หนังสือ ประวัติศาสตร์ ชุมชน ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ
คณะผู้จัดทำ วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ
คณะผู้จัดทำ 1.นายวัชระกร ศรีคำ ตำแหน่ง อาจารย์ที่ปรึกษาตำบลเวียงสระ 2.นางสาวเยาวภา สุระกา ตำแหน่ง ประธานตำบลเวียงสระ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 3.นางสาวพุ ทธพร จงจิตต์ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 4.นายชวัลวิทย์ เล่าซี้ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 5.นางสาวหนึ่งฤทัย คงอินทร์ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 6.นางสาว เคียงฟ้า ไชยชำนิ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 7.นางสาวนัดดาวดี ดำเพชร ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 8.นางสาวปัทมาพร มีสิทธิ์ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 9.นางสาวอนงนุช กรองทอง ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 10.นายพงศ์ศักดิ์ รักแก้ว ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 11.นางสาวมุทิตา สินโต ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 12.นางสาวศิริยากร ชัยสิทธิ์ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 13.นางสาวปฏิมา พระวิวงค์ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 14.นายธิติสรรค์ เลี่ยนศิริ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 15.นายทันตสัณห์ บุญเนียม ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 16.ว่าที่ร้อยตรีสมหมาย บุญกล่ำ ตำแหน่ง บัณฑิตจบใหม่ (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 17.นายโฆษิต ถิ่นพิบูลย์ ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 18.นายกิติพงษ์ แก้วงาม ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 19.นางสาวนวภรณ์ ปรีชา ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 20.นายวีรพล สุระกา ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 21.นายธำรง เต็มราม ตำแหน่ง ประชาชน (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 22.นางสาวโกมลดา ชูยัง ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 23.นางสาวศุภกานต์ เต็มราม ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 24.นางสาวบุษยา คงแก้ว ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 25.นางสาวปณิตา จันทร์ขาว ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 26.นางสาวพัณนิดา สังข์แก้ว ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 27.นายวันชนะ ประเสริฐ ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 28.นายอัษฎาวุฒิ ชูพักตร์ ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ) 29.นางสาวมณีวรรณ ชัยสิทธิ์ ตำแหน่ง นักศึกษา (วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระ)
คำนำผู้เขียน หนังสือเล่มนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของตำบล เวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีจุดประสงค์ เพื่อ ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำหนังสือประวัติศาสตร์ของตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานีซึ่งหนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ข้อมูลพื้นฐานของตำบล โครงสร้างของชุมชน โครงสร้างทางสังคม สถานที่สำคัญและ ศักยภาพตำบล หนังสือเล่มนี้สามารถดำเนินการ จนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากได้รับความอนุเคราะห์ และสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจากอาจารย์วัชระกร ศรีคำ ที่ได้สละเวลา อันมีค่าแก่คณะผู้จัดทำ เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำ ตลอดจนตรวจ ทานและแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยความเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่งจน หนังสือเล่มนี้สำเร็จสมบูรณ์ลุล่วงไปได้ด้วยดี คณะผู้จัดทำขอกราบขอ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณเพื่อนร่วมงานที่ช่วยเหลือและให้กำลังใจในการ ทำหนังสือครั้งนี้จนประสบความสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ขอขอบพระคุณผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับตำบลตลอดจนอำนวยความ สะดวกในการลงพื้นที่รวมทั้งประสบการณ์ดีๆที่ได้ทำงานร่วมกับ ชุมชน สุดท้ายนี้คณะผู้จัดทำหวังว่าหนังสือเล่มนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจศึกษาต่อไป คณะผู้จัดทำ
สารบัญ ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้ นฐาน ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ 02 ประวัติความเป็นมาของชุมชน 21 แหล่งท่องเที่ยว 04 ขนาดและที่ตั้งของตำบล 22 แหล่งเรียนรู้ด้านโบราณวัตถุและเมืองเวียงสระ 05 ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ 26 แหล่งโบราณสถาน 06 ทรัพยากรธรรมชาติ 27 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม 07 การคมนาคม ส่วนที่ 5 ศักยภาพตำบล ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน 29 การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมราย 09 ด้านการปกครอง ตำบลแบบบูรณาการ 09 ด้านประชากร 10 ด้านการศึกษา 30 การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ ( การยกระดับ 10 ด้านศาสนา สินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ ) 11 ภูมิปัญญาท้องถิ่น 13 ความเชื่อประเพณีและพิธีกรรม 31 การสร้างและการพัฒนา Creative Economy ( การ ยกระดับการท่องเที่ยว ) ส่วนที่ 3 โครงสร้างทางสังคม 32 การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน( Health Care/ 17 โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ เทคโนโลยีด้านต่างๆ ) 18 ผลิตภัณฑ์ชุมชน 19 การส่งเสริมสินค้า 33 การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม/Circular Economy 19 แนวโน้มการพัฒนา (การเพิ่ มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) 19 วิสาหกิจชุมชนบ้านเวียง 34 บรรณานุกรรม 35 ภาคผนวก
สารบัญภาพ ภาพที่ 1 เมืองโบราณเวียงสระ ภาพที่ 18 อู่เรือหรือท่าจอดเรือ ภาพที่ 2 ศูนย์การเรียนรู้เมืองโบราณ ภาพที่ 19 เจดีย์เมืองใน ภาพที่ 20 เสมา เวียงสระ ภาพที่ 21 เทวรูปพระนารายณ์ (พระวิษณุ) ภาพที่ 3 แผนที่ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ภาพที่ 22 คูเมือง ภาพที่ 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ภาพที่ 23 หอไตร ภาพที่ 24 สระน้ำโบราณ เมืองเวียง ภาพที่ 25 หอระฆัง ภาพที่ 5 โรงเรียนบ้านหัวสะพานมิตรภาพ ภาพที่ 26 วัดเวียงสระ ภาพที่ 27 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ที่ 217 ภาพที่ 28 อบรมสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 6 ภูมิปัญญาการตีเหล็ก ภาพที่ 29 การอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 7 ภูมิปัญญาการจักสาน ภาพที่ 30 การอบรมยกระดับการท่องเที่ยว ภาพที่ 8 ภูมิปัญญาอาชีพการร้อยลูกปัด ภาพที่ 31 การทำสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 32 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากใบไม้ มโนราห์ การประดิษฐ์ ภาพที่ 9 ภูมิปัญญาด้านการก่อสร้าง ช่างไม้ และเศษวัสดุเหลือใช้ ภาพที่ 10 การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ภาพที่ 33 การอบรมด้านการท่องเที่ยว ภาพที่ 11 ผลไม้ในชุมชน ภาพที่ 34 การอบรมการต้อนรับ ภาพที่ 12 การเลี้ยงไก่ไข่ในชุมชน ภาพที่ 13 การเลี้ยงโค กะบือในชุมชน นักท่องเที่ยว ภาพที่ 14 วัตถุดิบสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 35 การอบรมการท่องเที่ยวเชิง ภาพที่ 15 สบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 16 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและข้อมูล ประวัติศาสตร์ เพื่ อการพั ฒนาชุมน ภาพที่ 17 พระพุ ทธรูปหินทรายแดง
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน 1
1.ประวัติความเป็นมาของชุมชน ภาพที่ 1 เมืองโบราณเวียงสระ เมืองโบราณเวียงสระ ปัจจุบันตั้งอยู่อยู่ 7 ตำบลเวียงสระ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ความเป็นมา ยังไม่ชัดเจนมากหนัก ทั้งที่นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี ให้ความสนใจและพยายามศึกษาค้นคว้า มีเนื้อที่ 386 ไร่ 1 งาน 15.38 ตารางวา มีลักษณะเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นเมืองที่มี น้ำ ล้อมรอบ แบ่งตัวเมือง ออกเป็นสองส่วนเกือบเท่ากัน ทางด้านทิศเหนือใช้ลำน้ำคลองตาลเป็น คู่เมือง ด้านทิศตะวันตกใช้ลำแม่น้ำตาปี เดิม (แม่น้ำหลวง) เป็นแนวคู่และท่าเรือ ส่วนด้านทิศ ตะวันออกและทิศใต้ มีการขุดคูชักน้ำจากลำน้ำทั้งสองเข้า มา มีตำนานเมืองเวียงสระเล่าว่า เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ได้มีพราหมณ์ 2 คนพร้อมด้วยอาจารย์ อีก 2 ท่าน กับ สมัครพรรคพวกอีกประมาณ 30,000 คน ได้ล่องเรือลงมาทางใต้ ได้ขึ้นบกที่เมืองตะโกลา (เมืองตะกั่วป่า ปัจจุบัน) และล่องลงมาตามลำน้ำตะกั่วป่า มาตั้งเมืองที่บ้านน้ำรอบบริเวณ ริมคลองพุมดวง ได้ตั้งชื่อเมืองว่า ระวะตี (บางท่านว่า ชื่อ ทวาราวดี) เนื่องจากเกิดไข้ห่าระบาดจึงอยู่ได้ไม่นาน ก็ได้อพยพมาตั้ง เมืองที่ เมืองเวียงสระ ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ และได้ขุดคูเป็นปราการรอบเมือง เพื่อให้น้ำเข้ามาได้เมืองเวียงสระสมัย นั้นเจริญมาก ต่อมาเมืองเวียงสระเกิดไข้ห่าหนีไปเขา ชวาปราบ (อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่) อยู่ที่นั้นจน เห็นว่าไข้ห่าหมดแล้วก็กลับมาเมือง เวียงสระอีก ต่อจากนั้นมีนายพรานคนหนึ่ง ชื่อพรานสุรีย์ไปพบพระบรมธาตุ เข้า พระยาศรี ธรรมโศกราชจึงยกไพร่พลช้างม้าไปสร้างพระธาตุที่เมืองนครศรีธรรมราช และครองเมืองต่อไป 2
ศูนย์การเรียนรู้เมืองโบราณเวียงสระ ปัจจุบันตั้งอยู่อยู่ 7 ตำบลเวียงสระ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ภาพที่ 2 ศูนย์การเรียนรู้เมืองโบราณเวียงสระ 3
2. ขนาดและที่ตั้งของตำบล เทศบาลตำบลเวียงสระ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียงสระ และบางส่วน ของตำบลบ้านส้อง เทศบาลตำบลเมืองเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียงสระ (เฉพาะนอกเขต เทศบาลตำบลเวียงสระ) มีพื้นที่ประมาณ 4.25 ตาราง กิโลเมตรหรือประมาณ 2,500 ไร่ มี ลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลำคลองตาล มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 38 เมตร ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 2,3,4,5,6,7,9,และ 10 จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองเวียงเที่เต็มทั้งหมู่บ้านมีจำนวน 2 หมู่บ้านได้แก่ หมู่ที่ 1,8 ตำบลเวียงสระ โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศใต้ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลเขานิพันธ์ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลทุ่งหลวง Sอำเภอเวียงสระ Wอำเภอเวียงสระ NE ทิศเหนือ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต. เวียงสระ ติดต่อกับ เทศบาลตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ อำเภอเวียงสระ 4
3. ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลเวียงสระมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม และที่ราบสูง ริม คลองตาลเป็นคลองที่มีต้นกำเนิดจากเขากระเบียด และเขาพรุกำ ซึ่งอยู่ทาง ตะวันออกของชุมชน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 38 เมตร ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะภูมิอากาศ มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน อยู่ในช่วงเดือน อยู่ในช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน พฤษภาคม ถึง ธันวาคม ลักษณะของดิน 5 ลักษณะของดินทั่วไปเป็น ดินร่วนปนทราย 100%
4. ทรัพยากรธรรมชาติ มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ที่ยังต้องอาศัยน้ำฝน โดยส่วนใหญ่ปริมาณน้ำฝน ตกน้อยเป็นภาวะฝนทิ้งช่วง ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างเล็กน้อยจึงทำให้ผลผลิตทาง การเกษตรเกือบทุกชนิดมีปัญหา ได้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นยางพารา ปาล์มน้ำมัน ผลไม้ หรือพืชไร่ แหล่งน้ำธรรมชาติจะมี คลองตาลโดยคลองตาลเป็นแม่น้ำไหลลงแม่น้ำตาปี เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ แม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่ คลองเสียว คลองสูญ คลองน้ำเฒ่า คลองตาล โดยคลองตาลจะเชื่อมต่อกับแม่น้ำตาปี 6
5. การคมนาคม การคมนาคมขนส่ง สภาพการคมนาคมขนส่ง ส่วนใหญ่ค่อนข้างสะดวก โดยมีถนนที่ใช้ในการสัญจรไปมาดังนี้ ภาพที่ 3 แผนที่ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี - ทางหลวงแผ่นดินสาย 41 เป็นถนนลาดยาง 6 ช่องจราจร - ทางหลวงแผ่นดินสาย 4009 เป็นถนนลาดยาง 4 ช่องจราจร - ทางหลวงแผ่นดินสาย 4015 เป็นถนนลาดยาง 2 ช่องจราจร - ถนนลาดยางและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในเขตเทศบาล - ถนนลูกรัง,ถนนหินคลุกในเขตเทศบาล 7
ส่วนที่ 2 โครงสร้างของชุมชน 8
1. ด้านการปกครอง แบ่งเขตการปกครอง เป็น 10 หมู่บ้านประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวสะพาน นายณรงค์ ยังชู กำนันตำบล หมู่ 2 บ้านดอนเหรียง นายธงชัย ชูทัพ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 3 บ้านควนบก นายพีระยุทธ์ ชัยสิทธิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 บ้านควน นายสำราญ ชัยสวัสดิ์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5 บ้านไร่ใต้ นายรังสรรค์ ทองนา ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 บ้านทุ่งกรูด นายปราโมทย์ เลื่อนศิริ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 7 บ้านเวียง นายจงจิตร อภิชาตกุล ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 บ้านคลองตาล นายศรันย์ รัชชู ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 บ้านหนองโสน นายอุรพงศ์ คะเชนทร์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 10 บ้านคลองเสียว นายโกศล สุขเกษม ผู้ใหญ่บ้าน 2. ด้านประชากร จำนวนประชากรใน ตำบลเวียงสระ จำนวนประชากร : 10339 คน เพศชาย 5038 คน เพศหญิง 5301 คน จำนวนหลังคาเรือน : 4559 หลังคาเรือน 9
3. ด้านการศึกษา ภาพที่ 4 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเมืองเวียง ภาพที่ 5 โรงเรียนบ้านหัวสะพานมิตรภาพที่217 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง คือ - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเมืองเวียง ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง คือ - โรงเรียนบ้านหัวสะพานมิตรภาพที่217 ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 - โรงเรียนบ้านไทรห้อง ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 - โรงเรียนวัดเวียงสระ ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 - โรงเรียนวัดคลองตาล ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 - โรงเรียนบ้านหนองโสน ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง คือ - โรงเรียนเวียงสระ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 กศน.ตำบลเวียงสระ ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 4. ด้านศาสนา การนับถือศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ 97 % นับถือศาสนาพุทธ วัด จำนวน 2 วัด คือ วัดคลองตาล, วัดเวียงสระ โบสถ์คริสต์ จำนวน 2 แห่ง คือ - บริเวณสามแยกกสิกร - ชุมชนหน้าสถานี 10
5. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลเวียงสระ มีภูมิปัญญท้องถิ่น ด้านต่าง ๆ ดังนี้ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการตีเหล็ก - การตีเหล็กบ้านหนองโสน ตั้งอยู่ บ้านนายอรุณ เกิดขาว - การตีเหล็กบ้านควน ตั้งอยู่ บ้านนายสุชาติ ทำชี - การตีเหล็กบ้านไร่ใต้ ตั้งอยู่ บ้านนายประเสริฐ คงลำพูน แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านอาชีพจักสาน ภาพที่ 6 ภูมิปัญญาการตีเหล็ก - ภูมิปัญญาบ้านทุ่งกรูด เป็นกลุ่มผู้สูงอายุและแม่บ้าน ภาพที่ 7 ภูมิปัญญาการจักสาน ที่ได้รับการสืบทอดภูมิปัญญาการจักสานเครื่องมือเครื่องใช้ ในครัวเรือน 11 - ภูมิปัญญาการจักสานบ้านนางฉิ้ม หนองลุง เป็นแหล่ง เรียนรู้ภูมิปัญญาการสานเครื่องใช้ประเภท ตะกร้า กระบุง เสื่อ และของเล่น เช่น ปลา งู นก ตั๊กแตน เป็นต้น - ภูมิปัญญาการจักสานบ้านคลองเสียว ครูภูมิปัญญา คือ ยายแตงและยายม้วน เป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาการจักสาน จาก ก้านมะพร้าว ไม้ไผ่และหวายประเภท ตะกร้า กระบุง ข้อง นางและค้อมไก่เป็นต้น
ภาพที่ 8 ภูมิปัญญาอาชีพการร้อยลูกปัดมโนราห์ การประดิษฐ์ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาอาชีพการร้อยลูกปัดมโนราห์ การประดิษฐ์ - การร้อยลูกปัดมโนราห์บ้านนางพรจิต ชูชื่น เช่นการร้อยควาน สร้อยข้อมือ ปิ่นปัก ผม และเข็มขัด เป็นต้น - การเย็บปักถักร้อยและการร้อยลูกปัดมโนราห์ บ้านนางพร ศรี เอกราช เป็นการเย็บปักเครื่องประดับและของใช้ในจนสามารถจำหน่ายสร้างอาชีพได้ แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการก่อสร้าง ช่างไม้ - บ้านนายสนิท ศรีเชื้อ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ - บ้านนายทวี ทองรอด เป็นแหล่งเรียนรู้การทำไม้เท้าและสลักบ้านควนบก - บ้านคลองเสียว แหล่งเรียนรู้การทำกรงนก ภาพที่ 9 ภูมิปัญญาด้านการก่อสร้าง ช่างไม้ 12
6. ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม ด้านพิธีกรรมความเชื่อ - บ้านของตาซีด บุญเกลี้ยง บ้านหนองโสน เป็นครูภูมิปัญญาและนายชอบ ทองจิม อดีตผู้ใหญ่บ้าน ความเชื่อการทำพิธีกรรมในวาระต่างๆ ของชีวิตตั้งแต่การเกิด การ แต่งงาน การบวช การขึ้นบ้านใหม่ - บ้านลุงจาบ บ้านหัวสะพาน เป็นครูภูมิปัญญา ที่ได้รับความเชื่อถือจากชาวบ้านทั้งใน และนอกชุมชน ที่ความเชื่อว่าจะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและครอบครัว - บ้านนายณรงค์ อนุกูล ที่บ้านเวียง หมู่ที่ 7 หน้าที่หลักในงานประเพณีเข้าฐานวัดใน ซึ่งเป็นประเพณีประจำถิ่นที่มีความสำคัญของคนเมืองเวียงสระ 13
ประเพณีวัฒนธรรม 1. งานวันขึ้นปีใหม่ ในตอนเช้าคนในชุมชนจะมาร่วมกันทำบุญตักบาตรและเอาปิ่นโตมาวัด 2. งานวันเด็ก ได้มีการจัดนิทรรศการขึ้นที่สนามเทศบาลตำบลเมืองเวียง 3. วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ชาวบ้านจะนำปิ่นโตอาหารคาว หวานมาทำบุญ และ เข้าร่วมการเวียนเทียนในวันมาฆะบูชา 4. งานประเพณีการเข้าฐานวัดใน โดยการทำพิธี “ลงครู” หรือ “รำโนราโรงครู” ครู ภูมิปัญญาที่จะประกอบพิธี ทำพิธีเชิญครูหมอมารับเครื่องเซ่นไหว้ในโรงพิธี และจัดคนทรง ให้ถูกต้องครบถ้วนตามธรรมเนียมนิยม 5. ประเพณีสงกรานต์ เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ ซึ่งตรงกับวันที่ 13 – 15 เมษายนของทุกปี 6. ประเพณีจบปี – จบเดือน วันจบปีจบเดือนของเมืองเวียงสระจัดขึ้นในวันแรม 14 ค่ำ สิ้นเดือน 5 ขึ้น เดือน 6 ของทุกปีชาวบ้านถือว่าช่วงนี้เป็นวันว่างทุกคนหยุดพักผ่อนอยู่ ร่วมกันกับครอบครัว 7. วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ 8. วันเข้าพรรษา เป็นวันที่พระสงฆ์เริ่มอยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน ตั้งแต่วัน แรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงกลางเดือน 11 14
9. วันแม่แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี ในตอนเช้าชาวบ้านจะมาร่วมกัน ทำบุญตักบาตรที่วัด 10. วันสาทรไทย เป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณโดยในช่วงเดือนสิบของแต่ละปี การทำบุญวันสารทเดือนสิบของคนในชุมชนมีการทำบุญที่วัด 2 ครั้ง คือ 1. วันรับตายาย 2. วันส่งตายาย/วันส่งเปรต ซึ่งทั้ง 2 วัน เป็นการทำบุญที่แสดงถึงความกตัญญูต่อ บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ 11. วันหมับใหญ่ หรือวันฉลองหมับ ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 \"เป็นวันที่ชาวบ้าน นำอาหารไป ทำบุญเลี้ยงพระที่วัดครั้งใหญ่ 12. วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการเข้าพรรษา หรือ ออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝน ตลอด 3 13. ลอยกระทง ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 จัดขึ้นที่วัดเวียงสระ เป็นงานรื่นเริงของหมู่บ้าน มีกิจกรรมการประกวดแข่งขันการทำกระทง 14. ส่งท้ายปีเก่า ในตอนเช้าชาวบ้านจะไปทำบุญตักบาตรร่วมกันที่วัด ช่วงสายก็จะออก ตลาดเพื่อซื้อหาอาหารคาวหวานสำหรับทานกันในครอบครัว 15
ส่วนที่ 3 โครงสร้างทางสังคม 16
1. โครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพ ด้านการเกษตร ด้านการปศุสัตว์ ประชาชนในตำบลเวียงสระ ประชาชนที่ทำการเกษตรส่วน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มากจะเลี้ยงสัตว์พันธุ์ดีๆ และมีการ ทำสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน คำนึงถึงผลประโยชน์ ส่วนใหญ่ สวนผลไม้ เช่น ทุเรียน เงาะโรงเรียน จะเลี้ยงสัตว์ไว้บริเวณครัวเรือน เช่น มังคุด เป็นต้น บางส่วนมีการปลูกพืช สุกร ไก่ เป็ด ที่เหลือจากการบริโภค ไร่ ปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทาน จะจัดจำหน่าย ส่วนการเลี้ยงโค กระบือ และจำหน่าย จะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายไว้บางส่วน ภาพที่ 10 การประกอบอาชีพเกษตรกรรม ภาพที่ 12 การเลี้ยงไก่ไขในชุมชน ภาพที่ 11 ผลไม้ในชุมชน ภาพที่ 13 การเลี้ยงโค กระบือในชุมชน 17
2. ผลิตภัณฑ์ชุมชน สบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ปี 2560 ได้มีการริเริ่มการคิดและทดลองการทำสบู่ไว้ใช้ ภาพที่ 15 สบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม กันเองในชุมชนต่อมา ปี 2561 เริ่มเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น เพราะมี การจัดบูทที่อำเภอ เกษตร จึงได้มีการนำสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่ง จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ แวดล้อมไปวางที่บูทและได้รับความสนใจจึง มีการจัดทำตา มออเดอร์ และมีการบอกต่อใน กยธ. กศน. ปี 2563 เริ่มมี เป็นสบู่ที่ทำขึ้นมาจากวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับ ความชะงักต้นปีเนื่องจากเหตุการณ์โควิด 19 จึงทำให้ไม่มีออ สิ่งแวดล้อม มีสรรพคุณช่วยในเรื่อง สิวฝ้า เดอร์ของสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ปี 2564 ได้มีการพัฒนา กระจุดด่างดำ ผลัดเซลล์ผิวเก่าสร้างเซลล์ผิว จัดทำในรูปแบบวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้าน ม.7 เนื่องจาก ใหม่ จากธรรมชาติ 100% ในตำบลเวียงสระมีความอุดมด้วยน้ำผึ้ง ทางกลุ่มแม่บ้านจึง เห็นความสำคัญของน้ำผึ้งที่มีประโยชน์ต่อการดูแลผิว คนใน ขั้นตอนการผลิต จึงคิดการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อมขึ้น มา เพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่คนในตำบล นำกรีเซอรีนไปนึ่ง ให้ละลายหมดโดยไฟอ่อนๆ ประมาณ 2-5 นาที แล้วนำกรีนเซอรีนมาตั้งพักไว้ วัตถุดิบ และเทศอุณหภูมิให้ความร้อนประมาณ 40 องศา กรองกรีเซอรีนใส่ถ้วยพร้อมผสมเติมส่วนผสม 1.กรีเซอรีน 6.ไม้พาย ทั้งหมด แครอท น้ำผึ้ง น้ำหอม และคนส่วนผสม 2.น้ำผึ้ง 7.ถ้วย/หม้อ/ช้อนตวง ให้เข้ากัน เทศอุณหภูมิให้อยู่ในเกณฑ์ต่ำสุด 3.ขมิ้นผง 8.แครอท ทำความสะอาดพิมพ์ก่อนนำส่วนผสมเทลงในพิมพ์ 4.หัวน้ำหอม 9.เตาแก๊ส ฉีดแอลกอฮอล์ไล่ฟองอากาศในพิมพ์ เทส่วนผสม 5.แม่พิมพ์สำหรับใส่สบู่ 10.แอลกอฮอร์ 95% ลงในพิมพ์ ถ้ามีฟองอากาศให้ไล่ฟองอากาศโดน แอลกอฮอล์ 95 ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 3 ชม. หรือ ภาพที่ 14 วัตถุดิบสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม จนกว่ากรีเซอรีนจะแข็งตัว แกะสบู่ออกจากพิมพ์ นำมาแร้บให้สวยงาม ใส่บรรจุภัณฑ์ลงในกล่องให้ สวยงาม 18
3.การส่งเสริมสินค้า - จัดตั้งกลุ่มการผลิตโดยรวบรวมแม่บ้านในชุมชน หรือคนว่างงาน - ให้ความรู้ในเรื่องการผลิตสินค้า และการคิดกำไรขาดทุน - ส่งเสริมการขยายสินค้าทางช่องทางต่างๆ ทางfacebook shopee lasada 4.แนวโน้มการพัฒนา - ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยดึงดูดความต้องการ - รายละเอียดของสินค้า เช่น คุณสมบัติ ส่วนประกอบ - โลโก้ของตำบล เพื่อทำให้เกิดภาพจำของชื่อสินค้า และเพื่อเป็นการบอกต่อๆ กันไป 5.วิสาหกิจชุมชนบ้านเวียง นางรัตนพร สุวรรณโชติ อายุ 54 ปี เบอร์โทรศัพท์ 0810785204 หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจชุมชน 19
ส่วนที่ 4 สถานที่สำคัญ 20
1. แหล่งท่องเที่ยว เมืองโบราณเวียงสระ เมืองโบราณเวียงสระ เป็นเมืองและแหล่งชุมชนโบราณแห่งหนึ่งทางภาคใต้ เชื่อกันว่า เมืองเวียงสระมีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 7 จดหมายเหตุจีน กล่าวถึง เมืองพัน – พัน ว่าได้มีการติดต่อส่งทูตไปยังราชสำนักจีนในสมัยราชวงศ์เหลียง เมื่อราว พ.ศ.967 เมืองเวียงสระเจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาเป็นเวลายาวนาน แต่ช่วงเวลาดังกล่าวไม่มี หลักฐานการจารึกที่แน่ชัดว่ามีกษัตริย์ปกครองบ้านเมืองสืบต่อกันมาอย่างไร แต่มีหลักฐาน ทางโบราณวัตถุที่พอจะยืนยันได้แน่ชัดว่า เมืองนี้ได้รับอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากอินเดีย แน่นอน และเชื่อกันว่าการล่มสลายของเมืองเวียงสระน่าจะเนื่องมาจากการเกิดไข้ห่าระบาด บริเวณเมืองเวียงสระได้พบหลักฐานทางด้านโบราณคดีมากมาย ภาพที่ 16 แผนที่เส้นทางท่องเที่ยวและข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ซึ่งมีตั้งแต่เครื่องมือหินสมัยก่อนประวัติศาสตร์และยุคต่อเนื่อง เรื่อยมาจนถึงสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ทำให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าชุมชนโบราณเวียงสระนั้นได้มีการพัฒนาการต่อ เนื่องเรื่อยมา ทั้งเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่และมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีค่อนข้างสูง หลักฐานทางโบราณสถานและโบราณวัตถุในอดีตมีอายุมากกว่า 1000 ปี มีดังนี้ เครื่องมือหิน สมัยก่อนประวัติศาสตร์ พระพุทธรูป หินทรายแดงนูนสูง เทวรูปพระวิษณุหรือพระนารายณ์ สวมหมวกทรงกระบอกทำด้วยศิลา พระวิษณุหรือพระนารายณ์ 4 กร พระ-วฑุกะไภลพ ซึ่ง เป็นบริเวณเมืองเวียงสระและบริเวณรายรอบนั้นก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความเจริญรุ่งเรือง ในด้านความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ และพุทธศาสนาลัทธิมหายานได้เป็นอย่างดี 21
แหล่งเรียนรู้ด้านโบราณวัตถุเมืองเวียงสระ การศึกษาข้อมูลแหล่งเรียนรู้โบราณวัตถุเมืองโบราณเวียงสระ ศรีวิชัย ได้มีการลงพื้นที่เพื่อ ศึกษาข้อมูลแหล่งเรียนรู้โบราณวัตถุที่ค้นพบในเมืองเวียงสระ ทั้งที่เป็นแหล่งเรียนรู้และที่อยู่ในความ ครอบครองของชาวบ้าน ซึ่งโบราณวัตถุบางชิ้นได้ถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร แต่ได้มีการจัดทำชิ้นจำลองหาจัดแสดงไว้ ณ เมืองโบราณเวียงสระ เพื่อให้ผู้คนที่สนใจสามารถเรียนรู้ได้ มีดังนี้ พระพุทธรูปหินทรายแดง พระพุทธรูปหินทรายแดง พบจำนวนมากทั้งบริเวณเมืองนอก และเมืองในแต่ชำรุดเป็นซากเกือบทั้งหมด ยกเว้นในวิหารเมือง นอก 6 องค์ ที่ได้รับการบูรณะรักษาไว้ เพื่อเป็นสิ่งสักการะของ ประชาชนทั่วไป พระพุทธรูปเกือบทั้งหมดเป็นพระพุทธรูปปางมาร วิชัย พบปางสมาธิเพียง เมืองละ 1 องค์เท่านั้น ลักษณะทาง พุทธศิลป์ของพระพุทธรูปวัดเวียงสระ เมืองนอก (วัดปัจจุบัน) เป็นฝีมือช่างท้องถิ่น อยู่ในตระกูลช่างไชยา พระเกตุมาลามีกลีบ บัวเข็ม ยอดพระเศียรมีอุณาโลมด้านข้างมี ริ้วประกอบ หน้าผาก มีไรพระศกบาง ปลายสังฆาฏิซ้อนกัน 2 ชิ้น สมัยอยุธยาตอน ต้นพระพุทธณุปเมืองใน มีพระหัตถ์รูปไข่ พระเนตรโปนเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้มศรวลเล็กน้อย ขมวดพระเกศาเล็ก ไม่มีไรพระศก ครองจีวรห่มเฉียง เปิดพระองค์ สังฆาฏิ ยาวถึงพระนาภีส่วน ปลายตรง มีพระพุทธรูปหลัก 7 องค์ ประดิษฐานในวิหาร 6 องค์ ในอุโบสถ 1 องค์ เป็นที่น่าสังเกตว่าพระพุทธรูปของทั้ง สองเมืองมีการสร้างให้มีพุทธลักษณะต่างกัน ภาพที่ 17 พระพุทธรูปหินทรายแดง 22
อู่เรือหรือท่าจอดเรือ ภาพที่ 18 อู่เรือหรือท่าจอดเรือ อู่เรือหรือท่าจอดเรือ ขนาดใหญ่พบ 5 แห่ง ตั้งอยู่ ทางด้านทิศตะวันตกโดยอาศัยลำน้ำคลองตาลและ แม่น้ำหลวงหรือแม่น้ำตาปี ใช้เดินทางติดต่อขนส่ง สิ่งของ สินค้า ระหว่างเมืองเวียงสระกับดินแดนอื่นๆ เช่น อินเดีย จีน เวียดนาม กัมพูชา ศรีสัชนาลัย สุโขทัย อยุธยา เมืองคูบัวราชบุรี อาหรับ จากหลักฐาน ทางโบราณคดีที่พบบริเวณอู่เรือ คือ 1.เครื่องถ้วยลาย ครามสมัยราชวงศ์ชิงจากแหล่งเตาอันซี มณฑลฝูเจี้ยน แหล่งเตาคงจี มณฑลฝูเจี้ยน แหล่งเตาจิ่วชุน แหล่ง เตาเต๋อเจิ้ง มณฑลเจียงซี 2.เครื่องถ้วยลายครามสมัย ราชวงศ์หมิง 3.เครื่องถ้วยเคลือบเขียว สมัยราชวงศ์ หยวนจากเตาฝูเถียน เตาหลงฉวน 4.เครื่องถ้วย เวียดนามสมัยราชวงศ์เตริน 5.เครื่องถ้วยศรีสัชนาลัย เตาเกาะน้อย 6.เครื่องถ้วยเขมร เตาบุรีรัมย์ 7.เครื่อง ถ้วยสุโขทัย เคลือบขาวเตาเมืองเก่า 8.เครื่องถ้วย ราชวงศ์ถังเตาเหม่ยเสี้ยน 9.เครื่องดินเผาพื้นเมืองจาก คูบัวราชบุรี เจดีย์ เจดีย์ ทั้งเมืองในและเมืองนอกต่างมีเจดีย์เมืองละ 1 องค์ แต่เจดีย์เมืองนอกรื้อออกเมื่อ พ.ศ.2495 เพื่อ เลื่อนวิหารและพระพุทธรูปขนาดใหญ่ทั้ง 6 องค์ ให้มา อยู่ในระดับเดียวกับอุโบสถ มีลักษณะรูปทรงระฆังคว่ำ เจดีย์เมืองใน สร้างขึ้นเพื่อสักการะบูชาแทน พระพุทธเจ้า หรือเป็นอนุสรณ์ของบุคคลสำคัญประจำ เมือง ลักษณะการก่อสร้างโดยใช้อิฐดินเผาไม่สอปูน หันหัวออก สภาพปัจจุบัน ชำรุดหักพังมาก ยังหารูป ทรงและขนาดไม่ได้ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 ภาพที่ 19 เจดีย์เมืองใน 23
เสมา ภาพที่ 20 เสมา เสมาคือสิ่งกำหนดเขตชุมนุมของสงฆ์ พระพุทธเจ้า ภาพที่ 21 เทวรูปพระนารายณ์ (พระวิษณุ) ได้กำหนดเขตพัทธสีมาไว้ 8 อย่าง คือ ภูเขา หิน ป่าไม้ จอมปลวก ถนน แม่น้ำและน้ำ ในสมัยต่อมานิยมใช้หิน ภาพที่ 22 คูเมือง 24 เป็นส่วนมาก ในวัดเวียงสระปรากฏสีมาเป็นหินทราย แดงเป็นเสมาคู่ โดยทั่วไปวัดเป็นเสมาเดี่ยว การทำเสมา คู่มีข้อสันนิษฐาน 2 ประการ ประการแรก เพราะมีการ ผูกสีมาต่างสมัย ต่างนิกาย ภายหลังไม่มั่นใจในความ บริสุทธิ์ของเขตสีมาจึงผูกขึ้นใหม่ ประการที่สอง เนื่องจากเป็นวัดหลวงประจำเมือง เจ้าเมืองเป็นผู้สร้าง เทวรูปพระนารายณ์ (พระวิษณุ) เทวรูปพระนารายณ์ (พระวิษณุ) สูง 134 ซ.ม. สลักนูนสูงสกุลช่างปัลลวะ อายุประมาณพุทธศตวรรษ ที่ 11-12 มี 4 กร พระหัตถ์ซ้ายถือคฑาแนบพระองค์ พระหัตถ์ขวาทรงถือภู (ก้อนดิน) พระหัตถ์หลังซ้ายอยู่ ระดับอังศา (บ่า) ทรงถือจักร พระหัตถ์หลังขวาทรงถือ สังข์ ทรงผ้าใต้นาภีคาดตรงขมวดเป็นปม ทรงผ้ายาว เป็นร่องระหว่างขายาวถึงข้อพระบาท ปัจจุบันจัดแสดง ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร คูเมือง คูเมือง ใช้กำหนดเขตเมือง ด้านทิศตะวันออกขุด คูเมืองเชื่อมจากลำคลองตาลอ้อมไปด้านทิศใต้จดล้ำน้ำ ด้านทิศตะวันตกมีคูแบ่งเมืองออกเป็น 3 ส่วน มีประตู เมืองด้านทิศตะวันออก 2 แห่ง ด้านทิศใต้ 1 แห่ง และ ประตูเชื่อมเมืองนอกกับเมืองใน 1 แห่ง คูเมืองในมีความ กว้าง 4.5 ม. ความลึก 1 ม. คูเมืองนอกมีความกว้าง เฉลี่ยประมาณ 3.5 ม. ความลึกเฉลี่ย 0.5 ม. ด้านทิศ เหนือและทิศตะวันตกใช้ลำคลองตาลเชื่อมกับลำน้ำตาปี ใช้เป็นเส้นทางคมนาคม
หอไตร ภาพที่ 23 หอไตร ภาพที่ 24 สระน้ำโบราณ สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่สำคัญ ของพระพุทธศาสนา ควรแก่การเก็บรักษาไว้เป็นอย่าง ดีโดยก่อสร้างไว้กลางน้ำเพื่อป้องกันหนู มด ปลวก ทำลาย กัดกินคัมภีร์ ลักษณะการก่อสร้าง เป็นอาคาร สี่เหลี่ยมผืนผ้าใต้ถุนสูง มีหน้าจั่ว 2 ด้าน มีรัศมีแสง พระอาทิตย์ มีปีกทั้ง 4 ด้าน มีระเบียงรอบ มีสะพาน ข้ามที่สามารถชักกลับได้เมื่อข้ามเสร็จแล้ว สระน้ำโบราณ สระน้ำโบราณ เมืองโบราณเวียงสระมีสระน้ำอยู่ 2 สระ อยู่ประจำเมืองใน 1 สระ และเมืองนอก 1 สระ เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของบุคคลชั้นสูงของ เมืองนั้นๆ สระน้ำแห่งนี้เป็นที่มาของชื่อบ้าน นามเมือง คือ บ้านเวียงสระ ตำบลเวียงสระ อำเภอเวียงสระ หอระฆัง หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2496 ศิลปะย่อมุม 12 เพื่อใช้ให้สัญญาณเรียกประชุมคณะสงฆ์ เพื่อประกอบ พิธีกรรมทางศาสนา ภาพที่ 25 หอระฆัง 25
2. แหล่งโบราณสถาน วัดเวียงสระ ภาพที่ 26 วัดเวียงสระ วัดเวียงสระ มีเนื้อที่ทั้งหมด 281 ไร่ 1 งาน 84 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรสาขาที่ 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จดทะเบียนไว้แล้วเมื่อเดือน มกราคม 2527 เชื่อกันว่า เป็นวัดสร้างใหม่ หลังจากการสร้างเมืองเวียงสระ เดิมเป็นวัดร้าง ตั้งติดกับคูเมืองเวียงสระโบราณ ภายในวัดมีสระน้ำ วิหารอุโบสถ และกุฏิสงฆ์ ในสระน้ำ เมืองเวียงสระ เป็นเมืองที่มี ชื่อเสียงและมีความสำคัญทาง ศาสนาและประวัติศาสตร์ ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 -16 มีอาณาจักรแห่งหนึ่งมี อำนาจและมีอิทธิพลมากครอบคลุมจากชุมพรไปถึงชวา เรียกอาณาจักรนี้ว่าอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมี ศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองไชยา รวมทั้งเมืองเวียงสระด้วย 26
3. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ตำบลเวียงสระเป็นตำบลที่มีพื้นที่ ขนาดเล็กจึงได้มีการขยายพื้นที่เพิ่มขึ้นและได้มีการเปลี่ยนแปลงในด้าน สภาพแวดล้อม บ้านเรือนให้ดีมากขึ้นกว่าเดิมโดยการขยับขยายพื้นที่ ต่างๆ ให้น่าอยู่มากกว่าเดิมและเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านสังคมและ วัฒนธรรมให้คนในชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ตำบลเวียงสระมีการจัดทำปฏิทิน ประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนเมืองเวียงสระ ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ จะมาเรียนรู้สามารถออกเป็นช่วงเวลาในการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลา กิจกรรมของชุมชน และสามารถเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้กับชุมชนได้อีก ด้วย มากกว่าการมาท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว 27
ส่วนที่ 5 ศักยภาพตำบล 28
การดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ ( ๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการจะมีการเสริมสร้างการดำเนินงาน เกี่ยวกับชุมชน ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการสร้างสัมมาชีพ การพัฒนาการท่องเที่ยว การพัฒนา ด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนการขับเคลื่อนชุมชนสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีกิจกรรมดังนี้ - อบรมกิจกรรมการถ่ายทอดเพื่อยกระดับสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน (สบู่น้ำผึ้งและปุ๋ยหมักชีวภาพ) - อบรมกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม และสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชนโดยใช้เทคโนโลยี - กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมอาชีพด้านการท่องเที่ยว ภาพที่ 28 อบรมสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ภาพที่ 27 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ภาพที่ 30 การอบรมยกระดับการท่องเที่ยว ภาพที่ 29 การอบรมด้านสิ่งแวดล้อม 29
การพัฒนาสัมมาชีพและสร้างอาชีพใหม่ ( การยกระดับสินค้า OTOP/อาชีพอื่นๆ ) การยกระดับสินค้าในชุมชนที่มีอยู่ ให้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น มีการสร้างอาชีพใหม่ ให้กับคนในชุมชน โดยการทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายให้กับคนใน ชุมชน และเป็นการนำเศษวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกด้วย โดยเลือกมา 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ภาพที่ 31 การทำสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม 1. การทำสบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่มีจุดแข็ง ภาพที่ 32 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากใบไม้และเศษวัสดุเหลือใช้ อยู่แล้วคือ ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในบริเวณบ้านหรือ วัตถุดิบที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ จึงมี การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการทำสบู่น้ำผึ้ง เพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมรายได้ให้กับคนใน ชุมชน และเป็นการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย ดึงดูดความต้องการ พัฒนาช่องทางการจัด จำหน่ายผลิตภัณฑ์ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 2. การทำปุ๋ยหมักชีวภาพจากใบไม้และเศษวัสดุ เหลือใช้ จะมีการบรรยายหัวข้ออบรมเชิงปฏิบัติ การเตรียมวัตถุดิบจากใบไม้เศษวัสดุเหลือใช้และ มูลสัตว์ ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เตรียมวัตถุดิบ จากใบไม้เศษวัสดุเหลือใช้และมูลสัตว์ ใน อัตราส่วนที่เหมาะสมในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใน ชุมชนการวิธีการขึ้นกองปุ๋ยหมัก และการดูแล รักษากองปุ๋ยหมัก เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับ คนในชุมชน 30
การสร้างและพัฒนา Creative Economy ( การยกระดับการท่องเที่ยว ) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียงและ ส่งเสริมอาชีพด้านการท่องเที่ยวความรู้ เป็นการพัฒนาศักยภาพเพื่อการขับเคลื่อน การท่องเที่ยว และเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของชุมชนจึงได้มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยว กับทักษะใหม่ๆ ในการพูดคุย ทักทาย และต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยวใน เมืองเวียงสระ มีการอบรมความรู้เรื่องการวางแผนเพื่อที่จะยกระดับชุมชนเมือง เวียงสระ ให้เป็นจุดเด่น และเป็นสถานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชน ภูมิปัญญา ชุมชน ประเพณีท้องถิ่น ฯลฯ และสิ่งที่เราสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและคนใน ชุมชน ภาพที่ 33 การอบรมด้านการท่องเที่ยว ภาพที่ 34 การอบรมการต้อนรับนักท่องเที่ยว ภาพที่ 35 การอบรมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ 31
การนำองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน ( Health Care/เทคโนโลยีด้านต่างๆ ) การนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีใช้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีธรรมชาติที่มีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและลดต้นทุนในการผลิต เพราะใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เพื่อรักษาหน้าดิน เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและเพิ่ม อัตราการเจริญเติบโต การที่ชาวบ้านนำปุ๋ยชีวมวลที่เป็นเทคโนโลยีธรรมชาติมาใช้ เพิ่มศักยภาพการดูดซับน้ำให้กับพืชและดินโดยอัตโนมัติ เพราะใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ และลดสารเคมีในดินและในผลผลิต แล้วยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาลอีกด้วย 32
การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม /Circular Economy (การเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชน) การนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีใช้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมภายในชุมชน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีธรรมชาติที่มีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและลดต้นทุนในการผลิต เพราะใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เพื่อรักษาหน้าดิน เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและเพิ่ม อัตราการเจริญเติบโต การที่ชาวบ้านนำปุ๋ยชีวมวลที่เป็นเทคโนโลยีธรรมชาติมาใช้ เพิ่มศักยภาพการดูดซับน้ำให้กับพืชและดินโดยอัตโนมัติ เพราะใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ และลดสารเคมีในดินและในผลผลิต แล้วยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาลอีกด้วย 33
บรรณานุกรม การขุดตรวจทางโบราณคดี คูเมืองโบราณเวียงสระอำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.2556, [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564.จาก.https://www.finearts.go.th/promotion/view/7475- ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว.วัดเวียงสระ.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564.จาก. https://www.suratthanitourism.com/tour/wiang-sa-ancient-city/ แผนพัฒนาท้องถิ่นตำบลเวียงสระ พ.ศ. 2561–2565. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564.จาก. http://www.wiangsacity.go.th/product_images/86- merged%20(pdf.io).pdf เมืองโบราณเวียงสระ.ประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณเวียงสระ.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2564.จาก.https://inter.sru.ac.th/viangsa/ 34
ภาคผนวก
เมื่อวันที่ 27 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระได้คลีนพื้นที่ เคลียร์เชื้อร้าย กำจัดเชื้อ ขจัดภัย COVID -19 และแจกสเปรย์ แอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยให้กับประชาชนในตำบลเวียงสระ 36
เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2564 วิศวกรสังคมตำบลเวียงสระได้ปลูกฟ้าทะลายโจร ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านเวียง 37
เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2564 จัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ กิจกรรมการถ่ายทอดเพื่อยกระดับสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน (ปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุเหลือใช้ ) 38
เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2564 จัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ กิจกรรมการถ่ายทอดเพื่อยกระดับสินค้า OTOP และผลิตภัณฑ์ชุมชน (สบู่น้ำผึ้งเพื่อสิ่งแวดล้อม) 39
เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างองค์ความรู้สัมมาชีพใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้หมุนเวียนให้แก่ชุมชนโดยใช้เทคโนโลยี 40
เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมอาชีพด้านการท่องเที่ยว 41
เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 จัดโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมอาชีพด้านการท่องเที่ยว 42
ตั้งดิน ตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอญ เมืองเวียงสระตั้งก่อนเมืองนครตั้งหลัง ถ้าเมืองนคร ล่มพังให้เอาเมืองเวียงสระไปกู้ คำพังเพยของเมืองเวียงสระ
Search
Read the Text Version
- 1 - 50
Pages: