Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สุขศึกษาม. ๖

สุขศึกษาม. ๖

Published by phatcha2537, 2023-07-03 03:12:29

Description: สุขศึกษาม. ๖

Search

Read the Text Version

หนังสือเรยี น รายวชิ าพ้นื ฐาน สุขศึกษา ม. 6 ชัน้ มธั ยมศกึ ษา​ปท่ี​6 กลมุ สาระการเรยี นรสู้ ขุ ศกึ ษาและพลศกึ ษา ตามหลักสตู รแกนก​ ลางการศกึ ษาขน้ั พนื้ ฐานพุทธศักราช​2551 ผเู้ รียบเรียง แพทย์หญงิ ยศวดี ร่วมเจรญิ พบ. ผู้ตรวจ ดร.ประกิต หงสแ์ สนยาธรรม กศ.บ., กศ.ม., ปร.ด. ชลชื่น แสนใจกลา้ พย.บ., สธ.ม. ปริศนา อนุ สกุล คบ., คม. บรรณาธิการ พชั ราภรณ์ ใจมีพร กศ.บ., บธ.ม. ปัทมา จันทร์ขำา ศศ.บ.

หนงั สอื เรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 ช้นั มธั ยมศกึ ษาปท่ี 6 กลุ่มสาระการเรียนรูส้ ุขศกึ ษาและพลศกึ ษา ตามหลกั สตู รแกนกลางการศึกษาขั้นพ้นื ฐาน พุทธศกั ราช 2551 ผเู้ รียบเรยี ง แพทยห์ ญิงยศวด ี รว่ มเจรญิ ผู้ตรวจ ดร.ประกติ หงษแ์ สนยาธรรม ชลชน่ื แสนใจกล้า ปริศนา อนุ สกุล บรรณาธกิ าร พัชราภรณ์ ใจมีพร ปัทมา จันทรข์ ำ ISBN 978-616-8047-05-7 บรษิ ัท กรพัฒนายง่ิ จำกัด เลขท่ี 23/34–35 ช้นั 3 ห้อง 3B ถนนตรีมิตร แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ 10100

คํานํา หนงั สือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษา ชนั้ มัธยมศกึ ษาปท ี่ 6 เล่มน้ีจัดทําข้นึ ตามหลักสูตร แกนกลางการศกึ ษาขนั้ พนื้ ฐาน พทุ ธศกั ราช 2551 สาํ หรบั นกั เรยี นระดบั ชน้ั มธั ยมศกึ ษาตอนปลาย โดยมเี ปา้ หมายใหน้ กั เรยี นและครใู ชเ้ ปน สอ่ื ในการจดั การเรยี นรเู้ พอื่ พฒั นานกั เรยี นใหม้ คี ณุ ภาพตาม มาตรฐานการเรยี นร ู้ ตวั ชวี้ ดั ทกี่ าํ หนดไวใ้ นหลกั สตู ร และสาระการเรยี นรแู้ กนกลาง พฒั นานกั เรยี น ใหม้ สี มรรถนะสาํ คัญตามทตี่ ้องการท้ังในดา้ นการส่ือสาร การคดิ การแกป้ ัญหา การใชท้ ักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี ตลอดจนพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทําประโยชน์ให้ สังคม เพ่อื ใหส้ ามารถอยูร่ ่วมกับผอู้ นื่ ในสงั คมไทยและสังคมโลกไดอ้ ยา่ งมีความสขุ ในการจดั ทําหนังสือเรยี น รายวชิ าพ้นื ฐาน สขุ ศกึ ษา ช้นั มธั ยมศกึ ษาปท ี ่ 6 คณะผจู้ ัดทาํ ซึง่ เปนผู้เช่ียวชาญในสาขาวิชาและการพัฒนาส่ือการเรียนรู้ ได้ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ข้นั พืน้ ฐาน พุทธศกั ราช 2551 อย่างลึกซง้ึ ทั้งดา้ นวิสัยทศั น์ หลักการ จดุ หมาย สมรรถนะสาํ คัญ ของผเู้ รียน คุณลกั ษณะอนั พึงประสงค์ สาระและมาตรฐานการเรียนรู ้ ตัวช้วี ดั ของสาระการเรียนรู้ แกนกลาง แนวทางการจัดการเรียนรู้ แล้วจึงนําองค์ความรู้ท่ีได้มาออกแบบหน่วยการเรียนรู้ แตล่ ะหนว่ ยการเรยี นรปู้ ระกอบดว้ ยมาตรฐานการเรยี นร ู้ ตวั ชว้ี ดั ชว่ งชน้ั สาระการเรยี นร ู้ ประโยชน์ จากการเรียน และคําถามชวนคิด (คําถามนําสู่การเรียนรู้) เน้ือหาสาระแต่ละเรื่องแต่ละหัวข้อ นานา นา่ ร้ ู กิจกรรมเรยี นรู้...สปู่ ฏบิ ตั ิ (กจิ กรรมพฒั นาผเู้ รยี น) แหลง่ สบื คน้ ความร ู้ บทสรปุ หนว่ ย การเรยี นร ู้ กจิ กรรมเสนอแนะ โครงงาน การประยกุ ตใ์ ช้ในชีวติ ประจาํ วัน และคําถามประจาํ หน่วย การเรียนรู้ นอกจากนี้ท้ายเล่มยังมีบรรณานุกรม และคําอภิธานศัพท์ ซึ่งองค์ประกอบของ หนงั สอื เรียนเหลา่ นจี้ ะช่วยสง่ เสรมิ ใหน้ กั เรียนเกดิ การเรยี นรู้อย่างครบถ้วนตามหลักสตู ร การเสนอเนื้อหาและออกแบบกิจกรรมในหนงั สอื เรยี นเล่มน้ี ไดจ้ ดั ทาํ ขึ้นโดยยดึ แนวคิดการ จัดการเรียนรู้ท่ีมุ่งเน้นผู้เรียนเปนสําคัญ โดยคํานึงถึงศักยภาพของนักเรียน เน้นการเรียนรู้ แบบองค์รวมบนพื้นฐานของการบูรณาการแนวคิดทฤษฎีทางการเรียนรู้ต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เชน่ การเรยี นรโู้ ดยใชส้ มองเปน ฐาน พหปุ ญั ญา การใชค้ าํ ถามแบบหมวกความคดิ 6 ใบ การเรยี นรู้ แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ การเรียนรู้แบบโครงงาน เปนต้น จัดการเรียนรู้แบบ บูรณาการ เน้นใหน้ กั เรียนสรา้ งองค์ความรูด้ ว้ ยตนเอง มุง่ พฒั นาการคิด และพัฒนาการเรยี นรทู้ ่ี สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมองและพัฒนาการทางร่างกายของนักเรียน อันจะช่วยให้นักเรียน เกดิ การเรยี นรูอ้ ยา่ งสมบูรณแ์ ละสามารถนําไปประยกุ ตใ์ ช้ในชีวิตประจําวันได้ หวงั เปนอย่างย่ิงว่า หนงั สอื เรียน รายวชิ าพนื้ ฐาน สขุ ศกึ ษา ชนั้ มัธยมศึกษาปที่ 6 เลม่ น้ี จะช่วยสนับสนุนให้นักเรียนได้พัฒนาความรู้ด้านทักษะกระบวนการทางสุขศึกษาได้เปนอย่างด ี และสนบั สนนุ การปฏริ ปู การเรยี นรตู้ ามเจตนารมณข์ องพระราชบญั ญตั กิ ารศกึ ษาแหง่ ชาต ิ พ.ศ. 2542 และแกไ้ ขเพม่ิ (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 คณะผู้จัดทาํ

คําชแ้ี จง หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษา ช้ันมัธยมศึกษาปที่ 6 เล่มน้ีได้ออกแบบหน่วย การเรยี นร้ใู หแ้ ต่ละหนว่ ยการเรียนรปู้ ระกอบด้วย 1. มาตรฐานการเรียนรู้ เปนเป้าหมายท่ีต้องการให้เกิดข้ึนกับนักเรียนเม่ือจบการศึกษาใน หนว่ ยการเรยี นร้นู ้ัน ๆ หรือเม่ือจบการศึกษาขน้ั พื้นฐาน 2. ตวั ชว้ี ดั ชว่ งชน้ั เปน เปา้ หมายในการพฒั นานกั เรยี นใหไ้ ดร้ บั และปฏบิ ตั ไิ ดใ้ นหนว่ ยการเรยี นร้ ู ซงึ่ สอดคลอ้ งกบั มาตรฐานการเรยี นร ู้ มรี หสั ของมาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตวั ชวี้ ดั ชว่ งชน้ั กำ กบั ไวห้ ลงั ตวั ชว้ี ดั ชว่ งชน้ั เชน่ พ 1.1 ม. 4–6/1 (รหสั แตล่ ะตวั มคี วามหมายดงั น ้ี พ คอื กลมุ่ สาระการเรยี นร ู้ สขุ ศกึ ษาและพลศกึ ษา 1.1 คอื สาระท ่ี 1 มาตรฐานการเรยี นรขู้ อ้ ท ่ี 1 ม. 4–6/1 คอื ตวั ชว้ี ดั ชว่ งชน้ั มธั ยมศึกษาปที ่ 4–6 ข้อที่ 1) 3. สาระการเรียนร ู้ เปน การนำ เสนอขอบขา่ ยเนือ้ หาทน่ี กั เรียนจะได้เรยี นรูใ้ นระดบั ชน้ั นนั้ ๆ 4. ประโยชน์จากการเรียน นำ เสนอไวเ้ พ่อื กระตุ้นให้นกั เรียนนำ ความร ู้ ทักษะจากการเรยี น ไปประยกุ ตใ์ ชใ้ นชีวิตประจำ วัน 5. คำถามชวนคิด (คำถามนำสู่การเรียนรู้) เปนคำ ถามหรือสถานการณ์เพ่ือกระตุ้นให้ นกั เรียนเกิดความสงสยั และสนใจท่ีจะคน้ หาคำ ตอบ 6. เน้ือหา เปนเนื้อหาท่ีตรงตามสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวช้ีวัดช่วงชั้น และสาระ การเรียนรแู้ กนกลาง โดยแบง่ เนอ้ื หาเปน ช่วง ๆ แลว้ แทรกกจิ กรรมพฒั นาการเรียนรู้ทพ่ี อเหมาะ กับการเรยี น รวมทัง้ มกี ารนำ เสนอดว้ ยภาพ ตาราง แผนภูมิ และแผนทีค่ วามคดิ เพ่ือเปน สื่อให้ นักเรียนสรา้ งความคดิ รวบยอดและเกดิ ความเขา้ ใจทคี่ งทน 7. นานา นา่ รู้ (ความรู้เสรมิ หรอื เกร็ดความร้)ู เปนความรูเ้ พ่อื เพิ่มพูนให้นักเรียนมคี วามรู้ กวา้ งขวางขึ้น โดยคดั สรรเฉพาะเรือ่ งทน่ี กั เรียนควรร้ ู 8. กิจกรรมเรยี นรู.้ ..สปู่ ฏบิ ตั ิ (กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู)้ เปน กิจกรรมทกี่ ำ หนดไวเ้ ม่อื จบ เนอ้ื หาแตล่ ะตอนหรือแต่ละหวั ขอ้ เปน กิจกรรมทีห่ ลากหลาย ใชแ้ นวคดิ ทฤษฎีตา่ ง ๆ ท่ีสอดคล้อง กับเน้อื หา เหมาะสมกับวยั และพัฒนาการดา้ นต่าง ๆ ของนักเรยี น สะดวกในการปฏิบตั ิ กระตุ้น ใหน้ กั เรยี นได้คดิ และสง่ เสรมิ ใหศ้ กึ ษาค้นคว้าเพิ่มเตมิ มคี ำ ถามเปน การตรวจสอบผลการเรยี นรู้ ของนักเรียน ได้ออกแบบกิจกรรมไว้อย่างหลากหลาย และมีมากเพียงพอท่ีจะพัฒนาให้นักเรียน เกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายของหลักสูตร โดยครูผู้สอน/นักเรียนสามารถนำ กิจกรรมดังกล่าวมา ใชป ฏบิ ัติในชวงกิจกรรมลดเวลาเรียนเพ่มิ เวลารไู ด 9. แหลง่ สบื คน้ ความรู้ เปน แหลง่ การเรยี นรตู้ า่ ง ๆ ตามความเหมาะสม เชน่ เวบ็ ไซต ์ หนงั สอื สถานที่ หรอื บุคคล เพื่อใหน้ กั เรยี นศึกษาค้นคว้าเพมิ่ เตมิ ให้สอดคล้องกบั เรื่องท่เี รยี น

10. บทสรุป ได้จัดทำ บทสรุปเปนผังมโนทัศน์ (concept map) เพ่ือให้นักเรียนได้ใช้เปน บทสรุปทบทวนความรู ้ โดยวิธกี ารจนิ ตภาพจากผังมโนทศั น์ทไ่ี ดส้ รุปเนอื้ หาที่ได้จัดทำ ไว้ 11. กจิ กรรมเสนอแนะ เปน กจิ กรรมบรู ณาการทกั ษะทร่ี วมหลกั การและความคดิ รวบยอดใน เร่ืองตา่ ง ๆ ที่นักเรยี นไดเ้ รยี นรไู้ ปแลว้ มาประยกุ ต์ใช้ในการปฏิบตั กิ จิ กรรม 12. โครงงาน เปน ขอ้ เสนอแนะในการกำ หนดใหน้ กั เรยี นปฏบิ ตั โิ ครงงาน โดยเสนอแนะหวั ขอ้ โครงงานและแนวทางการปฏบิ ตั โิ ครงงานทส่ี อดคลอ้ งกบั มาตรฐานการเรยี นรแู้ ละตวั ชวี้ ดั ชว่ งชนั้ ของ หน่วยการเรยี นรนู้ ้ัน เพอ่ื พัฒนาทกั ษะการคิด การวางแผน และการแกป้ ัญหาของนักเรยี น 13. การประยกุ ตใ์ ชใ้ นชวี ติ ประจำวนั เปน กจิ กรรมทเ่ี สนอแนะใหน้ กั เรยี นไดน้ ำ ความร ู้ ทกั ษะ ในการประยุกต์ความร้ใู นหนว่ ยการเรียนร้นู นั้ ไปใช้ในชวี ิตประจำ วนั 14. คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ เปนคำ ถามท่ีต้องการให้นักเรียนได้สะท้อนความคิดใน เน้อื หาทไ่ี ดศ้ กึ ษา โดยเน้นการนำ หลักการตง้ั คำ ถามสะทอ้ นคดิ (RCA) มาจัดเรยี งเปน คำ ถามตาม เน้อื หาทีน่ กั เรยี นไดเ้ รยี นรู้ 15. บรรณานกุ รม เปน รายช่อื หนงั สือ เอกสาร หรือเว็บไซตท์ ีใ่ ช้คน้ คว้าอ้างองิ ประกอบการ เขียน 16. คำอภธิ านศัพท์ เปน การนำ คำ สำ คญั ท่แี ทรกอยู่ตามเน้ือหามาอธิบายใหค้ วามหมาย และ จดั เรียงตามลำ ดับตัวอกั ษร เพ่อื ความสะดวกในการค้นควา้

สารบญั หน่วยการเรยี นรู้ที่ 1 เรยี นรตู้ วั เรา......................................................1–30 • มาตรฐานการเรียนรู้......................................................................... 1 • ตวั ชีว้ ดั ชว่ งช้ัน................................................................................ 1 • สาระการเรียนรู้ .............................................................................. 1 • ประโยชนจ์ ากการเรยี น..................................................................... 1 • คำถามชวนคดิ ............................................................................... 1 1. ระบบตา่ ง ๆ ของรา่ งกาย .....................................................2–16 1.1 ระบบประสาท ..........................................................................2 1.2 ระบบสืบพันธ์ ุ ..........................................................................8 1.3 ระบบตอ่ มไรท้ อ่ .................................................................... 13 2. การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว.......................16–25 2.1 ความหมายและความสำ คญั ................................................... 16 2.2 แนวทางในการวางแผนดูแลสขุ ภาพของบคุ คลในครอบครวั ........ 17 2.3 ตวั อยา่ งการวางแผนดแู ลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว ............ 22 2.4 หน่วยงานทใ่ี หค้ ำ ปรึกษาในการวางแผนดแู ลสขุ ภาพของบุคคล ในครอบครัว ........................................................................ 24 • บทสรปุ หน่วยการเรียนรู้ท่ี 1............................................................. 26 • กิจกรรมเสนอแนะ......................................................................... 28 • โครงงาน .................................................................................... 29 • การประยกุ ต์ใชใ้ นชวี ิตประจำวนั ........................................................ 29 • คำถามประจำหน่วยการเรียนรูท้ ่ี 1 ..................................................... 30 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชวี ติ และครอบครวั ............................................31–44 • มาตรฐานการเรยี นรู้....................................................................... 31 • ตัวชวี้ ดั ชว่ งชั้น.............................................................................. 31 • สาระการเรยี นรู้ ............................................................................ 31 • ประโยชน์จากการเรียน................................................................... 31 • คำถามชวนคิด ............................................................................. 31 • วัยรนุ่ กับปัจจัยทางสังคมที่สง่ ผลตอ่ พฤติกรรมเสีย่ งทางเพศ..........32–40 1.1 ปัจจัยทางสงั คมทส่ี ่งผลต่อพฤตกิ รรมเสยี่ งทางเพศ ....................... 32 1.2 ลกั ษณะและผลกระทบของปจั จยั ทางสงั คมท่สี ่งผลต่อ พฤติกรรมเส่ียงทางเพศ ............................................................. 33

1.3 แนวทางในการปอ้ งกันปจั จยั ทางสงั คมทีส่ ่งผลตอ่ พฤตกิ รรมเสย่ี ง ทางเพศ ....................................................................................... 36 1.4 ค่านยิ มทางเพศทเ่ี หมาะสมตอ่ การดำ เนินชีวิตตามวัฒนธรรมไทย ........ 37 1.5 คา่ นิยมทางเพศตามแบบวฒั นธรรมอนื่ ทีเ่ หมาะสมควรนำ มาใช้ ในสงั คมไทย ................................................................................ 39 • บทสรุปหน่วยการเรยี นรูท้ ี่ 2............................................................. 41 • กิจกรรมเสนอแนะ......................................................................... 43 • โครงงาน .................................................................................... 43 • การประยุกต์ใช้ในชวี ิตประจำวนั ........................................................ 44 • คำถามประจำหนว่ ยการเรียนรทู้ ่ี 2 ..................................................... 44 หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 3 ใสใ่ จสุขภาพ ...................................................45–70 • มาตรฐานการเรยี นรู้....................................................................... 45 • ตัวช้ีวัดช่วงชน้ั .............................................................................. 45 • สาระการเรยี นรู้ ............................................................................ 45 • ประโยชนจ์ ากการเรยี น................................................................... 45 • คำถามชวนคิด ............................................................................. 45 1. การมสี ว่ นรว่ มในการสง่ เสรมิ และพัฒนาสขุ ภาพในชุมชน............46–50 1.1 ความหมายและความสำ คญั ของการมสี ว่ นร่วมในการส่งเสรมิ และพัฒนาสขุ ภาพในชุมชน .................................................... 46 1.2 บทบาทและความสำ คญั ของวยั รุน่ ตอ่ การสง่ เสรมิ และพัฒนา สขุ ภาพในชมุ ชน .................................................................... 46 1.3 แนวทางและรปู แบบการมีสว่ นร่วมในการส่งเสรมิ และพฒั นา งานสาธารณสุขในชมุ ชนของวยั รุ่น ........................................... 48 2. การวางแผนพฒั นาสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางกลไก ..50–66 2.1 ความหมายและความสำ คัญของการวางแผนพฒั นาสมรรถภาพ ทางกายและสมรรถภาพทางกลไก ........................................... 50 2.2 กิจกรรมสร้างเสรมิ สมรรถภาพทางกาย .................................... 58 2.3 กจิ กรรมสร้างเสรมิ สมรรถภาพทางกลไก .................................. 61 2.4 ตวั อย่างการวางแผนพฒั นาสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพ ทางกลไก ............................................................................. 64 • บทสรปุ หน่วยการเรยี นรูท้ ่ี 3............................................................. 67 • กิจกรรมเสนอแนะ......................................................................... 68 • โครงงาน .................................................................................... 69 • การประยกุ ต์ใชใ้ นชวี ติ ประจำวัน........................................................ 69 • คำถามประจำหน่วยการเรยี นรทู้ ่ี 3 ..................................................... 70

หนว่ ยการเรียนรทู้ ี่ 4 ชีวิตปลอดภัย ................................................71–110 • มาตรฐานการเรียนรู้....................................................................... 71 • ตวั ชี้วดั ชว่ งชั้น.............................................................................. 71 • สาระการเรียนรู้ ............................................................................ 71 • ประโยชนจ์ ากการเรียน................................................................... 71 • คำถามชวนคิด ............................................................................. 71 1. กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภยั และลดอุบตั ิเหตุในชมุ ชน ....72–81 1.1 ความหมายและความสำ คญั ของกระบวนการสร้างเสริม ความปลอดภยั และลดอุบัติเหตุในชมุ ชน .................................. 72 1.2 การวางแผนและกำ หนดแนวทางสรา้ งเสรมิ ความปลอดภัยและ ลดอุบัตเิ หตใุ นชมุ ชน ............................................................. 72 1.3 การสรา้ งความตระหนกั เรือ่ งความปลอดภยั และลดอุบตั ิเหตุใน ชุมชน .................................................................................. 79 1.4 หนว่ ยงานท่ีให้คำ ปรึกษาและใหค้ วามชว่ ยเหลอื ดา้ น ความปลอดภัย ..................................................................... 80 2. อบุ ตั ภิ ยั กับการดำเนินชวี ิต ................................................82–104 2.1 การวางแผนและพัฒนากลวธิ ีการปอ้ งกันอบุ ัตภิ ัยกับ การดำ เนินชวี ติ ...................................................................... 82 2.2 การป้องกนั อุบัติภัยจากการใชย้ า ............................................. 84 2.3 การป้องกนั อบุ ตั ภิ ยั จากสารเสพติดในชุมชน ............................. 90 2.4 การปอ้ งกันอบุ ัตภิ ัยจากความรุนแรงในสงั คม ............................ 92 2.5 การปอ้ งกนั อุบัติภัยจากธรณพี ิบตั ภิ ัย ....................................... 95 • บทสรปุ หนว่ ยการเรียนร้ทู ี่ 4............................................................105 • กจิ กรรมเสนอแนะ........................................................................108 • โครงงาน ...................................................................................109 • การประยุกตใ์ ช้ในชวี ิตประจำวัน.......................................................109 • คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ....................................................110 • บรรณานุกรม..............................................................................111 • คำอภธิ านศัพท์............................................................................113

1หนวยการเร�ยนรทู ่ี เรย� นรตู วั เรา มาตรฐานการเรย� นรู พ 1.1 เขา ใจธรรมชาตขิ องการเจรญิ เตบิ โตและพัฒนาการของมนุษย ตวั ช�้วัดชว งช�นั 1. อธิบายกระบวนการสรา งเสรมิ และดาํ รงประสทิ ธภิ าพการทาํ งานของระบบอวัยวะตา ง ๆ (พ 1.1 ม. 4–6/1) 2. วางแผนดูแลสุขภาพตามภาวะการเจริญเติบโตและพัฒนาการของตนเองและบุคคลใน ครอบครัว (พ 1.1 ม. 4–6/2) สาระการเรย� นรู 1. ระบบตาง ๆ ของรางกาย 2. การวางแผนดูแลสขุ ภาพของบุคคลในครอบครวั ประโยชนจ ากการเรียน คาถามชวนคดิ มีความรูและความเขาใจการสรางเสริมและ • ระบบประสาทมคี วามสำคัญอยา งไร ดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท • สมองของคนเราเหมือนหรือแตกตางจาก ระบบสืบพันธุ และระบบตอมไรทอ อีกท้ัง สามารถวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและ คอมพิวเตอรอ ยางไร บุคคลในครอบครัว และขอรับคำปรึกษาจาก • หากมนษุ ยไ มม รี ะบบสบื พนั ธจุ ะเกดิ อะไรขน้ึ หนวยงานท่ีเก่ียวของไดอยา งเหมาะสม • หากระบบตอมไรทอทำงานผิดปกติจะเกิด อะไรขน้ึ

2 หนงั สอื เรยี น รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษา ม. 6 การทค่ี นเราจะมสี ขุ ภาพทดี่ ไี ดอ ยา งยง่ั ยนื นนั้ นอกจากตอ งมคี วามรใู นเรอ่ื งการวางแผนดแู ล สขุ ภาพตนเองแลว การรจู กั วางแผนดแู ลสขุ ภาพของบคุ คลในครอบครวั กเ็ ปน อกี กระบวนการหนง่ึ ทนี่ ักเรยี นควรตอ งทําความเขา ใจและนําไปปฏบิ ตั ิ 1. ระบบตาง ๆ ของรา งกาย รา งกายของคนเราประกอบดว ยระบบอวัยวะหลายระบบ ซึ่งระบบตาง ๆ ในรางกายจะทํา หนาท่ีแตกตางกัน แตตองทํางานสอดคลองสัมพันธกัน รางกายจึงจะสามารถดํารงอยูไดอยาง เปน ปกติ สมอง 1.1 ระบบประสาท (brain) ไขสันหลงั (The Nervous System) (spinal cord) ระบบประสาท คือ ระบบท่ีประกอบดวย สมอง ไขสันหลัง และเสนประสาทท่ัวรางกาย ทําหนาที่ในการควบคุมการทํางานและการรับความ รูสึกของอวัยวะทุกสวน รวมถึงความรูสึกนึกคิด อารมณ และความทรงจาํ ตา ง ๆ สมองและไขสนั หลงั จะเปนศูนยกลางคอยรับการกระตุนจากสิ่งเรา ทง้ั ภายในและภายนอกรา งกาย แลว สง กระแสคาํ สง่ั ผานเสนประสาทท่ีกระจายอยูตามสวนตาง ๆ ของ รา งกายใหทาํ งานตามทต่ี องการ เสนประสาท (nerve) ภาพแสดงระบบประสาท

หนงั สือเรยี น รายวชิ าพื้นฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 3 1.1.1 องคประกอบของระบบประสาท ระบบประสาทของคนเราแบง ออกเปน 2 สว นใหญ ๆ ดงั น้ี 1. ระบบประสาทส‹วนกลาง (central nervous system) เปนศูนยกลางควบคุมและ ประสานการทํางานของรางกายท้ังหมด ประกอบดว ยสมอง (brain) และไขสันหลงั (spinal cord) สมอง เปน อวยั วะทสี่ าํ คญั และมขี นาดใหญก วา สว นอน่ื ของระบบประสาท บรรจอุ ยภู ายใน กะโหลกศรี ษะ มนี า้ํ หนักโดยเฉล่ียประมาณ 1.4 กโิ ลกรมั หรือ 3 ปอนด สมองแบงออกเปน 2 ชัน้ คือ ช้ันนอกมสี เี ทา เรยี กวา เกรยแ มตเตอร ซง่ึ เปนทีร่ วมของเซลลประสาทและแอกซอน ชนดิ ทไี่ มม เี ยอื่ หมุ สว นชน้ั ในมสี ขี าวเรยี กวา ไวทแ มตเตอร เปน สว นของใยประสาททอ่ี อกจากเซลล ประสาท สมองของสัตวชั้นสูงจะเปนท่ีรวมของใยประสาทควบคุมอวัยวะตาง ๆ ที่บริเวณศีรษะ ทาํ หนา ทเี่ กย่ี วกบั ความคดิ ความจาํ ความฉลาด นอกจากนย้ี งั เปน ศนู ยก ลางควบคมุ ระบบประสาท ทัง้ หมด ซีรบี รัม (cerebrum) (thทaาlลaาmมuัสs) ไฮโพทาลามสั สมองสวนกลาง (hypothalamus) (midbrain) พอนส (pons) ซีรเี บลลมั เ(มmดeัลdลuาllaออoบblลoอnงgกaาtaต)า (cerebellum) ไขสนั หลงั (spinal cord) การแบง‹ กลบี ของสมอง (สมองสว‹ นหนาŒ ) สมองกลบี ขมับ (temporal lobe) สมองกลบี หนา (frontal lobe) สมองกลบี ทายทอย (occipital lobe) สมองกลบี ขาง (parietal lobe) ภาพแสดงโครงสรา งและสวนประกอบของสมอง

4 หนังสอื เรียน รายวชิ าพ้ืนฐาน สขุ ศกึ ษา ม. 6 สมองแบงออกเปน 3 สวนใหญ ๆ ดงั น้ี 1. สมองส‹วนหนาŒ (forebrain) ประกอบดวย – ซรี ีบรัม (cerebrum) เปนสมองสว นทม่ี ีขนาดใหญท ่สี ุด ทาํ หนา ท่เี กี่ยวกบั ความจํา ความนกึ คดิ ไหวพรบิ ความรสู กึ ผดิ ชอบ และเปน ศนู ยก ลางควบคมุ การทาํ งานของสว นตา ง ๆ ของ รา งกายท่อี ยูใตอํานาจจติ ใจ เชน การทํางานของกลามเน้ือ การรบั สัมผัส การมองเหน็ – ทาลามสั (thalamus) เปน สวนท่ีอยูดานหนา ของสมองสว นกลางหรอื ขา งโพรงสมอง ทําหนาท่ีเปนสถานีถายทอดกระแสประสาทท่ีรับความรูสึกกอนที่จะสงไปยังสมองสวนท่ีเกี่ยวของ กบั กระแสประสาทนนั้ ๆ – ไฮโพทาลามัส (hypothalamus) เปน สมองสว นทอ่ี ยูด า นลางสดุ ของสมองสว นหนา ทําหนาที่เปนศูนยควบคุมอุณหภูมิของรางกาย การเตนของหัวใจ การนอนหลับ ความดันเลือด ความหิว ฯลฯ นอกจากนยี้ งั เปน ศนู ยควบคุมอารมณแ ละความรูสึกตาง ๆ สว นควบคมุ การเคลื่อนไหวของรางกาย สว นควบคมุ การเคล่ือนไหวของศรี ษะ ลูกตา และเก่ียวกับการรับรูสถานท่ี เวลา และบคุ คล สว นรับประสาทสมั ผัส สว นดา นหนา สว นรับประสาท (ควบคมุ สตสิ มั ปชญั ญะ) การมองเห็น ซีรเี บลลมั (cerebellum) สว นควบคมุ การใชภาษา สว นรับประสาท การไดยิน กา นสมอง (brain stem) ภาพแสดงโครงสรางของสมองกับสว นที่ควบคุมการทำงานของรา งกาย

หนงั สอื เรยี น รายวชิ าพน้ื ฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 5 2. สมองส‹วนกลาง (midbrain) เปนสวนที่ตอจากสมองสวนหนา ทําหนาที่เก่ียวกับการ เคล่อื นไหวของลูกตาและมานตา เชน ทาํ ใหล กู ตากลอกไปมา 3. สมองส‹วนทŒาย (hindbrain) ประกอบดว ย – ซีรเี บลลัม (cerebellum) อยูใตส วนลางของซรี บี รัม ทําหนา ทใี่ นการดูแลการทํางาน ของสวนตาง ๆ ของรางกายและระบบกลามเนื้อตาง ๆ ใหประสานสัมพันธกันอยางราบร่ืน อีกทั้งยังเปนตัวรับกระแสประสาทจากอวัยวะควบคุมการทรงตัวซ่ึงอยูในหูช้ันใน และจากขอตอ และกลามเนื้อตา ง ๆ จงึ เปน สวนสําคัญในการควบคุมการทรงตวั ของรา งกาย – พอนส (pons) เปนสวนของกานสมอง1 ท่ีอยูดานหนาของซีรีเบลลัมติดกับสมอง สวนกลาง ทาํ หนาทค่ี วบคุมการทาํ งานบางอยา ง เชน การเค้ยี วอาหาร การหลั่งนํา้ ลาย – เมดลั ลา ออบลองกาตา (medulla oblongata) เปนสมองสวนทายสุด ซึง่ ตอนปลาย ของสมองสวนน้ีตอกับไขสันหลัง จึงเปนทางผานของกระแสประสาทระหวางสมองกับไขสันหลัง นอกจากนยี้ งั ทาํ หนา ทเี่ ปน ศนู ยค วบคมุ กจิ กรรมของระบบประสาทอตั โนมตั ิ เชน การเตน ของหวั ใจ การหายใจ การไอ การจาม นานา นา รู โรคพารกนิ สนั (Parkinson’s disease) โรคพารก นิ สนั ถกู คน พบโดยนายแพทยช าวองั กฤษชอื่ เจมส พารก นิ สนั (Dr.James Parkinson) เปน โรคซงึ่ เกิดจากความผดิ ปกตขิ องระบบประสาทสวนกลาง สง ผลใหเกดิ อาการสัน่ เกร็ง เคลอื่ นไหวรางกาย ชา ลง ซึ่งมสี าเหตุสวนใหญมาจากความเสอื่ มสภาพของสมอง ทำใหส ารส่ือประสาทในสมองทชี่ อ่ื วา โดปามีน (Dopamine) มปี รมิ าณลดลง โดยมักพบในผทู ม่ี ีอายุ 65 ปขน้ึ ไป ซึง่ นอกจากจะทำใหผปู ว ยทุกขท รมาน ทางรางกายแลว ยังสง ผลกระทบตอจิตใจ ทำใหหดหูซึมเศรา รวมถงึ เกดิ ปญหาขาดความม่ันใจในการเขา สังคมดว ย ทมี่ า: http://www.si.mahidol.ac.th/sidocto/e-pl/articledetail.asp?id=112 1สมองสวนกลาง พอนส และเมดัลลา ออบลองกาตา สมองทัง้ 3 สว นนร้ี วมเรยี กวา กานสมอง (brain stem)

6 หนังสอื เรียน รายวชิ าพื้นฐาน สขุ ศกึ ษา ม. 6 ไขสนั หลงั เปน สว นทต่ี อ จากสมองลงไปตามแนวชอ งกระดกู สนั หลงั โดยเรมิ่ จากกระดกู - สนั หลงั ขอแรกไปจนถงึ กระดูกบั้นเอวขอท่ี 2 ซงึ่ มีความยาวประมาณ 2 ใน 3 ของความยาวของ กระดกู สนั หลงั และมีแขนงเสน ประสาทแตกออกจากขอสันหลัง ไขสันหลังจะมเี ยื่อหมุ 3 ช้นั และ มขี องเหลวบรรจอุ ยใู นเยอื่ หมุ เชน เดยี วกบั เยอื่ หมุ สมอง1 หนา ทขี่ องไขสนั หลงั คอื รบั กระแสประสาท จากสว นตา ง ๆ ของรางกายสง ตอไปยังสมอง และรบั กระแสประสาทตอบสนองจากสมองเพ่อื สง ไปยงั อวยั วะตา ง ๆ ของรา งกาย รวมถงึ ควบคมุ ปฏกิ ริ ยิ าสะทอŒ นกลบั (reflex action) หรอื ปฏกิ ริ ยิ า ตอบสนองตอสิ่งเราอยางกะทันหันโดยไมตองรอคําส่ังจากสมอง เชน การกระตุกมือหนีเม่ือถูก ความรอนจากไฟ ซง่ึ เปนปฏิกริ ิยาท่แี สดงใหเห็นถึงพยาธสิ ภาพของรา งกายเกีย่ วกบั ระบบประสาท และแพทยสามารถนํามาใชประกอบการวินิจฉัยโรคบางชนดิ ได 2. ระบบประสาทส‹วนปลาย (peripheral nervous system) ทําหนาท่ีนําความรูสึก จากสว นตาง ๆ ของรางกายเขาสูระบบประสาทสวนกลางไปยงั อวัยวะปฏบิ ัติงาน ระบบประสาทสว นปลาย ประกอบดว ย 1) เสนประสาทสมอง มอี ยู 12 คู ทอดมาจากสมองผานรตู า ง ๆ ของกะโหลกศีรษะ ไปเลีย้ งบรเิ วณศรี ษะและลําคอเปนสวนใหญ 2) เสนประสาทไขสนั หลงั มีอยู 31 คู ออกจากไขสนั หลังเปนชวง ๆ ผา นรรู ะหวาง สันหลังไปสูรา งกาย แขน กระดกู สนั หลงั และขา เสนประสาทสมองและเสนประสาทไขสันหลังประกอบดวยใยประสาท 2 จําพวก คือ ใยประสาทรบั ซง่ึ จะนาํ สญั ญาณจากหนว ยรบั ความรสู กึ ไปยงั สมองหรอื ไขสนั หลงั อกี พวกหนงึ่ คอื ใยประสาทนาํ เปนใยประสาทชนิดนาํ คาํ สงั่ จากระบบประสาทสว นกลางไปยงั กลา มเนื้อลายตาง ๆ ทีย่ ึดติดกับกระดกู ใหทํางาน ซ่ึงสง ผลใหเราแสดงอริ ยิ าบถตาง ๆ ได 3) ระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system) เปนระบบประสาทที่ควบคุม การทํางานของอวัยวะที่อยูนอกอํานาจของจิตใจ ซึ่งอวัยวะเหลานี้ทํางานเปนอัตโนมัติตามหนาที่ และสภาพของอวัยวะน้นั ๆ เชน การเตนของหวั ใจ การเคล่ือนไหวของอวยั วะภายใน ผนังของ หลอดเลือด และตอมตา ง ๆ ศนู ยก ลางการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมตั จิ ะอยใู นกา นสมอง และสวนทีอ่ ยลู กึ ลงไปในสมองท่ีเรยี กวา ไฮโพทาลามัส 1 เม่อื มีการเจาะน้าํ เลี้ยงสมองและไขสนั หลงั หรอื การฉดี ยาเขาไขสนั หลงั แพทยจะฉีดตํา่ กวากระดกู บั้นเอวขอท่ี 2 ลงไป เพราะ บริเวณท่ีตอลงไปจะเปนมัดของเสนประสาทไขสันหลัง จะไมมีไขสันหลังปรากฏอยู โอกาสที่จะเกิดอันตรายกับไขสันหลังมี นอ ยกวาการฉีดเขาไปบริเวณอน่ื นอกจากนี้หากมเี ช้อื แบคทีเรียหรอื เชื้อไวรัสหลุดเขา ไปในเยอ่ื หมุ ไขสันหลงั เชื้อโรคจะกระจาย ไดอยางรวดเรว็ ทําใหเ กดิ การอกั เสบของไขสันหลังอยางรนุ แรงได

หนงั สือเรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน สขุ ศึกษา ม. 6 7 1.1.2 การทํางานของระบบประสาท ระบบประสาทเปนระบบท่ีทํางานประสานกันกับระบบกลามเนื้อ เชน ขณะอานหนังสือ ระบบประสาทจะแยกการทาํ งานอยา งหลากหลาย โดยใชเ วลาเพียงเส้ยี ววินาที เรม่ิ จากการควบคมุ กลามเนื้อตาใหกลอกไปมาซาย–ขวา จอภาพของตาก็จะสงขอมูลไปเรียบเรียงที่สมองและเก็บ บางสวนไวในหนว ยความจาํ และสมองยงั สามารถเรียกความทรงจําเกา ๆ ออกมาใช เพ่ือใหรับรู ขอมลู ใหม ๆ ไดดียิ่งขนึ้ ขณะเดียวกนั ระบบประสาทจะสง คําสัง่ ไปยงั กลา มเน้ือลายท่ยี ดึ กระดกู ใหเ ราน่ังตัวตรงหรอื ยกหนังสอื ขน้ึ อา นและยงั ควบคมุ กลา มเนอื้ ตาใหกะพริบราว 25 คร้งั ตอ นาที ดวย นอกจากน้ันระบบประสาทยังรับกระแสประสาทจากอวัยวะภายในตาง ๆ และสงคําส่ัง กลบั ไปควบคุมการเตนของหัวใจ ความดันเลอื ด อตั ราการหายใจ อณุ หภมู ิในรางกาย การยอ ย- อาหาร และระบบอ่นื ๆ ใหทาํ งานตามปกติอีกดวย 1.1.3 การสรŒางเสรมิ และดาํ รงประสทิ ธภิ าพการทํางานของระบบประสาท แนวทางการสรางเสรมิ และดํารงประสทิ ธิภาพการทํางานของระบบประสาท มีดงั น้ี 1. ระวงั ไมใ หเ กดิ การกระทบกระเทอื นบรเิ วณศรี ษะ เนอื่ งจากมผี ลตอ สมอง เชน หากสมอง สว นท่ีควบคมุ การเคลอื่ นไหวของรางกายไดรับความกระทบกระเทือนอาจสง ผลใหร า งกายสว นน้นั เปน อัมพาตได 2. ระมัดระวังปองกันไมใหเกิดโรคทางสมองโดยฉีดวัคซีนปองกันโรคสมองอักเสบในเด็ก ตามระยะเวลาท่แี พทยกําหนดและรีบพบแพทยเ ม่ือเกดิ ความผิดปกตทิ ่เี กย่ี วของกับสมอง 3. หลกี เลยี่ งยาชนดิ ตา ง ๆ ทม่ี ผี ลตอ สมอง รวมท้ังยาเสพตดิ และเครือ่ งดม่ื ท่ีมแี อลกอฮอล เพราะสิง่ เหลา นี้สามารถทาํ ใหเ กิดเปนโรคสมองเสอื่ ม (อลั ไซเมอร) ได 4. พยายามผอนคลายความเครียด พักผอนใหเพียงพอ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือ การนอนหลับ เน่ืองจากขณะนอนหลับประสาททุกสวนที่อยูในอํานาจของจิตใจจะไดรับการพักผอนอยางเต็มที่ ขณะเดยี วกนั ระบบประสาทนอกอํานาจจิตใจก็จะทํางานนอยลง 5. รับประทานอาหารท่ีมีประโยชนตอรางกาย โดยเฉพาะอาหารที่ใหวิตามินบี 1 สูง เชน ขาวกลอ ง เคร่อื งในสัตว เปน ตน เพราะจะชว ยใหประสาทแขน ขา และศรี ษะทาํ งานปกติ กิจกรรมเรียนร.ู ..สปู ฎบิ ติ • เพ่อื ความเขาใจทค่ี งทนใหนักเรียนปฏบิ ัติกิจกรรมตอไปนี้ ศกึ ษาคนควาความรูเ พมิ่ เตมิ เรื่อง ปจจัยทท่ี ําใหเ กิดโรคสมองเสือ่ ม (อัลไซเมอร) และแนวทางแกไข จากสือ่ การเรียนรใู นหองสมุดโรงเรยี นหรือจากส่ืออินเทอรเนต็ แลวจัดทาํ เปน รายงาน

8 หนงั สอื เรียน รายวชิ าพ้นื ฐาน สุขศึกษา ม. 6 1.2 ระบบสืบพันธุ (Reproductive System) ระบบสบื พนั ธุ เปน ระบบทเี่ กยี่ วกบั การเพมิ่ จาํ นวนของสงิ่ มชี วี ติ ใหม ากขนึ้ ตามธรรมชาตแิ ละ เปน การทดแทนสงิ่ มชี วี ติ รนุ เกา ทต่ี ายไป เพอ่ื ใหด าํ รงเผา พนั ธไุ วไ ด ซงึ่ การสบื พนั ธขุ องมนษุ ยเ ปน การ สืบพนั ธุแ บบอาศัยเพศ ตอ งอาศัยอวัยวะสบื พนั ธุของเพศชายและเพศหญงิ 1.2.1 อวัยวะสบื พันธุเพศชาย อวัยวะสืบพนั ธุเพศชาย ประกอบดว ยสว นตา ง ๆ ดงั น้ี ตอ มสรา งนำ้ เล้ียงอสจุ ิ กระเพาะปสสาวะ (seminal vesicle) (bladder) หลอดเกบ็ ตัวอสุจิ หลอดนำตวั อสุจิ (epididymis) (vas deferens) อณั ฑะ (testis) ถุงหุมอณั ฑะ (scrotum) ตอมลกู หมาก ภาพแสดงโครงสรางอวยั วะในระบบสบื พันธเุ พศชาย (prostate gland) ตอมคาวเปอร (cowper’s glands) องคชาตหรือลึงค (penis) ทอ ปส สาวะ (urethra) 1. อัณฑะ (testis) เปนตอมท่ีมีลักษณะคลายรูปไขอยูในถุงหุมอัณฑะ โดยปกติจะมี 2 ตอม ทําหนาท่ีสรา งตวั อสุจิ (sperm) ซ่ึงเปนเซลลสืบพันธเุ พศชาย และสรางฮอรโมนเพศชาย คอื เทสทอสเทอโรน (testosterone) ทําหนาทีค่ วบคุมลกั ษณะตาง ๆ ของเพศชาย เชน การมี หนวด เสยี งแตกหา ว เปน ตน ภายในอณั ฑะจะประกอบดว ยหลอดสรา งตวั อสุจิ (seminiferous tubules) เปนหลอดเลก็ ๆ ขดไปมาอยูภายใน ทําหนาท่สี รางตวั อสจุ ิ

หนังสอื เรียน รายวชิ าพน้ื ฐาน สุขศึกษา ม. 6 9 2. ถงุ หุŒมอัณฑะ (scrotum) เปนถงุ ของผวิ หนงั อยนู อกชองทอ ง ซึง่ สขี องผวิ หนังสว นน้จี ะ เขม กวา สวนอนื่ ของรา งกาย ทาํ หนา ทค่ี วบคุมอณุ หภมู ใิ หพอเหมาะในการสรา งตวั อสจุ ิ ซง่ึ ตวั อสุจิ จะเจริญไดด ีท่อี ุณหภมู ติ ่ํากวาอุณหภมู ิปกติของรา งกายประมาณ 3–5 องศาเซลเซียส 3. หลอดเกบ็ ตัวอสจุ ิ (epididymis) มีลักษณะเปน ทอ เล็ก ๆ ขดทบไปมา รูปรา งคลาย ลูกนํ้าตัวเต็มวัย สวนบนโต สวนลางแคบ อยูดานบนของอัณฑะ ทําหนาที่เก็บตัวอสุจิท่ีเจริญ เต็มที่ กอนท่จี ะสงผา นไปยังหลอดนาํ ตวั อสุจิ 4. หลอดนําตัวอสุจิ (vas deferens) เปนทออยูถัดจากสวนลางของหลอดเก็บตัวอสุจิ มอี ยู 2 ทอ ทาํ หนาทล่ี ําเลียงตัวอสจุ ิไปเกบ็ ไวทีต่ อมสรา งนํ้าเลีย้ งอสุจิ 5. ต‹อมสราŒ งนํ้าเลย้ี งอสุจิ (seminal vesicle) เปน ตอมรูปรา งคลายถงุ ยาว ๆ ผนงั ไมเรียบ อยูดานหลังตอกับกระเพาะปสสาวะ ทําหนาท่ีสรางอาหารเพื่อใชเลี้ยงตัวอสุจิและสรางของเหลว มาผสมกับตัวอสจุ ิเพอ่ื ใหเ กดิ สภาพท่เี หมาะสมสาํ หรับตัวอสุจิ µÇÑ ÍÊ¨Ø Ô Ê‹Ç¹ËÑÇ (head) ÁÅÕ Ñ¡É³Ð¤ÅŒÒÂÅ١͍ʹ à¾ÈªÒ¨ÐàÃèÔÁÊÃÒŒ §àÁÍ×è ÍÒÂ»Ø ÃÐÁÒ¹ 12-13 »‚ ã¹¹Óé ÍÊØ¨Ô¨ÐÁÕµÇÑ ÍÊØ¨Ôà©ÅÂèÕ 350-500 ŌҹµÇÑ ÊÇ‹ ¹ÅÓµÑÇ (midpiece) ¡ÒÃËŧèÑ ¹Óé ÍÊØ¨ÔᵋÅФÃÑ駨ÐÁ¢Õ ͧàËÅÇ »ÃÐÁÒ³ 3-4 ÅÙ¡ºÒÈ¡à«¹µÔàÁµÃ µÑÇÍÊØ¨ÁÔ ¤Õ Ò‹ pH »ÃÐÁÒ¹ 7.35-7.50 ʋǹËÒ§ (tail) ÁÊÕ ÀÒÇФ͋ ¹¢ŒÒ§à»¹š ´‹Ò§ ¼ÙªŒ Ò·ÁÕè µÕ ÑÇÍÊØ¨ÔµèÓ¡Ç‹Ò àÁè×ÍÍÍ¡ÊÀÙ‹ Ò¹͡µÇÑ ÍÊØ¨¨Ô ÐÁÕªÇÕ µÔ ÍÂäÙ‹ ´Œ 2 3 ªÇèÑ âÁ§ 30 ŌҹµÇÑ µÍ‹ š٠ºÒÈ¡à«¹µàÔ ÁµÃ ᵋ¶ŒÒÍÂÙ‹ã¹Á´ÅÙ¡¢Í§¼ŒËÙ ÞÔ§¨ÐÍ‹Ùä´Œ ËÃÍ× ÁµÕ ÇÑ Í欯 ·Ô ÁÕè ÃÕ »Ù ÃÒ‹ §¼´Ô »¡µÁÔ Ò¡¡ÇÒ‹ »ÃÐÁÒ³ 24 48 ªèÇÑ âÁ§ ÃÍŒ ÂÅÐ 25 ¨ÐÁÕâÍ¡ÒÊ໚¹ËÁ¹Ñ ä´Œ

10 หนังสอื เรียน รายวิชาพื้นฐาน สขุ ศึกษา ม. 6 6. ต‹อมลกู หมาก (prostate gland) เปนตอ มทม่ี ีขนาดใกลเ คยี งกับลกู หมาก อยูตอนตน ของทอ ปส สาวะ ทาํ หนา ทหี่ ลง่ั สารทม่ี ฤี ทธเิ์ ปน ดา งออ น ๆ เขา ไปในทอ ปส สาวะ เพอื่ ทาํ ลายฤทธก์ิ รด ในทอปส สาวะ ทําใหเ กิดสภาพท่ีเหมาะสมกบั ตัวอสจุ ิ 7. ตอ‹ มคาวเปอร (cowper’s glands) เปน ตอ มทมี่ ีรูปรางกลม ขนาดเทาเม็ดถัว่ มี 2 ตอม อยใู ตต อ มลกู หมากลงไป ทาํ หนาทหี่ ลง่ั สารไปหลอล่ืนทอปสสาวะในขณะทเี่ กิดการกระตนุ ทางเพศ ทาํ ใหต วั อสจุ เิ คลอื่ นทไี่ ดเ รว็ และยงั ทาํ หนา ทชี่ าํ ระลา งกรดของนาํ้ ปส สาวะทเ่ี คลอื บทอ ปส สาวะ ทาํ ให ตวั อสจุ ิไมต ายกอ นในขณะทเี่ คลื่อนออกมา 1.2.2 อวัยวะสบื พันธเุ พศหญงิ อวยั วะสบื พนั ธเุ พศหญงิ ประกอบดว ยสวนตา ง ๆ ดังน้ี ทอนำไข (oviduct) หรอื รงั ไข (ovary) ปก มดลกู (fallopian tube) มดลกู (uterus) กระเพาะปสสาวะ (bladder) ทอ ปส สาวะ ชอ งคลอด (vagina) (urethra) ภาพแสดงโครงสรางอวยั วะในระบบสืบพันธเุ พศหญงิ 1. รงั ไข‹ (ovary) มลี กั ษณะรปู รา งคลา ยเมด็ มะมว งหมิ พานต ยาวประมาณ 2–3 เซนตเิ มตร หนา 1 เซนตเิ มตร มนี าํ้ หนกั ประมาณ 2–3 กรมั และมี 2 อัน อยบู รเิ วณปก มดลกู แตละขา ง โดยดานในยดึ ตดิ กับมดลกู ดวยเสนเอ็น สว นดานนอกยดึ ตดิ กับลาํ ตัว ทาํ หนา ทดี่ ังนี้

หนงั สือเรียน รายวิชาพ้ืนฐาน สขุ ศกึ ษา ม. 6 11 1) ผลิตไข (ovum) โดยปกติไขจ ะสกุ เดือนละ 1 ใบ จากรงั ไขแ ตล ะขา งสลับกนั ทกุ เดอื น และออกจากรังไขทกุ รอบเดือน (โดยประมาณ 28 วนั ) เรยี กวา การตกไข‹ ตลอดชวงชีวิตของเพศ หญิงปกตจิ ะมีการผลติ ไขประมาณ 400 ใบ คือ เร่ิมตัง้ แตอายุ 11–14 ป ไปจนถงึ อายปุ ระมาณ 45–50 ป จึงหยดุ ผลิต เซลลไขจ ะมีอายุอยไู ดนานประมาณ 24 ช่วั โมง 2) สรา งฮอรโ มนเพศหญงิ ทส่ี าํ คญั ไดแ ก เอสโทรเจน (estrogen) เปน ฮอรโ มนทาํ หนา ท่ี ควบคุมเกยี่ วกับมดลกู ชองคลอด ตอมนํ้านม และควบคุมการเกิดลักษณะตา ง ๆ ของเพศหญงิ และโพรเจสเทอโรน (progesterone) เปน ฮอรโ มนทีท่ ํางานรว มกับฮอรโ มนเอสโทรเจน ทําหนา ที่ ควบคมุ เกยี่ วกบั การเจรญิ ของมดลกู การเปลยี่ นแปลงเยอ่ื บมุ ดลกู เพอ่ื เตรยี มรบั ไขท ไ่ี ดร บั การผสม แลว 2. ท‹อนําไข‹ (oviduct) หรือปกมดลูก (fallopian tube) เปนทอท่ีเชื่อมระหวางรังไข ท้งั 2 ขา งกบั มดลูก มเี สน ผานศนู ยก ลางประมาณ 2 มิลลเิ มตร ยาวประมาณ 6–7 เซนติเมตร หนา 1 เซนติเมตร มีกลา มเนื้อซึง่ บบี รดั ตัวเสมอ ทําหนาทเี่ ปน ทางผา นของไขท่ีออกจากรงั ไขเขาสู มดลูก โดยมีปลายขางหนึ่งเปดอยูใกลกับรังไข เรียกวา ปากแตร (funnel) บุดวยเซลลที่มี ขนส้ัน ๆ ทําหนา ท่พี ัดโบกไขท่ตี กมาจากรังไขใหเขา ไปในทอ นาํ ไข ทอ นําไขเ ปน บริเวณที่อสจุ จิ ะเขา ปฏิสนธิกบั ไข 3. มดลกู (uterus) มีรปู รางคลายชมพู กวา งประมาณ 4 เซนตเิ มตร ยาวประมาณ 6–8 เซนติเมตร หนาประมาณ 2 เซนตเิ มตร อยูในบริเวณอุงกระดูกเชงิ กรานระหวา งกระเพาะปส สาวะ กบั ทวารหนกั ภายในเปน โพรงผนงั เปน กลา มเนอื้ เรยี บหนา ยดื หดไดม าก ประกอบดว ยโครงสรา ง 3 ชั้น คอื ชั้นนอกเปน เยื่อบาง ๆ ปกคลมุ ดานนอกมดลูก ชนั้ กลาง ประกอบดว ยกลา มเนอื้ เรียบ ที่หนาและขยายตวั ไดมากในเวลาตั้งครรภ และชน้ั ในสดุ เรยี กวา เย่อื บุมดลกู มลี ักษณะบาง เปน ทฝ่ี ง ตัวของไขท่ีปฏิสนธแิ ลว และเปน ทเี่ จรญิ เตบิ โตของทารกในครรภ 4. ช‹องคลอด (vagina) เปนทอยาวจากปากชองคลอดไปจนถึงปากมดลูก อยูระหวาง ทอปสสาวะและทวารหนัก ทําหนาที่เปนทางผานของตัวอสุจิเขาสูมดลูก เปนทางออกของทารก เมื่อครบกําหนดคลอด และยังเปนชองใหประจําเดือนระบายออกมาสูภายนอก ท่ีปากชองคลอด มีเยื่อพรหมจารีปดอยูดานบนของชองคลอด ยาวประมาณ 7 เซนติเมตร และดานลางยาว ประมาณ 9 เซนตเิ มตร การตกไข (ovulation) คือ การท่ไี ขส ุกและออกจากรงั ไขเขา สทู อ นําไข ในชว งกง่ึ กลางของรอบเดอื น ถา นบั วนั แรกทมี่ ปี ระจาํ เดอื นเปน วนั ที่ 1 การตกไขจ ะเกดิ ขนึ้ ประมาณ วนั ที่ 13–15 เมอ่ื ไขไ มไ ดร บั การผสม ผนงั มดลกู ลอกตวั ทาํ ใหเ กดิ การมปี ระจาํ เดอื น (menstruation)

12 หนังสือเรียน รายวชิ าพนื้ ฐาน สขุ ศึกษา ม. 6 นานา นารู • เพศชายทลี่ กู อณั ฑะไมเ คลอ่ื นลงในถุงอัณฑะ ลูกอณั ฑะยงั อยใู นชองทอง จะสงผลใหเปน หมันได หรอื เคลอ่ื นลงเพียงลูกเดียวโอกาสมลี กู จะนอยลง • หากเยอื่ พรหมจารี (hymen) ของเพศหญงิ เกิดความผดิ ปกติ โดยปดปากชองคลอดจนสนิทและ ไมมีรูเปด จะสงผลใหประจำเดือนของเพศหญิงไมสามารถไหลผานชองคลอดออกมาได จะทำใหมีอาการ ปวดทอ งรนุ แรง ตองแกไขโดยการผา ตดั ท่มี า: ชาตรี เกิดธรรม. สารานุกรมวิทยาศาสตร: การดำรงชวี ติ ของมนุษย, 2554. หนา 40–45. 1.2.3 การสรŒางเสรมิ และดํารงประสทิ ธิภาพการทํางานของระบบสบื พันธุ แนวทางการสรางเสรมิ และดาํ รงประสทิ ธิภาพการทํางานของระบบสบื พันธุ มดี งั นี้ 1. ดูแลรางกายใหแข็งแรงอยางสมํ่าเสมอ โดยรับประทานอาหารใหถูกสัดสวนทั้ง 5 หมู ในเพศหญงิ ซ่งึ มกี ารสูญเสยี เลือดและมีการผลติ เลอื ดใหมใ นทุกรอบเดือน ควรรบั ประทานอาหาร ทีช่ วยบาํ รงุ เซลลเ ม็ดเลือด เชน อาหารที่มีธาตุเหล็กสงู ไดแก เนอื้ สตั ว ตับ ไขแดง 2. ออกกาํ ลังกายอยา งสมา่ํ เสมอ อยา งนอยสัปดาหละ 3 ครงั้ 3. งดด่มื เครือ่ งดืม่ ที่มีแอลกอฮอล เพราะสง ผลตอการเปล่ียนแปลงของระดับฮอรโ มนเพศ โดยเฉพาะในเพศชายจะทําใหสมรรถภาพทางเพศลดลง 4. พักผอ นใหเพยี งพอ ไมเ ครง เครยี ด และทาํ จติ ใจใหร าเริงแจม ใสอยูเสมอ 5. ทาํ ความสะอาดรางกายอยา งทว่ั ถึงและสมํา่ เสมอ อยา งนอ ยวนั ละ 2 คร้ัง 6. สวมใสเสื้อผา ทีส่ ะอาด ไมอับชน้ื และอยา ใหรดั แนน จนเกินไป 7. ไมใ ชเสอื้ ผา ผาเช็ดตวั และเครอื่ งนุงหม รวมกบั ผอู นื่ เพราะอาจติดเช้อื บางชนดิ ได 8. ไมสําสอ นทางเพศ เพราะอาจติดเชื้อทางเพศสัมพนั ธแ ละเชอ้ื เอดส 9. เมอื่ เกิดสิ่งผิดปกติเกยี่ วกับอวัยวะเพศ ควรรบี ปรกึ ษาแพทย กจิ กรรมเรยี นรู...สปู ฎบิ ติ • เพื่อความเขาใจท่ีคงทนใหน ักเรยี นปฏิบตั ิกจิ กรรมตอไปน้ี ศึกษาคนควาความรูเพ่ิมเติมเก่ียวกับแนวทางการสรางเสริมและดํารงประสิทธิภาพของระบบสืบพันธุ นอกเหนอื จากความรใู นบทเรียน แลว จัดทําเปนรายงานพอสงั เขป

หนงั สอื เรียน รายวชิ าพนื้ ฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 13 1.3 ระบบตอ มไรท อ (The Endocrine System) ระบบตอ‹ มไรทŒ อ‹ เปน ระบบทผี่ ลติ สารทเี่ รยี กวา ฮอรโ มน เปน ตอ มทไี่ มม ที อ หรอื รเู ปด ลาํ เลยี ง สารน้ันไปตามกระแสเลอื ดไปสูอวยั วะเปาหมาย เพอื่ ทาํ หนา ทคี่ วบคมุ การทาํ งานของระบบตาง ๆ ฮอรโ มนจะทาํ งานโดยประสานกบั ระบบประสาท ฮอรโ มนทผ่ี ลติ ขน้ึ จากตอ มไรท อ นจี้ ะตอ งมปี รมิ าณ พอดีกับรางกาย ถาปริมาณฮอรโมนมีมากหรือนอยเกินไปจะทําใหเกิดโรคตาง ๆ ขึ้นได เชน โรคเบาหวาน โรคคอพอก หรอื โรคทีเ่ กีย่ วของกับการเจริญเตบิ โตของรา งกาย ตอ มใตสมอง (pituitary gland) (thyroiตdอgมlไaทnรdอaยnดdแ ละพpาaรrาaไtทhรyอroยidด gland) ตอ มไทมสั (thymus gland) ตอมหมวกไต (adrenal gland) (isตleอtมsทo่อี fยlaูในnตgeับrอhอaนns) รังไข (อteณั sฑtisะ) (ovary) ภาพแสดงตำแหนงที่ตง้ั ตอมไรทอ ทีส่ ำคญั ในรางกาย

14 หนงั สือเรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน สขุ ศกึ ษา ม. 6 1.3.1 ตอ‹ มไรทŒ อ‹ ในร‹างกาย ตอ มไรท อทส่ี ําคัญในรา งกายของเรา มดี งั นี้ 1. ต‹อมใตŒสมอง (pituitary gland) เปนตอมที่มีขนาดเล็ก รูปรางกลม อยูใตสมอง แบงเปน 2 สว น คอื ตอ มใตส มองสวนหนา (anterior pituitary หรือ adenohypophysis) และ ตอมใตสมองสวนหลัง (posterior pituitary หรอื neurohypophysis) เปนศนู ยค วบคมุ รา งกาย ที่สําคัญ มีหนาที่สําคัญหลายอยาง เชน สรางฮอรโมนควบคุมการเจริญเติบโตของรางกายและ กระดูก สรา งฮอรโ มนท่ที ําใหค วามดันเลือดสงู ขึน้ กระตนุ ใหเ กดิ การบีบตัวของมดลกู ในเพศหญงิ ขณะคลอดบตุ ร นอกจากนย้ี ังทาํ หนา ที่ควบคมุ การทํางานของตอมไรทออื่น ๆ เชน ตอ มไทรอยด ตอ มหมวกไต รวมถงึ ควบคุมการทาํ งานของระบบสบื พันธุด วย 2. ต‹อมหมวกไต (adrenal gland) เปนตอมทีม่ รี ปู รางคอนขา งแบนคลา ยหมวกครอบอยู สวนบนของไต แบงออกเปน 2 ช้ัน ชั้นในสรางฮอรโมนอะดรีนาลิน (adrenaline hormone) ซงึ่ มคี ณุ สมบตั เิ หมอื นสารทห่ี ลง่ั จากปลายประสาทอตั โนมตั ิ โดยจะกระตนุ รา งกายทกุ สว นใหเ ตรยี ม พรอม เมื่อหลอดเลือดท่ัวไปหดตัวและทําใหความดันเลือดสูงข้ึน สวนช้ันนอกสรางฮอรโมน- คอทิซอล (cortisol) ทําหนาท่ีควบคุมการเผาผลาญอาหาร ตลอดจนฮอรโมนออลโดสเทอโรน (aldosterone hormone) ทําหนาที่ควบคุมการดดู ซึมเกลือทไี่ ต 3. ตอ‹ มไทรอยด (thyroid gland) เปน ตอ มท่ีมีลักษณะเปน พู 2 พูเช่ือมตอ กนั เปนตอ ม ที่อยูติดกับกลอ งเสยี งและหลอดลม ทาํ หนาทหี่ ลง่ั ฮอรโ มนไทรอกซนิ (thyroxin) ซึ่งมีความสําคัญ ตอ การควบคมุ การเจริญเตบิ โตของรางกายใหดาํ เนินไปไดอ ยา งเหมาะสม 4. ต‹อมพาราไทรอยด (parathyroid gland) เปนตอมขนาดเล็ก มี 2 คู อยดู า นหลงั ตอมไทรอยด ทําหนา ทส่ี รางฮอรโมนพาราไทรอยด (parathyroid hormone) ทที่ ําหนาที่ควบคุม ปรมิ าณของแคลเซยี มในเลอื ดและรกั ษาความเปน กรดเปน ดา งในรา งกายใหอ ยใู นระดบั ทเ่ี หมาะสม 5. ต‹อมที่อยู‹ในตับอ‹อน (islets of langerhans) เปนตอมที่สรางฮอรโมนอินซูลิน (insulin hormone) ซงึ่ ทาํ หนา ที่ควบคุมปริมาณนํ้าตาลของรา งกาย ถา ขาดฮอรโมนชนดิ นจ้ี ะทําให เปนโรคเบาหวาน เพราะรางกายไมสามารถเปล่ียนน้ําตาลในเลือดใหเปนไกลโคเจนเก็บไวใน กลา มเนอ้ื หรอื ในตบั ได 6. ตอ‹ มเพศ (Gonads) คอื รงั ไข (ovary) ในเพศหญิง และอณั ฑะ (testis) ในเพศชาย โดยที่รงั ไขท ําหนาทีผ่ ลิตไขและสรา งฮอรโมนเพศ คอื ฮอรโ มนเอสโทรเจน (estrogen hormone) กับฮอรโมนโพรเจสเทอโรน (progesterone hormone) เปนฮอรโมนที่ควบคุมเกี่ยวกับลักษณะ ตาง ๆ ของเพศหญงิ สวนอัณฑะทําหนา ท่สี รา งตวั อสจุ ิและสรางฮอรโ มนเพศชาย คือ ฮอรโ มน เทสทอสเทอโรน (testosterone hormone) เพือ่ ควบคุมลักษณะตาง ๆ ของเพศชาย

หนังสือเรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 15 7. ตอ‹ มไทมัส (thymus gland) เปน ตอมทมี่ ีรปู รางคลายพีระมิดแบนทางขาง มี 2 กลีบ มีขนาดใหญในทารกแรกเกิดและจะคอย ๆ เล็กลงเมื่อเริ่มเขาสูวัยผูใหญ ทําหนาที่ควบคุมการ ทาํ งานของระบบภูมิคุมกนั ของรางกาย ซึ่งการควบคุมกลไกตาง ๆ ของรางกายเกี่ยวของกับการทํางานรวมกันของระบบประสาท และระบบตอมไรทอ การทํางานของระบบประสาทน้นั จะเกิดขน้ึ อยา งรวดเร็ว เพราะมเี สน ประสาท ทเ่ี ชอ่ื มโยงทง้ั รา งกาย ขณะทกี่ ารทาํ งานของระบบตอ มไรท อ ตอ งลาํ เลยี งฮอรโ มนไปกบั กระแสเลอื ด ซ่ึงจะตองผานอวัยวะอ่ืน ๆ กอนจะถึงเปาหมาย ดังนั้นการทํางานของระบบตอมไรทอจึงเปนไป อยางชา ๆ และคอนขางนาน เชน กระบวนการควบคุมการเจริญเติบโตของเด็ก กระบวนการ เมแทบอลิซึมของรา งกาย 1.3.2 การสราŒ งเสริมและดํารงประสทิ ธภิ าพการทํางานของระบบต‹อมไรŒท‹อ แนวทางการสรา งเสรมิ และดาํ รงประสทิ ธภิ าพการทาํ งานของระบบตอมไรทอ มดี ังนี้ 1. เลือกรับประทานอาหารที่มีคุณคาทางโภชนาการครบท้ัง 5 หมู ในปริมาณท่ีเหมาะสม ลดอาหารทีม่ ีรสหวานจดั เพราะอาจเปนสาเหตุท่ที าํ ใหเ กดิ โรคเบาหวานได รบั ประทานอาหารทะเล หรอื เกลอื ท่ีมธี าตไุ อโอดนี เพ่ือปองกนั การเปนโรคคอพอก 2. ด่ืมนา้ํ สะอาดอยา งนอย 6–8 แกวตอ วนั เพราะนาํ้ ชวยในการผลติ ฮอรโ มน 3. ออกกําลังกายสมํ่าเสมอ เพราะการออกกําลังกายจะชวยใหระบบตอมไรทอและระบบ ประสาทอัตโนมัติทํางานไดอยางสมดุล 4. ลดปริมาณเคร่ืองดื่มท่ีมีแอลกอฮอล เพราะแอลกอฮอลมีผลตอการทํางานของระบบ ตอ มไรทอ บางตอ มใหด อยประสทิ ธภิ าพลง เชน ตอ มใตสมอง ตอ มเพศ 5. หลีกเลี่ยงสภาพแวดลอมท่ีสงผลตอระบบตอมไรทอ เชน บริเวณแหลงโรงงาน อุตสาหกรรม บรเิ วณทม่ี ีสารพษิ หรอื ยาฆา แมลง อุตสาหกรรมหลอมโลหะ เปนตน 6. พักผอนใหเพียงพอ คิดในเชิงบวก จะสงผลไปท่ีตอมใตสมอง ทําใหหล่ังฮอรโมนที่ดี มีผลทาํ ใหสุขภาพกายและสุขภาพจติ ดี กจิ กรรมเรียนรู...สปู ฎิบติ • เพ่ือความเขาใจท่คี งทนใหนกั เรียนปฏิบัตกิ จิ กรรมตอ ไปน้ี ศึกษาคนควาความรูเพ่ิมเติมเกี่ยวกับแนวทางการสรางเสริมและดํารงประสิทธิภาพของระบบ ตอ มไรท อ นอกเหนอื จากความรใู นบทเรียน แลวจัดทาํ เปน รายงานพอสงั เขป

16 หนังสือเรียน รายวชิ าพน้ื ฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 แหลงสืบคนความรู นกั เรยี นสามารถสบื คนความรเู กี่ยวกับเรอ่ื ง ระบบตาง ๆ ของรา งกาย เพิม่ เตมิ ไดจ ากการสอบถาม ครอู าจารย แพทย พยาบาล เจา หนา ทส่ี าธารณสขุ หรอื ศกึ ษาจากสอ่ื /เอกสารทางวชิ าการทเี่ กย่ี วขอ ง หรอื ทีเ่ วบ็ ไซต ตวั อยางเชน http://www.thaiendocrine.org หรอื http://www.harmor.com/ หรือ http:// www.thaihealth.or.th ตอ จากน้นั บนั ทึกผลการศึกษาคน ควาและคาํ ถามทสี่ งสัยลงในสมดุ บนั ทกึ นําไป รายงานผลในการเรียนครัง้ ตอ ไป 2. การวางแผนดูแลสขุ ภาพของบุคคลในครอบครัว การวางแผนดแู ลสขุ ภาพของตนเองนบั วา เปน ปจ จยั พน้ื ฐานทท่ี กุ คนควรปฏบิ ตั ิ แตน อกเหนอื จากน้ันแลว การดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวก็นับวาเปนส่ิงสําคัญไมยิ่งหยอนไปกวากัน เพราะภาวะสขุ ภาพที่เกดิ ขนึ้ ในครอบครวั ลว นแลว แตม ีผลตอสขุ ภาพของตัวเราดวย 2.1 ความหมายและความสําคญั การวางแผนดูแลสุขภาพ หมายถึง การกําหนดแนวทางในการเลือกรูปแบบของการปฏิบัติ เพื่อการดูแลสขุ ภาพท่นี าํ มาสูสุขภาวะที่สมบรู ณท้ังรางกาย จิตใจ อารมณ และสงั คม การวางแผนดแู ลสขุ ภาพของบคุ คลในครอบครวั หมายถงึ การกาํ หนดแนวทางในการปฏบิ ตั ิ เพื่อสง ผลใหบุคคลในครอบครวั มสี ขุ ภาวะทีส่ มบูรณท ้งั รา งกาย จติ ใจ อารมณ และสงั คม จากความหมายท่ีกลาวมาจึงเห็นไดวา การดูแลสุขภาพบุคคลในครอบครัว เปนส่ิงจําเปน อยางยิ่ง เพราะถือวามีสวนชวยพัฒนาคุณภาพของชีวิตมนุษยใหดํารงอยูในสังคมไดอยางมี ความสขุ ตลอดไป โดยจะตองมีการวางแผนดแู ลสขุ ภาพทเี่ หมาะสม การวางแผนดแู ลสุขภาพครอบครวั จะตองคำนงึ ถึงความแตกตางทางดานเพศ วัย และปญหาสุขภาพของสมาชิกครอบครัวแตล ะคนอยา งเหมาะสม

หนังสือเรยี น รายวิชาพื้นฐาน สุขศึกษา ม. 6 17 2.2 แนวทางในการวางแผนดูแลสขุ ภาพของบุคคลในครอบครัว การวางแผนดแู ลสขุ ภาพของบุคคลในครอบครัวจะแตกตางกันไปตามบทบาท หนาท่ี และ ชวงวัยของสมาชกิ ในครอบครวั เชน พอแมซ ่งึ อยูในวยั ผใู หญมีหนา ทม่ี สี วนสําคัญในการวางแผน ดแู ลสขุ ภาพใหก บั ลกู ในวยั เดก็ ทง้ั นผี้ ทู จ่ี ะวางแผนดแู ลสขุ ภาพของบคุ คลในครอบครวั ควรใหค วาม สาํ คัญตอ เรอ่ื งทเี่ กี่ยวของกบั ปจ จยั ตอ ไปน้ี 2.2.1 โภชนาการ อาหารถอื วา เปน สง่ิ จาํ เปน ตอ การดาํ รงชวี ติ การวางแผนการรบั ประทานอาหารใหถ กู ตอ งตาม หลักโภชนาการจึงมคี วามสําคญั และมีแนวทางปฏิบัติ ดงั นี้ 1. ศึกษาหาความรเู ก่ียวกับอาหารทเี่ หมาะสมกับบคุ คลวัยตาง ๆ ในครอบครัว เชน อาหาร ทเ่ี หมาะกบั วยั เดก็ ควรจะเปน อาหารในกลมุ ทชี่ ว ยสง เสรมิ การเจรญิ เตบิ โตและครบทง้ั 5 หมู เพราะ วัยเด็กเปนวัยท่ีกําลังเจริญเติบโต สวนในวัยผูใหญจะเนนการรับประทานอาหารที่ใหพลังงานและ ครบทัง้ 5 หมู โดยคาํ นงึ ถงึ กิจกรรมที่ตองทําในแตละวัน เปนตน อาหารทมี่ ีคุณคาตามหลักโภชนาการเปน พื้นฐานประการแรกของการวางแผนดแู ลสขุ ภาพ 2. ควรสงเสริมสุขนิสัยในการรับประทานอาหารใหเกิดขึ้นกับบุคคลในครอบครัว เชน รบั ประทานอาหารใหเปนเวลา เลือกรับประทานอาหารทปี่ รงุ สกุ สะอาด 3. หากบุคคลในครอบครัวมีโรคประจําตัวจะตองจัดเตรียมอาหารอยางระมัดระวัง ขณะท่ี ผปู ว ยก็ตอ งระมดั ระวังในการบริโภคอาหารทม่ี ผี ลกระทบตอ โรคดว ย เชน หรอื ผูทเี่ ปน โรคไขมนั ในเลือดสงู ควรลดหรอื หลีกเลีย่ งอาหารท่ีมีไขมันสูง

18 หนงั สอื เรยี น รายวชิ าพื้นฐาน สขุ ศึกษา ม. 6 2.2.2 การออกกําลงั กาย หลักการวางแผนการออกกําลังกายที่สมาชิกในครอบครัวควรนํามาใชเปนแนวทางในการ ปฏบิ ตั ิ มีดงั นี้ 1. ศกึ ษารูปแบบของกจิ กรรมการออกกําลงั กายใหเหมาะสมกับวัย เพศ และสภาพรางกาย ของแตละคน เชน การออกกาํ ลังกายในวัยเด็กสว นใหญจะเปน รูปแบบของการเลน ซึ่งจะชวยใน เรอื่ งของการฝก ทกั ษะทางกาย พฒั นาการทางอารมณ สงั คม และสตปิ ญ ญา ขณะทผ่ี ใู หญค วรเนน กิจกรรมท่ีชวยสรางเสริมสมรรถภาพของรางกายและประสิทธิภาพในการทํางานของระบบอวัยวะ ตาง ๆ ในรางกาย สวนผูสูงอายุควรเลือกรูปแบบการออกกําลังกายท่ีไมหนักจนเกินไป เชน การรํามวยจนี การเดินเรว็ เปน ตน 2. เตรียมอุปกรณและเคร่ืองใชในการออกกําลังกายใหเหมาะสมกับชนิดของการออก- กําลงั กาย 3. กําหนดโปรแกรมในการออกกําลงั กายใหเ หมาะสม ซ่งึ โดยทว่ั ไปแลวไมว า จะอยูในวยั ใด ควรออกกาํ ลังกายครงั้ ละไมต ํา่ กวา 30 นาที และสัปดาหล ะไมตา่ํ กวา 3 วัน 4. ในกรณีท่ีมีโรคประจําตัวหรือมีปญหาทางดานสุขภาพอ่ืน ๆ ควรปรึกษาแพทยกอน ออกกาํ ลังกาย การออกกำลังกายมหี ลายรปู แบบควรเลือกใหเ หมาะสม กบั สภาพรางกายของตนเอง

หนังสือเรยี น รายวิชาพืน้ ฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 19 2.2.3 การพักผอ‹ น การพกั ผอนจะชว ยใหรา งกายไดผ อนคลายจากความเหน็ดเหนื่อยเม่อื ยลา และสรา งเสริมให รางกายสมบรู ณแขง็ แรง ซง่ึ ลกั ษณะทจ่ี ดั วา เปน การพกั ผอ น ไดแ ก 1. การนอนหลบั เปน วธิ กี ารพกั ผอนทด่ี ีท่สี ุด เนือ่ งจากในขณะนอนหลับ อวัยวะทุกระบบ ในรา งกายไดพ กั ผอ น ขณะเดยี วกนั รา งกายกจ็ ะทาํ การซอ มแซมปรบั ปรงุ เซลลต า ง ๆ ใหพ รอ มทจี่ ะ ปฏบิ ตั งิ านตอ ไป ซง่ึ ในแตล ะชว งวยั คนเราตอ งการเวลาในการนอนหลบั แตกตา งกนั เชน ทารกแรกเกดิ ตองการเวลานอนหลบั วนั ละประมาณ 18–20 ช่ัวโมง เดก็ อายุ 1–4 ป วนั ละประมาณ 11–12 ช่ัวโมง เด็กอายุ 5–12 ป วันละประมาณ 8–9 ชั่วโมง วัยรุน วันละประมาณ 8–9 ช่ัวโมง และผสู งู อายุ 60 ปข น้ึ ไป วนั ละประมาณ 9–10 ชว่ั โมง นอกจากนใี้ นชว งวยั เดก็ เรม่ิ เรยี น 3–5 ป ควรนอนหลบั ในเวลากลางวันเพิม่ 2–3 ชั่วโมงดว ย การนอนหลับชว ยใหร ะบบตาง ๆ ในรางกาย เกิดความผอ นคลายและไดฟ นฟูสภาพ 2. กจิ กรรมนนั ทนาการ เปนกิจกรรมที่ปฏิบัติในยามวางดว ยความสมคั รใจ เพ่ือผอ นคลาย ความเครียด สรางความสนุกสนาน กิจกรรมนันทนาการมีมากมายหลายลักษณะ ซ่ึงควรเลือก ปฏบิ ตั ใิ หเ หมาะสมกบั สขุ ภาพรา งกาย เพศ วยั ความสนใจ ความถนดั และความสามารถของตนเอง ไมข ดั ตอศลี ธรรมประเพณี วฒั นธรรมของสังคมและกฎหมาย และไมรบกวนหรือกอ ความรําคาญ ใหแกบุคคลอื่น กิจกรรมท่ีจัดเปนกิจกรรมนันทนาการ เชน งานประดิษฐ งานศิลปะตาง ๆ การถา ยรปู การเลน ดนตรี การทองเท่ยี ว การเลนกีฬา เปน ตน

20 หนังสอื เรียน รายวชิ าพน้ื ฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 กจิ กรรมนันทนาการควรเลือกปฏบิ ัตใิ หเ หมาะสมกับเพศ วัย และความสนใจของตนเอง จงึ จะชว ยผอ นคลายความเครียดและกอ ใหเกิดประโยชนอยางแทจริง 2.2.4 การวางแผนการตรวจสขุ ภาพและเสริมสรŒางความตาŒ นทานโรค การเจบ็ ปว ยเปน สง่ิ ทบ่ี น่ั ทอนสขุ ภาพกายและสขุ ภาพจติ ทกุ คนในครอบครวั จงึ ควรทจี่ ะรจู กั ปอ งกนั ตนเองใหป ลอดภัยจากโรค โดยมแี นวทางปฏบิ ตั ดิ ังนี้ 1. การตรวจสขุ ภาพทวั่ ไป หลกั เกณฑก ารตรวจสขุ ภาพทว่ั ไปจะแตกตา งกนั ไปตามกลมุ อายุ เชน เด็กทารก ควรไดรับการตรวจสุขภาพตามท่ีแพทยแนะนํา เพื่อตรวจการเจริญเติบโตและ พัฒนาการและการใหภมู คิ ุมกนั โรคตา ง ๆ เด็กวยั เรยี น ควรไดรบั การตรวจสขุ ภาพอยา งนอ ยปล ะ 1 ครั้ง และตรวจสุขภาพฟน อยา งนอ ย 4 เดอื นตอครงั้ รวมไปถึงการไดรบั การฉดี วัคซีนเพ่ือสรา ง ภูมิคุมกันโรคตามที่กระทรวงสาธารณสุขไดกําหนดไว ในวัยผูใหญ ควรไดรับการตรวจสุขภาพ อยา งนอ ยปล ะ 1 ครง้ั เพอ่ื ประเมินสมรรถภาพการทํางานของอวัยวะตาง ๆ ในรา งกาย สว นใน วัยผูสูงอายุ ควรไดรบั การตรวจสขุ ภาพอยา งละเอยี ดและสมํา่ เสมออยา งนอย 6 เดอื นตอครงั้ เพอ่ื จะไดค น หาขอ บกพรอ งทางดา นรา งกายตา ง ๆ นอกจากนบี้ คุ คลโดยทว่ั ไปควรไดร บั การตรวจสขุ ภาพ ในสถานการณอ ื่น ๆ เชน ตรวจสุขภาพกอ นแตง งานหรือตรวจสุขภาพกอนเขา ทํางาน

หนงั สือเรยี น รายวชิ าพน้ื ฐาน สุขศึกษา ม. 6 21 วัยเด็กควรไดรับการฉดี วัคซีน เพือ่ สรา งภูมคิ ุม กนั โรค สุขภาพฟนถือเปนสง่ิ สำคัญ ทุกคน จงึ ควรไดรับการตรวจจากทันตแพทย อยา งสมำ่ เสมอ 2. การตรวจสขุ ภาพเมื่อมีอาการผิดปกติเกดิ ขึ้น ทกุ คนควรหมั่นสังเกตสุขภาพของตนเอง อยเู สมอ หากพบความผดิ ปกตหิ รอื มอี าการของการเจบ็ ปว ยเกดิ ขนึ้ ควรรบี ไปพบแพทยเ พอื่ ทจ่ี ะได ทําการรักษาอยางทันทวงที เพราะการคนพบอาการของโรคในระยะแรก แพทยจะสามารถรักษา ใหหายขาดไดงายกวาการคนพบโรคเมื่อมีอาการมากแลว ตัวอยางอาการผิดปกติที่แสดงออกมา และควรไปพบแพทย เชน นา้ํ หนักตวั ลดลงอยางรวดเรว็ หรือปวดเสียดหนา อกเปนคร้ังคราว หากพบความผิดปกติของรางกายควรรีบไปพบแพทยเ พอื่ ที่จะไดท ำการรกั ษา อยา งทนั ทว งที และยังเปน การปองกันการลกุ ลามของโรค

22 หนังสือเรยี น รายวิชาพนื้ ฐาน สุขศึกษา ม. 6 2.3 ตวั อยา งการวางแผนดแู ลสุขภาพของบุคคลในครอบครวั การมีสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัวจะสําเร็จไดน้ันจะตองนําแนวทางการวางแผนดูแล สขุ ภาพมาจดั ทําเปนแผนการปฏิบัตติ ามข้ันตอน ดังนี้ ขนั้ ตอนที่ 1 สาํ รวจสขุ ภาพของบคุ คลในครอบครวั โดยสงั เกตสขุ ภาพของบคุ คลในครอบครวั ไดแก การชั่งน้ําหนัก วัดสวนสูง ตรวจสขุ ภาพประจาํ ป เพอ่ื คนหาความผดิ ปกตดิ า นสขุ ภาพของ สมาชกิ ในครอบครัวแตล ะคน ขั้นตอนท่ี 2 กาํ หนดวิธกี ารดแู ลสุขภาพ จากทไี่ ดสาํ รวจสุขภาพของบุคคลในครอบครวั ใน ขั้นตอนที่ 1 ถาหากตรวจพบความผิดปกติหรือบกพรองในสุขภาพดานใดใหวางแผนเพื่อแกไข ปญ หาสขุ ภาพดงั กลา ว แตถ า สาํ รวจสขุ ภาพแลว ไมพ บปญ หาสขุ ภาพใด ๆ กใ็ หก าํ หนดวธิ กี ารวางแผน ดแู ลสขุ ภาพใหดาํ รงประสิทธิภาพไว ข้ันตอนที่ 3 ปฏบิ ตั ติ ามวิธกี ารดูแลสุขภาพ โดยใหป ฏิบตั ติ ามวธิ กี ารดแู ลสขุ ภาพทกี่ าํ หนด ไวในข้ันตอนที่ 2 ขั้นตอนท่ี 4 ตรวจสอบ ติดตาม และประเมนิ ผลการปฏิบตั ิ ตามวิธีการดแู ลสขุ ภาพของ บคุ คลในครอบครวั เปนระยะ ๆ ขน้ั ตอนที่ 5 ปรบั ปรงุ แกไข โดยนําผลทไ่ี ดจากการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการ ปฏบิ ัติมาวางแผนกําหนดวิธีการดแู ลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว โดยแกไขปญ หาขอ บกพรอ ง ทพี่ บในครงั้ แรกใหดขี น้ึ ตัวอย‹างตารางการวางแผนดแู ลสุขภาพของนายหน‹มุ และครอบครวั รายการวางแผนดแู ลสขุ ภาพ บคุ คล ดาŒ น ดŒาน ดŒาน ดาŒ นการตรวจ ในครอบครัว โภชนาการ การออกกำลงั กาย การพักผอ‹ น สขุ ภาพและ สรŒางเสรมิ ความ ตาŒ นทานโรค 1. นายหนมุ‹ รบั ประทานอาหาร ออกกำลังกาย นอนหลับวันละ ตรวจสุขภาพ (วยั รุน) ใหค รบ 5 หมู แบบแอโรบกิ 8 ชว่ั โมง และ ปละ 1 คร้งั และ ในแตละมอื้ อยางหลากหลาย ปฏบิ ตั กิ จิ กรรม ตรวจสขุ ภาพฟน เนน อาหารท่ี ไดแ ก วง่ิ วา ยนำ้ นันทนาการ ปล ะ 2 ครัง้ และ ใหโปรตนี และ เตะฟตุ บอล ในวนั หยดุ เพ่อื ฉีดวัคซีนกระตนุ พลงั งาน วันละ 30 นาที ผอนคลาย ความตานทาน- ทุกวนั ความเครยี ด โรคตามความ ไดแ ก เลน ดนตรี เหมาะสม กบั เพ่อื น

หนังสอื เรียน รายวชิ าพ้นื ฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 23 รายการวางแผนดแู ลสุขภาพ บคุ คล ดาŒ น ดŒาน ดาŒ น ดาŒ นการตรวจ ในครอบครวั โภชนาการ การออกกำลงั กาย การพกั ผอ‹ น สุขภาพและ 2. คณุ แม‹ สราŒ งเสริมความ (วยั ผูใหญ) รบั ประทานอาหาร ออกกำลังกาย นอนหลบั วันละ ตŒานทานโรค ใหค รบ 5 หมู แบบแอโรบิก 6 ช่ัวโมง และ ตรวจสขุ ภาพ 3. คุณยาย ในแตล ะมอ้ื ที่ชนื่ ชอบและ ทำงานอดเิ รก ปล ะ 1 ครง้ั และ (วัยสงู อาย)ุ หลีกเล่ียงอาหาร คำนึงถึงโรค ท่ผี อนคลาย ตรวจสขุ ภาพฟน ทห่ี วานจัด และ ประจำตวั ความเครยี ดใน ปละ 2 ครัง้ และ ไขมันสงู ไดแ ก เดนิ เรว็ เวลาวาง ไดแ ก ฉดี วคั ซีนกระตนุ โยคะ โดย การจดั ดอกไม ความตานทาน- ปฏิบตั ิ 3 วนั ตอ โรคตามความ สปั ดาห วนั ละ เหมาะสม 30 นาที ตรวจสขุ ภาพ รบั ประทานอาหาร ออกกำลงั กายใน นอนหลบั วนั ละ อยางสมำ่ เสมอ ใหครบ 5 หมู รูปแบบทไ่ี มหนัก 9 ชั่วโมง และ อยา งนอย ในแตล ะม้ือ เนน จนเกนิ ไป เชน ทำกจิ กรรมที่ 6 เดือนตอคร้ัง อาหารที่ยอยงาย รำมวยจีน ช่นื ชอบ ไดแ ก และตรวจสุขภาพ ไขมนั ต่ำ เดินเร็ว แกวง - เขา รวมในงาน ฟน ปล ะ 2 ครง้ั แขนไปมา เปน พิธที างศาสนา เวลา 30 นาที หรือถือศลี สปั ดาหล ะ 3 วนั ปฏบิ ตั ธิ รรม เม่อื ไดตารางการวางแผนดแู ลสุขภาพแลว นายหนมุ และสมาชกิ ในครอบครวั จะตองนําแผน ดังกลาวไปจัดทาํ รายละเอียดการปฏบิ ัตติ อไป เสร็จแลวนาํ ไปใหบคุ คลในครอบครวั ไดปฏบิ ัติตาม แผนของตนเอง บันทึกผลการปฏิบัติ หาขอปรับปรุงแกไข เพื่อพัฒนาแผนการดูแลสุขภาพ ของบคุ คลในครอบครวั ใหด ีย่ิงข้ึนตอไป

24 หนงั สือเรยี น รายวชิ าพนื้ ฐาน สขุ ศึกษา ม. 6 กิจกรรมเรยี นรู...สูป ฎบิ ติ • เพ่อื ความเขาใจทคี่ งทนใหนักเรียนปฏบิ ัติกิจกรรมตอ ไปนี้ เขยี นแผนการดแู ลสขุ ภาพของตนเองและสมาชกิ ในครอบครวั แลว จดั ทาํ เปน แฟม สะสมผลงาน 2.5 หนว ยงานท่ใี หค ําปร�กษาในการวางแผนดูแลสขุ ภาพของบุคคลใน ครอบครัว ปจจุบันมีหนวยงานท่ีอยูในสังกัดท้ังภาครัฐบาลและภาคเอกชน ท่ีสามารถใหคําปรึกษา ในเรือ่ งของการวางแผนดูแลสุขภาพทงั้ สวนบคุ คลและครอบครวั ดังนี้ 1. โรงพยาบาลในชุมชนใกลŒบŒาน ปจจุบันโรงพยาบาลในชุมชนท้ังท่ีสังกัดภาครัฐบาลและ ภาคเอกชนสว นใหญไดม ีนโยบายการเปนโรงพยาบาลสรา งเสริมสุขภาพ โดยจะมงุ เนน เร่อื งการให ประชาชนในชุมชนมีการดูแลสุขภาพของตนเองไมใหเจ็บปวยมากกวาการเนนไปที่การรักษา ซึ่ง สามารถขอรบั คําปรกึ ษาไดโ ดยตรงที่ฝายสง เสริมสขุ ภาพภายในโรงพยาบาล 2. ศนู ยบ รกิ ารสาธารณสขุ ใกลบŒ าŒ น เปน หนว ยงานทมี่ ที ง้ั ในกรงุ เทพมหานครและตา งจงั หวดั โดยในกรุงเทพฯ จะสังกัดสาํ นกั อนามัย กรงุ เทพมหานคร สว นในพ้ืนทีต่ า งจงั หวดั จะสังกดั สวน เทศบาลจงั หวัด มคี วามสําคญั ในเร่ืองการรักษาและดแู ลสุขภาพของบุคคลในครอบครวั และชมุ ชน อกี หนว ยงานหนงึ่ ภายในศนู ยอ นามยั ชมุ ชนและศนู ยบ รกิ ารสาธารณสขุ จะมนี กั วชิ าการสาธารณสขุ เปน ผูด แู ลและใหค ําปรึกษา 3. สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เปนหนวยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขท่ีมีหนาที่ให บรกิ ารทางดา นสขุ ภาพแกท กุ ชมุ ชนในจงั หวดั โดยสามารถขอรบั คาํ ปรกึ ษาไดท น่ี กั วชิ าการสาธารณสขุ ประจําจังหวัด 4. โรงพยาบาลส‹งเสริมสุขภาพตําบล (รพ.สต.) หรือสถานีอนามัยเดิม ซ่ึงจัดเปนสถาน พยาบาลประจาํ ตาํ บลสงั กดั กระทรวงสาธารณสขุ มหี นา ทห่ี ลกั ในการสรา งเสรมิ สขุ ภาพ การควบคมุ และปอ งกนั โรค การรกั ษาพยาบาล และการฟน ฟสู ภาพ รวมท้งั การจดั การปจ จยั เส่ยี งตอ สุขภาพ ทง้ั ในระดบั บคุ คล ครอบครวั ชมุ ชน และสงั คม ซง่ึ สามารถขอรบั คาํ ปรกึ ษาไดโ ดยตรงทโ่ี รงพยาบาล สง เสริมสขุ ภาพตําบลใกลบา น

หนังสอื เรยี น รายวชิ าพืน้ ฐาน สขุ ศึกษา ม. 6 25 นานา นารู ความเปนมาของโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพประจำตำบล สืบเน่ืองจากนโยบายของรัฐบาลในการ ตองการปรับปรุงสุขภาพของภาครัฐทุกระดับใหไดมาตรฐาน โดยยกระดับสถานีอนามัยเปนโรงพยาบาล สงเสริมสุขภาพประจำตำบลและพัฒนาระบบเครือขายสงตอในทุกระดับใหมีประสิทธิภาพ รวมถึงแนวทาง การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่ควรใหความสำคัญในระดบั ปฐมภมู ิ (primary care) ตรงกับหลักการ “สรา งนำซอม” มุง จดั การท่ตี นเหตขุ องปญหาสุขภาพ พื้นทบี่ รกิ ารระดบั ตำบลจึงเปน ดานแรกและพืน้ ฐานที่ สำคญั โดยเฉพาะเปน การใหบ รกิ ารแกผ ทู ม่ี ฐี านนะยากจนและประชาชนทวั่ ไปซงึ่ เปน ประชาชนสว นใหญข อง ประเทศ ที่มา: http://hph.moph.go.th/?modules=Content&action=history กิจกรรมเรียนร.ู ..สปู ฎบิ ติ • เพ่อื ความเขา ใจท่คี งทนใหน กั เรยี นปฏิบตั กิ ิจกรรมตอไปน้ี แบงกลมุ กลุม ละ 5–6 คน รวมกันสํารวจหนว ยงานในชมุ ชนทส่ี ามารถขอรับคําปรึกษาเกี่ยวกบั การ วางแผนสขุ ภาพของบุคคลในครอบครัว ชมุ ชน และสงั คมได แลว นําเสนอหนา ชัน้ เรยี น แหลง สบื คน ความรู นักเรียนสามารถสืบคนความรูเกี่ยวกับเรื่อง การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว เพิ่มเตมิ ไดจ ากการสอบถามครูอาจารย แพทย พยาบาล เจา หนาที่สาธารณสขุ ในชุมชน หรือศึกษาจาก สอ่ื /เอกสารทางวิชาการท่ีเก่ยี วของ หรอื ทเ่ี ว็บไซต ตัวอยา งเชน http://hph.moph.go.th หรือ http:// www.thaihealth.or.th/ ตอ จากนนั้ บนั ทกึ ผลการศกึ ษาคน ควา และคาํ ถามทส่ี งสยั ลงในสมดุ บนั ทกึ นาํ ไป รายงานผลในการเรยี นครัง้ ตอ ไป

26 หนังสือเรียน รายวิชาพน้ื ฐาน สุขศึกษา ม. 6 บทสรปุ หน‹วยการเรยี นรŒทู ี่ 1 นกั เรยี นสามารถสรปุ ทบทวนความรโู ดยใชว ธิ กี ารจนิ ตภาพจากผงั มโนทศั น (concept map) เพ่ือสรปุ องคค วามรไู ดด งั นี้ เรย� นรตู วั เรา เรยี นรูเกย่ี วกบั ระบบตา ง ๆ ของรา งกาย ระบบประสาท ระบบสบื พันธุ ระบบตอ มไรทอ องคประกอบ องคประกอบ ตอมไรทอ สวนกลาง ประกอบดว ย สมอง เพศชาย ประกอบดวย อัณฑะ ในรา งกาย สวนปลาย ไขสนั หลัง ถงุ หมุ อัณฑะ เพศหญงิ หลอดเกบ็ ตวั อสุจิ ประกอบดว ย หลอดนำตวั อสจุ ิ ตอ มใตส มอง ตอมหมวกไต ตอมไทรอยด ประกอบดวย ตอ มสรางนำ้ เลยี้ งอสจุ ิ ตอ มพาราไทรอยด ประกอบดว ย ตอมลูกหมาก ตอมทอ่ี ยใู นตบั ออ น รังไข ตอมคาวเปอร เสนประสาท ทอนำไข ตอ มเพศ มดลูก เสน ประสาทไขสนั หลัง ชอ งคลอด ตอมไทมสั ระบบประสาทอตั โนมตั ิ การทำงาน โดย ประสานสมั พนั ธ การสรางเสริมและ การสรา งเสรมิ และ กับระบบกลามเนอื้ ดำรงประสิทธิภาพ ดำรงประสทิ ธภิ าพ การสรางเสรมิ และ เชน เชน ดำรงประสทิ ธิภาพ งดเครอ่ื งดมื่ ที่มแี อลกอฮอล ด่มื น้ำ 6–8 แกวตอ วัน เชน ทำความสะอาดรา งกายทกุ วนั ออกกำลงั กายสมำ่ เสมอ ไมส ำสอ นทางเพศ ระวงั ไมใ หศีรษะถกู กระทบกระเทอื น พกั ผอนใหเพียงพอ คิดในเชงิ บวก รับประทานอาหารทมี่ ีประโยชน หลกี เลยี่ งสารเสพตดิ และยาที่มผี ลตอสมอง ผอ นคลายความเครยี ด

หนังสอื เรยี น รายวิชาพ้นื ฐาน สุขศึกษา ม. 6 27 เร�ยนรูตัวเรา (ตอ ) เรียนรเู กยี่ วกบั การวางแผนดแู ลสขุ ภาพของตนเอง แนวทางในการวางแผนดแู ลสุขภาพ หนว ยงานท่ีใหคําปร�กษาในการวางแผน ของบุคคลในครอบครัว ดแู ลสุขภาพของบุคคลในครอบครวั ดาน ไดแ ก โภชนาการ โรงพยาบาลในชมุ ชนใกลบ า น ศนู ยบรกิ ารสาธารณสขุ ใกลบ า น โดย สำนกั งานสาธารณะสขุ จังหวัด ศกึ ษาความรูเ กย่ี วกับอาหารตามวัย โรงพยาบาลสงเสริมสขุ ภาพตำบล (รพ.สต.) สงเสริมสุขนสิ ัยที่ดีในการรับประทานอาหาร ระมัดระวงั ในการจดั เตรียมอาหารสำหรับบุคคล ในครอบครวั ทีม่ โี รคประจำตัว การออกกำลังกาย โดย ศกึ ษารปู แบบการออกกำลังกายใหเหมาะสมกับ เพศ วยั และสภาพรางกาย กำหนดโปรแกรมการออกกำลังกายใหเหมาะสม การพกั ผอน โดย นอนหลับพกั ผอ นใหเพยี งพอและเหมาะสมกบั ชว งวยั ปฏบิ ัตกิ ิจกรรมนนั ทนาการในเวลาวางตามความเหมาะสม การวางแผนการตรวจสขุ ภาพและสรา งเสรมิ ความตา นทานโรค โดย เขา รบั การตรวจสขุ ภาพทัว่ ไปเปนประจำทกุ ปและตรวจสุขภาพ เฉพาะกรณตี ามความเหมาะสม หมน่ั ดแู ลและสงั เกตสุขภาพ หากพบความผิดปกตติ อ งรีบไป พบแพทย

28 หนงั สือเรียน รายวชิ าพื้นฐาน สขุ ศึกษา ม. 6 กจิ กรรมเสนอแนะ • เพอ่ื ความเขา ใจท่ีคงทนใหน ักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตอ ไปนี้ 1. รวบรวมภาพและบทความเกยี่ วกบั ระบบประสาท แลวจดั ปายนเิ ทศหนา หองเรียน 2. รวมกันอภิปรายและสรปุ เรื่อง การวางแผนดูแลสขุ ภาพของบคุ คลในครอบครวั 3. แบงกลุมออกเปน 6 กลุม ศึกษาคนควา และอภิปรายหนาชั้นเรียนในเร่ืองตอไปนี้ (เลอื กกลมุ ละ 1 หัวขอ) 1) แอลกอฮอลและความเครยี ดสง ผลตอการทำงานของระบบสบื พนั ธุไ ดอ ยา งไร 2) อาหารท่สี ง เสรมิ การทำงานของระบบตอ มไรท อ 3) การวางแผนดแู ลสุขภาพบคุ คลในครอบครัว 4) หนว ยงานทีใ่ หคำปรึกษาเรอื่ งการวางแผนดูแลสุขภาพ ถานักเรียนสนใจเรื่องอน่ื มากกวาที่กำหนดน้ี จะชวยกนั ตัง้ ช่ือเรื่องหรอื หัวขอ ข้นึ ใหม แลว อภิปรายตามเร่อื ง หรือหัวขอท่ีตั้งน้ันก็ได (เรื่องหรือหัวขอท่ีต้ังข้ึนนั้นจะตองสัมพันธเกี่ยวของโดยตรงกับเน้ือหาในบทเรียน หรอื เปน ความคดิ เก่ียวกบั ที่มาหรอื สบื เนือ่ งตอจากเน้ือหาของบทเรยี น) 4. ศกึ ษาคน ควา จากหอ งสมดุ หรอื แหลง วทิ ยาการอนื่ ๆ เขยี นรายงานเรอ่ื งตอ ไปนเี้ ปน แบบรายงาน สงั เขป หรอื ตามแบบที่ผสู อนกำหนด (เลือก 1 ขอ ) 1) โภชนาการกบั สุขภาพทด่ี ีของบุคคลในครอบครวั 2) การวางแผนดูแลสุขภาพของบคุ คลแตล ะวยั ในครอบครวั 3) การเลือกรปู แบบการออกกำลังกายทีเ่ หมาะสมกบั บุคลในครอบครวั (หรอื นกั เรียนจะศกึ ษาคนควา เรอ่ื งอนื่ ท่ีตนสนใจนอกจากท่กี ำหนดใหน กี้ ไ็ ด นกั เรียนพิจารณาวาควรเกบ็ รายงานในแฟมผลงานหรอื ไม โดยอาจพจิ ารณาความคิดเหน็ จากกลุม เพอ่ื น และ/หรือผปู กครอง)

หนงั สือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 29 โครงงาน • เพ่ือความเขา ใจที่คงทนใหนักเรียนปฏิบตั ิกจิ กรรมตอไปนี้ เลอื กทำโครงงานตอ ไปนี้ (เลือก 1 ขอ) หรอื อาจเลือกทำโครงงานอน่ื ตามความสนใจหรือ ตามรูปแบบโครงงานท่ีครูกำหนด (ซึ่งอยางนอยตองมีหัวขอตอไปนี้ เหตุผลที่เลือกโครงงานนี้ จดุ ประสงค และแผนการปฏิบัติการ) 1. โครงงานการสำรวจเรอื่ ง สถติ ขิ องผปู ว ยเกย่ี วกบั ระบบประสาท ระบบสบื พนั ธ และระบบ ตอ มไรทอในโรงพยาบาลของชมุ ชน 2. โครงงานการศกึ ษาคน ควา เรอ่ื ง พฤตกิ รรมของบคุ คลทสี่ ง ผลเสยี ตอ ระบบประสาท ระบบ สบื พนั ธุ และระบบตอ มไรท อ 3. โครงงานการศึกษาคน ควาเรอื่ ง โปรแกรมการตรวจสขุ ภาพสำหรบั บุคคลวัยตาง ๆ ใน ครอบครวั หมายเหต:ุ โครงงานท่ีเลือกตามความสนใจควรไดร ับคำแนะนำแกไขจากผสู อน เม่อื ไดรบั ความเห็นชอบ แลว จงึ ดำเนนิ โครงงานนน้ั ๆ โดยผสู อน/ผปู กครอง/กลมุ เพอ่ื นประเมนิ ลกั ษณะกระบวนการทำงาน และนกั เรยี น ควรมีการสรปุ แลกเปล่ียนความรซู ่ึงกนั และกันกอ นพิจารณาเก็บในแฟม สะสมผลงาน การประยกุ ตใ ชใ นชีวติ ประจาวน 1. นกั เรยี นบันทกึ การสรา งเสรมิ สุขภาพของตนเองใน 1 สัปดาหท ม่ี สี วนชว ยพัฒนาประสิทธิภาพ การทํางานของระบบประสาท ระบบสืบพันธุ และระบบตอมไรทอของตนเอง และนํามา แลกเปลย่ี นกันอา นกับเพ่ือนในชัน้ เรียน 2. นักเรียนเขียนแสดงแนวทางการวางแผนการดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวตามความ คิดเหน็ ของตนเอง โดยจัดทาํ เปน รายงานนําเสนอหนา ช้ันเรียน

30 หนังสือเรยี น รายวชิ าพื้นฐาน สุขศกึ ษา ม. 6 คาถามประจาหนว ยการเรียนรทู ี่ 1 ตอบคาํ ถามต‹อไปนี้ 1. ถาระบบหนงึ่ ระบบใดในรา งกายทํางานผิดปกตจิ ะสง ผลกระทบตอระบบอนื่ ๆ ดว ย เพราะ เหตุใดจึงเปนเชนนัน้ 2. การเกิดความเครียดสงผลเสียตอ ระบบประสาทอยางไร 3. ตอมไรทอ มีความสําคญั ตอ การเจริญเติบโตและพฒั นาการของนักเรยี นอยา งไร 4. บคุ คลทด่ี ่ืมแอลกอฮอลเ ปนประจําจะสง ผลตอ การทาํ งานของระบบตอ มไรทอ อยา งไร 5. การวางแผนดแู ลสขุ ภาพมีประโยชนต อ สุขภาพอยา งไร 6. การวางแผนดแู ลสขุ ภาพของบคุ คลในครอบครวั มคี วามสมั พนั ธก บั สขุ ภาพของนกั เรยี นอยา งไร 7. นักเรียนจะวางแผนดานโภชนาการใหกับสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนใหมีสุขภาพดี ไดอยางไร 8. ถาบุคคลในครอบครัวของนักเรียนไมคอยไดออกกําลังกาย นักเรียนจะแกไขปญหาโดย วางแผนการออกกาํ ลังกายใหกับสมาชิกในครอบครวั อยา งไร 9. นักเรียนกับสมาชิกในครอบครัวตองการเวลาในการพักผอนเหมือนหรือแตกตางกันอยางไร เพอื่ การมีสขุ ภาพท่ีดี 10. หนวยงานที่ใหคําปรึกษาเร่ืองการวางแผนดูแลสุขภาพ มีความสําคัญตอสุขภาพของคนใน ครอบครวั อยา งไร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook