Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กระบวนการ พิธีการศุลกากรขาเข้าทางเรือ A4_compressed

กระบวนการ พิธีการศุลกากรขาเข้าทางเรือ A4_compressed

Published by patta2728, 2023-01-30 17:25:58

Description: กระบวนการ พิธีการศุลกากรขาเข้าทางเรือ A4_compressed

Search

Read the Text Version

กระบวนการ พิธีการศุลกากรขาเข้าทางเรือ

การนำเข้า (Import) การนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาภายในประเทศ เพื่อใช้ ประโยชน์หรือเพื่อประกอบธุรกิจ โดยสินค้าที่นำเข้ามักเป็นสินค้าที่ ไม่มีในประเทศหรือผลิตในประเทศไม่ได้ . ซึ่งในการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้าจะต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบที่กรมศุลกากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดไว้อย่าง เคร่งครัด ซึ่งสินค้าที่ประเทศไทยมักนำเข้ามาจากต่างประเทศคือ สินค้าประเภทวัตถุดิบ (สินค้าที่นำมาเป็นหัวเชื้อในการผลิตสินค้า เช่น Sodium) สินค้าทุน (เครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต) สินค้าเชื้อเพลิง สินค้าอุปโภคบริโภค และสินค้าจากอุตสาหกรรม ยานยนต์

การส่งออก (Export) การจัดส่งสินค้าหรือการขายสินค้าและบริการในประเทศไป สู่ตลาดอื่น จากต้นทางสู่ปลายทางในทางบก ทางน้ำหรือทาง อากาศ ในการส่งออกสินค้าจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กรม ศุลกากร ซึ่งในการส่งออกสินค้าการผ่านพิธีการศุลกากรสามารถ ทำได้โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดย การส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรฐานที่ศุลกากรกำหนดไว้ และกรมศุลกากรจะทำการ ดำเนินงานต่อเพื่อให้สินค้าสามารถส่งออกได้ สินค้าส่วนใหญ่ที่ ประเทศไทยส่งออกไปต่างประเทศคือสินค้าเกษตรกรรม สินค้า อุตสาหกรรมการเกษตร อัญมณี เชื้อเพลิง และสินค้าอุตสาหกรรม (สินค้าที่ใช้ประกอบการผลิต หรือใช้ในกระบวนการผลิต เช่น เหล็กที่ใช้ในกระบวนการผลิตรถยนต์)

มูลค่าสินค้าส่งออกและนำเข้าของประเทศไทย ปี 2565 (ล้านเหรียญสหรัฐ) ข้อมูล การนำเข้าส่งออกของไทย คำนวณจากโครงสร้างสินค้าส่งออกนำเข้าจากกระทรวงพาณิชย์

ความสำคัญของการนำเข้าและส่งออก 1.แต่ละประเทศมีความอุดมสมบูรณ์ในทรัพยากรที่แตก ต่างกันและมีความชำนาญเฉพาะด้านแตกต่างกัน ทำให้ ความสามารถในการผลิตสินค้าแตกต่างกัน จึงทำให้มี การนำเข้าส่วออกซึ่งกันและกัน เพื่อให้ด้สินค้าหรือบริรที่ ตนขาดคลนและมีความต้องการ 2.การสั่งซื้อสินค้าบางอย่างจากต่างประเทศ อาจมีราคา ถูกกว่าที่จะผลิตขึ้นเองภายในประเทศ 3.การส่งออกสินค้าต่างๆเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถระบาย สินค้าคงเหลือจากการอุปโภคบริโภคภายใน

ความสำคัญของการนำเข้าและส่งออก 4.การนำเข้าและส่งออก ทีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศและรัฐเองก็มีรายได้สูงขึ้นในรูปของภาษีต่างๆที่ เรียกเก็บ 5.แต่ละประเทศจะได้ประโยชน์ จากหลักความได้เปรียบ โดยเปรียบเทียบและเป็นการสร้างความสัมพันธ์เข้าใจ อัน ดีระหว่างประเทศคู่ค้า 6.ประเทศต่างๆไม่สามารถผลิตสินค้าทุกชนิดตามที่ ตนเองต้องการขึ้นใช้เองในประเทศได้

บทบาทของการค้าระหว่างประเทศ 1.การนำเข้าทำให้ประชาชนมีสินค้าต่างๆเพื่อการอุปโภค บริโภคมากขึ้น ทำให้การกินอยู่ดีขึ้น 2.การนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ จะเป็นฐานที่จำเป็นและ สำคัญสำหรับการขยายการผลิต 3.เป็นการโอนอำนาจการซื้อจากประเทศหนึ่งไปยังอีก ประเทศหนึ่ง 4.การส่งออกมีผลต่อดุลการค้า ดุลการชำระเงินของ ประเทศ

บทบาทของการค้าระหว่างประเทศ 5.การส่งออกเป็นการระบายสินค้าส่วนเกินที่เหลือ จากการอุปโภคบริโภคภายใน 6.ทำให้เกิดการยกระดับหรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ให้สูงขึ้น 7.การส่งออกเป็นที่มาของรายได้เพื่อนำมา ซื้อสินค้าเข้า 8.ทำให้รัฐบาลมีรายได้สูงขึ้นในรูปของการเก็บภาษี อาการขาออก ภาษีอาการขาเข้า ภาษีการค้า ภาษีเงิน ได้ ค่าธรรมเนียมและอื่นๆ

แนวความคิดเกี่ยวกับพิธีการทางศุลกากร พิธีการศุลกากร เป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อการส่งสินค้าออก ไปนอกราชอาณาจักรหรือนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ให้ถูก ต้องครบถ้วน ซึ่งกรมศุลกากรในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบกรณีดัง กล่าว ได้ออกระเบียบไว้ในรูปแบบของประกาศกรมกาศุลกากร เพื่อให้ ผู้ประกอบการส่งออก-นำเข้าสินค้าได้ทราบ ซึ่งในขณะเดียวกันก็จะมีคำสั่งกรมศุลกากรที่ออกมาเพื่อให้ ข้าราชการ เจ้าพนักงานศุลกากรต้องถือปฏิบัติเป็นแนวทางการให้ บริการกับผู้มาติดต่อผ่านงาน ซึ่งขั้นตอนงานเหล่านี้ก็คือ พิธีการฯ หรือในบางกรณีก็เรียกว่าการศุลกากร

แนวความคิดเกี่ยวกับพิธีการทางศุลกากร การศุลกากร หรือขั้นตอนพิธีการทางด้านศุลกากรนั้น ได้มี การพัฒนาปรับเปลี่ยนมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จาก เดิมเป็นการผ่านพิธีการแบบ Manual ในรูปแบบของเอกสารจน กระทั่งมาเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) หรือ ระบบ E-Customs ซึ่งลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก-นำข้าสินค้านั้นมี อยู่มากมายหลากหลายกระบวนการ โดยการผ่านงานก็จะใช้ เอกสารซึ่งกำหนดรูปแบบเป็นฟอร์มชนิดต่าง ๆ จำนวนหลายร้อย แบบฟอร์มด้วยกัน ทั้งนี้ หากจะแบ่งขั้นตอนพิธีการศุลกากร ก็พอ จะสรุปได้เป็น 2 ขั้นตอนใหญ่ และ 3 รูปแบบ ดังนี้ ขั้นตอนพิธีการทางศุลกากร 1. ขั้นตอนการผ่านพิธีการฯ อันเป็นงานด้านการสำแดง เอกสาร แบบฟอร์มต่าง ๆใบขนสินค้า และการบันทึก การ ส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ E-Customs 2. ขั้นตอนการตรวจปล่อยสินค้า ซึ่งเป็นงานทางด้านปฏิบัติ อันได้แก่ การเปิดตรวจสินค้า การควบคุมการบรรจุตู้สินค้า หรือการคุมส่งสินค้า เป็นต้น รูปแบบพิธีการทางศุลกากร 1. พิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางบก 2. พิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางเรือ 3. พิธีการศุลกากรนำเข้าและส่งออกทางอากาศ

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ 1. EXPORTER จากโรงงานของผู้ผลิตสินค้า หรือ สถานที่ของผู้ส่งออกสินค้า (Exporter) เมื่อทำการผลิตสินค้าและจัดเตรียม เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้า เรียบร้อย และพร้อมที่จะทำการส่งออก แล้ว จะทำการติดต่อบริษัทตัวแทนผู้ ขนส่งสินค้า (Freight Forwarder Company) หรือสายการเดินเรือ (Shipping Line) โดยตรงเพื่อทำการจอง ระวางเรือ (Freight) จากเมืองท่าต้นทาง ไปยังท่าปลายทาง

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ 2. TRUCKING เมื่อได้รับใบยืนยันการจองระวางเรือ (Booking Confirmation) จากตัวแทนผู้ ขนส่งสินค้า หรือสายเรือเรียบร้อยแล้ว ผู้ ส่งออกจะทำการขนส่งสินค้าจากสถาน ที่ของผู้ส่งออกไปยังท่าเรือต้นทาง ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในใบยืนยันการ จองระวางเรือ

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ 3. CUSTOMS CLEARANCE ในกรณีการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ ผู้ส่งออกมีหน้าที่ต้องดำเนินการผ่านพิธี ทางกรมศุลกากรขาออก (Export) ทุกครั้ง โดยสามารถดำเนินการด้วยตนเอง หรือว่า จ้างบริษัทตัวแทนออกของ (Customs Broker) เพื่อให้ดำเนินการผ่านพิธีการ แทน โดยบริษัทตัวแทนออกของจะเป็นผู้ ติดต่อขอรับเอกสาร เพื่อดำเนินการในการ ยื่นใบขนสินค้าขาออก

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ 4. PORT OF LOADING เมื่อสินค้ามาถึงที่ท่าเรือต้นทาง (Port of Loading) ทางสายการเดินเรือจะทำการยกตู้ สินค้าขึ้นไปบนเรือ และออกเอกสาร ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading / BL or BoL) ให้กับผู้ส่งออกเพื่อเป็นการยืนยันว่า ได้รับสินค้านั้นไว้แล้ว พร้อมทั้งเรียกเก็บ ค่าบริการ (Freight & Local Charges) กับผู้ ส่งออกที่ต้นทาง

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ 5. PORT OF DISCHARGE เมื่อเรือเดินทางไปถึงท่าเรือปลายทาง (Port of Discharge) ทางสายการเดินเรือจะทำการ ยกตู้สินค้าลงจากเรือ จากนั้นผู้นำเข้า (Importer) จะทำการติดต่อสายการเดินเรือ เพื่อชำระค่าใช้จ่ายที่ปลายทาง (Local Charges) พร้อมทั้งนำใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading / BL or BoL) ที่ได้รับจาก Shipper เพื่อนำไปเปลี่ยนเป็นใบปล่อยสินค้า (Dilivery Order / DO) กับสายการเดินเรือที่ ปลายทางเพื่อนำไปออกสินค้า

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ 6. CUSTOMS CLEARANCE ผู้นำเข้าจะต้องดำเนินการผ่านพิธี ศุลกากรขาเข้า (Import) และ ชำระภาษีอากรขาเข้า พร้อมทั้ง นำใบปล่อยสินค้า (Dilivery Order / DO) ไปออกสินค้า ที่ทางเรือปลายทาง

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ 7. TRUCKING เมื่อผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าเรียบร้อย แล้ว ผู้นำเข้าจะต้องจัดเตรียมรถ เพื่อมา รับสินค้าที่ท่าเรือปลายทางไปยังสถาน ที่ของผู้นำเข้า (Importer)

ขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ 8. IMPORTER เมื่อสินค้าส่งถึงสถานที่ของผู้นำเข้า ปลายทาง ผู้นำเข้าจะต้องทำการตรวจ สอบสภาพสินค้าว่าครบถ้วยสมบูรณ์ และมีความเสียหายหรือไม่ก่อนเซ็นรับ สินค้า

ภาพรวมขั้นตอนการนำเข้าส่งออกทางเรือ

เอกสารนำเข้าทางเรือที่ใช้ผ่านพิธีการศุลกากรเบื้องต้น 1.บัญชีราคาสินค้า (Invoice) 2.บัญชีแสดงรายการบรรจุสินค้า (Packing List) 3.ใบตราส่งสินค้า (Bill of Landing : BL) 4.ใบขนสินค้าขาเข้าของกรมศุลกากร (Import Customs Declaration) 5.ใบสั่งปล่อยสินค้า (Delivery Order) 6.หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ถ้ามี

1.บัญชีราคาสินค้า (INVOICE) ออกโดยผู้ขาย (SELLER) / ผู้ส่งออก (SHIPPER) ต้องระบุชื่อผู้ขายและผู้ซื้อ มีเลขที่ INVOICE / วันที่ออก INVOICE ต้องระบุชื่อรายละเอียดสินค้า, ราคา,ปริมาณ ต้องระบุสกุลเงินที่ขาย, INCOTERM **** หมายเหตุ *** สินค้าที่ไม่มีการซื้อขาย เช่น สินค้าตัวอย่าง, สินค้าส่งคืนต้อง ระบุราคาสินค้าด้วยเพื่อคำนวณภาษีนำเข้าและหมายเหตุใน INVOICE ว่า “NO COMMERCIAL VALUE - VALUE FOR CUSTOMS PURPOSE ONLY ”

2.บัญชีแสดงรายการบรรจุสินค้า (PACKING LIST) ออกโดยผู้ขาย (SELLER) / ผู้ส่งออก (SHIPPER) ต้องระบุชื่อรายละเอียดสินค้า ปริมาณ, จำนวนหีบห่อ เครื่องหมายและหมายเลขหีบห่อ (SHIPPING MARK) **** หมายเหตุ *** เครื่องหมายและหมายเลขหีบห่อ (SHIPPING MARK) ที่ ระบุในเอกสาร ต้องถูกต้องตรงกันกับที่แปะไว้ข้างกล่อง

3.ใบตราส่งสินค้า (BILL OF LANDING : BL) ออกโดยสายเรือ (CARRIER) หรือ ตัวแทนเรือ (FREIGHT FORWARDERS) ที่ต้นทาง รายละเอียดต่างๆใน B/L ต้องถูกต้องตรงกับ INVOICE /PACKING LIST ได้แก่ ชื่อผู้นำเข้า, ชื่อสินค้า,จำนวน หีบห่อ, SHIPPING MARK ชื่อผู้นำเข้าต้องถูกต้องกับที่ลงทะเบียนไว้กับกรมศุลกากร ตรวจสอบความถูกต้องติดต่อสายเรือเพื่อแก้ไขใน 48 ชั่วโมง ก่อนเรือเข้า

4. ใบขนสินค้าขาเข้าของกรมศุลกากร (IMPORT CUSTOMS DECLARATION) ใช้เพื่อผ่านพิธีการศุลกากร จัดทำใบขนฯผ่านระบบ PAPERLESS สำแดงรายละเอียดต่างๆของสินค้าที่นำเข้าให้ถูกต้องตรงกับ INVOICE /PACKING LIST ได้แก่ 1. *ผู้นำเข้า(ตามที่ลงทะเบียนไว้) 2. *ชื่อสินค้า,ราคาสินค้า,ยี่ห้อสินค้า 3.*ปริมาณสินค้า,จำนวนหีบห่อ, SHIPPING MARK 4. *พิกัดอัตราภาษีศุลกากร 5.*สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ได้รับเพื่อลดหย่อนอากร เช่น BOI, FREE ZONE, C/O เป็นต้น หมายเหตุ ราคาที่ใช้สำแดงใบขนขาเข้า เป็นราคา CIF เท่านั้น C : COST ราคาสินค้า, I : INSURANCE ค่าประกันภัย, F : FREGIGHT ค่าระวาง

5. ใบสั่งปล่อยสินค้า (DELIVERY ORDER : DO) ออกโดยสายเรือ (CARRIER)ในประเทศไทย สายเรือออกให้เมื่อชำระเงินค่าระวางหรือ SURCHARGE ต่างๆแล้ว ใช้ยื่นที่ท่าเรือเพื่อขอนำของออก ระบุรายละเอียดต่างๆ เพื่อแจ้งให้สั่งปล่อยสินค้าได้ ดังนี้ 1. ชื่อผู้นำเข้า 2.หมายเลขใบตราส่ง (B/L) 3.ชื่อเรือ และเที่ยวเรือ ที่นำเข้า 4. ชื่อสินค้า 5. จำนวนหีบห่อ 6.นำ้หนักรวมหีบห่อ GROSS WEIGHT 7.ปริมาตรสินค้า MEASUREMENT 8. หมายเลขตู้คอนเทนเนอร์และขนาดตู้คอนเทนเนอร์

6. หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (CERTIFICATE OF ORIGIN) ถ้ามี ใช้เพื่อลดหย่อนภาษีอากร ตามความตกลงการค้าระหว่าง ประเทศ ออกโดยหน่วยงานภาครัฐที่ผู้ขาย (SELLER) / ผู้ส่งออก (SHIPPER) ยื่นขอไว้ รายละเอียดต่างๆใน C/O ต้องถูกต้องตรงกับ INVOICE / PACKING LIST ได้แก่ ชื่อผู้นำเข้า, ชื่อสินค้า, จำนวนหีบห่อ,SHIPPING MARK

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้าทางเรือ 1.ผู้นำเข้าหรือตัวแทนจัดเตรียมข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่เครื่อง คอมพิวเตอร์ของตนเองหรือผ่าน SERVICE COUNTER และ ให้ผู้นำเข้าหรือตัวแทนส่งข้อมูลใบขนสินค้ามายังเครื่อง คอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ระบบคอมพิวเตอร์กรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลกับแฟ้มข้อมูล อ้างอิง การอนุมัติ/อนุญาต เกี่ยวข้องและตรวจสอบบัญชีสินค้า สำหรับเรือโดยอัตโนมัติผ่านระบบคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้าทางเรือ 2.การตรวจปล่อยสินค้าจะนำระบบบริหารความเสี่ยง (RISK MANAGEMENT) มาใช้ในการสั่งการตรวจตามเงื่อนไขที่หน่วยงาน ศุลกากรกำหนดไว้ในระบบ PROFILE เพื่อจัดกลุ่มใบขนสินค้าเป็น 2 กลุ่ม คือ ให้เปิดตรวจ (RED LINE) หรือให้ยกเว้นการตรวจ (GREEN LINE) เมื่อระบบตรวจสอบเสร็จแล้วจะกำหนดเลขที่ใบขนสินค้าและสั่งการ ตรวจให้อัตโนมัติ พร้อมกับแจ้งตอบกลับไปยัง ผู้ประกอบการทราบผ่าน ทางอิเล็กทรอนิกส์และแจ้งโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือทราบถึงผลการ สั่งการตรวจจากศุลกากร 1. กรณียกเว้นการตรวจ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบ เรือรับมอบสินค้าได้ทันที 2. กรณีให้เปิดตรวจ ผู้ประกอบการสามารถติดต่อโรงพักสินค้าหรือท่าเทียบเรือเพื่อ เตรียมของเพื่อตรวจแล้วติดต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรเพื่อตรวจปล่อยสินค้า 3. การชำระและวางเงินประกันค่าภาษีอากร ผู้ประกอบการสามารถเลือกชำระและ วางเงินประกันที่สำนักงานศุลกากรหรือชำระและวางเงินประกันผ่านธนาคาร ทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-PAYMENT) ได้ 4. การวางค้ำประกันค่าภาษีอากร ผู้ประกอบการสามารถเลือกวางค้ำประกันที่ สำนักงานศุลกากรหรือวางค้ำประกันผ่านธนาคารทางอิเล็กทรอนิกส์ (E- GUARANTEE) ได้ 5. การตรวจปล่อยสินค้าขาเข้า เป็นการตรวจ ณ ท่าที่ระบุในบัญชีสินค้าว่ามีชื่อ ส่งของถึงแต่ผู้ประกอบการสามารถแจ้งความประสงค์ขอขนย้ายสินค้าไปตรวจ ปล่อยนอกเขตท่าที่นำเข้าได้แต่ต้องแจ้งล่วงหน้าในขั้นตอนจัดเตรียมใบขนสินค้า ก่อนส่งมายังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

ขั้นตอนการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้าทางเรือ 3. ผู้นำของเข้านำใบขนสินค้าพร้อมใบเสร็จเสียภาษีอากร เอกสาร DELIVER ORDER (D/O) ไปดำเนินการตรวจปล่อย สินค้าในท่าเรือและขนถ่ายสินค้านำเข้ามาที่โกดังหรือโรงงาน หรือบริษัท 4. ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องจัดเก็บข้อมูลบัญชีราคาสินค้าในรูป ของสื่อคอมพิวเตอร์เป็นเวลาไม่น้อย 6 เดือน เพื่อใช้สำหรับการ ตรวจสอบใบขนสินค้าหลังการตรวจปล่อย โดยให้สามารถจัด พิมพ์เป็นรายงานเมื่อกรมศุลกากรร้องขอ ดังนี้ 1.IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY DECLARATION ITEM 2.IMPORT/EXPORT INVOICE LIST BY INVOICE ITEM 3.IMPORT/EXPORT INVOICE LIST



กรณีศึกษา กระบวนการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อการผ่านพิธีการ ศุลกากรขาเข้าที่มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ จัดการความรู้ด้านศุลกากรได้แก่ การจัดหาความรู้ด้านศุลกากร การเก็บรักษาความรู้ด้านศุลกากร การแจกจ่ายความรู้ด้านศุลกากร และการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านศุลกากรที่ส่งผลต่อการผ่านพิธีการ ศุลกากรขาเข้าที่มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ ผู้วิจัยใช้ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นเพื่อเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างที่เป็นผู้นำ เข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์จำนวน 316 ราย ผลการวิจัยพบว่า การเก็บรักษาความรู้ด้านศุลกากรและการ ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านศุลกากรส่งผลเชิงบวกต่อการผ่านพิธีการ ศุลกากรขาเข้าที่มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพตามลำ ดับ ผู้นำ เข้าควรพิจารณาจัดหาความรู้ด้านศุลกากรเพิ่มเติม ใช้ความรู้ด้าน ศุลกากรปรับปรุงกระบวนการผ่านพิธีศุลกากรขาเข้า บันทึกประวัติ ข้อมูลด้านการผ่านพิธีการศุลกากรที่เป็นบทเรียนเฉพาะขององค์กร และรักษาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านศุลกากรเพื่อยกระดับการ ผ่านพิธีการศุลกากรขาเข้าที่มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ อาจารย์ฉัตรพล มณีกูล หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook