พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราช วโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จัดทำโดย ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงแก่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด เชียงราย
นิทรรศกาพรศมรกรเสิหีะบสตฉิบพยิิศรนสาารลิรมททรมิะภิินสวมูสรนมชามมมิทิพถพรบหเรูเบดลารก็ารพจวรธณลิิะชพ้าเติาบชเอรรเรกวจศาดะ้ีุลรปารลยอางรรยงยกาเรูเม่กชหรดูตัรนวณวชิโทรรดรมามาธิบดี พระราชประวัติ พระบรมราชสมภพ การศึกษา สมเด็จพระยุพราช ทรงผนวช ทรงราชย์ พระเชษฐภคินีและพระขนิษฐา พระราชโอรสและพระราชธิดา พระบรมราชาภิเษก
พระบรมราชสมภพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวัน จันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๕ เวลา ๑๗.๔๕ น. ทรงเป็น พระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรม หาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ และ สมเด็จพระนาง เจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ นับเป็นปีที่ ๗ แห่งการเสด็จขึ้นทรง ราชย์ของรัชกาลที่ ๙
การศึกษา พุทธศักราช ๒๕๑๕ พุทธศักราช ๒๔๙๙ ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงที่วิทยาลัย การทหารดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา ประเทศ ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ณ โรงเรียน ออสเตรเลีย ทรงสำเร็จการศึกษา พุทธศักราช ๒๕๑๙ จิตรลดา ที่ตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งอุดร ใน พระราชวังดุสิต พุทธศักราช ๒๕๑๙ พุทธศักราช ๒๕๐๙ เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทย ทรงรับราชการ ทหารและทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหาร ทรงเข้ารับการศึกษาต่อระดับประถมศึกษา บก รุ่นที่ ๔๖ พุทธศักราช ๒๕๒๐ ทรงเข้าศึกษาใน ณ ประเทศอังกฤษ ที่โรงเรียนคิงส์มีด เมือง สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิ ซีฟอร์ด แคว้นซัสเซ็กส์ และในเดือน ราช พุทธศักราช ๒๕๒๕ ทรงสำเร็จการศึกษานิติ กันยายนปีเดียวกัน ได้เสด็จพระราชดำเนิน ศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๒) ทรงศึกษาต่อ ไปทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิ ยังวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร และทรงรับการ ลล์ฟิลด์ เมืองสตรีท แคว้นซัมเมอร์เซต ฝึกอบรมหลักสูตรทางการทหาร การบินอีกหลาย จนถึงเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๑๓ หลักสูตร ทรงผ่านการฝึกอบรมเครื่องบินรบจนมี พระปรีชาสามารถและมีจำนวนชั่วโมงบินสูงมาก รวมทั้งทรงศึกษาหลักสูตรนักบินพาณิชย์ จาก สถาบันการบินพลเรือน ทรงสอบได้ใบอนุญาต นักบินพาณิชย์ตรี พุทธศักราช ๒๕๑๓ พุทธศักราช ๒๕๔๗ ทรงเข้ารับการศึกษาวิชาการทหารที่โรง ทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนักบินพาณิชย์เอก จากบริษัท เรียนคิงส์ เขตพารามัตตา นครซิดนีย์ การบินไทย และทรงสำเร็จการศึกษาและการบินด้วย ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นโรงเรียน เครื่องบินพาณิชย์จริง ทรงได้รับใบอนุญาตเป็นกัปตัน เตรียมทหาร หลังทรงแสดงความสนพระ เครื่องบินโบอิ้ง ๗๓๗ ด้วยความสนพระราชหฤทัยและ ราชหฤทัยในกิจการเกี่ยวกับกองทัพและ วิริยอุตสาหะทำให้พระองค์ทรงมีพระปรีชาชาญด้าน กิจการทหาร การบิน รอบรู้ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ จนได้รับ พระนามให้เป็น “เจ้าฟ้านักบิน”
สมเด็จพระยุพราช วันที่ ๒๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๕ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธี สถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย ให้ดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระยุพราชมกุฎ ราชกุมาร หรือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎ ราชกุมาร ทรงพระราชทานพระสุพรรณบัฏ พระนามาภิไธย พระราชลัญจกร พระแสงดาบฝักทองเกลี้ยง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเครื่องราชอิสริยยศ ตาม ลำดับ และในพระสุพรรณบัฏจารึกพระนามไว้ว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิ ริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศ ยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร”
ทรงผนวช วันที่ ๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๑ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้า มหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงผนวชเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลในพระ ศาสนา และสนองพระเดชพระคุณ สมเด็จพระบรมราชบุพการีตามจารีตนิยม ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระอริ ยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธ เป็น พระราชอุปั ธยาจารย์ และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุว ฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับถวายสมณนาม ว่า “วชิราลงกรโณ” ประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เมื่อครบ ๑๕ วัน ทรงลาสิกขา
ทรงราชย์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ขึ้น ทรงราชย์เป็น พระมหากษัตริย์ รัชกาลใหม่ ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ตาม บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๒ วรรค ๒ ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๓ วรรค ๑ ได้บัญญัติเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์ว่า ในกรณีที่ราชบัลลังก์หากว่างลงและเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระ รัชทายาทไว้ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช ๒๔๖๗ แล้ว ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภา เรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาท ขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชน ทราบ
พระเชษฐภคินีและพระขนิษฐา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทร เทพยวรางกูร ทรงมีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์ คือ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และพระขนิษฐา ๒ พระองค์ คือ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลง กรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมา คุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัย ลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระ ศรีสวางควัฒน วร ขัตติยราชนารี
พระราชโอรสและพระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
พระบรมราชาภิเษก พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เป็นพระราชพิธีบรม ราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย พร้อม ทั้งเฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว พระ มหากษัตริย์รัชกาลที่ 10 แห่ง ราชวงศ์จักรี อย่างสมบูรณ์ตามโบราณ ราชประเพณี
นิทรรศกาพรศมรกรเสิหีะบสตฉิบพยิิศรนสาารลิรมททรมิะภิินสวมูสรนมชามมมิทิพถพรบหเรูเบดลารก็ารพจวรธณลิิะชพ้าเติาบชเอรรเรกวจศาดะ้ีุลรปารลยอางรรยงยกาเรูเม่กชหรดูตัรนวณวชิโทรรดรมามาธิบดี พระราชกรณียกิจ ด้านการทหารและการบิน ด้านกีฬา ด้านศาสนา ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ด้านสังคมสงเคราะห์
ด้านการทหารและการบิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินท รเทพยวรางกูร ทรงสนพระราชหฤทัยใน วิทยาการด้านการทหาร มาตั้งแต่ยังทรงพระ เยาว์ นอกจากทรงรับการศึกษาทางด้านการ ทหารจากประเทศออสเตรเลียแล้ว ยังทรงพระ ราชวิริยอุตสาหะในการเพิ่มพูนความรู้และพระ ประสบการณ์ด้านการทหารอยู่ตลอดเวลา โดย หลังสิ้นสุดการศึกษาด้านการทหารจากประเทศ ออสเตรเลียแล้ว ยังทรงเข้ารับการฝึกเพิ่มเติม และทรงศึกษางานทางการทหารในประเทศ ออสเตรเลีย โดยทุนกระทรวงกลาโหม ทรง ประจำการ ณ กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษ การทำลายและยุทธวิธีรบนอกแบบ หลักสูตร ต้นหนชั้นสูง หลักสูตรการลาดตระเวนและต้นหน ชั้นสูง หลักสูตรส่งทางอากาศ และยังทรงเข้า รับการศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ทางด้านการบิน อีกมากมาย ทำให้พระองค์ทรงมีพระ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการบิน ในระดับสูงมาก พระราชกรณียกิจด้านการทหารที่รักษาความ มั่นคงของประเทศ พระองค์ทรงเข้าร่วมปฏิบัติ การรบในการต่อต้านการก่อการร้ายบริเวณ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของ ประเทศไทย รวมทั้งการคุ้มกันพื้นที่ในบริเวณ รอบค่ายผู้อพยพชาวกัมพูชาที่เขาล้าน จังหวัด ตราด
ด้านกีฬา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงปฏิบัติพระราช กรณียกิจทั้งในฐานะผู้แทนพระองค์และในส่วนของพระองค์เอง อาทิ การพระราชทานไฟ พระฤกษ์กีฬาเยาวชนแห่งชาติ พระราชทานพระราชวโรกาสให้นักกีฬาไทยผู้นำความ สำเร็จ นำเกียรติยศ มาสู่ประเทศชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานรางวัล นักกีฬายอดเยี่ยม รับพระราชทานพร และทรงแสดงความชื่นชมยินดีที่นำความสำเร็จ นำ เกียรติยศมาสู่ตนเอง สู่วงศ์ตระกูล และประเทศชาติ พระราชกรณียกิจด้านการกีฬาอื่น ๆ อาทิ เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๑ ได้เสด็จ พระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงประกอบพิธีเปิดกีฬาเอเชียนเกมส์ ทำให้นักกีฬามีขวัญ และกำลังใจในการแข่งขัน ประสบชัยชนะนำเหรียญรางวัลมาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก พระองค์ทรงเป็นประธานในกิจกรรม Bike for Mom ปั่นจักรยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ กิจกรรม Bike For Dad “ปั่นเพื่อพ่อ” เนื่องใน โอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ด้านศาสนา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนิน แทนพระองค์ ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ อาทิ ทรงเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตามฤดูกาล เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลในวันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา อาทิ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา และการถวายกฐินหลวงตามวัดต่าง ๆ รวมถึงการเสด็จพระราชดำเนินไปในการ พระราชทานถ้วยรางวัล การทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานระดับ ประเทศ นอกจากนี้ ยังทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ วันที่ ๓ มกราคม ๒๕๐๙ ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ และทรง ผนวช เมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ ซึ่งระหว่างทรงผนวช พระองค์ก็ได้ทรง ศึกษาและปฏิบัติพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงตระหนักว่า สุขภาพพลานามัยของประชาชนเป็นปัจจัยและพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ จึงทรงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และ สาธารณสุข โปรดให้สร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ๒๑ แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยในถิ่นทุรกันดาร โดยที่พระองค์ทรงเป็นองค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระ ยุพราช ทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาลทุกแห่งและทรงเยี่ยมโรงพยาบาลอย่าง สม่ำเสมอ รวมทั้งพระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนให้มีอุปกรณ์การแพทย์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย
ด้านสังคมสงเคราะห์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีความ ห่วงใยต่อผู้ด้อยโอกาส และคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนแออัด พระองค์ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ หลายแห่ง อาทิ ชุมชนแออัดพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา และทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ พระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องกีฬา เครื่องดับเพลิง พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน อาทิ โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน และโครงการปราบปรามยาเสพติดในหมู่ เยาวชนชุมชนแออัดคลองเตย รวมถึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมทหารในบังคับบัญชาของ พระองค์ ร่วมกับประชาชนพัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้นด้วย
นิทรรศกาพรศมรกรเสิหีะบสตฉิบพยิิศรนสาารลิรมททรมิะภิินสวมูสรนมชามมมิทิพถพรบหเรูเบดลารก็ารพจวรธณลิิะชพ้าเติาบชเอรรเรกวจศาดะ้ีุลรปารลยอางรรยงยกาเรูเม่กชหรดูตัรนวณวชิโทรรดรมามาธิบดี โครงการในพระราชดำริ โครงการเกษตรวิชญา โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว โครงการเพื่อชุมชนเข้มแข็งและ ร่มเย็นบ้านสันติ ๒ จังหวัดยะลา โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านกูแบซีรา โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนอง อึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ยโสธร
โครงการเกษตรวิชญา โครงการเกษตรวิชญา ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีพระราชดำริมอบที่ดินส่วนพระองค์ในพื้นที่บ้านกองแหะ หมู่ ๔ ตำบล โป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด จำนวน ๑,๓๕๐ ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการในลักษณะคลินิกเกษตร เผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีการเกษตรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนา ห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในรูปแบบของศูนย์บริการและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชน และเป็นศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยพัฒนาการ เกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้ทำการสำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมต่อการเกษตร เลือกพืชปลูกให้ เหมาะสม กำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการอนุรักษ์และการ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ได้พระราชทานความหมายของ “โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว” ไว้ว่า สายใยรักของพ่อ-แม่ และลูกที่อยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวและมีความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกันอย่างแยกไม่ออกจะเป็นแค่สายใยรักของแม่กับลูก หรือของพ่อ กับลูกก็ไม่ได้ เพราะถ้าขาดคนใดคนหนึ่งไปครอบครัวก็จะไม่สมบูรณ์ สถาบัน ครอบครัว จะทำให้เด็กมีสุขภาพกายและใจที่ดี และเมื่อเติบใหญ่เด็กชายและ เด็กหญิงเหล่านั้นก็จะเป็นพ่อและแม่ที่ดีของลูก ๆ ในรุ่นต่อ ๆ ไป เป็นวัฏจักร ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้น ถ้าได้มีการสนับสนุนให้มีสายใยรักแห่งครอบครัวที่ดีแล้ว ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่า สังคมไทยในอนาคตจะมีแต่เยาวชนที่มีคุณภาพ แ ล ะ มี ค ว า ม ส า ม า ร ถ ที่ จ ะ ช่ ว ย พั ฒ น า ป ร ะ เ ท ศ ช า ติ ใ ห้ เ จ ริญ ก้ า ว ห น้ า ถ า ว ร สื บ ไ ป
โครงการเพื่อชุมชนเข้มแข็งและร่มเย็นบ้านสันติ ๒ จังหวัดยะลา เมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ช่วงเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๔๙ ชาวไทยพุทธจากบ้านสันติ ๑ หมู่ที่ ๒ ตำบล เขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา และบ้านสันติ ๒ หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่หวาด อำเภอ ธารโต จังหวัดยะลา จำนวน ๗๔ ครอบครัว รวม ๑๓๔ คน ได้รับผลกระทบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบ บ้านเรือนประชาชนถูกเผา ญาติพี่น้องถูกฆ่า ถูกทำร้าย ทำให้ไม่มีความปลอดภัยในชีวิต จึงอพยพมาอาศัยที่วัดนิโรธสังฆาราม (วัดหัว ควน) ในเขตเทศบาลนครยะลา พร้อมได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอรับพระราชทานความช่วยเหลือ พระองค์จึงได้ เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมให้กำลังใจและทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับชาวบ้าน ว่า “อย่าทิ้งถิ่นฐาน” พร้อมพระราชทานที่ดิน ๘๐ ไร่ สร้างบ้านให้ราษฎร ปรับปรุง สาธารณูปโภคและอาคารศูนย์เด็กเล็ก ส่งเสริมให้ทำการเกษตรพอเพียงและมี อาชีพเสริมเพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
โครงการพัฒนาพื้นที่บ้านกูแบซีรา หมู่บ้านกูแบซีรา หมู่บ้านเล็ก ๆ ในตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ความเป็นอยู่ยากจน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา พื้นที่ทำการเกษตรเป็นดิน ร่วนปนทราย ในฤดูฝนจะมีน้ำไหลล้นทะลักเข้าท่วมหมู่บ้าน ถนนรอบหมู่บ้านถูก ตัดขาด นาข้าว พืชผักและไม้ผลได้รับความเสียหาย สัตว์เลี้ยงก็ตาย ส่วนฤดู แล้งก็ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคและบริโภค ครั้นเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎ ราชกุมาร เสด็จฯ ทอดพระเนตรสภาพพื้นที่และเยี่ยมราษฎร ทรงทราบถึง ปัญหาดังกล่าว จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกัน พิจารณาหาแนวทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน หลังมีโครงการพระราชดำริพัฒนาบ้านกูแบซีรา ทำให้ปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่อยู่ อาศัยของราษฎรหมดไป พื้นที่ทำการเกษตรดีขึ้น มีอาชีพเสริมนอกจากการทำนา ทำให้มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงหลังมีการสร้างถนนทำให้การเดินทาง สะดวก การขนส่งพืชผลเกษตรออกสู่ตลาดได้รวดเร็วขึ้น
โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ยโสธร โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณหนองอึ่ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัด ยโสธร เกิดขึ้นหลังจากที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ รัชกาลที่ ๑๐ เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎร บ้านคำน้ำสร้าง ตำบลค้อเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ทรงรับทราบถึงปัญหาความทุกข์ยากและการประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากทุกปี จนพื้นที่การเกษตรเสียหาย เส้นทางสัญจรถูกตัดขาด เมื่อถึงฤดูแล้งก็ไม่มีน้ำใช้ เพียงพอในการอุปโภคและบริโภค จากปัญหาดังกล่าว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จึง พระราชทานพระราชดำริให้พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ด้วยการขุดลอกหนองอึ่ง พร้อมปรับปรุงดินและพื้นที่แห้งแล้งด้วยการปลูกป่าและหญ้าแฝก รวมถึงการ ฟื้นฟูสภาพป่าโดยรอบหนองอึ่งพื้นที่กว่า ๓,๐๐๖ ไร่ โดยให้ราษฎรได้เข้ามามีส่วน ร่วมและช่วยกันพัฒนาพื้นที่
แหล่งอ้างอิง พระบาทสมเด็ จพระปรเมนทรรามาธิ บดี ศรี สิ นทรมหาวชิ ราลงกรณ พระวชิ รเกล้ าเจ้ าอยู่ หั ว. (ม.ป.ป.). ค้ นจาก https://king.kapook.com/
Search
Read the Text Version
- 1 - 24
Pages: