Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ลิพิด (lipid)

ลิพิด (lipid)

Published by kanachok_pongwarin, 2022-01-28 14:07:18

Description: ลิพิด (lipid)

Search

Read the Text Version

ชีววิทยา ว31241 ลิพิด LIPID สมาชิก 4/6 SEC2 กรกฎ หาญคำพา 2 กฤติภพ พันธสกุล 3 คณาโชค พงศ์วรินทร์ 7 ธีรภัทร กิตติวัฒนากูล 14

ลิพิด (Lipid) ชนิดของลิพิด จำแนกตาม สารประกอบอินทรีย์ที่เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย โมเลกุลของลิพิด โครงสร้าง 3 ประกอบด้วยอะตอมของธาตุ C (คาร์บอน), H (ไฮโดรเจน), O (ออกซิเจน) บาง ชนิด ชนิดมี N(ไนโตรเจน) และ P(ฟอสฟอรัส) เป็นองค์ประกอบร่วม ลิพิดในกลุ่มไขมันและน้ำมันให้พลังงานมากกว่า 1.ลิพิดเชิงเดี่ยว คาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่มีน้ำหนักเท่ากัน (simple lipid) -ไขมัน 9 kcal/g -โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต 4 kcal/g — ไขมัน (fatty) — น้ำมัน (oil) คุณสมบัติ ความสำคัญของ — ไข (wax) ของลิพิด ลิพิดต่อสิ่งมีชีวิต 2.ลิพิดเชิงซ้อน (compound lipid) 1.ลิพิดมีลักษณะเป็นของแข็ง หรือ 1.เป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อหุ้ม ของเหลว ณ อุณหภูมิห้อง เซลล์ —ฟอสโฟลิพิด 2.ไขมันและน้ำมันบริสุทธิ์ จะไม่มี สี 2.เป็นสารที่ให้พลังงานแก่สิ่งมีชีวิต (phospholipid) กลิ่น รส 3.ช่วยป้องกันการกระทบกระเทือนของ 3.ไขมันและน้ำมันจะเบากว่าน้ำ และมี อวัยวะภายใน —ไกลโคลิพิด ความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ 4.ชว่ ยรักษาความอบอุ่นของร่างกาย (glycolipid) 4.ลิพิดไม่นำความร้อนและไฟฟ้า ฉะนั้น 5.ป้องกันการสูญเสียน้ำ จึงเป็นฉนวนความร้อนที่ดีที่สุดของ 6.ให้กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับเติบโต —ลิโพโปรตีน ร่างกาย และสุขภาพของผิวหนังของทารกและ (lipoprotein) 5.ลิพิดไม่มีขั้ว เด็ก 6.ส่วนใหญ่ไม่ชอบน้ำ 7.สามารถเปลี่ยนเป็นคาร์โบไฮเดรต 3.ลิพิดอนุพันธ์ (hydrophobic) และกรดอะมิโน เมื่อร่างกายต้องการ (derived lipic) ฉุกเฉิน ->ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายได้ดีในสาย 8.เป็นตัวทำละลายวิตามินที่ละลายได้ใน — คอเลสเอตรอล ละลายอินทรีย์ที่ไม่มีขั้ว เช่น ไขมัน (cholesterol) คลอโรฟอร์ม อะซิโตน อีเทอร์ -> วิตามิน A, D, E, K —โพรเจสเทอโรน (progesterone) —เทสโทสเทอโรน (testosterone)

1.ลิพิดเชิงเดี่ยว (SIMPLE LIPID) ลิพิดเชิงเดี่ยว •เป็นลิพิดที่ประกอบด้วย กรดไขมัน (fatty acid) กับ แอลกอฮอล์ชนิดต่างๆ •เกิดจากปฏิกิริยา ดีไฮเดรชัน (dehydration) หรือ ปฏิกิริยาการควบแน่น (condensation) ระหว่างโมเลกุลของ กรดไขมันกับโมเลกุลของแอลกอฮอล์ ที่เรียกว่า “กลีเซอรอล (glycerol)” จะได้น้ำ 1 โมเลกุล •ตัวอย่างลิพิดเชิงเดี่ยว กรดไขมัน+กลีเซอรอล (C3H8O3) -ไขมัน (fat) -น้ำมัน (oil) กรดไขมัน+แอลกอฮอล์i -ไข (wax) หากโมเลกุลของไขมันและน้ำมัน -มีกรดไขมัน 1 โมเลกุล เรียกว่า “มอนอกลีเซอไรด์ (monoglyceride)” -มีกรดไขมัน 2 โมเลกุล เรียกว่า “ไดกลีเซอไรด์ (diglyceride)” -มีกรดไขมัน 3 โมเลกุล เรียกว่า “ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride)” •ไตรกลีเซอไรด์ (TRIGLYCERIDE) -ประกอบด้วย กลีเซอรอล (glycerol) 1 โมเลกุล ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์ และ กรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล -เป็นลิพิดที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ -ไขมัน (fat) มีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวมากกว่า จึงเป็น ของแข็ง (solid) ที่อุณหภูมิห้อง -น้ำมัน (oil) มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวมากกว่า จึงเป็น ของเหลว (liquid) ที่อุณหภูมิห้อง

1.ลิพิดเชิงเดี่ยว (SIMPLE LIPID) •กรดไขมัน (FATTY ACID) -ไม่ละลายน้ำ มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวสูงขึ้นตามจำนวนคาร์บอนที่เพิ่มขึ้น ส่วนมากมีจำนวนคาร์บอนอะตอมระหว่าง 12-18 อะตอม ประเภทของกรดไขมัน แบ่งตามความอิ่มตัว 1.กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่อะตอมคาร์บอนต่อกันด้วย “พันธะเดี่ยว” ไม่สามารถรับ H เข้าไปในโมเลกุลได้ อีก พบได้ใน สัตว์ เนย และน้ำมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม 2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่อะตอมคาร์บอนต่อกันด้วย “พันธะคู่” อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่ง สามารถรับ H เข้าไปในโมเลกุลได้อีก มีจุดหลอมเหลวต่ำ ทำปฏิกิริยากับสารอื่นได้ง่าย เกิดสารประเภท peroxide ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน (ปฏิกิริยา oxidation) พบได้ในน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมัน งา น้ำมันถั่วเหลือง ประเภทของกรดไขมัน แบ่งตามความจำเป็น ต่อร่างกายมนุษย์ 1.กรดไขมันจำเป็น (essential fatty acid) -ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร -มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเด็ก หากขาดจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ ผิวหนังอักเสบ และผมร่วง -ตัวอย่างเช่น กรดไลโนเลอิก กรดไลโนเลนิก กรดอะราชิโดนิก -พบได้มากใน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด และน้ำมันดอกคำฝอย 2.กรดไขมันไม่จำเป็น (nonessential fatty acid) -ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ตัวอย่างเช่น กรดปาล์มิติก กรดสเตียริก ไข (WAX) •ไข (wax) -ประกอบด้วย แอลกอฮอล์ (ไม่ใช่กลีเซอรอล*) 1 โมเลกุล และ กรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุล -ไขมีลักษณะเป็นของแข็ง เนื่องจากโมเลกุลของแอลกอฮอล์มักมีขนาดใหญ่กว่ากลีกลีเซอรอล -ไขพบได้ตามผิวหนัง ผิวใบไม้ และผิวผลไม้บางชนิด หรือไขที่ได้จากสัตว์ได้แก่ ไขผึ้ง

2.ลิพิดเชิงซ้อน (COMPOUND LIPID) ลิพิดเชิงซ้อน ในโมเลกุลจะประกอบด้วย กรดไขมัน (fatty acid) กลีเซอรอล (glyceral) และมีสารอื่นเชื่อมต่ออยู่ด้วย ฟอสโฟลิพิด (PHOSPHOLIPID) 1.กรดไขมันอิ่มตัว (saturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่อะตอมคาร์บอนต่อกันด้วย “พันธะเดี่ยว” ไม่สามารถรับ H เข้าไปในโมเลกุลได้อีก พบได้ใน สัตว์ เนย และน้ำมันจากพืชบางชนิด เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม 2.กรดไขมันไม่อิ่มตัว (unsaturated fatty acid) เป็นกรดไขมันที่อะตอมคาร์บอนต่อกันด้วย “พันธะคู่” อย่างน้อยหนึ่งตำแหน่ง สามารถรับ H เข้าไปในโมเลกุลได้ อีก มีจุดหลอมเหลวต่ำ ทำปฏิกิริยากับสารอื่นได้ง่าย เกิดสารประเภท peroxide ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน (ปฏิกิริยา oxidation) พบได้ในน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง ไกลโคลิพิด (GLYCOLIPID) เป็นลิพิดที่เชื่อมต่อกับคาร์โบไฮเดรต มีหน้าที่ให้พลังงาน และเป็นตัวกำหนดเครื่องหมายเพื่อ การจดจำของเซลล์ ปรากฏอยู่ที่จุดเชื่อมต่อระหว่างฟอสโฟลิพิดกับโซ่คาร์โบไฮเดรตในพื้นผิวเม มเบรนของเซลล์คาร์โบไฮเดรต พบได้ในผิวชั้นนอกของเซลล์เมมเบรนของสัตว์จำพวกยูแคริ โอต

2.ลิพิดเชิงซ้อน (COMPOUND LIPID) ลิโพโปรตีน (LIPOPROTEIN) -มีส่วนประกอบลิพิดและโปรตีน เป็นสารที่พบในเลือด -ลิโพโปรตีนในเลือดที่ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลมี 3 ชนิด ดังนี้ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ 1.ลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำ (Low Density Lipoprotein LDL) มีประมาณ 65% ของคอเลสเตอรอลใน เลือด ช่วยขนส่งคอเลสเตอรอลไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดแดง เมื่อรวมกับสารอื่นๆจะเป็นคราบอุดตันหลอดเลือด 2. ลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (Very Low Density Lipoprotein VLDL) มีประมาณ 15% ของ คอเลสเตอรอลในเลือด แต่เป็นสารที่ต้องการเพื่อใช้สร้าง LDL ยิ่งมี VLDL ตับก็ยิ่งส้ราง LDL มาก ทำให้เสี่ยง ต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น ดีต่อสุขภาพ 3. ลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง (High Density Lipoprotein HDL) มีประมาณ 20% ของ คอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดคราบอุดตันที่ผนังหลอดเลือด และขนส่งคอเลสเตอรอลโดยไม่ทำให้เกิดการอุด ตัน

3.ลิพิดอนุพันธ์ (DERIVED LIPIC) ลิพิดอนุพันธ์ มีโครงสร้างแตกต่างจากลิพิดทั่วไป แต่มีสมบัติคล้ายลิพิด เช่น สามารถละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ สเตรอยด์ (STEROID) -มีโครงสร้างทั่วไปเป็นวง 4 วง -> 3 วง = คาร์บอน 6 อะตอม -> 1 วง = คาร์บอน 5 อะตอม -ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน 17 อะตอม และหมู่ R ซึ่งจะแตกต่างกันตามชนิดของสเตรอยด์ เช่น -คอเลสเอตรอล (cholesterol) เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ -โพรเจสเทอโรน (progesterone) ฮอร์โมนเพศหญิง -เทสโทสเทอโรน (testosterone) ฮอร์โมนเพศชาย การตรวจสุขภาพร่างกาย ในการตรวจสุขภาพร่างกายจะมีการตรวจ คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ HDL (High- Density Lipoproteins) และ LDL (Low-Density Lipoproteins) -การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว หรือมี คอเลสเตอรอลมากเกินความต้องการ ไตรกลีเซอไรด์และ คอเลสเตอรอลส่วนเกินที่อยู่ใน LDL จะท้าให้หลอดเลือดแข็งตัว หรือหลอด เลือดตีบ -การรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งเป็นไขมันดี จะมี HDL ท้าหน้าที่น้า คอเลสเตอรอลส่วนเกิน ไปท้าลายที่ตับ เป็นการลดการสะสมของคอเลสเตอรอล บริเวณผนัง หลอดเลือด ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของ LDL ที่ผนังหลอดเลือด


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook