สอนบุตร, พรชยั สิทธิศรัณย์กุล. (2558). สถานการณแ์ ละ ปจั จัยทม่ี ผี ลกระทบต่อความสาเรจ็ ของงานอนามัยแมแ่ ละเด็ก ใน 3 จงั หวดั ชายแดนใต้. สบื ค้นเมอื่ 3 มีนาคม 2560, ค้นจาก http://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4378?locale-attribute =th สุดารัตน์ ธีระวร. (2547). ทาเนียบผดุงครรภ์โบราณ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ . ยะลา: ยะลา การพิมพ์. สุพัตรา สุภาพ. (2542). สังคมและวัฒนธรรมไทย ค่านิยมครอบครัว ศาสนา ประเพณี. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา พานชิ . สานกั งานสาธารณสุขจังหวดั ยะลา. (2559). สภาวะสุขภาพของแม่และเดก็ ในจังหวัดยะลา ปี 2552–2559. ยะลา : สานักงานสาธารณสขุ จงั หวดั ยะลา. อามีเน๊าะ หมีดเส็น. (2551). ปัจจัยท่ีมีผลต่อการใช้บริการคลอดกับผดุงครรภ์โบราณของมารดาไทย มุสลิม:กรณีศึกษา ตาบลเมาะมาวี อาเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบณั ฑติ สาขาวชิ าสร้างเสริมสขุ ภาพ). สงขลา: มหาวทิ ยาลยั สงขลานครินทร์. อามนี ะห์ ดารงผล. (2549). สาระน่ารู้เกย่ี วกับชวี ิตมุสลมิ . พมิ พค์ ร้ังที่ 2. กรงุ เทพ : เอดสิ ันเพรสโพรดักส.์ อสิ มาแอ อาล.ี (2535). ครอบครวั มุสลมิ . ปตั ตานี:วิทยาลัยอสิ ลามศกษามหาวิทยาลัยสงขลานครนิ ทร์. วารสารสาธารณสขุ และวิทยาศาสตร์สขุ ภาพ Thai Journal of Public Health and Health Sciences
Search
Read the Text Version
- 1 - 9
Pages: