Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore พุทธประวัติ

พุทธประวัติ

Published by นายวิษณุ วมิชานนท์, 2023-02-04 12:04:34

Description: พุทธประวัติ

Search

Read the Text Version

พุทธประวัติ

สมาชิก นายวิษณุ วทิชานนท์ น.ส.อุดมลักษณ์ ทองเณร น.ส.หทัยรัตน์ ลือยศ รหัส 63031030118 รหัส 63031030119 รหัส 63031030126 Section 01

ป ร ะ สู ติ พุทธประวัติ บำ เ พ็ ญ ทุ ก ร ก ริ ย า เสด็ จออก ผนวก ก า ร เ ผ ย แ ผ่ แสดง ต รั ส รู้ พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ปฐมเทศนา ปรินิ พาน

ประสูติ พระพุทธเจ้ า พระนามเดิ มว่ า \"สิทธั ตถะ\" เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ าสุทโธทนะและ พระนางสิริมหามายา พระองค์ ประสูติ เมื่ อวั นศุกร์ ขึ้น 15ค่ำ เดื อน 6 (เดื อนวิ สาขะ) ที่ใต้ ต้ นสาละ ณ สวนลุมพินีวั น

ชีวิตในวัยเด็ก เจ้าชายสิ ทธัตถะทรงศึ กษาเล่าเรียนจนจบ ศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนั กครู วิศวามิตร และเนื่ องจากพระบิดาทรงไม่มี พระประสงค์ให้เจ้าชายสิ ทธัตถะเป็นศาสดา เอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะ พบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้ประทับ และจัดเตรียมความพร้อม สำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์

อภิเษกสมรส เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรง อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือ ยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุง เทวทหะ ซึ่งเป็นพระญาติฝ่าย พระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ประสูติ พระราชโอรส มีพระนามว่า \"ราหุล\" ซึ่งหมายถึง \"บ่วง\"

เสด็จออกผนวช เจ้าชายสิ ทธัตถะชวนสารถีทรงรถม้า ประพาสอุทยานครั้งนั้ นได้ทอด พระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลก เป็นเพียงภาพมายาเท่านั้ น และวิถีทาง ที่จะพ้นจากความทุกข์ พระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนมายุ 29 พรรษา

เสด็จออกผนวช ครานั้ นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ ง นามว่า กัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับบน กองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การ เสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) เพียงลำพัง เพื่อมุ่ง พระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ

บำเพ็ญทุกรกิริยา หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์ได้พยายามเสาะแสวงหาทางพ้นทุกข์ ด้วย การศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

บำเพ็ญทุกรกิริยา หลังจากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา และได้พบปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ก็ได้ขอ ติดตามพระองค์ เพื่อช่วยส่งเสริมและสนับสุนเพื่อหาหนทางพ้นทุกข์

บำเพ็ญทุกรกิริยา พระองค์ได้บำเพ็ญทุกรกิริยาโดยการ กัดฟัน กลั้นหายใจ อดอาหาร ทำมา เป็นเวลา 6 ปี ก็ยังไม่เห็นหนทางพ้นทุกข์ได้

บำเพ็ญทุกรกิริยา พระองค์จึงหันมาฉันอาหารจากนางสุชาดา เนื่องจากระหว่างที่พระองค์ ได้ทำทุกรกิริยา ได้ยินเสียงพิณ 3 สาย ว่า ถ้าตึงไป สายก็จะขาด ถ้าย่อนไปเสียงก็ จะเพี้ยง และถ้าสายพิณพอดีไม่ย่อนเกินหรือตึงเกิน เสียงก็จะไพเราะ กังวาน จึง ทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลาง นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์ นางสุชาดา

บำเพ็ญทุกรกิริยา หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่มาคอยรับใช้ พระองค์ด้วยความคาดหวัง ว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตน ให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจแล้วหันมาฉันอาหาร จึง ได้จากไป

ตรัสรู้ หลังจากนั้น พระองค์ ตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุ สัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรง บรรลุรูปฌาน คือ

ตรัสรู้ ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้

ตรัสรู้ ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตาย ของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้

ตรัสรู้ ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอ ริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 6 ขณะที่มีพระชนมายุ 35 พรรษา

แสดง ปฐมเทศนา หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ตรัสรู้มา เป็นเวลา 7 สัปดาห์ และทรงเห็นว่าพระธรรมนั้นยากต่อบุคคลทั่วไปที่จะเข้าใจ และปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรงพิจารณาว่า บุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวกอย่าง บัว 4 เหล่า ที่มีทั้งผู้ที่สอนได้ง่าย และผู้ที่สอนได้ยาก

แสดง ปฐมเทศนา พระองค์จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ที่เคยมาเฝ้ารับใช้ จึงได้เดินไปโปรด ปัญจวัคคีย์ ธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงธรรมคือ \"ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร\" แปลว่า สูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไป ซึ่งถือเป็นการแสดงพระ ธรรมเทศนาครั้งแรก ในวันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันอาสาฬหบูชา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

แสดง ปฐมเทศนา หลังจากนั้นก็มีพระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระภิกษุองค์แรก ที่ดวงตาเห็นธรรม และเป็นพระอรหันต์หลังจากตรัสรู้แล้ว

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าได้เทศน์พระธรรมเทศนาโปรดแก่ยสกุลบุตร รวมทั้งเพื่อนของ ยสกุลบุตร จนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด รวม 60 รูป

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงมีพระประสงค์จะให้มนุษย์โลกพ้นทุกข์ พ้นกิเลส จึงตรัสเรียก สาวกทั้ง 60 รูป มาประชุมกัน และตรัสให้พระสาวก 60 รูป จาริกแยกย้ายกันเดินทาง ไปประกาศศาสนา 60 แห่ง โดยลำพัง ในเส้นทางที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้สามารถเผยแผ่ พระพุทธศาสนาได้ในหลายพื้นที่อย่างครอบคลุม ส่วนพระองค์เองได้เสด็จไป แสดงธรรม ณ ตำบลอุรุเวลา เสนานิคม

การเผยแผ่พระพุทธศาสนา หลังจากสาวกได้เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้มี ผู้เลื่อมใสพระพทุธศาสนาเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงอนุญาตให้สาวกสามารถ ดำเนินการบวชได้ โดยใช้วิธีการ \"ติสรณคมนูปสัมปทา\" คือ การปฏิญาณตนเป็น ผู้ถึงพระรัตนตรัย พระพุทธศาสนาจึงหยั่งรากฝังลึกและแพร่หลายในดินแดน แห่งนั้นเป็นต้นมา

เสด็จดับขันธ์ปรินิ พพาน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดง พระธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ทรงสดับว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน จึงได้ทรงปลงอายุสังขาร ขณะนั้นพระองค์ได้ประทับ จำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 1 วัน

เสด็จดับขันธ์ปรินิ พพาน พระองค์ได้เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะทำถวาย แต่เกิดอาพาธลง ทำให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า \"บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อพระพุทธองค์เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ (ถวายโดย นางสุชาดา) และปรินิพพาน (ถวายโดยนายจุนทะ) **สูกรมัททวะ คือ อาหารหรือยาบำรุงกึ่งอาหารประเภทโสม

เสด็จดับขันธ์ปรินิ พพาน พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

เสด็จดับขันธ์ปรินิ พพาน ก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก ซึ่งถือได้ว่า \"พระสุภภัททะ\" คือ สาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ท่ามกลาง คณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชนจากแคว้นต่าง ๆ รวมทั้งเทวดาที่มารวมตัวกัน

เสด็จดับขันธ์ปรินิ พพาน มีพระดำรัสครั้งสำคัญว่า “ โย โว อานนฺท มยา ธมฺโม จ วินโย จ เทสิโต ปญฺญตฺโต โส โว มมจฺจเยน สตฺถา... ” อันแปลว่า “ ดูก่อนอานนท์ ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย ธรรมวินัย นั้น จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ”

เสด็จดับขันธ์ปรินิ พพาน พระพุทธองค์ได้แสดงปัจฉิมโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ว่า “ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อม สลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด \"

เสด็จดับขันธ์ปรินิ พพาน จากนั้นได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 พระชนมายุ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช

เสด็จดับขันธ์ปรินิ พพาน หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพาน สาวกของพระองค์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์และมิใช่ พระอรหันต์ ได้ช่วยบำเพ็ญกรณียกิจเผยแผ่ พระพุทธวัจนะอันประเสริฐไปทั่วประเทศอินเดีย และขยายออกไปทั่วโลก เป็นที่ยอมรับว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนา แห่งความเป็นจริง มีเหตุผลเชื่อถือได้ เป็นศาสนาแห่งสันติภาพและเสรีภาพ อย่างแท้จริง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook