Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือสารคดี ชุด จิตวิญญาณแห่งศาสตรา

หนังสือสารคดี ชุด จิตวิญญาณแห่งศาสตรา

Published by ครูปภาดา เจ้าค่ะ, 2021-09-14 07:34:25

Description: หนังสือสารคดี ชุด จิตวิญญาณแห่งศาสตรา
สนับสนุนโดย โครงการ KPI NEW GEN สถาบันพระปกเกล้าเทศบาลตำบลเวียงตาล โรงเรียนเวียงตาลพิทยาคม อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง

Search

Read the Text Version

LANNA ANCIENT WEAPON ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร์ ข อ ง ศ า ส ต ร า วุ ธ โ บ ร า ณ ลำ ป า ง ขั้ น ต อ น ก า ร ผ ลิ ต ด า บ โ บ ร า ณ ณ แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ ตำ บ ล เ วี ย ง ต า ล อำ เ ภ อ ห้ า ง ฉั ต ร จั ง ห วั ด ลำ ป า ง บทสัมภาษณ์พิ เศษ โดย ปราชญ์ท้องถิ่นแห่งตำบลเวียงตาล ส นั บ ส นุ น โ ด ย โครงการ KPI NEW GEN สถาบันพระปกเกล้า เทศบาลตำบลเวียงตาล โรงเรียนเวียงตาลพิ ทยาคม

จิตวิญญาณ แห่งศาสตรา

ภาพจากปก ภาพดาบล้านนา ถ่ายภาพ : นายนฤทธิ์ เถื่อนเจริญ

จิตวิญญาณ แห่งศาสตรา LANNA ANCIENT WEAPON สนับสนุนโดย KPI NEW GEN สร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น'64 สถาบันพระปกเกล้า เทศบาลตำบลเวียงตาล โรงเรียนเวียงตาลพิ ทยาคม จัดทำโดย ทีมสภานักเรียนโรงเรียนเวียงตาลพิทยาคม

จิตวิญญาณ แห่งศาสตรา LANNA ANCIENT WEAPON 05 จากทีมบรรณาธิการ โดยทีมสภานักเรียนโรงเรียนเวียงตาลพิ ทยาคม 07 ประวัติศาสตร์ ของศาสตราวุธโบราณลำปาง 19 ขั้นตอนการผลิตดาบโบราณ ทำความรู้จักขั้นตอนการผลิตดาบโบราณ โดย ปราชญ์ท้องถิ่นในตำบลเวียงตาล ซึ่งเป็นผู้ สืบทอดและอนุรักษ์ภูมิปัญญาโบราณนี้ไว้ 29 บทสัมภาษณ์พิ เศษ โดย ปราชญ์ท้องถิ่นแห่งตำบลเวียงตาล ทั้ง 5 ท่าน ที่ทางทีมงานจัดให้แบบ Exclusive แบบ สุดๆ 0 4 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

จากทีม เหตุที่ทำให้พวกเราจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เนื่องจากเราได้แรงบันดาลใจมา บรรณาธิการ จากการที่เคยเรียนวิชาช่างผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น โดยปราชญ์ในท้องถิ่นของ เราเอง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการผลิตดาบโบราณของลำปาง และได้มีโอกาส โดย เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของดาบโบราณลำปาง จากพระอาจารย์ ของเราเอง คือ พระปลัดขจรศักดิ์ ธมฺมวโร เจ้าอาวาสวัดดอนไชย ที ม ส ภ า นั ก เ รี ย น โ ร ง เ รี ย น เ วี ย ง ต า ล พิ ท ย า ค ม และเป็นผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ศาสตราวุธโบราณลำปาง ซึ่งตั้งอยู่ ณ วันดอนไชย บ้านเหล่า ต.เวียงตาล ของเรานี่เอง ยิ่งได้สนทนา พวกเราคือทีมสภานักเรียนโรงเรียนเวียงตาลพิทยาคมซึ่งพวกเรา กับพระอาจารย์มากขึ้น ความอยากรู้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น คำถามในหัวก็เพิ่ม ก็คือเยาวชนในพื้นที่ตำบลเวียงตาล อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง มากขึ้นเรื่อยๆ และความอยากรู้มันยิ่งทวีคูณขึ้น เมื่อได้รู้ว่า ตำบลเวียงตาล นั่นเอง พวกเราได้จัดทำโครงการ \"สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ของพวกเรา ในอดีตคือแหล่งผลิตศาสตราวุธโบราณที่ใหญ่ที่สุดของ เวียงตาล จิตวิญญาณแห่งศาสตราวุธโบราณ\" ขึ้น โดยได้รับ ล้านนา ความตื่นเต้นนี่แหละ ที่ทำให้พวกเราอยากถ่ายทอดประสบการณ์ การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ใจดี ดังนี้ และเรื่องราวเหล่านี้ สู่เพื่อนๆและน้องๆเยาวชนในท้องถิ่นของเรา ซึ่งเรามี 1. โครงการ KPI NEW GEN สร้างสรรค์นวัตกรรมท้องถิ่น'64 ของดี ของล้ำค่าอยู่ใกล้ตัวขนาดนี้ แต่หลายคนยังไม่มีโอกาสได้รับรู้หรือ 2. สถาบันพระปกเกล้า รู้จัก เรามาร่วมกันเรียนรู้ สืบสาน และต่อยอดไปด้วยกัน เพื่อให้ 3. เทศบาลตำบลเวียงตาล จิตวิญญาณของศาสตราวุธโบราณลำปาง ยังคงอยู่ที่นี่ต่อไป 4. โรงเรียนเวียงตาลพิทยาคม และไม่สูญหายไปจากตำบลเวียงตาลของเรา 0 5 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

\"งานศิลป์ งานช่าง ที่มีความเป็นศิลปะ ถ้าเรายังอยู่กันแบบนี้ ไม่สืบสานไม่ต่อยอด อีกหน่อยมันก็อาจลื่นไหล ไปเป็นของที่อื่น มันคือการลื่นไหลของวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรมมันเคลื่อนที่ได้ เคลื่อนย้ายไปตามผู้คน ไปตามการเรียนรู้\" พ ร ะ ป ลั ด ข จ ร ศั ก ดิ์ ธ มฺ ม ว โ ร เ จ้ า อ า ว า ส วั ด ด อ น ไ ช ย แ ล ะ ผู้ ก่ อ ตั้ ง ศู น ย์ ก า ร เ รี ย น รู้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ศ า ส ต ร า วุ ธ โ บ ร า ณ ลำ ป า ง 0 6 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ประวัติศาสตร์ ศาสตราวุธ โบราณลำปาง โดย ที ม ส ภ า นั ก เ รี ย น โ ร ง เ รี ย น เ วี ย ง ต า ล พิ ท ย า ค ม อาวุธถูกสร้างขึ้นไว้เพื่อป้องกันการรุกรานจากศัตรูชาติอื่น จากหลังฐานทางโบราณคดีในประเทศไทยยุคก่อน ประวัติศาสตร์ได้ปรากฏว่าเราเริ่มมีการใช้อาวุธเมื่อ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว โดย อาวุธในสมัยเริ่มแรกนั้นทำจากหิน และกระดูกสัตว์เป็นส่วนใหญ่ และได้วิวัฒนาการขึ้นมา เรื่อยๆ จนเป็นอาวุธที่ทำจากโลหะ จากการที่เผ่าพันธุ์มนุษย์ สามารถถลุงแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ เช่น ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เหล็ก มาประดิษฐ์เป็นอาวุธ \"อาวุธที่ใช้นั้น มักจะถูกประดิษฐ์คิดค้น ให้มีรู ปร่างและทรวดทรงที่เหมาะสม กับประโยชน์ในการใช้งาน\" เป็นอาวุธประจําตัว ใช้พกประจํากายและใช้ในการสงคราม โดยอาวุธหลักๆที่ชายชาตรี มักจะพกและมีไว้ติดตัว ส่วนใหญ่จะเป็นดาบ นอกจากนี้ยังมีอาวุธอื่นๆ ที่ได้สร้างขึ้น เพื่อใช้ในการสงคราม คือ ทวน ธนู แหลน หลาว ง้าว หอก ฯลฯ ซึ่งจะใช้ควบคู่กันอยู่ และใช้ต่อมาดังพบเห็นได้ ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆในปัจจุบัน 0 7 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ในอดีตชายหนุ่มล้านนา เมื่อออกเรือนแต่งงานจะมีเพียงหีบ ผ้าใหม่กับดาบหนึ่งเล่มเท่านั้น ที่พกติดตัวออกเรือนไป ดาบคู่กายถือเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้องคุ้มครอง ดาบ ยังเป็นสัญลักษณ์ของการปราบอธรรม อีกด้วย ดังนั้นใน อดีตผู้ชายทุกคนจะสะพายดาบติดตัวไปทุกที่ โดยเฉพาะ เวลามีงานในชุมชน หรือ ต่างถิ่น เหล่าชายชาตรีก็มักจะ สะพายดาบออกมาอวดสาวชาวบ้าน ดาบของผู้มีฐานะ หน่อย ก็จะประดับตกแต่งฝักด้ามด้วยงานหุ้มเงินดุนลาย บุคคลธรรมดาก็จะมีเพียงงานรัดหวาย แต่การตกแต่งดาบ นั้นใช่ว่าจะเป็นจุดสนใจของหญิงสาวแต่เพียงสิ่งเดียว เท่านั้น อีกหนึ่งสิ่งที่ทําให้หญิงสาวสนใจคือ เชิงดาบเชิง ศิลป์และลีลาของการฟ้อนเจิงดาบของแต่ละคน เพราะใน อดีตนั้นเวลามีงานภายในชุมชน ก็จะมีการตีกลองหรือเล่น ดนตรีพื้นบ้าน เช่น วงกลองปู่เจ กลองสิ่งหม้อง เป็นต้น เมื่อเสียงจังหวะ กลองเหล่านี้บรรเลงขึ้น เหล่าชายหนุ่มก็ มักจะวาดอวดลวดลายเจิง ฟ้อนถวายเป็นพุทธบูชาหรือ เพื่อให้คนและเทวดาได้ชื่นชม แต่สิ่งสําคัญของการฟ้อนเจิง นี้ก็เพื่อให้เป็นการโชว์ลีลาเจิงดาบ ให้กับ หญิงสาวที่ตน หมายปองได้เห็นถึงลีลาและความสามารถ \"ผู้ชายถือดาบ ได้กระชับมั่นผู้หญิงคู่ครอง ที่อยู่เคียงข้างก็ดูจะอุ่นใจ\" ดาบ จึงเป็นอาวุธที่แพร่หลายทั่วไปในกลุ่มชายชาวล้านนา และเป็นอาวุธคู่กายที่นิยมใช้ที่สุด ดาบจะมีด้ามจับสั้น นิยมทําด้วยไม้ไผ่ เพราะมีความยืดหยุ่นและเหนียวหรือใน กรณีเป็นเครื่องศาตราวุธ ของชนชั้นผู้นํา หรือเป็นอาวุธ ประจําตําแหน่งเจ้าพญา ขุน ก็จะหุ้มด้วยแผ่นเงิน แผ่นทอง ที่เรียกว่า “หลูบเงิน หลูบคํา” ส่วนใบดาบนั้น จะมีความยาว เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับสัดส่วนร่างกายของเจ้าของดาบ ใบดาบ เป็นโลหะเหล็ก ซึ่งแร่โลหะเหล็กดังกล่าวนั้น อาจจะเป็น บ่อแร่เหล็กที่แตกต่างกันไป เช่น บ่อเหล็กเมืองลอง บ่อ เหล็กน้ําพี้ เป็นต้น 0 8 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

หากเป็นดาบที่จับมือเดียว ด้ามจับจะสั้นขนาดที่ ยาวกว่าความกว้างฝ่ามือเพียงเล็กน้อย หรือถ้าตามสัดส่วน ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับน้ําหนักใบดาบ ก็จะมีขนาดความ ยาว 2 ใน 3 ของใบ ดาบ จึงจะได้ชื่อว่าดาบเล่มนั้น มีน้ําหนักและได้ศูนย์ดี แต่ถ้าเป็นดาบที่ใช้บนหลังม้า จะเป็นดาบที่มี น้ําหนักมากซึ่งใบดาบจะยาวและมีสัดส่วนที่ ยาวกว่าดาบที่ใช้บนพื้นราบ โดยทั่วไปดาบที่พบในพื้นที่ ภาคเหนือของประเทศไทยนั้น จะเป็นดาบที่ลับคมด้านเดียว และเป็นดาบโค้งเล็กน้อย ส่วนใกล้ด้ามจับจะแคบกว่าส่วน ปลายดาบที่โค้งแหลมไปทางด้านสันดาบซึ่งจะกว้างกว่า เนื่องจากเป็น ภูมิปัญญาของคนโบราณในการที่ทําให้ ส่วนปลายใหญ่กว่าส่วนด้ามจะเป็นการเพิ่มมวลโลหะให้ ส่วนปลายเพื่อให้มีแรงเหวี่ยง แรงเหวี่ยงของมวลจะอยู่ที่ ส่วนปลายมากทําให้แรงเฉือนทะลุเครื่อง ป้องกันเข้าสู่ผิวหนังได้มากกว่า \"ดาบล้านนานั้น มีไว้เพื่อใช้งานเป็นหลัก แต่มักแฝงไว้ซึ่ง ความเชื่อเดิมไว้เช่นกัน\" มีตําราหลายๆเล่ม ที่บ่งชี้ถึงเคล็ดลับ คุณสมบัติและความ จําเพาะเจาะจงที่ เจ้าของดาบจะครอบครองเช่นกัน ดาบล้านนาโบราณ มักมีการแบ่งแยกประเภทของดาบ ได้ตาม ลักษณะรูปแบบของปลายใบดาบเป็นประเภท ได้ดังนี้ 1) ดาบปลายบัว 2) ดาบปลายแหลม 3) ดาบปลายตัด 4) ดาบปลายร้าย และดาบไทยรูปทรงต่างๆ นอกจากนี้ก็ยังมีแตกแขนงอีกมากมาย ตามความเชื่อและ ความชอบส่วนบุคคลนั้นๆดาบล้านนาที่ดี โดยเฉพาะดาบ ปลายว้ายจะต้อง ตั้งตรงได้ศูนย์แม้วางอยู่บนปลายของ สิ่งใดๆ ที่มีพื้นที่แหลมชันและจํากัด ดาบจะไม่ล้มเลย นี้คือ ภูมิปัญญาของช่างสมัยโบราณ ที่ยังคงสืบทอดต่อกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน 0 9 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

โศลกดาบ การหาดาบคู่กายนั้น คนล้านนามีคําร่ํา ถึงการถือโศลก ดาบสําหรับการเลือกซื้ออยู่หลาย สํานวนเมื่อเลือกดาบจน ได้ดังใจแล้ว ต้องมีความยาวถูกโฉลก ด้วย ความยาวดาบ เขาวัดกันโดยใช้หัว แม่มือกับนิ้วชี้จับที่โคนดาบให้ปลาย ดาบชี้ขึ้น แล้วจับสลับซ้าย-ขวา นับขึ้นไปจนถึงปลายดาบ หนึ่ง ช่วงหัวแม่มือที่จับดาบก็ท่องโศลกหนึ่งคํา ถ้าลําดับจน หมดคําโศลกแล้วให้เริ่มนับใหม่ เมื่อนับจนถึง ปลายดาบ สิ้นสุดตรงกับคําร่ําข้อใด ก็ให้ทํานายไปตามนั้น ความหมาย ของถ้อยคําดังกล่าวจะมีทั้งดี และไม่ดี กล่าวคือมีความ เป็นมงคลมากน้อยแล้วแต่กรณี ถ้าสิ้นสุดที่คําไม่เป็นมงคล ก็ถือว่าดาบเล่มนั้น ไม่ต้องโฉลกกับตัว ต้องหาดาบเล่มใหม่ ต่อไป แต่เนื่องจากโศลกมีหลายสํานวน บางคนจึงเลือกใช้ สํานวนที่ต้องโฉลกกับดาบตน ซึ่งง่ายกว่าการเลือกซื้อดาบ \"โฉลก คือ ดวงของผู้ถือครองดาบที่เหมาะสม\" การวัดดาบโดยใช้นิ้วมือนั้นจะใช้หัวแม่มือกับนิ้วชี้จับ ที่โคนดาบให้ปลายดาบชี้ขึ้นแล้วจับสลับ ซ้ายขวา นับขึ้นไป จนถึงปลายดาบหนึ่งช่วงหัวแม่มือที่จับดาบ ในขณะเดียวกัน ก็ท่องโฉลกดาบเรื่อยไป ตามลําดับ เมื่อนับจนถึงปลายดาบ สิ้นสุดกับคําร่ําในข้อใด ก็ให้ถือคําทํานายตามนั้นซึ่งคําร่ํา นั้น จะมีทั้งดีและไม่ดี หากสิ้นสุดที่คําไม่เป็นมงคลก็ถือว่า ดาบเล่มนั้นไม่ต้องโฉลกกับตัว ต้องหาดาบ เล่มใหม่ต่อไป หากตกโฉลกที่ดีก็ถือว่าเป็นดาบที่ดี ซึ่งโฉลกดาบนั้นมี หลายสํานวน แตกต่างกัน ดาบหนึ่งเล่มเมื่อใช้โฉลก สํานวนหนึ่งอาจจะตกโฉลกไม่ดี แต่หากใช้สํานวนอื่น อาจจะตกโฉลกดีก็ได้ 1 0 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

คําร่ําโศลกดาบบทหนึ่ง เป็นดังนี้ คําร่ําโศลกดาบ แบบเชียงใหม่ 1. ดาบแกะแงะ - ไม่ดี ไม่เป็นมงคล 2. ดาบแก้แง่ - ไม่ดี ไม่เป็นมงคล 3. มัดแขนแปล้คืนหลัง - ไม่ดี ไม่เป็นมงคล 4. เพิ่นชังทิ้งบ้าน - ไม่ดี มีคนชังทั่วไป 5. ขี้คร้านบ่มีของ - ไม่ดี ไม่เป็นมงคล 6. ตกชองหัวหวาก - ไม่ดี (ของ อ่าน จอง - เตียง, เรือน หวาก - แตกเป็นแผล) 7. เข้าป่าหมากตายซง - ไม่ดี (ซง อยู่ไกลผู้คน,แอบ,ซ่อนเร้น,แฝงตัว) 8. สะพายถงแอ่วค้า - ดี ค้าขายดี (ถง - ถุง) 9. ขี่ม้าแก้วแล่นเที่ยวเมือง - ดี จะได้เป็นใหญ่เป็นโต มีผู้นับถือ 10.คําเหลืองเต็มได้ - ดี ร่ํารวย 11.ไถ่เมียแก้วมานอน - ดี มีเสน่ห์ 12. ซื้อม้าพอนมาขี่ - ดี มีเงิน (พอน อ่านว่า ปอน - สีขาว) 13. นั่งแทนที่ขุนนาง - ดี มีอํานาจ 1 1 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ความเชื่อเรื่อง ผู้ที่เกิดปีไหนควรจะใช้ดาบ 4.. คนเกิดปีเหม้า หรือปีเถาะ ดาบกับชะตา ประเภทไหน ความยาวเท่าไหร่ ให้ใช้ดาบปลายแหลม สายดาบ ปีเกิด และสายดาบสีอะไร จึงจะเหมาะ สีหม่น(เทา) หรือสีขาว สม มีรายละเอียดจากชมรม ชาวล้านนายังมีความเชื่อเรื่องดาบ คนรักดาบอธิบายไว้ ดังนี้ 5. คนเกิดปีสี หรือปีมะโรง ให้ใช้ กับชะตาปีเกิดทั้ง 12 นักษัตร 1. คนเกิดปีไจ หรือปีชวด ให้ใช้ ดาบปลายแหลม สายดาบสีดํา ดาบปลายตัดหรือ ปลายแหลม สีเหลือง หรือสีแดง 1 2 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า สายดาบสีแดง หรือน้ําเงิน 6. คนเกิดปีใส้ หรือปีมะเส็ง 2. คนเกิดปีเป้า หรือปีฉลู ให้ใช้ ให้ใช้ดาบปลายเปียง สายดาบ ดาบปลายบัว สายดาบสีเขียว สีเหลือง หรือสีดํา 7. คนเกิดปีสะง้า หรือปีมะเมีย 3. คนเกิดปียี หรือปีขาล ให้ใช้ ให้ใช้ดาบปลายแหลม สายดาบ ดาบปลายตัด สายดาบสีเขียว สีแดง หรือสีน้ําตาล 8. คนเกิดปีเม็ด หรือปีมะแม ให้ใช้ดาบปลายแหลม หรือ ปลายตัด สายดาบสีขาว

ความเชื่อเรื่อง 9. คนเกิดปีสัน หรือปีวอก ให้ใช้ นอกจากนี้ ในตําราปับสาของ ดาบกับชะตา ดาบปลายแหลม สายดาบสีเขียว พ่อหนานศรี วรรณศรี ปราชญ์ ปีเกิด หรือสีคราม ชาวบ้านที่สืบทอดองค์ความรู้ และปั๊ บสามาก สายคุ้มหลวง ชาวล้านนายังมีความเชื่อเรื่องดาบ 10.คนเกิดปีเล้า หรือปีระกา เมืองลําปาง ได้กล่าวถึงปีเกิด กับชะตาปีเกิดทั้ง 12 นักษัตร ให้ใช้ดาบปลายตัด สาย ดวงชะตา ว่าด้วยปลายดาบกับ ดาบสีแดง หรือสีเหลือง เจ้าของดวง ชะตา ความยาว สัดส่วนโดยนับเป็นไม้ รวมถึง 11. คนเกิดปีเล็ด หรือปีจอ ส่วนประกอบที่สําคัญต่างๆได้ ให้ใช้ดาบปลายตัด สายดาบสี อย่างชัดเจนอีกด้วย เขียว หรือสีน้ําเงิน 12. คนเกิดปีไก๊ หรือปีกุน แต่ใน ล้านนาจะหมายถึงช้าง ให้ใช้ดาบ ปลายแหลม สายดาบสีแดง 1 3 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ลักษณะ ของ ดาบโบราณ โดยทั่วไปแล้วใบดาบจะทํา ด้วยเหล็กกล้า มีส่วนกว้าง ที่สุดประมาณ 3 นิ้ว ยาว ประมาณหนึ่ง ศอกถึงสอง ศอก มีกั้นคือส่วนที่ฝังเข้าไป ในด้ามประมาณครึ่งฝ่ามือ ด้ามนิยมทําด้วยไม้ไผ่ขัดด้วย เส้น หวายหรือเส้นใยอื่นๆ ทําเป็นปลอกสวมรัดอยู่เต็ม พื้นที่ด้าม หรืออาจทําด้วย ลวดเงินหรือหุ้มเงินเป็น ระยะๆ ส่วนฝักทําด้วยไม้สัก หรือไม้โมกมันประกบกันเพื่อ ให้ตัวดาบสอดเข้าไป มีปลอก หวายหรือลวด เงิน รัดให้คง รูปและเพื่อความสวยงามและ ยังมีเชือกมัดที่ฝึกเป็นห่วง เพื่อใช้สะพายไขว้หลัง หรือ สะพายบ่า 1 4 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

เจิงดาบ นาฏกรรมที่สะท้อนรูปแบบศิลปวัฒนธรรม อย่างหนึ่งของคนไทยทางภาคเหนือ ที่นำเอา เรื่องราวของศิลปะป้องกันตัว ซึ่งเมื่อครั้งอดีต ผู้ชายชาวล้านนามักจะมีการแสวงหาเรียนรู้ “เจิง” เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการป้องกันภัยให้ กับตัวเอง ด้วยรูปแบบและลีลาท่าทางในการ แสดงออกที่มีทั้งความเข้มแข็ง สง่างาม ที่ซ่อน เร้นชั้นเชิงอันเป็นแม่ไม้เฉพาะตน 1 5 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

เจิงดาบ (ฟ้อนเจิง) โดย ที ม ส ภ า นั ก เ รี ย น โ ร ง เ รี ย น เ วี ย ง ต า ล พิ ท ย า ค ม ฟ้อนเจิง เป็นการแสดงลีลาการฟ้อนและลีลาการต่อสู้ด้วย มือเปล่า ซึ่งมีท่วงท่าที่สง่างามและน่าเกรงขามอยู่ในที ปัจจุบันการฟ้อนเจิงที่สมบูรณ์แบบนั้นหาชมได้ยากแล้ว จะ มีให้ได้ชมบ้างก็เพียงเล็กน้อยในการฟ้อนดาบ กล่าวคือ ช่วงฟ้อนก่อนที่จะมีการหยิบดาบขึ้นมารำนั้น จะทำการฟ้อน ด้วยมือเปล่า หรือฟ้องเจิงก่อนเป็นระยะเวลาสั้น ๆ โดยสรุป ก็คือได้นำเอาฟ้อนเจิงบางส่วนเข้ามาประกอบ ก่อนที่จะฟ้อนดาบนั่นเอง \"เจิง เป็นภาษาถิ่นล้านนาหมายถึง เชิง หรือ ชั้นเชิง การฟ้อนเจิงจึงเป็นการแสดง ลีลาชั้นเชิงของการต่อสู้ ต้องมีการฝึกฝนอย่างมีระบบ\" การฝึกฝนเริ่มด้วยการ หัดย่างเจ็ดขุม โดยทั่วที่หมายหรือ ปักหลักไม้ไว้เป็นจุดๆ ซึ่งต้องฝึกฝนการเหยียบย่าง ไม่ให้พลาด เป็นการฝึกประสาทสัมผัส การทรงตัว และความคล่องแคล่ว จากนั้นจึงฝึกท่าต่างๆ เช่น การใช้มือเปล่า การฝึกจับอาวุธดาบคู่ ไม้ค้อนจนครบ กระบวนท่า จบด้วยท่าพิเศษนอกบทเรียน ที่ครูจะสอนไว้ให้เป็นไม้ตาย เรียกว่า \"แม่ป๊อด\" 1 6 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ท่วงท่าของ การฟ้อนเจิง การฟ้อนดาบ มักนิยมฟ้อนกับดาบจำนวน 2 เล่ม แต่บางครั้ง ก็จะมีการฟ้อนดาบ 6 เล่ม,12 เล่ม หรือจำนวนมากกว่าให้เห็น อยู่บ้าง แต่ไม่ค่อยจะได้รับชมกันบ่อยเหมือนกับการฟ้อนดาบ 2 เล่ม ลีลาการฟ้อน การฟ้อนดาบนั้น ถ้าสังเกตในแต่ละท่าของ การฟ้อน ลีลาท่าทางที่มีความสวยงามเหล่านั้น แสดงถึงชั้นเชิงการต่อสู้ทั้งรุกและรับอย่าง แคล่วคล่อง หรือบางท่าก็เป็นการยั่วโทษะ คู่ต่อสู้ บางท่าก็เป็นการแสดงความกล้าหาญ ฮึกเหิม อวดคู่ต่อสู้ว่าตนมีความคงกระพัน ชาตรี เช่น “ท่าสีไคล” (คือการนำดาบด้านคม มาลูบไล้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย) และการกลิ้งทับดาบ เป็นต้น ประเภทการฟ้อนดาบ การฟ้อนดาบในปัจจุบันสามารถแบ่งประเภท ตามลักษณะลีลาการฟ้อนได้ 2 แบบใหญ่ ๆ คือ การฟ้อนเชิงเชียงแสน หรือเรียกอีกอย่างว่า “ลายดาบพื้นเมือง” จะมีลีลาการฟ้อนที่ อ่อนช้อยมากกว่า และมักจะมีการเล่นไหล่ ในการฟ้อนเป็นส่วนมากการฟ้อนเชิงแสนหวี หรือเรียกอีกอย่างว่า “ก้าแลว” ซึ่งเป็นลีลาของไทใหญ่ มีความดุดัน ในลีลาการฟ้อนมากกว่า 1 7 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

การเรียนการสอน การฟ้อนเจิง ในอดีต ถือว่าผู้ชายแทบทุกคนจะต้องเสาะแสวงหาและเรียน เชิงดาบเอาไว้เพื่อป้องกันตัว หรือฝึกเอาไว้ใช้ในยามศึก สงคราม อีกอย่างหนึ่งเป็นค่านิยมของผู้ชายในสมัยก่อน เพื่อแสดงถึงความกล้าหาญ ความเข้มแข็งและเพื่อปกป้อง เพศตรงข้ามและทรัพย์สินของตนเอง การสอนอย่างแรกสุดคือ “การย่างขุม” (การเดินขุม) ซึ่งเป็นทิศทางการเดิน การหลบ หลีก และการจู่โจมในการต่อสู้ โดยจะขุดหลุม ไว้ให้ฝึกเดินจำนวน 8 หลุมบ้าง 16 หลุมบ้าง มากน้อยแล้วแต่ครูผู้สอนจะถ่ายทอดให้ (การย่างขุมคล้ายกับการฝึกหัดเดินบนตอไม้ ของหนังจีนกำลังภายใน) หลังจากนั้น เมื่อเห็น ว่าศิษย์มีความชำนาญดีแล้ว ครูผู้สอนจะสอน ลีลาการต่อสู้เป็นแม่ท่าต่าง ๆ ต่อไป นอกจากแม่ท่าพื้นฐานต่าง ๆ แล้ว ครูผู้สอนจะ สอนไม้ตาย ซึ่งถือว่าเป็นเคล็ดลับของการต่อสู้ เรียกว่า “แม่ป็อด” ซึ่งจะให้ใครเห็นท่าไม่ได้ เด็ดขาด ครูผู้สอนจะมอบแม่ป็อดให้เฉพาะ ศิษย์ที่รักจริง ๆ หรือมีศิษย์ที่เห็นว่ามีคุณธรรม เพียบพร้อมเท่านั้น ดังนั้น แม่ป็อดหลายท่า จึงสูญหายไปตามกาลเวลา เนื่องจากครูผู้สอน จะเก็บไว้กับตัวไม่ยอมถ่ายทอดให้ใคร เพื่อ ป้องกันศิษย์คิดล้างครูนั่นเอง 1 8 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ขั้นตอน การตีดาบ ถ้าพูดถึงดาบลำปาง หรือศาสตราวุธโบราณ ล้านนา ต้องพูดว่า 1,300 ปี ของ ประวัติศาสตร์ลำปาง การผลิตดาบโบราณ ไม่เคยหายไปจากผืนแผ่นดินของลำปางเลย แม้แต่ปีเดียว หรือแม้แต่วันเดียว 1 9 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ขั้นตอน ดาบที่ดี เวลาหงายคมดาบขึ้น งานผลิตดาบทั้งหมดในท้องถิ่น การตีดาบ แล้ววางบนฝ่ามือ หรืออะไรก็ได้ ของเรา มักจะใช้เหล็กแหนบ ในจุดที่สมดุลย์ของดาบแล้ว รถยนต์ หรือ เหล็ก K99 เป็น 2 0 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า ดาบจะสามารถตั้งได้โดยไม่ล้ม หลัก แต่ก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าด้วย ลงไปข้างใดข้างหนึ่ง แม้จะผลัก เช่นกัน ว่าต้องการเหล็กประเภท ไปก็จะเด้งกลับคืนมา ซึ่งเรียกกัน ไหน เริ่มต้นด้วยการนำเหล็กไป ว่า \"ดาบงามงาย\" หรือ \"งาม เผาในเตาที่มีอุณหภูมิสูง เพื่อนำ หงาย\" น่าจะพบเห็นได้ในภาค เหล็กมาตีเข้ารูป หลังจากนั้นจะ เหนือเท่านั้น เพราะนิยมเล่นสม นำไปเจียเพื่อเหลาเตรียมก่อนลับ ดุลย์ของดาบ คม จากนั้นนำดาบไปชุบแข็งต่อ และสุดท้ายตอกสัญลักษณ์ของผู้ โดยทั่วไปลักษณะของใบดาบจะ ตีดาบลงบนดาบ ก่อนจะส่งต่อ มีที่โคนดาบแคบและสันหนา ไปยังช่างเหลาฝักดาบต่อไป ซึ่ง แล้วใบดาบค่อยๆ ใหญ่ขึ้น ส่วน สัญลักษณ์ที่ตอกลงไปบนดาบ สันดาบเรียวเล็กลงไปหาท้อง นั้น แต่ละเตาเผา แต่ละบ้านก็จะ ดาบ และเรียวแหลมในช่วงปลาย แตกต่างกัน เช่น บ้านสล่าบุญ ดาบ การกำหนดทรงดาบ หรือ ตัน จะเป็น ตราเต่า, บ้านสล่าเป้ ใบดาบ ขึ้นอยู่กับการเลือก จะเป็นตราพญานาค เป็นต้น ลักษณะปลายดาบ ซึ่งมีอยู่หลาย ลักษณะใหญ่ๆ

ลักษณะดาบ โบราณลำปาง ดาบที่พบในล้านนาทั่วไป มีหลายทรง โดยลักษณะที่เห็นถึงความแตกต่างได้ ชัดเจนคือปลาย ดาบ ซึ่งมีรูปแบบที่แตก ต่างกันไป 1. ดาบกรุลําปางแยกออกเป็น ปลายแหลมเอวแข็ง – ปลายแหลมเอว อ่อน ปลายอิ่มเอว อ่อน – ปลายอิ่มเอว แข็ง 2. ดาบปลายบัว แยกออกเป็น บัวตูม - บัวจี้ - บัวป้าน - บัวหางเต่า- บัวหงอนไก่ 3. ดาบปลายว้ายแยกออกเป็น ปลายว้ายหน้าเต็ม - ปลายว้ายหน้าแหลม (ปลายว้าย ส่วนมากจะเอวอ่อน) 4. ดาบทรงยอง แยกออกเป็น ปลายแหลมหลังโหนก ปลายอิ่มหลัง โหนก (แต่ไม่เหมือนกันมีโหนกใกล้ โหนกไกล) 5. ดาบปลายตัด แยกออกเป็น - ปลายตัด หน้าเว้า - ปลายตัดหน้านูน - ปลายตัด หน้าตรง (ทุกเล่มมีคมตรงปลาย) 6. ดาบหน้าตกแตน แยกออกเป็น 2 แบบ หน้าตกแตนตัดเฉียงสั้น – หน้าตั๊กแตน ตัด เฉียงยาว 7. ดาบหัวมน แยกออกเป็น - ดาบหัวมน ยาว - ดาบหัวมนสั้น 8. ดาบใบคา แยกออกเป็น-ดาบใบคา โหนกปลาย -ดาบใบคาไม่มีโหนกแต่ใบ เล็ก 2 1 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ตัวอย่าง 01 ดาบทรงกรุลำปาง - ปลายแหลม 02 ดาบทรงปลายบัว - บัวป้าน ลักษณะดาบโบราณ 03 ดาบทรงปลายใบข้าว 04 ดาบทรงปลายตัด ลำปาง 05 ดาบทรงปลายมน ทรงดาบแต่ละประเภทนั้น จะถูกออกแบบตาม ลักษณะการใช้งาน เช่น การฟัน การแทง หรือ การฟันเพื่อทลายเกราะ เป็นต้น และยังมีการ ออกแบบตามความเชื่ออีกด้วย ในปัจจุบัน การครอบครองดาบหรืออาวุธชนิดใด ก็ตาม ความมุ่งหมายของผู้ที่ฝึกดาบหรือเพลง อาวุธต่าง ๆ ก็เพื่อปกป้องคุ้มครองตัวเองและผู้ที่ ตนรัก ทรัพย์สิน มิใช่เพื่อไปทำลายทำร้ายผู้อื่น ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในจิตใจของผู้ฝึกศิลปะการ ต่อสู้ก็คือยึดถือคุณธรรมเป็นสำคัญ นั่นเอง 01 02 03 05 04 2 2 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ขั้นตอน การเหลาฝักดาบ การทำฝักดาบจริงนั้น จะทำด้วยความละเอียด พิถีพิถัน ในหนึ่งวันจะสามารถทำได้ประมาณ 3 - 4 ชุด (ฝักดาบและด้ามดาบ) โดยมีอุปกรณ์ คือ มีดอีโต้, มีดเหลา, เลื่อย, เลื่อยวงเดือน, เต่าก้อม เต่ากำบี้, สว่านเจาะ, กระดาษทราย, กาวร้อนและดินสอ 2 3 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ขั้นตอน การเหลาฝักดาบ วิธีการทำด้ามดาบ 1. ตัดไม้ไผ่ให้ได้ความยาวประมาณ 2 ใน 3 ของใบดาบ 2. ถากตกแต่งต้นด้าม มีขนาดใหญ่ และเรียว ลงขนานกันไปจนถึงสุดปลาย มีขนาดจับได้ พอดีมือ 3. ขัดด้วยกระดาษทรายให้ผิวไม้เรียบเนียน 4. เจาะรูเพื่อใส่กั้นดาบ วิธีการทำฝักดาบ 1. ตัดไม้ยาวประมาณ 1 เมตร ถากตกแต่ง คร่าวๆ ให้ได้รูปทรงของของฝักดาบ 2. ใช้เลื่อยวงเดือนผ่าไม้ออกเป็น 2 ซีก จากนั้น นำใบดาบมาทาบ และร่างเส้นดินสอตามทรง ของใบดาบลงบนไม้ 1 ซีก 3. ใช้มีดเหลาคว้านให้ได้เป็นร่องตามรูปทรงที่ วาดไว้ 4. วาดและคว้านไม้อีกซีกแบบเดียวกันกับซีก แรก 5. นำไม้ทั้งสองซีกมาประกบกัน และนำใบดาบ มาเสียบเข้ากับฝัก ถ้าหากใบดาบติดขัดก็จะ ทำการแก้ไขจนเสียบใบดาบได้พอดีไม่คับ และ ไม่หลวมเกินไป 6. นำใบดาบที่ใส่กับด้ามมาเสียบ ทำการเหลา แต่งขอบนอกของหน้าตัดฝักให้ได้ขนาดเท่ากัน กับต้นด้ามจับ ตกแต่งภายนอกโดยใช้เต่าก้อม และเต่ากำบี้ ไสให้ได้รูปทรงที่สวยงามและได้ ขนาดที่กะทัดรัด 7. ขัดแต่งฝักดาบด้วยกระดาษทรายเพื่อความ ละเอียดสวยงาม และน าทั้งฝักดาบและด้าม ดาบ เตรียมส่งไปให้ช่างถักหวายต่อไป 2 4 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ขั้นตอน การถักหวาย เมื่อดาบนำไปเข้าด้ามและฝักเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการถักหวายรัดฝักดาบ 2 5 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ขั้นตอน การถักหวาย อุปกรณ์ในการถักหวาย 1. หวาย หรือ ตาล 2. มีดเหลา 3. ดินสอ วิธีการถักหวาย 1. ตัดหวายแห้งเป็นท่อนยาว 40 - 60 เซนติเมตร นำมาจัก ซอยย่อยออกเป็นเส้น 2. ใช้มีดเหลา เหลาหวายให้เป็นเส้นเรียวเล็ก และละเอียด 3. นำเส้นหวายมาพันรอบฝักดาบ หรือด้าม ดาบ เป็นการวัดขนาดของปอบหวาย แล้วถอด ออกมาถัก เริ่มจากถักปอบสามแล้วแทงเส้น หวายเพิ่มเป็นปอบห้า 4. เมื่อถักเสร็จแล้ว ก็นำปอบหวายสวมรัด เข้าไปตรงตำแหน่งที่วัดไว้ 2 6 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ขั้นตอน การถักสายดาบ ถ้าเปรียบว่าดาบคือคน \"ดาบที่ไม่ได้ใส่สาย ก็เปรียบเหมือนกับคนไม่ใส่ เสื้อผ้า\" 2 7 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ขั้นตอน การถักสายดาบ อุปกรณ์ในการถักสายดาบ 1. กุ้มถัก 2. ลูกตุ้ม 3. มะแหละ 4. ไส้ใน 5. ถุงทรายสำหรับถ่วงน้ำหนัก วิธีการถักสายดาบ 1. นำฝ้ายดิบมาใส่ก๋งก๊าง 5 กั้น จากนั้นนำ ปลายเงื่อนทั้ง 5 กั้น มาใส่ก๋งปั๊ ด หมุนก๋งปั๊ ด เพื่อรวบเป็น 5 เส้น 2. จากนั้นนำฝ้ายดิบออกจากก๋งปั๊ ด มาร่อนใส่ ในมะแหละรูละ 5 เส้น จำนวน 3 รู และพันเก็บ ไว้กับลูกตุ้ม 12 ลูก 3. นำไส้เชือกมาร่อนใส่กับกุ้มถัก แล้วนำเส้น ฝ้ายดิบมาถักล้อมรอบไส้เชือก 4. นำไปย้อมสี 2 8 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

บทสัมภาษณ์พิ เศษ ป ร า ช ญ์ ท้ อ ง ถิ่ น 2 9 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

EXCLUSIVE พระ ทีมงาน : ศาสตราวุธโบราณที่เราพูดถึง ทีมงาน : แล้วแหล่งผลิตมาอยู่ที่เวียง อาจารย์ อยู่นี่ หมายถึงอะไรครับ พระอาจารย์ : คำว่าศาสตราวุธ เป็นการ ตาลของเราได้อย่างไรครับ พระปลัดขจรศั กดิ์ นำคำว่าศาสตราและอาวุธมารวมกัน พระอาจารย์ : ถ้าจะเล่าถึงศาสตราวุธใน ธ มฺ ม ว โ ร กลายเป็นคำว่าศาสตราวุธ ศาสตร์คือ ความรู้คือศิลปะคือชั้นเชิงอาวุธคือ จังหวัดลำปาง ก็น่าจะย้อนไปถึงตั้งแต่ เจ้าอาวาสวัดดอนไชย เครื่องที่ใช้ต่อสู้ อาวุธก็จะมีตั้งแต่ หอก ผู้ก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ศาสตราวุธโบราณลำปาง ง้าว ทวน ดาบ ปืน และเครื่องศาสตรา ยุคเริ่มก่อตั้งจังหวัดลำปาง หรือว่า บ้านเหล่า ต.วียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง อาวุธต่างๆ คำว่าศาสตราวุธเนี่ย ก็จะรวม ไปถึงการใช้ศาสตร์ใช้ความรู้ ใช้ศิลปะใช้ เมืองลำปาง เมืองเขลางค์นคร 3 0 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า ชั้นเชิงในการสร้างอาวุธรวมกลายเป็นคำ ว่าศาสตราอาวุธ เมืองกุกกุฏนคร หรือว่าเมืองไก่ขาว โดย น่ามีรากเหง้ามาตั้งแต่ยุคพระนางเจ้า จามเทวีก่อตั้งจังหวัดลำปาง อ.ห้างฉัตร นี่อยู่ในประวัติศาสตร์ 3 ยุค ก็คือยุค พระนางเจ้าจามเทวี ก็คือ 1,300 กว่าปี ยุคของเจ้าพ่อขุนตาล ประมาณ 700 กว่า ปี แล้วก็ยุคที่ 3 ก็คือยุคของเจ้าพ่อหนาน ทิพย์ช้าง ประมาณ 2-3 ร้อยกว่าปี

พระอาจารย์ : มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ว่าการทำ ทีมงาน : อยากให้พระอาจารย์ฝากอะไรถึง ศาสตราวุธในอำเภอห้างฉัตร จะมีการตีดาบที่ เยาวชนในท้องถิ่น ถึงการอนุรักษ์และสืบสาน บ้านขามแดง บ้านดอนหัววัง บ้านใหม่แม่ปาง หน่อยครับ ส่วนการเหลาฝัก ถักหวาย และถักสายดาบ จะมี พระอาจารย์ : ก็อยากให้เยาวชน อยากให้คนรุ่น ที่อยู่บ้านเหล่า บ้านสันทรายส่วนมากจะเป็น หลังๆ เข้ามาศึกษา มาเรียนรู้ มาฝึกฝน นายจ้าง และก็มีการฝึกฝน ก็จะมีเหลาฝักบ้าง กระบวนการทำ อย่างน้อยที่สุด เราก็จะได้รู้ว่า ถักสายดาบบ้าง แต่จะเป็นคนบ้านเหล่า ทั้งนั้นที่ ความภูมิใจของเราอยู่ที่นี่ และความโชคดีของ เป็นคนนำไป ส่วนการถักหวายนี้ ในสมัยก่อน จะ เราคือ พิพิธภัณฑ์ของเรา ไม่ใช่พิพิธภัณฑ์ตาย มีอีก 2 หมู่บ้าน ก็คือบ้านยางอ้อยและ หมายถึง ไม่ใช่เพียงสถานที่เรามาถ่ายรูป แล้วก็ บ้านทุ่งเกวียน แต่ปัจจุบันนี้สูญหายไปแล้ว แต่ ชมสิ่งของ อ่านป้าย แล้วจบ แต่เรายังมีพ่อครู หลักฐานยืนยันแน่ชัดในพื้นที่ตรงนี้ก็คือมีการ แม่ครูทั้งหลาย ซึ่งเป็นคนในชุมชนของเรา เขา สืบทอดกันมา 5-6 ชั่วอายุคน ที่นับได้ สามารถสอนขั้นตอนการผลิตศาสตราวุธให้เรา ทีมงาน : เคยได้ยินคำว่าจิตวิญญาณแห่ง ได้ จับมือเราทำได้ สอนให้เราทำเป็นได้ ท้ายที่สุด ศาสตราวุธ เลยอยากทราบความหมายที่แท้จาก ที่เด็กๆมาเรียนเนี่ย ถึงจะไม่ประสบความสำเร็จ พระอาจารย์ครับ หรือเราทำได้ แต่ไม่ดีพอ แต่พระอาจารย์ก็ภูมิใจ พระอาจารย์ : ถามถูกคนแล้ว เพราะคำว่าจิต แล้ว อย่างน้อยเราก็ทำเป็น ถ้าวันใดวันหนึ่ง เรา วิญญาณแห่งศาสตราวุธนครลำปางเนี่ย พระ อับจนหนทาง เราอาจจะนึกขึ้นได้ว่า ยังมีอาชีพ อาจารย์เป็นการคนนิยามวลีนี้ขึ้นมาเอง ซึ่งช่วง เหล่านี้ในชุมชนของเราอยู่ เราอาจจะกลับมาเป็น นั้นน่าจะปี 2557 พระอาจารย์ไปจัดงานดาบนคร ช่างในการทำดาบ ทำอาวุธล้านนา แล้ววันหนึ่ง ลำปาง และก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ศาสตราวุธ เราอาจจะกลายเป็นช่างชื่อดังของประเทศ อาจ โบราณลำปางขึ้นมา ที่ทำก็เพราะว่ากลัวมัน จะเป็นพ่อครู แม่ครู และสอนคนอื่นให้อนุรักษ์ สูญหายไปจากลำปาง ก็เลยรวบรวมช่างผู้มี และสืบสานศาสตราวุธโบราณล้านนาลำปางให้คู่ ฝีมือในการผลิตอาวุธโบราณในด้านต่างๆของ กับลำปาง คู่กับผืนแผ่นดินไทย คู่กับโลกใบนี้ ลำปาง รวมไปถึงเจิงลำปาง เพราะเชื่อว่า ดาบล้านนาลำปาง มีที่นี่ที่เดียว ดาบอ่ะ มันจะเป็นจิต และก็วิญญาณ เกี่ยวข้อง กับใจรัก มีใจที่ผูกพัน และก็วิญญาณที่สั่งสม 3 1 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า เข้าไป เพราะการจะสร้างดาบขึ้นมา ก็จะต้อง ใช้จิต ใช้วิญญาณ การสร้างผลงานด้วยความรู้ แล้วนำมาผูกโยงเข้ากับความเชื่อ วิถีชีวิต และ พิธีกรรมในชีวิตประจำวัน ทีมงาน : พระอาจารย์มองภาพของศาสตราวุธ ลำปางเรา ทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างไรบ้าง ครัล พระอาจารย์ : เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงมาก ที่สุดเลย ภายในระยะเวลา 10 - 20 ปี ถ้าเรายัง แบบว่า ไม่มีคนสืบทอด ยังไม่มีคนสืบสานใน ชุมชน ในตำบล ในอำเภอ และยังไม่ทำอะไรที่เป็น รูปธรรมจริงๆ เชื่อว่ามันต้องหายไปแน่ๆเลย พระอาจารย์ : อาวุธของเราเนี่ย ใช้อะไรรู้ไหม ใช้ชีวิต ใช้จิต ใช้วิญญาณ ใช้ศาสตร์ ใช้ศิลป์ เป็นงานหัตถกรรม หัตถศิลป์ที่คงคุณค่า และ ทรงคุณค่า ของแผ่นดินไทย ถ้าพูดถึงดาบล้านนา ก็จะเป็นหนึ่งเดียวในโลก ก็คือที่จังหวัดลำปาง ที่มีการสืบทอดกันมา ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยที่ไม่เคย สูญหายไปจากแผ่นดินล้านนา \"เราไม่เคยหาย 1,300 ปี มาจนถึงปัจจุบันนี้ ดาบโบราณล้านนาไม่เคยหายไปจาก ผืนแผ่นดินลำปาง หรือผืนแผ่นดินล้านนาเลย แม้แต่ปีเดียว แม้แต่วันเดียว\"

EXCLUSIVE สล่า ทีมงาน : ทำอาชีพตีดาบมากี่ปีแล้วครับ ทีมงาน : อยากให้พ่อฝากอะไรถึงลูกๆ เป้ สล่าเป้ : พ่อทำอาชีพนี้มาตั้งแต่ อายุ 12 หลานๆสักเล็กน้อยเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ปี ตอนนี้ก็อายุ 57 ปีแล้ว ก็สืบมาจากปู่ และสืบสานครับ สมชาย ทิ พย์มณี สล่าเป้ : ดาบมันก็เหมือนคน ยังมีชีวิต ย่า ตา ยาย มานั่นแหละ ชีวา มีจิตใจ ดาบนี้ถ้ามองด้วยสวยงาม ช่างตีดาบ บ้านดอนหัววัง ทีมงาน : เหตุใดถึงสนใจอาชีพตีดาบ มันจะสะโพก มีเอว เเล้วก็มีน่าอก มันถึง ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง จะมีความสมดุลในใบดาบ เราดูไปทาง ปัจจุบัน อายุ 57 ปี ครับ ไหนก็งามหยดย้อย ก็ขอฝากถึงลูกหลาน สล่าเป้ : เริ่มจากพ่อเรียนจบแค่ ป.4 แล้ว พ่อก็อยากให้คนที่รักวิชาการตีดาบ มา 3 2 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า ฝึกได้ มาต่อยอดได้ พ่อจะสอน ไม่มีการ ครอบครัวก็ทำอาชีพนี้มาอยู่แล้ว ก็เลย คิดค่าตอบเเทน มาเรียนได้ฟรีๆ จะกิน ข้าวหรือจะนอนที่นี่เลยก็ได้ จะได้ฝึกวิชา ตัดสินใจทำอาชีพนี้ต่อ มันก็พอหาเลี้ยง จากพ่อไปต่อยอด วิชาที่พ่อมี พ่อจะไม่ หวงเลย จะถ่ายทอดต่อไปเรื่อยๆ จะได้ ครอบครัวได้นะ ไม่ขัดสน สืบสานยาวนานต่อไป ทีมงาน : เอกลักษณ์ของดาบที่พ่อตีขึ้น มาคืออะไรครับ สล่าเป้ : นอกจากความสวยงามแล้ว ก็จะมีการตอกบาร์โค้ด ของที่นี่ก็จะเป็น รูปพญานาค เพราะพ่อเกิดปีงูใหญ่

EXCLUSIVE พ่ อครู ทีมงาน : พ่อเริ่มทำอาชีพนี้ได้ยังไงครับ พ่อครู : ก็มี กบไสไม้, มีดเหลา หนิ้ว พ่อครู : ฝึกมาตั้งเเต่ตอนเด็กๆเเล้ว และเต่ากำบี๊ (กบไสไม้อันเล็ก) ทำมา 30 กว่าปีแล้ว ทีมงาน : สุดท้ายนี้ผมอยากจะให้พ่อพูด สมจิตต์ ฉัตรเขื่ อนแก้ว ทีมงาน : เหตุใดพ่อถึงสนใจมาประกอบ ถึงลูกๆหลานๆในตำบลเวียงตาล เกี่ยว ช่างเหลาฝักดาบ บ้านเหล่า อาชีพเหลาฝักดาบครับ ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง พ่อครู : ก็คือมันมีอิสระดี กับการอนุรักษ์และสืบสานเกี่ยวกับ ปัจจุบัน อายุ 67 ปี ทีมงาน : การทำฝักดาบนี่ยากไหมครับ พ่อครู : มันก็ยากนิดหน่อย กว่าจะเป็นก็ ภูมิปัญญาการเหลาฝักดาบของเราสัก ฝึกหลายวันเหมือนกัน เล็กน้อยครับ ทีมงาน : อุปกรณ์ในการทำมีอะไรบ้าง พ่อครู : ก็คือว่ามันเป็นของโบราณอ่ะนะ ครับ ก็อยากให้เก็บไว้เผื่อลูกเผื่อหลานต่อไป ไม่อยากให้มันสูญหายไปจากบ้านเรา 3 3 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

EXCLUSIVE ยาย ทีมงาน : ทำอาชีพนี้มากี่ปีเเล้วคะ ยายจันทร์ : เผื่อในวันข้างหน้าไม่มีชีวิต จันทร์ ยายจันทร์ : 40-50 ปีเเล้วมั้ง ทำมาตั้ง อยู่แล้ว แต่ลูกหลานก็จะได้ทำต่อไป น้อย คนนะที่จะทำ เขาไม่ค่อยตั้งใจ เขามาฝึก ฟองจันทร์ คำเรือน เเต่เด็ก ๆ เเล้ว ทำ แต่พอเขาทำเป็น เขาก็ไป เขาจะทำ ทีมงาน : ใครสอบคุณยายถักหวายคะ หรือไม่ทำต่อก็ไม่รู้ แต่ว่าเมื่อเราสอนเขา ช่างถักหวาย บ้านเหล่า ยายจันทร์ : พ่อเเม่นี่เเหละ เป็นร้อยกว่าปี เขาก็ทำได้ทำได้หมด แต่พอเวลาผ่านไป ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง หลายปี เขาก็อาจจะลืมมัน เราก็ไม่อยาก ปัจจุบัน อายุ 63 ปี แล้วมั้ง มันสืบทอดกันมา สืบสานกันมา ให้มันสูญหาย ทีมงาน : ที่คุณยายทำมาถึงทุกวันนี้ 3 4 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า เรื่อย ๆ เเล้วพ่อเเม่ก็มาสอนอีกที เพราะใจรักล้วนๆ ใช่มั้ยไหมคะ ทีมงาน : อยากให้คุณยายฝากถึงลูก ยายจันทร์ : \"ก็เพราะใจรักนั้นแหละ\" หลานในตำบลเวียตาลสักเล็กน้อย เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบสาน ศาสตาวุธโบราณของเรานี้ค่ะ ยายจันทร์ : ก็อยากให้เขาทำของแบบนี้ สืบต่อไปเราไม่ทำให้มันสูญหายไปไหน

EXCLUSIVE แม่ ทีมงาน : คุณแม่เริ่มทำอาชีพนี้ได้ ทีมงาน : ทำไมถึงสนใจอาชีพถักสายดาบ แอน แม่แอน : กลัวมันหาย เพราะว่าเดี๋ยวนี้ อย่างไรคะ มันไม่มีใครทำแล้ว พรทิ พย์ สมใจรัก แม่แอน : จุดเริ่มต้นก็คือสืบทอดมาจาก แม่แอน : แล้วมันจะเป็นอาชีพที่เมื่อก่อน มีแต่คนแก่ทำนะ แต่ ณ ปัจจุบันก็คือมัน ช่างถักสายดาบ บ้านเหล่า แม่ ก็คือยายพลอย ซึ่งท่านทำเกี่ยวกับ หายไปแล้ว ไม่มีใครทำ คนที่เคยทำอยู่ ต.เวียงตาล อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง เขาก็เสียชีวิตไปแล้ว แม่ไม่อยากให้มัน ปัจจุบัน อายุ 42 ปี การถักหวายและถักสายดาบด้วยอยู่แล้ว หายไป เพราะเป็นอาชีพโบราณของเรา และส่วนประกอบของดาบ พอแกอายุ มากขึ้น ก็ไม่สามารถทำทั้ง 2 อย่างได้ แม่ก็เลยไปออกงานประจำมา และมาทำ ตรงนี้เป็นอาชีพหลักไปเลยค่ะ ทีมงาน : ทำมากี่ปี่ แล้วคะ แม่แอน : ก็ประมาณ 7 ปี ได้แล้วนะ 3 5 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

แม่แอน : คนสมัยก่อนเกี่ยวกับดาบนี่ ก็ถือว่ามี ความสำคัญมากนะ เพราะว่ามีแต่ผู้ชายที่เขาเป็น ทหารเท่านั้น ที่จะมีดาบ เขาจะให้เฉพาะพระกับ ผู้ชายถัก เพราะว่าถือเป็นของขลัง ผู้หญิงอย่าง เรานั้นจะไปถักไม่ได้ แต่พอมาถึงปัจจุบันนี้ ดาบ มันเปลี่ยนไปนะ มันก็เลยทำให้ผู้หญิงทำได้และก็ มีลวดลายเยอะมากขึ้น ทีมงาน : ลวดลายนี่มีกี่แบบคะ แม่แอน : หลักๆ ที่ถัก ก็มาจะมี ลายเกลียว ลาย ตะมอง ลายตะมองก็คือลายตารางหมากฮอส เราจะสลับลายกันไป แต่ถ้านิยมจริงๆ ก็จะเป็น ลายสีล้วน สีหลักก็คือสีแดง และตอนนี้ก็จะมี ลายด่างที่นิยมเพิ่มเข้ามาอีก ทีมงาน : แล้วช่างถักสายดาบบ้านเรานี่เหลือ เยอะไหมคะ แม่แอน : ตอนนี้รู้แค่ บ้านเหล่า เหลือแม่คน เดียวที่ทำ และบ้านสันทราย เหลือแค่ 2 คน ที่ยัง ทำอยู่ ทีมงาน : ทั้งเวียงตาลเหลือแค่ 3 คนเองเนี่ยนะ คะ! ยังไม่มีวัยรุ่นมาสนใจเลย? แม่แอน : ยังไม่ค่อยมี เพราะว่าบางคนอาจจะไป สนใจหลายเรื่อง ตีดาบ แต่ถ้าดาบไม่ได้ใส่สาย ก็ เหมือนไม่ได้สวมเสื้อผ้านั่นแหละ ทีมงาน : สุดท้ายนี้ แม่อยากจะฝากอะไรถึงลูกๆ หลานๆของเรา ในตำบลเวียงตาล เกี่ยวกับการ อนุรักษ์และสืบสานศาสตราวุธโบราณของเรา แม่แอน : ก็อยากให้ลูกๆหลานๆ เข้ามาดูศึกษา หรือเอาไปทำเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพเสริมก็ได้ ที่ไม่อยากให้มันหายไป เพราะว่าวิธีการทำแบบนี้ คนรุ่นใหม่ไม่ใช้กันแล้ว ส่วนใหญ่จะไปใช้เชือก แบบสมัยใหม่ ซึ่งมันทำมาจากพลาสติก สีสวย ลวดลายก็สวยงาม ไม่อยากให้ภูมิปัญญาของ บรรพบุรุษเราหายไป ก็อยากจะให้ลูกๆหลานๆ ช่วยกันสืบสานและ รักษาเอาไว้ แล้วอันนี้มันต่อยอดได้ ถ้าเกิดใครมี ไอเดียดีๆ มีความคิดสร้างสรรค์ดีๆ ก็เข้ามาทำ ตรงนี้ได้ แล้วก็มาทำวิธีการตรงนี้ำเพื่อไม่ให้มัน สูญหาย แล้วสามารถพัฒนาเป็นอาชีพได้ แม่ก็จะสนับสนุน 3 6 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

ทีมงานบรรณาธิการ ที่ปรึกษาโครงการ สมาชิกทีมเยาวชน นายวุฒิพล มณฑาทอง ปลัดเทศบาลตำบลเวียงตาล นางสาวสาวิตรี สุวรรณศร นางสาวภัสวรรณ กันธิมา นางสาวชญาฎา พิมลพันธ์ นายเสกสรรค์ พิทักษ์ทา ผู้อำนวยการโรงเรียนเวียงตาลพิทยาคม นายณัฐพล แลวะลิตร นายกวีพล อินต๊ะวงศ์ นางยุพิน กมลวิจิตร หัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเวียงตาลพิทยาคม ทีมสนับสนุนเยาวชน นางสาวภัทรภร หม้อใจวงศ์ นายนฤทธิ์ เถื่อนเจริญ นางสาวอารยา กันธิมา ครูผู้ช่วย โรงเรียนเวียงตาลพิทยาคม นางสาวบงกชรัตน์ แววงาม นายยุทธชัย ด้วงปันตา นายอนวัฒน์ หมั่นคิด นายจักรพันธ์ แสงคำแก้ว นายณัฐวุฒิ ศรีฉัตรใจ นายณัฐภัทร ใจเป็ง นายสมชัย ใหม่ทรายเปียง นายอัฐพล มิตตา นายธนากร สุรินกาศ ด.ช.มัณฑนศิลป์ อินตานวล ด.ช.ภาคิน รินทร์สม นายถิรวัฒน์ ตุ้ยวงศ์ นายวิศวกร ฉัตรปวงคำ นางสาวปาริชาติ สุวรรณศร นางสาวผจงลักษณ์ อุสาทำ เด็กหญิงสุธาวัลย์ ปินใจหล้า เด็กหญิงศิวาพร พันธ์เลิศ เด็กหญิงลลิตา บุญลุน เด็กหญิงณัฐช์กมล ศรีชุ่มใจ นางสาวณัฐนิชา กำลังหาญ นางสาวกฤษณา ธรรมใจ 3 7 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

บรรณานุกรม ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. (2557). รายงานโครงการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ : ภูมิปัญญาดาบนครลำปาง. ลำปาง: สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. สืบค้นจาก http://www.culture.lpru.ac.th/ebook/index.php?modules=ebook&file=ebook_detail&id=014 หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่. (ม.ป.ป.). องค์ความรู้ : วัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนาไทย เรื่อง ฟ้อนเจิง. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.finearts.go.th/chiangmailibrary/view/26655-องค์ความรู้--- วัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาวล้านนาไทย-เรื่อง-ฟ้อนเจิง chananrog2015. (2557). ฟ้อนดาบ – ฟ้อนเจิง. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564, จาก https://chananrog2015.wordpress.com/2014/10/07/ฟ้อนเจิง-ฟ้อนดาบ/ pantakarn99. (2559). ฟ้อน \"เจิง\" ศิลปะการต่อสู้ล้านนา. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564, จาก http://pantakarn99.blogspot.com/2016/ BanSansuk.com. (ม.ป.ป.). ฟ้อนเจิง_ศิลปะการต่อสู้ของลูกผู้ชาย. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.bansansuk.com/krungsri/ฟ้อนเจิง_ศิลปะการต่อสู้ของลูกผู้ชาย.html ดาบไทยตราเต่า™-พ่อสล่าทันลำปาง. (2564). สืบสานงานดาบไทยโบราณ. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.glartent.com/TH/Amphoe-Hang-Chat/143312063039463/ดาบไทยตราเต่า---พ่อสล่าทันลำปาง ดาบเมือง. (2562, 24 เมษายน). ส่งการบ้าน งานสั่งทำ ปลายว้ายกรุลำปาง [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/DabMeung/posts/1500304633434450/ ดาบไทยตราเต่า - พ่อสล่าทันลำปาง. (2564, 9 สิงหาคม). สวัสดีครับสมาชิกเพจ ดาบไทยตราเต่า - พ่อสล่าทันลำปาง [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/ดาบไทยตราเต่า-พ่อสล่าทันลำปาง-143312063039463/ ดาบไทยตราเต่า - พ่อสล่าทันลำปาง. (2564, 28 กรกฎาคม). สวัสดีครับสมาชิกเพจ ดาบไทยตราเต่า - พ่อสล่าทันลำปาง [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/ดาบไทยตราเต่า-พ่อสล่าทันลำปาง-143312063039463/ ดาบไทยตราเต่า - พ่อสล่าทันลำปาง. (2564, 22 กรกฎาคม). สสวัสดีสมาชิกเพจทุกท่านครับ จากการห่างหายกันไปนาน [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/ดาบไทยตราเต่า-พ่อสล่าทันลำปาง-143312063039463/ ดาบไทยตราเต่า - พ่อสล่าทันลำปาง. (2564, 9 กรกฎาคม). สวัสดีครับสมาชิกเพจ ดาบไทยตราเต่า - พ่อสล่าทันลำปาง [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/ดาบไทยตราเต่า-พ่อสล่าทันลำปาง-143312063039463/ ดาบไทยตราเต่า - พ่อสล่าทันลำปาง. (2564, 24 มิถุนายน). สวัสดีครับสมาชิกเพจ ดาบไทยตราเต่า - พ่อสล่าทันลำปาง [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/ดาบไทยตราเต่า-พ่อสล่าทันลำปาง-143312063039463/ Lanna Sword รับซื้อ และ ขาย ดาบเก่า ดาบโบราณ. (2564, 25 เมษายน). #เปิดครับ ดาบเมืองปลายว้าย ใบงามมาก ใบยาว 18.5 นิ้ว สันหนา 8 มม [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/102848744518008/photos/a.172818700854345/317748739694673/ ยายพลอย ศิริ. (2564, 4 มิถุนายน). เช้านี้พี่สายม่วง [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/profile.php?id=100011974631856 3 8 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

บรรณานุกรม Saran Suwannachot. (2562, 17 สิงหาคม). \"วิถีแห่งเจิง\" ...พบกันอีกครั้ง วันเสาร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 ในงาน \"ฟ้อนเจิง ล้านนา\" [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/photo.php? fbid=2189207031122554&set=pb.100000998343745.-2207520000..&type=3 Saran Suwannachot. (2562, 15 มกราคม). \"ประชาสัมพันธ์งาน \"ฟ้อนเจิงล้านนา\" Fon Jerng Lanna Festival [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/sarangallery/posts/2185426408167283 Saran Suwannachot. (2562, 12 มกราคม). ส่วนหนึ่งของฉากรบในละคร ณ กรมชลประทานที่ 1 เชียงใหม่ ละครโดย ครู เธียร (อาจารย์เธียรชัย สุขเที่ยง) [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/sarangallery/posts/2182409721802285 Saran Suwannachot. (2561, 16 ตุลาคม). ผมมีแผนการจัดงาน \"เทศกาลฟ้อนเจิงล้านนา\" ขึ้นในวันเสาร์ ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 [status update]. Facebook. https://www.facebook.com/sarangallery/posts/2054995484543710 3 9 | จิ ต วิ ญ ญ า ณ แ ห่ ง ศ า ส ต ร า

\"ดาบอ่ะ มันจะเป็นจิต และก็วิญญาณ เกี่ยวข้องกับใจรัก มีใจที่ผูกพัน และก็วิญญาณที่ สั่งสมเข้าไป เพราะการจะสร้างดาบขึ้นมา ก็จะต้อง ใช้จิต ใช้วิญญาณ\" พ ร ะ ป ลั ด ข จ ร ศั ก ดิ์ ธ มฺ ม ว โ ร เ จ้ า อ า ว า ส วั ด ด อ น ไ ช ย ผู้ ก่ อ ตั้ ง ศู น ย์ ก า ร เ รี ย น รู้ พิ พิ ธ ภั ณ ฑ์ ศ า ส ต ร า วุ ธ โ บ ร า ณ ลำ ป า ง บ้ า น เ ห ล่ า ต . วี ย ง ต า ล อ . ห้ า ง ฉั ต ร จ . ลำ ป า ง \"ดาบมันก็เหมือนคน ยังมีชีวิตชีวา มีจิตใจ ดาบนี้ถ้ามองด้วยความสวยงามมันจะสะโพก มีเอว เเล้วก็มีน่าอก มันถึงจะมีความสมดุลในใบดาบ เราดูไปทางไหนก็สวยงามหยดย้อย\" ส ม ช า ย ทิ พ ย์ ม ณี ช่ า ง ตี ด า บ บ้ า น ด อ น หั ว วั ง ต . เ วี ย ง ต า ล อ . ห้ า ง ฉั ต ร จ . ลำ ป า ง ปั จ จุ บั น อ า ยุ 5 7 ปี \"ก็คือว่ามันเป็นของโบราณอ่ะนะ ก็อยากให้เก็บไว้เผื่อลูกเผื่อหลานต่อไป ไม่อยากให้มันสูญหายไปจากบ้านเรา\" ส ม จิ ต ต์ ฉั ต ร เ ขื่ อ น แ ก้ ว ช่ า ง เ ห ล า ฝั ก ด า บ บ้ า น เ ห ล่ า ต . เ วี ย ง ต า ล อ . ห้ า ง ฉั ต ร จ . ลำ ป า ง ปั จ จุ บั น อ า ยุ 6 7 ปี \"เผื่อในวันข้างหน้าไม่มีชีวิตอยู่แล้ว แต่ลูกๆหลานๆก็จะได้ทำต่อไป\" ฟ อ ง จั น ท ร์ คำ เ รื อ น ช่ า ง ถั ก ห ว า ย บ้ า น เ ห ล่ า ต . เ วี ย ง ต า ล อ . ห้ า ง ฉั ต ร จ . ลำ ป า ง ปั จ จุ บั น อ า ยุ 6 3 ปี \"ปัจจุบันก็คือมันหายไปแล้ว ไม่มีใครทำ คนที่เคยทำอยู่ เขาก็เสียชีวิตไปแล้ว แม่ไม่อยากให้มันหายไป เพราะเป็นอาชีพโบราณของเรา\" พ ร ทิ พ ย์ ส ม ใ จ รั ก ช่ า ง ถั ก ส า ย ด า บ บ้ า น เ ห ล่ า ต . เ วี ย ง ต า ล อ . ห้ า ง ฉั ต ร จ . ลำ ป า ง ปั จ จุ บั น อ า ยุ 4 2 ปี วิดีโอสารคดี ชุด จิตวิญญาณแห่งศาสตราวุธโบราณลำปาง โดย ทีมสภานักเรียนโรงเรียนเวียงตาลพิทยาคม


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook