บทประพันธ์ที่พบในช่วงชั้นที่ ๓ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ – ๓
สมาชิก ๑. นายจักรกฤษณ์ ดวงจักร์ รหัสนักศึ กษา ๖๑๔๑๐๑๐๐๑ ๒. นายปิยะณัฐ สีนิล รหัสนักศึ กษา ๖๑๔๑๐๑๐๐๓ ๓. นางสาวกัญญารัตน์ ปราบชมภู รหัสนักศึ กษา ๖๑๔๑๐๑๐๐๗ ๔. นางสาวลักษณารีย์ หลงมา รหัสนักศึ กษา ๖๑๔๑๐๑๐๒๓ ๕. นางสาวลัดดาวัลย์ กล้าหาญ รหัสนักศึ กษา ๖๑๔๑๐๑๐๒๔ ๖. นางสาวสุภาพร ดอนมะไพร รหัสนักศึ กษา ๖๑๔๑๐๑๐๒๖
ประเด็นที่สำคัญ กาพย์ กลอน -กาพย์ยานี ๑๑ -กลอนสุภาพ -กาพย์ฉบัง ๑๖ -กลอนเพลงยาว -กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ -กลอนบทละคร -กาพย์ห่อโคลง -กลอนดอกสร้อย -กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน -กลอนนิ ราศ ร่าย โคลง -ร่ายสุภาพ -โคลงสี่ สุภาพ
๑. กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ยานี ๑๑ เป็นคำประพันธ์ประเภทกาพย์ชนิ ดหนึ่ ง ใน ๑ บท มี ๒ บาท ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคหน้ า มี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ รวมเป็น ๑๑ คำ จึงเรียกว่า กาพย์ยานี ๑๑ พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับพยางค์ที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ พยางค์สุดท้ายของวรรค ที่ ๒ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓ พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓ อาจสัมผัสกับ พยางค์ที่ ๑, ๒ หรือ ๓ ของวรรคที่ ๔ พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับพยางค์สุดท้าย ของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๔ กาพย์พระไชยสุริยา)
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๔ กาพย์พระไชยสุริยา สาธุสะจะขอไหว้ พระศรีไตรสรณา พ่อแม่แลครู บา เทวดาในราศี ข้าเข้าเอา ก ข เข้ามาต่อ ก กามี แก้ไขในเท่านี้ ดีมิดีอย่าตรีชา แผนผังฉันทลักษณ์กาพย์ยานี ๑๑
๒. กาพย์ฉบัง ๑๖ ประพันธ์ด้วยรูปแบบของกาพย์ฉบัง ๑๖ ซึ่งหนึ่ งบทประกอบด้วย ๓ วรรค วรรค แรกบังคับ ๖ พยางค์ วรรคที่สองบังคับ ๔ พยางค์ วรรคที่สามบังคับ ๖ พยางค์ รวมทั้ง สิ้น ๑ บทมี ๑๖ พยางค์ จึงเรียกกาพย์ฉบัง ๑๖ (เนื่ องจากบทพากย์เอราวัณนี้ แต่งขึ้นเพื่อ อ่านออกเสียง จำนวนคำในแต่ละวรรคจึงไม่ตายตัว อาจมีการเพิ่มหรือลดได้บ้าง) ไม่ บังคับเสียงหนั กเบาและเสียงวรรณยุกต์ แต่บังคับสัมผัสเสียงสระระหว่างวรรค และ สั มผัสระหว่างบทโดยพยางค์สุดท้ายของวรรคแรกจะสั มผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรค ที่สอง และพยางค์สุดท้ายของวรรคที่สามจะสัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคแรกและ วรรคที่สองในบทถัดไป ดังแผนผังฉันทลักษณ์ (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่๑ บทที่๔ กาพย์พระไชยสุริยา และชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๓ บทที่ ๕ เรื่องบทพากย์เอราวัณ)
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๓ เรื่องบทพากย์เอราวัณ อากาศก้องโกลาหล โลกลั่นอึงอล อำนาจสะท้านธรณี ศรเต็มไปทั่วราศี ต้ององค์อินทรีย์ พระลักษณ์ ก็กลิ้งกลางพล
๓. กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ แผนผังฉันทลักษณ์กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ บทหนึ่ ง มี ๗ วรรค ๆ ละ ๔ คำ จึงนิ ยมเรียกว่า กาพย์ ๒๘ บังคับเฉพาะสัมผัสรับสัมผัสนอกบท ด้วยคำท้ายวรรคที่ ๓ วรรคแรกปล่อยว่างไว้ ขึ้นต้น ด้วยวรรคที่ ๒ เฉพาะคำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ ส่ง สั มผัสไปยังคำที่พร้อมจะรับในบทที่จะแต่งต่อไป (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๔ กาพย์พระไชยสุริยา)
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๔ กาพย์พระไชยสุริยา ขึ้นใหม่ในกน ก กา ว่าปน ระคนกันไป เอ็นดูภูธร มานอนในไพร มณฑลต้นไทร แทนไพชยนต์สถาน ส่วนสุมาลี วันทาสามี เทวีอยู่งาน เฝ้าอยู่ดูแล เหมือนแต่ก่อนกาล ให้พระภูบาล สำราญวิญญา
๔. กาพย์ห่อโคลง กาพย์ห่อโคลง เป็นชื่อของบทประพันธ์ ที่แต่งขึ้นโดยใช้กาพย์ยานี สลับกับ โคลงสี่สุภาพ กาพย์ยานี กับ โคลงสี่สุภาพนั้ น จะต้องมีความอย่างเดียวกัน คือให้วรรคที่หนึ่ ง ของกาพย์ยานี กับบาทที่หนึ่ ง ของโคลงสี่สุภาพ บรรยายข้อความ อย่างเดียวกัน หรือบางที ก็ให้คำต้นวรรค ของ กาพย์ กับคำต้นบท ของโคลง เป็นคำเหมือนกัน ส่วนบัญญัติ หรือกฏข้อบังคับต่างๆ เหมือนกับ กฏของกาพย์ยานี และโคลงสี่สุภาพ ทั้งสิ้น (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๒ บทที่ ๕ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง)
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๒ บทที่ ๕ กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง แผนผังฉั นทลักษณ์ กาพย์ห่อโคลง เลียงผาอยู่ภูเขา หนวดพรายเพราเขาแปล้ปลาย รูปร่างอย่างแพะหมาย ขนเหม็นสาบหยาบเหมือนกัน ภูเขา เลียงผาอยู่พ่างพื้น ไปล่ท้าย หนวดพู่ดูเพราเขา มาเปรียบ รูปร่างอย่างแพะเอา กลิ่นกล้าเหมือนกัน ขนเหม็นสาบหยาบร้าย
๕. กาพย์เห่ แผนผังฉั นทลักษณ์ กาพย์เห่ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานนี้ แต่งแบบกาพย์ แห่เรือ คือแต่งเป็นโคลงผสมกาพย์ ตอนต้น เป็นโคลงสี่สุภาพ ๑ บท จากนั้ นเป็นกาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัดจำนวน (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๖ เรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน)
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๖ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน โคลงสี่ สุภาพ นพคุณ พี่เอย เฉี ยบร้อน แกงไก่มัสมั่นเนื้ อ พิศวาส หวังนา หอมยี่หร่ารสฉุน อกให้หวนแสวง ชายใดบริโภคภุญช์ แรงอยากยอหัตถ์ข้อน หอมยี่หร่ารสร้อนแรง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา กาพย์ยานี ๑๑ วางจานจัดหลายเหลือตรา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ มัสมั่นแกงแก้วตา ชายใดได้กลืนแกง ยำใหญ่ใส่ สารพัด รสดีด้วยน้ำปลา
๖. กลอนสุภาพ ประพันธ์ด้วยรูปแบบของกลอนสุภาพหรือกลอนแปด ซึ่งบทหนึ่ งประกอบด้วย ๔ วรรค วรรคแรกเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียก วรรครับ วรรคที่สามเรียก วรรครอง วรรคที่สี่เรียก วรรคส่ง แต่ละวรรคมี ๘ พยางค์ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่ งว่า กลอนแปด (บางวรรคอาจมี ๗-๙ พยางค์) ไม่บังคับเสียงหนั กเบา แต่บังคับสัมผัส เสียงสระระหว่างวรรคและสัมผัสระหว่างบท โดยคำสุดท้ายของวรรคสดับจะสัมผัส กับคำที่ ๓ หรือคำที่ ๕ ของวรรครับ คำสุดท้ายของวรรครับจะสัมผัสกับคำสุดท้าย ของวรรครอง คำสุดท้ายของวรรครองจะสัมผัสกับคี่ ๓ (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๒ บทที่ ๒ บทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศกรรมาและสามัคคีเสวก และชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๓ บทที่ ๒ นิทานคำกลอน เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสือสมุทร)
แผนผังฉั นทลักษณ์ กลอนสุภาพ ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๓ บทที่ ๒ นิทานคำกลอน เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสือสมุทร พระโยคีมีญาณว่าหลานรัก จงสำนั กให้อยู่สมอารมณ์หมาย อันยักษีผีสางสมุทรพราย มาถูกทรายชายหาดก็ขาดใจ เราลงเลขเสกทำไว้สำเร็จ ดังเขื่อนเพชรภูตปีศาจไม่อาจใกล้ มันอยู่แต่ห่างห่างช่างเป็นไร ทำไม่ได้นั ดดาเจ้าอย่ากลัว
๗. กลอนเพลงยาว แผนผังฉั นทลักษณ์ กลอน เพลงยาว กลอนเพลงยาว ซึ่งมีข้อบังคับทางฉันทลักษณ์ เหมือนกลอนสุภาพหรือกลอนแปด แตกต่างกัน ที่กลอนเพลงยาวจะขึ้นต้นด้วยวรรครับ (วรรคที่ สอง) และลงท้ายบทด้วยคำว่า “เอย” ในการแต่ง ไม่จำกัดจำนวนบท จึงเรียกว่า “เพลงยาว” (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๓ บทที่ ๔ เรื่องอิศรญาณภาษิต)
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๓ บทที่ ๔ เรื่อง อิศรญาณภาษิต เทศนาคำไทยให้เป็นทาน อิศรญาณชาญกลอนอักษรสาร สำหรับคนเจือจิตจริตเขลา โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี ต้องหาม้ามโนมัยใหญ่ยาวรี ด้วยมัวเมาโมห์มากในซากผี สำหรับขี่เป็นม้าอาชาไนย
๘. กลอนบทละคร แผนผังฉั นทลักษณ์ กลอนบทละคร กลอนบทละครคือคำกลอนที่แต่งขึ้นเพื่อ แสดงละครรำ เช่น พระราชนิ พนธ์บทละครเรื่อง รามเกียรติ์, พระราชนิ พนธ์บทละครเรื่องอิเหนา เป็นต้น (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๒ บทที่ ๔ เรื่องบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก)
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๒ บทที่ ๔ เรื่องบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก มาจะกล่าวบทไป ถึงนนทกน้ำใจกล้าหาญ ตั้งแต่พระสยมภูวญาณ ประทานให้ล้างเท้าเทวา อยู่บันไดไกรลาสเป็นนิ จ สุราฤทธิ์ตบหัวแล้วลูบหน้ า บ้างให้ตักน้ำล้างบาทา บ้างถอนเส้ นเกศาวุ่นไป
๙. กลอนดอกสร้อย กลอนดอกสร้อย เป็นคำประพันธ์ชนิ ดหนึ่ ง ซึ่งกำหนดให้ไว้เพียง ๘ วรรค คำที่ ๒ ของ กลอนสดับมีคำว่า เอย แล้วมีคำต่อเอยอีกไม่เกิน ๓ คำ ใช้คำสุดท้ายของกลอนสดับส่งไปยัง คำที่ ๑,๒,๓ หรือ ๔ คำใดคำหนึ่ งของกลอนรับ แล้วคำสุดท้ายของกลอนรับ ส่งไปยังคำ สุดท้ายของกลอนรอง คำสุดท้ายของกลอนรองส่งไปยังคำที่ ๑,๒,๓ หรือ ๔ ของกลอนส่ง คำสุดท้ายของกลอนส่ง ส่งสัมผัสไปยังคำสุดท้ายของกลอนในบทที่แต่งให้จบ และจบลง ด้วยคำว่า เอย (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๒ บทที่ ๗ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า)
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๒ บทที่ ๗ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่ง! ย่ำค่ำระฆังขาน ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน ชาวนาเหนื่ อยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียวเอย
๑๐. กลอนนิราศ กลอนนิ ราศมีลักษณะเหมือนกลอนแปด แต่มักเริ่มบทแรกด้วยวรรครับ ไม่เริ่มด้วยวรรคสดับ จึงเหลือเพียง ๓ วรรค คือ วรรครับ วรรครอง และวรรคส่ง แล้วจบท้ายด้วยคำว่า เอย โดยไม่มีการ จำกัดความยาว (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๑ นิราศภูเขาทอง) แผนผังฉันทลักษ ณ์กลอนนิ ราศ
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๑ นิราศภูเขาทอง รับกฐินภิญโญโมทนา เดือนสิ บเอ็ดเสร็จธุ ระพระวสา ออกจากวัดทัศนาดูอาวาส ชุลีลาลงเรือเหลืออาลัย สามฤดูอยู่ดีไม่มีภัย เมื่อตรุษสารทพระพรรษาได้อาศัย โอ้อาวาสราชบุรณะพระวิหาร มาจำไกลอารามเมื่อยามเย็น เหลือรำลึกนึ กน่ าน้ำตากระเด็น แต่นี้ นานนั บทิวาจะมาเห็น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง เพราะขุกเข็ญคนพาลมารานทาง จึ่งอำลาอาวาสนิ ราศร้าง ก็ใช้ถังแทนสั ดเห็นขัดขวาง มาอ้างว้างวิญญาณ์ ในสาคร
๑๑. ร่ายสุภาพ สุภาษิตพระร่วงแต่งด้วยคำประพันธ์ชนิ ดร่ายสุภาพวรรคละ ๔-๘ คำ ร่ายแต่ละวรรค มีสัมผัสคล้องจองจากวรรคหนึ่ งไปยังอีกวรรคหนึ่ ง และจบด้วยโคลงสองสุภาพ (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๓ สุภาษิตพระร่วง) แผนผังฉั นทลักษณ์ ร่ายสุภาพ
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๓ สุภาษิตพระร่วง ร่ายสุภาพ ป่างสมเด็จพระร่วงเจ้า เฝ้าแผ่นภพสุโขทัย มลักเห็นในอนาคต จึงผายพจนประภาษ เป็นอนุสาสนกถา สอนคณานรชน … โคลงสองสุภาพ โดยอรรถอันถ่องถ้วน แถลงเลศเหตุเลือกล้วน เลิศอ้างทางธรรม แลนา
๑๒. โคลงสี่ สุภาพ โคลงสี่สุภาพกำหนดให้บทหนึ่ งมี ๔ บาท บาทหนึ่ งมี ๒ วรรค คือ วรรคหน้ ากับ วรรคหลัง วรรคหน้ ามี ๕ พยางค์ วรรคหลังมี ๒ พยางค์ ยกเว้นบาทที่ ๔ ให้มี ๔ พยางค์ และเพิ่มคำสร้อยได้ที่บาทที่ ๑ และ ๓ แห่งละ ๒ พยางค์ (พบในชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๒ โคลงโลกนิติ และชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๒ บทที่ ๑ โคลงภาพพระราช พงศาวดาร และบทที่ ๖ โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว)
แผนผังฉันทลักษณ์โคลงสี่ สุภาพ ตัวอย่างบทประพันธ์ ชั้นมัธยมศึ กษาปีที่ ๑ บทที่ ๒ โคลงโลกนิติ ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร มารยาทส่ อสั นดาน ชาติเชื้อ โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดิน
จบการนำเสนอ
Search
Read the Text Version
- 1 - 29
Pages: