Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นิราศภูเขาทอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

นิราศภูเขาทอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

Description: นิราศภูเขาทอง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

Search

Read the Text Version

วรรณคดีไทย เรื่อง นิราศภูเขาทอง มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระที่ ๕ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม ไทยอย่างเห็นคุณค่าและนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ท ๕.๑ ม.๑/๑ สรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนวัดทองเพลง

ชุดการเรียนรู้ Learning Package นิราศภูเขาทอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เสนอ ผศ.ฤดี กมลสวัสดิ์ จัดทำโดย นางสาวนิตา สงประเสริฐ ๖๓๒๑๑๒๔๐๔๙ นางสาวกมลชนก แวงวัน ๖๓๒๑๑๒๔๐๕๐ นางสาวพัฒนาวดี ไร่วิบูลย์ ๖๓๒๑๑๒๔๐๕๖ นางสาวชุติกาญจน์ โคตรเสนา ๖๓๒๑๑๒๔๐๖๐ นางสาวปุณฑริก มั่นคง ๖๓๒๑๑๒๔๐๖๑ นางสาวสุนิตา คำภางาม ๖๓๒๑๑๒๔๐๖๖ นายศักดา เกาะด่านกลาง ๖๓๒๑๑๒๔๐๘๓ นักศึกษาชั้นปี ๓ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย (ค.บ.) มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) นี้ จัดทำขึ้น เพื่อประกอบการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทย เรื่องนิราศภูเขาทอง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ผู้จัดทำ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติผู้แต่ง ความเป็นมา เรื่องย่อ ลักษณะคำประพันธ์ วิเคราะห์ คุณค่า และคำศัพท์ เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ และ ความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น โดยนำเสนอในรูป แบบที่น่าสนใจ ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์ แก่นักเรียนและผู้สนใจ ได้ไม่มากก็น้อย จัดทำโดย คณะผู้จัดทำ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

สารบัญ ประวัติผู้แต่ง ๑ ความเป็นมา ๖ เนื้อเรื่องย่อ ๑๑ ลักษณะคำประพันธ์ ๑๕ วิเคราะห์คุณค่า ๑๘ คำศัพท์ ๒๗ เกร็ดความรู้ ๓๒ แบบฝึกหัด ๓๗ เฉลยแบบฝึกหัด ๕๑ อ้างอิง ๖๐ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๑ ประวัติผู้แต่ง วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๒ ประวัติผู้แต่ง สุนทรภู่ เกิดในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช (สมัยรัตนโกสินทร์) เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ในวัยเด็กได้อาศัยอยู่กับมารดาซึ่งถวายตัว เป็นพระนมในพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข และได้เล่าเรียนที่วัดชีปะขาว ปัจจุบัน คือ วัดศรีสุดาราม วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๓ ประวัติผู้แต่ง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๒ สุนทรภู่ได้ เข้ารับราชการและได้แสดงความสามารถ ด้านการประพันธ์จนเป็นที่พอพระราช หฤทัยจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นขุนสุนทรโวหาร แต่เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๒ สุนทรภู่ได้ ออกบวช ๒๐ ปี ในระหว่างนี้ได้เดินทาง ไปยังหัวเมืองต่าง ๆ และแต่งนิราศขึ้น หลายเรื่องซึ่งรวมถึงนิราศภูเขาทอง วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๔ ประวัติผู้แต่ง เมื่อสึกแล้วสุนทรภู่ได้กลับเข้ารับ ราชการอีกครั้งในปลายสมัยรัชกาลที่ ๓ ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ สุนทรภู่ได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอารักษ์ฝ่าย พระราชวังบวรสถานมงคล ซึ่งเป็น ตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนถึงแก่กรรม ในพุทธศักราช ๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๗๐ ปี วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๕ ประวัติผู้แต่ง สุนทรภู่ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวี ที่มีความสามารถในการแต่งกลอน เนื่องจากมีลักษณะเฉพาะจึงได้รับ ความนิยมกว้างขวาง สุนทรภู่ได้รับการ ยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลที่มีผล งานดีเด่นของโลกด้านวรรณกรรม วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๖ ความเป็นมา

๗ ความเป็นมา สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทองในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๓) เมื่อราวปลาย พ.ศ. ๒๓๗๓ โดยเล่าถึงการ เดินทางเพื่อไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทองที่ เมืองกรุงเก่าหรือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปัจจุบัน หลังจากจำพรรษาอยู่ที่ วัดราชบูรณะหรือวัดเลียบ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๘ ความเป็นมา นิราศเป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่ง ของไทย มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เท่าที่ ปรากฏหลักฐาน ในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรก ของไทยนั้น ได้แก่ โคลงนิราศหริภุญชัย ซึ่งแต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื้อหาของ นิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี (ชาย) ต่อสตรีอันเป็นที่รัก เนื่องจากต้อง พลัดพรากจากนางมาไกล วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๙ ความเป็นมา อย่างไรก็ตามนางในนิราศที่กวี พรรณนาว่าจากมานั้น อาจมีตัวตนจริงหรือ ไม่ก็ได้แต่กวีส่วนใหญ่ถือว่านางผู้เป็น ที่รักเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเอื้อให้กวีแต่ง นิราศได้ไพเราะแม้ในสมัยหลังกวีอาจไม่ ได้ให้ความสำคัญเรื่องการคร่ำครวญถึงนาง แต่เน้นที่การบันทึกระยะทางเหตุการณ์ และอารมณ์แต่ก็ยังคงมีบทครวญถึงนาง แทรกอยู่ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๑๐ ความเป็นมา ดังเช่นที่ สุนทรภู่แต่งนิราศภูเขาทอง ทั้งๆ ที่กำลังบวชอยู่สุนทรภู่ก็ยังเห็นว่าการ ครวญถึงสตรีเป็นสิ่งจำเป็นในการแต่งนิราศ จึงกล่าวไว้ในกลอนตอนท้ายนิราศเรื่องนี้ว่า ใช่จะมีที่รักสมัครมาด แรมนิราศร้างมิตรพิสมัย ซึ่งคร่ำครวญทำทีพิรี้พิไร ตามนิสัยกาพย์กลอนแต่ก่อนมา เหมือนแม่ครัวคั่วแกงพะแนงผัด สารพัดเพียญชนังเครื่องมังสา อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา ต้องโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ จงทราบความตามจริงทุกสิ่งสิ้น อย่านึกนินทาแกล้งแหนงไฉน นักเลงกลอนนอนเปล่าก็เศร้าใจ จึงร่ำไรเรื่องร้างเล่นบ้างเอย วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๑๑ เนื้อเรื่องย่อ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๑๒ เนื้อเรื่องย่อ เดือนสิบเอ็ดหลังฤดูกฐิน ภิกษุภู่ได้ล่องเรือไป สักการะพระเจดีย์ภูเขาทองกับหนูพัดผู้เป็นลูกชาย ท่านออกเดินทางจากวัดราชบูรณะ พอพายเรือผ่าน พระบรมหาราชวังแล้วก็คิดถึงพระเจ้าอยู่หัว ผ่านหน้าแพพระตำหนักน้ำก็คิดถึงอดีตที่เคย เข้าเฝ้าพระองค์ท่านที่นั่นจนน้ำตาไหลอีก ผ่านวัด ประโคนปัก เห็นแพขายของเรียงราย ขายทั้งผ้า แพร ทั้งข้าวของอื่น ๆ ผ่านโรงเหล้า บางจาก บางพลู บางพูด บางโพ บ้านญวน วัดเขมา ตลาดแก้ว แล้วจึงเข้าสู่เขตเมืองนนทบุรี วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๑๓ เนื้อเรื่องย่อ ผ่านตลาดขวัญย่านการค้า เรือขายผ้าขายของสวนกันคึกคัก ผ่านบางธรณี ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่ง เป็นชุมชนมอญ เห็นหญิงมอญ แต่งหน้าทำผมเหมือนชาวไทย ผ่านบางพูด บ้านใหม่ บางเดื่อ และบางหลวงเชิงราก เมื่อเข้าเขตเมืองปทุมธานีเมืองสามโคกแล้วผ่าน บ้านงิ้วและเข้าเขตพระนครศรีอยุธยา ผ่านเกาะ ใหญ่ราชคราม จวนเจ้าเมือง แล้วมาจอดเรือที่ท่า วัดหน้าพระเมรุ และค้างคืนในเรือ คืนนั้นมีโจร แอบมาขโมยของในเรือ แต่ภิกษุภู่ไหวตัวทัน จึงร้องตะโกนจนโจรหนีไป

๑๔ เนื้อเรื่องย่อ เมื่อถึงรุ่งเช้าซึ่งเป็นวันพระ ภิกษุภู่และหนู พัดลงจากเรือเพื่อเดินทางไปยังเจดีย์ภูเขาทอง ท่านพบพระบรมสารีริกธาตุอยู่ในเกสรดอกบัว จึงเก็บมานมัสการ แต่พอถึงรุ่งเช้า พระบรม สารีริกธาตุ ก็พลันอันตรธานหายวับไปเป็นที่ น่าเสียเสียดาย ส่วนขากลับ สุนทรภู่กล่าวแต่เพียงว่า เมื่อถึง กรุงเทพมหานคร ได้จอดเทียบเรือท่ีท่าน้ำหน้าวัด อรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

๑๕ ลักษณะ คำประพันธ์ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๑๖ ลักษณะคำประพันธ์ นิราศภูเขาทองแต่งด้วยคำประพันธ์ ประเภทกลอนนิราศซึ่งมีลักษณะคล้ายกลอน สุภาพ แต่มีความแตกต่างกันตรงที่กลอน นิราศจะแต่งขึ้นต้นเรื่องด้วยกลอนวรรครับ และจะแต่งต่อไปอีกโดยไม่จำกัดจำนวนบท แต่ต้องให้คำสุดท้ายซึ่งอยู่ในวรรคส่งจบลง ด้วยคำว่า “เอย” แผนผังและตัวอย่าง วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๑๗ ลักษณะคำประพันธ์ แผนผังและตัวอย่าง วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๑๘ วิเคราะห์ คุณค่า วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๑๙ วิเคราะห์คุณค่า คุณค่าด้านเนื้อหา สะท้อนสภาพบ้านเมืองและสังคม (การติดต่อค้าขาย) “ไปพ้นวัดทัศนาริมท่าน้ำ แพประจำจอดรายเขาขายของ มีแพรผ้าสารพัดสีม่วงตอง ทั้งสิ่งของขาวเหลืองเครื่องสำเภา” ภาพการค้าขายที่ดำเนินไปอย่างคึกคัก มีการนำสินค้าหลากหลายประเภทที่บรรทุก มากับเรือสำเภา มาวางขายในแพที่จอดเรียง รายอยู่ตามริมน้ำ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๒๐ วิเคราะห์คุณค่า คุณค่าด้านเนื้อหา สะท้อนสภาพบ้านเมืองและสังคม (ชุมชนชาวต่างชาติ) “ถึงเกร็ดย่านบ้านมอญแต่ก่อนเก่า ผู้หญิงเกล้ามวยงามตามภาษา เดี๋ยวนี้มอญถอนไรจุกเหมือนตุ๊กตา ทั้งผัดหน้าจับเขม่าเหมือนชาวไทย” กล่าวถึงหญิงสาวชาวมอญซึ่งอาศัยอยู่ใน ย่านปากเกร็ด (เขตจังหวัดนนทบุรี) ในสมัย นั้นนิยมแต่งหน้าและแต่งผมตามอย่างหญิง สาวชาวไทย วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๒๑ วิเคราะห์คุณค่า คุณค่าด้านเนื้อหา สะท้อนสภาพบ้านเมืองและสังคม (การละเล่นและงานมหรสพ ) “มาจอดท่าหน้าวัดพระเมรุข้าม ริมอารามเรือเรียงเคียงขนาน บ้างขึ้นล่องร้องรําเล่นสำราญ ทั้งเพลงการเกี้ยวแก้กันแซ่เซ็ง บ้างฉลองผ้าป่าเสภาขับ ระนาดรับรัวคล้ายกับนายเส็ง มีโคมรายแลอร่ามเหมือนสามเพ็ง เมื่อคราวเคร่งก็มิใคร่จะได้ดู” งานฉลองผ้าป่าที่วัดพระเมรุ มีการประดับ ประดาไฟ แลดูสว่างไสวไปทั่วบริเวณงาน และยังมีการขับเสภาและร้องเพลงเรือเกี้ยว กันระหว่างหนุ่มสาวชาวบ้าน วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๒๒ วิเคราะห์คุณค่า คุณค่าด้านเนื้อหา ตำนานสถานที่ “ถึงอารามนามวัดประโคนปัก ไม่เห็นหลักลือเล่าว่าเสาหิน เป็นสำคัญปันแดนในแผ่นดิน มิรู้สิ้นสุดชื่อที่ลือชา” “วัดประโคนปัก” สุนทรภู่ได้บอกเล่าเรื่อง ราวอันเป็นที่มาของชื่อวัดแห่งนี้ เหตุที่วัดมีชื่อว่า ประโคนปัก เนื่องจากมี การเล่าสืบต่อกันมาว่าบริเวณนี้เป็นที่ปักเสา ประโคนเพื่อปันเขตแดน วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๒๓ วิเคราะห์คุณค่า คุณค่าด้านสังคม ความเชื่อในพระพุธศาสนา “งิ้วนรกสิบหกองคุลีแหลม ดังขวากแซมเสี้ยมแทรกแตกไสว ใครทำชู้คู่ท่านครั้นบรรลัย ก็ต้องไปปีนต้นน่าขนพอง” ความเชื่อที่ว่า หากใครคบชู้ คือ ประพฤติ ตนผิด ศีลข้อ ๓ ตามหลักศีล ๕ เมื่อตายไปผู้ นั้นจะตกนรกและต้องปีนต้นงิ้วซึ่งมีหนามยาว และแหลมคม วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๒๔ วิเคราะห์คุณค่า คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การใช้เสียงถ้อยคำ ทำให้เกิดภาพที่ชัดเจน ดังเช่นตอนที่สุนทรภู่เดินทางมาถึงบริเวณวัด เขมาภิรตารามเรือเกิดติดน้ำวน สุนทรภู่ได้ บรรยายด้วยถ้อยคำที่ทำให้เกิดภาพชัดเจนว่า ดูน้ำวิ่งกลิ้งเชี่ยวเป็นเกลียวกลอก กลับกระฉอกฉาดฉัดฉวัดเฉวียน บ้างพลุ่งพลุ่งวุ้งวงเหมือนกงเวียน ดูเวียนเวียนคว้างคว้างเป็นหว่างวน ทั้งหัวท้ายกรายแจวกระชากจ้วง ครรไลล่วงเลยทางมากลางหน โอ้เรือพ้นวนมาในสายชล ใจยังวนหวังสวาทไม่คลาดคลา วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๒๕ วิเคราะห์คุณค่า คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การเล่นสัมผัสสระและสัมผัสอักษรเพื่อให้ เกิดความไพเราะในการอ่าน พระสุริยงลงลับพยับฝน ดูมัวมนมืดมิดทุกทิศา ถึงทางลัดตัดทางมากลางนา ทั้งแฝกคาแขมกกขึ้นรถเรี้ยว เป็นเงาง้ำน้ำเจิ่งดูเวิ้งว้าง ทั้งกว้างขวางขวัญหายไม่วายเหลียว เห็นดุ่มดุ่มหนุ่มสาวเสียงกราวเกรียว ล้วนเรือเพรียวพร้อมหน้าพวกปลาเลย เขาถ่อคลองว่องไวไปเป็นยืด เรือเราฝืดเฝือมานิจจาเอ๋ย ต้องถ่อค้ำร่ำไปล้วนไม่เคย ประเดี๋ยวเสยสวบตรงเข้าพงรก สัมผัสอักษร มีคำว่า ลงลับ , มัวมนมืด , รถเรี้ยว , เงาง้ำ , เวิ้งว้าง , ขวางขวัญ , สาวเสียง , กราวเกรียว , เพรียวพร้อม , เรือเรา , ฝืดเฝือ , เสยสวบ สัมผัสสระ มีคำว่า ลัดตัด (สัมผัสสระ -ะ) , ทางมากลางนา (สัมผัสสระ -า), ถ่อคลองว่อง (สัมผัสสระ ออ) , ไวไป (สัมผัสสระ ไ) , ค้ำร่ำ (สัมผัสสระ -ำ) วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๒๖ วิเคราะห์คุณค่า คุณค่าด้านวรรณศิลป์ การใช้ภาพพจน์ “อุปมา” เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบ ละอองอบรสรื่นชื่นนาสา สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์ สุนทรภู่เคยรับราชการใกล้ชิดเบื้อง พระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย แบบใกล้ชิดมากจนได้กลิ่น หอมจากพระวรกาย แต่เมื่อสิ้นพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแล้ววาสนา ของสุนทรภู่หมดลงไปด้วย เหมือนกับกลิ่น หอมจากพระวรกายที่สุนทรภู่เคยรับรู้นั้นเอง อุปมาโวหาร คือ คำว่า เหมือน เปรียบ วาสของตนเองเหมือนกับกลิ่นพระวรกาย ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๒๗ คำศัพท์ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

คำศัพท์ ๒๘

๒๙ คำศัพท์

๓๐ คำศัพท์

๓๑ คำศัพท์

๓๒ เกร็ด ความรู้ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๓๓ เกร็ดความรู้ • นิราศภูเขาทอง ได้รับการ ยกย่องว่าเป็นนิราศที่ไพเราะที่สุด ในบรรดานิราศเรื่องต่าง ๆ ของ สุนทรภู่ • เจดีย์ภูเขาทอง มีจุดประสงค์เพื่อบันทึกการเดิน ทางจากกรุงเทพฯ ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่ พระนครศรีอยุธยา •โรงเหล้า ที่พูดถึงน่าจะตั้งอยู่ แถวบางยี่ขัน ซึ่งเป็นย่านโรง สุรามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ • วัดประโคนปักที่พูดถึงใน เรื่องก็คือ วัดดุสิตารามวรวิหาร วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๓๔ เกร็ดความรู้ • สามโคก เป็นชุมชนของชาวมอญมา ตั้งแต่สมัยอยุธยา ในสมัยรัชกาลที่ ๑ พวกมอญได้อพยพหนีพวกพม่าเข้ามา พึงพระบรมโพธิสมภารหลายหมื่นคน \"บ้านสามโคก\" ซึ่งเป็นชุมชนเล็ก ๆ จึงกลายเป็น “เมืองสามโคก” ไป ช่วงเทศกาลออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๓๕๘ ขณะที่ รัชกาลที่ ๒ เสด็จประพาสเมืองสามโคก พสกนิกร ได้นำดอกบัวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายกันเป็นจำนวนมาก จึงมีพระราชทานนามเมืองสามโคกใหม่ว่า \"เมืองปทุมธานี\" ดังที่ปรากฏในนิราศภูเขาทองว่า “ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว” วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๓๕ เกร็ดความรู้ • วัดราชบูรณะ หรือวัดราชบูรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) เดิมเป็นวัดราษฎร์ ต่อมาเมื่อสถาปนา กรุงเทพฯเจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ได้บูรณะ และยกระดับเป็นพระอารามหลวงตาม ธรรมเนียมโบราณที่เมืองราชธานีจะต้องมีวัด สำคัญ ๓ แห่ง คือวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และ วัดราชประดิษฐ์ • ภูเขาทอง ในนิราศภูเขาทองอยู่ที่จังหวัด พระนครศรีอยุธยา ไม่ใช่ภูเขาทองวัดสระเกศ กรุงเทพฯ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๓๖ เกร็ดความรู้ • เจดีย์ภูเขาทอง เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสีขาว ขนาดสูงใหญ่ ตั้งอยู่กลางทุ่ง สามารถมองเห็นได้ ชัดเจน เชื่อกันว่าพระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีกรุง ศรีอยุธยาได้สำเร็จ จึงสร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบ มอญไว้เป็นอนุสรณ์ ต่อมาพระเจ้าบรมโกศ โปรดให้เปลี่ยนจากเจดีย์มอญเป็นเจดีย์ย่อมุม ไม้สิบสองตามความนิยมในสมัยอยุธยา ส่วน ฐานยังคงเป็นศิลปะมอญอยู่ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๓๗ แบบฝึกหัด วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

แบบฝึก หัดที่ ๑ ๓๘ คำชี้แจง : ให้นักเรียนบอกความหมาย ของคำศัพท์จากแฟลชการ์ดที่กำหนดให้ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๓๙ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๔๐ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๔๑ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๔๒ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๔๓ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๔๔ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๔๕ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง

๔๖ วรรณคดีไทยเรื่อง นิราศภูเขาทอง


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook