Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิธีสอนแบบธรรมชาติ

วิธีสอนแบบธรรมชาติ

Published by Patcharin Saisa-ing, 2022-12-21 12:08:51

Description: วิธีสอนแบบธรรมชาติ

Search

Read the Text Version

วิ ธี ส อน แ บ บ ธ ร ร ม ช า ติ(THE NATURAL APPROACH)

แ น ว คิ ด พื้ น ฐ า น วิธีสอนแบบธรรมชาติเป็นวิธีสอนที่พัฒนาจากแนวคิดของการสอนที่เน้น ความเข้าใจเน้นการให้ข้อมูลทางภาษาที่สามารถเข้าใจได้โดยใช้รูปภาพ ท่าทาง สถานการณ์ โครงสร้าง หรือคำศัพท์ที่เข้าใจได้ง่ายช่วยการเรียนการสอนภาษา โดย เน้นการใช้ภาษาที่สมจริง กิจกรรมการเรียนรู้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างผ่อนคลาย และสนุกสนาน โดยไม่คำนึงถึงข้อผิดพลาดที่นักเรียนกระทำในช่วงแรกของการเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนพูดได้คล่อง

แ น ว คิ ด พื้ น ฐ า น ( ต่ อ ) วิธีสอนแบบธรรมชาติเป็นวิธีสอนที่พัฒนาโดย Terrell ได้พยายามที่จะ พัฒนาการสอนภาษาสัมพันธ์กับหลักการทางธรรมชาติของการเรียนรู้ภาษาที่สอง เน้น การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยไม่ใช้ภาษาแม่ของผู้เรียน ไม่ เน้นการวิเคราะห์โครงสร้างไวยากรณ์และการฝึกโครงสร้างรูปแบบต่างๆ มีการใช้กิริยา ท่าทาง การเคลื่อนไหวของเมืองประกอบคำพูด จนเมื่อผู้เรียนสามารถพูดคำหรือวลีเป็น ภาษาต่างประเทศและคุ้นเคยกับภาษาต่างประเทศแล้ว จึงศึกษาด้านไวยากรณ์เป็น ลำดับต่อไป

ท ฤ ษ ฎี ท า ง ภ า ษ า วิธีสอนแบบธรรมชาติ เป็นตัวอย่างของ วิธีสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่คำนึงถึง ภาษาว่ามีหน้าที่สื่อสาร ไม่มีทฤษฎีทางภาษาที่เกี่ยวข้องกับวิธีสอนดังกล่าวโดยตรง แต่ Krashen ได้อธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษาโดยเน้นความหมายเป็นลำดับ แรกและเน้นความสำคัญของคำศัพท์ กล่าวคือ คำศัพท์ที่ปรากฏในข่าวสารมีความสำคัญ มากกว่าส่วนอื่น ๆ ของภาษา วิธีสอนแบบธรรมชาติให้ความสำคัญกับข่าวสารเป็นลำดับ แรก คำศัพท์ในข่าวสารจึงจำเป็นต้องถูกจัดเรียงตามโครงสร้างไวยากรณ์และถ้าข่าวสาร ยิ่งซับซ้อน โครงสร้างไวยากรณ์ก็จะยิ่งซับซ้อน ครูผู้สอนภาษา ผู้เรียนภาษา สื่อสาร การสอนภาษาต่างๆ ไม่จำเป็นต้องให้ความสนใจหรือวิเคราะห์โครงสร้างไวยากรณ์

ท ฤ ษ ฎี ท า ง ภ า ษ า ( ต่ อ ) นอกจากนี้ การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ภาษา ผู้เรียนจะต้องเข้าใจข่าวสารใน ภาษาเป้าหมาย โดยสมมติฐานเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลทางภาษา ชี้ให้เห็นว่า ผู้เรียนจะ ก้าวหน้าในการเรียนรู้ภาษาเป้าหมายในระดับต่อไป ผู้เรียนจำเป็นต้องเข้าใจข้อมูลทาง ภาษาที่มีโครงสร้างทางภาษาในระดับนั้น หรือ ผู้เรียนต้องเข้าใจข้อมูลทางภาษาที่มี โครงสร้างทางภาษาสูงกว่าระดับความสามารถปัจจุบันของผู้เรียนเพียงเล็กน้อย (i+1)

ท ฤ ษ ฎี ก า ร เ รี ย น รู้ วิธีสอนแบบธรรมชาติเป็นวิธีสอนที่มีลักษณะพิเศษเพราะมีทฤษฎีและงาน วิจัยรองรับวิธีสอนดังกล่าวมีรากฐานมาจากทฤษฎีการเรียนรู้ภาษาที่สองของ Krashen (1982) ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวได้กล่าวถึงสมมติฐานการเรียนรู้ภาษาที่สอง ไว้ 5 ประการสรุปได้ดังนี้

ท ฤ ษ ฎี ก า ร เ รี ย น รู้ 1) สมมติฐานเกี่ยวกับการรู้และการเรียนภาษา (The Acquisition /Learning Hypothesis) ได้อธิบายถึงวิธีการในการพัฒนาสมรรถภาพในภาษาที่สองไว้ 2 วิธี ดังนี้ 1.1 การรู้ภาษา (Language acquisition) เป็นวิธีการ 1.2 การเรียนรู้ภาษา (Language learning) เรียนรู้ภาษาที่สองเหมือนกับวิธีการเรียนรู้ภาษาแม่ เป็นกระ เป็นกระบวนการเรียนรู้กฎเกณฑ์ของภาษาที่สองแบบรู้ตัว บวนการเรียนรู้แบบไม่รู้ตัว (Unconscious) ผู้เรียนจะไม่รู้ตัวว่า ผู้เรียนสามารถอธิบายกฎเกณฑ์ของภาษาที่เรียน ตนเองได้เรียนกฎเกณฑ์ของภาษาแล้ว เพราะไม่ได้เน้นเรื่อง กระบวนการเรียนรู้ภาษาด้วยวิธีนี้จึงเป็นการเรียนรู้อย่าง กฎเกณฑ์ แต่ผู้เรียนจะรู้สึกถึงความถูกผิดของภาษา แม้จะไม่ เป็นทางการไม่มีการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำ ได้เรียนกฎเกณฑ์โดยตรง การรู้ภาษาจึงเป็นวิธีการเรียนรู้ภาษา วันแต่มีประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้องของภาษา อย่างปราศจากข้อสงสัย เป็นธรรมชาติ

ท ฤ ษ ฎี ก า ร เ รี ย น รู้ 2) สมมติฐานเกี่ยวกับกลไกทดสอบทางภาษา (The Monitor Hypothesis) ได้อธิบายถึงการเรียน แบบรู้ตัวมีประโยชน์ในการตรวจสอบความถูกต้องของภาษาหรือเป็นกลไกทดสอบทางภาษาเมื่อผู้เรียน เริ่มใช้ระบบภาษาศาสตร์ของภาษาที่สองสื่อสาร Krashen เสนอว่าต้องมีเงื่อนไข 3 ประการคือ 2.1 ต้องมีเวลาเพียงพอสำหรับผู้เรียนในการเลือกและใช้กฎเกณฑ์ทางภาษาที่เรียน 2.2 ผู้ใช้ภาษาต้องสนใจและเน้นความถูกต้องของกฎเกณฑ์ของภาษาที่ผลิตออกไป 2.3 ต้องรู้กฎเกณฑ์ทางภาษา

ท ฤ ษ ฎี ก า ร เ รี ย น รู้ 3) สมมติฐานเกี่ยวกับขั้นตอนในการเรียนรู้ภาษาตามธรรมชาติ The Natural Order Hypothesis) การเรียนรู้โครงสร้างไวยากรณ์เป็นไปอย่างมีขั้นตอนผู้เรียนจะเรียนรู้บางโครงสร้างก่อนบางโครงสร้าง ซึ่งขั้นตอนดัง กล่าวพบในการเรียนรู้ภาษาที่สองเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ข้อผิดพลาดต่าง ๆ ถือว่าเป็นกระบวนการพัฒนาตาม ธรรมชาติในระหว่างการเรียนรู้ภาษาผู้เรียนจะมีข้อผิดพลาดแบบเดียวกันแม้จะมีภาษาแม่แตกต่างกัน

ท ฤ ษ ฎี ก า ร เ รี ย น รู้ 4) สมมติฐานเกี่ยวกับการรับรู้ข้อมูลทางภาษา (The Input Hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการรู้ ภาษาซึ่งผู้เรียนรู้ภาษาโดยเข้าใจความหมายก่อนรู้โครงสร้างดังนั้นเป้าหมายของการสอนคือการมุ่งให้ผู้เรียนรู้ ภาษาเรียนรู้ภาษาจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง โดยต้องเข้าใจข้อมูลทางภาษาที่มีโครงสร้างสูงกว่าระดับความ สามารถปัจจุบันของผู้เรียนเพียงเล็กน้อย (i+1) ผู้เรียนเข้าใจข้อมูลดังกล่าวโดยอาศัยบริบทสีหน้าท่าทางประกอบ นอกจากนี้ Krachen ได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทักษะการพูดว่า การใช้ข้อมูลทางภาษา ที่เข้าใจได้ให้แก่ผู้เรียนผู้เรียนจะเริ่มพูดเมื่อรู้ว่าเพิ่มซึ่งความพร้อมของผู้เรียนแต่ละคนจะแตกต่างกันการพูดใน ช่วงแรกอ่านไม่ถูกต้องตามโครงสร้างไวยากรณ์ ความถูกต้องตามโครงสร้างไวยากรณ์จะพัฒนาถ้าผู้เรียนได้ฟัง และเข้าใจข้อมูลทางภาษามากขึ้น

ท ฤ ษ ฎี ก า ร เ รี ย น รู้ 5) สมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างด้วยจิตใจ (The Affective Filter Hypothesis) อารมณ์หรือ ทัศนคติของผู้เรียนที่มีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุน หรือเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ข้อมูลทาง ภาษาที่จำเป็นต่อการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ 5.1 แรงจูงใจ ผู้ที่มีแรงจูงใจสูงจะเรียนรู้ได้ดี 5.2 ความมั่นใจในตนเอง ผู้เรียนที่มีความมั่นใจในตนเองและมองภาพตนเองในทางที่ดีจะมีแนว โน้มประสบความสำเร็จในการเรียน 5.3 ความวิตกกังวล หากผู้เรียนที่มีความวิตกกังวลต่ำและสภาพห้องเรียนที่ไม่ก่อให้เกิดความวิตก กังวลเรียกว่าความวิตกกังวลแบบเอื้ออำนวยช่วยทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ภาษาได้ดี

ก า ร พั ฒ น า ทั ก ษ ะ ก า ร พู ด ภ า ษ า อั ง ก ฤ ษ ข อ ง นั ก เ รี ย น ร ะ ดั บ ชั้ น ป ร ะ ถ ม ศึ ก ษ า ปี ที่ 1 ที่ จั ด ก า ร เ รี ย น รู้ โ ด ย ใ ช้ แ น ว คิ ด วิ ธี ธ ร ร ม ช า ติ

วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ 1. เพื่ อศึ กษาระดั บทั กษะการพู ดภาษาอั งกฤษของนั กเรี ยนชั้ น ประถมศึ กษาปี ที่ 1 หลั งการจั ดการเรี ยนรู้ โดยใช้ แนวคิ ดวิ ธี ธรรมชาติ 2. เพื่ อเปรี ยบเที ยบทั กษะการพู ดภาษาอั งกฤษของนั กเรี ยนชั้ น ประถมศึ กษาปี ที่ 1 ก่ อนและหลั งการจั ดการเรี ยนรู้ โดยใช้ แนวคิ ดวิ ธี ธรรมชาติ 3. เพื่ อศึ กษาความพึ งพอใจของนั กเรี ยนชั้ นประถมศึ กษาปี ที่ 1 ที่ มี ต่ อ การเรี ยนวิ ชา ภาษาอั งกฤษ ที่ จั ดการเรี ยนรู้ โดยใช้ แนวคิ ดวิ ธี ธรรมชาติ

ตั ว แ ป ร ใ น ก า ร วิ จั ย 1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ 2. ตัวแปรตาม ได้แก่ 2.1 ทักษะการพูดภาษาอังกฤษ 2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ (อ 11101) โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ

เ นื้ อ ห า ง า น วิ จั ย ผู้วิจัยใช้เนื้อหาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และหลักสูตร ของโรงเรียนผดุงราษฎร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) แบ่งออกเป็นเรื่องต่างๆ ดังนี้ Topics 1. Body 2. Color 3. Number 4. Animal

วิ ธี ดำ เ นิ น ก า ร วิ จั ย การวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการ เรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ ผู้วิจัยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนผดุง ราษฎร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกจำนวน 40 คน ซึ่งได้มาโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) จาก 5 ห้อง สุ่มมา 1 ห้อง 2. แบบแผนการวิจัย 3. เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย 4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 5. การดำเนินการทดลอง 6. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย

วิ ธี ดำ เ นิ น ก า ร วิ จั ย 4. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4.1 แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธี ธรรมชาติ เป็นแผนการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีเนื้อหาครอบคลุมตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายวิชาภาษา อังกฤษ (อ11101) 4.2 แบบทดสอบภาคปฏิบัติวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษ คือ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน โดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติเป็นรายบุคคล ซึ่งใช้วิธีการถาม ตอบ ระหว่างครูผู้สอนและนักเรียนเกี่ยวกับเรื่อง Body, Color, Number และ Animal โดยคำถามมี ทั้งหมด 10 ข้อ ข้อละ 20 คะแนน คะแนนเต็ม 200 คะแนน 4.3 แบบบันทึกการวัดทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการ เรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ 4.4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษา อังกฤษ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ

ผ ล ก า ร วิ จั ย 1. ผลการศึกษาระดับทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ

ผ ล ก า ร วิ จั ย 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ได้คะแนนทดสอบและผลการเปรียบเทียบ

ผ ล ก า ร วิ จั ย 3. ผลการวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่ จัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธี ธรรมชาติ

ส รุ ป แ ล ะ อ ภิ ป ร า ย ผ ล 1. ผู้สอนทำการสอนโดยเริ่มจากการสอนเรื่องที่ง่ายก่อนและใช้สื่อการสอนต่างๆ เช่น รูปภาพ เพลง เกม และสิ่งของต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจให้กับนักเรียน ในขั้นตอนนี้ผู้สอนมีการพูดออกเสียงช้าๆ เพื่อให้นักเรียนเกิดความเคยชินและสามารถจดจาภาษาและสำเนียงได้ จึงทำให้นักเรียนสามารถออกเสียง และเกิดความคล่องแคล่วในด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ หลังจากนั้นจึงเพิ่มความยากของตัวป้อนเข้าให้ สูงกว่าความรู้ปัจจุบันของนักเรียนอยู่เล็กน้อย ผ่านการสอนคำศัพท์ วลี และประโยคอย่างง่าย โดยให้ นักเรียนสามารถนำความรู้ด้านคำศัพท์ที่เรียนไปแล้วมาประยุกต์ใช้กับการเรียนโครงสร้างที่ยากขึ้นเพื่อช่วย ให้นักเรียนสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนข้างต้นสอดคล้องกับสมมติฐานด้านตัวป้อน เข้า (the input hypothesis) ของแนวคิดวิธีธรรมชาติ (Krashen & Terrell, 1983) ซึ่งเป็นหลักการที่ สำคัญที่สุดในการเรียนรู้ภาษาที่สอง โดยอาศัยหลัก i+1 ซึ่งเน้นความสำคัญของตัวป้อนเข้าที่ต้องมีความ ยากมากกว่าความสามารถของนักเรียนปัจจุบันเล็กน้อย

ส รุ ป แ ล ะ อ ภิ ป ร า ย ผ ล 2. ผู้สอนได้นำภาพ เกม นิทาน เพลง และกิจกรรมต่างๆ มาช่วยให้นักเรียนเกิดความสนุกสนาน ไม่ ก่อให้เกิดความเครียด และก่อให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน เช่น การนำเกม “Simon Says” มาช่วยสอน ในเรื่อง Body นักเรียนจะได้เรียนคำศัพท์ที่เกี่ยวกับร่างกายผ่านการเล่นเกม นอกจากนั้นครูผู้สอนยังได้ ประยุกต์เอาประโยคคำสั่งอย่างง่ายมาใช้ในเกม โดยที่ผู้สอนไม่ต้องอธิบายในเรื่องของโครงสร้างประโยค แต่ทว่าการเล่นเกมจะช่วยให้นักเรียนเกิดความคุ้นเคยทางด้านการสร้างประโยคไปด้วย โดยที่นักเรียนไม่รู้ สึกว่าตนเองกำลังเรียนอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นการเล่นเกมอย่างง่ายที่เด็กสามารถทำได้ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ ของนักเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ สมมติฐานการกลั่นกรองทางจิตใจ (the affective filter hypothesis) ที่ได้กล่าวถึงความสำคัญของจิตใจซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการรับรู้ภาษาที่สอง ว่านักเรียนจะสามารถ เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้านักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียน มีความมั่นใจในตนเองและปราศจากความ วิตกกังวล (Krashen & Terrell, 1983)

ส รุ ป แ ล ะ อ ภิ ป ร า ย ผ ล ผลการเปรียบเทียบทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่ได้รับการสอนภาษาอังกฤษโดยใช้ แนวคิดวิธีธรรมชาติ มีทักษะการพูดภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น ทั้งนี้ จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความกล้าแสดงออกในชั้นเรียนเพิ่มมากขึ้น และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมร่วมกับครูผู้ สอน โดยไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้เรียนกฎเกณฑ์ใดๆ

ส รุ ป แ ล ะ อ ภิ ป ร า ย ผ ล ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดวิธีธรรมชาติ พบว่า นักเรียนพอใจในวิธีการทดสอบที่ครูนามาใช้ นักเรียน ชอบสื่อที่ครูใช้ประกอบการสอนเพราะน่าสนใจ

THANK YOU นางสาวธั ญศิ นี บุ ญศรี 641810206 นางสาวพรหมพร นามพยั พ 64181020220 นางสาวพั ชริ นทรฺ นทร์ สายสะอิ้ ง 64181020223


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook