Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือประชาชนสมาธิบำบัดSKT หอผู้ป่วยอายุรกรรมรวม

คู่มือประชาชนสมาธิบำบัดSKT หอผู้ป่วยอายุรกรรมรวม

Published by lerdsin.hospital, 2022-08-22 08:22:38

Description: คู่มือประชาชนสมาธิบำบัดSKT หอผู้ป่วยอายุรกรรมรวม

Search

Read the Text Version

สมาธิบำบัด SKT หอผู้ป่ วยอายุรกรรมรวม

2 สมาธิบำบัด SKT สมาธิแบบ SKT เป็นเทคนิคการปฏิบัติสมาธิลิขสิทธิ์ที่คิดค้นขึ้นโดย รศ.ดร. สมพร กันทรดุษฎีเตรียมชัยศรี อาจารย์ประจำภาควิชาอาชีวอนามัย และความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการนำ องค์ความรู้เรื่องสมาธิ โยคะ ชี่กง การออกกำลังกายแบบยืดเหยียด การหายใจ มาผสมผสานกัน เพื่อควบคุมระบบประสาทสัมผัสทั้ง 6 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัส และการเคลื่อนไหว ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท ส่วนกลาง ระบบประสาทส่วนปลาย ระบบประสาทอัตโนมัติ ระบบอารมณ์ และพฤติกรรม ระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ระบบไหลเวียนเลือดและระบบ อื่น ๆ ในร่างกาย ทำให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะสมดุลและเกิดการเยียวยาตนเอง ขั้นตอนการทำสมาธิบำบัด แบบ SKT ประกอบด้วย ท่าที่ 1 (SKT 1) “นั่งผ่อนคลาย ประสานกายประสานจิต” 1. ท่านั่งให้หงายฝ่ามือทั้งสองข้างวางบนหัวเข่า ท่านอนให้วางแขน หงายมือ ไว้ข้างตัวหรือคว่ำฝ่ามือไว้ที่หน้าท้อง 2. ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจออกทางปากช้าๆ 3. พร้อมกับนับ 1-5 อีกครั้ง ถือว่าครบ 1 รอบ ทำซ้ำแบบนี้ทั้งหมด 30-40 รอบ แล้วค่อยลืมตาขึ้นช้าๆ 3. ให้ปฏิบัติวันละ 3 รอบ ก่อนหรือ หลังอาหาร 30 นาที “ลดความดันโลหิต ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี”

3 ขั้นตอนการทำสมาธิบำบัด แบบ SKT ประกอบด้วย(ต่อ) ท่าที่ 2 (SKT 2) “ยืนผ่อนคลาย ประสานกาย ประสานจิต” 1. ยืนตรงในท่าที่สบายสวมหรือไม่สวมรองเท้าก็ได้ ถ้าสวมรองเท้าต้องเป็น รองเท้าส้นแบน แยกเท้าห่างเท่ากับช่วงไหล่ ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ 2. ค่อยๆ ชูมือขึ้นเหนือศีรษะ ฝ่ามือทั้งสองข้างประกบกัน นิ้วไม่เกี่ยวกัน ต้นแขนแนบศีรษะ 3. สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 อีกครั้ง ถือว่าครบ 1 รอบ ทำซ้ำแบบนี้ทั้งหมด 30 รอบ 4. เปลี่ยนมาหายใจปกติ ค่อยๆ แยกฝ่ามือทั้งสองออกจากกันช้าๆ แขนเหยียดตรง ในท่าหงายฝ่ามือ ค่อยๆ ลดระดับแขนที่เหยียดและมือลงช้าๆ นับ 1 ลดระดับ แขนและมือลงไปอีก 1 จังหวะ นับ 2 นับและลดระดับแขนและมือลงไปเรื่อยๆ จนครบ 30 แขนและมือจะอยู่ที่ระดับต้นขาพอดี คว่ำมือชิดต้นขา ขยับมือ ขา และเท้ามาชิดกัน ยืนปกติ “ช่วยลดความดันโลหิต ลดน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานได้ดี และควบคุมการทำงานของไขสันหลังได้อย่างมี ประสิทธิภาพ”

4 ขั้นตอนการทำสมาธิบำบัด แบบ SKT ประกอบด้วย(ต่อ) ท่าที่ 3 (SKT 3) “นั่งยืด–เหยียด ผ่อนคลาย ประสานกาย ประสานจิต” 1. นั่งบนพื้นราบในท่าที่สบาย เหยียดขา เข่าตึง หลังตรง เท้าชิด คว่ำฝ่ามือ บนต้นขาทั้ง 2 ข้าง ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจเข้าทางจมูก ลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจออกทาง ปากช้าๆ นับ 1-5 อีกครั้ง ทำแบบนี้ 3 รอบ (ดังรูปที่ 1) 2. หายใจเข้าทางจมูกลึกๆ ช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ โน้มตัวไปข้างหน้า แขนตึง ผลักฝ่ามือทั้งสองข้างไปด้านหน้า ค่อยๆ ลูบมือจากเข่า หน้าแข้ง ไปถึงข้อเท้า ให้ปลายนิ้วกลางจรดข้อเท้า กลั้นลมหายใจ นับ 1-3 (ประมาณ 3 วินาที) 3. ค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออกทางปากช้าๆ ฝ่ามือลูบหน้าแข้ง เข่า พร้อมกับค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง เงยหน้าขึ้น หน้าท้องตึงให้ได้มากที่สุด (ดังรูปที่ 3) นับเป็น 1 รอบ ทำซ้ำกัน 30 รอบ แล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้นช้าๆ นั่งตัวตรง ตามปกติ “ช่วยลดไขมันหน้าท้อง ไขมันในเลือด และอาการปวดเข้าปวดกล้ามเนื้อต้นคอ หลัง ต้นแขน อาการ ท้องอืด นอนไม่กลับ ลดความดันโลหิต และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เป็นอย่างดี”

5 ขั้นตอนการทำสมาธิบำบัด แบบ SKT ประกอบด้วย(ต่อ) ท่าที่ 4 (SKT 4) “ก้าวย่างอย่างไทย เยียวยากาย ประสานจิต” 1. ยืนตรงในท่าที่สบาย ลืมตา มือทั้งสองข้างยืนไขว้หลัง หรือด้านหน้า สูด ลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลม หายใจออกทางปากช้าๆ พร้อมกับนับ 1-5 อีกครั้ง ถือว่าครบ 1 รอบ ทำซ้ำ แบบนี้ทั้งหมด 5 รอบ 2. ยืนตัวตรง เท้าชิด สายตามองต่ำไปข้างหน้าประมาณ 2 ฟุต หายใจเข้าทางจมูก ช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ ยกเท้าขวาสูงจากพื้นเล็กน้อย กลั้นหายใจชั่วครู่ ค่อยๆ หายใจ ออกทางจมูกช้าๆ พร้อมกับค่อยๆ ก้าว เท้าขวาไปข้างหน้า จรดปลาย เท้าแตะพื้น ตามด้วยส้นเท้าวางลงบนพื้น นับเป็น 1 รอบ เดินไปข้างหน้า 20 รอบ หยุดเดินรอบที่ 20 3. วางเท้าซ้ายชิดเท้าขวาในช่วงที่หายใจออก ยืนตรง ตามองพื้น หมุนขวาโดย หายใจเข้า วางปลาย เท้าขวาลง หายใจเข้าพร้อมกับยกเท้าซ้ายลอยจากพื้น เล็กน้อย หายใจออกพร้อมวางเท้าซ้ายชิดเท้าขวา แล้วค่อยๆ หมุนขวา โดย ขยับเท้าให้เอียง 60 องศา และ 90 องศา ในท่ายืนตรง ทำซ้ำแบบเดิมโดย เดินไป -กลับ 2 เที่ยว ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง “ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน กับโรคเรื้อรังทุกประเภท”

6 ขั้นตอนการทำสมาธิบำบัด แบบ SKT ประกอบด้วย(ต่อ) ท่าที่ 5 (SKT 5) “ยืดเหยียดอย่างไทย เยียวยากาย ประสานจิต” 1. เริ่มจากยืนตรงในท่าที่สบาย เข่าตึง ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลม หายใจเข้า ทางจมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจออก ทางปากช้าๆ นับ 1-5 อีกครั้ง ทำแบบนี้ 5 รอบ 2. ค่อยๆ ยกมือทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะฝ่ามือประกบกัน แขนตึง แนบใบหู หายใจเข้าออก 1 ครั้ง (ดังรูปที่ 1) ค่อยๆ โน้มศีรษะ ตัว และแขนลงไปพร้อมๆ กัน ช้าๆ นับเป็นจังหวะที่ 1 หายใจ เข้า–ออก ครั้งที่ 2 ค่อยๆ โน้มศีรษะ ตัว และแขนลงไปพร้อมๆ กัน ช้าๆ นับเป็นจังหวะที่ 2 ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ โดย ต้นแขนแนบกับใบหูตลอดเวลา (ดังรูปที่ 2) นับจนครบจังหวะที่ 30 ปลายนิ้ว กลางจรดพื้นพอดี (ดังรูปที่ 3) 3. จากนั้นหายใจเข้า–ออก ช้าๆ 10 ครั้งในท่าก้มปลายนิ้วกลางจรดพื้น หายใจ เข้า–ออก ช้าๆ 1ครั้ง ค่อยๆ ยก ศีรษะ ตัว แขนขึ้นช้าๆ ต้นแขนแนบใบหู ยก ตัวขึ้นตามจังหวะการหายใจ นับจังหวะที่ 30 กลับมาอยู่ในท่าเดิม (ดังรูปที่ 1) 4. เปลี่ยนมาหายใจปกติ ค่อยๆ แยกฝ่ามือทั้งสองออกจากกันช้าๆ แขนเหยียดตรง ในท่าหงายฝ่ามือ ค่อยๆ ลด ระดับแขนที่เหยียดและมือลงช้า ๆ นับ 1 ลดระดับ แขนและมือลงไปอีก 1 จังหวะ นับ 2 นับและลดระดับแขนและ มือลงไปเรื่อยๆ จนครบ 30 แขนและมือจะอยู่ที่ระดับต้นขาพอดี คว่ำมือชิดต้นขา ขยับมือ ขา และเท้ามาชิดกัน ยืนปกติ “เทคนิค: ต้องเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ หายใจช้าๆ จึงจะได้ประโยชน์สูงสุด โดยเริ่มจากวันละ 30 จังหวะ และ ค่อยๆเพิ่มขึ้นในวันต่อๆ ไป ช่วยป้องกันและเสริมสร้างสุขภาพ ได้อย่างดี”

7 ขั้นตอนการทำสมาธิบำบัด แบบ SKT ประกอบด้วย(ต่อ) ท่าที่ 6 (SKT 6) “เทคนิคการฝึกสมาธิการเยียวยาไทยจินตภาพ” 1. นอนบนพื้นเรียบ แขนสองข้างวางแนบลำตัว ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลม หายใจเข้าทางจมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลม หายใจออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 อีกครั้ง ทำแบบนี้ 3-5รอบ 2. แล้วให้ความรู้สึกจดจ่ออยู่ที่อวัยวะที่เราพูดถึง พร้อมกับท่องในใจว่า “ศีรษะเรา เริ่มผ่อนคลาย ผ่อนคลาย ผ่อนคลาย ผ่อนคลาย ผ่อนคลาย 3 รอบ รอบที่ 4 และรอบที่ 5 ประโยคสุดท้ายให้ท่องว่าผ่อนคลายลง ไปเรื่อยๆ” พร้อมกับ กำหนดความรู้สึกจดจ่อไปที่อวัยวะที่เราพูดถึง เริ่มตั้งแต่ศีรษะ หน้าผาก ขมับ หนังตา แก้ม คาง ริมฝีปาก คอ ไหล่ ต้นแขน แขน มือ หน้าอก หลัง หน้าท้อง ต้นขา หัวเข่า น่อง เท้า และตัวเราทั้งตัว 3. เมื่อครบแล้วให้หายใจเข้าทางจมูกช้าๆ กลั้นลมหายใจ และหายใจออก ทางปากช้าๆ เหมือนตอน เริ่มต้นอีก 3 ครั้ง “เทคนิคนี้เหมาะสำหรับ ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี อัมพาต และผู้ที่มีปัญหาระบบการไหลเวียนโลหิต”

8 ขั้นตอนการทำสมาธิบำบัด แบบ SKT ประกอบด้วย(ต่อ) ท่าที่ 7 (SKT 7) “เทคนิคสมาธิเคลื่อนไหวไทยชี่กง” 1. ยืนตัวตรง แยกเท้าทั้งสองข้างพอประมาณ ค่อยๆ หลับตาลงช้าๆ สูดลมหายใจ เข้าทางจมูกลึกๆ ช้าๆ นับ 1-5 กลั้นหายใจนับ 1-3 ช้าๆ แล้วเป่าลมหายใจ ออกทางปากช้าๆ นับ 1-5 อีกครั้ง ทำแบบนี้ 5 รอบ 2. ค่อยๆ ยกมือ แขน ข้อศอกทั้งสองข้างอยู่ระดับเอว โดยหันฝ่ามือทั้งสองข้าง เข้าหากัน ขยับฝ่ามือ เข้าหากันช้าๆ นับ 1–3 และขยับฝ่ามือออกช้าๆนับ 1–3 (ดังรูปที่ 1-2) ทำทั้งหมด 30-40 รอบ แล้วยืนอยู่ในท่าเดิม 3. หายใจเข้าลึกๆนับ 1-5 ค่อยๆ ยกมือขึ้นเหนือศีรษะคล้ายๆ กับกำลังประคอง หรืออุ้มแจกันใบใหญ่ แล้วค่อยๆ ยกมือลงในท่าประคองแจกันเช่นกัน นับเป็น 1 รอบ (ดังรูปที่ 3-4) ทำทั้งหมด 30-40 รอบ แล้วยืนอยู่ในท่าเดิม ลดอาการ ท้องผูก นอนไม่หลับ อาการปวดเรื้อรัง/เฉียบพลัน และภูมิแพ้ หืด ไทรอยด์ เป็นพิษ โคเลสเตอรอลล์สูง นอนไม่หลับ ท้องผูก “ลดอาการท้องผูก นอนไม่หลับ อาการปวดเรื้อรัง/เฉียบพลัน และภูมิแพ้”

9 ข้อควรระวัง 1. ขณะฝึกปฏิบัติ ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ ไม่รัดตึง 2. อุณหภูมิของสถานที่ฝึกต้องไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป 3. ไม่ควรฝึกขณะหิวหรืออิ่มเกินไป 4. จิตจะต้องเป็นสมาธิ ไม่ไหวตามสิ่งเร้ารอบข้าง เช่น เสียง กลิ่น การพูดคุยของคนที่อยู่ข้างๆ เป็นต้น 5. ควรควบคุมอารมณ์และความคิดให้นิ่ง ไม่คิดเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น ให้จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้าออก 6. ระวังการถูกรบกวนทันที ต้องควบคุมจิตใจให้เป็นสมาธิอย่างแน่วแน่ 7. ขณะฝึกอาจมีอาการง่วงนอน ห้ามฝึกขณะขับขี่ยานพาหนะ ขณะทำงาน กับเครื่องจักร หรือใน สถานที่ที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ 8. หากมีอาการแน่นอึดอัดหรือหน้ามืด ให้หยุดฝึก และลงนั่งหรือนอนพักทันที 9. ผู้ที่เป็นเบาหวาน ควรพกลูกอมติดตัวไว้ด้วย 10. ควรเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ นุ่มนวล ระวังการบาดเจ็บของอวัยวะภายใน ได้แก่ หัวใจ ปอด ม้าม ตับ ไต


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook