แผนการสอนประจาํ สปั ดาห์ 3 วิชา หอ้ งสมดุ กบั การรสู้ ารสนเทศ รหัสวชิ า 3000 – 1601 การบรรยายครั้งท่ี 3 บทท่ี 3 เร่ือง ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด วตั ถปุ ระสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม เม่อื นกั ศึกษาจบบทเรียนนี้แลว้ จะมคี วามสามารถดังต่อไปนี้ 1. บอกความหมายของทรพั ยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้ 2. จําแนกประเภทของทรพั ยากรสารสนเทศในห้องสมุดได้ 3. ยกตวั อย่างของวัสดุตพี ิมพ์และวัสดไุ ม่ตีพิมพไ์ ด้ 4. อธิบายความหมายของหนังสืออ้างอิง 5. ยกตัวอย่างหนงั สืออ้างองิ ได้ 6. บอกวิธกี ารใชห้ นังสืออ้างองิ ได้ สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายและประเภทของทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 2. ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 2.1 วสั ดุตีพิมพ์ 2.2 วัสดุไม่ตีพมิ พ์ 3. หนังสืออ้างอิง 3.1 ความหมายของหนังสอื อ้างอิง 3.2 ประเภทของหนังสืออ้างอิง 3.3 วิธีการใชห้ นังสอื อ้างองิ 3.4 ลกั ษณะของหนงั สอื อา้ งอิงที่ดี กจิ กรรมการเรียนรู้ 1. ใหน้ กั ศกึ ษาชว่ ยกนั ยกตัวอย่างทรพั ยากรสารสนเทศในห้องสมดุ ท่รี จู้ ัก 2. ครูบรรยายเนอื้ หา 3. นกั ศกึ ษาและครชู ่วยกันสรปุ เน้อื หา ส่อื การเรียนการสอน 1. สอ่ื ของจริง เช่น หนงั สือ วารสาร 2. เอกสารประกอบการสอนวชิ าห้องสมุด เรอ่ื ง ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด 3. งานนําเสนอ เรอื่ ง ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าหอ้ งสมดุ กบั การรูส้ ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 29 วธิ กี ารวดั และประเมนิ ผล 1. ทําแบบฝึกหัด ก่อน – หลงั เรยี น 2. แบบสงั เกต การสงั เกตพฤติกรรมการเรียน และการเข้าเรยี น 3. ซักถาม แลกเปลย่ี นความคดิ เหน็ ทดสอบความเขา้ ใจ
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าหอ้ งสมุดกบั การร้สู ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 30 บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้จําแนกประเภท ของทรัพยากรสารสนเทศไว้ 3 ประเภท ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากร สารสนเทศ ในส่วนของทรัพยากรสารสนเทศเป็นสิ่งท่ีเกิดขึ้นจากสติปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ของมนุษย์ เป็นรากฐานสําคัญของความเจริญก้าวหน้าของสังคมและอารยธรรมของโลก อีกทั้งมี บทบาทในการนํามาใช้ประกอบการตัดสินใจ และเป็นองค์ประกอบสําคัญในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกจิ และสงั คม 3.1 ความหมายของทรพั ยากรสารสนเทศในห้องสมุด คาํ ท่ีใชเ้ กีย่ วกับทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด มี 2 คาํ ทถ่ี ูกกล่าวถึงโดยท่ัวไป ได้แก่ ทรัพยากร สารสนเทศและวัสดสุ อ่ื สารสนเทศ ซง่ึ มีความหมายใกลเ้ คยี งกนั ดังนี้ ทรัพยากรสารสนเทศ (Information resource) หมายถึง ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ท่ีได้จําแนก ช้ีแจง รวบรวม เรียบเรียงโดยใช้ภาษา สัญลักษณ์ ภาพ รหัส หรืออ่ืนๆ และบันทึกลงบนวัสดุต่างๆ เป็นแหล่งก่อให้เกิดความรู้ สติปัญญาของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน จบั ตอ้ งไมไ่ ด้ ตอ้ งบรรจุลงในวัสดหุ รอื สอ่ื อืน่ ๆ วัสดุสารสนเทศ หมายถึง วัสดุหรือส่ือ (Media) ที่ใช้บรรจุสารสนเทศใดๆ เพื่อถ่ายทอด สารสนเทศน้ันๆ 3.2 ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด สารสนเทศในห้องสมุดหรือสถานบันการบริการสารสนเทศรูปแบบอื่น มีทรัพยากรสารสนเทศ ทีจัดเก็บไว้จําแนกตามวัสดุที่ใช้ในการตีพิมพ์ได้ 2 ประเภท ได้แก่ วัสดุตีพิมพ์และวัสดุท่ีไม่ตีพิมพ์ ดงั รายละเอียดต่อไปนี้ 3.2.1 วสั ดุตีพิมพ์ (Printed Materials) 3.2.1.1 ความหมายของวสั ดตุ ีพมิ พ์ วัสดุตีพิมพ์ หมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศท่ีบันทึกเน้ือหาสาระสําหรับการศึกษา ค้นคว้า อา้ งอิงหรือเพอ่ื ความบันเทงิ ซงึ่ อยใู่ นรปู แบบต่างๆ เชน่ หนงั สอื หรือเอกสารตา่ งๆ
เอกสารประกอบการเรยี นวิชาห้องสมุดกบั การรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 31 3.2.1.2 ประเภทของวัสดตุ พี มิ พ์ วัสดตุ ีพมิ พม์ หี ลายประเภท ดังต่อไปน้ี 1) หนังสือ (Books) หมายถึง ส่ิงพิมพ์ที่เขียนขึ้นจากความรู้ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริงต่างๆ จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม นับเป็นเคร่ืองมือท่ีสําคัญและสะดวกของบุคคลในการแสวงหา ความรูด้ า้ นวชิ าการและเพอ่ื จรรโลงใจ จําแนกประเภทตามเนือ้ หาได้ 2 ประเภท ไดแ้ ก่ 1.1) หนังสือสารคดี (Non Fiction) หมายถึง หนังสือที่เขียนขึ้นจากความรู้ ความคิดเห็น ข้อเท็จจริง เพื่อถ่ายทอดความรู้โดยเฉพาะ สามารถแบ่งย่อยตามหน้าที่ของหนังสือ สารคดไี ด้เป็นประเภทตา่ งๆ ไดด้ งั นี้ (1)หนังสือแบบเรียนหรือตํารา (Textbooks) เป็นหนังสือท่ีมีจุดมุ่งหมาย ให้นักศึกษาหรือผู้สนใจได้ใช้ศึกษาค้นคว้าหรือประกอบในการเรียนในชั้นเรียนต่างๆ เรียกว่า “แบบเรียน” หรือ “ตํารา” (2) หนังสืออ้างอิง (Reference Books) เป็นส่ิงพิมพ์ท่ีจัดทําข้ึนโดยมี จุดมุ่งหมายเพ่ือการค้นคว้าหาคําตอบเฉพาะหัวข้อใดหรือข้อหน่ึงที่ต้องการ ไม่ใช่เพื่ออ่านทั้งเล่ม เน้ือหาเป็นข้อเท็จจริง เขียนอย่างกะทัดรัด มีรูปแบบการจัดเรียงเนื้อหาให้สามารถค้นได้ง่าย เช่น จัดเรียงตามลําดับตัวอักษร เรียงตามลําดับเหตุการณ์ เป็นต้น หนังสืออ้างอิงมีหลายประเภท เช่น พจนานุกรม สารานกุ รม ซึ่งจะกลา่ วโดยละเอียดต่อไป ตัวอย่างพจนานุกรม ตวั อย่างสารานุกรม รูปท่ี 3.1 แสดงตวั อย่างเนอ้ื หาในพจนานกุ รมและสารานกุ รม
เอกสารประกอบการเรยี นวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ บทท่ี 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 32 (3) ส่ิงพิมพ์รัฐบาล (Government Publications) เป็นส่ิงพิมพ์ท่ีหน่วยงาน ระดับต่างๆ ของรัฐบาลจัดทําข้ึนหรือออกค่าใช้จ่ายในการจัดทํา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผล การปฏิบัติงาน ความรู้ ข่าวสารวิชาการ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของทางราชการ นโยบายในการ ดําเนินงาน หรือใช้เป็นสื่อกลางในการส่ือสาร ทําความเข้าใจระหว่างรัฐบาลกับประชาชน มีทั้งเพื่อ จาํ หนา่ ยหรือสาํ หรับแจกจ่าย สิ่งพมิ พ์รัฐบาลมีหลายประเภท อาทิเชน่ รายงานการปฏิบัติงานของทาง ราชการ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับของทางราชการ บทความทางวิชาการจัดทําอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือ วารสาร จุลสาร หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์รัฐบาลที่ควรรู้จักได้แก่ ราชกิจจานุเบกษา โดยสํานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสํานักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสํามะโนประชากรและเคหะ โดยสํานักงาน สถิติแห่งชาติ เป็นต้น วิธีการจัดเก็บแตกต่างกันตามการดําเนินงานของแต่ละห้องสมุด เช่น จัดหมู่ อยู่รวมกบั หนังสอื ท่ัวไป แยกตามเนอื้ หา หรอื จัดแยกไว้ตา่ งหากจากหนงั สอื ทวั่ ไป รปู ท่ี 3.2 แสดงตัวอย่างสง่ิ พิมพ์รฐั บาล “รายงานผลเบ้อื งต้น สํามะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2553” (4)วิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ (Thesis หรือ Dissertation) เป็นสิ่งพิมพ์ที่เป็นงานวิจัยของนิสิต นักศึกษา เพ่ือเสนอขอรับปริญญาในระดับอุดมศึกษา ตาม ข้อกําหนดของหลักสูตรการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตหรือปริญญาดุษฎีบัณฑิต การจัดเก็บแยก ต่างหากจากหนังสือทั่วไป เพ่ือสะดวกในการค้นหา มักไม่ให้ยืมออกนอกห้องสมุด และจัดเป็นหนังสือ อ้างอิง
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าห้องสมดุ กับการรู้สารสนเทศ บทท่ี 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 33 รปู ที่ 3.3 แสดงตวั อย่างวทิ ยานิพนธ์ (5) รายงานการวิจัย (Research Report) หมายถึง เอกสารรายงาน ผลการวิจัยของนักวิชาการสาขาวิชาต่างๆ เป็นบันทึกความรู้ใหม่ท่ีเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้า ทางวิทยาการต่างๆ มีทั้งเป็นการรวบรวมรายงานวิจัยเร่ืองใดเรื่องหน่ึงหรือรวมรายงานการวิจัย หลายๆ เร่ือง รปู ที่ 3.4 แสดงตวั อย่างรายงานการวจิ ัย
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าห้องสมุดกับการรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 34 (6) เอกสารการประชุมทางวิชาการ (Proceeding of the Conference) หมายถึง เอกสารที่จัดทําข้ึนเพ่ือประกอบการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ซ่ึงการประชุมทางวิชาการ หมายถึง การประชุมของส่วนบุคคลหรือตัวแทนขององค์กร หน่วยงานต่างๆ มีวัตถุประสงค์ เพ่ืออภิปรายหรือดําเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งมีความสนใจร่วมกัน เน้ือหาของเอกสาร การประชุมทางวิชาการเป็นเรื่องที่ทันสมัยและมีความสนใจร่วมกันจากหลายหน่วยงาน หลายองค์กร เป็นรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือข้อคิดเห็นทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ ตัวอย่างเช่น รายงานผลการสัมมนาทางวิชาการ รายงานการประชุม รายงานผลการวิจัย รายงานผลการทดลอง เป็นต้น วิธีการจัดเก็บแตกต่างกันไปแต่ละห้องสมุด เช่น จัดรวมไว้กับวัสดุตีพิมพ์อื่นๆ หรือแยก ประเภทออกมาจัดเกบ็ ไว้โดยเฉพาะ เปน็ ต้น รปู ท่ี 3.5 แสดงตวั อยา่ งเอกสารการประชุมทางวชิ าการ 2) วารสาร (Periodicals) หมายถึง ส่ิงพิมพ์ท่ีเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์ มีการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง มีชื่อเรียกแน่นอน มีกําหนดการออกแน่นอน เป็นวาระต่างๆ เช่น รายสัปดาห์ รายปักษ์ รายเดือน ราย 2 เดือน ราย 3 เดือน เป็นต้น ลักษณะเด่นของวารสารคือ ความทันสมัย ทันตอ่ เหตกุ ารณอ์ ยูเ่ สมอ จําแนกประเภทตามลกั ษณะเน้อื หาและการจดั ทําไดเ้ ปน็ ดงั น้ี
เอกสารประกอบการเรยี นวิชาหอ้ งสมดุ กบั การรสู้ ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 35 (1) วารสารท่ัวไป (General Periodicals) หมายถึง วารสารที่มีเน้ือหา เกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไป ไม่เน้นหนักไปในเรื่องใดเรื่องหน่ึง แยกประเภทตามลักษณะของเน้ือหาได้เป็น 2 ประเภท คือ ประเภทนิตยสาร หรือเรียกว่าแมกกาซีน (Magazine) มีลักษณะมุ่งเน้นในเรื่องความ บันเทิง เนื้อหาภายในฉบับไม่เหมือนกัน บางเล่มอาจต่อเนื่องกันไป เช่น สกุลไทย ขวัญเรือน เป็นต้น และประเภทวเิ คราะหว์ จิ ารณข์ า่ ว (Review Journal) มีลักษณะมุ่งเน้นเสนอเสนอเนื้อหาเก่ียวกับข่าว วจิ ารณ์ข่าว หรอื ขอ้ วินิจฉัยของผูเ้ ขยี น เชน่ มติชนสุดสัปดาห์ เนช่นั สุดสปั ดาห์ เปน็ ต้น รูปท่ี 3.6 แสดงตวั อยา่ งแมกกาซีนและวารสารวิจารณข์ า่ ว (2) วารสารเฉพาะวิชา (Professional Journals) บางคร้ังเรียกว่า วารสารวิชาการ (Scholarly Journals) มักจัดทําโดยสถาบันหรือหน่วยงานทางวิชาการ เนื้อหาเก่ียวกับบทความเฉพาะ สาขาวิชาใดวิชาหน่ึง เพ่ือเผยแพร่ความรู้ สารสนเทศใหม่ๆ เช่น วารสารวิศวกรมสาร วารสาร สสวท. วารสารเกษตร เป็นต้น รปู ท่ี 3.7 แสดงตวั อยา่ งวารสารเฉพาะวิชา
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าหอ้ งสมุดกับการรู้สารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 36 3) จุลสาร (Pamphlets) หมายถึง ส่ิงพิมพ์ขนาดเล็กท่ีมีความยาวประมาณ 5 – 60 หน้า อาจเย็บติดกัน มีปกหรือไม่มีปกก็ได้ หรือจัดทําอยู่ในรูปของแผ่นพับ เนื้อหาเกี่ยวกับ เรื่องใดเร่ืองหนึ่ง จบสมบูรณ์ภายในเล่ม โดยทั่วไปมักพิมพ์แจกเป็นอภินันทนาการ นําเสนอข่าวสาร ความรู้ท่ีเป็นส่ิงน่าสนใจในเวลาหนึ่ง เนื่องในโอกาสหรือพิธีการสําคัญ แต่เป็นประโยชน์มากเนื่องจาก เป็นความรู้ใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้ทําการจัดพิมพ์เป็นเล่ม หรืออาจหาไม่ได้จากส่ิงพิมพ์ลักษณะอ่ืนๆ เช่น บทความทางวิชาการ สุนทรพจน์ของบคุ คลสําคัญ ระเบียบข้อบังคับของหน่วยงาต่างๆ จุลสารแนะนํา การประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ประกาศหรือคําแนะนําของทางราชการ เป็นต้น วิธีการจัดเก็บมีหลาย วิธี เช่น จัดเรียงใสแ่ ฟ้มตามลาํ ดบั ตวั อกั ษรของหัวเร่ืองเรียงไวใ้ นตู้จุลสาร หรอื เก็บใส่กล่อง เป็นต้น รูปท่ี 3.8 แสดงตัวอยา่ งจุลสาร “...น้อยก็หน่งึ ” 4) กฤตภาค (Clippings) เป็นข้อมูลจากการตัดข่าว บทความจากหนังสือพิมพ์ วารสารหรอื จลุ สาร แล้วนํามาปะบนกระดาษและจัดเก็บเข้าแฟ้ม โดยมีการกําหนดหัวเร่ืองพร้อมระบุ แหล่งทม่ี า จดั เรียงตามลาํ ดับตวั อักษร เน้อื หาครอบคลมุ เหตเุ หตกุ ารณป์ จั จบุ ัน ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง สังคม การศึกษา เทคโนโลยี เป็นต้น รปู ท่ี 3.9 แสดงตัวอย่างกฤตภาค
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าหอ้ งสมดุ กบั การรู้สารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 37 5) หนังสือพิมพ์ (Newspapers) เป็นสิ่งพิมพ์ที่นําเสนอข่าวสารความรู้ที่ทันสมัย มีกําหนดออกต่อเน่ือง สมํ่าเสมอ เนื้อหาเกี่ยวกับข่าวสารด้านต่างๆ ท้ังเศรษฐกิจ สังคม กีฬา วิชาการ บทความ คอลัมน์ สารคดี และโฆษณาแจ้งความ มักจัดพิมพ์โดยบริษัทเอกชน ลักษณะเป็นกระดาษ แผ่นใหญ่ซ้อนกัน ไม่มีการเย็บเล่ม จัดเป็นสื่อที่ให้ข้อมูลข่าวสารท่ีทันสมัย ทันเหตุการณ์ท่ีสําคัญๆ ในปัจจบุ ัน รปู ที่ 3.10 แสดงตัวอยา่ งหนังสือพิมพ์ 6) วัสดุตีพิมพ์ประเภทอื่นๆ หมายถึง วัสดุตีพิมพ์ที่นอกเหนือจากรายการท่ีกล่าว มาขา้ งต้น วัตถปุ ระสงค์ในการผลติ เพือ่ นาํ ไปใชง้ านเฉพาะด้าน ตวั อยา่ งไดแ้ ก่ (1) จดหมายเหตุ (Archives) เป็นหนังสือท่ีบอกข่าวคราวท่ีเป็นไป รายงานหรือ บันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ท่ีเกิดข้ึน เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็น หลกั ฐานและเครือ่ งมอื ในการปฏิบตั งิ าน นบั เป็นเอกสารท่บี ันทึกเหตุการณห์ รอื การปฏบิ ัตงิ านขององค์การ ต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับบุคคลในสังคมด้านใดด้านหนึ่ง มีคุณค่าทางการบริหาร การเงิน กฎหมาย หรือ เปน็ พยานหลักฐาน มีสาระเชงิ ประวัตศิ าสตรแ์ ละวิทยาการใหมๆ่ สมควรเก็บรักษาตลอดไป รูปท่ี 3.11 แสดงตัวอย่างจดหมายเหตุ
เอกสารประกอบการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 38 (2) หนังสือตัวเขียน (Manuscripts) เป็นวัสดุพิเศษที่ไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ มักมีลักษณะเป็นต้นฉบับของผู้เขียนที่เป็นลายมือเขียนหรือฉบับพิมพ์ที่พิมพ์ด้วยพิมพ์ดีดหรือ เครื่องคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่เป็นจดหมายส่วนตัว บันทึกทางธุรกิจ บันทึกประจําวัน หรือต้นฉบับ นวนยิ าย รปู ที่ 3.12 แสดงตัวอยา่ งหนังสอื ตวั เขยี น “ต้นฉบับลายพระราชหตั ถเลขา บทพระราชนพิ นธ์ในพระบาทสมเดจ็ พระมงกฎุ เกล้าเจา้ อยหู่ ัว” (3) สิทธิบัตร (Patents) หมายถึง สิ่งพิมพ์ท่ีกําหนดรายละเอียดและภาพวาด แสดงการประดิษฐ์ซึ่งหน่วยงานสิทธิบัตรออกให้แก่ผู้ประดิษฐ์ เป็นเอกสารที่แสดงกรรมสิทธิ์ และคุ้มครองผลิตภัณฑ์ท่ีประดิษฐ์คิดค้นหรือออกแบบขึ้นใหม่แก่ผู้ประดิษฐ์ในช่วงเวลาใดเวลาหน่ึง เป็นเอกสารที่ใหค้ วามรทู้ างวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยที สี่ าํ คญั ช่วยให้ทราบวิธีการ กระบวนการผลิต ผลิตภัณฑต์ า่ งๆ จําแนกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ (3.1) สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นกลไก โครงสร้าง สว่ นประกอบของส่ิงของเคร่ืองใช้ เชน่ กลไกเครือ่ งยนต์ ยารักษาโรค เป็นต้น มีอายุ 20 ปี นับจากวัน ย่ืนขอรับสิทธบิ ัตร
เอกสารประกอบการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรสู้ ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 39 รูปที่ 3.13 แสดงตัวอยา่ งสิทธิบตั รการประดิษฐเ์ ครอื่ งกลเติมอากาศ \"กงั หันนํ้าชยั พัฒนา\" (3.2) สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย สสี นั ที่มองเหน็ ไดจ้ ากภายนอก เชน่ การการออกแบบแก้วน้ําใหม้ รี ูปรา่ งเหมอื นผลไม้ เป็นต้น มีอายุ 10 ปี นับจากวันยืน่ ขอรบั สทิ ธบิ ตั ร รูปท่ี 3.14 แสดงตัวอยา่ งสทิ ธิบตั ร “การออกแบบผลิตภณั ฑอ์ ุปกรณ์ทอ่ ปรบั ปรงุ คณุ ภาพของนา้ํ ท่มี พี ลงั แม่เหลก็ ความเข้มสูงของ 3P”
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าหอ้ งสมดุ กบั การรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 40 (3.3) อนุสิทธิบัตร หมายถึง การให้ความคุ้มครองส่ิงประดิษฐ์คิดค้นที่มี การปรับปรุงเพียงเล็กน้อยและมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เคร่ืองดื่มจากดอกบัว เตาอบ ไมโครเวฟหลายช้ัน จุลินทรีย์ก้อนสําหรับใช้บําบัดน้ําเสียและดูดกลิ่นอับ เป็นต้น มีอายุ 6 ปี นับจาก วนั ย่นื ขอรับอนสุ ิทธบิ ตั ร สามารถต่ออายุได้ 2 คร้ังๆ ละ 2 ปี รวมเป็น 10 ปี รปู ที่ 3.15 แสดงตวั อยา่ งอนุสิทธิบตั ร “จุลินทรยี ์กอ้ นสําหรบั ใช้บาํ บดั นํ้าเสยี และดดู กล่นิ อับ” (4) เอกสารมาตรฐาน (Standards) หมายถึง เอกสารที่ระบุเกณฑ์หรือ ข้อกําหนดที่เป็นข้อบ่งช้ีให้ทราบถึงคุณภาพ ความเหมาะสม ความปลอดภัย สัมฤทธิผล หรือคุณภาพ ของเครื่องมือและวิธีการปฏิบัติ การกําหนดหรือรับรองมาตรฐานเป็นอํานาจของหน่วยงานที่มีหน้าท่ี เช่น สํานักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม มีหน้าท่ีรับผิดชอบในการดําเนินงาน ด้านมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรม มาตรฐาน ISO (International Standard Organization) วิธีการจัดเก็บโดยเรียงลําดับอักษรหัวเรื่อง จัดเรียงบนช้ันหรือใส่กล่อง เรียงลําดับตามหมายเลข มาตรฐาน เปน็ ต้น
เอกสารประกอบการเรียนวิชาห้องสมุดกับการรสู้ ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 41 รปู ที่ 3.16 แสดงตวั อยา่ งเอกสารมาตรฐานและการเกบ็ เอกสารมาตรฐาน 1.2) หนังสือบันเทิงคดี (Fiction) หมายถึง หนังสือที่มีจุดประสงค์เพื่อความ บนั เทิง พักผ่อนหย่อนใจ สร้างความเพลิดเพลินและสสี ันของชวี ิต ได้แก นวนยิ าย เรอ่ื งสัน้ เป็นตน้ รูปที่ 3.17 แสดงตัวอย่างหนงั สือนวนิยายและเร่ืองส้ัน
เอกสารประกอบการเรียนวิชาหอ้ งสมดุ กบั การรู้สารสนเทศ บทท่ี 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 42 3.2.1.2 ข้อดแี ละขอ้ จาํ กัดของสงิ่ ตีพมิ พ์ 1) ข้อดี (1) ผู้ใช้คุ้นเคยในการในการใช้งาน ไม่ต้องใช้เคร่ืองมือหรืออุปกรณ์พิเศษ ในการอ่านหรอื เขยี น (2) การพิมพ์ทําได้สะดวก เนื่องจากมีระบบการผลิตและเผยแพร่กว้างขวาง ท่ัวโลก 2) ข้อจาํ กดั (1) มนี าํ้ หนกั มาก หากต้องมีการจัดสง่ ทางไปรษณยี ์ ตอ้ งเสยี ค่าจดั ส่ง (2) ไม่คงทนถาวร หากเวลาผ่านไป อาจกรอบ ชํารุด เสียหาย ต้องมีการ จดั เก็บรักษาอยา่ งดี 3.2.2 วสั ดไุ ม่ตีพมิ พ์ 3.2.2.1 ความหมายของวสั ดุไมต่ ีพมิ พ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ หมายถึง วัสดุใดๆ ท่ีต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเพ่ือการรับฟังหรือ มองเห็น สําหรับใชใ้ นการศึกษาค้นคว้าเพื่อการเรยี นรู้หรอื ความบนั เทิง แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ไดด้ ังนี้ 1) ทัศนวัสดุ (Virtual Materials) หมายถึง วัสดุสารสนเทศที่รับรู้ด้วยสายตา ทงั้ การมองดว้ ยตาเปลา่ หรือใชเ้ คร่ืองมอื ช่วย ได้แก่ (1)รูปภาพ (Pictures) หมายถึง รูปภาพต่างๆ ทั้งภาพถ่าย ภาพเขียน ภาพวาดหรอื ภาพพิมพ์ อยใู่ นรูปแบบของรปู ถา่ ยจดั แสดงบนผนัง แผ่นพับหรอื รวมเล่ม (Album) (2)แผนภมู ิ (Charts) หมายถงึ วัสดทุ ่ใี ชแ้ สดงความสัมพันธ์ของข้อมูล เรื่องราว ตา่ งๆ เพื่อง่ายต่อการทําความเข้าใจและน่าสนใจ โดยใช้องค์ประกอบที่เป็นทั้งภาพ สัญลักษณ์และคํา บรรยายประกอบ มีหลายรูปแบบ เช่น แบบตาราง แบบอธิบายภาพ แบบวิวัฒนาการ เป็นต้น ตัวอย่างเช่น แผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ของการจัดการ บริษัท องค์กร แผนภูมิแสดงการสืบตระกูล เปน็ ตน้ รปู ท่ี 3.18 แสดงตวั อยา่ งแผนภมู ิ
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าหอ้ งสมุดกับการรู้สารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 43 (3)แผนภาพ (Diagrams) หมายถึง วัสดุท่ีใช้แสดงโครงสร้างและความสัมพันธ์ ภายในโครงสร้างหรือแสดงกระบวนการต่างๆ โดยใช้ลายเส้นและสัญลักษณ์ พร้อมคําบรรยาย ประกอบ อาทิเช่น แผนภาพแสดงการประกอบช้ินส่วนของเด็กเล่น แผนภาพแสดงการร้อยฟิล์ม ในเครื่องฉายภาพยนตร์ เปน็ ตน้ รูปท่ี 3.19 แสดงตวั อยา่ งแผนภาพการกาํ จัดขยะมูลฝอย (4)แผนสถิติ (Graphs) หมายถึง วัสดุท่ีใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลข จํานวน หรือสัดส่วนเพอื่ ชว่ ยใหเ้ ขา้ ใจขอ้ มูลไดร้ วดเรว็ และถกู ตอ้ ง จุดมุ่งหมายสําคัญคือ แสดงการเปรียบเทียบ แสดงแนวโน้ม แสดงความเปล่ียนแปลง หรือปริมาณข้อมูลในรูปแบบท่ีง่ายและรวดเร็วที่สุด แผนสถิติ หรือกราฟมีหลายรูปแบบ เชน่ กราฟแท่ง กราฟวงกลม กราฟโดนัท กราฟเส้น เปน็ ตน้ รูปท่ี 3.20 แสดงตัวอย่างแผนภมู ิการกําจดั ขยะมูลฝอย (5)แผนท่ี (Maps) หมายถึง วัสดุที่ใช้ในการแสดงลักษณะทางภูมิศาสตร์ท้ัง ด้านภูมิภาคและกายภาพ โดยใช้สีและสัญลักษณ์แสดง ใช้ในการศึกษาหลายสาขาวิชา ทั้งภูมิศาสตร์
เอกสารประกอบการเรยี นวิชาห้องสมุดกบั การรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 44 ประวัติศาสตร์ โบราณคดี เป็นต้น มีท้ังรูปแบบของแผ่นพับ ชนิดแขวน ชนิดเย็บเล่ม จัดเก็บไว้ในตู้ ลิน้ ชกั เฉพาะ หรือพบั ใส่ซองพรอ้ มระบุท่ซี อง รูปท่ี 3.21 แสดงตัวอยา่ งแผนทป่ี ระเทศไทย (6)ภาพน่งิ หรอื สไลด์ (Slide) หมายถงึ ภาพนงิ่ ท่ที ํามาจากฟิล์มสไลด์แล้วนํามา เข้ากรอบ มีทั้งเป็นแผ่นเดี่ยวๆ หรือเป็นชุดสําหรับแสดงเร่ืองราวหัวข้อใดหัวข้อหน่ึง โดยต้องฉายผ่าน เคร่อื งสไลด์ อาจมีเสยี งหรือไมม่ เี สยี งประกอบก็ได้ ใช้สําหรับการศึกษาได้ทุกสาขาวิชา เช่น การศึกษา ภาพในอดตี ภาพเหตกุ ารณส์ าํ คัญๆ เป็นต้น รปู ที่ 3.22 แสดงตวั อยา่ งสไลด์และเครอื่ งฉายสไลด์
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าหอ้ งสมุดกับการรู้สารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 45 (7)แผ่นโปร่งใส (Transparencies) หมายถึง วัสดุท่ีเป็นแผ่นพลาสติกหรือ อาซีเตท ขนาดท่ีนิยมใช้คือขนาด 8 X 10 น้ิว เข้ากรอบกระดาษแข็ง ฉายผ่านเคร่ืองฉายข้ามศีรษะ (Overhead Projection) ภาพในแผ่นใสได้มาจากท้ังการเขียน การถ่ายเอกสาร หรือพิมพ์ จากเคร่อื งพิมพ์ รปู ท่ี 3.23 แสดงการใช้เครือ่ งฉายขา้ มศรี ษะ (8)ลูกโลก ห่นุ จําลอง ของตวั อยา่ ง (8.1) ลูกโลก (Globes) ใชเ้ พ่อื การศึกษาค้นควา้ เกีย่ วกบั ภมู ิศาสตร์ อาณาเขต แมน่ ้ํา ภเู ขา มหาสมุทร ช่วยให้เข้าใจสัณฐานของโลกได้ใกล้เคยี งของจรงิ รูปท่ี 3.24 แสดงตัวอย่างลกู โลก
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าห้องสมดุ กบั การรู้สารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 46 (8.2) หุ่นจําลอง (Models) หมายถึง วัสดุสามมิติที่สร้างให้มีลักษณะ เหมือนของจริงหรือทําเลียนแบบของจริง เช่น การจําลองขนาดของสัตว์ท่ีมีขนาดใหญ่เพ่ือสะดวก ในการศึกษาและเก็บรักษาได้ง่ายและราคาถูก หรือหุ่นจําลองขยายสัดส่วนของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มากๆ ให้มีขนาดใหญเ่ พ่ือตอ่ การศกึ ษาหรอื มองเห็น รูปที่ 3.25 แสดงตวั อยา่ งหนุ่ จาํ ลองมนษุ ย์ 8.3) ของตัวอย่าง (Specimens) หมายถึง วัตถุท่ีเป็นของจริงต่างๆ ท่ีนํามาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ให้ได้ประสบการณ์โดยตรง เช่น ตัวอย่างหิน แร่ หรือเงินตราของ ประเทศต่างๆ รูปท่ี 3.26 แสดงของตัวอยา่ ง ธนบตั รเก่าและลูกปดั โบราณ (9) วัสดุย่อส่วน (Microfilm) หมายถึง การเก็บข้อมูลลงในวัสดุขนาดเล็ก โดยวิธีการถ่ายภาพหรือพิมพ์ ส่ิงที่เป็นหนังสือ วารสารต้นฉบับหรือเอกสารอ่ืนๆ เพื่อย่อส่วนลงจนมี
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าหอ้ งสมดุ กับการรู้สารสนเทศ บทท่ี 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 47 ขนาดเล็กจนไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เคร่ืองอ่านท่ีจัดทําขึ้นเฉพาะวัสดุน้ันๆ ในการขยาย ใหส้ ามารถอา่ นได้ ประกอบไปดว้ ย (9.1) ไมโครฟิล์ม (Microfilms) มีลักษณะเป็นการถ่ายสารสนเทศลงบน แผ่นฟิล์มม้วนยาว 100 ฟุต ขนาด 16 มม. หรือ 35 มม. การใช้งานต้องนําเข้าเครื่องอ่านไมโครฟิล์ม เพือ่ ขยายภาพแล้วอ่านไดท้ ีละหนา้ เหมอื นการอา่ นจากหนงั สือ สารสนเทศที่จดั เก็บมกั เปน็ สง่ิ พิมพ์ท่ีมี ความต่อเนื่อง เชน่ วาสาร หนงั สอื พมิ พฉ์ บบั ย้อนหลงั หนงั สอื หายาก เปน็ ตน้ รูปท่ี 3.27 แสดงตวั อยา่ งไมโครฟิล์มและเคร่อื งอ่านไมโครฟิลม์ (9.2) ไมโครฟิช (Microfiches) เป็นการถ่ายเอกสารสารสนเทศย่อส่วน ลงบนแผ่นฟิล์มเช่นเดียวกับไมโครฟิล์ม ต่างกันตรงเป็นฟิล์มที่มีขนาด 3 X 5 น้ิว 4 X 6 น้ิว หรือ 5 X 8 น้ิว มีลักษณะเป็นแผ่นไม่เป็นม้วน การใช้งานต้องใช้กับเครื่องอ่านไมโครฟิช สามารถบรรจุภาพได้ 60 – 200 ภาพ สารสนเทศทจ่ี ัดเกบ็ มกั เป็นส่งิ พมิ พ์ที่มีขนาดสนั้ ไมต่ ่อเนอ่ื ง เช่น หนังสือ วทิ ยานพิ นธ์ รปู ท่ี 3.28 แสดงตัวอย่างไมโครฟิชและเครื่องอา่ นไมโครฟิช
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าห้องสมุดกบั การรู้สารสนเทศ บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 48 (9.3) ไมโครการ์ด (Microcard) มีลักษณะคล้ายกับไมโครฟิช สามารถย่อส่วน สิ่งพิมพ์ได้ 100 หน้าต่อบัตร การใช้งานต้องใช้เคร่ืองอ่านไมโครฟิล์มหรือไมโครฟิช หรือเครื่องอ่านวัสดุ ยอ่ ส่วนบางเครอ่ื งสามารถใชอ้ า่ นได้ท้งั ไมโครฟิล์ม ไมโครฟชิ และไมโครการด์ การนําข้อมูลจากวัสดุย่อส่วนไปใช้งาน ทําได้โดยใช้เครื่องอ่านและทําสําเนา (Reader – Printer) รปู ท่ี 3.29 แสดงตัวอยา่ งไมโครการด์ 3.2.2.2 ข้อดแี ละข้อจํากัดของวัสดุยอ่ ส่วน 1) ข้อดี (1) ประหยัดพื้นท่ีในการจดั เกบ็ กว่าวสั ดุท่ีอยใู่ นรูปกระดาษ (2) หากจัดเก็บอย่างถูกวิธีสามารถเก็บได้คงทนถาวร นับร้อยปี เหมาะสําหรบั จัดเกบ็ สาํ เนาตน้ ฉบับสงิ่ พมิ พ์ (3) มีน้ําหนักเบา สะดวกในการจดั สง่ 2) ข้อจํากัด (1) การอ่านตอ้ งใช้เครอื่ งอา่ นโดยเฉพาะ (2) ข้อจํากัดของการอ่านในลักษณะเรียงตามลําดับของฟิล์มหรือ ไมโครฟิช ทาํ ใหก้ ารอ่านทาํ ได้ชา้ และไม่สะดวกในการอ่าน 2) โสตทัศนวัสดุ (Audio visual Materials) หมายถึง วัสดุสารสนเทศท่ีมีท้ังภาพ และเสยี ง ไดแ้ ก่ (1) ภาพยนตร์ (Motion Pictures) เป็นภาพน่ิงท่ีถ่ายทําต่อเนื่องกันไปตาม แนวต้ังของฟิล์ม เม่ือนํามาฉายด้วยเครื่องฉายภาพยนตร์ จะเกิดเป็นภาพเคล่ือนไหวที่ต่อเน่ืองเป็น ธรรมชาติ มีท้ังขนาด 8 มม. และ 16 มม. มีท้ังเสียงหรือไม่มีเสียงบรรยายให้ท้ังความรู้และความ บันเทงิ ในทกุ สาขาวชิ า
เอกสารประกอบการเรียนวิชาหอ้ งสมุดกบั การรูส้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 49 รูปที่ 3.30 แสดงตัวอยา่ งฟลิ ์มภาพยนตร์ (2)เทปบันทึกภาพหรือวิดีโอเทป (Video Tape) เป็นวัสดุท่ีบันทึกภาพและ เสียงไว้ในเส้นเทปในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีท้ังชนิดม้วนและชนิดตลับ การใช้งานต้องใช้กับเครื่อง เล่นเทป ข้อมูลท่ีจัดเก็บนอกเหนือจากสารสนเทศเกี่ยวกับความรู้ในเรื่องต่างๆ แล้ว ยังใช้ในการ จดั เก็บข้อมูลใหมๆ่ เช่น การสัมภาษณบ์ ุคคลสําคญั การบันทกึ การบรรยาย อภปิ ราย เป็นต้น รูปท่ี 3.31 แสดงตวั อยา่ งเทปบนั ทึกภาพ (3) เทปบันทึกเสียง (Audio tapes) หมายถึง วัสดุบันทึกเสียงลงบนแถบ แม่เหล็กและบรรจุในตลับเพ่ือบรรจุสารสนเทศที่อยู่ในรูปของเสียงเพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า โดยเฉพาะการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เช่น การเรียนภาษา การอ่านบทกวีนิพนธ์ บทละคร บทสัมภาษณ์ อภิปราย บรรยาย เป็นต้น การใชง้ านตอ้ งเปดิ ฟงั หรือบันทกึ จากเครื่องเลน่ เทป รปู ท่ี 3.32 แสดงตัวอย่างเทปบนั ทกึ เสยี งและเครื่องเลน่ เทปบันทึกเสยี ง
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าห้องสมดุ กับการร้สู ารสนเทศ บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 50 (4) แผ่นเสียง (Phonodiscs) หมายถึง แผ่นพลาสติกมีร่อง ใช้หัวเข็มเล่น บันทึกข้อมูลเสียงดนตรี หรือเสียงธรรมชาติ การใช้งานต้องเปิดด้วยเครื่องเล่นแผ่นเสียง ปัจจุบันไม่มี การผลติ แลว้ รูปที่ 3.33 แสดงตัวอย่างแผ่นเสียงและเคร่ืองเล่นแผน่ เสยี ง 3) วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Material) หมายถึง สารสนเทศท่ีบันทึก และสืบค้นดว้ ยคอมพวิ เตอร์ มีดงั ต่อไปนี้ (1) จานแสงหรือออปติคัลดิสก์ (Optical Disk) ลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกท่ีมี การเคลือบโลหะสะท้อนแสงไว้ท่ีผิว ใช้แสงเลเซอร์ในการอ่าน เขียนข้อมูล ข้อดีคือสามารถเก็บข้อมูล ได้จํานวนมากโดยใชพ้ ืน้ ที่นอ้ ย โดยทว่ั ไปมี 2 ประเภท คอื (1.1) ซีดีหรือคอมแพ็กดิสก์ (Compact Disc – CD) จุข้อมูลได้ถึง 650 – 750 เมกกะไบต์ บันทึกได้หน้าเดียวและชั้นเดียว มักนํามาใช้เก็บข้อมูลทั้งภาพน่ิง ภาพเคล่ือนไหว เสียง กราฟิก ท่ีเรียกว่า สื่อประสม หรือมัลติมีเดีย เช่น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) บทเรียน คอมพิวเตอร์ชว่ ยสอน (Computer Assistant Instruction - CAI) เปน็ ตน้ รูปท่ี 3.34 แสดงตัวอย่างแผน่ ซีดีและลกั ษณะการบันทกึ ข้อมลู บนซีดี ทม่ี า : http://www.mary.ac.th/nattawut/kcd_rw.html
เอกสารประกอบการเรียนวิชาหอ้ งสมดุ กับการรสู้ ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 51 (1.2) ดีวีดี (Digital Versatile Disc - DVD) สามารถจุข้อมูลได้มากกว่าซีดี หลายเท่าคือตั้งแต่ 4.7 กิกะไบต์ ถึง 17 กิกะไบต์ หรือมากกว่าแผ่นซีดีรอม 7 – 25 เท่า เน่ืองจาก สามารถบันทึกข้อมูลได้สองหน้าและสองชั้น มีความหนาแน่นในการเขียนข้อมูลได้มากกว่าซีดี ตัวอย่างสารสนเทศท่ีจัดเก็บเช่น งานมัลติมีเดียที่มีท้ังภาพ เสียง ภาพยนตร์ที่ต้องการความคมชัด เปน็ ต้น รปู ท่ี 3.35 แสดงตัวอย่างแผ่นดีวดี ี การสืบค้นสารสนเทศจากจานแสงต้องใช้กับเคร่ืองไมโครคอมพิวเตอร์และ เครื่องอ่านซีดีหรือดีวีดี การจัดเก็บจานแสงในห้องสมุดมักจัดรวมกับบริการโสตทัศนวัสดุ พร้อมให้ สัญลกั ษณ์ท่ีเป็นตัวอักษรยอ่ แสดงลักษณะของวสั ดุและเลขทะเบียน จดั เรยี งตามลาํ ดบั เลขทะเบียน ขอ้ แตกต่างระหว่าง Disk และ Disc Disk Disc คาํ วา่ Disk มีใช้ 2 คํา ได้แก่ Disk ใช้กับจานแม่เหล็กคอมพิวเตอร์ (Magnetic Computer Disk) เช่น แผ่นดิสก์ disk นี้ โดย Disk น้ัน จะถูกบรรจุอยู่ภายในกรอบโลหะ หรือพลาสติก ซึ่งตัว disk และตัวกรอบน้ี เป็นรู้จักกันในชื่อ hard drive Disc ใช้กับจานหรือแผ่นท่ีจัดเก็บข้อมูลด้วยแสงที่ใช้กับคอมพิวเตอร์ (Computer laser optical disc) เช่น แผ่นดีวีดี ตัวดิสก์เอง ถูกนําออกมาจากเครื่องโดยตรง ไม่ได้ถูกห่อหุ้มด้วยส่ิงใด (Removable disc) 2) ส่ืออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Medias) หมายถึง สารสนเทศบนส่ือ อิเล็กทรอนกิ ส์ เพอื่ การเผยแพรข่ อ้ มูล ความรู้ ขา่ วสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ ได้แก่ วารสารอิเล็กทรอนิกส์
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 52 สําหรับเผยแพร่ควบคู่กับฉบับที่ตีพิมพ์ อิเล็กทรอนิกส์นิวส์ คือการเสนอข่าวด้วยคอมพิวเตอร์ผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail – E-mail) เพื่อการส่ือสารผ่านคอมพิวเตอร์ด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ห้องสมุดอาจนําไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น การติดต่อระหว่างห้องสมุด การส่ังซ้ือ-ค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ การยืมระหว่างห้องสมุด การบอกรับวารสารอเิ ลก็ ทรอนกิ ส์ 3) โทรสาร (Facsimile, Fax) เป็นการส่งเอกสารผ่านสื่อโทรคมนาคมระหว่าง ผู้สง่ ต้นทางและผรู้ ับปลายทาง รปู ท่ี 3.36 แสดงตัวอย่างเครื่องรับส่งแฟก็ ซ์ 4) การ์ดความจําและแท่งความจํา (Memory Card, Memory Stick) มีขนาด เลก็ บาง มีความจุสูง เพอื่ ใชก้ ับอปุ กรณ์คอมพวิ เตอรต์ า่ งๆ เชน่ กล้องถา่ ยรูปดจิ ติ อล และอปุ กรณต์ ่อพ่วง อืน่ ๆ รปู ที่ 3.37 แสดงตวั อยา่ งการ์ดความจาํ เครอื่ งอา่ นการด์ ความจาํ และแท่งความจํา 5) ฐานขอ้ มลู คอมพิวเตอร์ (Computerized Databases) หมายถึง การรวบรวม ข้อมูลสารสนเทศท่ีสัมพันธ์กันไว้ในสื่อท่ีคอมพิวเตอร์อ่านได้ เช่น แถบแม่เหล็ก (Magnetic Taps) จานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) และออปติคัลดิสก์ (Optical Disc) เป็นต้น สื่อเหล่าน้ีใช้ทดแทนส่ิงพิมพ์
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าหอ้ งสมดุ กบั การรู้สารสนเทศ บทท่ี 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 53 หรือโสตทัศนวัสดุบางประเภท ช่วยอํานวยความสะดวก รวดเร็วในการสืบค้นสารสนเทศท่ีมีการจัดเก็บ อย่างถูกต้องเป็นระบบเพ่ือการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและปฏิบัติงานต่างๆ การจัดประเภทของฐานข้อมูล ทใ่ี ช้ในหอ้ งสมดุ และศูนย์สารสนเทศ มดี ังตอ่ ไปนี้ (5.1) ฐานข้อมลู ทห่ี ้องสมุดเฉพาะแห่งพฒั นาขึ้นใชเ้ อง (In-house Database) ประกอบด้วย (1) ฐานข้อมูลพื้นฐาน หมายถึง ฐานข้อมูลที่จัดทําข้ึนเพ่ืออํานวย ความสะดวกสําหรับผู้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด เช่น ฐานข้อมูลหนังสือ ฐานข้อมูลวารสาร ฐานข้อมูลโสตทศั นวสั ดุ ฐานข้อมูลงานวจิ ยั หรอื วทิ ยานพิ นธ์ รูปท่ี 3.38 แสดงตัวอย่างฐานข้อมูลทรัพยากรหอ้ งสมดุ (2) ฐานข้อมูลเฉพาะเร่ือง หมายถึง ฐานข้อมูลเฉพาะหัวข้อวิชาใด วิชาหนึ่งท่ีห้องสมุดจัดทําข้ึนตามความต้องการของห้องสมุดหรือสถาบัน สําหรับใช้ค้นคว้าวิจัยของครู อาจารย์ นกั เรียน นักศึกษา เช่น ฐานข้อมูลซีเมนต์เสริมเหล็กนานาชาติของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ฐานขอ้ มูลใครเปน็ ใครในประเทศไทยของสาํ นกั บรรณสารการพัฒนา สถาบนั บณั ฑติ พฒั นบรหิ ารศาสตร์ รปู ท่ี 3.39 แสดงตวั อยา่ งเว็บไซตเ์ ฉพาะเร่อื ง ข้อมูลกรมทรพั ยส์ นิ ทางปญั ญา
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าห้องสมุดกบั การรู้สารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 54 (5.2) ฐานข้อมูลจากแหล่งอ่ืน หมายถึง ฐานข้อมูลท่ีห้องสมุดจัดหาหรือจัดทํา ขนึ้ เพื่อให้บริการในการศกึ ษาคน้ คว้า ได้แก่ (1) ฐานข้อมูลเพื่อการค้า (Commercial Databases) หมายถึง ฐานข้อมูลที่บันทึกลงในจานแสง ทั้งซีดีและดีวีดี มีลักษณะ ได้แก่ ฐานข้อมูลที่จัดทําโดยบริษัทต่างๆ ที่ครอบคลุมสาขาวิชาต่าง ใช้ในการอ่านเพียงอย่างเดียว เช่น DIALOG ON disc ฐานข้อมูลสหวิชา COMPENDEX PLUS (สาขาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาท่ีเกี่ยวข้อง) และ DISSERTATION ABSTRACTS ON DISK, DAO วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทและเอกทกุ สาขาวชิ าจากทว่ั โลก รปู ที่ 3.40 แสดงตวั อยา่ งการสบื ค้นข้อมูลจากฐานขอ้ มลู DAO (2) ฐานข้อมูลออนไลน์ (Online Databases) หมายถึง คลังข้อมูล ท่ีผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงได้โดยการเชื่อมโยงผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังฐานข้อมูลต่างๆ ท่ีต้องการ หากฐานข้อมูลนน้ั มกี ารปรบั ปรงุ ขอ้ มลู อยตู่ ลอดเวลา จะทาํ ให้ได้สารสนเทศทที่ ันสมัยกว่าฐานข้อมูลท่ีถูก บนั ทกึ ลงในจานแสง รูปท่ี 3.41 แสดงตวั อย่างฐานขอ้ มลู ออนไลน์
เอกสารประกอบการเรียนวิชาห้องสมุดกับการร้สู ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 55 3.3 หนงั สอื อ้างองิ ในการศึกษาตามระบบการเรียนที่มุ่งเน้นการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองและการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ตลอดชีวิตน้ัน ผู้เรียนจะต้องรู้จักและเลือกใช้แหล่งสารสนเทศเพ่ือให้ได้ข้อมูลตรงกับความตอ้ งการและ สามารถประยุกต์ใช้งานได้จริง หนังสืออ้างอิงนับเป็นแหล่งสารสนเทศอีกประเภทหน่ึงท่ีมีคุณค่าต่อการ เรยี นรู้และนาํ ไปใช้ในการอ้างอิง ดงั รายละเอยี ดต่อไปน้ี 3.3.1 ความหมายของหนังสืออ้างอิง (Reference Books) หนังสืออ้างอิง หมายถึง หนังสือที่รวบรวมข้อเท็จจริงซึ่งรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ นํามา เรยี บเรียงเขา้ ด้วยกนั เพอ่ื การค้นหาคําตอบเรื่องใดเรอ่ื งหนึ่งได้อยา่ งรวดเร็ว 3.3.2 ลกั ษณะของหนังสืออา้ งองิ หนังสืออา้ งองิ จะมีลักษณะดังต่อไปนอี้ ยา่ งใดอยา่ งหนึ่ง หรอื หลายอย่างประกอบกนั ได้แก่ 3.3.2.1 เป็นหนังสือท่ีมุ่งรวบรวมเน้ือหา ข้อมูลท่ีเป็นข้อเท็จจริงเป็นสําคัญ เพ่ือใช้ใน การศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพียงบางส่วน ไม่ต้องอ่านท้ังเล่ม เช่น เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ภาพบุคคล หรือสถานทส่ี าํ คญั ๆ 3.3.2.2 รวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ อย่างกว้างขวางหรือลึกซ้ึง เขียนโดยคณะ ผู้ทรงคุณวฒุ ิในสาขาวิชานนั้ โดยเฉพาะ 3.3.2.3 มักมีขนาดแตกต่างจากหนังสือปกติ เช่น มีขนาดใหญ่กว่า หนากว่า พิมพ์จํานวน หลายๆ เล่มใน 1 ชุด พมิ พ์ดว้ ยกระดาษอยา่ งดี เปน็ หนังสือหายาก หรือมีราคาแพง 3.3.2.4 ลักษณะการจัดรูปเล่มและส่วนประกอบของเนื้อหามีเคร่ืองมือช่วยอํานวย ความสะดวกในการคน้ หาเรือ่ งท่ตี อ้ งการ ได้แก่ 1) อักษรนําเล่ม (Volume Guide) หมายถึง ตัวเลข ตัวอักษร หรือส่วนของคําที่ พิมพ์ไว้บริเวณสันหนังสือ กรณีที่หนังสือมีหลายเล่มจบ เช่น สารานุกรม เพ่ือให้ผู้อ่านทราบว่าหนังสือ เลม่ นั้นมีเนอ้ื หาเริ่มตน้ ต้งั แต่ตวั อกั ษรใด รปู ท่ี 3.42 แสดงตวั อย่างอกั ษรนาํ เล่ม
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าห้องสมดุ กบั การรสู้ ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 56 2) ดรรชนีหัวแม่มอื หรือดรรชนรี ิมหน้ากระดาษ (Thumb Index) ในกรณีที่หนังสือ มีขนาดหนากว่าปกติ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม หรือปทานุกรม จะมีการเจาะริมหน้ากระดาษ พร้อมพิมพ์ตัวอักษรกํากับหรือบางครั้งอาจใช้วิธีพิมพ์เป็นแถบสีที่ริมขอบกระดาษเรียกว่า ดรรชนี แถบหมกึ เพอื่ ให้ผอู้ า่ นเปดิ หาคาํ ทต่ี อ้ งการได้รวดเรว็ ข้ึน รูปท่ี 3.43 แสดงตัวอยา่ งดรรชนีหวั แม่มือ 3) คํานําทาง (Running Head Guide Word) หมายถึง คําหรือตัวอักษรท่ีปรากฏ บริเวณกลางหน้าหรือมุมบนขวาและมุมล่างของกระดาษ เพื่อบอกให้ผู้อ่านทราบว่าหน้านั้นข้ึนต้นด้วย ตัวอกั ษรใดและจบท่ตี วั อักษรใด รูปที่ 3.44 แสดงตัวอย่างคาํ นาํ ทาง
เอกสารประกอบการเรียนวิชาหอ้ งสมุดกบั การรสู้ ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 57 4) ดรรชนี (Index) หมายถึง บัญชีคําหรือข้อความท่ีเรียงลําดับตามตัวอักษรพร้อม บอกหมายเลขหน้าท่ีปรากฏคําหรือข้อความนั้นว่าอยู่ในหน้าใด มักจัดไว้ส่วนท้ายเล่ม หากเป็นหนังสือ ทีเ่ ปน็ ชดุ หลายเล่มจบ จะปรากฏในเลม่ สดุ ทา้ ย รูปที่ 3.45 แสดงตวั อย่างดรรชนี 5) สว่ นโยง (Cross Reference) หมายถงึ การแนะให้ไปอา่ นเรื่องใดๆ จากหัวข้ออ่ืน หรือเรื่องอน่ื ในหนงั สอื อา้ งองิ ทกี่ าํ ลังอ่านอยนู่ ัน้ รูปที่ 3.46 แสดงตวั อยา่ งสว่ นโยง
เอกสารประกอบการเรยี นวิชาห้องสมุดกบั การรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 58 3.3.3 ประเภทของหนงั สอื อา้ งอิง การแบ่งประเภทของหนังสืออ้างอิงตามลักษณะของหนังสืออ้างอิง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ไดแ้ ก่ 3.3.3.1หนังสอื อา้ งองิ ท่ีให้สารสนเทศโดยตรง หมายถงึ หนังสืออ้างอิงท่เี มอ่ื ผู้ใช้สามารถเลือก ค้นหาขอ้ มูลจากหนังสืออา้ งประเภทน้ี จะไดค้ ําตอบหรอื ขอ้ เท็จจริงไดท้ นั ที ดงั มรี ายละเอียดตอ่ ไปนี้ 1) พจนานุกรม (Dictionaries) หมายถึง หนังสืออ้างอิงท่ีให้ความรู้เก่ียวกับภาษา จดั เรียงลําดับตามตวั อักษร ใหข้ ้อมลู เกย่ี วกับการสะกดคาํ ที่ถูกต้อง คาํ จาํ กัดความหรอื ความหมายของคํา การอ่านออกเสียง ที่มาของคํา ชนิดของคํา การใช้คําในความหมายต่างๆ ตัวอย่างการใช้รูปประโยค เปน็ ต้น บางเล่มอาจมภี าพประกอบคําอธิบาย พจนานกุ รมแบง่ ไดเ้ ป็น 2 ประเภท ไดแ้ ก่ (1) พจนานุกรมท่ัวไป (General Dictionaries) หรือพจนานุกรมทางภาษา (Language Dictionaries) เป็นพจนานุกรมทใี่ หค้ วามรเู้ ก่ียวกับคาํ ในภาษาต่างๆ มีท้ังพจนานุกรมภาษา เดียว สองภาษา หรือหลายภาษา รปู ท่ี 3.47 แสดงตัวอย่างหนังสอื พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 (2) พจนานุกรมเฉพาะวิชา (Specific Dictionaries) เป็นพจนานุกรมท่ีให้ ความรู้เก่ียวกับคําศัพท์ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง สําหรับค้นคว้าในสาขาวิชาน้ันๆ บางคําศัพท์อาจเป็น ศัพท์ท่ีเกิดข้ึนใหม่ หรือคําศัพท์เก่ามาใช้เฉพาะ หรือการรวมศัพท์หลายคํามารวมกันเป็นความหมาย ใหม่ เชน่ พจนานกุ รมศพั ทค์ อมพิวเตอร์ พจนานกุ รมศพั ท์เคมี ศัพทช์ ่าง ศัพท์สังคตี เปน็ ตน้
เอกสารประกอบการเรยี นวิชาห้องสมดุ กับการรู้สารสนเทศ บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 59 รปู ที่ 3.48 แสดงตวั อยา่ งพจนานุกรมเฉพาะวิชา 2) สารานุกรม (Encyclopedias) หมายถึง หนังสือท่ีให้ความรู้ ข้อเท็จจริง ในสาขาวิชาการต่างๆ สําหรับบุคคลทั่วไป หรือผู้ท่ีมีความรู้ในระดับต่างๆ เช่น นักเรียน นักศึกษา เขียนโดยผู้ชํานาญของแต่ละสาขาวิชา เนื้อหาจัดเรียงอย่างเป็นระบบเพ่ือความสะดวกในการค้นหา เช่น เรยี งตามลําดบั ตวั อักษร เรียงตามหมวดหมู่ เป็นต้น แบ่งตามขอบเขตของเน้ือหาได้ 2 ประเภท ได้แก่ (1) สารานกุ รมท่วั ไป (General Encyclopedias) หมายถึง สารานุกรมท่ีให้ความรู้ ในทุกแขนงวิชา ให้ความรู้พ้ืนฐานสําหรับค้นเรื่องราวท่ีต้องการโดยสังเขป ตัวอย่างเช่น สารานุกรมไทย ฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน สารานกุ รมโลกของเรา
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าหอ้ งสมดุ กบั การรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 60 รปู ที่ 3.49 แสดงตัวอย่างหนังสอื สารานกุ รมและรายละเอยี ดในหนังสอื สารานุกรมไทยสาํ หรบั เยาวชน (2) สารานุกรมเฉพาะวิชา (Specific Encyclopedias) หมายถึง สารานุกรมที่ให้ ความรู้ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง อธิบายเรื่องราวอย่างละเอียด ลึกซ้ึงกว่าสารานุกรมท่ัวไป ตัวอย่างเช่น สารานกุ รมปรชั ญา สารานกุ รมวรรณคดี สารานกุ รมวทิ ยาศาสตร์ เป็นต้น รปู ท่ี 3.50 แสดงตัวอยา่ งรายละเอยี ดในหนังสอื พจนานกุ รมวัฒนธรรมภาคใต้
เอกสารประกอบการเรยี นวิชาห้องสมดุ กับการรู้สารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 61 3) หนังสือรายปี (Yearbooks, Almanacs, Annuals) หมายถึง หนังสือที่รวบรวม ความรู้และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา มีการจัดพิมพ์อย่างสมํ่าเสมอเป็นรายปี เพ่ือรวบรวมเร่ืองราว เหตุการณ์ สถิติตัวเลข ความเคลื่อนไหว หรือเหตุการณ์สําคัญๆ ในรอบปี สําหรับ อ้างอิงเปรียบเทียบ มีท้ังของภาครัฐและเอกชน กล่าวถึงเนื้อหาสาระของหนังสือรายปี จําแนกได้เป็น ประเภท Yearbooks มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับรัฐบาล องค์การ หรือหน่วยงานเอกชน ประเภทสมพัตรสร หรือ Almanacs มีเนื้อหาสาระเก่ียวกับสถิติ เรื่องราว เหตุการณ์ด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ดนตรี กีฬา เป็นต้น จัดพิมพ์โดยสํานักพิมพ์เอกชน และประเภท Books of the Year หรือ Annuals คือ หนังสือรายปขี องสารานุกรมชดุ ตา่ งๆ จดั ทาํ ขึ้นเพอื่ เพ่ิมข้อมูลในสารานกุ รมชดุ น้ันให้ทนั สมัยขน้ึ รปู ท่ี 3.51 แสดงตวั อยา่ งหนังสอื รายปี 4) หนังสือคู่มือ (Handbooks) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมความรู้ คําแนะนําหรือ ข้อเท็จจริงเฉพาะด้านอย่างละเอียด สามารถนําติดตัวไปใช้งานได้สะดวก ค้นหาเรื่องราวได้เบ็ดเสร็จ ในเลม่ เดยี ว แบ่งประเภทตามเน้อื หาได้ 3 ประเภท ดงั น้ี (4.1) หนังสือคู่มือช่วยในการปฏิบัติงาน เช่น คู่มือการตัดเย็บเสื้อผ้า ระเบียบ สารบรรณ (4.2) หนังสือคู่มือท่ีให้ความรู้เฉพาะด้าน เช่น คู่มือการแนะแนวอาชีพ คู่มือ การลูกเสอื ไทย
เอกสารประกอบการเรยี นวิชาหอ้ งสมดุ กบั การรู้สารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 62 (4.3) หนังสือคู่มือรวบรวมความรู้แปลกๆ เช่น ในสาขาวิชาต่างๆ ที่ยากแก่การ ค้นควา้ เชน่ ส่งิ แรกในเมืองไทย เปน็ ต้น รูปที่ 3.52 แสดงตวั อยา่ งหนังสอื คู่มอื 5) นามานุกรม หรือทําเนียบนาม (Directories) หมายถึง หนังสือที่รวบรวมรายช่ือ บุคคล สถาบัน องค์การ สมาคม บริษัทหรือหน่วยงานราชการ พร้อมที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ จัดเรียงลําดับตามตัวอักษรแรกของช่ือ มีท้ังช่ือบุคคล ชื่อสถานที่และข้อมูลอื่นๆ โดยสังเขป เช่น สมดุ โทรศัพท์ ทําเนยี บนามผเู้ ช่ียวชาญไทยในสาขาความเชีย่ วชาญต่างๆ นามสงเคราะห์ส่วนราชการไทย เป็นต้น รูปท่ี 3.53 แสดงตวั อย่างทาํ เนยี บนามและรายละเอียดในทําเนยี บนาม
เอกสารประกอบการเรียนวชิ าห้องสมดุ กบั การรูส้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 63 6) อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionaries) หรือหนังสือชีวประวัติ บุคคล หมายถึง หนังสือท่ีให้ข้อมูลของบุคคลสําคัญเก่ียวกับภูมิลําเนา การศึกษา ผลงาน ความรู้ ความสามารถ เรือ่ งสว่ นตวั อาชพี งานที่สําคญั หรือไดร้ บั การยกย่อง มีทั้งประวัติของบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ และประวัติของผู้ท่ีล่วงลับไปแล้ว ตัวอย่างเช่น ใครเป็นใครในประเทศไทย ศิลปินแห่งชาติ พระมหากษตั ริยไ์ ทยในพระบรมราชจกั รีวงศ์ รัชกาลท่ี 1 – 9 เป็นต้น รูปที่ 3.54 แสดงตัวอยา่ งหนงั สอื อกั ขรานกุ รมชีวประวัติ 7) หนังสืออ้างอิงทางภูมิศาสตร์ (Geographical Sources) หมายถึง หนังสืออ้างอิง ท่ีให้ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดทางภูมิศาสตร์ เช่น ช่ือประเทศ ช่ือจังหวัด เมือง อําเภอ แม่นํ้า ภูเขา สถานท่ีสาํ คญั ๆ เป็นตน้ แบง่ ตามประเภทของเนื้อหาได้ 3 ประเภท ไดแ้ ก่ (7.1) อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ (Geographical Dictionaries) คือ หนังสืออ้างอิงท่ี รวบรวมรายชือ่ ทางภมู ศิ าสตร์ พรอ้ มรายละเอยี ดของรายชอ่ื นัน้ จัดเรยี งตามลาํ ดบั ตวั อักษร
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าห้องสมดุ กบั การรสู้ ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 64 รูปท่ี 3.55 แสดงตวั อยา่ งหนังสอื อกั ขรานุกรมแผนท่ี (7.2) หนังสือแผนท่ี (Atlases) หมายถึง หนังสือท่ีรวบรวมแผนท่ีเป็นรูปเล่ม เพ่ือแสดงลักษณะต่างๆ ทางภูมิศาสตร์ เช่น แผนท่ีโลก แผนท่ีเฉพาะทวีปหรือเฉพาะประเทศ ให้ข้อมูล เกี่ยวกับสถานที่ตั้งของประเทศ เมือง พรมแดน ภูเขา แม่น้ํา บางเล่มอาจให้ข้อมูลแสดงท่ีต้ังสถานที่ สาํ คญั เส้นทางคมนาคมโดยเรอื หรือโดยอากาศ เป็นต้น รูปท่ี 3.56 แสดงตวั อยา่ งหนังสอื แผนที่
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าห้องสมุดกบั การรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 65 (7.3) หนังสือนําเที่ยว (Guide books) หมายถึง หนังสือท่ีให้ข้อมูลเก่ียวกับ สถานท่ีทอ่ งเทีย่ ว พรอ้ มรายละเอียดต่างๆ รูปที่ 3.37 แสดงตัวอย่างหนังสือนาํ เท่ยี ว 8) ส่ิงพิมพ์ของรัฐบาล (Government Publications) หมายถึง หนังสือหรือสิ่งพิมพ์ ต่างๆ ที่รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจจัดพิมพ์ข้ึน อยู่ในรูปเล่มของหนังสือ วารสาร เอกสารและจุลสาร เพื่อเผยแพร่ความรู้และข่าวความเคล่ือนไหวของหน่วยงานให้บุคคลได้ทราบ แสดงความก้าวหน้า ของหน่วยงาน ผลงานท่ีได้ปฏิบัติไปแล้ว นับเป็นความรู้ท่ีทันต่อเหตุการณ์ เชื่อถือได้ ตัวอย่างเช่น ราชกิจจานุเบกษา รายงานประจาํ ปีเก่ยี วกับกิจการของหน่วยงาน เปน็ ตน้ รูปที่ 3.58 แสดงตัวอย่างราชกจิ จานเุ บกษา
เอกสารประกอบการเรียนวิชาห้องสมุดกบั การรูส้ ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 66 3.3.3.2 หนังสืออ้างอิงช้ีแหล่งข้อมูล (Secondary Source หรือ Indirect Source) หมายถึง หนังสืออ้างอิงท่ีบอกให้ผู้ใช้ทราบว่าจะค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้จากที่ใด แบ่งตามประเภทของ เน้อื หาได้ 2 ประเภท คือ 1) บรรณานุกรม (Bibliographies) หมายถึง หนังสือท่ีรวบรวมรายช่ือหนังสือหรือ สงิ่ พมิ พ์อ่ืนๆ ไวด้ ว้ ยกนั เนอื้ หาภายในหนังสอื เป็นขอ้ มูลทางบรรณานกุ รมของวัสดุดงั กล่าว เชน่ ชื่อผแู้ ตง่ ช่ือหนังสือ เมืองที่พิมพ์ สํานักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น เป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าวิจัยเพื่อการค้นหน้า หนังสอื หรอื สงิ่ พมิ พท์ ่ตี อ้ งการ หรือเป็นคูม่ อื ของบรรณารกั ษใ์ นการเลอื กหนงั สือเข้าห้องสมุด รูปท่ี 3.59 แสดงตัวอย่างหนังสอื บรรณานกุ รมและขอ้ มูลจากหนังสือบรรณานุกรม 2) ดรรชนีวารสาร (Periodical Index) หมายถึง หนังสือท่ีให้รายละเอียดเก่ียวกับ ช่ือคน ชื่อสถานท่ี ชื่อผู้แต่ง คําศัพท์ หัวเรื่อง ช่ือเร่ืองหรือรายการอื่นๆ เพื่อบ่งช้ีแหล่งข้อมูลว่าอยู่ใน หน้าใดของวารสารหรือหนังสือพมิ พ์ ใช้สาํ หรบั การคน้ หาบทความทต่ี พี มิ พล์ งในวารสารหรือหนังสือพมิ พ์ เป็นหลัก ตัวอย่างเช่น Leader’s Guide to Periodical Literature, Chemical Index และดรรชนี หนังสือพิมพ์กสิกร เปน็ ต้น
เอกสารประกอบการเรียนวิชาหอ้ งสมุดกบั การรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ 67 รปู ท่ี 3.60 แสดงตวั อย่างดรรชนวี ารสารและตัวอยา่ งขอ้ มูลในดรรชนีวารสาร
เอกสารประกอบการเรยี นวชิ าห้องสมุดกบั การร้สู ารสนเทศ บทท่ี 3 ทรพั ยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 68 ใบงานบทท่ี 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมดุ ตอนท่ี 1 ตอบคาํ ถามตอ่ ไปนี้ 1. “ทรพั ยากรสารนิเทศ” กบั “วสั ดุสารสนเทศ” เหมือนหรอื แตกต่างกันอยา่ งไร จงอธบิ าย 2. บอกลกั ษณะของทรพั ยากรสารสนเทศตอ่ ไปน้มี าให้เขา้ ใจ 1) ตาํ รา 8) วารสารวิชาการ 2) หนงั สอื อ้างอิง 9) จลุ สาร 3) ส่งิ พมิ พ์รฐั บาล 10) กฤตภาค 4) ปรญิ ญานพิ นธ์ 11) จดหมายเหตุ 5) รายงานการวิจัย 12) หนังสือตัวเขยี น 6) เอกสารการประชุมทางวชิ าการ 13) สิทธบิ ัตร 7) แมกกาซนี 14) เอกสารมาตรฐาน 3. “แผนภมู ”ิ “แผนภาพ” และ “แผนสถติ ”ิ มลี กั ษณะที่เหมอื นหรือแตกต่างกนั อย่างไร จงอธิบาย 4. “หุ่นจาํ ลอง” กับ “ของตวั อยา่ ง” มีความเหมอื นหรือแตกต่างกันอยา่ งไร จงอธิบาย 5. อธิบายถึงลักษณะและการใชง้ านของทรพั ยากรสารสนเทศต่อไปนี้ 1) ไมโครฟิล์ม 6) แผน่ เสียง 2) ไมโครฟชิ 7) คอมแพ็กดสิ ก์ (CD) 3) ไมโครโอเพค 8) ดีวีดี (DVD) 4) ภาพยนตร์ 9) แทง่ ความจาํ (Memory Card) 5) วดิ โี อเทป 10) ฐานข้อมูล 6. หนังสอื อ้างองิ มลี กั ษณะอยา่ งไร จงอธิบาย 7. บอกถงึ เครอ่ื งมือชว่ ยคน้ ในหนงั สืออา้ งอิงวา่ มอี ะไรบา้ ง แต่ละสว่ นมลี กั ษณะอยา่ งไร 8. อธิบายลักษณะของทรัพยากรสารนิเทศต่อไปนี้ 1) พจนานกุ รมท่วั ไป 6) ทาํ เนียบนาม 2) พจนานุกรมเฉพาะวชิ า 7) อักขรานกุ รมชวี ประวตั ิ 3) สารานุกรม 8) สง่ิ พมิ พข์ องรัฐบาล 4) หนงั สอื รายปี 9) หนงั สือบรรณานุกรม 5) หนังสือคมู่ อื 10) ดรรชนีวารสาร
เอกสารประกอบการเรียนวิชาหอ้ งสมดุ กบั การรสู้ ารสนเทศ บทที่ 3 ทรัพยากรสารสนเทศในหอ้ งสมุด 6299 ตอนท่ี 2 จงจบั คูข่ อ้ ความต่อไปนี้ให้สัมพนั ธก์ นั ...................1) สงิ่ พมิ พท์ ่ีเสนอขา่ วสด ทันต่อเหตกุ ารณ์ ก. สงิ่ พิมพร์ ัฐบาล ...................2) ส่ิงพิมพ์ท่เี สนอบทความ สารคดี บันเทงิ คดี ข. กฤตภาค ...................3) สิ่งพิมพ์ท่ีเผยแพรผ่ ลการปฏบิ ัติงานทางด้านวชิ าการ ค. วารสาร ข่าวสาร ความรู้ของหน่วยงานราชการ ง. หนังสือพมิ พ์ ...................4) สง่ิ พิมพท์ ่ไี ด้จากการตัดขา่ วสาร บทความ จ. สารานุกรม หนงั สอื พมิ พ์ วารสาร จดั เก็บใส่แฟ้มไวใ้ หบ้ ริการ ฉ. แผ่นเสยี ง ...................5) วสั ดุทใ่ี ชแ้ สดงลักษณะพ้ืนผวิ โลก ช. สทิ ธบิ ัตร ...................6) หนงั สือทร่ี วบรวมความรูพ้ น้ื ฐาน เรื่องทว่ั ไปอย่างกว้างๆ ฌ. หนังสือตัวเขยี น จดั เรียงอยา่ งเป็นระบบ ค้นหาง่าย สะดวก ด. อกั ขรานุกรมภมู ศิ าสตร์ ...................7) ใช้คน้ หาความหมาย ตัวสะกด วธิ กี ารออกเสียง ต. บรรณานกุ รม ชนิดของคํา ถ. ดรรชนวี ารสาร ...................8) ใชค้ น้ หารายชือ่ บุคคลในวงการต่างๆ ท. หนังสอื รายปี ...................9) ใชค้ น้ หาตัวเลข สถติ บิ างอย่างท่เี กดิ ข้ึนในรอบปี ธ. สมุดรายนามผู้ใชโ้ ทรศพั ท์ ...................10) คน้ หาชีวประวตั ิ เรือ่ งราวของบุคคลสาํ คญั ๆ น. อักขรานุกรมชวี ประวัติ ...................11) ข้อมลู การทอ่ งเทีย่ ว ตราสัญลักษณป์ ระจาํ จังหวดั ตา่ งๆ บ. สไลด์ ...................12) หนงั สอื ท่ีรวบรวมรายชื่อหนังสือประเภทต่างๆ ป. แผน่ ซดี ี ...................13) หนังสอื ทีร่ วบรวมรายชอ่ื บทความจากวารสารต่างๆ ผ. วัสดตุ พี ิมพแ์ ละวสั ดุไมต่ พี มิ พ์ ...................14) รวบรวมรายชอ่ื ของบุคคล สถาบัน องคก์ าร สมาคม พ. นามานุกรม ...................15) นวตั กรรมทใ่ี ชร้ ะบบการจดั เก็บข้อมลู ด้วยแสง ภ. พจนานุกรม ...................16) ภาพนง่ิ มีเสยี งหรือไม่มีเสียงประกอบ ม. แผนที่ ...................17) ทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุด ...................18) วสั ดุลกั ษณะพิเศษ เป็นลายมอื หรือฉบบั พมิ พ์ มที งั้ จดหมายส่วนตัวและบันทกึ ประจาํ วัน ...................19) เอกสารการจดั ทะเบยี นส่ิงประดษิ ฐ์ เพอ่ื แสดงกรรมสทิ ธิ์ ...................20) วสั ดุไมค่ งทน มอี ายุการใชง้ าน 5 – 10 ปี ต้องใช้ อยา่ งระมัดระวัง ห้ามเขา้ ใกล้สนามแมเ่ หล็กซึง่ ทาํ ให้ ข้อมลู ชํารุดเสียหายได้
Search
Read the Text Version
- 1 - 42
Pages: