Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 8. thai 21001

8. thai 21001

Published by puilovely_99, 2020-10-21 03:29:05

Description: 8. thai 21001

Search

Read the Text Version

142 กิจกรรม บทที่ 5 หลกั การใชภ าษา กจิ กรรมท่ี 1 ใหผูเ รียนแยกคาํ ตอ ไปน้อี อกเปน 3 ประเภท ตามตาราง ผลไม รัฐบาล อคั คภี ัย พลเรือน ศิลปกรรม รปู ธรรม วทิ ยาลยั มหาชน พระเนตร พุทธกาล นพเกา คหกรรม สัญญาณ นโยบาย ภมู ิศาสตร คาํ ประสม คําสมาส คาํ สนธิ กจิ กรรมที่ 2 ใหผ ูเรยี นพิจารณาประโยคตอไปนว้ี าเปนประโยคชนดิ ใด 1. วนั นี้อากาศรอ นมาก 2. ฉนั ดใี จทเ่ี ธอมคี วามสขุ 3. พอ ซ้ือนาฬิกาเรือนใหมใ หฉนั 4. พชี่ อบสีเขียวแตนองสาวชอบสฟี า 5. รายการราตรสี โมสรใหค วามบันเทิงแกผูช ม กจิ กรรมที่ 3 ใหผูเ รยี นฝก เขียนอกั ษรยอ ประเภทตา ง ๆ นอกเหนอื จากตวั อยา งทีย่ กมา กิจกรรมท่ี 4 ใหผเู รยี นศกึ ษาและรวบรวมคําสภุ าพ และคาํ ราชาศพั ทท ่ใี ชแ ละพบเหน็ ในชีวิตประจําวัน กิจกรรมท่ี 5 ใหผูเรยี นจับคสู าํ นวนใหตรงกบั ความหมาย 1. เกีย่ วโยงกันเปนทอด ๆ ก. ผกั ชโี รยหนา 2. หมดหนทางทจ่ี ะหนีได ข. จับปลาสองมือ 3. ทาํ ดที ี่สุดเปน ครงั้ สุดทาย ค. ขมิน้ กับปูน 4. รนหาเร่ืองเดอื ดรอน ง. แกวงเทาหาเสยี้ น 5. ทาํ ดแี ตเพียงผวิ เผิน ฉ. จนตรอก 6. ไมดําเนนิ การตอ ไป ช. หญาปากคอก 7. นิง่ เฉยไมเ ดือดรอ น ซ. ทิง้ ทวน 8. ทาํ อยา งลวก ๆ ใหพ อเสรจ็ ฌ. แขวนนวม 9. รอู ะไรแลวพดู ไมได ญ. มวยลม

143 10. อยากไดส องอยา งพรอม ๆ กัน ฎ. ลอยแพ 11. ถกู ไลออก ปลดออก ฏ. หอกขา งแคร 12. เรอ่ื งงา ย ๆ ทีค่ ิดไมถ ึง ฐ. พระอิฐพระปูน ฑ. สกุ เอาเผากิน ฒ. งกู ินหาง ณ. นาํ้ ทวมปาก กิจกรรมท่ี 6 ใหผ ูเรยี นเขยี นคําพงั เพยใหตรงกับความหมายทก่ี ําหนดให 1. ชอบโทษผูอน่ื โดยไมดตู ัวเอง 2. ไมชวยแลวยงั กดี ขวางผูอ ืน่ 3. การลงทุนไมค มุ คา กับผลท่ไี ดร ับ 4. ชอบร้อื ฟน เร่อื งเกา ๆ 5. เปน คนชอบสุรุยสุราย กจิ กรรมท่ี 7 ตอบคาํ ถามตอ ไปนี้สนั้ ๆ แตไดใ จความ 1. การแตงคําประพันธตามหลกั ฉันทลักษณม ีกี่ประเภท อะไรบาง 2. บทประพนั ธตอไปนีเ้ ปนคาํ ประพันธป ระเภทใด 2.1 ถึงกลางวันสรุ ิยนั แจม ประจักษ ไมเห็นหนานงลกั ษณย่ิงมดื ใหญ ถึงราตรมี จี นั ทรอ นั อาํ ไพ ไมเ ห็นโฉมประโลมใจใหมดื มน วิวาหพระสมทุ ร 2.2 ขึ้นกกตกทุกขย าก แสนลาํ บากจากเวยี งชยั ผักเผอื กเลอื กเผาไฟ กนิ ผลไมไ ดเปน แรง พระสุริยงเย็นยอแสง รอนรอนออนอสั ดง แฝงเมฆเขาเงาเมธธุ ร ชว งด่ังนํา้ กร่ิงแดง กิจกรรมท่ี 8 ผูเรียนเขยี นประโยคภาษาท่เี ปน ทางการ และภาษาไมเปนทางการ อยางละ 3 ประโยค ภาษาท่เี ปนทางการ 1................................................................................... 2.................................................................................. 3................................................................................... ภาษาไมเ ปน ทางการ 1................................................................................... 2.................................................................................. 3...................................................................................

144 บทที่ 6 วรรณคดี และวรรณกรรม สาระสําคญั การเรียนภาษาไทย ตองเรียนรูในฐานะเปนวัฒนธรรมทางภาษาใหเกิดความชื่นชม ซาบซึ้ง และภูมิใจในภาษาไทย โดยเฉพาะคุณคาของวรรณคดี และภูมิปญญาทางภาษาของบรรพบุรุษที่ได สรางสรรคไวอันเปนสวนเสริมความงดงามในชีวิต นอกจากนั้น วรรณคดีและวรรณกรรม ตลอดจน บทรองเลนของเด็ก เพลงกลอมเด็ก ปริศนาคาํ ทาย เพลงพื้นบาน วรรณกรรมพื้นบาน เปนสวนหนึ่ง ของวัฒนธรรมซ่ึงมีคุณคา การเรียนภาษาไทยจึงตองเรียนวรรณคดี วรรณกรรม ภูมิปญญาทางภาษา ที่ถายทอดความรูสึกนึกคิดทั้งรอยแกวและรอยกรองประเภทตาง ๆ เพ่ือใหเกิดความซาบซึ้งและ ความภมู ใิ จในส่ิงที่บรรพบุรษุ ไดส ่ังสมและสบื ทอดมาจนถงึ ปจ จุบนั ผลการเรยี นรูท่คี าดหวงั ผูเรยี นสามารถ 1. อธบิ ายความแตกตา งและคุณคาของวรรณคดี วรรณกรรมปจ จบุ ันและวรรณกรรมทอ งถิ่น 2. ใชห ลักการพนิ ิจวรรณคดแี ละวรรณกรรม หลกั การพิจารณาวรรณคดีและวรรณกรรม ใหเ หน็ คุณคา และนําไปใชใ นชวี ติ ประจําวัน 3. รองเลนหรอื ถา ยทอดเพลงพ้นื บา นและบทกลอมเด็กในทอ งถ่ิน ขอบขา ยเนอ้ื หา เร่อื งที่ 1 หลกั การพจิ ารณาวรรณคดแี ละหลกั การพนิ จิ วรรณกรรม เร่อื งท่ี 2 หลักการพินิจวรรณคดีดา นวรรณศิลปแ ละดานสังคม เรือ่ งท่ี 3 เพลงพ้นื บา น เพลงกลอ มเด็ก

145 เรื่องที่ 1 หลกั การพิจารณาวรรณคดีและหลกั การพนิ จิ วรรณกรรม กอนที่จะศึกษาถึงเร่ืองการพิจารณาวรรณคดีและการพินิจวรรณกรรม ตองทําความเขาใจ กับความหมายของคาํ วา วรรณคดีและวรรณกรรม เพื่อใหผูเรียนสามารถเขาใจในความหมายของคํา ท้ังสองนี้ ไดอยางชัดเจนโดย ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2514 : 58 - 133) ไดกลาวถึงความสัมพันธ และความแตกตา งระหวา งวรรณคดีและวรรณกรรมไว ดงั นี้ วรรณคดี ใชในความหมายวา วรรณกรรมหรอื หนงั สอื ทไี่ ดร บั การยกยองวาแตง ดี มวี รรณกรรมศลิ ป กลาวคือ มีลักษณะเดนในการใชถอยคําภาษาและเดนในการประพันธ ใหคุณคาทางอารมณและ ความรูสึกแกผูอานสามารถใชเปน แบบฉบบั อางอิงได หนงั สือที่เปน วรรณคดสี ามารถบงบอกลักษณะได ดังน้ี 1. มีเน้อื หาดี มปี ระโยชนแ ละเปนสภุ าษติ 2. มีศิลปะการแตงท่ียอดเย่ียมท้ังดานศิลปะการใชคํา การใชโวหารและถูกตองตามหลัก ไวยากรณ 3. เปนหนังสอื ทีไ่ ดร บั ความนิยมและสืบทอดกันมายาวนานกวา 100 ป วรรณกรรม ใชในความหมายวา งานหนงั สอื งานนิพนธท่ที ําข้ึนทุกชนดิ ไมวาแสดงออกมาโดย วิธีหรือในรูปอยางใด เชน หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน ส่ิงพิมพ ปาฐกถา เทศนา คําปราศรัย สุนทรพจน สงิ่ บันทกึ เสียง ภาพ เปน ตน วรรณกรรมแบงออกเปน 2 ประเภท 1. สารคดี หมายถึง หนังสือท่ีแตงขึ้นเพ่ือใหความรู ความคิด ประสบการณแกผูอาน ซ่ึงอาจใชร ปู แบบรอ ยแกว หรอื รอ ยกรองก็ได 2. บันเทิงคดี คือ วรรณกรรมท่ีแตงข้ึนเพ่ือมุงใหความเพลิดเพลิน สนุกสนาน บันเทิง แกผ อู าน จงึ มักเปน เรอ่ื งที่มเี หตกุ ารณและตวั ละคร การพินิจหรือการพิจารณาคุณคาของวรรณคดีหรือวรรณกรรม ไมวาจะเปนรอยแกวหรือ รอ ยกรองมีหลักการพิจารณากวา ง ๆ คลายกันคอื เราอาจจะตงั้ คาํ ถามงา ย ๆ วางานประพันธชนิ้ นนั้ หรือเรื่องนัน้ ใหอ ะไรแกคนอานบาง ความหมาย การพินิจ คือ การพิจารณาตรวจตรา พรอมท้ังวิเคราะหแยกแยะและประเมินคาได ท้ังนี้ นอกจากจะไดประโยชนตอตนเองแลว ยังมีจุดประสงคเพื่อนาํ ไปแสดงความคิดเห็นและขอเท็จจริง ใหผูอื่นไดทราบดวย เชน การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อเปนการแนะนําใหบุคคลท่ัวไปท่ีเปน ผูอานไดรูจักและไดทราบรายละเอียดที่เปนประโยชนในดานตาง ๆ เชน ใครเปนผูแตง เปนเรื่อง เกี่ยวกับอะไร มีประโยชนตอใครบาง ทางใดบาง ผูพินิจมีความเห็นวาอยางไรคุณคาในแตละดาน สามารถนาํ ไปประยุกตใ หเ กิดประโยชนอ ยางไรในชวี ติ ประจําวนั

146 แนวทางในการพินิจวรรณคดแี ละวรรณกรรม การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมมีแนวใหปฏิบัติอยางกวาง ๆ เพื่อใหครอบคลุมงานเขียน ทุกชนิดซึ่งผูพินิจจะตองดูวาจะพินิจหนังสือชนิดใด มีลักษณะเฉพาะอยางไรซึ่งจะมีแนวในการพินิจ ทจี่ ะตอ งประยุกตห รอื ปรับใชใหเหมาะสมกับงานเขยี นนัน้ ๆ หลักเกณฑก วาง ๆ ในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม มดี งั นี้ 1. ความเปน มาหรอื ประวัติของหนังสือและผแู ตง เพ่ือชวยใหว ิเคราะหใ นสว นอ่นื ๆ ไดดขี นึ้ 2. ลักษณะคาํ ประพนั ธ 3. เรอื่ งยอ 4. เน้ือเรื่อง ใหวิเคราะหเรื่องตามหัวขอตามลําดับ โดยบางหัวขออาจจะมีหรือไมมีก็ได ตามความจาํ เปน เชน โครงเรอ่ื ง ตัวละคร ฉาก วธิ กี ารแตง ลกั ษณะการเดินเรอื่ ง การใชถอ ยคาํ สาํ นวน ในเร่ือง การแตง วิธีคิดท่ีสรางสรรค ทัศนะหรอื มุมมองของผเู ขยี น เปน ตน 5. แนวคิด จดุ มงุ หมาย เจตนาของผเู ขียนท่ีฝากไวใ นเร่อื งซ่งึ จะตองวิเคราะหออกมา 6. คณุ คา ของวรรณคดีและวรรณกรรม ซึง่ โดยปกติแลว จะแบง ออกเปน 4 ดา นใหญ ๆ และกวาง ๆ เพื่อความครอบคลุมในทุกประเด็น ซ่ึงผูพินิจจะตองไปแยกแยะหัวขอยอยใหสอดคลอง กับลกั ษณะหนังสอื ท่จี ะพนิ จิ นน้ั ๆ ตามความเหมาะสมตอไป การอานวรรณคดีมรดกตองอานอยางพินิจจึงจะเห็นคุณคาของหนังสือ การอานอยางพินิจ หมายความวาอยา งไร การพินิจวรรณคดี คือ การอานวรรณคดีอยางใชความคิด ไตรตรอง กลั่นกรอง แยกแยะ หาเหตผุ ล หาสว นดี สว นบกพรอ งของหนังสือ เพอ่ื จะไดประเมินคาของหนังสือนั้น ๆ อยางถูกตองและ มเี หตผุ ล การอา นหนงั สืออยางพินจิ พเิ คราะหม ีประโยชนต อชวี ติ มาก เพราะผพู ินิจวรรณคดี จะรจู กั เลอื ก รับประโยชนจ ากหนงั สอื และนาํ ประโยชนไ ปใชในชวี ติ ของตนไดและความสามารถในการประเมนิ คา ของ ผูพินิจวรรณคดีจะชวยใหผูพินิจเปนผูมีเหตุผล มีความยุติธรรม มีวิจารณญาณ การพินิจวรรณคดี ผพู นิ จิ ไมควรเอาความรสู กึ หรอื ประสบการณส ว นตนมาเปนหลกั สาํ คัญในการตดั สนิ วรรณคดี เพราะแตล ะคน ยอมมีความรสู ึกและประสบการณต า งกนั หลกั การพินิจวรรณคดี การพินิจวรรณคดี เปนการแนะนาํ หนังสือในลักษณะของการวิเคราะหวิจารณหนังสือ อยางงาย ๆ โดยบอกเรื่องยอ ๆ แนะนําขอดีขอบกพรองของวรรณคดี บอกชื่อผูแตง ประเภทของ หนังสือ ลักษณะการแตง เนื้อเรื่องโดยยอ ๆ คุณสมบัติของหนังสือ ดวยการวิจารณเกี่ยวกับเนื้อหา แนวคิด ภาษา คุณคา และขอคิดตาง ๆ ประกอบทัศนะของผูพินิจ ซึ่งเปนลักษณะของการชักชวน ใหผูอานสนใจหนังสือเลมนั้น การพินิจวรรณคดีเปนการศึกษาและวิเคราะหลักษณะของวรรณคดี เพื่อนํามาแนะนําใหเกดิ ความเขา ใจซาบซ้งึ อยางแจม แจง

147 การพนิ จิ วรรณคดีมหี ลักการพนิ ิจกวาง ๆ 3 ดาน คอื 1. โครงสรา งของวรรณคดี 2. ความงดงามทางวรรณคดี 3. คุณคาของวรรณคดี ดานที่ 1 โครงสรางของวรรณคดี การที่เราจะพนิ ิจวรรณคดีเรอื่ งใด เราจะตอ งพิจารณาวา เรื่องน้ันแตงดวยคําประพันธชนิดใด โครงเรอื่ งเนือ้ เรื่องเปน อยา งไร มแี นวคดิ หรอื สาระสําคญั อยา งไร ตวั ละครมรี ปู ราง ลักษณะนิสัยอยางไร ฉากมคี วามหมายเหมาะสมกับเรื่องหรอื ไม และมวี ิธีดาํ เนนิ เรอ่ื งอยางไร ดานที่ 2 ความงดงามทางวรรณคดี วรรณคดีเปนงานที่สรางขึ้นอยางมีศิลปะ โดยเฉพาะการใชถอยคําเพื่อใหเกิดความไพเราะ ในอรรถรส ซึ่งเราจะพิจารณาไดจากการใชคํา มีท้ังการเลนคํา เลนอักษร พิจารณาไดจากการใช สํานวนโวหาร กวโี วหาร ซ่ึงจะดูจากการสรา งจนั ตภาพ ภาพพจน และพิจารณาจากการสรางอารมณ ในวรรณคดีส่งิ เหลา นีเ้ ปนความงดงามทางวรรณคดที ้ังนั้น ดา นท่ี 3 คุณคาของวรรณคดี มคี ณุ คาทางศีลธรรม ปญญา อารมณ วัฒนธรรม ประวัตศิ าสตร และวรรณศิลป เปน ตน โวหารภาพพจน การใชโ วหารภาพพจน คือ การใชถอยคําใหเกิดภาพโดยวิธกี ารเปรียบเทียบอยางมศี ลิ ปะ ภาพพจนมีหลายลกั ษณะ เชน อปุ มา อปุ ลกั ษณ อธพิ จน บคุ ลาธิษฐาน สทั พจน หรือการใชส ญั ลักษณ เปนตน อุปมา คือ การเปรียบเทียบเพื่อทําใหเห็นภาพหรือเกิดความรูสึกชัดเจน จึงตองนําสิ่งอื่นท่ีมี ลักษณะคลา ยคลงึ กนั มาชวยอธิบาย หรือเช่ือมโยงความคิดโดยมีคํามาเช่ือม ไดแก เหมือน เสมือน ดุจ เลห  เฉก ดัง กล เพยี ง ราว ปนู ฯลฯ อปุ ลักษณ เปน การเปรียบเทยี บทล่ี กึ ซึ้งกวาอปุ มา เพราะเปน การเปรียบส่ิงหน่งึ เปน สงิ่ หนึง่ มาก จนเหมอื นกบั เปนสง่ิ เดยี วกนั โดยใชคาํ วา “ เปน กับ คือ ” มาเช่อื มโยง ตัวอยาง “แมเ ปนโสมสอ งหลา” “สุจรติ คอื เกราะบังศาสตรพอง” โวหารอธิพจน เปน โวหารทกี่ วกี ลาวเกนิ จริง เพื่อตอ งการท่ีจะเนนใหความสําคัญและอารมณ ความรสู กึ ทีร่ นุ แรง เชน ถงึ ตอ งงาวหลาวแหลนสกั แสนเลม ใหต ิดเตม็ ตัวฉุดพอหลุดถอน แตต องตาพาใจอาลยั วอน สุดจะถอนทง้ิ ขวางเสยี กลางคัน (นริ าศวดั เจา ฟา สนุ ทรภู)

148 บุคลาธษิ ฐาน เปน โวหารทน่ี ําส่ิงไมมีชีวิต หรือส่ิงท่ีเปนนามธรรม มากลาวเหมือนเปนบุคคล ที่มชี ีวติ เชน เพชรนาํ้ คางหลนบนพรมหญา เย็นหยาดฟา พาฝนหลงวนั ใหม เคลาเคลียหยอกดอกหญา อยางอาลยั เมอ่ื แฉกดาวใบไผไหวตะวัน โวหารสัทพจน หมายถงึ โวหารทเี่ ลยี นเสียงธรรมชาติ เชน ทง้ั กบเขยี ดเกรยี ดกรดี จ้งิ หรีดเรอื่ ย พระพายเฉือ่ ยฉวิ ฉวิ วะหววิ หวาม การสรางอารมณ ความงามดานอารมณ เม่อื เราอานวรรณคดี จะเห็นวาเรามีความรูสึกหรืออารมณรวมไปกับ เร่ืองตอนนั้น ๆ ดวย เชน สงสาร โกรธ ชงิ ชัง น่นั แสดงวากวีไดส รางอารมณใ หเ รามีความรูสึกคลอยตาม ซงึ่ เปน ความงามอยา งหน่ึงในวรรณคดี กวจี ะสอดแทรกความคิดออกมาในรูปของความรัก ความภาคภูมิใจ ความเศราสลดใจ และมีการเลือกสรรคําประพันธใหเหมาะสมกับเน้ือเรื่อง การที่กวีใชถอยคําใหเกิด ความงามเกดิ อารมณท ําใหเราไดรับรสวรรณคดีตาง ๆ รสวรรณคดี รสวรรณคดีของไทยเปนลีลาของบทประพันธอยางหน่ึง คือ การใชภาษาไทยใหเหมาะสม แกเนอ้ื ความของเรือ่ ง กลาวคือ แตงบทประพันธต ามรสบทประพันธไทยหรือรสวรรณคดไี ทยซึ่งมี 4 รส คอื 1. เสาวรจนี เปนบทพรรณนาความงามของสถานท่ี ธรรมชาติ ชมนาง เชน “ตาเหมอื นตามฤคมาศพิศควิ้ พระลอราช ประดุจแกวเกาทัณฑ กงนา พิศกรรณงามเพริศแพรวกลกลิน่ บงกชแกว อกี แกมปรางทอง เปรียบนา” 2. นารปี ราโมทย เปน บทเกีย้ วพาราสี แสดงความรักใคร เชน “เจา งามปลอดยอดรักของพลายแกว ไดม าแลวแมอ ยา ขับใหก ลบั หนี พส่ี ตู ายไมเสยี ดายแกชีวี แกวพี่อยา ไดพ ร่าํ รําพนั ความ พผี่ ดิ พ่ีกม็ าลุแกโ ทษ จงคลายโกรธแมอ ยาถือวา หยาบหยาม พช่ี มโฉมโลมลูบดว ยใจงาม ทรามสวาทด้นิ ไปไมไ ยดี” 3. พโิ รธวาทงั เปน บทโกรธ บทตัดพอ ตอวา เหน็บแนม เสียดสี หรอื แสดงความเคยี ดแคน เชน ผันพระกายกระทบื พระบาทและอึง พระศพั ทส ีหนาทพงึ สยองภัย เอออเุ หมนะมึงชชิ างกระไร ทุทาสสถุลฉะน้ไี ฉนกม็ าเปน 4. สลั ลาปงคพสิ ัย เปน บทแสดงความโศกเศรา ครํา่ ครวญ อาลัยอาวรณ เชน เคยหมอบใกลไ ดก ลิ่นสุคนธต ลบ ละอองอบรสรื่นชนื่ นาสา สนิ้ แผน ดินสิ้นรสสคุ นธา วาสนาเรากส็ ้ินเหมอื นกลนิ่ สคุ นธ (สุนทรภู)

149 หลักการและแนวทางการพจิ ารณาวรรณคดี การพิจารณาวรรณคดี คือ การแสดงขอคิดเห็นเกี่ยวกับวรรณคดีเลมใดเลมหน่ึงอยางส้ัน ๆ โดยมีเจตนาจะแนะนําวรรณคดีน้ันใหผูอานรูจักวามีเนื้อเรื่องอยางไร มีประโยชนมีคุณคาอยางไร ผูพิจารณามีความคิดเห็นอยางไรตอวรรณคดีเรื่องน้ัน ๆ ชอบหรือไมชอบ เพราะเหตุใด มีลักษณะ การวจิ ารณวรรณกรรม หลกั การพิจารณาวรรณคดี 1. แยกองคประกอบของหนังสือหรือวรรณคดีทีจ่ ะวิจารณใหได 2. ทําความเขาใจองคประกอบทแ่ี ยกออกมาใหแ จมแจง ชดั เจน 3. พิจารณาหรอื วิเคราะหหนงั สือหรือวรรณคดี ตามหวั ขอ ตอ ไปนี้ 3.1 ประวัตคิ วามเปนมาและประวตั ิผูแตง 3.2 ลกั ษณะการประพันธ 3.3 เรือ่ งยอ 3.4 การวิเคราะหเรือ่ ง 3.5 แนวคิดและจดุ มงุ หมายในการแตง 3.6 คุณคา ดา นตา ง ๆ การพินจิ คุณคา วรรณคดแี ละวรรณกรรมมี 4 ประเดน็ ดงั น้ี 1. คุณคาดานวรรณศิลป คือ ความไพเราะของบทประพันธซึ่งอาจจะเกิดจากรสของคํา ที่ผูแตงเลอื กใชและรสความไพเราะท่ีใหความหมายกระทบใจผูอา น 2. คุณคาดานเนื้อหา คือ การใหความรูสึกในดานตาง ๆ ใหคุณคาทางปญญาและความคิด แกผูอ าน 3. คุณคาดานสังคม วรรณคดีและวรรณกรรมสะทอนใหเห็นภาพของสังคมในอดีต และวรรณกรรมที่ดสี ามารถจรรโลงสงั คมไดอีกดว ย 4. การนาํ ไปประยุกตใชในชีวิตประจาํ วัน เพ่ือใหผูอานไดประจักษในคุณคาของชีวิต ไดความคิดและประสบการณจ ากเรอื่ งทอ่ี าน และนําไปใชในการดําเนินชวี ติ นําไปเปนแนวปฏิบตั หิ รือ แกป ญหารอบ ๆ ตวั เรอื่ งท่ี 2 หลักการพนิ ิจวรรณคดีดา นวรรณศลิ ปแ ละดานสังคม ความหมายของวรรณคดีมรดก วรรณคดีมรดก หมายถึง วรรณคดีที่บรรพบุรุษสรางไวและเปนท่ีนิยมตกทอดเรื่อยมาจนถึง ปจจุบนั วรรณคดมี รดกของไทยน้นั มักจะแสดงภาพชีวิตของสังคมในสมัยที่เกิดวรรณคดี ขณะเดียวกัน

150 กจ็ ะแทรกแนวคิด ปรชั ญาชวี ิตดว ยวธิ ีอันแยบยลจนทําใหผูอานเกิดอารมณสะเทือนใจ มีความรูสึกรวม ไปกบั กวีดวย คุณคาของวรรณคดมี รดก วรรณคดมี รดกน้ันมคี ณุ คามาก ทงั้ ทางดานประวัตศิ าสตร สงั คม อารมณ คติสอนใจและคุณคา ทางวรรณศลิ ปหรอื จะพดู วา วรรณคดีมรดกเปน ทรพั ยสนิ ทางปญญาทตี่ กทอดเปนสมบัติทางวัฒนธรรม ของชาติซ่ึงบรรพบุรุษไดอุตสาหะสรางสรรคข้ึนดวยอัจฉริยภาพ เพราะการอานวรรณคดีมรดกทําให ทราบเหตกุ ารณตา ง ๆ ทป่ี ระทับใจบรรพบรุ ษุ สงั คม สภาพชีวติ ความเปนอยูของคนไทยในชุมชนน้ัน ๆ วามีลกั ษณะอยางไรเหมือนหรือแตกตางจากสงั คมปจ จุบนั อยา งไร มกี ลวธิ ีในการใชถอ ยคําโวหารอยา งไร จึงทาํ ใหเ รารว มรับรอู ารมณนน้ั ๆ ของกวี นอกจากนี้วรรณคดีมรดกมีคุณคาเปนเคร่ืองเชิดชูความเปนอัจฉริยะของชาติ ชวยสะทอนถึง บุคลิกลักษณะประจําชาติ และชวยทําใหคนในชาติรูเร่ืองราวในอดีตและคุณคาที่สําคัญก็คือ คุณคา ทางดา นอารมณและดานความงาม ความไพเราะ เพราะเกิดการอานวรรณคดีมรดกจะทําใหเราไดรับ ความเพลิดเพลินในเนื้อหาและรสศิลปะแหงความงาม ความไพเราะดานอักษรศิลปไปพรอมกัน ชวยสงเสริมจติ ใจผอู านใหรักสวยรกั งาม เขา ใจหลกั ความจริงในโลกมนษุ ยย ิ่งขน้ึ วรรณคดมี ีคณุ คาแกผูอานหลายประการ คือ 1. ทําใหผอู านเกิดอารมณคลอ ยตามกวี เชน สนุก เพลดิ เพลิน ดีใจ เศราใจ ขบขัน เปน ตน 2. ทําใหผูอา นเกดิ สติปญ ญา เราจะไดข อคดิ คติ หลกั การดาํ เนินชวี ติ ในวรรณคดีชว ยยกระดบั จิตใจใหส งู ขึน้ การอานวรรณคดที ําใหเ กดิ ความเฉลียวฉลาดและเกิดปญ ญา 3. ทําใหไดรบั ความรใู นดา นตาง ๆ เชน ประวตั ศิ าสตร ตาํ นาน ภูมศิ าสตร ภาษา ประเพณี ความเชอ่ื ในสมยั ท่ีแตงวรรณคดีนนั้ ๆ 4. ทาํ ใหเ ขา ใจสภาพสังคมวัฒนธรรมของบรรพบุรุษท่ีกวีไดนํามาเขียนสอดแทรกไวทําใหเรา เขาใจและสามารถเปรยี บเทยี บสงั คมในวรรณคดีกบั ปจ จุบนั ได ลกั ษณะเดนของวรรณคดีไทย จาํ แนกเปน ขอ ๆ ดังน้ี 1. นิยมแตง หนงั สอื หรอื การแตง วรรณคดดี วยคาํ ประพนั ธร อยกรองมากกวา รอยแกว เปน บทกลอน ลกั ษณะภาษากาพยกลอนทีม่ ีสมั ผสั คลองจองสอดคลองกบั ลักษณะนสิ ัยของคนไทย แมภาษาพูดก็มีลีลา เปนรอยกรองแบบงาย ๆ เชน หมอ ขาวหมอแกง ขาวยากหมากแพง ขนมนมเนย ในนํา้ มปี ลาในนามีขา ว ชกั น้ําเขาลึก ชกั ศึกเขาบาน เปน ตน 2. เนนความประณีตของคําและสํานวนโวหาร ภาษาท่ีใชวรรณคดีไมเหมือนภาษาพูดทั่วไป คอื เปน ภาษาท่ีมีการเลือกใชถอ ยคาํ ตกแตงถอ ยคาํ ใหห รหู รา มกี ารสรางคาํ ท่มี คี วามหมายอยางเดยี วกนั ทเี่ รยี กวา คําไวพจน โดยใชร ปู ศัพทต าง ๆ กนั เพื่อมใิ หเ กดิ ความเบ่อื หนา ยจาํ เจ เชน ใชคําวา ปกษา ปก ษี สกุณา สกณุ ี ทวชิ แทนคาํ วา “นก” ใชคําวา กญุ ชร คช ไอยรา หัตถี กรี แทนคําวา “ชาง”

151 นอกจากนั้นยังมีการใชภาษาสัญลักษณ เชน ใชคํา ดวงจันทร บุปผา มาลี เยาวมาลย แทน คาํ วา “ผหู ญงิ ” 3. เนนการแสดงความรสู ึกสะเทอื นอารมณจากการรําพันความรสู กึ ตัวละครในเร่ืองจะรําพัน ความรสู กึ ตา ง ๆ เชน รกั เศรา โกรธ ฯลฯ เปน คํากลอนยาวหลายคํากลอน ตัวอยางอเิ หนาคร่ําครวญถงึ นางบษุ บาทถ่ี ูกลมหอบไป ดงั นี้ เมอื่ นน้ั พระสุรยิ วงศอ สญั แดหวา ฟน องคแลวทรงโศกา โอแ กว แววตาของเรยี มเอย ปา นฉะนีจ้ ะอยูแหงใด ทาํ ไฉนจงึ จะรูน ะอกเอย ฤาเทวาพานอ งไปชมเชย ใครเลยจะบอกเหตุรายดี สองกรพระคอ นอรุ าร่าํ ชะรอยเวรกรรมของพ่ี ไดส มนองแตสองราตรี ฤามิ่งมารศรมี าจากไป พระยิ่งเศรา สรอ ยละหอยหา จะทรงเสวยโภชนากห็ าไม แตครวญครํา่ กาํ สรดระทดใจ สะอนื้ ไหโศกาจาบลั ย (อเิ หนา สาํ นวนรชั กาลท่ี 2) 4. มีขนบการแตง คือ มีวิธีแตงท่ีนิยมปฏิบัติแนวเดียวกันมาแตโบราณ ไดแก ข้ึนตนเร่ือง ดวยการกลา วคําไหวครู คือ ไหวเ ทวดา ไหวพ ระรัตนตรยั ไหวครูบาอาจารย สรรเสริญพระเกยี รตคิ ณุ ของ พระมหากษัตริย หรือกลาวชมบานชมเมือง 5. วรรณคดไี ทยมเี นอื้ หาเกย่ี วกบั ชนช้นั สูงมากกวาคนสามัญ ตัวละครเอกมักเปนกษัตริยและ ชนช้นั สงู 6. แนวคิดสําคญั ที่พบในวรรณคดีไทยโดยทั่วไปเปนแนวคดิ แบบพุทธปรัชญางาย ๆ เชน แนวคิด เรอื่ งทําดไี ดด ี ทําช่วั ไดชั่ว ความไมเทีย่ งตรงของสรรพส่ิง อนจิ จัง ความกตญั ู ความจงรักภักดี ความรัก และการพลดั พราก เปน ตน 7. เน้ือเรือ่ งท่รี บั มาจากวรรณกรรมตางชาตจิ ะไดรบั การดดั แปลงใหเ ขากับวฒั นธรรมไทย 8. ในวรรณคดีไทยมลี กั ษณะเปนวรรณคดีสําหรับอาน เนื่องจากมีการพรรณนาความยืดยาว ใหรายละเอยี ดตาง ๆ เพื่อใหผูอานไดภาพชัดเจน เนนความไพเราะของคํา ดังน้ัน เมื่อจะนําไปใชเปน บทแสดงจะตอ งปรับเปลีย่ นเสียใหมเพือ่ ใหก ระชับขึน้ 9. ในวรรณคดีไทยมีบทอัศจรรยแทรกอยูดวย เร่ืองของความรักและเพศสัมพันธ เปนธรรมชาตอิ ยางหนึ่งของมนุษย กวีไทยไมนิยมกลา วตรงไปตรงมา แตจ ะกลา วถึงโดยใชก ลวิธีการ เปรียบเทียบหรอื ใชส ญั ลักษณแทน เพ่ือใหเ ปน งานทางศลิ ปะมใิ ชอนาจาร 10. วรรณคดีไทยมักแทรกความเชื่อ คานิยมของไทยไวเสมอ ลักษณะตาง ๆดังกลาวมาขางตน นับเปนลักษณะเดนของวรรณคดีไทยซ่ึงผูเรียน ควรเรียนรแู ละเขา ใจเพื่อจะอานวรรณคดไี ทยไดอยา งซาบซ้ึงตอ ไป

152 การอา นวรรณคดีเพือ่ พิจารณาคุณคา ดานวรรณศลิ ป วรรณศิลป มีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 วา ศิลปะ ในการแตงหนังสือ ศิลปะทางวรรณกรรม วรรณกรรมท่ถี งึ ข้ันวรรณคดี หนงั สอื ทไ่ี ดร บั การยกยองวา แตง ดี จากความหมายนี้ การพิจารณาคุณคาดานวรรณศิลปตองศึกษาตั้งแตการเลือกชนิด คาํ ประพันธใหเหมาะสมกับประเภทงานเขียน ถูกตองตรงความหมาย เหมาะกับบุคคลหรือตัวละคร ในเรื่องและรสวรรณคดี การรูจักตกแตงถอยคําใหไพเราะสละสลวยอันเปนลักษณะเฉพาะภาษากวี และทําใหผ ูอา นเกดิ ความสะเทอื นอารมณ ภาษากวเี พอื่ สรา งความงดงามไพเราะแกบ ทรอ ยแกวรอยกรองนั้น มีหลักสําคัญท่ีเกี่ยวของกัน 3 ดา น ดงั นี้ 1. การสรรคาํ 2. การเรยี บเรยี งคํา 3. การใชโ วหาร การสรรคํา คือ การเลือกใชคําใหส่ือความคิด ความเขาใจ ความรูสึกและอารมณไดอยาง งดงามโดยคาํ นงึ ถึงความงามดานเสียง โวหาร และรูปแบบคําประพันธ การสรรคาํ ทําได ดังนี้ การเลือกคําใหเหมาะแกเ น้ือเรอื่ งและฐานะของบคุ คลในเรือ่ ง การใชคาํ ใหถ กู ตองตรงตามความหมาย การเลือกใชค าํ พองเสยี ง คําซา้ํ การเลือกใชค ําโดยคํานึงถงึ เสียงสมั ผัส การเลือกใชค าํ เลยี นเสียงธรรมชาติ การเลือกใชคําไวพจนไดถูกตอ งตรงตามความหมาย การเรยี บเรยี งคํา คือ การจัดวางคําท่ีเลือกสรรแลว ใหม าเรยี บเรยี งกนั อยางตอ เนื่องตามจงั หวะ ตามโครงสรา งภาษาหรือตามฉนั ทลักษณ ซ่ึงมหี ลายวธิ ี เชน จัดลาํ ดับความคดิ หรอื ถอยคาํ จากส่ิงสาํ คญั จากนอ ยไปหามาก จนถงึ สิ่งสาํ คัญสงู สุด จดั ลําดับความคดิ หรือถอ ยคําจากสิ่งสําคญั นอ ยไปหามาก แตก ลับหักมมุ ความคิดผูอา น เม่อื ถึงจดุ สุด จดั ลําดับคําใหเปนคาํ ถามแตไมตอ งการคําตอบหรอื มีคําตอบอยใู นตวั คําถามแลว เรียงถอ ยคํา เพอ่ื ใหผ ูอานแปลความหมายไปในทางตรงขา มเพื่อเจตนาเยาะเยย ถากถาง เรียงคาํ วลี ประโยคท่มี คี วามสําคญั เทา ๆ กัน เคียงขนานกันไป การใชโ วหาร คือ การใชถ อ ยคําเพ่ือใหผอู า นเกิดจนิ ตภาพ เรยี กวา “ภาพพจน” ซ่ึงมีหลายวิธี ท่ีควรรจู กั ไดแ ก อุปมา คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งวาเหมือนกับสิ่งหนึ่งโดยมีคําเปรียบปรากฏอยู ดวยคาํ เปรียบเทยี บเหลาน้ไี ดแก เหมอื น ดุจ เลห  เฉก ดัง กล เพียง ราว ปูน อุปลักษณ คือ การเนนความหมายวา สิ่งหนึ่งเหมือนกับส่ิงหน่ึงมากจนเหมือนกับ เปนส่ิงเดยี วกนั โดยใชค าํ วา เปน กบั คอื เชน “แมเปน โสมสองหลา ” “สจุ รติ คอื เกราะบงั ศาสตรพ อง”

153 การพิจารณาวรรณคดีดานสังคม สังคม คือ ชนชาติและชุมชนที่อยูรวมกันภายใตการปกครองในกรอบวัฒนธรรมเดียวกัน วรรณคดีเปนเหมือนกระจกเงาท่ีสะทอนใหผูอานสามารถมองเห็นชีวิตความเปนอยู คานิยมและ จริยธรรมของคนในสังคมที่วรรณคดีไดสะทอนภาพไวทาํ ใหเขาใจชีวิต เห็นใจความทุกขยากของ เพ่อื นมนุษยดวยกนั ชัดเจนขึน้ ดังนั้นการพิจารณาวรรณคดีดานสังคมจะตองมีเนื้อหา ภูมิปญญาที่เก่ียวกับวัฒนธรรมหรือ จริยธรรมของสังคมใหมีสวนกระตุนจิตใจของผูอานใหเขามามีสวนชวยเหลือในการจรรโลงโลกหรือ พัฒนาสงั คมไทยรวมกนั โดยพิจารณาตามหวั ขอ ดังน้ี 1. การแสดงออกถึงภูมปิ ญ ญาและวัฒนธรรมของชาติ 2. สะทอ นภาพความเปนอยู ความเชือ่ คา นยิ มในสังคม 3. ไดค วามรู ความบันเทงิ เพลิดเพลนิ อารมณไปพรอ มกนั 4. เนือ้ เรอื่ งและสาระใหแงค ิดทง้ั คุณธรรมและจริยธรรมในดา นการจรรโลงสงั คม ยกระดับ จติ ใจเหน็ แบบอยางการกระทําของตัวละครท้งั ขอดีและขอ ควรแกไ ข จากการพิจารณาตามหัวขอขางตนน้ีแลว การพิจารณาคุณคาวรรณคดีดานสังคมใหพิจารณา โดยแบง ออกได 2 ลกั ษณะใหญ ๆ ดงั น้ี ดานนามธรรม ไดแ ก ความดี ความชัว่ คานิยม จรยิ ธรรมของคนในสังคม เปนตน ดานรูปธรรม ไดแก สภาพความเปน อยู วถิ ชี วี ติ การแตงกายและการกอสรางทางวัตถุ เปนตน กิจกรรม บทท่ี 6 วรรณคดีและวรรณกรรม 1. ใหผเู รียนตอบคําถามตอ ไปน้ี 1.1 บอกความหมายของการพินิจได .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... 1.2 บอกหลกั เกณฑใ นการพินิจวรรณคดีได .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... 2. ใหผูเรียนอานหนังสือวรรณคดีที่กําหนดใหศึกษาแลวพิจารณาวรรณคดีแตละเร่ือง ในดา นวรรณกรรมศลิ ป และดา นสงั คม แตละเรอื่ งใหส าระขอ คิดในการดาํ เนนิ ชีวิตอยางไรบา ง ไดแกเรอ่ื ง 1.1 สามกก 1.2 ราชาธริ าช

154 1.3 กลอนเสภาขนุ ชา งขุนแผน 1.4 กลอนบทละครเรื่องรามเกยี รต์ิ คณุ คาทไ่ี ดรับจากเร่อื ง.............................................. ดานวรรณศลิ ป 1. การสรรคาํ .................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... 2. การเลน ซํ้าคาํ .................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... 3. การหลากคาํ หรอื คาํ ไวพจน .................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... ดานสงั คม 1. วฒั นธรรมและประเพณี .................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................... 2. การแสดงสภาพชวี ติ ความเปนอยูและคานยิ มของบรรพบุรษุ .................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... 3. การเขา ใจธรรมชาตขิ องมนษุ ย .................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................... 4. เปน หลักฐานทางประวัตศิ าสตร .................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... 5. การสอดแทรกมุมมองของกวี .................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................

155 เร่อื งที่ 3 เพลงพ้นื บาน เพลงกลอมเด็ก ความหมายของเพลงพน้ื บาน เพลงพ้ืนบาน คือ บทเพลงที่เกิดจากคนในทองถ่ินตาง ๆ คิดรูปแบบการรอง การเลนข้ึน เปน บทเพลงท่มี ีทวงทาํ นอง ภาษาเรียบงา ยไมซบั ซอ น มุง ความสนุกสนานรนื่ เรงิ ใชเลนกนั ในโอกาสตาง ๆ เชน สงกรานต ตรุษจีน ลอยกระทง ไหวพระประจําป หรือแมกระท่ังในโอกาสท่ีไดมาชวยกันทํางาน รว มมอื รว มใจเพ่ือทํางานอยา งหนึง่ อยา งใด เชน เก่ยี วขาว นวดขาว เปนตน ประวัติความเปน มาของเพลงพนื้ บาน เพลงพื้นบานในประเทศไทยมีมาแตโ บราณไมปรากฏหลกั ฐานแนช ดั วา มีข้ึนในสมัยใด เปน สง่ิ ท่ี เกิดข้นึ เปนปกติวสิ ัยของคนในสงั คมจึงมีผูเรียกวา เพลงพ้ืนบาน เปนเพลงนอกศตวรรษ เปนเพลงนอก ทําเนียบบาง เพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร วรรณคดี และความรูทุกแขนงในประเทศไทยไมได อา งถงึ หลกั ฐานเกี่ยวกบั การเลนเพลงพืน้ บา นมีปรากฏในสมยั อยธุ ยา ซง่ึ ท่ีพบคอื เพลงเรือ เพลงเทพทอง สวนในสมัยรัตนโกสินทร มีช่ือเพลงพ้ืนบานปรากฏอยูในจารึกวัดโพธิ์และในวรรณคดีตาง ๆ สมัยตน รัตนโกสินทรท่ีปรากฏชื่อคือ เพลงปรบไก เพลงเรือ เพลงสักวา แอวลาว ไกปา เกี่ยวขาว ตั้งแตสมัย รชั กาลท่ี 5 เปน ตนมา ปรากฏหลักฐานแนชัดวามีการเลนเพลงเรือสักวา เพลงพ้ืนบานของไทยเราน้ัน มมี าแตชา นานแลว ถายทอดกนั โดยทางมุขปาฐะ จาํ ตอ ๆ กนั มาหลายช่วั อายคุ น เช่อื กันวา มีกําเนิดกอน ศลิ าจารกึ พอขุนรามคาํ แหงมหาราชเสียอีก ตอมาคอยมีชื่อเสียง มีแบบสัมผัสคลองจองทวงทํานองไป ตามภาษาถ่ินน้ัน ๆ ในการขับรองเพื่อความบันเทิงตาง ๆ จะมีจังหวะดนตรีทองถิ่นเขามาและมี การรอ งรําทาํ เพลงไปดวย จึงเกิดเปนระบําชาวบาน เพลงพ้ืนบานใชรองรําในงานบันเทิงตาง ๆ มีงาน ลงแขก เกีย่ วขา ว ตรษุ สงกรานต ตอ มาในสมัยกรงุ รัตนโกสินทร เปนสมยั ทม่ี หี ลกั ฐานเกยี่ วกบั เพลงพื้นบานชนิดตาง ๆ มากท่ีสุด ต้งั แตสมัยรชั กาลท่ี 1 ถึงรชั กาลที่ 5 เปน ยุคทองของเพลงพื้นบานท่ีเปนเพลงปฏิพากย รองโตตอบกัน เชน เพลงฉอย เพลงอีแซว เพลงสงเครื่อง หรือเพลงทรงเคร่ือง หลังรัชกาลที่ 5 อิทธิพลวัฒนธรรม ตะวันตกทําใหเกิดเพลงไทยสากลข้ึน เพลงพ้ืนบานจึงเร่ิมหมดความนิยมลงทีละนอย ๆ ปจจุบัน เพลงพื้นบานไดรับการฟนฟูบางจากหนวยงานท่ีเห็นคุณคาแตก็เปนในรูปของการอนุรักษไวเทาน้ัน ปญ หาเนอ่ื งมาจากขาดผสู นใจสืบทอดเพลงพืน้ บานจึงเส่อื มสูญไปพรอม ๆ กับผูเลน ลกั ษณะของเพลงพ้นื บา น โดยท่วั ไปแลว เพลงพื้นบา นจะมลี กั ษณะเดน ๆ เปน ทส่ี ังเกตไดค อื 1. สํานวนภาษาใชคําธรรมดาพื้น ๆ ไมมีบาลีสันสกฤตปน ฟงเขาใจงาย แตถอยคําคมคาย อยูในตัวทําใหเกดิ ความสนุกสนาน บางครั้งแฝงไวดวยการใชสัญลักษณแทนคําหยาบตาง ๆ เปนตนวา

156 ยาเสน ใบพลู ท่นี า หัวหมู อุปกรณไถนา เปนตน และเรียบงายทางดานโอกาสและสถานท่ีเลนไมตอง ยกพ้ืนเวที 2. มคี วามสนุกสนานเพลิดเพลิน มคี วามคมคายในการใชภ าษา กระทบกระเทียบเปรียบเปรย ชวนใหค ดิ จากประสบการณท พี่ บเหน็ อยูใ นวิถีชวี ติ ทองถิ่น 3. มีภาษาถ่นิ ปะปนอยูทําใหสะทอนใหเห็นถึงวิถีการดําเนินชีวิต ประเพณีความเช่ือ ตลอดจน คา นยิ มตาง ๆ ทแี่ ฝงอยู 4. มีลักษณะภาษาตองคลองจองกัน ท่ีเปนกลอนหัวเดียว คือ กลอนที่ลงทายดวยสระชนิด เดียวกัน เชน กลอนใส ลงเสียงขางทายดวยสระไอตลอด กลอนลี ลงเสียงขางทายดวยสระอีตลอด เปน ตน ตวั อยา งเชน ในเพลงไซเอย ไซ ลามะลลิ า ซงึ่ งา ยตอการเลนมุงใหทุกคนมีสวนรองไดสนุกสนาน รวมกัน 5. มกั จะมีการรอ งซา้ํ บางทซี ้าํ ที่ตนเพลง หรอื บางทีซํา้ ทท่ี อนทา ยของเพลง เชน เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลยั เพลงฉอ ย เปนตน ผลดีของการรองซํา้ ๆ กัน กค็ อื เพิ่มความสนกุ สนานใหผูอยูรอบขาง ไดมีสวนรวมในเพลง ทําใหบรรยากาศครึกคร้ืน และเนื่องจากเปนการปะทะคารมกันสด ๆ ซ่ึงชวง การรองซํ้านี้จะชวยใหไดมีโอกาสคิดคําและพอเพลง แมเพลงจะไดพักเหนื่อย และสามารถใช ปฏิภาณพลิกแพลง ยว่ั ลอกนั อีกดวย นอกจากน้ีเพลงพ้ืนบานยังมีลักษณะพิเศษอีก คือ เปนวรรณกรรมมุขปาฐะที่เลาสืบตอกันมา ปากตอ ปากไมส ามารถจะสบื คนหาตวั ผแู ตง ทีแ่ นน อนไดและมลี กั ษณะของความเปน พ้ืนบานพื้นเมือง ประเภทของเพลงพนื้ บาน เพลงพ้ืนบานโดยท่ัวไปน้ัน มีอยูดวยกันหลายชนิด พอจะแยกประเภทโดยแบงตามผูเลน ได 2 ประเภทใหญ ๆ คือ 1. เพลงเด็ก จาํ แนกยอ ย ๆ ได 4 ประเภท ดังน้ี 1.1 เพลงรองเลน เชน โยกเยกเอย ฝนตกแดดออก นกกระจอกเขารงั เปน ตน 1.2 เพลงหยอกลอ เชน ผมจกุ ผมมา ผมเปย ผมแกละ เปนตน 1.3 เพลงขู ปลอบ เชน แมใ ครมา น้ําตาใครไหล จนั ทรเ จาขา แตช าแต เขาแหย ายมา เปนตน 1.4 เพลงประกอบการเลน เชน จ้ําจม้ี ะเขอื เปราะ รี รี ขาวสาร มอญซอ นผา เปนตน 2. เพลงผใู หญ แบง 6 ประเภท คอื 2.1 เพลงกลอมเดก็ เชน กาเหวาเอย พอ เน้ือเย็น เปน ตน 2.2 เพลงปฏพิ ากย เชน เพลงฉอย เพลงรําวง ซ่ึงเพลงปฏิพากยน้ีตอมาวิวัฒนาการ มาเปน เพลงลกู ทุงนนั่ เอง 2.3 เพลงประกอบการเลน เชน ราํ โทน ตอ มาคือ รําวง ลูกชวง เขาผี มอญซอนผา เปนตน 2.4 เพลงประกอบพิธี เชน ทาํ ขวญั นาค ทําขวัญจุก แหน างแมว เปน ตน

157 2.5 เพลงเกย่ี วกบั อาชีพ เชน เตนกําราํ เคยี ว 2.6 เพลงแขง ขัน สวนใหญคอื ปฏิพากย เพลงเด็ก การเลน เปนการแสดงออกอยางหน่ึงในกลุมชน จะแตกตางกันไปตามวัฒนธรรม และเมอ่ื มีการเลนเกิดข้นึ กม็ กั มีบทเพลงประกอบการเลนดว ย เพลงทีร่ องงา ย ๆ ส้ัน ๆ สนุกสนาน เชน รีรี ขา วสาร มอญซอนผา จาํ้ จ้ีมะเขือเปราะ แมงมุมขยมุ หลงั คา เพลงผูใหญ เพลงผูใหญมีหลายประเภท นอกจากจะใหความสนุกสนานบันเทิงใจแลว ยงั สะทอ นใหเหน็ ถึงความสามคั ครี วมใจกันทาํ สงิ่ ตา ง ๆ ของสังคมไทย สภาพวถิ ชี ีวิตวัฒนธรรมประเพณี ตาง ๆ ไวอยางนาศึกษาอกี ดวย ดานเพลงกลอ มเดก็ จะเห็นความรักความผูกผันในครอบครัว ธรรมชาติ ส่งิ แวดลอ ม ตํานาน นิทาน ประวัติศาสตร ตลอดจนจินตนาการความรูสึกนึกคิดของมนุษย เนื่องจาก ความหลากหลายในเพลงกลอมเดก็ จงึ เปน เพลงทีม่ ีคณุ คา แกก ารรักษาไวเปนอยางยงิ่ คุณคา ของเพลงพื้นบาน เพลงพ้ืนบานมีคุณคาอยางมากมายที่สําคัญคือ ใหความบันเทิงสนุกสนาน มีนํ้าใจ สามัคคี ในการทํางานชว ยเหลือกนั สะทอนวัฒนธรรมประเพณี วถิ ีชีวติ การแตงกาย ฯลฯ และเปน การปลกู ฝง เดก็ ใหครบองค 4 คอื 1. สง เสรมิ ใหเด็กมกี าํ ลงั กายแข็งแรง 2. สงเสริมใหเด็กมีสตปิ ญญาเฉลยี วฉลาด มีไหวพรบิ ปฏภิ าณดใี นการแกปญหา 3. สง เสริมใหเดก็ มจี ิตใจงาม มีคุณธรรมประจําใจ 4. รจู ักปฏิบตั ติ นตอ สว นรวมในสงั คม การปลูกฝงใหประชาชนพลเมืองของประเทศ เปนผูถึงพรอมดวยคุณสมบัติท้ัง 4 ประการนี้ ตองปูพื้นรากฐานกันตั้งแตเยาววัย และคอยเปนคอยไปทีละนอย จึงจะซึมซาบจนกลายเปนนิสัย สมัยน้ีวิทยาศาสตรมีมากเพียงไร วัตถุนิยมก็ตามมา วัตถุนิยมเจริญขึ้น ความเจริญทางจิตใจก็นอยลง เปน ผลใหค วามมน่ั คงของประเทศไดรับความกระทบกระเทือนไปดวยอยางแนนอน ดังน้ัน เราจึงควร ชว ยกันปลูกฝง อนุรกั ษสบื สานใหดํารงอยูอ ยา งย่ังยนื สบื สานไป เพลงพ้ืนบานเกิดจากชาวบา นเปน ผูส รา งบทเพลงและสืบทอดกันมาแบบปากตอปาก โดยการ จดจาํ บทเพลงเปนคํารองงาย ๆ ที่เปนเร่ืองราวใกลตัวในทองถิ่นน้ัน ๆ จึงทําใหเพลงพ้ืนบานของไทย ในภาคตาง ๆ มคี วามแตกตา งกนั ออกไป ดังนี้ เพลงพื้นบานภาคกลาง มีอิทธิพลมาจากสภาพแวดลอมทางธรรมชาติ การประกอบอาชีพ วถิ กี ารดําเนินชวี ติ พธิ กี รรมและเทศกาลตา ง ๆ โดยสามารถแยกประเภทได ดงั น้ี - เพลงท่ีรอ งเลน ในฤดนู า้ํ มาก ไดแก เพลงเรือ เพลงรอยพรรษา เพลงรําภาขา วสาร เพลงหนาใย เพลงคร่ึงทอน เปน ตน - เพลงท่ีรองเลนในฤดูเกี่ยวขาวและนวดขาว ไดแก เพลงเก่ียวขาว เพลงเตนกํารําเคียว เพลงซึง่ ใชรองเลนระหวางเกี่ยวขาว สําหรับเพลงสงฟาง เพลงพานฟาง เพลงโอก เพลงสงคอลําพวน เพลงเตะขาว และเพลงชักกระดาน ใชร องเลนระหวา งนวดขาว

158 เพลงทใี่ ชรอ งเลน ในชวงตรุษสงกรานต ไดแก เพลงสงกรานต เพลงหยอย เพลงระบําบานไร เพลงชาเจาหงส เพลงพวงมาลยั เพลงสันนิษฐาน เพลงคลองชา ง และเพลงใจหวัง เพลงที่รองเลน ไดทกุ โอกาส เพอ่ื ความเพลดิ เพลินสนุกสนาน เกิดความสามัคคีในหมูคณะ มกั จะ รอ งเลนกนั ในโอกาสทํางานรวมกนั หรือมงี านบุญและงานรื่นเริงตาง ๆ โดยเปนเพลงในลักษณะพอเพลง แมเพลงอาชีพ ท่ีใชโตตอบกัน ไดแก เพลงเทพทอง เพลงปรบไก เพลงอีแวว เพลงฉอย เพลงลําตัด เพลงทรงเคร่อื ง เปนตน เพลงพ้ืนบานภาคเหนือ สามารถใชรองเลนไดทุกโอกาสโดยไมจํากัดเทศกาลหรือฤดูใด ๆ ซึง่ ใชร อ งเพลงเพอ่ื ผอ นคลายอารมณและการพักผอนหยอ นใจ โดยลกั ษณะการขับรองและทวงทํานอง จะออนโยน ฟงดเู นบิ นาบนมุ นวล สอดคลอ งกบั เครื่องดนตรีหลกั ไดแ ก ป ซงึ สะลอ เปน ตน นอกจากน้ี ยงั สามารถจดั ประเภทของเพลงพื้นบานของภาคเหนอื ได 3 ประเภท คือ 1. เพลงซอ ใชรอ งโตตอบกนั โดยมีการบรรเลงป สะลอ และซึงคลอไปดว ย 2. เพลงจอย เปนการนําบทประพันธของภาคเหนือมาขับรองเปนทํานองสั้น ๆ โดยเนื้อหา ของคาํ รอ งจะเปน การระบายความในใจ แสดงอารมณค วามรัก ความเงียบเหงา มีนักรองเพียงคนเดียว และจะใชดนตรีบรรเลงในโอกาสตา ง ๆ หรือจอ ยอาํ ลา 3. เพลงเดก็ มลี ักษณะคลา ยกับเพลงเดก็ ของภาคอ่ืน ๆ คือ เพลงกลอ มเดก็ และเพลงที่เดก็ ใช รอ งเลน กนั เพลงอ่อื ลกู และเพลงสกิ จุงจา เพลงพน้ื บา นภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนือ เพลงพื้นบานของภาคอีสาน ใชรองเพ่ือความสนุกสนาน ในงานรนื่ เรงิ ตา งๆ สามารถแตงไดต ามวฒั นธรรม 3 กลุม ใหญ ๆ คอื กลุม วฒั นธรรมหมอลํา กลมุ วฒั นธรรม- เพลงโคราช และกลมุ วฒั นธรรมเจรยี งกันตรึม ดงั น้ี 1. เพลงพื้นบานกลุมวัฒนธรรมหมอลาํ ประกอบดวยหมอลาํ และเซ้งิ โดยหมอลําแบงการลํา นําและการรองออกเปน 5 ประเภท คือ ลําเรื่อง ลํากลอน ลําหมู ลําเพลิน และลําผีฟา สวนเซ้ิงหรือ คํารองจะใชคํารองรื่นเริง เชน การแหบ้ังไฟ การแหนางแมว การแหนางดัง โดยเน้ือเร่ืองในการรอง ซ่งึ อาจเปนการขอบรจิ าคเงนิ ในงานบุญ การเซง้ิ อวยชัยใหพร หรือเซิ้งเลานิทานชาดกตามโอกาส 2. เพลงพื้นบานกลุมวัฒนธรรมเพลงโคราช เปนเพลงพ้ืนบานท่ีเลนกันมานานในจังหวัด นครราชสีมา หรือโคราช ซ่ึงเนื้อเพลงมีลักษณะเดน มีการเลนสัมผัสอักษรและสัมผัสสระทําใหเสียง นา ฟง ย่งิ ขึ้นและยงั มเี สียง ไช ชะ ชะ ชิ ชาย พรอ มมีท้ังการรําประกอบแบบเหยาะตัวตามจังหวะขึ้นลง ซง่ึ เพลงโคราชน้ี นยิ มเลนทกุ โอกาสตามความเหมาะสม 3. เพลงพื้นบานกลมุ วฒั นธรรมเจรยี งกนั ตรมึ ที่นยิ มรอ งเลนกนั ในแถบจังหวดั ทม่ี เี ขตตดิ ตอ กับ เขมร ไดแก จังหวัดบุรีรัมย สุรินทร และศรีสะเกษ โดยคําวากันตรึม น้ัน หมายถึง กลองกันตรึม ซึ่งเปนเครื่องดนตรีหลักเวลาตีจะใชจังหวะเสียงดัง โจะกันตรึม ๆ และเจรียง หมายถึง การขับหรือ การรองเพลงมี 2 แบบ คือ เจรียงใชประกอบการบรรเลงดนตรีกันตรึม ซึ่งเมื่อขับรองไปทอนหนึ่ง ดนตรีกันตรึมก็จะรับและบรรเลงยาว อีกแบบคือ เจรียงดนตรี ใชรองในงานโดยจะขับรองไปเร่ือย ๆ

159 และมดี นตรบี รรเลงคลอไปเบา ๆ ซ่ึงในการรอ งเพลงเจรียงนน้ั สามารถรองเลน ไดทุกโอกาสโดยไมจํากัด ฤดูหรือเทศกาล เพลงพนื้ บานภาคใต มอี ยปู ระมาณ 8 ชนิดมที ั้งการรองเด่ียว และการรองเปน หมู โดยสามารถ แบงเปน 2 กลุมใหญ ๆ คือ 1. เพลงทร่ี องเฉพาะโอกาสหรือฤดู ไดแก เพลงเรอื เพลงบอก เพลงนาคาํ ตัด เพลงกลอมนาค หรอื เพลงแหนาค เปน ตน 2. เพลงที่รองไมจํากัดโอกาส ไดแก เพลงตันหยง ซ่ึงนิยมรองในงานบวช งานขึ้นปใหม และงานมงคลตาง ๆ เพลงเด็กท่ีรองกลอมใหเด็กหลับ และเพลงฮูลูหรือลิเกฮูลูท่ีเปนการรองคลาย ๆ ลําตัด โดยมีรํามะนาเปนเคร่ืองดนตรีประกอบจังหวะกับบทขับรองภาษาทองถิ่นคือภาษามลายู เปน กลอนโตตอบกนั กิจกรรมเพลงพน้ื บา น 1. ผเู รยี นคดิ วา คําวา “เพลงพื้นบาน” ความหมายวา อยา งไร .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... 2. ผูเรียนคิดวา “เพลงพ้ืนบาน” มีอะไรบาง และในทองถิ่นของผูเรียนมีการละเลน พ้นื บา นอะไรบาง .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................

160 3. ผเู รียนคิดวา “ เพลงพนื้ บาน” ในชุมชนหรือทอ งถนิ่ แตล ะภาคมีความเหมอื นกนั หรือแตกตา งอยา งไรบาง ยกตัวอยา งประกอบ .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... 4. คาํ ชี้แจง ใหผูเรียนตอบคําถามตอ ไปนใ้ี หถ ูกตอง 1. ความหมายของเพลงพื้นบาน ขอ ใดกลา วถูกตอ งท่สี ุด ก. เพลงที่ชาวบานรอง ข. เพลงท่ีชาวบา นประพนั ธ ค. เพลงทช่ี าวบานรว มกนั รืน่ เริง ง. เพลงทช่ี าวบา นรวมกนั แสดง 2. ขอ ใดเปน คณุ สมบตั ิของเพลงพืน้ บานเดนชดั ทส่ี ุด ก. แสดงเอกลกั ษณข องคนในหมบู า น ข. ทุกคนรอ งได ค. มีสมั ผสั คลอ งจอง ง. ใหค วามบันเทงิ 3. โดยท่วั ไปแลว เพลงพ้นื บานจะมลี ักษณะเดน คอื ก. มีความสนุกสนาน ใชภ าษาคมคาย มีภาษาบาลสี นั สกฤต ข. มีความเรยี บงา ยทง้ั ดานแตง กายและการเลน ค. เปน วรรณกรรมอมุขปาฐะ มีความเปนพื้นบานพ้ืนเมือง ง. มีภาษาถนิ่ ปะปนอยู จังหวะเราใจ ใชศัพทส งู ชวนฟง 4. เพลงพื้นบา นท่ปี ระกอบการทํางาน คอื เพลงอะไร ก. เพลงเตนกําราํ เคียว ข. หมอลํา ค. เพลงเรอื ง. เพลงฉอย

161 5. เพลงแหน างแมวจดั เปน เพลงชนดิ ใด ก. เพลงปฏิพากย ข. เพลงประกอบการเลน ค. เพลงประกอบพิธี ง. เพลงเขาผเี ชิญผี 6. เพลงทใ่ี ชรอ งเกี้ยวพาราสี หลงั จากทําบญุ ตักบาตรแลวมาน่ังรอบโบสถ เรยี กวา เพลงอะไร ก. เพลงพวงมาลัย ข. เพลงลําตัด ค. เพลงรําวง ง. เพลงพิษฐาน 7. จะน่ังแตหอทอแตห ูก น่ังเล้ยี งแตกนั แตไร จากบทเพลงน้ีทําใหเ ราไดร ับความรู เก่ยี วกับสิง่ ใดบาง ก. การทํางาน การเลี้ยงดูบุตร ข. การเล้ยี งลูกในสมัยโบราณ การใชเวลาวา งใหเ ปน ประโยชน ค. การทอผา การแตง กาย ง. การปลกู เรือน การเลย้ี งดบู ุตร 8. “วดั เอยวัดโบสถ ปลกู ขา วโพดสาลี เจาลกู เขยตกยาก แมย ายก็พรากลูกสาวหนี ตนขาวโพด สาลีต้งั แตน้จี ะโรยรา” เพลงกลอ มเด็กนม้ี จี ดุ มุงหมายเพื่ออะไร ก. สอนใหรจู กั มสี ัมมาอาชพี ข. สอนใหมคี วามประพฤติดี ค. สอนเก่ียวกับความรัก การทํามาหากิน ง. สอนใหเปนผมู ีคุณธรรม 9. เพลงกลอมเด็กมจี ดุ มงุ หมายเพ่ืออะไร ก. อบรมส่งั สอน ข. แสดงความในใจของแมท ีม่ ตี อลูก ค. ตองการใหเด็กนอนหลับ ง. ถูกทุกขอ 10. ขอ ใดเปนประโยชนและคุณคาของเพลงพืน้ บา น ก. ทราบเกรด็ ยอยความรูในดานตาง ๆ ข. ไดค วามรูเกี่ยวกบั วฒั นธรรมในยุคสมัยน้ัน ค. ทาํ ใหทราบลกั ษณะของวรรณกรรมลายลักษณทองถ่ิน ง. ขอ ก. และ ข. ถูก

162 เพลงกลอมเดก็ เพลงกลอมเดก็ คือ เพลงทรี่ อ งเพอ่ื กลอ มเดก็ ใหเ ด็กนอย ๆ เกิดความเพลิดเพลินและอบอุนใจ จะไดหลับงายและหลับสบาย เปน เพลงท่ีมเี นอื้ ความส้ัน ๆ รอ งงา ย ชาวบานในอดีตรองกันได เนื่องจาก ไดยินไดฟงมาตั้งแตเกิด คือ ไดฟงพอแมรองกลอมตนเอง นอง หลาน ฯลฯ เม่ือมีลูกก็มักรองกลอมลูก จึงเปนเพลงท่ีรองกันไดเปนสวนมากเราจึงพบวาเพลงกลอมเด็กมีอยูทุกภูมิภาคของไทยและเปน วฒั นธรรมทเ่ี ก่ียวขอ งกับการเลยี้ งดขู องเด็กในสังคมไทย ซ่งึ หากศกึ ษาจะพบวา 1. เพลงกลอมเด็กมีหนาที่กลอมใหเด็กหลับโดยตรง ดังน้ัน จึงเปนเพลงท่ีมีทํานองฟงสบาย แสดงความรักใครหวงใยของผูใ หญท ีม่ ตี อเด็ก 2. เพลงกลอ มเด็กมีหนาทแี่ อบแฝงหลายประการ การสอนภาษา เพ่ือใหเด็กออกเสียงตาง ๆ ไดโดยการหัดเลียนเสียง และออกเสียงตาง ๆ ไดเ รว็ ขึน้ ถายทอดความรตู าง ๆ ไดแ ก เรือ่ งราวเกี่ยวกับธรรมชาติ การดําเนินชีวิต การทํามาหากิน ของสังคมตนเอง การสรางคา นยิ มตา ง ๆ รวมท้ังการระบายอารมณและความในใจของผูรอ ง นอกจากน้ี พบวา สว นมากแลว เพลงกลอ มเด็กมักมีใจความแสดงถงึ ความรักใครหวงใยลกู ซ่ึงความรกั ความหวงใยนี้ แสดงออกมาในรูปของการทะนุถนอมกลอมเกล้ยี งเก็บเดก็ ไวใ กลตวั บทเพลงกลอมเด็กจึงเปนบทเพลง ทแี่ สดงอารมณค วามรกั ความผกู พันระหวางแม ลกู ซง่ึ แตละบทมกั แสดงความรกั ความอาทร นาทะนุถนอม ทแ่ี มมีตอ ลกู อยา งซาบซ้ึง เพลงกลอมเด็ก เปนวัฒนธรรมทองถิ่นอยางหน่ึงที่สะทอนใหเห็นความเชื่อ คานิยมของ คนในทองถิ่นตาง ๆ คนทุกชาติทุกภาษาในโลกมีบทเพลงกลอมเด็กดวยกันทั้งนั้น สันนิษฐานวา เพลงกลอ มเด็กมวี ิวัฒนาการจากการเลา นทิ าน ใหเดก็ ฟง กอ นนอน ดังนน้ั เพลงกลอมเด็กบางเพลงจึงมี ลักษณะเนื้อรองท่ีเปนเร่ืองเปนราว เชน จันทโครพ ไชยเชษฐ พระรถเสน เปนตน การที่ตองมี เพลงกลอมเดก็ ก็เพื่อใหเ ด็กเกิดความเพลิดเพลนิ หลบั งาย เกิดความอบอุน ใจ ลกั ษณะของเพลงกลอมเด็ก ลกั ษณะกลอนของเพลงกลอ มเดก็ จะเปนกลอนชาวบา น ไมมีแบบแผนแนน อน เพยี งแตม ีสัมผัส คลองจองกันบาง ถอยคําที่ใชในบางคร้ังอาจไมมีความหมาย เนื้อเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติส่ิงแวดลอม เรื่องราวตาง ๆ ท่ีเก่ียวกับชีวิต ความเปนอยู สะทอนใหเห็นความรักความหวงใยของแมที่มีตอลูก สงั่ สอน เสยี ดสสี ังคม เปน ตน สามารถแยกเปน ขอ ๆ ไดด งั น้ี เปน บทรอ ยกรองสน้ั ๆ มคี าํ คลองจองตอ เนือ่ งกัน มฉี นั ทลกั ษณไ มแนน อน ใชค าํ งา ย ๆ สนั้ หรอื ยาวกไ็ ด มีจังหวะในการรองและทํานองท่เี รยี บงาย สนกุ สนานจดจําไดง าย

163 จดุ มงุ หมายของเพลงกลอมเด็ก 1. ชักชวนใหเด็กนอนหลับ 2. เน้ือความแสดงถึงความรกั ความหวงใย ความหวงแหนของแมทม่ี ีตอลกู ประเภทของเนือ้ เพลงกลอมเด็ก แสดงความรักความหวงใย กลา วถงึ สงิ่ แวดลอม เลาเปนนทิ านและวรรณคดี เปนการเลาประสบการณ ลอ เลียนและเสียดสสี ังคม ความรเู กี่ยวกับการดูแลเดก็ เปน คตคิ ําสอน ตัวอยา งเพลงกลอมเด็ก นกเขาขัน นกเขาเอย ขนั แตเชาไปจนเย็น ขนั ไปใหดังแมจ ะฟง เสียงเลน เนือ้ เย็นเจาคนเดยี วเอย กาเหวา กาเหวา เอย ไขใ หแมก าฟก แมก าหลงรัก คิดวา ลูกในอทุ ร คาบขา วมาเผ่ือ คาบเหยอ่ื มาปอน ปกหางเจายงั ออน สอนรอ นสอนบนิ แมกาพาไปกิน ทปี่ ากนํ้าแมคงคา ตีนเหยียบสาหรา ย ปากกไ็ ซห าปลา กินกงุ กินกัง้ กนิ หอยกระพังแมงดา กินแลวบนิ มา จับตวั หวา โพธ์ทิ อง นายพรานเหน็ เขา เย่ียมเยีย่ มมองมอง ยกปนขน้ึ สอ ง หมายจองแมกาดํา ตวั หนง่ึ วา จะตม ตัวหน่ึงวาจะยาํ แมกาตาดาํ แสนระกาํ ใจเอย วัดโบสถ วดั เอย วดั โบสถ ปลกู ขาวโพดสาลี ลูกเขยตกยาก แมยายกพ็ รากลกู สาวหนี ตนขาวโพดสาลี ต้ังแตนจ้ี ะโรยรา นอนไปเถดิ นอนไปเถิดแมจ ะกลอ ม นวลละมอมแมจะไกว ทองคาํ แมอยา ร่ําไห สายสุดใจเจา แมเอย เจา เนอื้ ละมุน เจาเน้อื ละมนุ เอย เจา เนื้ออนุ เหมอื นสาํ ลี แมม ใิ หผ ูใดตอง เน้ือเจาจะหมองศรี ทองดเี จาคนเดียวเอย

164 เจาเน้ือออ น เจา เนอื้ ออ นเอย ออ นแมจะกนิ นม แมจ ะอุม เจา ออกชม กนิ นมแลว นอนเปลเอย เพลงกลอ มเดก็ ในแตละภาค ในประเทศไทยเราน้ันมเี พลงกลอ มเดก็ อยูท วั่ ทกุ ภาค เน้ือรอ งและทํานองจะตา งกันไป มชี อ่ื เรียก หลายอยา ง เชน ภาคเหนือเรยี ก “เพลงนอนสาหลา” “นอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกลอมเด็ก” “เพลงกลอมลูก” สวนภาคใตเรียก “เพลงชานอง” เพลงนองนอน” และ “เพลงรองเรือ” โดยเพลง กลอมเด็กเปนคติชาวบานประเภทใชภาษาเปนส่ือที่ถายทอดจากปากตอปากแตโบราณ เรียกวา “มขุ ปาฐะ” มลี กั ษณะเปนวัฒนธรรมพน้ื บา นทีม่ ีบทบาทและหนา ทีแ่ สดงเอกลกั ษณข องแตล ะชุมชน เพลงกลอมเด็กภาคกลาง เพลงกลอมเด็กภาคกลางเปนที่รูจักแพรหลายและมีการบันทึกไวเปนหลักฐานมากกวา เพลงกลอ มเดก็ ภาคอ่ืน ซ่งึ จะสะดวกแกก ารศึกษาคนควา การฟน ฟูและการอนุรกั ษ โดยไมมีช่ือเฉพาะ สาํ หรับเรียกเพลงกลอมเด็กภาคกลาง เนื่องจากข้ึนตนบทรองดวยคําหลากหลายชนิดตามแตเนื้อหา ของเพลง ไดมีการศึกษาแบง ประเภทเนื้อหาของเพลงกลอมเด็กภาคกลางไวค ลา ยกัน คอื 1. ประเภทสะทอนใหเห็นความรักความผูกพันระหวางแมกับลูก ดังจะเห็นไดจากถอยคํา ที่ใหเ รยี กลกู วา เจา เนอ้ื ละเอยี ด เจา เนอ้ื อนุ เจา เน้ือเย็น สดุ ท่รี กั สดุ สายใจ เปน ตน 2. ประเภทสะทอนใหเห็นความเปนอยูของไทยภาคกลางในดานตาง ๆ เชน ความเจริญ ทางวัตถุประเพณี วัฒนธรรมตาง ๆ ความศรัทธา ความเช่ือ คุณธรรมประจําใจ อารมณขันและ การทาํ มาหากินของประชาชน 3. ประเภทใหความรูดานตาง ๆ เชน ความรูทางภาษา ธรรมชาติวิทยา วรรณคดี นิทาน ภูมิศาสตร ประวตั ิศาสตร แบบแผนการปกครองและครอบครวั ลักษณะทํานองและลีลาของเพลงกลอมเด็กภาคกลาง จะเปนการขับกลอมอยางชา ๆ เชนเดียวกับภาคอ่ืน ๆ กลุมเสียงก็จะซ้ํา ๆ เชนกัน แตจะเนนการใชเสียงทุมเย็น และยึดคําแตละคํา ใหเชื่อมกลืนกันไปอยา งไพเราะ ออนหวาน ไมใหม เี สียงสะดดุ ทัง้ นี้ เพือ่ มุง ใหเดก็ ฟง จนหลับสนิทในทีส่ ดุ ตัวอยา งเพลงกลอมเด็กภาคกลาง แมจะเหใหนอนวัน โอละเหเอย นอนวนั เถดิ แมค ุณ ตนื่ ข้นึ มาจะอาบนาํ้ ทาํ ขวญั แมมิใหเ จาไปเลน ทท่ี า พอเน้ือเยน็ เอย มันจะคาบเจา เขา ถาํ้ จระเขหรา เจา ทองคาํ พอ คุณ

165 เพลงกลอ มเดก็ ภาคเหนือ สําหรับภาคเหนือมีเพลงกลอมลูกสืบทอดเปนลักษณะแบบแผนเฉพาะของตนเองมาชานาน อาจารยส งิ ฆะ วรรณไสย แหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม เรียกฉันทลักษณของเพลงกลอมเด็กภาคเหนือวา “คําร่ํา” ซึง่ จดั เปนลํานาํ ชนดิ หนงึ่ หมายถึง การร่าํ พรรณนามเี สียงไพเราะสงู ตา่ํ ตามเสยี งวรรณยุกตของ สําเนียงภาคเหนอื นยิ มใชแตง ในการร่าํ บอกไฟข้ึน รา่ํ สรา งวหิ าร รา่ํ สรางเจดยี  ร่าํ สรา งถนนขึ้นดอยสุเทพ และแตงเปนคํากลอมเดก็ คํากลอมเด็กน้ีพอแม ปูยา ตายาย ในภาคเหนือสมัยกอนมักจะใชขับกลอมสอนลูกหลาน ขณะอุมเด็กน่ังชิงชาแกวงไกวชา ๆ จนเด็กงวงนอนจึงอุมไปวางบนท่ีนอนหรือในเปลแลวเหกลอมตอ จนเดก็ หลับสนิท คํากลอ มเด็กนี้จึงเรยี กวา “สิกจุงจาโหน” ตามคาํ ทใี่ ชขน้ึ ตนเพลง ลักษณะเดนของเพลงกลอมเด็กภาคเหนือ นอกจากจะข้ึนตนดวยคําวา สิกจุงจาโหนแลว ยังมักจะข้ึนตนดวยคําวา “อ่ือจา” เปนสวนใหญ จึงเรียกเพลงกลอมเด็กนี้วา เพลงอ่ือลูก ทํานอง และลลี าอ่ือลกู จะเปนไปชา ๆ ดวยนา้ํ เสยี งทมุ เยน็ ตามถอยคาํ ที่สรรมา เพ่ือส่ังสอนพรรณนาถึงความรัก ความหว งใยลูกนอ ย จนถงึ คาํ ปลอบ คาํ ขู ขณะยังไมย อมหลับถอยคาํ ตาง ๆ ในเพลงกลอ มเด็กภาคเหนือ จะสะทอนใหเห็นสภาพความเปนอยู สิ่งแวดลอมและวัฒนธรรมตาง ๆ ของคนในภาคเหนือในอดีต จนปจจุบันไดเปนอยางดี นับวาเปนประโยชนทางออมท่ีไดรับนอกเหนือจากความอบอุนใจของลูก ท่ีจะเปน ประโยชนโ ดยตรงของเพลงกลอมเดก็ ตัวอยางเพลงกลอ มเด็กภาคเหนอื ออื่ อ่อื อือ จา ปอนายแดง สา แมน ายไปนานอกบา น เก็บบา สานใสโ ถง เกบ็ ลกู กง ใสว า เกบ็ บา หา ใสป ก หนวยหนึง่ เก็บไวก ินเมือ่ แลง หนว ยหน่ึงเอาไวข ายแลกขาว หนว ยหน่ึงเอาไวเปนเปอนเจา ออ่ื อือ จา เพลงกลอมเดก็ ภาคอสี าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน เปนดินแดนที่กวางขวางและมีประชากรมากท่ีสุด ในบรรดา 4 ภาคของไทย เพลงกลอมลูกจึงมีหลายสําเนียงถาเปนอีสานตอนเหนือจะมีสําเนียงคลายลาว ถา เปน อสี านตอนใตจ ะมสี าํ เนียงคลา ยเขมร แตเ พลงกลอ มลูกท่แี พรห ลายและยอมรับวาเปนเอกลักษณ ของอสี านจะเปน สาํ เนียงของอสี านตอนเหนือ และมกั จะข้ึนตนดว ยคาํ วา “นอนสาหลา ” หรอื “นอนสาเดอ” หรือ “นอนสาแมเยอ” มีทํานองลีลาเรียบงายชา ๆ และมีสุมเสียงซ้ํา ๆ กันท้ังเพลงเชนเดียวกับ ภาคเหนือ การใชถ อ ยคาํ มเี สยี งสมั ผสั คลายกลอนสุภาพทั่วไปและมีคําพื้นบานท่ีมีความหมายในเชิงส่ัน สอนลกู หลานดว ยความรักความผูกพัน ซึ่งมักประกอบดวย 4 สวนเสมอ คือ สวนที่เปนการปลอบโยน การขูและการขอโดยมุงใหเด็กหลับเร็ว ๆ นอกจากน้ีก็จะเปนคําที่แสดงสภาพสังคมดานตาง ๆ เชน

166 ความเปน อยู บรรยากาศในหมบู าน คานิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี เปน ตน คุณคา ของเพลงกลอ มเดก็ อสี านจงึ มีพรอมทงั้ ทางดา นจิตใจ และดา นการศกึ ษาของชาติ ตวั อยาง เพลงกลอมเดก็ ของภาคอีสาน นอนสาหลา หลบั ตาสามเิ ยอ แมไปไฮ หมกไข มาหา แมไปนา จี่ปา มาปอน แมเล้ยี งมอน ในปา สวนมอ น เพลงกลอมเดก็ ภาคใต ในบรรดาภาษาถ่ิน ภาคใตเปนภาษาท่ีคนไทยสวนใหญรูจักมากที่สุด เพราะมีสําเนียงท่ีเปน เอกลักษณชัดเจนท่ีสุด เชนเดียวกับเพลงกลอมเด็กภาคใตท่ีมีทํานองและลีลาเดนเปนของตนเอง เพลงกลอ มเด็กภาคใตมีชื่อเรยี ก 4 อยา ง คอื เพลงรอ งเรือ เพลงชานองหรือเพลงชา นอง เพลงเสภาและ เพลงนองนอน ท่ีเรียกเพลงรองเรือ สันนิษฐานวานาจะเปนลักษณะของเปลท่ีใชผาผูกมีรูปราง คลา ยเรือ เพลงชานองหรอื ชานอง คาํ วา ชา มาจากคําวา บูชา ซ่ึงแปลวาสดุดีหรือกลอมขวัญชานองหรือ ชานอง จึงหมายถึงการสดุดีแมซื้อ ซึ่งเชื่อกันวาเปนเทวดาหรือผีประจําทารก เพลงเสภาเปนเพลงที่ใช โตคารมกันเปนบทปฏิพากยแสดงปฏิภาณไหวพริบ นํามาใชเปนเพลงกลอมลูกนองนอน เปนการมุง กลอมนองหรือกลอมลูกโดยตรง ลักษณะเดนของเพลงกลอมลูกภาคใตไมวาจะเปนเพลงประเภทใด มักจะขน้ึ ตนดวยคําวา “ฮา เออ” หรือคาํ วา “เหอ” แทรกอยูเสมอในวรรคแรกของบทเพลง แลวจึง ขบั กลอ มไปชา ๆ เหมือนภาคอ่ืน ๆ จากหลักฐานการคนควาเพลงกลอมเด็กภาคใต ของศาสตราจารย สทุ ธิวงศ พงศไ พบูลย ระบุไวว าเพลงกลอ มเด็กภาคใตมจี ดุ ประสงคและโอกาสการใชกวา งขวาง จํานวน เพลงจงึ มมี ากถงึ 4,300 เพลง นับวา มากกวา ทุกภาคในประเทศ ตวั อยางเพลงกลอมเดก็ ภาคใต ...รอ งเรอื เหอ รองโรก ันทัง้ บา น ไมใชเ รื่องของทา น ทา นเหอ อยา เกบ็ ไปใสใจ รอ งเรือชาหลาย ไมเ กย่ี วไมพ านไปหาใคร ทา นอยาเกบ็ มาใสใจ รองเรอื ชาหลาน...เอง ...โผกเปลเหอ โผกไวใตต น ชมพู ใหแ หวนชายไปทัง้ คู บอกพอบอกแมว าหาย พอวาไมรับรูบ ญุ แมว าไมรบั รดู าย บอกพอ บอกแมวา แหวนหาย ติดมือพช่ี ายไป ....................................

167 กจิ กรรมเพลงกลอมเดก็ 1. ใหผูเรียนคนควาบทเพลงกลอมเด็กท่ีมีอยูในทองถ่ินของตน บันทึกไวพรอมท้ังแปล ความหมายหรืออธิบายคาํ ภาษาถ่นิ น้นั ๆ บทเพลงกลอ มเดก็ .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... .................................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................................

168 บทท่ี 7 ภาษาไทยกับชอ งทางการประกอบอาชพี สาระสาํ คญั ภาษาไทยเปน ภาษาประจําชาติ เปนภาษาท่ใี ชส ่ือสารในชีวติ ประจําวัน อีกท้งั ยงั เปน ชอ งทาง ทสี่ ามารถนาํ ความรภู าษาไทยไปใชในการประกอบอาชพี ตา ง ๆ ได โดยใชศ ลิ ปะทางภาษาเปน ส่ือนํา ผลการเรียนรทู ค่ี าดหวงั เม่อื ศกึ ษาจบบทที่ 7 แลวคาดหวังวาผเู รยี นจะสามารถ 1. มีความรู ความเขาใจ สามารถวิเคราะหศ กั ยภาพตนเอง ถงึ ความถนัดในการใชภาษาไทย ดานตา ง ๆ ได 2. เห็นชอ งทางในการนาํ ความรูภาษาไทยไปใชในการประกอบอาชพี 3. เห็นคุณคาของการใชภ าษาไทยในการประกอบอาชพี ขอบขา ยเน้อื หา เรื่องที่ 1 คุณคา ของภาษาไทย เร่อื งที่ 2 ภาษาไทยกบั ชอ งทางการประกอบอาชีพ เรอื่ งที่ 3 การเพิม่ พนู ความรแู ละประสบการณทางดานภาษาไทยเพอื่ การประกอบอาชพี

169 เร่ืองที่ 1 คณุ คา ของภาษาไทย ภาษาไทยเปนภาษาประจําชาติ เปนภาษาท่ีใชในการส่ือสารในชีวิตประจําวัน เปนเคร่ืองมือ ในการเรยี นรู และการนําไปใชในการประกอบกจิ การงาน ทงั้ สวนตน ครอบครวั กจิ กรรมทางสังคมและ ประเทศชาติ อีกทั้งยังเปนสวนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ดังน้ัน การเรียนรูภาษาไทย จึงตองมุงใหเกิด การเรียนรูเพ่ือพัฒนาทักษะดานตาง ๆ อยางถูกตองและเหมาะสม ทั้งทักษะการอาน การดู การฟง การพูดและการเขียน โดยเฉพาะทักษะการพูดและการเขียน เมื่อศึกษาใหลึกลงไปและฝกทักษะ ใน 2 ดานนี้อยางจริงจงั สามารถนาํ ไปสูการประกอบอาชีพได ซึง่ การที่คนไทยจะตระหนักถึงประโยชน ที่จะไดจ ากการมพี น้ื ฐานภาษาไทยท่ีดี ตอ งรูและเขาใจคณุ คาของภาษาไทยอยา งถองแท คุณคาของภาษาไทย เมือ่ กลา วถงึ คุณคา ของภาษาไทย จะพบวา ภาษาไทยมีคุณคา ในดา นตาง ๆ ดงั น้ี 1. คุณคาทางวัฒนธรรม ภาษาของแตละชาติ ยอมแสดงใหเห็นวัฒนธรรมของชาตินั้น ชาติท่ี สามารถประดิษฐภาษาและตัวอักษรเปนของตนเองไดแสดงวาเปนชาติท่ีมีความเจริญทางวัฒนธรรม คนไทย ก็เชนกนั เราสามารถประดิษฐต วั อกั ษรเพือ่ ใชใ นภาษาของตนเอง เพือ่ เปน การส่ือสารที่สามารถ จดจําจารึกเร่ืองราวตาง ๆ ใหคนรุนหลังไดทราบ เปนภูมิรูทางประวัติศาสตรและวัฒนธรรมมาต้ังแต ครัง้ กรงุ สโุ ขทยั ในสมยั พอ ขนุ รามคาํ แหงมหาราช การท่ีคนรุนใหมไดทราบถึงวิถีชีวิตและความเปนอยูของคนรุนกอน ไดมีโอกาสอานวรรณคดี วรรณกรรมโบราณ จนสามารถสรางสรรคพัฒนางานวรรณกรรมท้ังรอยแกวและรอยกรองใหม ๆ ได โดยอาศัยศึกษาพนื้ ฐานมาจากวรรณคดี วรรณกรรมโบราณ ซงึ่ มีการสรา งสรรคจากตวั อกั ษรไทยนนั่ เอง และไดถ ายทอดเปนมรดกทางวัฒนธรรมมาจนทุกวนั นี้ 2. เปนเคร่ืองมือในการติดตอส่ือสาร ในการดําเนินชีวิตประจําวันและการประกอบอาชีพ เครื่องมือท่ีจะกอใหเกิดความเขาใจในการติดตอสื่อสารกัน คือ ภาษาเพื่อสื่อสารความตองการ ความรูส กึ นึกคดิ ใหอกี ฝายทราบตรงกัน โดยมกี ระบวนการสอื่ สาร คอื ผสู งสาร สาร ชอ งทาง ผรู บั สาร 3. เปนเครื่องมือในการเรียนรูและแสวงหาความรู ภาษาไทยจัดเปนวิชาพื้นฐาน เพอ่ื การแสวงหาความรใู นวิชาอนื่ ๆ ตอ ไป หากผูเรียนมีความรูพ้ืนฐานทางภาษาไทยท่ีดีพอ ก็จะทําให การเรียนรูในวิชาอ่ืน ๆ มีประสิทธิภาพท่ีดีตอไปดวย การมีความรูพ้ืนฐานภาษาไทยที่ดี คือ การมีความสามารถในการเขียน สะกดคําไดถูกตอง อานและออกเสียงไดถูกตองตามอักขรวิธีไทย รวมทงั้ พูดและใชค ําไดถกู ตอ งตรงกับความหมายของคํา 4. เปนเครือ่ งมือในการสรางความเขาใจอันดีตอกัน ประเทศไทยแบงเปน 5 ภาค แตละภาค ลวนมีภาษาของตนเองท่ีเรียกวา “ภาษาถิ่น” โดยมีภาษาไทยภาคกลางเปนภาษาของทางราชการ

170 ทําใหก ารสอ่ื สารทําความเขาใจในเร่ืองตาง ๆ ทั้งเรื่องการศึกษา เร่ืองราชการ และการส่ือสารมวลชน มคี วามเขาใจท่ีตรงกัน เพราะใชภาษาไทยภาคกลางเปน ภาษาสือ่ สาร 5. เปนเคร่ืองมือสรางเอกภาพของชาติ ภาษาไทยเปนภาษาของชาติไทยที่เปนเอกลักษณ ของความเปนชาติไทย แสดงถึงความเปนชาติที่มีอารยธรรม มีความเจริญรุงเรืองทางวัฒนธรรม จึงมีภาษาและตัวอักษรเปนของตนเอง และการที่ภาษาไทยภาคกลางเปนภาษาของทางราชการ จงึ เปนสอ่ื รวมใจใหคนไทยในแตล ะภาคไดต ิดตอ ส่อื สารแลกเปลย่ี นวัฒนธรรม ความรู และขาวสารขอมลู ถงึ กนั ได มีความระลกึ อยใู นใจถงึ ความเปนคนไทย เปน เช้ือชาติเผาพันธุเดยี วกัน 6. เปนเครื่องจรรโลงใจ ภาษาไทยเปนภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต 5 เสียง เม่ือนําไปประสม เปนคํา จะทําใหเกดิ เปนเสียงสูงต่ําไดถ ึง 5 เสยี ง กอใหเกิดความไพเราะของเสียงคํา เม่ือนําไปแตงเปน บทประพันธประเภทตางๆ ไมวาจะเปนเพลง โคลง ฉันท กาพย กลอน นิยาย นิทาน กอใหเกิด ความจรรโลงใจแกผ ูฟง และผอู า นไดอ ยางดี จากคุณคาทัง้ 6 ประการของภาษาไทย จะเหน็ ไดว าภาษาไทยไมเ พียงเปนภาษาเพื่อนําไปใชใน การแตงคาํ ประพันธประเภทตาง ๆ หรือเปนเพียงภาษาเพื่อการอาน การดูและการฟง แตยังเปน ภาษาเพ่ือการพูดและการเขียน หากคนไทยทุกคนไดศึกษาภาษาไทยใหถองแท มีความรูความเขาใจ ทางภาษาไทยอยางถูกตองลึกซึ้ง สามารถใชภาษาไดดีทั้งภาษาพูด ภาษาเขียน จะทําใหสามารถ สรา งสรรคสง่ิ ใหม ๆ ทางภาษาอันจะนําไปสูก ารประกอบอาชีพตา ง ๆ โดยใชภ าษาเปนพนื้ ฐานของอาชพี ไดอยางดี และมีโอกาสประสบความสําเรจ็ ในอาชพี นน้ั ๆ ได เร่อื งท่ี 2 ภาษาไทยกบั ชองทางการประกอบอาชพี ในปจจุบันมีอาชีพมากมายท่ีคนในรุนกอน ๆ อาจมองขามความสําคัญไป แตกลับเปนอาชีพ ท่ีทํารายไดอยางงามแกผูประกอบอาชีพนั้น และกลายเปนอาชีพที่เปนที่นิยมของคนไทยในปจจุบัน เปน อาชีพทใี่ ชภาษาไทยเปนพน้ื ฐาน โดยเฉพาะใชท ักษะการพูด และการเขยี นเปนพ้ืนฐาน ดงั น้ี 1. อาชีพทีใ่ ชทักษะการพูดเปน ชอ งทางในการประกอบอาชีพ การพูดเปนทักษะสําคัญอีกทักษะหนึ่งที่ตองอาศัยวรรณศิลป คือ ศิลปะการใชภาษา ที่จะสามารถโนมนาวใจ กอใหเกิดความนาเช่ือถือ เห็นคลอยตาม สรางสัมพันธภาพท่ีดีระหวางผูพูด และผูฟง หรือผูฟงตอสวนรวม หรือโนมนาวใจใหใชบริการหรือซ้ือส่ิงอุปโภคบริโภคในทางธุรกิจได การพดู จึงเปน ชอ งทางนําไปสูอ าชพี ตา ง ๆ ได ดังน้ี 1.1 อาชพี ดา นส่ือสารมวลชนทุกรปู แบบ ทง้ั ในวงราชการ เอกชน และวงการธรุ กจิ ไดแ ก 1.1.1 อาชีพนักโฆษณาประชาสัมพันธ ท้ังการโฆษณาสินคาและบริการ โฆษณา การจัดงานตาง ๆ ของชุมชน หนวยงานราชการ โดยใชรถประชาสัมพันธ โดยการประชาสัมพันธ ผา นเสียงตามสาย โดยการพบปะตดิ ตอ ตอบคาํ ถามตาง ๆ เปนข้ันตน และในข้ันที่สูงขึ้นไป คือ การใช ทักษะการพดู และเขียนประกอบกันเพอื่ คดิ หาถอยคําในเชิงสรา งสรรคในการโฆษณาประชาสมั พันธ

171 ผานส่ือตาง ๆ ที่เรยี กวา การโฆษณาสนิ คา และบริการ 1.1.2 อาชีพนักจัดรายการวิทยุ เปนอีกอาชีพหน่ึงที่ตองใชทักษะในการพูด การมี โวหาร และวาจาคารมท่ีคมคาย ลึกซ้ึงกินใจ เพ่ือใหผูฟงติดตามรายการอยางตอเนื่องดวยความนิยม มที ง้ั นกั จัดรายการวิทยชุ มุ ชน วิทยเุ อกชน และรายการวิทยุของทางราชการ ตลอดจนการใชภาษาพูด เพอื่ สรางความเปน นา้ํ หนง่ึ ใจเดียวกนั ของผฟู ง เชน นักจดั รายการวทิ ยขุ องทางราชการ 1.1.3 อาชีพพิธีกร ในปจจุบันอาชีพพิธีกรเปนอีกอาชีพหนึ่งท่ีสามารถทํารายได อยา งงามใหแกผูป ระกอบอาชพี ไมว า จะเปนพิธีกรในชุมชนที่ทําหนาที่ในงานของราชการและงานของ เอกชน เชน พิธีกรงานประจําปต าง ๆ พธิ ีกรการประกวดนางงามของทอ งถนิ่ พิธกี รงานประเพณสี ําคญั ทาง ศาสนา พธิ กี รงานมงคลสมรส พิธีกรงานอุปสมบท พิธีกรงานศพหรืองานพระราชทานเพลิงศพ และ พิธีกรงานพเิ ศษในโอกาสตาง ๆ ของทางราชการ 2. อาชีพที่ใชทกั ษะการเขยี นเปนชองทางในการประกอบอาชีพ การเขียนเปนทักษะสําคัญอีกทักษะหน่ึงท่ีเปนชองทางในการนําภาษาไทยไปใชประโยชน ในการประกอบอาชีพตาง ๆ ได การจะใชภาษาเขียนเพื่อประโยชนในการประกอบอาชีพก็เชนเดียวกับ การพูด คือ ตองมีวรรณศิลปของภาษา เพื่อใหสิ่งที่เขียนสามารถดึงดูดความสนใจดึงอารมณ ความรูสึกรวมของผูอาน โนมนาวใจใหผูอานเห็นคลอยตาม และเพ่ือสรางความบันเทิงใจ รวมทั้ง สรางความรูความเขาใจแกผูอาน ตลอดถึงความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันของสวนรวม อาชีพ ท่ีสามารถนําทักษะการเขียนภาษาไทยไปใชเพ่ือการประกอบอาชีพไดโดยตรง ไดแก อาชีพ ดังน้ี 2.1 อาชพี ดา นสื่อสารมวลชนทกุ รูปแบบ ทง้ั ในวงราชการ เอกชน และวงการธุรกิจ ไดแก อาชพี ดงั น้ี 2.1.1 อาชีพผูสื่อขาว ผูเขียนขาว เปนอาชีพท่ีตองใชศิลปะการเขียนและการใชภาษา ทด่ี ึงดดู ความสนใจของผอู าน 2.1.2 อาชีพผูพิสูจนอักษรและบรรณาธิการ เปนอาชีพท่ีตองมีความรูในการเขียน การสะกดคํา การใชถ อ ยคําสาํ นวนภาษา สุภาษิต คาํ พังเพยและหลกั ภาษาไทยเปนอยางดี จัดไดวาเปน อาชพี ท่ชี วยธํารงรกั ษาภาษาไทยไดอาชีพหน่ึง 2.2 อาชีพดานการสรางสรรคงานศิลปะรูปแบบตางๆ ท้ังในวงราชการ เอกชน และวงการธรุ กิจ ไดแก อาชพี ดังนี้ 2.2.1 อาชีพกวี นักเขียน ทั้งการเขียนสารคดี นิยาย เรื่องสั้น การเขียนบทละครเวที บทละครโทรทัศน บทภาพยนต ผูประกอบอาชีพเหลาน้ี นอกจากมีศิลปะการเขียน และการเลือกใช ถอยคําภาษามาใชเปนอยางดีตองเปนคนท่ีอานมาก ฟงมาก เพ่ือนําขอมูลที่ไดรับไปใชประโยชน ในการเขยี นสอ่ื สารสรางความสนุกสนาน บันเทิงใจ จรรโลงใจแกผูอานและควรเปนผูมีความคิดริเริ่ม สรา งสรรค และจนิ ตนาการเปนองคป ระกอบ จึงจะทาํ ใหอาชพี ทป่ี ระกอบประสบความสาํ เร็จดว ยดี

172 นอกเหนือจากอาชีพท่ีใชภาษาไทยเปนชองทางในการประกอบอาชีพโดยตรงแลว ยังมี การประกอบอาชีพอื่น ๆ อีก ที่ใชภาษาไทยเปนชองทางโดยออม เพื่อนําไปสูความสําเร็จในอาชีพ ของตนเอง เชน อาชีพลาม มคั คเุ ทศก เลขานกุ าร นกั แปล และนักฝกอบรม ครู อาจารย เปน ตน เรื่องท่ี 3 การเพิม่ พนู ความรูแ ละประสบการณท างดา นภาษาไทย เพอื่ การประกอบอาชพี ในการนําความรูทางภาษาไทย ทั้งทักษะการพูดและการเขียนไปใชในการประกอบอาชีพนั้น เพียงการศึกษาในชั้นเรียนและตําราอาจจะยังไมเพียงพอ ผูประกอบอาชีพตองเพ่ิมพูนความรู และประสบการณดานภาษาและดานตาง ๆ เพอื่ ใหก ารประกอบอาชีพประสบความสาํ เร็จ ดังจะยกตัวอยา ง อาชีพทใ่ี ชภาษาไทย เปนชอ งทางในการประกอบอาชีพโดยตรง เพอ่ื เปนตวั อยา ง ดงั นี้ 1. อาชีพนกั โฆษณา - ประชาสัมพนั ธ เปนอาชีพที่ผูประกอบการ ตองเพ่ิมพูนความรูในเร่ืองการเขียน และการพูดแบบสรางสรรค รวมทั้งฝกประสบการณ โดยการฝกเขียนบอย ๆ ตลอดจนการศึกษาดูงานของหนวยงาน หรือบริษัเอกชน ที่ประสบความสําเรจ็ ในเร่ืองของการโฆษณาและประชาสัมพนั ธ องคความรทู ่คี วรศกึ ษาเพิ่มเตมิ ในการเพ่ิมพูนองคความรูในดานการเขียนและการพูด ผูประกอบอาชีพดานน้ี ควรศึกษา เนื้อหาความรทู จี่ ะนําไปใชใ นการพัฒนาอาชพี ในเรอ่ื งตอไปนี้ 1) ศลิ ปะการพูดและศลิ ปะการเขียน เพราะอาชพี นักโฆษณาประชาสัมพันธเปน อาชีพที่ตอง อาศัยศาสตรทั้งสองดานประกอบกัน ในการพูดนํ้าเสียงตองนุมนวลหรือเราใจข้ึนอยูกับสถานการณ ของเร่ืองที่จะโฆษณาหรือประชาสัมพันธ รูจักเลือกใชถอยคําที่เปนการใหเกียรติแกผูฟง หรือเคารพ ขอ มูลท่เี จา ของงานใหมา 2) ระดบั ของภาษา ซ่งึ เปน เรอ่ื งของการศกึ ษาถงึ ความลดหลน่ั ของถอ ยคาํ และการเรยี บเรยี ง ถอยคําที่ใชตามโอกาส กาลเทศะและความสัมพันธระหวางบุคคลท่ีเปนผูสื่อสารและผูรับสาร ซ่ึงกลุม บุคคลในสังคมแบงออกเปน หลายกลุม หลายชนชนั้ ตามสภาพอาชพี ถิ่นท่ีอยอู าศัย ฯลฯ ภาษาจึงมีความ แตกตา งกนั เปนระดับตามกลุมคนทใี่ ชภาษา เชน ถอยคําท่ีใชกับพระภิกษุสงฆและพระราชวงศ อาจใช ถอยคําอยางหนึ่ง ภาษาของนักเขียนหรือกวีที่ส่ือสารถึงผูอาน ก็อาจจะใชภาษาอีกอยางหน่ึง เปนตน ดงั น้นั ผใู ชภาษาจงึ ตอ งคาํ นงึ ถงึ ความเหมาะสมและเลอื กใชใ หถ ูกตองเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล ในภาษาไทย จะแบงระดบั ของภาษาเปน 5 ระดบั คอื 2.1) ภาษาระดับพธิ ีการ เปนภาษาทใ่ี ชในงานพระราชพธิ ีหรอื งานพิธขี องรฐั 2.2) ภาษาระดบั ทางการ เปน ภาษาท่ใี ชใ นทป่ี ระชุมทมี่ ีแบบแผนการบรรยาย การอภปิ รายที่เปนทางการ เปนตน

173 2.3) ภาษาระดับกง่ึ ทางการ เปนภาษาทใ่ี ชใ นการอภิปราย ประชมุ กลุมในหอ งเรียน การพูดทางวิทยุและโทรทัศน ขา ว และบทความในหนงั สือพมิ พ 2.4) ภาษาระดบั สนทนาท่วั ไป เปน ภาษาทใี่ ชสนทนาท่ัว ๆ ไป กับคนท่ีไมค ุนเคย มากนกั เชน ครพู ูดกบั ผูเรียน เปนตน 2.5) ภาษาระดับกันเอง เปนภาษาระดบั ท่เี รียกวาระดับภาษาปาก เปนภาษาสนทนา ของครอบครวั ในหมเู พือ่ นสนทิ หรือญาตพิ ีน่ อง พดู อยใู นวงจาํ กัด 3) เรอ่ื งของน้ําเสยี งในภาษา ซึ่งเปน เรอ่ื งที่เกี่ยวกับอารมณความรูสึกของผูสงสารท่ีปรากฏ ใหรูสึกหรือเปนรองรอยในภาษาหรือเนื้อหาที่ผูสงสารตองการจะสื่อออกมาเปนความรูสึกแฝง ที่ปรากฎในการสื่อสาร ซึ่งนักโฆษณาประชาสัมพันธตองระมัดระวังมิใหมีน้ําเสียงของภาษาออกมา ในทางทไ่ี มพ ึงประสงค หรือสรางความรสู กึ ที่ไมด ีแกผฟู ง 4) ดานการพัฒนาบุคลิกภาพ ในบางคร้ังนักโฆษณา - ประชาสัมพันธตองปรากฎตัวตอ บุคคลทวั่ ไปในงานตาง ๆ จึงควรตองแตงกายใหสุภาพเรียบรอย เหมาะกับกาลเทศะของสถานท่ีและ งานท่วั ไป ซึง่ จะชวยสรางความนา เช่ือถือแกผ พู บเหน็ ไดส ว นหน่ึง 5) การพัฒนาองคความรูในตนเอง นักโฆษณา - ประชาสัมพันธ ตองหม่ันแสวงหาความรู ติดตามขาวสารขอมูลทุกดานอยางสมํา่ เสมอ เพื่อนํามาใชเปนขอมูลในการพัฒนาการโฆษณา - ประชาสัมพันธใหนาสนใจอยูตลอดเวลา รวมท้ังตองแสวงหาความรูในดานการประเมินผล เพ่ือใช ประโยชนในการประเมินผลการปฏิบัติหนาที่ของตนเองดวยรูปแบบวิธีการตาง ๆ ท่ีจะกอใหเกิด การพฒั นาอาชพี ใหดยี ่งิ ขนึ้ แหลงทค่ี วรศกึ ษาเพมิ่ เติม แหลงท่คี วรศึกษาเพมิ่ เตมิ เพ่ือเพ่ิมพูนความรใู นอาชพี นี้ ไดแก 1) สถาบันฝกอบรมของเอกชน ซึ่งผเู รียนสามารถหาขอมลู รายชอื่ ไดจากอินเตอรเ นต็ 2) หนว ยงานของทางราชการ ไดแก กรมประชาสมั พันธ สถาบันสงเสริมการศึกษานอกระบบ และการศกึ ษาตามอธั ยาศยั ภาคตาง ๆ 3) สถานศกึ ษาตาง ๆ ของรฐั บาล เชน ผูที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตน ตองศึกษา ตอในระดับมธั ยมศึกษาตอนปลาย และเขาศกึ ษาตอในระดับอดุ มศกึ ษา คณะนเิ ทศศาสตร คณะวารสาร- ศาสตร คณะศิลปะศาสตร คณะอักษรศาสตร ถาศึกษาตอใน 2 คณะหลัง ตองฝกอบรมทางอาชีพ เพิ่มเติมจากสถาบนั ฝก อบรมตา ง ๆ 2. อาชีพนักจดั รายการวทิ ยุ เปนอาชีพที่ผูประกอบการตองเปนคนที่ตรงตอเวลา มีจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความเปนกลาง ในการนําเสนอขาวสารขอมูล รูจักแกปญหาเฉพาะหนาและตองเพ่ิมพูนความรูในเร่ืองการเขียนและ การพดู เพราะการเปน นักจัดรายการวทิ ยุ ผูจัดตองเขียนสคริปทที่จะใชในการดําเนินรายการไดเองและ พูดตามสครปิ ทไดอยางเปนธรรมชาติ รวมท้ังตองอานมาก ฟงมาก เพื่อเก็บรวบรวมขอมูลไวใช ในการ

174 จัดทํารายการวิทยุ ซึ่งมีสถานท่ีท่ีผูประกอบการสามารถฝกอบรมและศึกษาดูงานไดท้ังของภาครัฐและ เอกชน องคความรทู ี่ควรศึกษาเพิ่มเติม ในการเพ่ิมพูนความรูเพ่ือการเปนนักจัดรายการวิทยุที่ดี ผูประกอบอาชีพดานนี้ควรศึกษา เนือ้ หาความรทู ี่จะนํามาใชในการพฒั นาอาชพี ในเรือ่ งตอไปนี้ 1) ศิลปะการพดู และศลิ ปะการเขียน เพราะเปนอาชพี ทต่ี องอาศยั ศาสตรท งั้ สองดา นประกอบกนั 2) ระดบั ของภาษา ซง่ึ เปนเรอ่ื งของการศกึ ษาถึงความลดหลั่นของถอยคํา และการเรียบเรียง ถอยคําท่ีใชตามโอกาส กาลเทศะ และความสัมพันธระหวางบุคคลที่เปนผูสงสารและผูรับสาร ซึ่งกลุมบุคคลในสังคมแบงออกเปน หลายกลุม หลายชนชั้น ตามสภาพอาชีพ ถิ่นที่อยูอาศัย ฯลฯ ภาษาจึงมีความแตกตางกันเปนระดับตามกลุมคนที่ใชภาษา เชน ถอยคําที่ใชกับพระภิกษุสงฆและ พระราชวงศ อาจใชถอยคําภาษาอยางหนึ่ง ภาษาของนักเขียนหรือกวีท่ีส่ือสารถึงผูอาน ก็จะใชภาษา อีกอยา งหนึง่ เปนตน ดงั นนั้ ผูใ ชภาษาจึงตองคํานึงถงึ ความเหมาะสม และเลอื กใชใ หถกู ตองเหมาะสมกบั กาลเทศะและบคุ คล ในภาษาไทยจะแบงระดบั ของภาษาเปน 5 ระดบั คอื 2.1 ภาษาระดบั พธิ กี าร เปนภาษาที่ใชในงานพระราชพิธี หรืองานพิธขี องรัฐ 2.2 ภาษาระดับทางการ เปนภาษาที่ใชในท่ปี ระชุมท่ีมีแบบแผน ในการบรรยาย การอภิปรายท่เี ปนทางการ เปน ตน 2.3 ภาษาระดับกึ่งทางการ เปนภาษาทใ่ี ชในการอภิปราย ประชมุ กลมุ ในหองเรียน การพูด ทางวิทยแุ ละโทรทศั น ขาว และบทความในหนงั สอื พิมพ เปน ตน 2.4 ภาษาระดับสนทนาท่ัวไป เปน ภาษาท่ใี ชส นทนาทว่ั ๆ ไปกบั คนทไี่ มคุนเคยมากนัก เชน ครูพดู กบั ผเู รยี น เปนตน 2.5 ภาษาระดับกนั เอง เปน ภาษาระดับท่ีเรียกวาระดับปาก เปนภาษาสนทนาของครอบครัว ในหมเู พื่อนสนทิ หรือญาตพิ น่ี อ ง พดู อยใู นวงจํากดั 3) เร่ืองของนํ้าเสียงในภาษา ซึ่งเปนเร่ืองที่เก่ียวกับอารมณความรูสึกของผูสงสารที่ปรากฏ ใหรูสึกหรือเปนรองรอยในภาษาหรือเนื้อหาที่ผูสงสารตองการจะสื่อออกมาเปนความรูสึกแฝง ท่ีปรากฎในการส่ือสาร ซึ่งนักจัดรายการวิทยุตองระมัดระวังมิใหมีน้ําเสียงของภาษาออกมาในทาง ทไ่ี มพ งึ ประสงค หรือสรางความรสู กึ ทไ่ี มดีแกผ ูฟง 4) เรื่องของหลักการใชภาษา เชน เร่ืองของคําสรรพนามท่ีเก่ียวกับบุคคล คําลักษณะนาม คําราชาศพั ท การออกเสยี ง ร ล และการออกเสยี งคาํ ควบกลาํ้ 5) ดานการพัฒนาบุคลิกภาพ ในบางครั้งนักจัดรายการวิทยุตองปรากฏตัวตอบุคคลท่ัวไป ในงานตาง ๆ จึงควรตองแตงกายใหสุภาพเรียบรอย เหมาะกับกาลเทศะของสถานที่และงานท่ีไป ซง่ึ จะชว ยสรา งความนาเชื่อถือแกผพู บเห็นไดส วนหนง่ึ

175 6) การพัฒนาองคความรูในตนเอง นักจัดรายการวิทยุ ตองหม่ันแสวงหาความรูติดตาม ขาวสารขอมูลทุกดานอยางสมํ่าเสมอ เพื่อนํามาใชเปนขอมูลในการพัฒนาการจัดรายการวิทยุ ใหนาสนใจอยูตลอดเวลา รวมทั้งตองแสวงหาความรูในดานการประเมินผล เพื่อใชประโยชน ในการประเมินผลการปฏบิ ัตหิ นาท่ีของตนเองดว ยรูปแบบวธิ กี ารตา ง ๆ ท่ีจะกอใหเกิดการพัฒนาอาชีพ ใหดยี ่ิงขึ้น แหลง ที่ควรศึกษาเพม่ิ เติม แหลงทคี่ วรศึกษาเพิ่มเติม เพอ่ื เพิ่มพนู ความรูในอาชพี นี้ ไดแก 1. สถาบนั ฝก อบรมของเอกชน ซงึ่ ผเู รยี นสามารถหาขอ มูลรายช่ือไดจ ากอนิ เตอรเน็ต 2. หนว ยงานของทางราชการ ไดแก กรมประชาสมั พันธ สถาบันสงเสริมการศึกษานอกระบบ และการศกึ ษาตามอธั ยาศัยภาคตาง ๆ 3. สถานศึกษาตา ง ๆ ของรฐั บาล เชน ผูท่ีจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตน ตองศึกษา ตอในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และเขาศึกษาตอในคณะนิเทศศาสตร คณะวารสารศาสตร คณะศิลปะศาสตร คณะอักษรศาสตร ถาเขาศึกษาในคณะศิลปะศาสตร หรืออักษรศาสตรตองอบรม เพม่ิ เติมในเรอื่ งเทคนิคการจัดรายการวิทยเุ พ่มิ เติม 3. อาชีพพิธกี ร เปนอาชีพที่ผูประกอบอาชีพตองมีพ้ืนฐานความรูในเร่ืองการพูดเปนอยางดี เพราะเปนอาชีพ ท่ตี องใชการพูดเปนเครื่องมือในการสอื่ สารกบั ผอู ่นื การใชคําพูดและถอ ยคําภาษาจึงเปนเรื่องสําคัญตอ การสรางความรูส กึ ทดี่ ีหรอื ไมดตี อผฟู ง นอกจากนบี้ ุคลิกภาพและการแตง กายของผูท าํ หนาท่พี ธิ ีกรก็เปน อีกเร่ืองหนึ่งท่ีจะดึงดูดความสนใจของผูฟง รวมทั้งควรเปนผูท่ีตรงตอเวลา เพื่อเปนความเช่ือถือ ในวิชาชีพไดส วนหนึ่ง องคความรูท ี่ควรศกึ ษาเพิ่มเตมิ ในการเพม่ิ พนู องคค วามรใู นการประกอบอาชีพพิธีกร ควรศึกษาเน้ือหาความรูที่จะนําไปใชใน การพฒั นาอาชีพ ในเรื่องตอ ไปนี้ 1. ศิลปะการพูดหรือศิลปะการใชภาษา เพราะอาชีพพิธีกร เปนอาชีพที่ตองอาศัยศาสตร (ความรู) และศิลปข องการพูดเปน อยา งมาก ซงึ่ ตอ งอาศยั การฝก ฝนบอ ย ๆ 2. ระดับของภาษา ซ่ึงเปนเรือ่ งของการศึกษาถึงความลดหล่ันของถอยคํา และการเรียบเรียง ถอยคําที่ใชตามโอกาส กาลเทศะ และความสัมพันธระหวางบุคคลที่เปนผูสงสารและผูรับสาร ซ่ึงกลุมบคุ คลในสังคมแบง ออกเปนหลายกลมุ หลายชนชั้นตามสภาพอาชีพถน่ิ ทอ่ี ยูอาศยั ฯลฯ ภาษาจึงมี ความแตกตางกันเปนระดับตามกลุมคนท่ีใชภาษา เชน ถอยคําท่ีใชกับพระภิกษุสงฆและพระราชวงศ อาจใชถอยคําภาษาอยางหน่ึง ภาษาของนักเขียนหรือกวีที่ส่ือสารถึงผูอาน ก็จะใชภาษาอีกอยางหน่ึง เปนตน ดงั น้ัน ผูใชภาษาจงึ ตอ งคํานึงถงึ ความเหมาะสม และเลือกใชใหถูกตองเหมาะสม กับกาลเทศะ และบุคคล

176 ในภาษาไทยจะแบง ระดบั ของภาษาเปน 5 ระดบั คอื 2.1 ภาษาระดบั พิธีการ เปนภาษาที่ใชในงานพระราชพิธี หรอื งานพิธขี องรัฐ 2.2 ภาษาระดบั ทางการ เปนภาษท่ีใชในท่ปี ระชุมท่ีมแี บบแผน ในการบรรยาย การอภปิ รายทเ่ี ปนทางการ เปนตน 2.3 ภาษาระดบั กง่ึ ทางการ เปน ภาษาทใ่ี ชในการอภิปราย ประชุมกลุมในหองเรียน การพูดทางวิทยุและโทรทศั น ขาว และบทความในหนังสอื พมิ พ เปนตน 2.4 ภาษาระดบั สนทนาทวั่ ไป เปนภาษาที่ใชส นทนาทั่ว ๆ ไปกับคนท่ีไมคนุ เคยมากนัก เชน ครูพดู กับผเู รยี น เปน ตน 2.5 ภาษาระดบั กันเอง เปน ภาษาระดบั ท่ีเรียกวา ระดบั ปากเปนภาษาสนทนาของครอบครัว ในหมูเ พื่อนสนทิ หรอื ญาติพ่นี องพูดอยใู นวงจาํ กดั 3. เรอ่ื งของน้ําเสียงในภาษา ซ่ึงเปนเร่ืองท่ีเก่ียวกับอารมณ ความรูสึกของผูสงสารที่ปรากฏ ใหรูสึก หรือเปนรองรอยในภาษา หรือเนื้อหาท่ีผูสงสารตองการจะส่ือออกมา เปนความรูสึกแฝง ทปี่ รากฎในการสือ่ สาร 4. เรื่องของหลักการใชภาษา เชน เรื่องของคําสรรพนามที่เกื่ยวกับบุคคล คําลักษณะนาม คําราชาศัพท การออกเสียง ร ล และการออกเสยี งคาํ ควบกลํา้ 5. เรอ่ื งของการพัฒนาบคุ ลิกภาพและการแตงกาย ผูทําหนาที่พิธีกร เปนผูที่ตองปรากฏกาย ตอหนาคนจํานวนมาก บุคลิกภาพและการแตงกายจึงเปนเรื่องสําคัญท่ีจะปรากฏเปนสิ่งแรกใหผูท่ี พบเห็นเกดิ ความประทับใจหรอื ไม ถา ประทับใจผูคนจะจดจอรอฟงการพูดเปนประการตอมา ถาผูพูด สามารถพดู ไดป ระทบั ใจ จะกอ เกดิ เปน ความนิยมชมชอบตามมาและจะกอใหเกิดเปนความสําเร็จของ อาชพี ในท่ีสดุ 6. ดานการพัฒนาองคความรูในตนเอง พิธีกรตองหมั่นแสวงหาความรูท่ีเกี่ยวของกับ การประกอบอาชีพ เพ่ือนําไปสูการพัฒนาอาชีพของตนเอง เชน เรื่องของการวัดผลประเมินผล การทําหนา ทข่ี องตนเองดวยรูปแบบวิธีการตา ง ๆ ซ่งึ จะกอ ใหเ กดิ การพัฒนาอาชพี ใหด ยี ่งิ ข้นึ แหลงทคี่ วรศึกษาพ่มิ เตมิ แหลง ท่ีควรศึกษาเพม่ิ เตมิ เพอ่ื เพิ่มพนู ความรูใ นอาชีพน้ี ไดแ ก 1. สถาบันฝก อบรมของเอกชน ซึง่ ผูเรยี นสามารถหาขอ มลู รายช่อื ไดจากอนิ เตอรเนต็ 2. หนว ยงานของทางราชการ ไดแ ก กรมประชาสมั พนั ธ สถาบนั สงเสริมการศกึ ษานอกระบบ และการศกึ ษาตามอธั ยาศัยภาคตา ง ๆ 3. สถานศกึ ษาตาง ๆ ของรัฐบาล เชน ผูที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนตน ตองศึกษา ตอในระดับมัธยมศกึ ษาตอนปลาย และเขาศึกษาตอในระดับอุดมศึกษา คณะนิเทศศาสตร คณะวารสาร- ศาสตร คณะศลิ ปศาสตร คณะอักษรศาสตร ถาเขาศึกษาในคณะศิลปศาสตรหรืออักษรศาสตรตองอบรม เพิ่มเติมในเร่ืองเทคนคิ การจัดรายการวิทยเุ พิม่ เติม

177 กิจกรรมทายบท กจิ กรรมที่ 1 ใหผ เู รียนสรปุ คุณคาของภาษาไทยมาพอสงั เขป ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. กจิ กรรมท่ี 2 ใหผ เู รียนตอบคําถามตอไปน้สี น้ั ๆ ใหไดใ จความ 1. ภาษาไทยเปน มรดกทางวฒั นธรรมอยา งไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 2. ภาษาไทยกอ ใหเ กดิ ความจรรโลงใจไดอ ยา งไร ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................ 3. อาชพี ใดตอ งอาศยั การพดู เปนชอ งทางในการประกอบอาชีพ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 4. อาชพี ใดตองอาศยั การเขียนเปนชอ งทางการประกอบอาชีพ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. 5. ความรูแ ละทักษะเรือ่ งใดบางท่ีผปู ระกอบอาชพี พิธกี รตองเรยี นรแู ละฝก ฝนเพม่ิ เตมิ ............................................................................................................................................................. ............................................................................................................................................................. .............................................................................................................................................................

178 กจิ กรรมที่ 3 จงวงกลมลอมรอบขอท่ถี ูกตอ งทสี่ ดุ 1. อาชพี ใดทจ่ี ัดเปนอาชีพทใี่ ชภ าษาไทยในทางสรา งสรรคแ ละเปน ศลิ ปะรปู แบบหนึ่ง ก. กวี ข. พธิ ีกร ค. นกั จัดรายการวทิ ยุ ง. นกั ประชาสมั พันธ 2. อาชพี ใดที่ตอ งใชค วามสามารถท้ังการพูดและการเขียน ก. บรรณาธกิ าร ข. นกั เขยี นสารคดี ค. นกั พสิ จู นอ กั ษร ง. นกั จดั รายการวทิ ยุ 3. อาชีพใดท่ีตอ งอาศัยความสามารถในการพูดและตอ งมบี คุ ลกิ ภาพท่ีดี ก. พิธกี ร ข. นักเขียนบทโทรทศั น ค. ผสู อ่ื ขา วหนงั สือพิมพ ง. นกั โฆษณา - ประชาสัมพนั ธ 4. อาชีพใดทต่ี องมคี วามสามารถในการเขียนเปนพเิ ศษ ก. พธิ กี ร ข. นกั เขยี น ค. บรรณาธิการ ง. นกั จดั รายการวทิ ยุ 5. การศึกษาในสาขาใดทําใหส ามารถประกอบอาชพี ท่ใี ชภาษาเพ่อื การสอ่ื สารมวลชนได ก. ครุศาสตร ข. ศลิ ปะศาสตร ค. นเิ ทศศาสตร ง. อกั ษรศาสตร

179 เฉลยแบบฝกหัด บทท่ี 1 เรอ่ื งการฟง การดู กิจกรรมที่ 1 ใหผ เู รียนตอบคาํ ถามตอ ไปนี้ 1.1 การฟงและการดู หมายถงึ การที่มนษุ ยร ับรเู รอ่ื งราวตาง ๆ จากแหลง ของเสียงหรือภาพ หรือเหตุการณซึ่งเปนการฟงจากผูพูดโดยตรง หรือฟงและดูผานอุปกรณหรือส่ิงตาง ๆ แลวเกิด การรบั รูและนําไปใชประโยชนไ ดโ ดยตอ งศึกษาจนเกดิ ความถูกตอง วองไว ไดป ระสทิ ธิภาพ 1.2 จดุ มงุ หมายของการฟง และการดู 1. ฟง เพื่อจับใจความสําคัญไดวาเรื่องท่ีฟงนั้นเปนเรื่องเกี่ยวกับอะไร เกิดข้ึนท่ีไหน เมื่อไร หรอื ใครทาํ อะไรทีไ่ หน เม่อื ไร 2. ฟง เพ่ือจับใจความโดยละเอียด ผูฟงตองมีสมาธิในการฟง มีการบันทึกยอ เพ่ือชวย ความจํา 3. ฟงและดู เพ่ือความเพลิดเพลิน ไดแก การฟงเพลง ฟงดนตรี ดูภาพยนตร ดูภาพ สวยงาม ฟง นทิ าน เปนตน กจิ กรรมที่ 3 เลอื กคาํ ตอบทีถ่ ูกตองทส่ี ุดเพียงคําตอบเดยี ว 1. ก 2. ง 3. ค 4. ข 5. ก เฉลย บทท่ี 2 การพดู กจิ กรรมที่ 1 ใหผูเรยี นเลือกคาํ ตอบทถี่ ูกทส่ี ดุ เพียงขอเดียว 1. ง 2. ข 3. ข 4. ค 5. ค กิจกรรมท่ี 2 ใหผ เู รยี นยกตัวอยา งการกระทําทไี่ มม ีมารยาทในการพูดมา 5 ตัวอยา ง 1. พดู ใหรา ยผอู ื่น 2. พดู หยาบคาย 3. พูดยกตนขม ทา น 4. พูดดดุ นั พดู เสียงดัง 5. พูดไมถกู กาลเทศะ

180 เฉลย บทที่ 3 การอาน กิจกรรมท่ี 1 1. การอา นในใจมจี ุดมุง หมาย คือ 1) จบั ใจความไดถ ูกตอ งรวดเร็ว 2) เกิดความรู ความเขา ใจ และความคดิ 3) ใชเวลาวางใหเ ปนประโยชน 4) ถา ยทอดความรใู หผ ูอ นื่ ได 2. การอานออกเสียงมีหลกั การ 1) ออกเสยี งถูกตอ งชัดเจน 2) เสยี งดังใหผ ูฟ ง ไดยนิ 3) เปน เสยี งพดู โดยธรรมชาติ 4) เขาถงึ ลักษณะของเนือ้ เรอ่ื ง 5) รูจกั ทอดจงั หวะและหยดุ หายใจ 3. จงยกตวั อยา งการอา นออกเสียงท่ีเปน ทางการ คือ การอานในชน้ั เรียน อานในที่ประชมุ อา นรายงาน อา นคําปราศรัย อานสารในโอกาสทสี่ ําคญั ตาง ๆ กิจกรรมท่ี 2 การนําขอความหรอื ประโยคที่เปน หวั ใจของเร่ืองออกมา กิจกรรมท่ี 3 วิทยุ โทรทศั น เทปเสียง วีดทิ ศั น ซีดี คอมพวิ เตอร อนิ เทอรเนต็ กิจกรรมที่ 4 การอานเพอ่ื การวิเคราะหวจิ ารณ เปน การอธบิ ายลกั ษณะของงานเขียน โดยแยกแยะ รายละเอียดสิง่ ทสี่ าํ คัญของงานเขียนนั้นออกมาใหเ ดนชดั เพือ่ ชีใ้ หเหน็ สว นทง่ี ดงาม หรอื จดุ บกพรอง ทแ่ี ฝงอยเู พอ่ื ใหเห็นคณุ คา ของหนังสือเลม นัน้ การวจิ ารณห นงั สือ เปน การหาความรปู ระเภท และลกั ษณะของงานเขียนเรือ่ งน้นั ๆ ใหเ ขาใจ กอนวิจารณ มีการแยกประเด็นขอดี ขอบกพรองที่ควรนํามากลาวถึงไวตางหากใหชัดเจน และเปรียบเทียบกบั ผลงานของนักเขียนทีเ่ ขียนเรือ่ งในแนวเดยี วกนั กจิ กรรมท่ี 5 มารยาทในการอา น มดี ังน้ี 1. ไมอา นออกเสียงดังในทที่ ีต่ อ งการความสงบ 2. ไมท าํ ลายหนังสือ โดยขูด ขดี พบั หรอื ฉกี สวนท่ตี องการ 3. ไมควรอา นเรอื่ งทเ่ี ปนสว นตวั ของผอู นื่ 4. อา นอยางตัง้ ใจ มีสมาธิ และไมทาํ ลายสมาธิผูอ่นื 5. เม่ืออา นหนงั สือเสรจ็ แลวควรเก็บหนังสอื ไวท ี่เดิม

181 เฉลย บทท่ี 5 หลักการใชภ าษา กิจกรรมท่ี 1 แยกคําตอไปน้ตี ามตาราง คาํ ประสม ผลไม พลเรือน นพเกา คาํ สมาส รฐั บาล ศลิ ปกรรม รูปธรรม มหาชน อคั คีภยั พระเนตร พทุ ธกาล คหกรรม ภมู ิศาสตร คําสนธิ วิทยาลัย สญั ญาณ นโยบาย กิจกรรมที่ 2 ใหผูเ รยี นพิจารณาประโยคตอ ไปน้ีวาเปน ประโยคชนิดใด 1. ประโยคความเดยี ว 2. ประโยคความซอ น 3. ประโยคความเดยี ว 4. ประโยคความรวม 5. ประโยคความเดียว กิจกรรมที่ 5 จบั คูสํานวนใหตรงกบั ความหมาย 5. ก 6. ญ 1. ฒ 2. ฉ 3. ซ 4. จ 11. ฎ 12. ช 7. ฐ 8. ฑ 9. ณ 10. ข กิจกรรมที่ 6 เขียนคาํ พงั เพยใหตรงกับความหมาย 1. ราํ ไมดโี ทษปโ ทษกลอง 2. มือไมพายเอาเทา ราน้ํา 3. ขี่ชา งจับตกั๊ แตน 4. ฟนฝอยหาตะเข็บ 5. กระเชอกนั รวั่ กจิ กรรมท่ี 7 1. กลอนสุภาพ 2. กาพยย านี 11

182 เฉลย บทที่ 6 วรรณคดีและวรรณกรรม 1. การพนิ ิจ หมายถงึ การพจิ ารณาตรวจสอบ พรอมทัง้ วเิ คราะหแ ยกแยะและประเมินคาได 2. หลกั เกณฑใ นการพนิ ิจวรรณคดีและวรรณกรรม 1) ความเปนมาหรือประวัตหิ นังสอื และผแู ตง 2) ลกั ษณะคําประพันธ 3) เรอื่ งยอ 4) เนอ้ื เร่ือง 5) แนวคดิ จดุ มุง หมาย 6) คุณคาของวรรณคดแี ละวรรณกรรม 3. เพลงพื้นบาน หมายถงึ เพลงทีเ่ กดิ จากคนทอ งถน่ิ ตา ง ๆ ท่คี ิดรปู แบบการเลน ทว งทาํ นอง ภาษาเรียบงายไมซ ับซอ น 4. เพลงพื้นบาน จะแบงเปนภาคตามภูมิศาสตร คือ เพลงพ้ืนบานภาคกลาง เพลงพ้ืนบาน ภาคเหนอื เพลงพื้นบานภาคใต และเพลงพื้นบานภาคตะวันออกเฉยี งเหนือ 5. – 6. 1. ข 2. ก 3. ข 4. ก 5. ค 6. ค 7. ค 8. ค 9. ง 10. ง เฉลย บทท่ี 7 ภาษาไทยกับชอ งทางการประกอบอาชีพ กิจกรรมท่ี 1 ใหผูเ รียนสรปุ คุณคา ของภาษาไทยมาพอสงั เขป คณุ คาของภาษาไทยมีหลายประการ ดงั นี้ 1. คณุ คา ทางวฒั นธรรม ภาษาไทยเปน ภาษาทมี่ ีทง้ั ภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งเขียนโดยใช ตัวอักษรของไทยที่ประดิษฐข้ึนใชเองโดยพอขุนรามคําแหงมหาราชในสมัยสุโขทัย ซึ่งการที่ชาติใด ก็ตามมีอักษรในภาษาใชเองได แสดงวาชาติน้ันเปนชาติที่มีวัฒนธรรมสูง มีความเจริญ จึงมีอักษร ในภาษาใชเ อง และถอื เปน มรดกทางวัฒนธรรมที่ใชสบื ทอดมาจนทุกวันน้ี 2. เปนเครื่องมือในการติดตอสื่อสารของคนในชาติ เพราะประเทศไทยมีวัฒนธรรมและ ภาษาถิ่นแตกตางกันใน 5 ภูมิภาค โดยมีภาษาไทยภาคกลางเปนภาษาเพื่อการสื่อสารของคน ทั้ง 5 ภูมิภาค เปน ภาษาราชการ

183 3. เปนเครอ่ื งมือในการเรียนรแู ละแสวงหาความรู ในการเรยี นรวู ชิ าอื่น ๆ หรอื เรื่องราวตา ง ๆ ตองอาศยั ภาษาไทยภาคกลาง ซึ่งบางครง้ั เรียกภาษามาตรฐาน เปน ภาษาในการเรยี นรูว ชิ าอ่ืน ๆ ทั้งการ อานและการเขยี น 4. เปน เครอื่ งมอื ในการสรางความเขาใจอันดีตอ กันของคนในทกุ ภมู ภิ าค 5. เปนเคร่ืองมือในการสรางเอกภาพของชาติ เพราะภาษาไทยภาคกลางเปนภาษาที่ใช ในการสื่อสารความเขาใจของคนในภูมิภาคตาง ๆ ซึ่งเปนสื่อรวมใจใหคนไทยในแตละภาค ไดติดตอ สือ่ สารแลกเปล่ียนความรู ขาวสาร ขอมูล และการแลกเปล่ยี นวฒั นธรรม ทําใหตระหนักระลึก ถึงความเปน เช้อื ชาตเิ ผาพนั ธุเดยี วกัน 6. เปน เคร่อื งจรรโลงใจ ภาษาไทยเปนภาษาดนตรี มเี สยี งวรรณยกุ ต 5 เสยี ง ทําใหภาษาไทย มเี สยี งสูง ตา่ํ ไพเราะ เม่ือนํามาแตงเปนคําประพนั ธ ไมวาจะเปน โคลง ฉันท กาพย กลอน จึงกอใหเกิด ความจรรโลงใจ ความบันเทิงใจ กิจกรรมที่ 2 ใหผ ูเรยี นตอบคาํ ถามตอไปนีส้ ้ัน ๆ ใหไ ดใจความ 1. ภาษาไทยเปนมรดกทางวัฒนธรรมอยางไร ภาษาไทยเปนภาษาทีม่ อี กั ษรเปนของตนเอง ท้ังภาษาพูด และภาษาเขียน ซึ่งชาติที่สามารถ ประดิษฐอักษรในภาษาใชเองได มีแตชาติที่มีความเจริญทางวัฒนธรรมเทานั้น จึงจะมีอักษรในภาษา เปนของตนเองและคนไทยไดใชสบื ทอดมาจนทุกวันน้ี 2. ภาษาไทยกอใหเกิดความจรรโลงใจไดอยางไร ภาษาไทยเปนภาษาทมี่ วี รรณยุกตเ พอ่ื ผันใหคําในภาษามเี สยี งสูง ตา่ํ ไดถ ึง 5 เสยี ง ทําให ภาษาไทยเปน ภาษาดนตรี เมอ่ื นํามาแตงเปนคําประพนั ธทง้ั รอ ยแกว และรอ ยกรอง ทําใหไดอ รรถรส ของภาษา กอใหเ กดิ ความสนกุ สนาน เพลดิ เพลินจรรโลงใจแกผ ูอาน 3. อาชพี ใดตองอาศัยการพูดเปน ชองทางในการประกอบอาชพี อาชพี พิธกี ร อาชพี นักโฆษณา - ประชาสมั พันธ อาชีพนกั รายการวทิ ยุ - โทรทศั น 4. อาชพี ใดตองอาศัยการเขยี นเปน ชองทางในการประกอบอาชพี อาชีพกวี นักเขยี น ท้งั เขียนนวนยิ าย เรือ่ งสั้น บทละคร นกั เขียนสารคดี 5. ความรแู ละทักษะเร่อื งใดบา งทีผ่ ปู ระกอบอาชพี พิธีกรตองเรียนรูและฝก ฝนเพมิ่ เติม 1. ศิลปะการพดู และศลิ ปะการเขยี น 2. ระดับของภาษา 3. เร่ืองของนาํ้ เสยี งในภาษา 4. เร่ืองของหลักการใชภาษา 5. เร่อื งของการพฒั นาบุคลกิ ภาพและการแตง กาย 6. การพฒั นาองคค วามรูในตนเอง กจิ กรรมที่ 3 1. ก 2. ง 3. ก 4. ข 5.ค

184 บรรณานุกรม การศกึ ษานอกโรงเรยี น, กระทรวงศกึ ษาธิการ, หมวดวชิ าภาษาไทย (สองระดบั ) ชุดท่ี 1 การรบั สารดว ย การอา น และการฟง ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน หลักสูตร การศกึ ษานอกโรงเรยี น กรงุ เทพฯ โรงพมิ พครุ ุสภา 2541 การศึกษานอกโรงเรยี น กทม : ชุดการเรยี นทางไกล หมวดวิชาภาษาไทย ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน โรงพมิ พคุรสุ ภา, 2546 กรมการศกึ ษานอกโรงเรียน, กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. แบบเรยี นวิชาภาษาไทย (วชิ าบงั คับ) ตอนท่ี 2 ภาษาไทยเพ่ือพัฒนาการสง สารตามหลกั สตู รการศกึ ษานอกโรงเรยี น ระดบั มธั ยมศึกษาตอนตน พุทธศักราช 2530 กรมการศกึ ษานอกโรงเรยี น, กระทรวงศึกษาธกิ าร. หนังสืออา นเพิ่มเติม วชิ าภาษาไทย (วิชาบงั คับ) ตอนท่ี 1 ภาษาไทยเพอื่ พัฒนาการรับสาร หลกั สตู รการศกึ ษา นอกโรงเรยี น ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน พทุ ธศกั ราช 2530 กรมการศกึ ษานอกโรงเรียน, กระทรวงศึกษาธกิ าร. แบบเรียนภาษาไทย (วิชาเลือก) ตอนท่ี 2 ศลิ ปศกึ ษาตามหลักสตู รการศกึ ษานอกโรงเรยี น ระดบั มธั ยมศกึ ษา ตอนตน พุทธศักราช 2530 โรงพมิ พค รุ สุ ภาลาดพราว 2540 กรมการศกึ ษานอกโรงเรยี น, กระทรวงศกึ ษาธกิ าร. หมวดวชิ าภาษาไทย (วิชาบงั คับ) ชุดท่ี 3 การพูด ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน หลักสตู รการศึกษานอกโรงเรยี น พิมพครัง้ ท่ี 2 พ.ศ.2539. กรมการศึกษานอกโรงเรยี น, กระทรวงศึกษาธกิ าร. ชดุ วชิ าภาษาไทย หมวดวชิ าภาษาไทย ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน โรงพมิ พครุ สุ ภาลาดพรา ว 2546 ณัฐยา อาจมงั กร, ภาษาไทย ระดับมัธยมศกึ ษาตอนตน หลกั สูตรการศกึ ษาข้นั พ้ืนฐาน พุทธศักราช 2544 สามเจรญิ พาณิชย การพิมพ (กรงุ เทพฯ) จํากดั 2548 ประพันธ เรืองณรงค กลมุ สาระการเรียนรู ภาษาไทยชวงช้ันท่ี 3 ม.1 - 3 (เลม 1) กรุงเทพฯ : ประสานมติ ร 2545. ประพนธ เรอื งณรงค รศ. และคณะ ชุดปฏริ ูปการเรยี นรู กลุมสาระการเรียนรูภ าษาไทย ชว งชน้ั ท่ี 3 ม.1 - ม.3 วราภรณ บํารงุ กลุ อานถูก - สะกดถูก - คํา - ความหมาย - ประโยค.กรงุ เทพฯ : ตนออ 2536.252 หนา . ศกึ ษาธิการ, กระทรวง. หมวดวชิ าภาษาไทย (วิชาบงั คับ) ชุดที่ 5 ภาษาพาสนกุ ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน หลักสูตรการศกึ ษานอกโรงเรียน กรุงเทพฯ คุรุสภา 2538. สํานักงาน กศน. จังหวัดปราจนี บุรี.ชุดวชิ าภาษาไทย.ระดบั มัธยมศึกษาตอนตน โรงพิมพครุ สุ ภา 2546 อมั รา บญุ าทิพย และบุปผา บุญาทิพย, ภาษาไทย 1 กรงุ เทพ : ประสานมิตร, 2540

185 หลกั สูตรการศึกษานอกระบบระดบั การศึกษาขน้ั พนื้ ฐาน พุทธศักราช 2551 รายชื่อผเู ขารว มประชุมปฏบิ ตั ิการพฒั นาหนังสือเรยี นวิชาภาษาไทย ระหวางวันที่ 10 – 13 กมุ ภาพันธ 2552 ณ บา นทะเลสีครีมรีสอรท จังหวดั สมุทรสงคราม 1. นางสาวพมิ พใจ สทิ ธสิ รุ ศกั ด์ิ ขา ราชการบํานาญ 2. นางพมิ พาพร อนิ ทจักร สถาบนั กศน. ภาคเหนือ 3. นางกานดา ธวิ งศ สถาบนั กศน. ภาคเหนือ 4. นายเริง กองแกว สาํ นักงาน กศน. จงั หวดั นนทบุรี รายช่อื ผูเขา รว มประชุมบรรณาธิการหนังสอื เรียนวิชาภาษาไทย คร้ังท่ี 1 ระหวา งวนั ที่ 7 – 10 กนั ยายน 2552 ณ โรงแรมอทู องอนิ น จงั หวดั พระนครศรีอยธุ ยา 1. นางสาวพิมพใจ สทิ ธิสุรศกั ดิ์ ขา ราชการบาํ นาญ สํานกั งาน กศน. จงั หวัดนนทบุรี 2. นายเรงิ กองแกว กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน 3. นางนพรตั น เวโรจนเสรวี งศ คร้งั ที่ 2 ระหวางวันท่ี 12 – 15 มกราคม 2553 ณ โรงแรมอทู องอนิ น จงั หวดั พระนครศรีอยุธยา 1. นางสาวพมิ พใจ สทิ ธิสุรศักดิ์ ขา ราชการบาํ นาญ สํานักงาน กศน. จงั หวดั นนทบุรี 2. นายเริง กองแกว กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 3. นางนพรตั น เวโรจนเสรีวงศ

186 คณะผจู ดั ทาํ ท่ปี รกึ ษา จรี วฒุ ิ เลขาธิการ กศน. อม่ิ สุวรรณ รองเลขาธกิ าร กศน. 1. นายอภิชาติ จําป รองเลขาธกิ าร กศน. 2. ดร.ชัยยศ แกว ไทรฮะ ทปี่ รกึ ษาดานการพฒั นาหลักสูตร กศน. 3. นายวัชรินทร ตณั ฑวฑุ โฒ ผูอํานวยการกลมุ พัฒนาการศึกษานอกโรงเรยี น 4. ดร.ทองอยู 5. นางรักขณา คณะทํางาน กลุมพฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 1. นายสรุ พงษ ม่นั มะโน กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 2. นายศุภโชค ศรรี ตั นศิลป กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน 3. นางสาววรรณพร ปท มานนท กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน 4. นางสาวศริญญา กลุ ประดษิ ฐ 5. นางสาวเพชรินทร เหลอื งจติ วัฒนา ผพู มิ พต น ฉบับ 1. นางปยวดี คะเนสม กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน 2. นางสาวเพชรนิ ทร เหลืองจติ วัฒนา กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 3. นางสาวกรวรรณ กววี งษพพิ ฒั น กลุม พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน 4. นางสาวชาลีนี ธรรมธษิ า 5. นางสาวอรศิ รา บานชี ผอู อกแบบปก ศรรี ัตนศลิ ป กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรยี น นายศุภโชค

187 รายช่ือผเู ขา รวมประชุมปฏิบตั กิ ารปรบั ปรุงเอกสารประกอบการใชห ลกั สตู ร และสื่อประกอบการเรียนหลกั สูตรการศกึ ษานอกระบบระดบั การศกึ ษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศกั ราช 2551 ระหวางวันท่ี 4 – 10 พฤศจกิ ายน 2554 ณ โรงแรมมริ ามา กรงุ เทพมหานคร สาระความรูพ้ืนฐาน (รายวิชาภาษาไทย) ผูพ ัฒนาและปรับปรงุ หนว ยศึกษานิเทศก ประธาน 1. นางอัชราภรณ โควคชาภรณ หนวยศกึ ษานเิ ทศก 2. นางเกลด็ แกว เจริญศกั ดิ์ กลมุ พฒั นาการศึกษานอกโรงเรียน เลขานุการ 3. นางนพรตั น เวโรจนเ สรวี งศ ผูชวยเลขานุการ กลมุ พฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรียน 4. นางสาวสมถวลิ ศรจี นั ทรวโิ รจน กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกโรงเรยี น 5. นางสาววันวสิ าข ทองเปรม

188 คณะผปู รบั ปรงุ ขอ มูลเก่ียวกบั สถาบนั พระมหากษตั ริย ป พ.ศ. 2560 ที่ปรึกษา จาํ จด เลขาธิการ กศน. หอมดี ผตู รวจราชการกระทรวงศึกษาธกิ าร 1. นายสรุ พงษ ปฏิบัตหิ นา ทีร่ องเลขาธกิ าร กศน. 2. นายประเสริฐ สุขสเุ ดช ผอู าํ นวยการกลมุ พฒั นาการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอธั ยาศยั 3. นางตรีนุช ผปู รบั ปรุงขอมูล นางสาวสุลาง เพ็ชรสวา ง กลุม พฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย คณะทาํ งาน 1. นายสรุ พงษ ม่นั มะโน กลุมพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย กลุมพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศยั 2. นายศุภโชค ศรีรัตนศิลป กลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศยั กลุมพฒั นาการศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั 3. นางสาวเบญ็ จวรรณ อําไพศรี กลุม พัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั กลมุ พัฒนาการศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอธั ยาศัย 4. นางเยาวรัตน ปนมณีวงศ กลุมพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุมพฒั นาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัย 5. นางสาวสุลาง เพช็ รสวาง 6. นางสาวทิพวรรณ วงคเรือน 7. นางสาวนภาพร อมรเดชาวฒั น 8. นางสาวชมพนู ท สังขพชิ ัย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook