เส้นทางคมนาคมที่สำคัญ
ทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงแผ่นดิน คือ ทางหลวงสายหลักที่เป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่สำคัญ ที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงแผ่นดิน ที่มาของทางหลวงแผ่นดิน ในยุคสมัยเริ่มแรกของการก่อสร้างทางหลวง กรมทางหลวงนิยมที่จะนำชื่อหรือ นามของบุคคลที่มีความสำคัญในสายทางนั้นๆ มาใช้เพื่อเรียกขาน ถนนหรือ สะพาน เช่น ถนนวิภาวดีรังสิต สะพานสารสิน เป็นต้น ซึ่งต่อมาเมื่อระบบทางหลวง ได้มีการพัฒนาเป็นโครงข่ายในระดับประเทศ จึงทำให้การเรียกชื่อดังกล่าว อาจก่อ ให้เกิดการสับสนและไม่สามารถระบุพิกัด ตำแหน่ง ของสายทางนั้นได้อย่างชัดเจน และรวดเร็ว เหมาะสมกับปริมาณโครงข่ายทางหลวงที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงได้มีการ ริเริ่มนำ “ระบบหมายเลขทางหลวง” มาใช้ในการกำกับเรียกขานเพื่อแสดงที่ตั้งของ ทางหลวงในความควบคุมของกรมทางหลวง อันได้แก่ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวง แผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน มีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายอนุสาวรีย์หลักสี่–กลาง สะพานแม่น้ำสาย (เขตแดนไทย/เมียนมา) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และ เป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศ พม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ถนนมิตรภาพ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ทางหลวง สายสระบุรี–สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นหนึ่งในทางหลวง สายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย โดยสายทางเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี มุ่งเข้าสู่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ถนนสุขุมวิท ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สาย บางนา–หาดเล็ก เป็นหนึ่งในทางหลวงแผ่นดินสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย จุดเริ่มต้นที่แยกใต้ทางด่วนเพลินจิต ซึ่งเป็นทางต่อเนื่องจากถนนเพลินจิต ใน กรุงเทพมหานคร เลียบตามชายฝั่ งทะเลภาคตะวันออก และไปสิ้นสุดที่ด่าน พรมแดนในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ติดต่อกับชายแดนจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา รวมระยะทางยาวทั้งสิ้นประมาณ 488 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ถนนเพชรเกษม ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สาย กรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวง แผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มี ระยะทาง 1310.554 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดใน ประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร ระหว่างเขต บางกอกใหญ่กับเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อม ต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกอดะฮ์ ประเทศ มาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวง เอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123
คิวอาร์โค้ด แผนที่ทางหลวงแผ่นดิน
ถนนสายเศรษฐกิจ AEC เส้นทาง R3A เชื่อมโยงระหว่างจีนตอนใต้กับลาวและไทย โดยมีจุดเริ่มต้นที่คุนหมิง มายังโมฮาน บ่อเต็น และห้วยทรายของลาว เข้าเขตไทยที่ อ. เชียงของ และสิ้นสุดที่ กรุงเทพฯ ปัจจุบัน R3A นับว่าเป็นเส้นทางที่คับคั่งไปด้วยการจราจรมากที่สุดเส้นหนึ่ง ภาย หลังจากที่สะพานมิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2556 เส้นทาง R3B มีจุดเริ่มต้นที่นครคุนหมิงเช่นเดียวกับ R3A แต่ผ่านเข้ามาทางเมีย นมาที่ท่าขี้เหล็กแล้วเข้าไทยที่เขต อ. แม่สาย จ.เชียงราย และมีปลายทางที่กรุงเทพฯ เส้นทาง R5 มีจุดเริ่มต้นจากเมืองหนานหนิงในมณฑลกว่างสีของจีน มายังเมืองฮานอย และท่าเรือไฮฟองของเวียดนาม สำหรับจังหวัดของไทยตามแนวเส้นทางเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ มี 13 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ ตาก กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ พิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา และกรุงเทพฯ เส้นทาง R8 มีจุดเริ่มต้นที่ จ. บึงกาฬ เข้าเขตปากซันของลาว ผ่านเมืองวิงห์ มุ่งสู่กรุง ฮานอยของเวียดนาม และไปสิ้นสุดที่กว่างซี เส้นทาง R9 มีจุดเริ่มต้นที่เมาะลำไยไปที่เมียวดีเข้าเขตไทยที่ อ. แม่สอด จ. ตากเชื่อม ไปยังพิษณุโลกขอนแก่นมุกดาหาร และต่อไปยังสะหวันนะเขตเข้าเขตเวียดนามที่เว้ และสิ้นสุดที่ดานัง เส้นทาง R12 เชื่อมโยงภาคอีสานของไทยกับมณฑลกว่างซี โดยมีจุดเริ่ม ต้นที่ จ. นครพนม เข้าเขตลาวที่แขวงคำม่วน วิ่งผ่าน จ. ห่าติ๋ง วิงห์และฮานอย ของเวียดนาม ก่อนจะไปสิ้นสุดที่กว่างซี ภายหลังการเปิดสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) เมื่อเดือน พฤศจิกายน2554 เส้นทาง สาย R12 นับว่าเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดในการขนส่งสินค้าจากไทยไปยังเขต ปกครองตนเองกว่างซี
ทางหลวงเอเชีย Asia Highway ทางหลวงสายเอเชีย หรือย่อเป็น AH เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง ประเทศในทวีปเอเชียและยุโรป และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่ง เอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) สหประชาชาติ เพื่อปรับปรุงระบบทางหลวงใน เอเชีย เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของโครงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการขนส่งทางบกของทวีปเอเชีย อนุมัติโดยคณะกรรมการเอสแคป ใน การประชุมครั้งที่ 48 ในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งประกอบไปด้วย ถนนสายเอเชีย รถไฟสายทรานส์เอเชีย (TAR) และการอำนวยความสะดวกของโครงการการ ขนส่งทางบก ที่มา https://guru.sanook.com/8014/ ทางหลวงสายเอเชีย (Asian Highway) ประกอบด้วย 2 สายหลัก คือ - สาย AH 1 เริ่มต้นจากโฮจิมินห์ซิตี้ (ในเวียดนาม) ปราจีนบุรี อยุธยา ตาก (ไทย) ย่างกุ้ง (พม่า) ธากา (บังคลาเทศ) กัลกัตตา นิวเดลี (อินเดีย) ละฮอร์ ราวัลปินดี อิสลามาบัด (ปากีสถาน) คาบูล (อัฟกานิสถาน) เตหะราน (อิหร่าน) ไปสิ้นสุดที่อังการา (ตุรกี) - สาย AH 2 เริ่มต้นจากอินโดนีเซีย ผ่านสิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย) สงขลา กรุงเทพมหานคร เชียงราย (ไทย) มัณฑะเลย์ (พม่า) รากา (บังคลา เทศ) พาราณสี นิวเดลี (อินเดีย) ละฮอร์ (ปากีสถาน) ซาฮิถาน เตหะราน ทา บริช (อิหร่าน) ไปสิ้นสุดที่ แบกแดด (อิรัก)
ทางหลวงสายเอเชีย (Asian Highway) ที่มา http://www.doh.go.th/doh/images/projectdoh/asian_network/AH2.jpg
ทางหลวงสายเอเชีย (Asian Highway) ที่มา http://www.doh.go.th/content/page/page/8075
แผนที่แสดงทางหลวงภาคเหนือ ที่มา http://www.doh.go.th/content/page/page/8075
แผนที่แสดงทางหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มา http://www.doh.go.th/content/page/page/8075
แผนที่แสดงทางหลวงภาคกลาง ที่มา http://www.doh.go.th/content/page/page/8075
แผนที่แสดงทางหลวงภาคใต้ ที่มา http://www.doh.go.th/content/page/page/8075
อ้างอิง http://www.doh.go.th/content/page/page/8075 แบบทดสอบ เรื่อง เส้นทางการคมนาคมที่สำคัญ นายอุทัย พงค์สว่าง นางสาวนรีรัตน์ ขวานบุตร รหัสนักศึกษา 6311116031 รหัสนักศึกษา 6311116048 นางสาวพลอยสวรรค์ แก้วเสน รหัสนักศึกษา 6311116046
Search
Read the Text Version
- 1 - 14
Pages: