บทท่ี 1 ภูมปิ ัญญาไทยกับปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง ตามรอยพ่อด้วยเศรษฐกจิ พอเพยี ง
2 | บ ทที่ 1 ภมู ปิ ัญญาไทยกบั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง แนวความคดิ รวบยอด ภมู ิปัญญาไทยเป็นรากฐานในการดำเนินชีวติ ของชาวบ้าน ทเ่ี กดิ จากการส่ังสมมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน “ภูมิปัญญาไทย” จึงเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เข้าใจถึงมูลเหตุแห่งการ สรา้ งสรรค์อนั ชาญฉลาด แสดงถึงความมีภูมปิ ัญญาของคนไทยในยุคสมัยหน่ึง ที่สามารถคิดคน้ สิ่งทีเ่ ป็น ระเบียบแบบแผนและมีรูปแบบที่ยอมรบั กนั ภายในสงั คม เพ่ือเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวติ อยูร่ ่วมกัน ในสงั คมน้ัน ๆ และยงั คงไวซ้ ึ่งคุณคา่ แหง่ ความงามและศลิ ปะ ถา่ ยทอดจากคนรุ่นหน่ึงไปส่อู ีกคนรุ่นหน่ึง ดว้ ยวิธีการต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่น หรืออาจกล่าวได้ว่าภูมิปัญญา ไทยได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ ความสามารถของชาวบ้านและชุมชน ในการปรับใช้วัฒนธรรมให้เป็น กระบวนการเชื่อมโยงระหวา่ งอดีตจนถงึ ปจั จุบนั ทำใหช้ าวบ้านและชุมชนในทกุ ภาคของประเทศไดป้ รับ หรือประยุกต์เอาวัฒนธรรม ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่สรรค์สร้างข้ึนมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่าง กว้างขวาง ท้ังในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ สังคม ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมของคนในชุมชน ในการ ป้องกันหรือแก้ไขปญั หา โดยยึดหลักปรชั ญาเศรษฐกิจมาปรับใช้ เพ่ือให้เขา้ ใจถึงสายกลางของชวี ิตและ เพ่ือคงไว้ซึ่งทฤษฎีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ในสังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากลในแนวทางที่ สมดุลกับสภาวะของประเทศที่ทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้โดยปราศจากการต่อต้านกระแส โลกาภิวัตน์ การพัฒนาผลติ ภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยด้วยวธิ วี ทิ ยาการวจิ ัย
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 3 1.1 บทนำ “ภูมิปัญญาไทย” นับเป็นองค์ความรู้ที่มีความสำคัญของประชาชนคนไทย อันมีรากฐานกำเนิด ขึ้นมาจากความรู้ ความคิด ความเช่ือ ความสามารถของบุคคล และได้ถูกถ่ายทอดผ่านกระบวนการ เรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่นจนกลายเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมา และเป็นภูมิปัญญาของกลุ่มชนหรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน การสั่งสมภูมิปัญญาผ่านประสบการณ์จะทำให้เกิดการพัฒนาทักษะ จนทำให้เกิด ความชำนาญที่สามารถรังสรรค์ “ผลิตภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ และข้าวของเคร่ืองใช้” ท่ีมีความต้องการ จำเป็นตามสภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรมของพ้ืนท่ีนั้น ๆ หากแต่ปัจจุบันภูมิปัญญาเหล่านั้น กำลังจะสูญหายไปพรอ้ มกับกาลเวลา การพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คติ ค่านิยมของ คนยุคใหม่ สิ่งหน่ึงท่ีจะคงความรู้เหล่านั้นไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรมถึงข้ันตอน และวิธีการสรรค์สร้างอัน เป็นหลักฐานที่ชดั เจน คอื กระบวนการวิจัย ซึ่งจะทำให้ภูมปิ ัญญาเหล่านั้นได้ถกู ถ่ายทอดสืบเนื่อง และ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของภูมิปัญญาไทยท่ีแสดงถึงอัตลักษณ์ของประเทศไทยในยุคของประชาคม เศรษฐกจิ อาเซยี น 1.2 ความหมายของภมู ิปัญญา ภูมิปญั ญา (wisdom) หมายถงึ ความรู้ ความคิด ความเช่อื ความสามารถ ความชดั เจนท่ีกลุ่มชน ได้สร้างจากประสบการณ์ท่ีส่ังสมไว้ในการปรับตัว การดำรงชีพในระบบนิเวศ หรือสภาพแวดล้อมทาง ธรรมชาติ ส่ิงแวดล้อมทางสังคม และวัฒนธรรมที่ได้มีการพัฒนาสืบสานกันมา ภูมิปัญญาเป็นผลของ การใช้สติปัญญาปรับตัวกับสภาวะต่าง ๆ ในพ้ืนท่ีที่กลุ่มชนนั้น ต้ังหลักแหล่งถิ่นฐานอยู่ และได้ แลกเปลี่ยนสังสรรค์ทางวัฒนธรรมกับกลุ่มชนอ่ืน จากพื้นที่ทสี่ ิ่งแวดลอ้ มอื่นท่ีได้มีการติดตอ่ สัมพันธ์กัน แล้วรบั เอามาปรบั เปล่ยี นนำมาสร้างประโยชน์หรือแกป้ ัญหาได้ ในสิ่งแวดล้อมและบริบททางสังคมของ วัฒนธรรมของกลุ่มชนนนั้ ภูมปิ ัญญาจึงมีทง้ั ภมู ปิ ัญญาอันเกดิ จากประสบการณใ์ นพนื้ ท่ี ภูมิปญั ญาที่เกิด จากภายนอก และภูมปิ ัญญาทผี่ ลติ ใหม่หรอื ผลิตซำ้ เพื่อการแก้ปญั หาการปรับตัวใหส้ อดคล้องกับความ จำเปน็ และความเปล่ยี นแปลง ภมู ิปญั ญาท้องถนิ่ เป็นเรื่องทก่ี ่อเกดิ สงั่ สม ปรบั เปลยี่ นตามเหตุปจั จยั อยู่ ในจิตใจ ระบบคิด พฤติกรรมความเคยชิน และความชัดเจนที่เรียกเป็นองค์รวมว่า “ชาวบ้าน” โดย ชาวบ้าน เพื่อชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถ่ินได้รับการทดสอบในชีวิตจริงผ่านกาลเวลา สถานการณ์ และ บริบททางเศรษฐกิจ สังคมท่ีเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง จึงเปน็ ธรรมดาท่ีภูมิปัญญาท้องถ่ินหลายสิ่งหลาย Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
4 | บ ทท่ี 1 ภูมิปัญญาไทยกบั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างย่อมล้าสมยั ไปแล้ว แตภ่ ูมปิ ัญญาทอ้ งถิน่ อกี หลายอย่างกย็ ังคงอยู่ หากแต่มกี ารปรับใชส้ ถานการณ์ แล้วงอกงามเจรญิ เตบิ โตต่อไป (เอกวิทย์ ณ กลาง, 2546: 7-8) ภูมิปัญญาที่เกิดจากการสะสมเรียนรู้มาเป็นระยะเวลานานสะท้อนออกมาใน 3 ลักษณะท่ี สัมพันธ์ใกล้ชิดกัน คือ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับโลก สิ่งแวดล้อม สัตว์ หรือธรรมชาติ 2) ความสัมพันธ์กับมนุษย์อื่น ๆ ท่ีร่วมกัน หรือชุมชนในสังคม และ 3) ความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธ์ิ สิ่งเหนอื ธรรมชาติ และสงิ่ ที่ไม่สามารถสมั ผสั ได้ (เสรี พงศพ์ ศิ , 2529: 146) ภมู ิปญั ญามี 4 รปู แบบ ดงั น้ี (มณี พยอมยงค์, 2537: 2-14) 1.2.1 ภมู ิปัญญาพน้ื บ้าน ภูมิปัญญาพ้ืนบ้านเป็นองค์ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ท่ีสั่งสม และสืบทอด กันมาอันเปน็ ความสามารถและศกั ยภาพในเชงิ แก้ปญั หา การปรบั ตัวเรยี นรู้ และสบื ทอดไปสู่คนรุ่นใหม่ เพ่ือการดำรงอยู่รอดของเผา่ พันธุ์ จงึ เปน็ มรดกทางวฒั นธรรมของชาติ เผ่าพนั ธหุ์ รือเป็นวิถีของชาวบ้าน 1.2.2 ภูมปิ ญั ญาชาวบา้ น ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง แกนหลักของการมองชีวิต การใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ซ่ึงมี ความหมายในแง่ของบุคคล และในแงข่ องสังคมหม่บู ้าน ภมู ิปัญญาเกิดจากการสะสมเรยี นรูม้ าเปน็ ระยะ เวลานาน เป็นมวลความรู้และประสบการณ์ของชาวบ้านท่ีใช้ในการดำเนินชวี ิตให้เป็นสุขโดยได้รับการ ถ่ายทอดสงั่ สมกนั มา ที่ผา่ นกระบวนการพฒั นาใหส้ อดคลอ้ งกบั กาลสมัย 1.2.3 ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถน่ิ ภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ ความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์ในชีวิตของมนุษย์เราผ่าน กระบวนการศึกษา สังเกต คิด วิเคราะห์จนเกิดปัญญา และตกผลึกมาเป็นองค์ความรู้ที่ประกอบกัน ขึ้นมากับความรู้เฉพาะหลาย ๆ เรื่อง ความรู้ดังกล่าวไม่ได้แยกย่อยออกมาเป็นศาสตร์เฉพาะสาขาวิชา ต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ที่มีอยู่ท่ัวไปในสังคม ชุมชน และในตัวของผู้รู้เอง หากมีการสืบค้นเพื่อศึกษา และนำมาใช้กจ็ ะเป็นทร่ี ู้จักกนั เกดิ การยอมรบั ถ่ายทอด และพัฒนาสูค่ นรุ่น ใหมต่ ามยคุ ตามสมยั ได้ 1.2.4 ภมู ิปัญญาไทย ภูมิปัญญาไทยเป็นผลของประสบการณ์ สั่งสมของคนที่ รู้จักปฏิสัมพันธ์กับ สิ่งแวดล้อม ปฏิสัมพันธ์ในกล่มุ ชนเดียวกนั และระหว่างกล่มุ ชนหลาย ๆ ชาติพันธุ์ รวมไปถึงโลกทัศน์ท่ีมีต่อส่งิ เหนือ ธรรมชาติ ภูมิปัญญาเหลา่ น้ีเอื้ออำนวยให้คนไทยแกป้ ัญหาได้ดำรงอยู่ และสร้างสรรค์อารยธรรมของเรา เองได้อย่างมีดุลยภาพกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในระดับพ้ืนฐานหรือระดับชาวบ้าน ภูมิปัญญาใน การพฒั นาผลติ ภณั ฑ์ภูมปิ ญั ญาไทยด้วยวิธีวิทยาการวจิ ยั
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 5 แผ่นดินนี้มิได้เกิดข้ึนเป็นเอกเทศ แต่มีส่วนแลกเปล่ียนเลือกเฟ้น และปรับให้ภูมิปัญญาจากอารยธรรม อ่นื ตลอดมา ขอบขา่ ยของภูมปิ ญั ญาไทยตามนโยบายส่งเสรมิ ภูมปิ ัญญาไทยในการจัดการศกึ ษา ซ่ึงไดร้ บั ความ เห็นชอบตามมตคิ ณะรัฐมนตรี เมอื่ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2542 โดยได้กำหนดขอบขา่ ยภูมปิ ัญญาไทยไว้ 9 ดา้ น ดังน้ี ด้านท่ี 1 ด้านเกษตรกรรม ได้แก่ ความสามารถในการผสมผสมผสานองค์ความรู้ ทักษะและ เทคนิคดา้ นการเกษตรกับเทคโนโลยี โดยการพัฒนาบนพืน้ ฐานคณุ คา่ ดัง้ เดิม ซึง่ มนษุ ย์สามารถพ่ึงตนเอง ในสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้ เชน่ การทำการเกษตรแบบผสมผสาน การแก้ปัญหาการเกษตร ดา้ นการตลาด การแกป้ ัญหาดา้ นการผลิต และรู้จกั ปรบั ใช้เทคโนโลยที ีเ่ หมาะสมกบั การเกษตร ด้านที่ 2 ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ได้แก่ การรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการ แปรรูป ผลิตเพื่อบริโภคอย่างปลอดภัย ประหยัด และเป็นธรรม อันเป็นกระบวนการให้ชุมชนท้องถิ่น สามารถพ่ึงตนเองทางเศรษฐกิจได้ ตลอดท้งั การผลติ และการจำหน่ายผลผลิตทางหัตถกรรม เช่น การ รวมกลุม่ โรงงานยางพารา กลุ่มโรงสี กลุม่ หตั ถกรรม ด้านท่ี 3 ด้านการแพทย์แผนไทย ได้แก่ ความสามารถในการจัดการป้องกัน และรักษาสุขภาพ ของคนในชุมชน โดยเน้นให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพอนามัยได้ เช่น ยาจากสมุนไพร อนั มีอยู่หลากหลาย การนวดแผนโบราณ การดูแลรักษาสขุ ภาพพื้นบ้าน ด้านที่ 4 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความสามารถเกี่ยวกับการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนา และการใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติและสงิ่ แวดล้อมอย่างสมดุลและย่ังยืน เช่น การบวชป่า การสบื ชะตาแม่น้ำ การทำ แนวปะการงั เทยี ม การอนุรกั ษป์ ่าชายเลน การจดั การปา่ ตน้ นำ้ และชมุ ชน ดา้ นท่ี 5 ด้านกองทุนและธุรกิจชุมชน ได้แก่ ความสามารถในด้านการสะสม การบรหิ ารกองทุน และสวัสดิการชุมชน ทั้งที่เป็นเงินตราและโภคทรัพย์ เพื่อสร้างเสริมความมั่งคงให้แก่ชีวิต และความ เป็นอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม เช่น การจัดการกองทุนชุมชนในรูปแบบของสหกรณ์ออมทรัพย์ รวมถึง ความสามารถในการจัดสวัสดิการในการประกันคุณภาพชีวิตของคนให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และวฒั นธรรม โดยการจัดตั้งกองทนุ สวัสดิการพยาบาลของชุมชน และจัดระบบสวสั ดกิ ารบริการ ชมุ ชน ด้านท่ี 6 ด้านศิลปกรรม ได้แก่ ความสามารถในการสรรค์สร้างผลงานศิลปะสาขาต่าง ๆ เช่น จติ รกรรม ประตมิ ากรรม นาฏศลิ ป์ ทัศนศิลป์ คตี ศลิ ป์ การละเลน่ พ้นื บา้ น และนนั ทนาการ Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
6 | บ ทท่ี 1 ภูมปิ ัญญาไทยกับปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านท่ี 7 ด้านภาษาและวรรณกรรม ได้แก่ ความสามารถในการอนุรักษ์และสรรค์สร้างผลงาน ด้านภาษา คือ ภาษาถิ่น ภาษาไทยภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงด้านวรรณกรรมท้องถ่ิน และการจัดทำ สารานกุ รมทอ้ งถ่นิ ปริวรรตหนังสือโบราณ การฟื้นฟูการเรียนการสอนภาษาถิ่นของท้องถิ่นต่าง ๆ ดา้ นท่ี 8 ด้านปรัชญา ศาสนา และประเพณี ได้แก่ ความสามารถประยุกต์และปรบั ใช้หลกั ธรรม คำสอนทางศาสนา ปรัชญา ความเชื่อ และประเพณี ท่ีมีคุณค่าให้เหมาะต่อบริบททางเศรษฐกิจและ สังคม เช่น การถ่ายทอดวรรณกรรมคำสอน การบวชปา่ การประยุกต์ประเพณบี ญุ ประทายข้าว ดา้ นที่ 9 ด้านโภชนาการ ได้แก่ ความสามารถในการเลือกสรร ประดิษฐ์และปรงุ แต่งอาหารและ ยาได้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในสภาวการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนผลิตเป็นสินค้า และบริการ สง่ ออกทไี่ ดร้ ับความนิยมแพร่หลายมาก รวมถึงการขยายคุณคา่ เพ่ิมของทรพั ยากรด้วย 1.3 การเกดิ และความสำคญั ของภูมิปัญญาไทย 1.3.1 การเกิดภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญามีกระบวนการท่ีเกิดจากการสืบทอด ถ่ายทอดองค์ความรู้ท่ีมีอยู่เดิมในชุมชนท้องถ่ิน ต่าง ๆ แล้วพัฒนาเลอื กสรรปรับปรุงองคค์ วามรู้เหล่าน้ันจนเกิดทักษะและความชำนาญท่ีสามารถแกไ้ ข ปัญหาและพัฒนาชีวิตได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัย แล้วเกิดภูมิปัญญาที่เหมาะสมและสืบทอดพัฒนา ตอ่ ไปอยา่ งไม่สิ้นสดุ ปัจจยั ทีม่ ีผลตอ่ การพัฒนาการของภมู ปิ ัญญาไทย ดังนี้ 1.3.1.1 ความรเู้ ดิมในเรื่องนน้ั ๆ ผสมผสานกบั ความร้ใู หมท่ ไ่ี ดร้ บั 1.3.1.2 การสั่งสม และการสบื ทอดความร้ใู นเร่อื งน้ัน 1.3.1.3 ประสบการณ์เดิมที่สามารถเทียบเคียงกับเหตกุ ารณป์ ระสบการณใ์ หมไ่ ด้ 1.3.1.4 สถานการณท์ ี่ไม่มน่ั คง หรอื มีปญั หาทีย่ งั หาทางออกไม่ได้ 1.3.1.5 รากฐานทางพระพุทธศาสนา วฒั นธรรม และความเชือ่ ลกั ษณะของภมู ปิ ญั ญาไทย มีดงั น้ี ก. ภูมิปัญญาไทย เป็นเรื่องราวการใช้ความรู้ (knowledge) ทักษะ (skill) ความเช่ือ (belief) และพฤติกรรม (behavior) ข. ภูมิปัญญาไทยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติแวดล้อม และคนกับ ส่ิงเหนือธรรมชาติ ค. ภูมิปญั ญาไทยเป็นองคร์ วมหรอื กิจกรรมทุกอยา่ งในวิถชี ีวิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยด้วยวิธวี ทิ ยาการวจิ ัย
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 7 ง. ภูมิปัญญาไทยเป็นเรื่องของการแก้ปัญหา การจัดการ การปรับตัว การเรียนรู้ เพ่ือความอยู่ รอดของบุคคล ชมุ ชน และสังคม จ. ภมู ิปัญญาไทยเปน็ แกนหลกั หรือกระบวนทัศนใ์ นการมองชวี ิตเป็นพ้ืนความรใู้ นเรือ่ งตา่ ง ๆ ฉ. ภมู ปิ ัญญาไทยมีการเปลีย่ นแปลงเพ่อื การปรบั สมดุลในการพฒั นาการทางสงั คม 1.3.2 ความสำคญั ของภูมปิ ัญญาไทย ภูมิปัญญาไทยหรือภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น อันจะส่งผล ถึงการพัฒนาประเทศชาติโดยส่วนรวม ความสำคัญของภูมิปัญญาเป็นสัจธรรมที่เด่นชัดของสังคมหรือ ชุมชน เป็นรากฐานของการพัฒนาชุมชน และวัฒนธรรม โดยสะท้อนออกมาในรูปแบบของ ขนบประเพณี ศาสนา ความเชื่อ ภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี การละเล่นพื้นบ้าน และ วิทยาการต่าง ๆ เมื่อมีชุมชนเกิดขึ้นหรือดำรงอยู่มานาน ล้วนต้องมีภูมิปัญญาของตนเอง การพัฒนา ประเทศทผี่ ่านมาในมมุ มองทง้ั ในด้านความคิดและความรู้ รัฐบาลและภาคเอกชนไม่คอ่ ยให้ความสำคัญ ในภูมิปญั ญาชาวบ้าน หรอื ความร้ดู ้ังเดิมของสังคมไทย ด้วยมุมมองท่ีเห็นว่าภูมิปัญญาชาวบ้านเปน็ ส่ิงท่ี โบราณ ต้องพัฒนาใหท้ ันสมัยตามแบบทวีปยุโรป เมื่อผ่านกาลเวลาอย่างต่อเน่ืองยาวนาน ผลท่ีตามมา อาจกล่าวได้ว่า ชนบทไทยถูกทำให้ล่มสลาย เกิดสภาพล้มละลายทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรม ก่อผลกระทบถึงครอบครัว เน่ืองจากความสมดุลของชีวิตที่เคยเป็นมาก่อนถูกทำลายลง ดังนั้นการพัฒนาจงึ ตอ้ งคำนึงถึงภมู ิปัญญาแหง่ ชาติ และภมู ิปญั ญาชาวบา้ น 1.4 ความสมั พันธข์ องภูมิปัญญาไทย จากความหมายและขอบข่าย ตลอดทั้งลักษณะของภูมิปัญญาไทยท่ีกล่าวมาแล้วในข้างต้น ภมู ิปัญญาไทยสามารถสะท้อนออกมาได้ลักษณะท่สี ัมพันธ์กนั คือ ความสมั พนั ธอ์ ยา่ งใกล้ชิดระหว่างคน กับโลกสิ่งแวดล้อม สัตว์ พืช และความสัมพันธ์ของคนกับคนอ่ืน ๆ ที่รวมกันในสังคมหรือในชุมชน ดังนั้นภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถ่ิน เทคนิควิทยาพื้นบ้าน หรือเทคโนโลยีพ้ืนบ้าน อาจสรุป ความ หมายถึง กระบวนการของการนำความรู้ท่ีสืบทอดจากบรรพบุรุษมาปรับประยุกต์ใช้ในแต่ละ ทอ้ งถนิ่ หรือชุมชน โดยสามารถเชอื่ มโยงความร้หู รอื ถา่ ยทอดความรนู้ ้ันข้ามท้องถน่ิ หรือขา้ มชาติก็ได้ นัก สังคมวิทยา (sociologist) มักเรียกกระบวนการถ่ายทอดความรู้สู่กันและกันว่าเป็นการสร้างเครือข่าย การเรียนรรู้ ่วมกันของคนและชุมชน ซึ่งสว่ นใหญ่เป็นกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ แต่ Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
8 | บ ทที่ 1 ภูมปิ ญั ญาไทยกบั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง จะถ่ายทอดความรู้ในลักษณะการเรียนรู้โดยการศึกษาค้นคว้าร่วมกัน และการนำมาปรับประยุกต์ให้ เหมาะสมกับสภาพของแต่ละท้องถ่ิน เนื่องจากการจัดการวิถีชีวิตให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข กิจกรรม ของภูมปิ ัญญาของแต่ละสาขาจึงมีความเอื้อต่อกันในการดำรงชีวิตในสังคมหรือการเรียนรู้ในลักษณะท่ี เป็นทางการ พบว่า เครือข่ายการเรียนรู้สามารถทำลายล้างหรือรักษาภูมิปัญญาท้องถ่ินได้ ถ้าบุคคล หรือชุมชนเหล่าน้ันไม่พยายามอนุรักษ์ความรู้ด้ังเดิม และเลือกรับวิทยาการความรู้ ทักษะ และความ ชำนาญใหม่ ๆ โดยนำมาปรบั ใช้ในสงั คมได้อย่างเหมาะสมหรือชาญฉลาด 1.5 กระบวนการเรยี นรู้ภมู ิปญั ญาไทย การสร้างสรรค์และสั่งสมภูมิปัญญาเป็นกระบวนการเรียนรู้ตามธรรมชาติของมนุษย์ท่ามกลาง สภาพแวดล้อมธรรมชาติ และส่ิงแวดล้อมทางสังคมท่ีมีการพัฒนามายาวนาน ตามลักษณะการเรียนรู้ ของชาวบ้านหรือคนสามัญธรรมดาจนก่อให้เกดิ การพัฒนาภูมิปญั ญาอย่างมากมาย กระบวนการเรียนรู้ ตามธรรมชาติของมนุษย์ ไดแ้ ก่ 1.5.1 การลองผิดลองถูก ในบรรพกาลมนุษย์เรยี นรู้ทีจ่ ะดำรงชวี ิตเผ่าพันธ์ุของตนใหอ้ ยู่รอดด้วยการ “ลองผดิ ลองถูก” ใน การหาอาหาร การต่อสู้กับภัยธรรมชาติ การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ต่อสู้แย่งชิงส่ิงของระหว่าง มนุษย์ที่อยู่ด้วยกัน และเผชิญโรคร้ายด้วยการเส่ียงต่าง ๆ เม่ือประสบความล้มเหลวก็อาจตายหรือ บาดเจ็บ แต่ถ้าสำเร็จก็ได้อาหาร ได้สิ่งของ พ้นอันตราย เป็นต้น จากประสบการณ์การลองผิดลองถูก มนุษย์จะถกู สะสมความรูค้ วามเขา้ ใจของตนไว้แล้วถา่ ยทอดสง่ ต่อใหแ้ ก่ลกู หลานเผา่ พนั ธขุ์ องตน นาน ๆ เข้าส่ิงท่ีประพฤติปฏิบัติกลายเป็นจารีตธรรมเนียมหรือข้อห้ามใน “วัฒนธรรม” ของกลุ่มคนน้ัน ๆ กาลเวลาที่ล่วงเลยไปมนุษย์อาจลืมเหตุผลท่ีมาของข้อธรรมเนียมปฏิบัติ รู้แต่ว่าในสังคมของตนต้อง ประพฤติปฏิบัติเช่นน้ันจึงอยู่รอดปลอดภัย แก้ไขหรือป้องกันปัญหาได้ ความรู้และประสบการณ์เหล่านี้ ได้รบั การทดสอบอยู่ตลอดเวลาในการดำเนินชีวติ จรงิ 1.5.2 การลงมอื กระทำจรงิ มนุษย์เรียนรู้ด้วยการ “ลงมือกระทำจริง” ในสถานการณ์แวดล้อมท่ีมีอยู่จริง เช่น การเดินทาง การปลูกพืช การสร้างบ้าน การต่อสกู้ ับภยันตราย เป็นตน้ ในกรณีชาวบ้านในประเทศไทยจะเห็นได้ว่า ภาคเหนือ มีการเรียนรู้จากการร่วมกันจัดระบบเหมืองฝาย หรือการกสิกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำระหว่างเขา แล้วค่อย ๆ พัฒนาข้ึนเป็นระบบความสัมพันธ์ในการแบ่งปันน้ำระหว่างคนที่ต้ังถิ่นฐานอยู่ในลุ่มแม่น้ำ การพัฒนาผลติ ภณั ฑ์ภูมิปญั ญาไทยดว้ ยวิธวี ทิ ยาการวจิ ัย
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 9 เดียวกนั ภาคอีสาน เรียนรู้ท่ีจะแสวงหาแหล่งดินชุ่มน้ำเป็นท่ีทำกินหรือขุดสระไว้เป็นบริเวณรอบเทวส ถานเพอ่ื เลยี้ งชมุ ชน ภาคกลาง เรยี นรทู้ ่ีจะอยูก่ ับภาวะน้ำหลาก น้ำท่วม นำ้ ลด ดว้ ยการปลูกเรือนใต้ถุน สูง เดินทางด้วยเรอื ทำนาทำไร่ใหส้ อดคล้องกบั ฤดกู าล และ ภาคใต้ เรียนรู้ที่จะพึ่งพากนั ระหว่างคนอยู่ ต่างถ่ินกันในเชิงเขา ลุ่มน้ำ และชายทะเล ด้วยการผูกไมตรีและแลกเปลี่ยนผลผลิตระหว่างพ้ืนท่ีการ เรียนรู้และประสบการณ์ต่าง ๆ ไว้ในสถานการณ์จริง ปฏิบัติจริงแล้วส่งต่อไปยังรุ่นลูกหลานแบบค่อย เป็นค่อยไปกลายเปน็ ธรรมเนยี มหรือวถิ ปี ฏบิ ัติ 1.5.3 การถา่ ยทอดความรู้ การเรียนรู้จากการทำจริงได้พัฒนาต่อมาจนเป็นการส่งต่อแก่คนรุ่นหลังด้วยการ “สาธิตวิธีการ ด้วยการสั่งสอน ด้วยการบอกเล่า” ในรูปแบบเพลงกล่อมเด็ก คำพังเพย สุภาษิต และการสร้างองค์ ความรู้ไว้เป็นเอกลักษณ์ ซ่ึงโดยท่ัวไปการถ่ายทอดภูมิปัญญาชาวบ้านไทยทุกภูมิภาคจะนิยมสาธิต วธิ กี าร และสอนด้วยวาจา ในกรณีที่เป็นศิลปวิทยาทม่ี ีความซบั ซ้อนลึกซ้ึง จะใช้วิธีจารึกเป็นลายลกั ษณ์ ในรูปของตำรา เช่น ตำรายา ตำราปลูกบ้าน ตำราโหราศาสตร์ หรือผูกเป็นวรรณกรรม คำสอน คำ ตกั เตือน ภาษิต คูม่ ือ ตำนาน และนทิ าน เป็นต้น สดุ แต่จะเหน็ ว่าสะดวก และสอดคล้องกบั พ้ืนฐานของ ชาวบ้าน การถ่ายทอดท้ังโดยวาจา และลายลักษณ์หรือการสาธิตก็ไม่มีรูปแบบท่ีแน่นอน แต่จะ ปรับเปล่ียนไปตามเหตุปัจจัยในการรับรู้ของคนผู้เป็นเจ้าของวัฒนธรรม บางกรณีความรู้ที่สั่งสมก็อาจ ถดถอยหรือสญู หายได้ 1.5.4 พิธกี รรม การเรียนรู้โดย “พิธีกรรม” กล่าวในเชิงจิตวิทยาพิธีกรรมมีความศักด์ิสิทธิ์ มีอำนาจโน้มน้าวให้ คนมีส่วนร่วมรับคุณค่า และแบบอย่างพฤติกรรมที่ต้องการเน้นเข้าไว้ในตัวเป็นการตอกย้ำความเชื่อ กรอบศีลธรรม จรรยาของกลุ่มชน แนวปฏิบัติ และความคาดหวังโดยไม่ต้องใช้การจำแนกแจกแจง เหตุผล แต่ใช้ความศรัทธา ความขลัง ความศักด์ิสิทธ์ิของพิธีกรรมเป็นการสร้างกระแสความเช่ือ และ พฤติกรรมท่ีพึงประสงค์ ถึงแม้จะมีภูมิปัญญาความรอบรู้อยู่เบื้องหลังพิธีกรรม แต่ไม่มีการเน้นย้ำ ภมู ิปัญญาเหล่าน้ัน แตเ่ น้นผลท่เี กดิ ตอ่ สำนึกของผู้มีส่วนร่วมเป็นสำคัญ 1.5.5 ศาสนา ด้านหลักคำสอน วัตรปฏิบัติ พิธีกรรม กิจกรรมต่าง ๆ ท่ีมีวัดเป็นศูนย์กลาง ล้วนมีส่วนตอกย้ำ ภูมิปัญญาท่ีเป็นอุดมการณ์แห่งชีวิต ให้กรอบบรรทัดฐาน ความประพฤติ และความมั่นคงอบอุ่นทาง จิตใจเป็นท่ียึดเหน่ียวคนในการเผชิญชีวิตบนความไม่แน่นอน ซ่ึงเป็นสัจธรรมอย่างหนึ่งของสถาบัน ศาสนา จึงมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของคนท่ีอยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่า สำหรับพุทธศาสนามีผลต่อการ Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
10 | บ ทที่ 1 ภูมิปญั ญาไทยกับปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง พัฒนาจิตวิญญาณให้เป็นอิสระจากความทุกข์ยากท้ังปวง บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติทางศาสนาจึงมีหลัก ในการหล่อหลอม บ่มเพาะทั้งความประพฤติสตปิ ัญญาและอุดมการณ์แห่งชวี ิตไปพร้อม ๆ กัน ถือได้ว่า เป็นการศึกษาท่ีมีลักษณะเป็นองค์รวม และมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนท่ีนับถือศาสนาน้ัน ๆ ทั้งโดยตรง และโดยออ้ ม 1.5.6 การแลกเปลีย่ นความรู้ ประสบการณ์ระหวา่ งกลุ่มคนทแี่ ตกต่างกันทั้งชาติพันธุ์ ถ่ินฐานทำกิน รวมถึงการแลกเปล่ียนกับ คนทางวัฒนธรรม ทำให้กระบวนการเรียนรู้ขยายตัว มีความคิดใหม่ วิธีการใหม่เข้ามาผสมผสาน กลมกลืนบ้างขัดแย้งบ้าง แต่ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายกวา้ งขวางท้ังในด้านสาระ รูปแบบ และ วิธีการ กระบวนการเรียนรู้ของคนในสังคมจึงมีพลวัตมากกว่าเดิม ส่วนหนึ่งไปกับกระแสเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสารอันทันสมัย ส่วนหน่ึงไปกับโลกกายภาพหรือธรรมชาติแวดล้อม และอีกสว่ นหน่งึ มุง่ ม่ันไป ทางจิตวิญญาณ ขณะเดียวกันมีการกระจายเครือข่ายและการขยายตัวของการเรียนรู้กว้างขวาง หลากหลายมากอยา่ งไม่เคยปรากฏมาก่อน สังคมไทยจงึ กลายเป็นสังคมแห่งการเรยี นรู้ท่ีมีทางเลือก ได้ แสวงหามากมายไม่รู้จบ และมีเครือข่ายแห่งการเรียนรู้ท่ีมีภูมิปัญญาท้ังเก่าใหม่ให้พิจารณาอย่าง มากมาย 1.5.7 การผลิตซำ้ ทางวฒั นธรรม การแกป้ ญั หาด้านส่งิ แวดลอ้ มทางเศรษฐกิจและสังคม มีผู้พยายามเลือกเฟ้นความเช่ือ และธรรม เนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมาในสังคมประเพณี มาผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมให้ตรงกับฐานความเช่ือเดิม ขณะเดียวกันก็แก้ปัญหาในบรบิ ทใหมไ่ ดร้ ะดับหนึง่ การผลิตซำ้ ทางวฒั นธรรมจึงเป็นกระบวนการเรยี นรู้ อกี ลักษณะหนึง่ ทเี่ กิดข้ึนตลอดเวลาในสงั คมไทย ตัวอย่างเช่น การรกั ษาโรคภัยไขเ้ จบ็ ด้วยการผสมผสาน การแพทย์สมัยใหม่กับสมุนไพร การรักษาทางใจจากแพทย์ในเมือง และพระสงฆ์ และการไปหาหมอดู ทำนายทายทกั โชคชะตาในยามมที กุ ข์ ขาดความม่ันใจในตวั เอง เป็นตน้ ตัวอย่างดงั กลา่ วไมเ่ ก่ยี วกับการ ประเมินค่าว่าผิดถูกแต่อย่างใด แต่หากเป็นปรากฏการณ์ที่เห็นได้โดยท่ัวไปเก่ียวกับการผลิตซ้ำทาง วฒั นธรรมในสังคมไทยท่ีมีปัญหา มีวิกฤตความสลับซับซ้อนทางสังคมยิ่งกว่าในอดีตท่ีผ่านมา และการ ผลิตซ้ำทางวัฒนธรรมเป็นกระบวนการเรียนรอู้ ย่างหนึ่งท่ีย่อมมีท้ังท่ีได้ผลและไม่ได้ผล สร้างสรรค์และ ไมส่ รา้ งสรรค์ 1.5.8 ครพู ักลักจำ เป็นกระบวนการเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิมและมีอยู่ต่อไป “ครูพกั ลักจำ” เป็นการเรียนรู้ ทำนองแอบเลียนแบบ แอบเอาอย่าง แอบลองทำตามแบบอย่างท่ีเฝ้าสังเกตอยู่เงียบ ๆ แล้วรับเอามา การพฒั นาผลิตภัณฑ์ภูมิปญั ญาไทยดว้ ยวิธวี ทิ ยาการวิจยั
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 11 เป็นของตนเม่ือสามารถทำไดจ้ รงิ วธิ นี ีด้ ูเผิน ๆ เปน็ เสมือนการลกั ขโมยส่งิ ทเ่ี ปน็ ภมู ิปญั ญาของคนอ่นื แต่ ในความหมายท่เี ข้าใจกัน ไม่ได้เปน็ การส่ือความหมายในทางลบ หากเป็นวธิ ีการธรรมดาของคนในอดีต ท่ีจะเรียนรู้จากผู้อ่ืน ในชีวิตของทุกคนจะมีพฤติกรรมครูพักลักจำอยู่ไม่มากก็น้อย และถ้ายอมรับว่า วิธีการเรียนรู้นี้ท่ีดูประหน่ึงว่าไม่สำคัญ แต่มีมูลค่าสูง มีความจำเป็นในธรรมชาติของพฤติกรรมมนุษย์ และเป็นทางหาความร้ทู างหน่ึงทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพ กจ็ ะเปน็ การส่งเสริมกระบวนการเรียนร้ทู ่ีมีผลดีอีกทาง หน่งึ ได้ โดยนยั กล่าวไดด้ งั นี้ “ครูพักลักจำเปน็ คนละเร่อื งกับการขโมยลขิ สทิ ธทิ์ างปญั ญา” ในช่วงหลายปีผ่านมาภาครัฐและเอกชนมีการต่ืนตัวและนำความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถ่ิน มา ประยุกต์ใช้กับธุรกิจประเภทต่าง ๆ ท้ังธุรกิจบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพ่ือเพิ่มเอกลักษณ์และ ลักษณะเดน่ ให้กับผลิตภัณฑ์ สรุปแนวทางประยกุ ต์องคค์ วามรแู้ ละภมู ปิ ัญญาท้องถ่นิ มาใช้ ได้แก่ ก. การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาความรู้หรือสิ่งที่ดีงามไว้ เช่น ประเพณีต่าง ๆ งานหัตถกรรม เป็นต้น ข. การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นความรู้ หรือสิ่งท่ีดีงามต่าง ๆ ท่ีสูญหายไป เปล่ียนไป เลิกไป หรือ กำลงั จะเลิก ใหก้ ลับมาเป็นประโยชนใ์ หก้ ับผ้คู นสมัยนี้ ค. การประยกุ ต์ คอื การปรบั หรือการผสมผสานความรูเ้ ก่ากบั ความรู้ใหม่เขา้ ดว้ ยกันให้เหมาะสม กับยุคสมัยทเี่ ปล่ยี นไป ง. การสรา้ งใหม่ คอื การคิดค้นส่ิงใหม่ ๆ ที่สัมพนั ธก์ บั ความรู้เดมิ เคร่ืองมือท่ีช่วยส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ของชาวบ้าน มีหลายประการ ดังนี้ ประการแรก เผยแพร่ภูมิปัญญาชาวบ้านให้ชุมชนได้เข้าใจ โดยการจัดการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ จัดประชุม ช้ีแจงหรือการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น รวมท้ังการทัศนศึกษา และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประการท่ีสอง สร้างโอกาสในการนำความรู้ท่ีมีอยู่เดิมในพ้ืนบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และ ประการ สุดท้าย การให้คุณค่าภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นการสะท้อนองค์ความรู้รวมที่มีอยู่ในรูปแบบของวิถีการ ดำเนนิ ชีวติ สว่ นการเรียนรภู้ ูมิปัญญาชาวบ้านท่ีมาจากคนภายนอกชมุ ชนที่มคี วามรู้ทางวิชาการ ก็จะดึงเอา ประโยชน์ของภูมิปัญญาชาวบ้านไป ซ่ึงมักจะทำลายความเป็นธรรมชาติของชุมชนไปทันที ดังน้ัน การศึกษาวิจัยชุมชน เป็นการศึกษาเพื่อช่วยให้ชีวิตชุมชนดีข้ึน การศึกษา ค้นคว้า ฟื้นฟู หรือประยุกต์ ภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้ประโยชน์ เพ่ือการพัฒนาตนเอง พัฒนาเทคโนโลยี หรือสร้างเทคโนโลยีขึ้นมา เอง การท่จี ะก้าวไปนั้นควรมีข้นั ตอน ดังนี้ Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
12 | บ ทท่ี 1 ภมู ิปญั ญาไทยกบั ปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง ก. ต้องมีความเข้าใจว่าภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเร่ืองสำคัญ เป็นความดี มีคุณค่าและสั่งสมกัน มานาน เป็นเรอื่ งท่ีผสมผสานทุกสิ่งทุกอย่าง เชือ่ มโยงสิ่งต่าง ๆ เขา้ ดว้ ยกนั ข. ศึกษาขอ้ มูลจากชาวบ้านให้มากทสี่ ุด ทำอะไร เกง่ อะไร และมีอะไร ค. ต้องนำข้อมูลมาหาความหมาย เพื่อจัดระบบขน้ึ ใหม่ แล้วนำภูมิปัญญาอ่ืนเข้ามาเชื่อมโยงเพื่อ พฒั นาให้ดีข้ึนความร้ทู ี่เช่ือมโยงกนั ได้ก่อใหเ้ กดิ ประโยชน์สงู สุด ง. การศึกษาอบรมชาวบ้านควรมีหลากหลายแบบ พยายามเข้าถงึ วิธกี ารถ่ายทอดความรู้ ศิลปะ วทิ ยาของชาวบ้าน โดยพาไปดูงานเพ่อื ให้เหน็ ของจริง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มชาวบ้านเอง หรือเชิญชาวบ้านท่ีมคี วามเชย่ี วชาญมาเป็นวิทยากร นอกจากน้ีควรมีการเชื่อมโยงความเป็นสากลเข้ากับภูมิปัญญาชาวบ้าน เพราะช่วยให้วิชาการ ท้องถ่ิน ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาก้าวต่อไป ขณะเดียวกันสิ่งที่ชาวบ้านได้ลงมือทดลองว่าดีก็สามารถ พฒั นาเขา้ ไปอยู่ในภมู ปิ ญั ญาสากล 1.6 วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาเป็นเรื่องของการสืบทอดประสบการณ์จากอดีตถึงปัจจุบัน การถ่ายทอดภูมิปัญญา ชาวบ้านได้ใช้สตปิ ัญญาของตนส่ังสมความรู้ ประสบการณ์เพื่อการดำรงชพี มาโดยตลอด ย่อมถ่ายทอด จากคนรนุ่ หนงึ่ ไปสูอ่ ีกคนรนุ่ หน่ึงดว้ ยวธิ กี ารต่าง ๆ ทแ่ี ตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแตล่ ะท้องถน่ิ ทง้ั ทางตรงทางอ้อมโดยอาศัยศรัทธาทางศาสนา ความเช่ือผีสางต่าง ๆ รวมทงั้ ความเชื่อบรรพบุรษุ เป็น พ้ืนฐานในการถ่ายทอดเรยี นรู้ สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษในอดีตถงึ ลูกหลานในปจั จุบัน ซึ่งจำแนกได้ 2 ประเภท คอื 1.6.1 วิธีการถ่ายทอดภมู ปิ ัญญาแก่เดก็ เดก็ โดยทั่วไปมคี วามสนใจในชว่ งเวลาส้ันในส่ิงท่ใี กล้ตวั ซ่ึงแตกต่างจากผู้ใหญ่ กิจกรรมการถ่ายทอดต้องง่ายไม่ซับซ้อน สนุกสนาน และดึงดูดใจ เช่น การละเลน่ การเลา่ นิทาน การลองทำ (ตามตวั อย่าง) และการเลน่ ปรศิ นาคำทาย เป็นตน้ วิธกี ารเหลา่ น้ี เป็นการสร้างเสรมิ นิสยั บุคลกิ ภาพท่ีสงั คมปรารถนา ซึ่งส่วนใหญ่มุง่ เน้นจริยธรรมทเ่ี ป็นสิ่งควรทำและไม่ ควรทำ 1.6.2 วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่ผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ถือว่าเป็นผู้ท่ีมีประสบการณ์ต่าง ๆ มา พอสมควรแล้ว และเป็นวัยทำงาน วิธีการถ่ายทอดทำได้หลายรูปแบบ เช่น วิธีบอกเล่าโดยตรงหรอื บอก ผ่านพิธีการสู่ขวัญ พิธีกรรมทางศาสนา และพิธีกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถ่ินต่าง ๆ การพัฒนาผลิตภณั ฑ์ภูมปิ ัญญาไทยด้วยวิธีวิทยาการวจิ ยั
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 13 เป็นตน้ ดงั จะเห็นไดโ้ ดยทั่วไปในพิธีการแตง่ งานของทุกท้องถิน่ จะมีคำสอนของผู้ใหญ่สอนค่บู ่าวสาวอยู่ ทกุ ครั้ง รวมทงั้ การลงมอื ประกอบอาชพี ตามอยา่ งบรรพบรุ ษุ ไดม้ กี ารถา่ ยทอดเชื่อมโยงประสบการณ์มา โดยตลอด นอกจากนี้วิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาจะออกมาในรูปแบบการบันเทิงที่สอดแทรกใน กระบวนการและเนื้อหาหรือคำร้องของการบันเทิง เช่น คำร้องลิเก ลำตัดของภาคกลาง โนราห์ (หนัง ตะลุงของภาคใต้) หนังประโมทัย (หนงั ตะลุงของภาคอีสาน) กลอนลำ คำผญา คำสอยของอสี าน และ คำซอของภาคเหนือ เป็นต้น คำร้องเหล่านี้จะกล่าวถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี ทอ้ งถิ่น คตธิ รรมคำสอน ของศาสนา การเมือง การปกครอง การประกอบอาชีพ การรกั ษาโรคพื้นบ้าน รวมท้งั การปฏิบตั ติ นตามจารตี ประเพณีตา่ ง ๆ 1.7 ภมู ปิ ัญญาไทยส่เู ศรษฐกิจพอเพยี ง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาท่ีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร (ภาพที่ 1.1) ทรงมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยคร้ังแรกในปี พ.ศ. 2517 และถูก กล่าวถึงอยา่ งชัดเจนในวนั ท่ี 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพ่อื เป็นแนวทางการแก้ไขวกิ ฤตการณ์ทางการเงิน ของทวีปเอเชียและประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างม่ันคงและย่ังยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และ ความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ นักวิชาการไทยหลายคนร่วมแสดงการสนับสนุนแนวคิด ตัวอย่างเช่น ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ศาสตราจารย์อภิชัย พันธเสน และ ศาสตราจารย์ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ได้เชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน สำหรับ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจ และสาขาอ่ืน ๆ มาร่วมกันประมวลเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อ ประเทศไทยและนานาประเทศ สนับสนนุ ให้ประเทศสมาชกิ ยึดเปน็ แนวทางสกู่ ารพัฒนาแบบยงั่ ยนื โดย มีนกั วชิ าการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเหน็ ด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพยี ง (ภาพท่ี 1.2) Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
14 | บ ทท่ี 1 ภูมปิ ัญญาไทยกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาพที่ 1.1 พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธเิ บศร มหาภูมิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รชั กาลที่ 9) ทรงมีพระราชดำรัสปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง ท่ีมา: โครงการสารานกุ รมไทยสำหรบั เยาวชนฯ (2559) ภาพท่ี 1.2 โครงการหลวงศนู ยก์ ารพัฒนาพิกลุ ทอง อันเน่อื งมาจากพระราชดำริ จังหวดั นราธิวาส ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธเิ บศร มหาภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ทม่ี า: โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ (2559) การพัฒนาผลติ ภัณฑ์ภมู ิปัญญาไทยดว้ ยวิธีวทิ ยาการวจิ ัย
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 15 การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมี ดลุ ยภาพโดยจะเห็นว่าเป็นการเช่อื มโยงประสานสมั พนั ธแ์ หล่งความรูต้ ่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อแลกเปลยี่ น ข่าวสาร ข้อมูลซ่ึงกันและกันในชุมชนและนอกชุมชนหรือในธุรกิจประเภทเดียวกันหรือธุรกิจต่าง ประเภทกัน ซึ่งหลักการน้ีกระตุ้นจิตสำนึกในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ รวมถึงการระดมและประสานการใช้ ทรัพยากรมนุษย์วัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่ และเงินงบประมาณ เพ่ือให้หน่วยงานต่าง ๆ สามารถใช้ ทรพั ยากรร่วมกัน เพ่อื ใหเ้ กิดการพัฒนาธรุ กิจของชมุ ชนอย่างต่อเนอ่ื งและมีประสิทธิภาพ อยา่ งไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าชุมชนต่าง ๆ ได้มีการนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างต่อเน่ืองท้ังในส่วนราชการ และเอกชน รวมทั้งภาครัฐได้สร้างนโยบายเพอื่ ให้เกิดทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกจิ โดยเนน้ ด้านการ ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับสถานประกอบการต่าง ๆ ตลอดจนผู้ท่ีตกงาน นโยบายของภาครัฐในการพลิกฟื้นสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจนี้จึงก่อเกิดแนว ทางการดำเนนิ ธุรกจิ ท่ีเหมาะสมกับประเทศไทย ดว้ ยการนำแนวทางการพัฒนาทอ่ี ย่บู นพื้นฐานของการ พ่ึงพาตนเอง ความพอมีพอกิน พอมีพอใช้ การรู้จักความพอประมาณ รวมท้ังการคำนึงถึงเหตุผล และ การสร้างภูมิคุม้ กนั ที่ดใี นตวั ดงั ปฐมพระราชดำรัส ว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา ภมู พิ ลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพติ ร ใจความวา่ “…การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขนั้ ต้องสรา้ งพ้ืนฐานคือ ความพอมพี อกินพอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ท่ีประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและ ฐานะทางเศรษฐกิจขั้นท่ีสูงขึ้นตามลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มสร้างความเจริญยกเศรษฐกิจขึ้นให้ รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติความสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชน โดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกดิ ความไม่สมดุลในเรอ่ื งต่าง ๆ ซงึ่ อาจกลายเปน็ ความยงุ่ ยากล้มเหลวในท่สี ุด” (พระบรมราโชวาทพระราชทานนิสิต มหาวทิ ยาลยั เกษตรศาสตร์, 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517) ช่วงกลางปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยต้องประสบวกิ ฤติทางเศรษฐกจิ และการเงินอย่างรุนแรง ใน วันท่ี 5 ธันวาคม 2550 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ บพติ รทรงมพี ระราชดำรสั เกย่ี วกบั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี ง โดยรับสัง่ มีขอ้ ความตอนหนง่ึ วา่ “การจะเป็นเสือนน้ั ไมส่ ำคญั สำคญั อย่ทู ี่พอมพี อกนิ และมีเศรษฐกจิ การเป็นอยูแ่ บบพอมพี อกิน” และ “คนเราถา้ พอในความต้องการก็มีความโลภนอ้ ย เมื่อมีความโลภนอ้ ยก็เบียดเบียนนอ้ ย” Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
16 | บ ทที่ 1 ภูมปิ ัญญาไทยกบั ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง “...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขาจะว่าเมืองไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีส่ิงใหม่ แตเ่ ราอยูอ่ ย่างพอมีพอกนิ และขอให้ทกุ คนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่ พอกิน มีความสงบ ช่วยกันรกั ษาส่วนร่วม ให้อยู่ที่พอสมควร ขอย้ำพอสมควร พออยู่พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่ง คุณสมบัตินี้ไปจากเราได้...” (พระราชกระแสรับส่ังในเร่ืองเศรษฐกิจพอเพียง แก่ผู้เฝ้าถวายพระพรชัย มงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช 2517) พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พัฒนา ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้ พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิต และเพื่อคงไว้ซ่ึง ทฤษฎขี องการพัฒนาที่ยัง่ ยนื ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ซ่งึ อย่รู ะหว่างสังคมระดับท้องถ่ิน และตลาดระดับสากล จุดเดน่ ของแนวปรัชญาน้ี คือ แนวทางที่สมดุล ประเทศชาติสามารถทนั สมัยและ กา้ วสู่ความเปน็ สากลได้ โดยปราศจากการตอ่ ต้านกระแสโลกาภวิ ัตน์ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ท่ีประเทศไทยต้องการรักษา ความมัน่ คงและเสถยี รภาพ ยืนหยดั ในการพ่ึงตนเองและพฒั นานโยบายที่สำคัญ เพอื่ การฟนื้ ฟูเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยการสร้างแนวคิดเศรษฐกิจที่พ่ึงตนเองได้ ซ่ึงคนไทยจะสามารถเลี้ยงชีพโดยอยู่บน พื้นฐานความพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถ บพิตรมีพระราชดำริว่า ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (newly industrialized country; NIC) พระองคไ์ ดท้ รงอธิบายวา่ ความพอเพียงและการพึง่ ตนเอง คือ ทางสาย กลางท่ีจะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่ม่ันคงของประเทศได้ จากพระราชดำรสั ในวันท่ี 5 ธันวาคม พ.ศ. 2540 ทำให้ทางราชการ ธุรกิจเอกชน และประชาชน มีความสนใจในปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริอย่างกว้างขวาง เศรษฐกจิ พอเพยี งเชอ่ื ว่าจะสามารถปรบั เปลย่ี นโครงสร้างทางสงั คมของชมุ ชนใหด้ ขี ึ้นโดยมปี จั จัย 2 อย่าง คือ 1) การผลิตต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่างปริมาณผลผลิตและการบริโภค และ 2) ชุมชน ต้องมคี วามสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง ข้อมูลจากเอกสารประกอบการสัมมนา เร่ือง “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในความมั่นคงกับการ พัฒนาประเทศและในบริบทการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม” (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550) สำนัก คณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลกล่ันกรอง พระราชดำรัสเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และขอพระราชทานพระ บรมราชานุญาตนำไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติต่อไป พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหา ภมู ิพลอดลุ ยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงพระกรณุ าปรับปรงุ แกไ้ ขมีขอ้ ความ ดงั นี้ การพัฒนาผลิตภณั ฑ์ภูมปิ ัญญาไทยด้วยวิธวี ทิ ยาการวจิ ัย
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 17 “เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาช้ีถึงแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุก ระดบั ตั้งแต่ระดับครอบครวั ระดับชมุ ชนจนถงึ ระดับรัฐ ทัง้ ในการพฒั นาและบริหารประเทศใหด้ ำเนิน ไปอย่างสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพ่ือให้ก้าวทันต่อยุคโลกาภิวัตน์ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นท่ีจะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอสมควร ตอ่ การมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงท้งั ภายนอกและภายใน ทัง้ นี้ตอ้ งอาศัย ความรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและ ดำเนินการทุกข้ันตอน ขณะเดียวกันต้องมีการเสริมสร้างพ้ืนฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะ เจ้าหน้าท่ีรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มี ความรอบรู้อย่างเหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติปัญญาและความรอบครอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุ สงั คม สง่ิ แวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกไดเ้ ปน็ อยา่ งดี” ความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพติ รไดพ้ ระราชทานดำรัสเกย่ี วกับความสำคัญของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพยี ง ดงั นี้ “เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความม่ันคงของแผ่นดินเปรียบเสมือน เสาเข็มทถ่ี ูกตอกรบั บ้านเรอื นตัวอาคารไวน้ ่นั เอง สงิ่ ก่อสร้างจะมน่ั คงได้อย่ทู เี่ สาเขม็ แตค่ นส่วนมากมอง ไม่เปน็ เสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียดว้ ยซ้ำไป” พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงเน้นย้ำ ว่า คำทสี่ ำคญั ทีส่ ดุ คอื คำวา่ “พอ” ต้องสรา้ งความพอท่ีสมเหตสุ มผล ให้ตรงกบั ตัวเองให้ได้ แล้วจะพบ กับความสขุ อนั นเ้ี ป็นกระแสพระราชดำรสั ทสี่ มเหตุสมผลตามอตั ภาพตามความสามารถ ที่สำคัญท่ีสุดควรเขา้ ใจคำนิยามคำว่า “ความพอเพียง” ประกอบดว้ ย 3 ห่วง และ 2 เง่อื นไข โดย 3 ห่วง คอื ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อ่ืน เช่น การผลิตและการบรโิ ภคท่อี ยใู่ นระดับพอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น ต้องเป็นไปอย่างมี เหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เก่ียวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำ น้ัน ๆ อย่างรอบคอบ Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
18 | บ ทที่ 1 ภูมปิ ัญญาไทยกับปรชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง การมีภูมิคุ้มกันที่ดใี นตัว หมายถึง การเตรยี มตัวให้พรอ้ มรบั ผลกระทบและการเปลยี่ นแปลงดา้ น ตา่ ง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ท่ีคาดว่าจะเกิดข้ึนในอนาคตทั้ง ใกล้และไกล สำหรับ 2 เง่ือนไข คือ การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ระดับพอเพียง ต้อง อาศัยท้งั ความรแู้ ละคุณธรรมเปน็ พนื้ ฐาน ประกอบไปด้วย - เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เก่ียวกับวิชาการต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้องอย่างรอบด้าน ความ รอบคอบที่จะนำความรู้เหล่าน้ันมาพิจารณาให้เช่ือมโยงกัน เพ่ือประกอบการวางแผน และความ ระมัดระวังในขน้ั ตอนปฏิบัติ - เง่ือนไขคุณธรรม จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความอดทน มคี วามเพยี ร และใช้สตปิ ญั ญาในการดำเนนิ ชีวติ หากทกุ ฝา่ ยเขา้ ใจกรอบแนวคิด คุณลักษณะ คำนยิ ามของเศรษฐกิจพอเพียงอยา่ งชดั เจนแล้ว จะ ง่ายขึ้นในการนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ และนำไปสู่ผลท่ีคาดว่าจะได้รับ คือ การพัฒนาท่ี สมดุลและย่ังยืน พร้อมรับต่อการเปล่ียนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ส่ิงแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี การก่อให้เกิดการเรียนร้ปู รชั ญาเศรษฐกจิ พอเพียง ประกอบดว้ ยส่งิ ตา่ ง ๆ ดังน้ี ก. หลักการและหลักคิดที่ชัดเจนว่า ต้องการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองให้พึ่งตนเอง ได้ เช่ือมั่นว่ามีทุนท้องถิ่นเพียงพอเพื่อจะเริ่มต้นอย่างมั่นคง ที่เหลือให้ข้างนอกมาเติมเต็มให้ได้ ต้องมี เคร่อื งมือ วิธีการทดี่ ีที่จะนำไปสูเ่ ปา้ หมาย คอื กระบวนการทำประชาพิจารณ์ ข. แรงจูงใจเป็นผลลัพธ์ หรอื ผลผลิตที่เห็นได้ สัมผัสได้ และในระยะส้ันทำให้ชุมชนอยากมีส่วน รว่ ม เช่น ทำใหม้ ีรายได้ แกป้ ญั หาหนีส้ นิ ได้ ทำแล้วสขุ ภาพดขี ้ึน ค. แรงบันดาลใจเป็นผลสัมฤทธ์ิที่มาจาก “ข้างหลัง” และมองเห็น “ข้างหน้า” คือ ความ ปรารถนาที่จะเห็นชุมชนเข้มแข็งพ่ึงตนเองได้ แก้ปัญหาความทุกข์ยากจากวงจรของหน้ีสินและการกิน การอย่ทู ีไ่ ม่เหมาะสม แรงบนั ดาลใจน้สี ัมพนั ธ์กับ “วสิ ยั ทศั น์” การช่วยใหช้ ุมชนเรียนรไู้ ม่ได้หมายถึง การช่วยให้คนในชมุ ชนหายโง่ หายจน หายเจ็บแบบเดมิ ๆ อีกต่อไป แต่หมายถึง การช่วยให้ค้นพบศักยภาพและภูมิปัญญาท่ีแท้จริงของตนเอง พัฒนาศักยภาพ ดังกล่าวไปสู่การพึ่งตนเอง วิธีการหนึ่งท่ีช่วยให้คนในชุมชนเกิดการเรยี นรู้ท่ีว่านี้เรียกว่า “ประชาพิจัย” คือ ชาวบ้านวิจัยตนเอง รู้จักตนเอง ชุมชน และโลก เรียนรู้เอกลักษณ์และรากเหง้าความรู้ภูมิปัญญา ทรัพยากรท้องถิ่น เรียนรู้สภาพที่แท้จริงของตนเอง รายรับ รายจ่าย หน้ีสิน สุขภาพ ส่ิงแวดล้อม รู้ทั้ง การพัฒนาผลิตภณั ฑ์ภูมิปัญญาไทยด้วยวธิ วี ทิ ยาการวิจัย
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 19 ปญั หา ความต้องการ และทุนของตนเอง ทนุ ที่จะช่วยให้พบทางออกได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอรฐั ช่วย ไม่ใช่ปฏิเสธรัฐ แต่บทบาทของรัฐ คือ การช่วยให้คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ และเติมเต็มให้เกิดการ ตื่นตัวมากกว่าการเป็นผู้นั่งรอรับความเอื้ออาทรจากภาครัฐ ข้อมูลที่ชาวบ้านไปสำรวจด้วยตนเอง มา วเิ คราะหป์ ระมวลผลนำไปสู่การพัฒนาแผนแม่บทชุมชน ยุทธศาสตร์ของชุมชนในการแกไ้ ขปัญหา และ พฒั นาตนเองอย่างมนั่ คง เศรษฐศาสตร์สมัยใหม่เอาทรัพยากรธรรมชาติเป็นสินค้า ขายไปเพื่อได้เงนิ มา ซือ้ ปัจจัยต่าง ๆ เพ่ือการบริโภค เศรษฐศาสตร์แนวพุทธถือว่าทรัพยากรธรรมชาติเป็นทุนที่สำคัญ และ การมีชีวิตอยู่จึงต้องใช้อย่างมีสติ ใช้แบบไม่ทำลายให้หมดไป แต่ให้คงอยู่อย่างย่ังยืน เหลือให้ลูกหลาน ได้ใช้ดว้ ย 1.8 บทสรปุ ภูมิปัญญาเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิตของชาวบ้านที่เกิดจากการสั่งสมมาเป็นระยะเวลา ยาวนาน “ภูมิปัญญาไทย” จึงเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรมอย่างลึกซ้ึงเพื่อให้เข้าใจถึงมูลเหตุแห่งการ สร้างสรรค์อันอยา่ งชาญฉลาด แสดงถงึ ความมีภูมิปัญญาของคนไทยในยุคสมัยหน่ึง ทส่ี ามารถคดิ คน้ ส่ิง ท่ีเป็นระเบียบแบบแผนและมีรูปแบบท่ียอมรับกันภายในสังคม เพ่ือเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตอยู่ รว่ มกันในสังคมนัน้ ๆ และยังคงไวซ้ ่ึงคณุ ค่าแห่งความงามและศิลปะ ถ่ายทอดจากคนรุ่นหน่ึงไปสู่อกี คน รุ่นหน่ึงด้วยวิธีการต่าง ๆ ท่ีแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถ่ิน หรืออาจกล่าวได้ว่า ภูมิปัญญาไทย แสดงให้เห็นถึงศักยภาพหรือความสามารถของชาวบ้านและชุมชน ในการปรับใช้ วัฒนธรรมให้เป็นกระบวนการเชื่อมโยงระหว่างอดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้ชาวบ้านและชุมชนในทุกภาค ของประเทศได้ปรับหรือประยุกต์วัฒนธรรม ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่สรรค์สร้างขึ้นมาใช้ในการพัฒนา คุณภาพชีวิตอยา่ งกว้างขวาง ทั้งในกิจกรรมด้านเศรษฐกิจ สังคม ประเพณี และศลิ ปวัฒนธรรมของคน ในชุมชน ในการป้องกันหรือแก้ไขปัญหา โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพ่ือให้เข้าใจถึงสาย กลางของชีวิต และคงไว้ซึ่งทฤษฎีการพัฒนาท่ียั่งยืน ในสังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากล ใน แนวทางท่สี มดุลกบั สภาวะของประเทศที่ทันสมัยและกา้ วสู่ความเป็นสากลได้โดยปราศจากการต่อต้าน กระแสโลกาภิวัตน์ Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
20 | บ ทท่ี 1 ภมู ิปญั ญาไทยกบั ปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพียง แบบฝึกหดั ท้ายบท 1. ขอ้ ใด คือ ภมู ิปญั ญาไทย ก. ผลงานของไทยทีเ่ กยี่ วข้องกับการดำเนนิ ชีวิต ข. เอกลกั ษณ์เฉพาะและพน้ื ฐานการใชช้ ีวิตของคนไทย ค. เอกลักษณท์ ีถ่ ่ายทอดจากคนรุน่ หนึง่ สู่คนอีกรุ่นหน่ึง ง. วธิ ีการและผลงานของคนไทยทเ่ี ปน็ ประโยชน์ตอ่ การดำรงชวี ติ 2. วัฒนธรรมและภูมปิ ญั ญาไทยเกิดข้นึ เพราะมจี ดุ ประสงคห์ ลายประการ ยกเว้นด้านใด ก. ทำใหส้ งั คมสงบสขุ ข. ทำใหผ้ คู้ นมีความสุข ค. ทำใหก้ ารประกอบอาชพี คลอ่ งตวั ง. ทำให้ความสมั พนั ธ์กับตา่ งประเทศดขี ้นึ 3. ขอ้ ใด ไม่ใชป่ จั จัยพนื้ ฐานท่ีมผี ลต่อการสรา้ งสรรค์ภมู ปิ ัญญา ก. สงิ่ แวดลอ้ มทางธรรมชาติ ข. การลอกเลยี นแบบธรรมชาติ ค. ความพยายามท่ีจะเอาชนะธรรมชาติ ง. ความพยายามท่จี ะปรับตวั ให้เขา้ กับธรรมชาติ 4. ข้อใดเปน็ ภมู ปิ ญั ญาท่เี กี่ยวข้องกบั การประกอบอาชพี ก. การทอผ้า ข. การสร้างโบสถ์ ค. การใช้คันไถไถนา ง. การปลกู บา้ น 5. การปลูกฝังให้คนเคารพเทดิ ทูนในองค์พระมหากษัตรยิ ์ จดั เป็นภูมิปญั ญาดา้ นใด ก. การดำรงชวี ติ ข. การประกอบอาชพี ค. การจัดระเบียบสงั คม ง. การแสดงออกทางศลิ ปะ การพัฒนาผลติ ภณั ฑ์ภมู ปิ ัญญาไทยด้วยวิธวี ทิ ยาการวิจยั
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 21 6. เศรษฐกจิ พอเพียงเปน็ หลกั ในการดำเนนิ ชวี ิตแบบใด ก. ประหยัด ข. ทางสายกลาง ค. พอเพียง ง. หากนิ ตามธรรมชาติ 7. เงอื่ นไขในการดำเนนิ วถิ ีแบบเศรษฐกจิ พอเพยี งมอี ะไรบา้ ง ก. ความรู้ และความพอประมาณ ข. ความรู้ และคณุ ธรรม ค. ความพอดี และความพอเพียง ง. ความรู้ ความพอเพยี ง และคณุ ธรรม 8. เป้าหมายของปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง คอื ก. ชวี ิต และสังคมอยู่ดกี ินดี ข. ครอบครวั พออย่พู อกินพึ่งพาตนเองได้ ค. เศรษฐกจิ สงั คม และสิง่ แวดล้อมย่ังยืน ง. การพ่งึ พาตนเองได้ของชมุ ชน 9. ความรูแ้ ละคุณธรรมสามารถทำใหเ้ กดิ ไดด้ ว้ ยกจิ กรรมใด ก. มแี ผนชุมชน ใชศ้ าสนานำชวี ติ ข. มีรา้ นค้าชุมชน มแี ผนชุมชน ค. ศึกษาดงู าน ทำการเกษตรครบวงจร ง. ยึดม่ันประเพณีอันดงี าม มปี ่าชมุ ชน 10. การปรบั ตัวให้ทนั ตอ่ การเปลย่ี นแปลงของโลกในยคุ โลกาภวิ ัตนค์ วรปฏบิ ัตติ นอย่างไร ก. จัดหาเทคโนโลยที ท่ี นั สมัย ข. การศึกษาหาความรูอ้ ยู่เสมอ ค. การพัฒนาเทคโนโลยีข้นึ มาใชเ้ อง ง. วา่ จา้ งผูเ้ ช่ียวชาญมาถ่ายทอดเทคโนโลยี Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
22 | บ ทที่ 1 ภมู ปิ ญั ญาไทยกบั ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เอกสารอา้ งอิง คณะอนกุ รรมการขับเคล่ือนเศรษฐกจิ พอเพียง, สำนักงานคณะกรรมการพฒั นาการเศรษฐกจิ และสังคม แห่งชาติ. 2550. เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแหง่ ชาติ. พมิ พ์ครงั้ ท่ี 4. กรงุ เทพฯ: พิมพ์ลกั ษณ์. แคทลยี า บาลไธสง. 2533. ความเข้าใจการเข้าถึงปรัชญาเศรษฐกจิ พอเพยี งและนโยบายประชานิยม ของผู้นำ และผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิ ทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแกน่ . โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. 2559. สารานุกรมไทย ฉบับเฉลิมพระเกียรติในโอกาส ฉลองสริ ิราชสมบตั ิครบ 60 ปี. โครงการสารานกุ รมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเดจ็ . จารุวรรณ ธรรมวตั ร. 2531. การถา่ ยทอดภมู ิปญั ญาพน้ื บ้านอสี าน. วารสารทศิ ทางหมบู่ ้านไทย. น. 58-71. จุไรรัตน์ แสนใจรกั ษ์ . 2553. ชุมชนพอเพียง. กรงุ เทพฯ: บริษัทเคลด็ ไทย จาํ กดั . ประเวศ วะสี. 2533. การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยเพ่ือการพัฒนา. ใน: การสัมมนาทางวิชาการงาน วัฒนธรรมพ้ืนบ้านไทย 33 เร่ือง “ภูมิปัญญาชาวบ้าน”. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการ วัฒนธรรมแห่งชาติ. ______ . 2550. เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกพ้ืนเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบา้ น. มณี พยอมยงค.์ 2537. ลา้ นนาไทย: ประเพณีสิบสองเดอื น (รวมเล่ม). เอกสารวชิ าการชดุ ล้านนา คดศี ึกษาลำดับที่ 3, โครงการศูนยส์ ง่ เสริมศิลปวฒั นธรรม มหาวิทยาลัยเชยี งใหม.่ เชยี งใหม:่ สำนักพมิ พท์ รพั ย์การพิมพ.์ มานิตย์ กิตตจิ งจติ ร. 2555. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงวถิ แี หง่ ความสมดลุ . กรุงเทพฯ: หจก.แสงจันทร์ การพมิ พ.์ สามารถ จนั ทร์สรู ย.์ 2534. ภมู ปิ ัญญาชาวบา้ น. ใน: ภูมปิ ญั ญาชาวบา้ นกับการพัฒนาชนบท. เล่มท่ี 1. เสรี พงศ์พศิ (บรรณาธิการ). กรงุ เทพฯ: อมรินทรป์ ร้นิ ต๊ิงกรปุ๊ . สัญญา สัญญาวิวัฒน์. 2534. ภูมิปัญญาไทย. กรงุ เทพฯ: สถาบนั ไทยศกึ ษา. การพัฒนาผลติ ภณั ฑ์ภมู ิปญั ญาไทยด้วยวิธวี ิทยาการวิจยั
อ ม ร รั ต น์ อ นั น ต์ ว ร า พ ง ษ์ | 23 เสรี พงศพ์ ิศ. 2529. คืนสูร่ ากเหง้า. กรงุ เทพฯ: เทยี นวรรณ. ______ . 2536. ภมู ิปัญญาชาวบ้านกบั ชนบท เลม่ 1. มูลนธิ ชิ าวบ้าน, ภมู ิปัญญา. สำนักสง่ เสริมวสิ าหกิจชมุ ชน กรมการพัฒนาชุมชน. 2549. คู่มือปฏบิ ตั ิการเศรษฐกิจพอเพียงในชมุ ชน เพ่ือยกระดบั รายไดค้ รัวเรือน. กรงุ เทพฯ: กระทรวงมหาดไทย. อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. 2560. หลักการวิจัยเพ่ือพัฒนาผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพแ์ ห่งจฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย. เอกวิทย์ ณ กลาง. 2544. ภูมิปัญญาชาวบ้านกับกระบวนการเรียนรู้และปรับตัวของชาวบ้าน. กรงุ เทพฯ: อมรนิ ทรป์ ร้ินตง๊ิ กรปุ๊ . ______ . 2546. ภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถ่นิ กบั การจัดการความรู.้ กรงุ เทพฯ: สำนกั พิมพ์อมรินทร.์ Thai Wisdom Product Development Using Research Methodology
Search
Read the Text Version
- 1 - 23
Pages: