Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Chapter 9. Bundle Branch Block 2018 BOOK FINAL

Chapter 9. Bundle Branch Block 2018 BOOK FINAL

Published by ไกรศร จันทร์นฤมิตร, 2018-08-21 00:10:58

Description: Chapter 9. Bundle Branch Block 2018 BOOK FINAL

Search

Read the Text Version

ปกติไฟฟ้าเดินทางลงมายังหัวใจห้องข้างล่างโดยผ่านทาง Bundle branch ทั้งข้างขวาและ ข้างซ้ายพร้อมๆกัน จึงทําให้หัวใจห้องข้างล่างทั้งสองห้องมีการ depolarization พร้อมกัน การ depolarization ของหัวใจห้องข้างล่างพร้อมกันทําให้เกิด QRS complex ลักษณะแคบเป็นปกติ คือมีความกว้างของ QRS ไม่เกิน 0.10 second. แต่ถ้าไฟฟ้าที่ลงมาถูกสะกัดกั้นที่ Bundle Branch ข้างหนึ่งข้างใด การเกิด depolarization ของหัวใจห้องข้างล่างจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน จึงทําให้ QRS complex มีขนาดกว้างขึ้น ถ้าเป็น complete block ขนาดของ QRS complex จะกว้างกว่า 0.12 secondแต่ถ้าเป็น incomplete block ขนาดของ QRS complex จะกว้างระหว่าง 0.10 – 0.12 second

เมื่อ bundle branch ข้างหนึ่งข้างใดถูก block การ Deporalization ของห้องหัวใจข้างล่างจะเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน ภาพของ QRS complex ของหัวใจห้องข้างล่างจึงปรากฎไม่พร้อมกัน ( ภาพซ้อนกัน )เมื่อภาพ QRS complex ซ้อนกันภาพที่เห็นจึงมีเพียง ส่วนยอดของ wave ก็คือ R wave 2 R wave ซึ่งเราตั้งชื่อเรียกว่า R และ R’ ( บางคนอาจจะมองเห็นเหมือนกับรูป หูกระต่าย, หัวหยัก, หัวทื้อ ) และแน่นอนเมื่อเกิดการ depolarization ของห้องหัวใจทั้งสองห้องไม่พร้อมกัน กว่าจะเสร็จสิ้นการ depolarization ของห้องหัวใจข้างล่างทั้งหมด จึงใช้เวลานานมากกว่าปกติ คือ มี QRS complex กว้างกว่า 0.12 second.

จะดูว่ามี bundle branch block ของข้างขวาของหัวใจ ให้ดู QRS complex ที่ Lead V1 V2 ถ้าจะดูว่ามี bundle branch block ของข้างซ้ายของหัวใจ ให้ดู QRS complex ที่ Lead I, aVL, V5 and V6

กว้างมากกว่า 3 ช่องเล็ก Lead I, aVLถ้ามี bundle branch block ของข้างขวาของหัวใจจะพบ QRS complex กว้างกว่า 0.12 second และมี R R’ ที่ Lead V1 V2ถ้ามี bundle branch block ของข้างซ้ายของหัวใจจะพบ QRS complex กว้างกว่า 0.12 second และมี R R’ ที่ Lead I, aVL, V5 and V6

ถ้ามี bundle branch block ของข้างขวาของหัวใจ ( Right Bundle Branch Block )จะพบ QRS complex กว้างกว่า 0.12 second และมี R R’ ที่ Lead V1 V2

ถ้ามี bundle branch block ของข้างซ้ายของหัวใจ ( Left Bundle Branch Block )จะพบ QRS complex กว้างกว่า 0.12 second และมี R R’ ที่ Lead I, aVL, V5 and V6

Left bundle branch แยกออกเป็นสองทางคือ Anterior fascicular และ posterior fascicular ไปทางด้านหน้าเรียกว่า Anterior fascicular และ ไปทางด้านหลังเรียกว่า posterior fascicular

เพื่อทําความเข้าใจเกี่ยวกับ Hemiblock คือ block ที่ Anterior fascicular branch หรือที่ posterior fascicular branch จะขอพูดถึงเส้นเลือดที่นําเลือดไปเลี้ยงที่ fascicular branch ทั้งสอง branchเส้นเลือดที่นําเลือดไปเลี้ยง Anterior fascicular branch คือ Left Anterior Descending ( LAD )เส้นเลือดที่นําเลือดไปเลี้ยง Posterior fascicular branch คือ Left Anterior Descending ( LAD ) และ Right Coronary Artery ( RCA )

เมื่อมีการ block เกิดขึ้นที่ Anterior Division Branch ของ Left bundle ไฟฟ้าจะมาถึงส่วนของ ด้านหน้าของหัวใจห้องข้างล่างข้างซ้ายช้าลง ซึ่งทําให้เกิดมีการ depolarization ในส่วนนี้ช้ากว่าส่วนของด้านหลังของหัวใจห้องข้างล่างข้างซ้าย ใน ECG คุณจะพบว่ามี Left Axis Deviation หรือ AXIS ที่ไฟทางด้านซ้ายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ ECG ที่ทํามาก่อนการเกิดการ Block ของ Anterior Division Branch นี้ เมื่อไฟฟ้าวิ่งไฟทาง Left Axis Deviation จึงทําให้เกิด Q wave เล็กๆที่ Lead I และเกิด S wave ลึกมากใน Lead III สรุป ถ้ามี Anterior Hemiblock ใน ECG คุณจะพบว่ามี small Q wave in Lead I, large S wave in Lead III และมี Left Axis Deviation

Anterior Hemiblock ใน ECG จะพบว่ามีsmall Q wave in Lead I, large S wave in Lead III และมี Left Axis Deviation

เมื่อมีการ block เกิดขึ้นที่ Posterior Division Branch ของ Left bundle ไฟฟ้าจะมาถึงส่วนของ ด้านหลังของหัวใจห้องข้างล่างข้างซ้ายช้าลง ซึ่งทําให้เกิดมีการ depolarization ในส่วนนี้ช้ากว่าส่วนของด้านหน้าของหัวใจห้องข้างล่างข้างซ้าย ใน ECG คุณจะพบว่ามี Right Axis Deviation หรือ AXIS ที่ไฟทางด้านขวามากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ ECG ที่ทํามาก่อนการเกิดการ Block ของ Posterior Division Branch นี้ เมื่อไฟฟ้าวิ่งไฟทาง Right Axis Deviation จึงทําให้เกิด Q wave เล็กๆที่ Lead III และเกิด S wave ลึกมากใน Lead I สรุป ถ้ามี Posterior Hemiblock ใน ECG จะพบว่ามี small Q wave in Lead III, large S wave in Lead I และมี Right Axis Deviation

ถ้ามี Posterior Hemiblock ใน ECG จะพบว่ามีsmall Q wave in Lead III, large S wave in Lead I และมี Right Axis Deviation

ถ้ามี Right bundle branch Block ร่วมกับ Hemiblock ข้างหนึ่งข้างใด( Anterior or Posterior ) เราเรียกว่า Bifascicular Block

Anterior Hemiblock ใน ECG นี้มี small Q wave in Lead I, large S wave in Lead IIIและมี Left Axis DeviationRight Bundle Branch Block ใน ECG นี้มี RR’ ที่ lead V1 และมี QRS > 0.12 second



st หรือ RBBB + LPFB + 1 AVBถ้ามี Right bundle branch Block ร่วมกับ Hemiblock ข้างหนึ่งข้างใด ( Anterior orPosterior ) และเกิดร่วมกับ First Degree AV Block ด้วย เราเรียกว่า Trifascicular Block





















27


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook