ประเทศไทย Kingdom of Thailand งานวันอาเซียน โรงเรียนธีรธาดา พิษณุโลก วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2020 9.00 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน เป็น องค์การทางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อเรียก ชาวต่างชาติเรียกอาณาจักรอยุธยาว่า \"สยาม\" เมื่อราวปี 2000 ยอร์ช เซเดส์ นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เขียนว่ามี การพาดพิงทาสหรือเชลยศึกซีเอม (Syam) ในจารึกอาณาจักร จามปาในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ทว่าคนไทยไม่เคยเรียกตนเอง ว่า \"สยาม\" หรือ \"ชาวสยาม\" เลย ส่วนคำว่า \"คนไทย\" นั้น จดหมายเหตุลาลูแบร์ได้บันทึกไว้ชัดเจนว่า ชาวอยุธยาเรียก ตนเองเช่นนั้นมานานแล้ว เดิมประเทศไทยเคยใช้ชื่อว่า สยาม มาแต่รัชกาลพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยปรากฏใช้เป็นชื่อประเทศ ชัดเจนในปี 2399 ต่อมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2482 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ออกประกาศสำนักนายก รัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยม ฉบับที่ 1 เปลี่ยนชื่อประเทศ พร้อมกับ เรียกประชาชน และสัญชาติจาก \"สยาม\" มาเป็น \"ไทย\" ซึ่ง จอมพล ป. ต้องการบอกว่าดินแดนนี้เป็นของชาวไทยมิใช่ของ เชื้อชาติอื่นตามลัทธิชาตินิยมในเวลานั้น ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อ ประเทศกลับเป็นสยามอีกช่วงสั้น ๆ เมื่อปี 2488 และเปลี่ยน กลับมาใช้ว่าไทยอีกครั้งเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี การเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ ยังเปลี่ยนจาก \"Siam\" ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็น \"Thaïlande\" ในภาษาฝรั่งเศส และ \"Thailand\" ในภาษา อังกฤษอย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังคงเป็นที่ รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ
ต้มยำกุ้ง “ต้มยำกุ้ง” ถือเป็นเมนูแรกๆ ที่ชาวโลกพูดถึงหากมีหัวข้อเกี่ยว กับอาหารไทย โดยต้มยำนั้นถือเป็นอาหารประเภทแกง เน้นรส เปรี้ยวและเผ็ดเป็นหลัก ผสมกับความเค็มและหวานเล็กน้อย ส่วน ใหญ่แล้วคนจะรู้จักต้มยำกุ้งมากกว่าต้มยำที่ใส่เนื้อสัตว์ชนิดอื่น ต้มยำกุ้งจะมี 2 ประเภท คือ ต้มยำน้ำใส และต้มยำน้ำข้น ซึ่ง สันติ ได้ให้คำอธิบายไว้ว่า ต้มยำโบราณจริงๆ นั้นไม่ได้ใส่น้ำพริก เผาเหมือนในทุกวันนี้ และจะเป็นต้มยำน้ำใส ที่ใส่มันกุ้งให้ดู สวยงามและเพิ่มรสชาติ ในช่วงหลัง เริ่มหามันกุ้งได้ยากขึ้นเพราะคน กินเยอะ เลยประยุกต์ใส่น้ำพริกเผาลงไปแทนเพื่อให้สีสันสวยงาม และยังมีการใส่กะทิ หรือนมสด ลงไปในต้มยำในภายหลัง ถือ เป็นการดัดแปลงและพัฒนาจากน้ำใสมาเป็นน้ำข้น ส่วนความหวาน เดิมจะได้รสหวานมาจากความสดของกุ้ง แต่ปัจจุบันใส่ทั้งน้ำพริกเผา นมสด และน้ำตาล เพื่อให้ได้รสหวานมากขึ้น จนไม่ใช่รสชาติดั้งเดิม ของต้มยำกุ้ง
ดอกไม้ประจำชาติ ดอกไม้ประจำชาติไทยของเรา ก็คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) ที่มี สีเหลืองสวยสง่างาม เมื่อเบ่งบาน แล้วให้ความรู้สึกอบอุ่น ถือเป็น สัญลักษณ์ของความมีเกียรติยศ ศักดิ์ศรี ซึ่งชาวไทยหลายคนรู้จักกัน ดีในนามของ ดอกคูน โดยมีความ เชื่อว่าสีเหลืองอร่ามของดอก ราชพฤกษ์คือสีแห่งพระพุทธศาสนา และความ รุ่งโรจน์ รวมทั้งยังเป็น สัญลักษณ์แห่งความสามัคคี ปรองดองของคนในชาติอีกด้วย โดยดอกราชพฤกษ์จะเบ่งบานใน ช่วงเดือนกุมภาพันธ์–พฤษภาคม มี จุดเด่นเวลาเบ่งบานคือการผลัดใบ ออกจนหมดต้น เหลือไว้เพียงแค่สี เหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์ เท่านั้น
สัตว์ประจำชาติ ไทย คือ ช้าง ถือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมือง และมีความ สำคัญเกี่ยวข้องกับสถาบันหลักของ ประเทศ โดยเมืองไทยเรานั้น มีวิถีชีวิต ที่ผูกพันกับช้างนับเนื่องมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน ครั้งหนึ่งธงชาติไทยก็มี รูปช้างปรากฏอยู่บนผืนธงสีแดง กระทั่งในเดือนพฤษภาคม ปี พุทธศักราช 2541 คณะรัฐมนตรีใน สมัยนั้นได้มีมติเห็นชอบประกาศให้วัน ที่ 13 มีนาคมของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ ช้างไทย เพื่อให้คนไทยตระหนักถึง ความสำคัญและการดำรงอยู่ของช้าง ไทย
สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็น ชุดไทย ทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า \"ชุดไทยพระราชนิยม\" โดยชุดประจำชาติสำหรับ สุภาพบุรุษจะเรียกว่า \"เสื้อ พระราชทาน\" สำหรับสุภาพ สตรีจะเป็นชุดไทยที่ประกอบด้วย สไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้ง ตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า มีชายพก ใช้เข็มขัดไทยคาด ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บ ให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่า ข้างหนึ่ง ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชาย ด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควร ความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บ และรูปทรง ของผู้ที่สวม ใช้เครื่อง ประดับได้
สกุลเงินไทย เงินบาท (ตัวละติน: Baht ; สัญลักษณ์: ฿ ; THB) เป็นสกุลเงินตรา ประจำชาติของประเทศไทย เดิมคำว่า \"บาท\" เป็นหนึ่งในคำใช้เรียกหน่วยการ ชั่งน้ำหนักของไทย ปัจจุบันยังมีใช้ใน ความหมายเดิมอยู่บ้าง โดยเฉพาะใน การซื้อขายทองคำ
ประวัติเชิงลึก
ประวัติของ ไทยเเต่โบราณ เมื่อจักรวรรดิขแมร์และอาณาจักรพุกามเสื่อมอำนาจเมื่อต้นคริสต์ ศตวรรษที่ 13 ทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาไล่เลี่ยกัน อาณาจักรของชาวไทกินอาณาบริเวณตั้งแต่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศอินเดียปัจจุบันจนถึงทิศเหนือของลาว และลงไปถึงคาบสมุทรมลายู ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 มีประชากรชาวไทอาศัยอยู่มั่นคงในอดีตดิน แดนแกนกลางของอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรลพบุรี จนถึงดินแดน นครศรีธรรมราช แต่ไม่มีบันทึกรายละเอียดการเข้ามาของชาวไทประมาณ คริสต์ทศวรรษ 1240 (ประมาณปี 1780) พ่อขุนบางกลางหาวรวบรวม กำลังกบฏต่อเขมร และราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์สุโขทัยพระองค์แรก อาณาจักรสุโขทัยแผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุน รามคำแหงมหาราช จรดน่านและหลวงพระบางทางทิศเหนือ นครศรีธรรมราชทางทิศใต้ พุกามและมะตะบันทางทิศตะวันตกอย่างไรก็ดี อาณาเขตอันกว้างใหญ่นี้น่าจะเกิดจากการสวามิภักดิ์ของเจ้าท้องถิ่น มากกว่า นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงประดิษฐ์อักษรไทย มีเครื่องดินเผา สวรรคโลกเป็นสินค้าออกสำคัญ แต่เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลง ภายหลังการสวรรคตของพระองค์ ในรัชกาลพญาลิไท อาณาจักรรับ อิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์
อาณาจักรอยุธยาและธนบุรี อาณาจักรอยุธยากำเนิดจากลพบุรีและสุพรรณบุรีที่อยู่ใกล้เคียง พระเจ้า อู่ทองทรงก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี 1893 ในเขตเมืองอโยธยาเดิมการปกครอง ของอาณาจักรอยุธยามีลักษณะเป็นเครือข่ายราชรัฐและจังหวัดบรรณาการที่ สวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์อยุธยาตามระบบมณฑลเนื่องจากขาดกฎสืบราช สมบัติ เมื่อใดที่มีการผลัดแผ่นดินจะมีเจ้าหรือขุนนางทรงอำนาจยกทัพเข้าเมือง หลวงเพื่ออ้างสิทธิ์ทำให้เกิดการนองเลือดบ่อยครั้ง การขยายอาณาเขตช่วงแรก อาศัยการพิชิตดินแดนและการอภิเษกทางการเมือง ในปี 1912, 1931 และ 1974 อาณาจักรอยุธยายกทัพไปตีเมืองพระนคร (นครธม) เมืองหลวงของ จักรวรรดิขแมร์ ได้ทั้งสามครั้ง ทำให้อาณาจักรอยุธยาเป็นมหาอำนาจแทน จักรวรรดิขแมร์ การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้สุโขทัยตกเป็น ประเทศราชและส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาตามลำดับ สมเด็จพระบรมไตรโลก นาถทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ ซึ่งบางส่วนได้ใช้มาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาระบบศักดินา ก่อให้เกิดระบบไพร่ซึ่ง เป็นแรงงานเกณฑ์ให้ราชการปีละหกเดือน อย่างไรก็ดี การพยายามขยายอำนาจ ไปยังรัฐสุลต่านมะละกาทางใต้ และอาณาจักรล้านนาไม่ประสบความสำเร็จ อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 รัชกาลสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศถือเป็น \"สมัยบ้านเมืองดี\" ในกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ความขัดแย้งภายในติด ๆ กันหลายรัชกาล และการสงครามกับราชวงศ์คองบอง (อลองพญา) จนส่งผลให้เสียกรุงครั้งที่สองเมื่อปี 2310 ซึ่งก่อนหน้านั้นกรุง ศรีอยุธยาว่างเว้นจากศึกสงครามมากว่า 150 ปีหลังจากนั้นบ้านเมืองแตกออก เป็นก๊กเป็นเหล่ารวมทั้งสิ้น 5 ก๊ก ในปีเดียวกัน เจ้าตากได้รวบรวมไพร่พลขับไล่ พม่า และย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงธนบุรี พระองค์ทรงรวบรวมแผ่นดินให้อยู่ภายใต้ พระองค์ ด้านสงครามภายนอก กองทัพธนบุรีสามารถขับไล่พม่าออกจากล้านนา ได้ในปี 2319 และยึดกรุงเวียงจันทน์ได้ในปี 2321 อาณาจักรธนบุรีมีอายุเพียง 15 ปีและสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียว หลังเกิด ความขัดแย้งช่วงปลายรัชกาล พระองค์และพระราชโอรสทั้งหลายทรงถูกสำเร็จ โทษโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2325
ภูมิประเทศ ประเทศไทยตั้งอยู่กลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ยังอยู่บนคาบสมุทรมลายูด้วย อยู่ระหว่างละติจูด 5° ถึง 21° เหนือ และลองติ จูด 97° ถึง 106° ตะวันออก มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและ ประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวัน ตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและลาว มี แม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร เป็น อันดับที่ 51 ของโลกและอันดับที่ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจาก ประเทศอินโดนีเซียและเมียนมาร์ ประเทศไทยมีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 กว่า 323,488 ตารางกิโลเมตร มีความยาวชายฝั่งทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามันรวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่ง ทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้น 3,148 กิโลเมตร
ภูมิอากาศ ภูมิอากาศของไทยส่วนใหญ่เป็นแบบ \"ภูมิอากาศร้อนชื้นเขตร้อน หรือสะวันนา\" ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิปเปน ส่วนปลายใต้ สุดและตะวันออกสุดของประเทศมีภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ประเทศไทยมีอุณหภูมิเฉลี่ยระหว่าง 18–34 °C ประเทศไทยมี 3 ฤดูกาล ฤดูแรกเป็นฤดูฝนหรือฤดูมรสุมตะวันตกเฉียง ใต้ (กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม) ฝนตกหนักที่สุดใน เดือนสิงหาคมและกันยายน ฤดูหนาวหรือฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ พื้นที่ส่วนใหญ่ ของประเทศมีอากาศแห้งและอุณหภูมิไม่ร้อนมาก ยกเว้นภาคใต้ที่มีฝน ตกหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ส่วนฤดู ร้อนหรือฤดูก่อนมรสุมกินเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือน พฤษภาคมซึ่งมีอากาศร้อน สำหรับภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลางและตะวันออกของประเทศไทย เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคมเป็น ช่วงที่ร้อนที่สุดของปี ปกติอุณหภูมิมักสูงถึง 40 °C ยกเว้นพื้นที่ชายฝั่ง ในทางตรงข้าม การพัดของลมเย็นจากประเทศจีนทำให้อุณหภูมิต่ำลง ซึ่งบางกรณีอาจเข้าใกล้หรือต่ำกว่า 0 °C ได้ ภาคใต้มีความแตกต่าง ของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกลางคืนและระหว่างฤดูกาลน้อยเนื่องจาก อิทธิพลของทะเล
การเมืองการปกครอง พระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้า เจ้าอยู่หัวซึ่งทรงราชย์ตั้งแต่ปี 2559 ทรงถูกจำกัดพระราชอำนาจตาม รัฐธรรมนูญและมีสถานภาพเป็นประมุขแห่งรัฐในทางพิธีการ ทรงเป็นจอมทัพ ไทย กฎหมายบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และเป็นอัคร ศาสนูปถัมภก ทรงมีอำนาจแต่งตั้งรัชทายาท พระราชทานอภัยโทษ และ พระราชทานพระบรมราชานุญาต อย่างไรก็ดี พระมหากษัตริย์ยังมีการ แทรกแซงการเมืองไทยโดยตรงอยู่เป็นระยะ และรัฐธรรมนูญยังเปิดช่องให้ พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจวินิจฉัยได้ตามประเพณี พระมหา กษัตริย์เป็นที่เคารพ สักการะ และความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ถือเป็น อาชญากรรมร้ายแรงในประเทศ ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 20 ฉบับ นับเป็นประเทศที่มีรัฐธรรมนูญ มากที่สุดในทวีปเอเชีย ประเทศไทยขาดเสถียรภาพทางการเมืองสูงและมี รัฐประหารหลายครั้ง รัฐธรรมนูญมักถูกเปลี่ยนโดยผลของรัฐประหาร ประเทศไทยมีรัฐประหารมากที่สุดในโลกในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ในปี 2559 \"ประเทศไทยมีทหารหรืออดีตทหารเป็นนายกรัฐมนตรีในประเทศไทย เป็นเวลา 57 จาก 85 ปีนับแต่ล้มสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปี 2475” รัฐประหารครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2557 โดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งผลพวงจากเหตุการณ์นั้นทำให้เกิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ในทางพฤตินัย ปัจจุบันประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบ รัฐสภา อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์การเมืองระบุว่าระบอบดังกล่าวมาจากการ เลือกตั้งที่มีข้อบกพร่องและเป็นการสืบทอดอำนาจของกองทัพ รัฐธรรมนูญ ฉบับล่าสุด ระบุว่า ประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้ รัฐธรรมนูญ และปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา หรือใช้ว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เศรษฐกิจ ประเทศไทยมีเศรษฐกิจแบบผสม ประเทศไทยมีเศรษฐกิจใหญ่เป็น อันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากประเทศอินโดนีเซีย โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติจัดให้ประเทศไทยเป็น \"ผู้ประสบความ สำเร็จสูง\" ในเอเชียตะวันออก ในปี 2556 ประเทศไทยมีดัชนีการรับรู้ การทุจริตค่อนข้างต่ำ โดยอยู่อันดับที่ 102 จาก 177 ประเทศ ธนาคารโลกจัดให้ประเทศไทยเป็นประเทศมีรายได้ปานกลาง-สูงในปี 2554 ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 24 ของโลก ในปี 2556 การส่งออกเป็นสัดส่วน 74% ของจีดีพี ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนต่อจีดีพี มากที่สุดคือ 38.1% ภาคการค้าส่ง ค้าปลีกมีสัดส่วนต่อจีดีพี 13.4% ภาคการขนส่งและการสื่อสารมีสัดส่วนต่อจีดีพี 10.2% ภาคเกษตรกรรม มีสัดส่วนต่อจีดีพี 8.3%ในปี 2552–2553 ประเทศไทยส่งชิ้นส่วนและ ส่วนประกอบออก ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์เป็น สำคัญ มูลค่า 48,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 25% ของมูลค่าการส่ง สินค้าออก มีมูลค่าการนำเข้าเป็นอันดับที่ 23 ของโลก ประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ออสเตรเลีย ฮ่องกงและเกาหลีใต้ เครื่องจักรเป็นทั้ง สินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย องค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) เป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศรายใหญ่ที่สุด ของไทย
เกษตรกรรม การพัฒนาการเกษตรตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศ ในพื้นที่ชนบท อาชีพเกษตรกรรมคิดเป็น กึ่งหนึ่งของการจ้างงาน ในปี 2555 ประเทศไทยมีที่ดินเพาะปลูกได้ 165,600 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 32.3% ของพื้นที่ประเทศ ซึ่งใน จำนวนนี้กว่า 55% ใช้ปลูกข้าว ในปี 2551 ประเทศไทยส่งข้าวออกราว 10 ล้านตัน คิดเป็นประมาณ 33% ของการค้าข้าวทั่วโลก ข้าวเป็นพืชผล สำคัญสุดของประเทศ และประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งมาช้า นาน จนประเทศอินเดียและเวียดนามแซงเมื่อไม่นานนี้ ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางรายใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็นร้อยละ 40 ของยางธรรมชาติโลก พืชที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุดอื่น ได้แก่ อ้อย มัน สำปะหลัง เนื้อไก่ เนื้อหมู มะม่วง มังคุด ฝรั่ง สัปปะรด รวมทั้งพวกผลไม้เขต ร้อน กุ้ง ข้าวโพดและถั่วเหลือง ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตอาหารที่ สำคัญของโลก และเป็นผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์นมรายใหญ่สุดในอาเซียน อุตสาหกรรม บริษัทเกือบทั้งหมดของไทย กว่า 2.7 ล้านวิสาหกิจ คิดเป็นร้อยละ 99.7 จัดเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในปี 2560 SME คิดเป็นการจ้างงานร้อยละ 80.3 ของการจ้างงานทั้งหมด (13 ล้านคน) ในปี 2556 สัดส่วนต่อจีดีพีของ SME อยู่ที่ร้อยละ 37.4 มีรายงานว่า SME ร้อยละ 70 ปิดกิจการภายใน \"ไม่กี่ปี\"
การท่องเที่ยว ดูบทความหลักที่: การท่องเที่ยวในประเทศไทย ในปี 2560 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 35.38 ล้านคน จำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากเดิมที่มีชาวต่างชาติ 336,000 ราย และทหารที่เข้ามาพัก 54,000 นายในปี 2510 ประเทศที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศมากที่สุด ได้แก่ จีน มาเลเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่นและลาว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เป็นหน่วยงานส่งเสริมการท่อง เที่ยวของประเทศตั้งขึ้นในปี 2522 นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีการจัดตั้งตำรวจ ท่องเที่ยวเพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก 5 แหล่ง ได้แก่ นคร ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และ ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ประชากรในประเทศ กระทรวงมหาดไทยประมาณว่า ประเทศไทยมีประชากร 69,183,173 คน ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก แต่คาดว่าประชากรจะลดลงก่อนปี 2563 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่อัตราเจริญพันธุ์ลดลงเร็วที่สุดในโลก ระหว่างปี 2513 ถึง 2533 อัตราเจริญพันธุ์ระหว่างประเทศลดลงจาก 5.5 เหลือ 2.2 สาเหตุจากการคุมกำเนิด ขนาดครอบครัวที่ปรารถนาลดลง สัดส่วนผู้สมรสลดลง และการสมรสช้า ในปี 2552 อัตราเจริญพันธุ์รวมของ ไทยอยู่ที่ 1.5 ในปี 2553 อัตราการเกิดอย่างหยาบอยู่ที่ 13 ต่อ 1,000 คาดว่าจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 15 ภายในปี 2573จำนวนประชากรในวัยทำงานทั้งหมดจะเริ่มลดลงหลังปี 2563
ศาสนา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไม่ระบุศาสนาใดเป็นศาสนา ประจำชาติ รัฐธรรมนูญรับรองเสรีภาพในการนับถือศาสนาของพลเมือง ไทยทุกคน แต่กำหนดให้พระมหากษัตริย์ต้องนับถือศาสนาพุทธนิกาย เถรวาท กฎหมายห้ามกล่าวหมิ่นประมาทศาสนาพุทธรวมถึงพระสงฆ์ และคุ้มครองศาสนสถานและศาสนพิธีของศาสนาอื่น ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 บัญญัติว่า “รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุน การศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท และต้อง มีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธ ศาสนาไม่ว่าในรูปแบบใด\" ในช่วงปีหลังมีการเรียกร้องให้บัญญัติ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ภาษา ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาทางการ เป็นภาษาหลักที่ใช้ติดต่อ สื่อสาร การศึกษาและเป็นภาษาพูดที่ใช้กันทั่วประเทศ โดยใช้อักษรไทย เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเขียน นอกเหนือจากภาษาไทยกลางแล้ว ภาษาไทยสำเนียงอื่นยังมีการใช้งานในแต่ละภูมิภาคเช่น ภาษาไทยถิ่น เหนือ ถิ่นใต้ และถิ่นอีสาน รัฐบาลรับรอง 5 ตระกูลภาษา 62 ภาษาใน ประเทศไทย
Search
Read the Text Version
- 1 - 18
Pages: