Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Chapter 8. Pacemaker 2018-book Final

Chapter 8. Pacemaker 2018-book Final

Published by ไกรศร จันทร์นฤมิตร, 2018-08-21 00:05:44

Description: Chapter 8. Pacemaker 2018-book Final

Search

Read the Text Version

บทเรียนที่เราเรียนผ่านไปแล้วกล่าวถึงคลื่นไฟฟ้าที่เกิดจากแหล่งผลิตไฟฟ้าในส่วนต่างๆของหัวใจ เช่น Sinus node, atrial, AV junction และ Ventriclesบทเรียนที่จะกล่าวถึงต่อไป จะพูดถึงไฟฟ้าที่มาจากข้างนอกหัวใจ และส่งผ่านมาที่หัวใจ ทําให้เกิดเป็นคลื่นไฟฟ้า ( Depolarization )เครื่องไฟฟ้าที่ส่งมาจากข้างนอกและทําให้หัวใจเกิดคลื่นไฟฟ้า เราเรียกว่า PACEMAKER

ใครกันเอ่ย ที่ต้องการPACEMAKER.ผู้ป่วย ที่ต้องอาศัย Pacemakerช่วยให้หัวใจเต้นไวขึ้นเพียงพอก็คือผู้ป่วยที่มี ( ผู้ป่วยทั้งหมดข้างล่างนี้ ต้องการPacemaker. )1.Symptomatic Bradycardiaผู้ป่วยที่หัวใจเต้นช้า มีผลทําให้เกิดอาการที่สืบเนื่องมาจากLow Cardiac Output2. Sick Sinus Syndrome(Tachy-Brady and pause)3. Second Degree AVB TypeII4. Complete Heart Block.5. Asystole.

ชนิดของ Pacemaker.Permanent pacemaker จะฝังอยู่ในตัวผู้ป่วยอย่างถาวรTemporary Pacemaker จะอยู่ภายนอกตัวผู้ป่วย ใช้เพียงชั่วคราว เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นก็เอาออก มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ1.Transcutaneous Pacemakerติด electrode ไว้ที่หน้าอกหรือข้างหน้าหลังผู้ป่วย2. Transvenous Pacemaker ใส่สาย electrode เข้าไปทางเส้นเลือดดํา ไปที่หัวใจ3. Transthoracic Pacemakerใส่สาย electrode ที่epicardium หลังผ่าตัดหัวใจ

Transcutaneous Pacemaker เป็นเครื่องทําไฟฟ้าที่อยู่นอกร่างกาย และสามารถทําไฟฟ้าส่งผ่านหัวใจ เพื่อทําให้หัวใจห้องข้างล่างเกิดการ depolarization ซึ่งเป็นผลทําให้หัวใจบีบตัว วิธีการทํามีดังต่อไปนี้1. ติด pacemaker /defibrillation Pad ที่หน้าอกผู้ป่วย ติดขั่ว บวกไว้ที่หน้าอกข้างบนข้างขวา ติดขั่วลบที่เอวข้างซ้าย ตํ่า กว่าตําแหน่งของหัวใจ ให้ Pad ทั้งสองเป็นแนวทะแยงผ่าน หัวใจ หรืออาจจะติด Pad ข้างหน้า และข้างหลัง ตรงกับตํา แหน่งของหัวใจ2. เปิดเครื่อง ON และหมุนปุ่มมาที่ Pacemaker ในรูป (P)3. ตั้งค่ากําหนดว่าเราจะให้หัวใจเต้นไวเท่าไหร่ ปุ่มในรูปคือ (HR) ส่วนมากจะตั้งประมาณ 70 – 80 ครั้งในหนึ่งนาที4. ค่อยๆหมุนปุ่ม output (MA) ซึ่งเป็นปุ่มที่กําหนดจํานวนไฟฟ้า ที่จะส่งผ่านหัวใจ ไฟฟ้าที่ส่งมาจากเครื่อง ใน ECG จะมองเห็น เป็น “ขีด” ( spike ) เราจะหมุนปุ่ม MA ขึ้นไปเรื่อยๆ จนเรา เห็นว่าข้างหลังของ “ขีด” มี QRS complex ตามมา ซึ่งเรา เรียกว่ามีการ Capture5. หลังจากมีการ capture แล้ว เราจะเพิ่มค่าของ MA สุงขึ้นไป ประมาณ 10% เพื่อให้มีการ capture ได้แน่นอนมากขึ้น

Transvenous Pacemaker เป็น pacemaker ชั่วคราวโดยการใส่สายที่ต่อจากเครื่องใส่เข้าไปที่เส้นเลือดดําเส้นเลือดที่นิยมก็คือ Right Jugular vein,Subclavian vein and femoral vein ไปที่หัวใจห้องข้างล่างข้างขวาหลังจากใส่สายไปที่หัวใจห้องข้างล่างข้างขวาแล้ว เราก็เปิดเครื่อง “ON”แล้วตั้งค่าความเร็วของหัวใจ หลังจากนั้นก็ส่งกระแสไฟ output( MA )จนกระทั่ง มีการ capture เกิดขึ้น ใน ECG จะเห็นว่ามี “ขีด“ (Spike) QRS แล้วตามด้วย QRScomplexจํานวน Output (MA) ควรจะมากกว่า 10%ของจํานวนไฟฟ้าที่ ทําให้เกิดการ capture.Transthoracic Pacemaker เป็น pacemakerชั่วคราว ที่ติดไว้จากการผ่าตัดหัวใจ โดยติดสายelectrode ที่ Epicardium ตรงส่วนของหัวใจห้องข้างบน และ/หรือ ห้องข้างล่าง และสาย electrode นี้จะออกมาข้างนอกทางผนังหน้าอกหรือช่องท้อง การตั้งค่าการทํางานก็เหมือนกับ pacemaker ชนิดอื่น คือตั้งค่าของ Heart rate และขนาดไฟฟ้าที่ใช้ output(MA) สูงกว่าประมาณ 10% ของขนาดไฟฟ้าที่มีผลทําให้เกิดการ capture.

Permanent Pacemaker เป็น pacemaker อย่างถาวร ที่ฝังไว้อยู่ในตัวผู้ป่วยส่วนมากที่ใช้กันทั่วไปก็คือ pacemaker ที่สามารถส่งไฟฟ้าไปที่ส่วนของหัวใจห้องข้างบนข้างขวาและหัวใจห้องข้างล่างข้างขวาเมื่อส่งไฟฟ้าไปที่หัวใจห้องข้างบนข้างขวา หัวใจห้องข้างบนก็จะเกิดมีการ depolarization และเมื่อส่งไฟฟ้าไปที่ หัวใจห้องข้างขวาข้างล่าง ก็จะทําให้หัวใจห้องข้างขวาข้างล่างเกิดการ Depolarizationเพราะไฟฟ้าที่ส่งไปจากเครื่องpacemaker ส่งไปที่ห้องหัวใจห้องข้างขวาข้างล่าง หลังจากนั้นไฟฟ้าก็จะเดินจากห้องข้างล่างข้างขวาไปสู่ห้องข้างล่างข้างซ้าย จึงทําให้หัวใจห้องข้างล่างทั้งสองข้างมีการdepolarization ไม่พร้อมกัน เกิดการบีบตัวของหัวใจห้องข้างล่างไม่พร้อมกัน จึงทําให้ผลของการบีบตัวเอาเลือดออกจากหัวใจ (cardiac Output )น้อยลงจึงมีการเพิ่มสาย electrode เส้นที่สามขึ้น โดยเส้นที่หนึ่งต่อไปยัง right Atrium, เส้นที่สองต่อไปยัง right ventricle และเส้นที่สามต่อออกมาทาง coronary sinus มาที่ leftventricle ด้วยวิธีการนี้จะทําให้หัวใจห้องข้างล่างทั้งสองห้องมีการ depolarization พร้อมกัน ทําให้บีบตัวพร้อมกัน มีผลทําให้เลือดออกจากหัวใจ cardiac output ได้มากขึ้น

ไฟฟ้าที่ส่งจากเครื่อง Pacemaker ไปยังหัวใจใน ECG จะพบว่ามี “ขีด spike” ขีด spike นี้อาจจะปรากฏ ที่ข้างบนหรือข้างล่างเส้นIsoelectric line.ถ้าเครื่อง pacemaker ส่งไฟฟ้าไปที่หัวใจห้องข้างบน และได้ผลทําให้หัวใจห้องข้างบนเกิดการ depolarization ใน ECG จะพบว่า มีขีดspike แล้วตามมาด้วย P waveถ้าเครื่อง pacemaker ส่งไฟฟ้าไปที่หัวใจห้องข้างล่าง และได้ผลทําให้หัวใจห้องข้างล่างเกิดการ depolarization ใน ECG จะพบว่า มีขีดspike แล้วตามมาด้วย QRS complex.

Code ที่ใช้ในการตั้งเครื่อง pacemaker จริงๆแล้วมี 5 ตัว แต่ในทางปฎิบัติใช้เพียง 3 ตัว1. ตัวแรกเป็นอักษรที่สําหรับตั้งเพื่อให้เครื่องส่งไฟฟ้าไปที่ใด เช่น O (None) = ไม่ได้ส่งไปที่ใด, A (Atrium) = ส่งไฟฟ้าไปที่หัวใจห้องข้างบน, V ( Ventricle) = ส่งไฟฟ้าไปที่หัวใจห้องข้างล่าง, และ D ( Dual) = ส่งไฟฟ้าไปที่ห้องหัวใจทั้งข้างบนและข้างล่าง2. อักษรตัวที่สอง เป็นการตั้งสัญญาณการรับรู้ของเครื่อง ต่อการเกิด depolarization ที่เกิดจาก ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากตัวหัวใจของมันเอง (Intrinsic) และเช่นเดียวกันเราใช้อักษร O (None) = ไม่มีการรับรู้, A (Atrium) = ตั้งให้เครื่องรับรู้ที่ห้องหัวใจข้างบน, V (Ventricle) = ตั้งให้เครื่อง รับรู้ที่ห้องหัวใจข้างล่าง, และ D (Dual) = ให้เครื่องรับรู้ที่ห้องหัวใจทั้งข้างบนและข้างล่าง3. อักษรตัวที่สาม เป็นการตั้งการทํางานของเครื่องว่าจะทําอย่างไรหลังจากได้สัญญาณรับรู้ เช่น 0 = เครื่องไม่ทําอะไรเลย ไม่ส่งไฟฟ้าออกมา, T (triggers) = หลังจากเครื่องได้รับสัญญาณว่ามี Intrinsic เกิดขึ้นที่หัวใจห้องข้างบน จะกระตุ้นเตรียมให้เครื่องส่งไฟฟ้ามาที่หัวใจห้องข้างล่าง ถ้า ไม่มีไฟฟ้าผ่านลงมาจากข้างบน หรือ ไม่มีไฟฟ้าเกิดขึ้นเองจากหัวใจห้องข้างล่าง, I (Inhibit) = เครื่องจะทํางานส่งไฟฟ้าออกมาเมื่อไม่มีสัญญาณไฟฟ้า intrinsic ที่มาจากตัวหัวใจเอง แต่ถ้า หัวใจมีไฟฟ้า intrinsic ทํางานอยู่ เครื่องจะหยุดส่งไฟฟ้าออกมาในจังหวะนั้น และ D (Dual) = การมี inhibit และ Trigger ของหัวใจทั้งห้องข้างบนและข้างล่าง

หลักการทั่วๆไปในการตั้งเครื่อง Pacemaker สําหรับใช้1. ตั้งจํานวน Heart rate ว่าต้องการให้หัวใจเต้นกี่ครั้งในหนึ่งนาที2. ตั้งปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในการ pacing ปริมาณไฟฟ้าวัดเป็นหน่วย มิลลิแอม ( mA ) วิธีการตั้ง Pacing Threshold(A) ปรับ rateของเครื่องให้สูงกว่าอัตรา การเต้นของหัวใจของผู้ป่วยประมาณ 10 ครั้ง/นาที(B) หมุนปรับปริมาณ กระแสไฟฟ้าให้ค่อยๆสูงขึ้น จนกระทั้งมีการ capture เกิดขึ้น (C). เพิ่ม กระแสไฟฟ้าให้สูงขึ้นจากจํานวนไฟฟ้าที่ capture 10%( D) ปรับ rate ของ เครื่องลดลงมาตาม rate ที่เราต้องการให้หัวใจเต้น3. ตั้งค่าการรับรู้ sensitivity ของเครื่อง หน่วยของสัญญาณคลื่นวัดเป็น มิลลิ โวลต์ วิธีการตั้ง sensitivity threshold ทําได้ดังนี้(A). ปรับ rateของเครื่องให้ตํ่ากว่าอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ป่วยลง ประมาณ 10 ครั้ง/นาที(B) หมุนปุ่ม sensitivity ไปที่ขีดตํ่าสุด ซึ่งหมายถึงเครื่องมีความสามารถรับรู้ ได้สูงสุด และตั้งค่าปริมาณกระแสไฟฟ้าที่สามารถทําให้เกิดการ capture(C). หมุนปุ่มการรับรู้ sensitivity ให้น้อยลง ( จํานวน mV จะเพิ่มขึ้น ) จนกระ ทั้งถึงจุดที่เกิด Failure to sense คือเครื่อง pacemaker ไม่รับรู้การเกิด intrinsic และส่งไฟฟ้ามาตลอดโดยไม่มีการหยุดส่งแม้หัวใจของผู้ป่วยจะมี การส่งไฟฟ้า intrinsic มาเองก็ตาม(D) เมื่อถึงจุดนี้ คือจุดที่เครื่องไม่สามารถรับรู้ถึง intrinsic ของผู้ป่วยแล้ว ให้ เราตั้งจํานวน sensitivity เพิ่มขึ้น 10% ( ค่า mV น้อยลง )(E) ปรับ rate ของเครื่องเพิ่มขึ้นมาตาม rate ที่เราต้องการให้หัวใจเต้น

ในกรณีที่ SA node ทํางานไม่ได้ตามปกติอย่างเช่นส่งไฟฟ้ามาช้าทําให้หัวใจเต้นช้าBradycardia หรือเป็นเพราะ SA node ผลิตไฟฟ้าได้แต่ถูก block อย่างเช่น Sinus Exitblock, Sinus pause, Sinus arrest หรือ Sicksinus syndrome แต่มี conduction system ที่สามารถนําไฟฟ้าจากหัวใจห้องข้างบนลงมาข้างล่างยังเป็นปกติอยู่ เราสามารถใช้เครื่องpacemaker ส่งไฟฟ้าไปที่หัวใจห้องข้างบน ทําให้หัวใจทํางานไวขึ้นเป็นปกติได้การส่งไฟฟ้าจากเครื่อง pacemaker ไปที่หัวใจห้องข้างบน และมีผลทําให้เกิดการdepolarization ของหัวใจห้องข้างบน เราเรียก Rhythm ที่เห็นใน ECG ว่า AtrialPacing rhythm.Atrial pacing rhythm ใน ECG จะพบว่าเกิดมี ขีด spike แล้วตาม P wave ( Atrialactivity ) หลังจากนั้นไฟฟ้าก็เดินลงมาที่หัวใจห้องข้างล่าง ตาม conduction system จึงทําให้เกิด QRS complex.



ในกรณีที่หัวใจห้องข้างล่าง Ventricles เต้นช้าเนื่องจากมีไฟฟ้าจากตัวหัวใจเองมาทําให้เกิดการventricular depolarization น้อยลง ทําให้หัวใจเต้นช้าปั้มเลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอการช่วยทําให้หัวใจเต้นเร็วมากขึ้น วิธีหนึ่งก็คือการใช้เครื่อง pacemaker ส่งกระแสไฟฟ้าไปที่หัวใจห้องข้างล่างไฟฟ้าที่เครื่อง pacemaker ส่งมาที่หัวใจห้องข้างล่างแล้วทําให้หัวใจห้องข้างล่างเกิดการdepolarizationใน ECG จะพบ ขีด spike เกิดขึ้นแล้วตามติดมาด้วยQRS complex. เราเรียกว่า Ventricular pacing



ในกรณีที่ไฟฟ้าทํางานไม่ปกติที่ห้องหัวใจทั้งข้างบนและข้างล่าง เราสามารถใช้เคร่ืองpacemaker ส่งไฟฟ้าไปที่หัวใจทั้งห้องข้างบนและห้องข้างล่าง เพื่อให้หัวใจทั้งห้องข้างบนและห้องข้างล่างให้ทํางานได้เป็นปกติ และมีความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันการส่งไฟฟ้าจากเครื่อง pacemaker ไปที่หัวใจทั้งห้องข้างบนและห้องข้างล่าง และทําให้เกิดการทํางานนี้ เราเรียกว่า AV Sequential Pacingใน ECG จะพบว่ามี ขีด spike แล้วเกิด P waveตามมา ต่อจากนั้นก็จะมี ขีด spike อีกขีดหนึ่ง แล้วตามด้วย QRS complex.

ในกรณีที่หัวใจห้องข้างล่างข้างซ้ายและข้างขวามีการ depolarization ไม่พร้อมกันเนื่องจากมีBundle branch block หรือกล้ามเนื้อหัวใจใหญ่โตมากกว่าปกติ ทําให้หัวใจห้องข้างล่างบีบตัวไม่พร้อมกัน มีผลทําให้หัวใจปั้มเลือดออกมาได้ไม่ดีนักมีวิธีการที่ช่วยได้ที่เรียกว่า CardiacResynchronization Therapy โดยการใช้Pacemaker ส่งไฟฟ้าไป 3 ที่คือ ที่ Right atrium,right ventricle และ left ventricle โดยมีการเพิ่มสาย lead wire เส้นที่สามขึ้น เส้นที่หนึ่งต่อไปยังright Atrium, เส้นที่สองต่อไปยัง right ventricleและเส้นที่สามต่อออกมาทาง coronary sinus มาที่left ventricleด้วยวิธีการนี้จะทําให้หัวใจห้องข้างล่างทั้งสองห้องมีการ depolarization พร้อมกัน ทําให้บีบตัวพร้อมกัน มีผลทําให้เลือดออกจากหัวใจ cardiac outputได้มากขึ้นใน ECG ที่มีการส่งไฟฟ้าไปที่ห้องหัวใจห้องข้างล่างทั้งสองห้องพร้อมกันนี้ จะพบขีดventricular spike แล้วตามด้วย QRS ที่มีลักษณะแคบลง

ปัญหาที่เครื่อง pacemaker ทํางานไม่เป็นปกติ มีได้ดังนี้1 . Failure to pace. คือเครื่องไม่ทํางาน คือไม่ได้ส่งไฟฟ้าออกมาตามที่ตั้งไว้ ใน ECG จะพบว่า ไม่มีขีดspike ปรากฏออกมา อาจเกิดจากสาเหตุเช่น batteryหมด สาย electrode หลุด หรือมีคลื่นอื่นรบกวน2. Failure to capture คือเครื่องส่งไฟฟ้าออกมา แต่ไม่มีผลทําให้เกิด waveform ใน ECG คือไม่มีการdepolarization ของกล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้น ใน ECGจะเห็น ขีด spike แต่ไม่มี waveform เกิดขึ้นตามมาสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากกําลังไฟฟ้าที่ส่งมาจากเครื่องpacemaker น้อยไปไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากมีการเพิ่ม pacing threshold ของกล้ามเนื้อหัวใจที่เกิดจากการใช้ยาหรือผู้ป่วยมี ค่าสารเกลือแร่ ผิดปกติ3. Failure to sense คือเครื่องขาดการรับรู้ว่าหัวใจนั้นทํางานมีการ depolarization ที่เกิดมาจากการได้รับไฟฟ้าที่ตัวหัวใจผลิตมาเอง หรือรับรู้ผิดๆโดยคิดว่าตัวหัวใจเองนั้นมีการทํางานอยู่ เครื่องจึงไม่ส่งไฟฟ้าออกมา ใน ECG จะเห็น ขีด spike เกิดขึ้นไม่สัมพันธ์กับ Pwave หรือ QRS complex สาเหตุที่เกิดคือตั้งค่าความรู้สึกมากไปหรือน้อยไป ( Over sensing or Undersensing )

Implantable Cardioverter Defibrillator (ICD) เป็นเครื่องที่ใส่ไว้ในตัวผู้ป่วย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ซึ่งสามารถทําให้เสียชีวิตอย่างกระทันหัน Sudden Cardiac Deathเครื่อง ICD สามารถทํางานได้เหมือนเครื่องPermanent pacemaker แล้ว และยังสามารถรับรู้ได้ว่าหัวใจเกิดการเต้นที่ผิดปกติ เป็นอันตรายร้ายแรงที่อาจทําให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างเช่น VentricularTachycardia, Ventricular fibrillation หลังจากเครื่องได้รับรู้ว่าหัวใจของผู้ป่วยมีการเต้นที่ปิดปกติดังกล่าว เครื่อง ICD จะส่งไฟฟ้าไปที่หัวใจเพื่อทําการรักษาเมื่อหัวใจผู้ป่วยเกิดการเต้นที่เรียกว่า VentricularTachycardia เครื่อง ICD รับรู้ และจะส่งไฟฟ้าไปทําการPacing ที่เร็วกว่าความไวของ intrinsic rate ที่เกิดจากไฟฟ้ามาจากตัวผู้ป่วยเอง เป็นวิธีการที่เรียกว่าoverdrive pacing เป็นวิธีการที่ reset ไฟฟ้าของหัวใจผู้ป่วยให้กลับมาเต้นในจังหวะที่ปกติแต่ถ้าหัวใจผู้ป่วยมีการเต้นที่เรียกว่า Ventricular Fibrillation เครื่อง ICDจะส่งไฟฟ้าไปช๊อค defibrillation เป็นการ reset ไฟฟ้าในหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ

Pacemaker Insertion Complications ปัญหาบางอย่างที่อาจจะเกิดจากการใส่เครื่อง Pacemaker อาทิ เช่น 1. Lead Dislodgement สายหลุด เกิดประมาณ 3% Atrial lead หลุด มากกว่า Ventricular lead การแก้ไขอาจจะทําโดย การเปลี่ยน pacing threshold ทํา re-programming ของ pacemaker sensitivity หรือ output หรืออาจจะต้องทําการผ่าตัด แก้ไขที่เรียกว่า Lead revision. 2. Pneumothorax การใส่สาย leads เข้าไปในเส้นเลือดดําผ่านทาง subclavian, axillary, หรือ cephalic vein อาจทําให้เกิด complication ต่างๆเช่น arterial puncture, pneumothorax, thrombosis, air embolism, arteriovenous fistula หรือ brachial plexus injury. Pneumothorax เกิดขึ้นประมาณ 1-2% ของการเจาะเส้น เลือดดํา subclavian vein 3. Cardiac Perforation เกิดขึ้นประมาณ 1% ของการใส่สาย lead โอกาส เกิดเพิ่มมากขึ้นในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่ใช้ยา anti-coagulation. Signs ของ perforation อาจพบได้จากการมีเช่น pacemaker undersensing, increased pacing threshold, loss of capture และ อาจพบ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ QRS complex ที่เกิดจากไฟฟ้าที่มา จาก pacemaker เปลี่ยนจาก LBBB morphology ไปเป็น RBBB morphology 4. Bleeding and Hematoma และ การติดเชื้อโรค Infection เป็น common complication ของการใส่ permanent pacemaker

ความรู้ทั่วไปสําหรับผู้ป่วยที่ใส่ Permanent Pacemaker.:- ผู้ป่วยควรจะบอกแพทย์หรือทันตแพทย์ว่าตัวเองใส่เครื่อง pacemakerอยู่:- เครื่อง metal detectors ที่สนามบิน อาจมีผลต่อการทํางานของPacemaker เพียงชั่วคราว แต่ไม่ทําให้เกิดการเสียหายแบบถาวร:- เครื่องไฟฟ้าที่ใช้ในบ้าน เช่น ทีวี เตาอบ ไมโครเวบ ไม่มีผลต่อการทํางานของ pacemaker.:- โทรศัพท์มือถือที่มีกําลังน้อยกว่า 3 watts ไม่มีผลรบกวนการทํางานของPacemaker อย่างไรก็ตามแต่ แนะนําให้ใช้โทรศัพท์มือถือ ห่างจากตัวเครื่อง pacemaker อย่างน้อย 6 นิ้ว:- ผู้ป่วยที่มี Pacemaker ไม่สามารถทํา MRI ( magnetic resonanceimaging ) เพราะจะทําให้เครื่องเสียได้:- รังสีที่ใช้ในการรักษา มะเร็ง Radiation Therapy อาจมีผลต่อการทํางานของ Pacemaker. ต้อง monitor ตรวจสอบการทํางานทั้งก่อนและหลังการรักษา:- Lithotripsy สามารถทําในผู้ป่วยที่มี pacemaker แต่ต้อง monitorตรวจสอบการทํางานทั้งก่อนและหลังการรักษา และอาจจะต้อง re-programของเครื่อง pacemaker หลังจากได้รับการรักษาด้วย Lithotripsy.:- เครื่องจักรกลที่ใช้พลังของแม่เหล็กใหญ่ๆ จะมีผลต่อการทํางานของPacemaker ไม่ควรอยู่ใกล้ๆกับเครื่องจักรกลเหล่านี้ เครื่อง Pacemaker จะส่งสัญญาณ Beep เตือนเมื่อผู้ป่วยอยู่ใกล้กับเครื่องจักรกลที่มีกําลังแม่เหล็กมาก

ความรู้ทั่วไปสําหรับผู้ป่วยที่ใส่ ICD:- ผู้ป่วยที่ใส่เครื่อง ICD อาจจะมีความรู้สึกเศร้าซึม เพราะคิดว่า ต้องฝากความหวังที่จะมีชีวิตรอดได้ก็เพราะเครื่องICD ตัวนี้ ผู้ป่วยควรได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่อง ICD.:- เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติอย่างเช่น VentricularFibrillation เครื่อง ICD จะส่งไฟฟ้ามาช๊อคDefibrillation ที่หัวใจ จะทําให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเหมือนกับถูกเตะที่หน้าอก แต่สําหรับการ Pacing ผู้ป่วยอาจจะไม่รู้สึกถึงการทํางาน นอกจากมีการ Pacing ในกรณีของOverdrive Tachycardia Pacing.:- ญาติพี่น้องและเพื่อนของผู้ป่วย ควรรู้ว่าผู้ป่วยมี ICD ในบางโอกาสที่กําลังสัมผัสกับตัวผู้ป่วย และ ICD ของผู้ป่วยทํางานช๊อคหัวใจผู้ป่วยเกิดขึ้น ผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยในขณะนั้น อาจจะรู้สึก เสียวแปลบและรู้สึกชาเหมือนกับถูกไฟฟ้ากําลังน้อยช๊อค แต่จะไม่เป็นอันตรายก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ที่สัมผัสตัวผู้ป่วยได้::- เมื่อมีการช๊อคของเครื่อง ICD เกิดขึ้น ผู้ป่วยจะต้องรายงานให้แพทย์ทราบเพื่อตรวจหาและแก้ไขการเต้นผิดปกติของหัวใจ:- ในผู้ป่วยที่เครื่องทํางานส่งไฟฟ้ามา รักษาแต่ไม่ได้ผลอย่างไร ผู้ป่วยจะหมดสติ หัวใจไม่เต้น ต้องได้รับการ CPR ( Cardio-Pulmonary Resuscitation )

A Q-PMK#1BCDEFG

A A- PMK # 1BCDEF A = 2, B = 6, C = 5, D =G4 E = 2, F = 3, G = 1

Name the rhythm - เรียกชื่อ rhythm ว่าอะไรABC 23

Name the rhythm - เรียกชื่อ rhythm ว่าอะไร Atrial Pacing RhythmAB AV sequential Pacing Rhythm Ventricular Pacing RhythmC 24


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook