โครงการอา่ งเกบ็ น้ำแม่มาน ตำบลบา้ นหัวฝาย อำเภอสูงเม่น จงั หวดั แพร่ สำนกั งานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางท่ี 4 กองพัฒนาแหลง่ น้ำขนาดกลาง
อา่ งเก็บน้ำแม่มาน ตำบลบ้านหวั ฝาย อำเภอสูงเมน่ จังหวดั แพร่ สำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดกลางท่ี 4 1. ความเป็นมา เมื่อเดือน มิถุนายน 2514 นายเรวัต สิงหเสนานนท์นายอำเภอสูงเม่น ได้มีหนังสือท่ี พร. 53/1395 พรอ้ มทง้ั สำเนาคำร้องของนายพินจิ รุจิรพงศก์ ำนันตำบลสูงเม่น กบั ราษฎร และคำร้อง ของนายสนน่ั สำเนยี ง สารวัตรกำนันตำบลตอนมูล อำเภอสงู เม่น กบั นายวารนิ คำมา ครูใหญโ่ รงเรียน บ้านดอนแทน่ ถงึ นายชา่ งชลประทานหลวงแมย่ ม มคี วามวา่ ไดร้ บั ความเดือนรอ้ นจากน้ำท่วมหมู่บ้าน ถนนหนทาง และกระแสน้ำพัดสะพานพังเสียหาย ทำให้การสัญจรไปมาไม่สะดวก และรั้วล้อมรอบ สถานที่ราชการ ตลอดจนโรงเรียนได้รับความเสียหาย เนื่องจากถูกกระแสน้ำพัดพัง โดยเฉพาะ ปี 2513 ที่อำเภอสูงเม่น น้ำท่วมถึง 20 กว่าครั้ง และในปี 2514 น้ำท่วมอีก 4 ครั้ง จึงขอให้ทาง ราชการพิจารณาชว่ ยเหลือความเดือนรอ้ นของราษฎรให้ดว้ ย ต่อมานายผจญ ผาทอง ส.ส.จังหวัดแพร่ ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ มีความว่าสาเหตทุ ี่น้ำทว่ มนี้เนื่องจากกรม ชลประทานได้ขุดเหมืองสายใหญ่ฝั่งซ้ายและไม่ได้ใส่ท่อไซฟ่อนให้น้ำจากลำห้วยต่างๆ ไหลลอด ใตล้ ำเหมอื ง จึงทำใหน้ ้ำเออ่ ท่วม กบั เหมอื งพนั ทะลาย ประกอบกับประตรู ะบานน้ำทป่ี ลายเหมืองสาย ใหญ่ฝั่งซ้ายโครงการแม่ยมมีขนาดเล็กระบานน้ำไม่ทัน จึงขอให้กรมชลประทานจัดทำท่อไซฟ่อน เพื่อให้น้ำจากลำห้วยต่างๆ ไหลลอดได้ และขอให้สร้างอ่างเก็บน้ำตามลำห้วยต่างๆ อีก 10 แห่ง โดยให้ห้วยแม่มานนีอ้ ยอู่ นั ดับแรก ชลประทานดา้ นพายัพ ได้ทราบเรือ่ งและไดด้ ำเนนิ การตรวจสอบสาเหตุ พร้อมทงั้ เสนอ ชกส. เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2514 พอสรุปได้ว่า ในปี 2513 – 2514 มีฝนตกหนักเป็นจุดๆ ในบริเวณเทือกเขาท่ี เป็นต้นน้ำลำธารของลำห้วยต่างๆ ที่ไหลมาตัดผ่านกับแนวเหมืองแม่ยมฝั่งซ้าย จึงทำให้น้ำไหล ในลำหว้ ยมากกว่าปกติทุกปี ความเสยี หายแบบน้ีไมเ่ คยมีมาก่อน และอีกประการหนง่ึ ราษฎรได้สร้าง ฝายกั้นน้ำในลำห้วยธรรมชาติมากขึน้ และในบางแห่งราษฎรลุกล้ำเอาที่ดนิ ท่เี ป็นร่องระบายน้ำเดิมมา เป็นของตัวเอง ทำให้ทางระบายน้ำธรรมชาติแคบขึ้น เมื่อน้ำนองมามากก็เกิดท่วมเสียหายมากข้ึน จึงได้พิจารณาเห็นสมควรสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่มานก่อนลำห้วยต่างๆ ในขณะเดียวกันก็ให้สร้างที่ ระบายน้ำจากคลองเพิ่มอีก 2 – 3 แห่งเพราะการสร้างไซฟ่อนให้น้ำในลำห้วยลอดคลองนั้น จะสิ้นเปลืองงบประมาณมาก และให้ปรับปรุงทางระบายน้ำล้นให้กว้างพอในช่วงที่ผ่านหมู่บ้านหรือ ผ่านทางหลวง ประการสดุ ทา้ ยให้เสริมคันดนิ และหินเรียงตรงอาคารท่อรับน้ำปา่ ต่างๆ ให้แข็งแรงมากขึ้น เพราะสว่ นมากคันดินจะพงั บรเิ วณน้ี ต่อมาชลประทานด้านพายัพได้ให้ นายยงยุทธ กิ่งเหตุ ผู้ช่วยนายช่างชลประทานด้านพายัพ (ตำแหน่งในขณะนั้น) พร้อมเจ้าหน้าที่ออกไปสำรวจรายละเอียดของสาเหตุที่เกิดอุทกภัย และ การแก้ไขที่เหมาะสมอีกครั้ง ซึ่งได้ทำรายงานเสนอเมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2514 พอสรุปวิธีแก้ปัญหา ดังนี้คือให้สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่มานขึ้น เพราะสามารถช่วยป้องกันอุทกภัยได้อย่างแน่นอน ว่าวิธีอื่นๆ และยังสามารถเบิกพื้นที่ชลประทานเพิ่มต่อไปทั้งสองฝั่งได้อีก 7,500 ไร่ เมื่อรวมกับพื้นที่ นาเดิมอีก 4,500 ไร่ รวมเป็นพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 12,000 ไร่ โดยไม่จำเป็นต้องซ่อมฝายราษฎร เดิม 3 ฝายที่พังไปแล้วขึ้นมาใหม่ชลประทานด้านพายัพจึงได้ทำเรื่องขออนุมัติค่าสำรวจตัวอ่างฯ หัวงาน พื้นนาท้ายอ่าง และสำรวจทางธรณีวิทยา เป็นเงินทั้งสิ้น 526,000 บาท ซึ่งผลการสำรวจ
ภูมิประเทศ และทางด้านธรณีวิทยาได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยเมื่อปลายปีงบประมาณ 2517 กองวางโครงการได้พิจารณาในรายละเอียดแล้วเห็นสมควรดำเนินการตามที่ สชป.2 เสนอ และ ได้บรรจุโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยแม่มานเข้าแผนพัฒนา ปี 2525 – 2529 เพื่อดำเนินการก่อสร้างให้ ตอ่ ไป 2. วตั ถุประสงค์ของโครงการ 1. เพอ่ื ใช้น้ำเปน็ แหล่งเกบ็ กักน้ำไวใ้ ชเ้ สริมการเพาะปลกู ในฤดูฝน และการปลูกพชื ในฤดูแล้ง 2. เพื่อเป็นแหล่งเกบ็ กักน้ำ สำหรบั อุปโภค - บริโภคของราษฎร 3. เพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ให้ราษฎรใช้บริโภค และมีรายได้จากการประมงเพิ่มเติมจากการ เกษตรกรรม 4. เพื่อเป็นแหล่งทอ่ งเท่ียวพักผ่อนหยอ่ นใจของราษฎรในบริเวณใกลเ้ คยี ง 5. เพอื่ เปน็ แหล่งเกบ็ กักน้ำ เพอ่ื บรรเทาการเกดิ อทุ กภยั 3. ลกั ษณะของโครงการ พน้ื ท่รี บั น้ำ 95.00 ตร.กม. ปรมิ าณนำ้ ฝนเฉลย่ี 1,062.20 มม./ปี ปริมาณน้ำทา่ เฉล่ยี ตอ่ ปี 29.76 ลา้ น ลบ.ม./ปี ชนิดของเข่ือน เขื่อนดนิ แบบแบ่งโซน Zone Type ความกว้าง 8.00 เมตร ความยาว 1,309.00 เมตร ความสงู 32.00 เมตร ความจุ 18.75 ลา้ น ลบ.ม. ( คิดเปน็ 63.00% ของปริมาณนำ้ ไหลลงอ่างฯ) 4. ผลประโยชนข์ องโครงการ สามารถแกไ้ ขปญั หาการขาดแคลนนำ้ เพ่ือทำการเพาะปลกู ได้ทั้งฤดแู ลง้ และฤดฝู น จำนวน 11,000 ไร่ 5. สถานภาพของโครงการ ก่อสรา้ งแลว้ เสร็จ ปี 2530
Search
Read the Text Version
- 1 - 6
Pages: