เรือนไทย 4 ภาค
เรือนไทยภาคเหนือ ลักษณะเรือนไทยภาคเหนือ เรือนไทยภาคเหนือ เป็นเรือนยกใต้ถุนสูง เพราะดินฟ้าอากาศในฤดูหนาวหนาว ทํา ให้ลักษณะเฉพาะทางรูปทรงหลังคา และสัดส่วนของ เรือนเตี้ยคลุ่มมากกว่าภาคอื่น และเจาะช่องหน้าต่างแคบๆ เล็กๆ กันลมหนาว การจัดกลุ่ม อาคาร และการวางแปลนห้องต่างๆ มีความสมดุล แบบสองข้างไม่เหมือนกัน และเชื่อมต่อเรือน เหล่านั้นด้วยชานอย่างหลวมๆเรือนทุกรูปแบบมีควากลมกลืนกับธรรมชาติ ความเชื่อภาคเหนือ ก่อนจะปลูกเรือน จะต้องดูฤกษ์ เพราะเชื่อกันว่า หากปลูกเรือนใน \"มื้อจัน วันดี\" คือ ฤกษ์ ที่เหมาะสมแล้วผู้อาศัยย่อมมีความสุขความเจริญ ชาวล้านนาเชื่อว่าผีบรรพบุรุษมีส่วนดลบันดาล ความสุขสวัสดีให้แก่ลูกหลาน หากลูกหลานไม่ปฏิบัติตาม \"ฮีตฮอย\" (จารีต) ที่บรรพบุรุษวางไว้ ย่อมเกิดความวิบัติ ซึ่งถือว่าเป็นการ \"ผิดผี\" การนับถือผีดังกล่าวนี้มีบทบาทสําคัญต่อการแบ่ง เนื้อที่ภายในเรือนพักอาศัย อย่างชัดเจน \"ผีปู่ย่า\" เป็นผีบรรพบุรุษของแต่ละตระกูล ชาวล้านนาเชื่อว่าสิงสถิตอยู่ภายในบ้าน เรือน บางครั้งก็เรียกว่า \"ผีเรือน\" ผีปู่ย่านี้จะคุ้มครองเครือญาติในกลุ่มตระกูลเดียวกันเท่านั้น กลุ่มตระกูลที่มีผีปู่ย่าเดียวกันเรียกว่า \"ถือผีเดียวกัน\" ที่สิงสถิตของผีปู่ย่าอยู่ที่ศาล หรือ \"หอผี\" ตั้งอยู่ในที่ดินด้านหัวนอนในหอผี วางเครื่องบูชาอัน ได้แก่ ขัน ดอกไม้ ธูป เทียน เชี่ยนหมาก นํา ต้น (คนโทนํา)บ้านที่มีหอผีเรียกว่า \"บ้านเก๊าผี\" เป็นบ้านของหญิงในตระกูลที่อาวุโสที่สุด เมื่อ คนในตระกูลแยกออกไปตั้งเรือนเป็นครอบครัวใหม่ก็จะแบ่งเอาผีไปด้วย ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิอากาศทางภาคเหนือหนาวเย็นพื้นที่ส่วนใหญ่ล้อมไปด้วยหุบเขา ทำให้บ้านเรือนไทยภาคเหนือ ถูกออกแบบให้มีลักษณะมิดชิดเพื่อกันลมหนาว ผสมผสานกับความเชื่อ และวัฒนธรรมในท้องถิ่น ทำให้เกิดเป็นโครงสร้าง สถาปัตยกรรมแบบง่ายๆใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นแบบวัฒนธรรมล้านนาซึ่ง ลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ข้างต้น ทําให้เกิดการตั้งถิ่นฐานขึ้น 2 แบบคือ 1. ที่ดอนบนดอย หรือทิวเขา เป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ ทําการกสิกรรม แบบไร่ เลื่อนลอย เป็นต้น 2.บนที่ราบลุ่ม เป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมล้านนาการตั้งถิ่นฐานทางภาคเหนือนี้ เริ่มตั้งแต่เรือนหลังเดียวในเนื้อที่หุบเขาแคบ จนถึงระดับหมู่บ้านและเมืองเป็นต้น
เรือนไทยภาคอีสาน เรือนในสำเนียงอีสานเรียก “เฮือน” เฮือนถาวรในภาคอีสานมี 3 รูปแบบเด่น ๆ คือ 1.เฮือนเกย เป็นเฮือนเดี่ยว แต่ยื่นขยายชายคาหลังคาด้านหนึ่งยาวออกไปคลุมพื้นที่ใช้สอย ส่วนที่ ยื่นออกไปนี้เรียกว่า “เกย” 2.เฮือนแฝด เป็นเฮือนหลังคาทรงจั่วสองเรือนสร้างชิดกัน และใช้โครงสร้างร่วมกัน โดยมีเฮือนหนึ่งเป็นเฮือนนอน มีผนังครบทุกด้าน เรียก “เฮือนใหญ่” อีกเฮือนอาจมี ผนัง 3 ด้าน ใช้เชื่อมระหว่างชานภายนอกกับเฮือนนอน 3.เฮือนโข่ง คล้ายเฮือนแฝด แต่แยกโครงสร้างออกจากกัน ทำให้เกิดช่องทางเดินตรงกลาง เชื่อมต่อพื้นที่ โดยสามารถรื้อแยกเฮือนโข่งไปปลูกในที่ใหม่ได้เฮือนอีสานมักมีเฮือนไฟเป็นส่วน ทำครัวแยกออกไปต่างหาก มีหลังคาลาดชันน้อยกว่าภูมิภาคอื่น ๆ และมักพบลายตะเว็น (ตะวัน) ประดับตามความเชื่อ ความเชื่อภาคอีสาน คนอีสานนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ คือ ผีปู่ตา และผีฟ้า คือ แถน ควบคู่ไป กับการนับถือพระพุทธศาสนา ฉะนั้นในแต่ละหมู่บ้านทางภาคอีสาน จะต้องมี \" ดอนปูตา \" ซึ่งเป็นที่ดอนมีต้นไม้ใหญ่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนัก ตั้งศาลเรียกว่า \"ตูบ\" เสาขึ้นเพื่อเป็นที่สถิตของบรรพบุรุษ กลางหมู่บ้านก็จะต้อง \" หลักบ้าน\" เป็นเสาไม้ มงคลมีเสาเอกและเสาบริวารเป็นที่สิงสถิตของเทพารักษ์ เพื่ออารักขาให้หมู่บ้านอยู่ดี มีสุข และจะมีพิธีเซ่นสรวงในเดือน 7 เรียก บุญชำฮะ การถือฤกษ์ยามในการปลูกเรือน ในเดือนยี่ เดือนสี่ เดือนหก เดือนเก้า เดือนสิบสอง ถือเป็นฤกษ์ที่ดีในการปลูกเรือน โดยเฉพาะในเดือนหกและเดือนเก้าทำเลการปลูกเรือน ทำเลที่เหมาะในการปลูกเรือน เช่น รูปดวงจันทร์ รูปมะนาวตัด รูปเรือสำเภา และรูปสี่เหลี่ยมคางหมู หากเป็นแผ่น ดินที่สูงทางใต้ ต่ำทางเหนือ เป็นที่ ไชยะ แผ่นดินที่สูงทางตะวันตก ต่ำทางตะวันออก เป็นที่ยะสะศรีแผ่นดินที่สูงทางพายัพ ต่ำทางทักษิณ เป็นที่ สะศรีถือว่าเป็นทำเลที่ดี
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ การตั้งบ้านเมืองในภูมิภาคอีสานตั้งแต่สมัยโบราณ มักเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่ม อันมีแม่น้ำสำคัญๆ เช่น น้ำโขง น้ำมูล น้ำชี น้ำพอง เป็นต้น นอกจากนี้ก็อาศัย ตามริมหนองบึง ถ้า พื้นที่ใดเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ก็ขยับ ขยายไปอยู่ บนโคกเนิน เป็นส่วนใหญ่ การตั้งหมู่บ้าน เรือนจะ กระจุก รวมตัวกัน เรือนไทยภาคกลาง 1.เรือนเดี่ยว เป็นเรือนสำหรับครอบครัวขนาดเล็กมีเรือนนอนหนึ่งหลังแยกกับเรือนครัวและเชื่อมด้วยชาน 2.เรือนหมู่ เป็นเรือนหลายหลังเชื่อมต่อกันด้วยชาน ประกอบด้วยเรือนหลักของพ่อแม่ และเรือน นอนของลูกที่แต่งงานแล้ว ซึ่งอาจปลูกเพิ่มไว้ด้านหน้า หรือหากเป็นเรือนของผู้มีฐานะมาก นิยมวาง ผังใหญ่โต เรียกว่า “เรือนคหบดี” นอกจาก เรือนนอน ก็มี หอกลาง ตั้งอยู่กลางชานสำหรับใช้นั่งเล่น รับแขก หรือจัดพิธี เรือนหลายหลังเชื่อมต่อกัน เป็นเรือนของผู้มีฐานะมาก วัสดุก่อสร้างเป็นเรือนไม้ เนื้อแข็ง ใต้ถุนสูง หลังคาจั่วทรงสูง อ่อนโค้ง ประดับด้านจั่ว “เหงา” หรือ “หางปลา” มีระเบียงบ้านรับ ลม ความเชื่อภาคกลาง ฤกษ์ปราบดิน คือ การหาผู้รู้หรือโหรตรวจดูที่ดิน หาฤกษ์ปราบดิน สำรวจที่ดินว่าจะเป็น โขด เป็นเนินปลวก มีหลักตอ มีขอนท่อนไม้ หรืออะไรที่แกะกะจมฝังดินอยู่บ้างหรือไม่ ถ้ามีก็ จัดการถอนทิ้งและปราบดินให้เรียบการขุดหลุม ก่อนปลูกเรือนโหรจะตรวจดูพื้นดินว่าเดือนใด นาคหันหัว และหลังไปทิศใดแล้วจึงขุดหลุมที่ตำแหน่งท้องนาค โดยคนขุดหลุมต้องหมุนหน้า เข้าหาท้องนาคเสมอ เมื่อจะขุดหลุมเสาแรกต้องทำเครื่องบัดพลีบูชาพญานาคเสียก่อนใช้ไม้ ราชพฤกษ์ และไม้อินทนิลทำด้ามเสียม สำหรับผู้ขุดให้หาคนชื่ออินท พรหม ชัย แก้ว ทำหน้าที่ ขุดหลุมให้ครบตามจำนวนที่ประมาณไว้ทำขวัญเสา เมื่อขุดหลุมเสาเสร็จ รุ่งขึ้นเป็นฤกษ์ทำขวัญ เสา และยกเสาลงหลุม โดยเริ่มงานแต่เช้าตรู่ หลังทำบัดพลีแก่เจ้าที่เจ้าทาง และสังเวยผีนางไม้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเสาเสร็จแล้ว จึงทำขวัญเสาซึ่งมี บายศรีเช่นเดียวกับพิธีทำขวัญอื่นๆ
ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ชุมชนบ้านเรือนในแถบภาคกลางเป็นสังคม เกษตรกรรม แถบพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชาวบ้านในภาคกลางจึงใช้ประโยชน์ต่างๆจากแม่น้ำ เนื่องจากภาคกลางมีภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว เกือบจะตลอดทั้งปี คนจึงนิยมปลูกบ้านริมน้ำตัวบ้านสร้างขึ้นด้วยไม้เป็นเรือนชั้นเดี่ยวแบบเรียบ ง่ายออกแบบให้ป้องกันความอบอ้าวของอากาศ ฝน และแสงแดดจ้า โดยหลังคาจะมีลักษณะเป็น ทรงสูง เพื่อให้ความร้อนจากหลังคาถ่ายเทความร้อนและทำให้น้ำฝนไหลลงจากหลังคาได้รวดเร็ว เรือนไทยภาคใต้ 1.เรือนไทยมุสลิมภาคใต้ เป็นเรือนไม้ ใต้ถุนสูง แต่ไม่ใช้ประโยชน์ใต้ถุนมากนัก มีหลังคา 3 แบบ เรียกว่า “ลีมะ” (ปั้ นหยา) “บลานอ” (มนิลา) และ “แมและ” (จั่ว) รูปแบบที่พบส่วนใหญ่ เป็นแบบบลานอ ที่น่าสนใจคือภายในเรือนมักจะเปิดโล่งต่อเนื่องถึงกันหมด รวมถึงครัวที่อยู่ หลังบ้าน กั้นเพียงห้องนอน หรือห้องละหมาดขนาดไม่ใหญ่ พื้นที่เปิดโล่ง 2.เรือนไทยพุทธภาคใต้ เป็นเรือนไม้ใต้ถุนสูงหลังคาใหญ่เป็นทรงปั้ นหยาและจั่ว ภายในมักจะกั้น ห้องอย่างมิดชิด ไม่เปิดโล่งเท่าเรือนไทยมุสลิม อย่างไรก็ตามการอยู่ภายใต้พื้นที่มรสุมที่คล้ายกัน เรือนไทยพื้นถิ่นจึงมีจุดสังเกตได้ชัด อย่างการเป็นเรือนยกใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่ว ชายคายื่นยาว มีพื้นที่ข้างนอก หรือ “ชาน” เชื่อมแต่ละเรือนเข้าด้วยกัน รวมถึงนิยมสร้างด้วยไม้และไม้ไผ่ นั่น เพราะเรามีป่าไม้เป็นวัตถุดิบใกล้ตัว รวมถึงสร้างได้ด้วยการใช้แรงงานคนจำนวนไม่มาก และใช้ เครื่องมือที่ไม่ซับซ้อน ความเชื่อภาคใต้ การเลือกที่ดินที่เป็นมงคล ให้ดูสีพื้นดินที่เป็นสีอ่อน หรือดินสีแดง สีเหลืองกลิ่นหอม รสฝาดพื้น เทลาดจากทิศใต้ลงสู่ทิศเหนือจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเจริญด้วยลาภยศบริวารอีก ประเภทคือ พื้นที่สูงทางทิศตะวันตก แล้วค่อยลาดเอียง ไปทางทิศตะวันออก ตินสะอาต หรือมีสีขาว สีเหลือง สีแตง ไม่มีกลิ่น ซึ่งจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุขปราศจากโรคภัย
ทำเลที่ไม่ให้คุณและโทษใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้การคัดเลือกเสาเรือน ภาคใต้ให้ความสำคัญกับเสาเรือนซึ่งเป็นโครงสร้างรากฐานสำคัญ เสาเอก ต้องไม่มีตำหนิ มีตา ไม่ตกน้ำมัน นำมาตกแต่ง ด้วยผ้าแดง หรือด้ายดิบสามสี (แดง เหลือง ขาว) คาดติดไว้กึ่งกลางเสาพร้อมด้วย กล้ามะพร้าว และต้นอ้อย บางท้องถิ่นใช้รวงข้าว ขวดน้ำกล้ามะพร้าว หน่อ กล้วยผูกติดกับเสา ข้อห้ามและคติอื่น ๆ การปลูกเรือนแต่ก่อนมีคติถือกันว่า ถ้าปลูก เรือน \" ขวางตะวัน \" คือ หันข้างเรือนไปทางทิศตะวันออกหรือตกไม่ดี คนอยู่จะไม่มีสุข มักเป็นเหตุให้เสียตา เพราะไปขวางหน้าตะวัน ถ้าจะ ปลูกเรือน ให้ปลูก \" ตามตะวัน\" คือ หันข้างเรือนไปทางทิศเหนือหรือทิศ ใต้ จึงจะเป็นมงคลอยู่เย็นเป็นสุขสบายดี ถ้าเนื้อที่บ้านดับแคบ ปลูก เรือนให้หันข้าง เรือนไปตามดวงตะวันไม่ได้ ก็ต้องหาทางปลุกให้เฉียง ตะวัน คือ อย่าหันทางเรือนตรงกับตะวันนักก็ใช้ได้ เช่นกัน ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ด้านสภาพภูมิอากาศของภาคใต้เป็นอาณาบริเวณที่มีอากาศร้อน ฝนตกชุกความชื้นสูงมี 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนและฤดูฝน ในฤดูร้อน อากาศจะไม่ร้อนจัดเหมือนภาคอื่น เนื่องจากได้รับการถ่ายเทความร้อน จาก ลมมรสุมทะเลที่พัดผ่านอยู่ตลอดเวลา ในฤดูฝนฝนจะตกชุก มากกว่าภาคตะวันอกกเฉียงใต้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศดัง กล่าวนี้ มีทั้งนี้เพราะได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมมรสุม อิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชน ในภาคใต้ เช่น การออกแบบรูปทรงหลังคาให้คาให้ลาดเอียงมาก เพื่อ ระบายน้ำฝนจากหลังดาการการใช้ตอม่อหรือฐานเสาแทนที่จะฝังเสา เรือนลงไปในดิน ฯลฯ
อ้างอิง รู้จักเอกลักษณ์เรือนไทย 4 ภาค. (2020). สืบค้น 2565, พฤษภาคม 07 จาก https://www.baanlaesuan.com/178487/houses/vernacular_architecture เรือนไทยภาคใต้. (2564). สืบด้น 2565, พฤษภาคม 07 จาก https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/5/b8568bb2fbclid=IwAR1K S7ToHlxuceykf บ้านเรือนไทย 4 ภาค ต่างกันอย่างไร สร้างแบบไหนดีกว่า. (2564). สืบด้น 2565, พฤษภาคม 07 จาก https://www.jorakay.co.th/blog/owner/other/how-are-thai-houses-in- 4-regions-different-which-type-is-better แบบทดสอบ เรื่องเรือนไทย 4 ภาค นายอุทัย พงค์สว่าง นางสาวนรีรัตน์ ขวานบุตร รหัสนักศึกษา 6311116031 รหัสนักศึกษา 6311116048 นางสาวพลอยสวรรค์ แก้วเสน รหัสนักศึกษา 6311116046
Search
Read the Text Version
- 1 - 7
Pages: