สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง นิทรรศการ เฉลิมพระเกียรติ จัดทำโดย ห้องสมุดประชาชนอำเภอเวียงแก่น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเชียงราย
พระราชประวัติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พระราชสมภพ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นธิดาใน หม่อมเจ้านักขัต รมงคล กิติยากร (ภายหลังคือ พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น จันทบุรีสุรนาถ) กับ หม่อมหลวงบัว กิติยากร (ราชสกุล เดิม สนิทวงศ์) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2475 มีพระเชษฐาสองคนคือ หม่อมราช วงศ์กัลยาณกิติ์ กิติยากร และ หม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติ ยากร และมีพระขนิษฐาหนึ่งคนคือท่านผู้หญิง บุษบา สธน พงศ์ สำหรับพระนาม \"สิริกิติ์\" ได้รับพระราชทานจาก สมเด็จ พระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี มีความหมายว่า \"ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร\" เรียกโดยลำลองว่า \"คุณหญิง สิริ\" ส่วนพระราชสวามีจะทรงเรียกว่า \"แม่สิริ\"
การศึกษา
พ.ศ. 2479 เมื่อหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีอายุได้ 4 ปี ก็ได้เข้ารับการศึกษาครั้งแรกในชั้นอนุบาลที่ โรงเรียนราชินี ทว่าในขณะนั้น สถานการณ์ระหว่าง ประเทศไม่สงบ กล่าวคือ สงครามแปซิฟิก เริ่มแผ่ ขยายมาถึงสยาม จังหวัดพระนคร ถูกโจมตีทาง อากาศหลายครั้งจนการคมนาคมไม่สะดวก บิดาจึงให้ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ย้ายไปเรียนที่ โรงเรียนเซนต์ฟ รังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ เพราะอยู่ใกล้วังบิดา ได้ เรียนที่นั่นตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จนถึงชั้น มัธยมศึกษา หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เริ่มเรียน เปียโน ซึ่งเรียนได้ดีและเร็วเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังได้ศึกษา ภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส ซึ่งทรงสันทัดเช่นกัน
พ.ศ. 2489 ครั้นเมื่อ สงครามโลกครั้งที่สองสงบลง หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องเสด็จไปดำรงตำแหน่ง อัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนัก เซนต์เจมส์ ประเทศ อังกฤษ ทั้งนี้ได้ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไปอยู่ด้วย ใน เวลานั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ มีอายุได้ 13 ปีเศษ และเรียน จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แล้ว ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้ศึกษา ต่อทั้งวิชาภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส และวิชาเปียโนกับครู พิเศษ หลังจากนั้นไม่นาน บิดาย้ายไปประเทศเดนมาร์ก และ ฝรั่งเศส ตามลำดับ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็ยัง คงเรียนเปียโนและตั้งใจจะศึกษาต่อในวิทยาลัยการดนตรีที่ มีชื่อเสียงของกรุง ปารีส จนจบ
ระหว่างที่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส หม่อมราชวงศ์สิ ริกิติ์ได้มีโอกาสรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระมหา ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อครั้ง ดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช (ขณะนั้นทรงศึกษาต่อที่ ประเทศสวิต เซอร์แลนด์ หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์) ซึ่ง พระองค์เสด็จประพาสกรุงปารีสเพื่อทอด พระเนตรโรงงานทำรถยนต์ ทั้งนี้เนื่องจากสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดการดนตรี เป็นพิเศษ ขณะที่หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ก็สนใจศิลปะ เช่นกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ขึ้น
อภิเษกสมรส
เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 พระราชพิธีราชาภิเษก สมรสในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จึงจัดขึ้น ณ วังสระปทุม โดยมี สมเด็จ พระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จฯ เป็นองค์ประธาน ในการนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยในทะเบียนสมรสและโปรด ให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรพร้อมทั้งสักขีพยานลงนาม ในทะเบียนนั้น หลังจากนั้น สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า เสด็จออกในพระราชพิธีถวายน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและทรงรดน้ำพระพุทธมนต์เทพมนต์แด่ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ในการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ตามโบราณราชประเพณี ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชโปรดเกล้าฯ ให้อาลักษณ์อ่านประกาศสถาปนา หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากรขึ้นเป็น \" สมเด็จพระราชินีสิริกิ ติ์ \" พร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหา จักรีบรมราชวงศ์ ในการนี้ด้วย
ต่อมา ในการ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระ ราชดำริว่า ตามโบราณราชประเพณีเมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยา ธิราชเจ้าได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อม โปรดให้สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระอัครมเหสีขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมราชินี ดังนั้น พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ประกาศสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิ ริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี หลังจาก นั้นทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ กลับไปยังสวิตเซอร์แลนด์เพื่อทรง รักษาพระองค์และทรงศึกษาต่อ จนกระทั่ง พระองค์มีพระประสูติ กาล สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนา พรรณวดี และเมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอมีพระชันษาได้ 3 เดือน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีจึงเสด็จนิวัติประเทศไทย
พระราชโอรส และพระธิดา
ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนา พรรณวดี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้า ฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี)
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ)
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตน ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (พระนามเดิม: สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติ วัฒนาดุลโสภาคย์)
สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัย ลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วร ขัตติยราชนารี (พระนามเดิม: สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี)
ผู้สำเร็จ ราชการแทน พระองค์
เมื่อ พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา ภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชประสงค์จะผนวชเป็นพระภิกษุ ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน เป็นระยะ เวลา 15 วัน จึงต้องมีการแต่งตั้ง ผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ ดังนั้นพระองค์ทรงพระราชดำริว่าสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้ทรงพระปรีชา สามารถในอันที่จะรับพระราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิ ริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใน ระหว่างที่ผนวช
ต่อมา ใน วันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคมปีเดียวกันนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระบรม ราชโองการประกาศว่า ตามราชประเพณี เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เคยมีประกาศให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม ราชินีนาถ และทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีได้ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในระหว่างที่ผนวช และได้ปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วย พระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิ ติ์ พระบรมราชินีว่า \" สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ \" นับว่าทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระองค์ที่ 2 ในประเทศไทย โดยพระองค์แรก คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภา ผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปี หลวง )
พระราชกรณียกิจ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ด้านการ ส่งเสริมศิลปาชีพ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงปฏิบัติพระ ราชภารกิจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภารกิจในการส่งเสริม คุณภาพชีวิต อาชีพ และความเป็นอยู่ของบุคคลผู้ยากไร้ และ ประชาชนในชนบทห่างไกล ได้โดยเสด็จพระราชดำเนิน พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทั่วทุกหนแห่งในแผ่นดินไทยนี้ โครงการที่มีสาขาขยายกว้างขวางไปทั่วประเทศโครงการหนึ่ง ก็คือ โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ซึ่งในภายหลังทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯให้ก่อตั้ง เป็นรูปมูลนิธิ พระราชทานนามว่า \"มูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์\" เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2519 และเมื่อ พ.ศ. 2528 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ อันเป็นการส่งเสริมอาชีพและขณะเดียวกันยังอนุรักษ์ และส่งเสริมงานศิลปะพื้นบ้านที่มีความงดงามหลายสาขา เช่น การปั้น การทอ การจักสาน เป็นต้น
ด้านการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณในการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ อันเป็นฐาน การดำรงชีวิตของพสกนิกร คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ถวายพระราชสมัญญา \"พระมารดาแห่งการคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ\" แด่พระนามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อ เป็นการแสดงกตเวทิคุณของรัฐบาล และปวงชนชาวไทย ใน พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อการคุ้มครองความหลากหลายทาง ชีวภาพของประเทศ
ด้านสาธารณสุข
นอกจากนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ยังทรงเอาพระทัยใส่ใน กิจการด้าน สาธารณสุข โดยได้ทรงดำรงตำแหน่ง สภานายิกา สภากาชาดไทย และหากเสด็จฯ เยือนต่างประเทศ ก็มักจะทรง ถือโอกาสเสด็จฯ ทอดพระเนตรกิจการ กาชาด ของประเทศนั้น ๆ เพื่อทรงนำมาปรับปรุงกิจการสภากาชาดไทยอยู่เสมอ
ด้านการทหาร
ทรงดำรงตำแหน่งพันเอกผู้บังคับการพิเศษ กรมทหาร ราบที่ 21 รักษาพระองค์ ทรงให้ความสนพระทัยต่อการ ดำเนินงานของ กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ ตลอด มา โดยผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 21 จะเข้ามาถวาย รายงานถึงผลการปฏิบัติงานพร้อมกับรับพระราชเสาวนีย์ ตลอดจนคำแนะนำไปดำเนินการปฏิบัติอยู่เป็นประจำ
ด้านการเกษตร
ในด้านการเกษตร จะทรงเน้นในเรื่องของการค้นคว้า ทดลอง และวิจัยหาพันธุ์พืชใหม่ ๆ ทั้งพืชเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร รวมถึง การศึกษาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช และพันธุ์สัตว์ต่าง ๆ ที่เหมาะสม กับสภาพท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่งแต่ละโครงการจะเน้นให้สามารถนำไป ปฏิบัติได้จริง มีราคาถูก ใช้เทคโนโลยีง่าย ไม่สลับซับซ้อน เกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ นอกจากนี้ ยังทรงพยายามไม่ให้เกษตรกรยึดติดกับพืชผล ทางการเกษตรเพียงอย่างเดียว เพราะอาจเกิดปัญหาอันเนื่อง มาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ หรือความ แปรปรวนทางการตลาด แต่เกษตรกรควรจะมีรายได้จากด้านอื่น นอกเหนือไปจากการเกษตรเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อจะได้พึ่งตนเองได้ใน ระดับหนึ่ง
ด้านการชลประทาน
การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการ ชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์ อย่างยิ่งสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เพราะ เกษตรกรจะสามารถทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ ตลอดปี เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็น พื้นที่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำ จากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่ สม่ำเสมอ และไม่เพียงพอ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่ง น้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประเภทอื่น
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราช ชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน คำขวัญวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2565 ความว่า พระคุณแม่ยิ่งใหญ่เกินใดเปรียบ จะหาใครมาเทียบยากจักหา ประพฤติดีด้วยใจกายวาจา ประกาศคุณมารดาต่อแผ่นดิน
แหล่งอ้างอิง สถาบั นเทคโนโลยี จิ ตรลดา. (2563). พระราชประวั ติ และพระราชกรณี ยกิ จ สมเด็ จพระนางเจ้ าสิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี นาถ พระบรมราชชนนี พั นปี หลวง. ค้ นจาก https://www.cdti.ac.th/en/พระราชประวั ติ และพระราช กรณี ยกิ จ%C2%A0พระบรมราชชนนี พั นปี หลวง หน่ วยราชการในพระองค์ . (2565). พระราชประวั ติสมเด็ จพระนางเจ้ าสิ ริ กิ ติ์ พระบรมราชิ นี นาถ พระบรมราชชนนี พั นปี หลวง. ค้ นจาก https://www.royaloffice.th/2022/08/01/พระราชประวั ติ /
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
Search
Read the Text Version
- 1 - 35
Pages: