Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หลักสูตรท้องถิ่น_หลักสูตรการขี่ควาย

หลักสูตรท้องถิ่น_หลักสูตรการขี่ควาย

Published by library banbueng, 2019-07-04 22:58:44

Description: หลักสูตรท้องถิ่น_หลักสูตรการขี่ควาย

Search

Read the Text Version

หลักสตู รท้องถ่ิน เรอ่ื งหลกั สตู รการข่คี วาย เพอื่ การแขง่ ขันในประเพณีวงิ่ ควายจงั หวัดชลบรุ ี ศูนย์การศกึ ษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศยั อาเภอบ้านบึง สังกัดสานกั งานส่งเสรมิ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอธั ยาศัยจังหวดั ชลบรุ ี สานกั งานส่งเสรมิ การศกึ ษานอกระบบและการศกึ ษาตามอัธยาศัย สานักงานปลดั กระทรวงศกึ ษาธกิ าร กระทรวงศกึ ษาธกิ าร

คำนำ ด้วย สำนักงำนส่งเสริมกำรศึกษำนอกระบบและกำรศึกษำตำมอัธยำศัยจังหวัดชลบุรี มอบหมำยให้ ศูนย์กำรศึกษำนอกระบบและกำรศึกษำตำมอัธยำศัยอำเภอบ้ำนบึง ดำเนินกิจกรรม สืบทอดมรดกภูมิปญั ญำทำงวัฒนธรรม โดยให้จัดทำหลักสูตรท้องถ่ินขนึ้ เรื่อง หลกั สตู รกำรข่คี วำย เพ่ือกำรแข่งขันในประเพณีว่ิงควำยจังหวัดชลบุรี โดยจัดทำเนื้อหำเก่ียวกับประเพณีว่ิงควำยใน ทอ้ งถิน่ ควำมร้เู กีย่ วกับควำย กำรฝึกควำย คัดเลอื กควำยและผู้ข่คี วำยเพ่ือกำรแขง่ ขัน สืบเนื่องจำก คำขวัญจังหวัดชลบุรี ท่ีว่ำทะเลงำม ข้ำวหลำมอร่อย อ้อยหวำน จักรสำนดี ประเพณีว่ิงควำย สอดคล้องกับคำขวัญของอำเภอบ้ำนบึง ท่ีว่ำ บ้ำนบึงสะอำดสดชื่น คนนับหม่ืน กนิ เจ ประเพณีวง่ิ ควำย เซียงซือไท้ศกั ด์ิสิทธิ์ ลือท่ัวทิศขนมจีน พบว่ำใหค้ วำมสำคัญท่ีเหมือนกันใน เรือ่ ง ประเพณีว่งิ ควำย กศน.อำเภอบ้ำนบึง ได้ศึกษำข้อมูลเก่ียวกับควำยไทย และประเพณีว่ิงควำยซึ่งสืบทอดมำ ยำวนำนกว่ำ ๑๐๐ ปี โดยให้ควำมสำคัญกับคนขี่ควำย ซึ่งนับวันจะไม่มีผู้สนใจจะนำอำชีพข่ีควำย เพ่ือกำรแข่งขัน ไม่มีกำรสืบทอด คงมีแต่ประวัติศำสตร์ของคนข่ีควำยเท่ำนั้น และอำจลำงเลือนไป จำกทอ้ งถ่ินได้ ขอขอบพระคุณ นำยสุวิทย์ ครูศรี ภูมิปัญญำท้องถิ่นด้ำนกำรเลี้ยงควำยไทยเพื่อกำร แข่งขัน และสภำวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี ตลอดจนผู้รู้อีกจำนวนมำก ที่ทำให้หลักสูตรเล่มนี้ ครบถ้วนสมบูรณ์และหวังเป็นอย่ำงย่ิงว่ำหลักสูตรท้องถ่ินน้ีจะเป็นตัวแทนของประวัติศำสตร์ ประเพณีว่ิงควำยชลบุรี ตัวสะท้อนควำมสำคัญของประเพณีว่ิงควำยไม่ใช่อยู่ที่ควำยเท่ำนั้น คนขี่ ควำยแข่งเป็นตัวบ่งช้ีอันดับหน่ึงของกำรสืบทอดประเพณีกำรข่ีควำยเพ่ือกำรแข่งขันในประเพณีวิ่ง ควำยจงั หวดั ชลบุรี ด้วยควำมปรำรถนำดีและขอบพระคณุ ย่ิง ศนู ย์กำรศึกษำนอกระบบและกำรศึกษำตำมอธั ยำศยั อำเภอบำ้ นบึง

สำรบญั หน้ำ คำนำ 1 หลักสูตรทอ้ งถน่ิ 1 เรอื่ งหลักสตู รกำรขคี่ วำยเพื่อกำรแขง่ ขนั ในประเพณวี ง่ิ ควำยจังหวัดชลบรุ ี 1 1. หลกั กำร 2 2. จดุ มุง่ หมำย 2 3. โครงสรำ้ งหลักสตู ร 3 4. แนวทำงกำรจัดกำรเรยี นรู้ 3 5. ส่อื /แหลง่ กำรเรียนรู้ 4 6. กำรวัดและประเมนิ ผล 4 หน่วยกำรเรยี นรู้ที่ 1.1 ประเพณีวิ่งควำยในท้องถ่ิน 5 1. ประเพณี 11 2. ประเพณีว่งิ ควำย 12 ลักษณะเฉพำะทแ่ี สดงถงึ อัตลักษณข์ องมรดกภูมปิ ญั ญำทำงวัฒนธรรม 13 เทศบำลเมอื งบ้ำนบึง 15 รำยชือ่ ผู้สบื ทอดหลกั และภมู ิปญั ญำดำ้ นประเพณวี งิ่ ควำย 15 15 หน่วยกำรเรียนร้ทู ่ี 1.2 ควำมรเู้ กยี่ วกับควำย 16 1. ควำยไทย 16 2. ควำยพันธุ์มรู ำ่ ห์ 17 3. ควำยลกู ผสม 18 กำรเลย้ี งดตู ง้ั แตเ่ กิด – 6 เดอื น 19 กำรเลี้ยงดตู งั้ แต่ 6 เดอื น – 10 เดอื น 19 กำรเลี้ยงดูตงั้ แตอ่ ำยุ 10 เดอื นขึ้นไป 20 วสั ดุพลอยไดจ้ ำกกำรปลูกพชื 21 กำรเล้ยี งควำยใหม้ ีควำมต้ำนทำนโรค กำรป้องกนั โรคลว่ งหน้ำ กำรขยำยพันธ์ุควำย

สำรบญั (ตอ่ ) 22 23 วิธีผสมพนั ธุ์ 24 ประโยชน์ของควำย 24 หน่วยกำรเรียนรทู้ ี่ 1.3 กำรคัดเลือกควำยและผูข้ ่ีควำยเพอ่ื แข่งขัน 28 ลกั ษณะควำยที่ดี 28 กำรจำแนกรุ่นของควำยแข่ง 29 ตัวอยำ่ งตำหรับยำสมนุ ไพรที่ใชบ้ ำรุงควำย 29 ลกั ษณะของผูค้ วบคุมควำย 29 วิธขี นึ้ บนหลงั ควำย 30 กตกิ ำ ของกำรแข่งควำย 31 รำยได้ของผมู้ ีอำชีพขค่ี วำยแขง่ 38 ภำคผนวก 39 เอกสำรอ้ำงอิง คณะทำงำน

หลักสูตรทอ้ งถ่นิ เรื่องหลกั สตู รการข่ีควายเพ่ือการแข่งขนั ในประเพณวี ิ่งควายจงั หวัดชลบุรี ๑. หลกั การ ตามความมาตรา ๒๗ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๔๒ ได้กาหนด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาข้ันพ้ืนฐานเพื่อความเป็นไทยความเป็นพลเมืองดีด้านการดารงชีวิต การประกอบอาชีพตลอดจนการจัดการศึกษาของสถานศึกษามีวัตถุประสงค์ที่กาหนดในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับชุมชน สังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสมาชกิ ที่ดีของครอบครวั ชุมชนสังคมและประเทศชาติ หมายถึงสถานศึกษาต้องจัดการศึกษาให้มีความสอดคล้องกับความ ต้องการของชุมชนท้องถิ่นผู้เรียนเป็นสาคัญ เพ่ือนามาสู่การแก้ปัญหาและความต้องการของสังคม และนาภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถนิ่ เขา้ มาเปน็ ส่วนหนงึ่ ของการจดั การศกึ ษาดว้ ย หลกั สูตรท้องถน่ิ ฉบับนี้พัฒนาขึน้ เพ่ืออนุรกั ษ์การข่ีควายเพือ่ การแข่งขันในประเพณีวิง่ ควาย จังหวัดชลบุรี โดยการนาเอาภูมิปัญญาชาวบ้าน ศิลปะ วัฒนธรรม และประเพณีในท้องถนิ่ เป็นส่ือ การเรียนการสอน การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องของประเพณีว่ิง ควาย และภูมิปัญญาชาวบ้านเรอ่ื งการขคี่ วายแขง่ ในประเพณีว่ิงควายจังหวดั ชลบรุ ี ดังนั้น การนาหลักสูตรท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยให้ผู้มีความรู้ความชานาญ ประจาท้องถ่ิน เป็นผู้ถ่ายทอดโดยตรง นับเป็นการส่งเสริมและถา่ ยทอดภมู ิปัญญาชาวบ้านให้ยงั คง สืบทอดสู่คนรุ่นหลัง เป็นการแก้ปัญหาการละเลยภูมิปัญญาท้องถ่ินของคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นการ ส่งเสริมคุณค่าของศิลปะวัฒนธรรมประเพณี อันมีค่ายิ่งของชุมชน รวมถึงเป็นการจัดการเรียนรู้ เพ่ือตอบสนองต่อเป้าหมายของหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่ให้ท้องถ่ิน รว่ มจัดการศกึ ษาได้ ๒. จุดมุ่งหมาย หลกั สตู รทอ้ งถนิ่ ฉบับนี้มงุ่ จดั การศกึ ษาใหผ้ ูเ้ รยี นมีความรู้และคณุ ลักษณะดงั น้ี ๑. เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นที่ต้องการอนุรักษ์ประเพณีวิ่งควาย และศิลปะการขี่ควาย โดยนามาบรรจไุ วใ้ นหลกั สตู รของจดั การเรยี นการสอนของสถานศกึ ษา ๒. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสาคัญยอมรับภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองตลอดจน เกิดเจตคติท่ีดี มคี วามรกั ความภาคภมู ิใจ รูค้ ณุ คา่ ในภูมิปัญญาท้องถิน่ ของตน ๓. เพื่อให้ชุมชนเห็นความสาคัญและให้ความร่วมมือในการสนับสนุนให้มีการนาภูมิปัญญา ท้องถ่นิ เข้ามามสี ่วนร่วมในการจดั กจิ กรรมการเรียนรูเ้ พ่อื ตอบสนองความตอ้ งการของท้องถ่นิ ๑

๓. โครงสร้างหลักสตู ร ๓.๑ เนื้อหา เน้ือหาสาระที่กาหนดไว้ในหลักสูตรท้องถิ่นฉบับนี้ประกอบด้วยเน้ือหาเรื่อง ประเพณีว่ิงควายชลบุรี การขี่ความเพ่ือการแข่งขัน การเลี้ยงควายเพื่อการแข่งขนั ซึ่งนามากาหนด เปน็ หนว่ ยการเรียนรใู้ นรายวชิ าพนื้ ฐานกล่มุ สาระการพฒั นาสังคม ๓.๒ หนว่ ยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ในหลักสูตรท้องถิ่นเร่ืองการพัฒนาหลักสูตรการข่ีควายเพ่ือการ แข่งขันในประเพณีวิ่งควายจังหวัดชลบุรี เป็นหลักสูตรรายวิชาพื้นฐานกลุ่มสาระการพัฒนาสังคม กาหนดเวลาเรียนท้ังหมด ๔๐ ช่ัวโมง ซ่ึงประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้ ดังน้ี ๑. สาระการเรยี นรู้ประกอบดว้ ย ๔ หน่วยการเรยี นรู้ คอื ๑.๑ หนว่ ยประเพณวี ิง่ ควายในทอ้ งถิน่ จานวน ๒ ชว่ั โมง ๑.๒ หนว่ ยความรู้เกยี่ วกบั ควาย จานวน ๒ ชว่ั โมง ๑.๓ หน่วยการคดั เลือกควายและผขู้ ี่ควายเพ่อื แขง่ ขัน จานวน ๓๖ ช่วั โมง ๒. รายละเอียดมาตรฐานการเรยี นรู้ หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 สาระท่ี 5 สาระการพัฒนาสังคม มาตรฐานท่ี ๕.๒ มีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าและสืบทอด ศาสนา วัฒนธรรมประเพณี เพือ่ การอยรู่ ่วมกันอยา่ งสันติสุข ๓.๓ เวลาเรียน หลักสตู รท้องถนิ่ ฉบับนใ้ี ช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ จานวน ๔๐ ชั่วโมง ๔. แนวทางการจดั การเรยี นรู้ กจิ กรรมการจัดการเรียนร้แู ตล่ ะหนว่ ยประกอบดว้ ย ๑. ขั้นการสร้างความเข้าใจโดยบอกให้ทราบถึงวัตถุประสงค์และ เนื้อหาการ จ ัด ก า ร เ ร ีย น รู ้ใ น แ ต ่ล ะ ห น ่ว ย โ ด ย ม ีภ ูม ิป ัญ ญ า ช า ว บ ้า น ห ร ือ ป ร า ช ญ ์เ ข ้า ม า ม ีส ่ว น ร ่ว ม ใ น กระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่กาหนดไว้โดยมีการทบทวนความรู้เดิมให้ ผเู้ รยี นได้เชอื่ มโยงความรู้เดิมกบั ความรู้ใหม่ ๒. ขั้นเข้าสู่บทเรียนเป็นการเรียนรู้ท้ังภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติตามแผนการ จัดการเรียนรู้ รวมทั้งการใช้กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อสร้างความสนใจในการเรียนรู้ เช่น การวิเคราะห์สถานการณ์โดยการแบ่งกลุ่มทางานท่ไี ดร้ ับมอบหมาย และการนาเสนอผลงานและ แสดงความคดิ เหน็ ๒

๓. ขั้นสรุปผลเป็นการสรุปเน้ือหาการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ แนะนา วิธีการประเมินผลเม่ือเรียนจบ โดยขั้นสุดท้ายผู้เรียนต้องเข้าร่วมทากิจกรรมในงานประเพณีว่ิงควาย หรือเรยี นรู้จากแหลง่ เรยี นรู้ เพอ่ื เปน็ การแสดงถงึ การมีสว่ นรว่ มในกจิ กรรมของท้องถนิ่ ๕. สอ่ื /แหล่งการเรยี นรู้ สื่อ แหลง่ การเรยี นร้ปู ระกอบด้วย ๑. เอกสารประกอบการเรยี นรู้ ๒. ภาพวดี ที ศั น์ / ภาพน่งิ ๓. แหล่งการเรยี นรู้ในท้องถิ่น ๔. ใบความรู้ ๕. ใบงาน 6. การวดั และประเมินผล การวดั และประเมนิ ผลการเรยี นรขู้ องผู้เรยี น ดังน้ี ๑. วัดผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนหลักสูตรทอ้ งถน่ิ เร่ือง การขี่ควายเพ่ือการแข่งขันใน ประเพณวี ิง่ ควายจงั หวดั ชลบรุ ี ใชแ้ บบทดสอบกอ่ นเรยี นและหลังเรยี น ๒. การประเมินจากการเขา้ ร่วมกิจกรรมในทอ้ งถ่ิน ๓

เอกสารการเรียนรู้ หนว่ ยการเรยี นรู้ท่ี ๑.๑ ประเพณวี ิ่งควายในท้องถิน่ ๑. ประเพณี (tradition) เป็นกิจกรรมที่มีการปฏิบัติสืบเนื่องกันมา เป็นเอกลักษณ์และมี ความสาคัญต่อสังคม เช่น การแต่งกาย ภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ศิลปกรรม กฎหมาย คุณธรรม ความเช่ือ ฯลฯ อันเป็นบ่อเกิดของวัฒนธรรมของสังคมเชื้อชาติต่าง ๆ กลายเป็นประเพณีประจา ชาติและถ่ายทอดกันมาโดยลาดับ หากประเพณีนั้นดีอยู่แล้วก็รักษาไว้เป็นวัฒนธรรมประจาชาติ หากไม่ดีก็แก้ไขเปล่ียนแปลงไปตามกาลเทศะ ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อม ภายนอกท่ีเข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏบิ ัตทิ ่ีหลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดาเนินชีวติ ประเพณี จึงเรียกได้ว่าเป็นวิถีแห่งการดาเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซ่ึงมีอิทธิพลต่อประเพณีไทย มากท่ีสุด วัดวาอารามต่าง ๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อ สังคมไทย และช้ีให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสาคัญในการบารุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงาม เพอื่ ใชใ้ นพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เปน็ ต้น พระยาอนมุ านราชธน ได้ใหค้ วามหมายของ คาว่าประเพณีไว้ว่า ประเพณี คือ ความประพฤติที่ชนหมู่หนึ่งอยู่ในที่แห่งหน่ึงถือเป็นแบบแผนกัน มาอย่างเดียวกัน และสืบต่อกันมานาน ถ้าใครในหมู่ประพฤติออกนอกแบบก็ผิดประเพณี หรือผิด จารตี ประเพณี คาวา่ ประเพณี ตามพจนานกุ รมภาษาไทยฉบับบัณฑติ ยสถาน ไดก้ าหนดความหมาย ประเพณไี ว้วา่ ขนบธรรมเนียมแบบแผน ซึ่งสามารถแยกคาตา่ ง ๆ ออกได้เปน็ ขนบ มคี วามหมายว่า ระเบียบแบบอย่าง ธรรรมเนียม มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมาและเม่ือนามารวมกันแล้วก็มี ความหมายว่า ความประพฤติทค่ี นส่วนใหญ่ ยึดถือเป็นแบบแผน และได้ทาการปฏิบัติสืบต่อกันมา จน เป็นตน้ แบบทจ่ี ะให้คนรนุ่ ต่อ ๆ ไปได้ประพฤติปฏบิ ัตติ ามกันต่อไป โดยสรุปแล้ว ประเพณี หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่กาหนดพฤติกรรมในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คนในสังคมยึดถือปฏิบัติสืบกันมา ถ้าคนใดในสังคมนั้น ๆ ฝ่าฝืนมักถูตาหนิจากสังคม ลักษณะ ประเพณีในสังคมระดับประเพณีชาติ มีทั้งประสมกลมกลืนเป็นอย่างเดียวกัน และมีผิดแผกกันไป บ้างตามความนิยมเฉพาะท้องถ่ิน แต่โดยมากย่อมมีจุดประสงค์ และวิธีการปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอัน เดียวกนั มเี ฉพาะส่วนปลกี ย่อยท่ีเสริมเตมิ แต่งหรือตัดทอนไปในแตล่ ะท้องถ่ิน สาหรบั ประเพณีไทย จะมคี วามเกีย่ วขอ้ งกับความเช่ือในคตพิ ระพุทธศาสนาและพราหมณ์มาแต่โบราณ ประเพณีทอ้ งถ่ิน คาว่า “ท้องถ่ิน” หมายถึง พื้นที่และขอบเขตท่ีชุมชน หมู่บ้าน เมือง มีการปะทะ สังสรรค์กันทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนปรากฏรูปแบบทางวัฒนธรรมท่ีเหมือนกัน และแตกต่างกันไปจากชุมชน หมู่บ้าน และเมือง ในท้องถิ่นอ่ืน ดังนั้นวัฒนธรรมและประเพณีของ ท้องถ่ินแต่ละแห่งอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและ สภาพแวดล้อม ซึ่งเราพอจะสรุปลักษณะสาคัญของวัฒนธรรมและประเพณีท้องถ่ินของไทย ศลิ ปวฒั นธรรมท้องถิ่น ๔

๒. ประเพณีของจงั หวัดชลบรุ ี ประเพณีวง่ิ ควาย เป็นงานประเพณีประจาจังหวัดชลบุรี เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ของ จังหวดั ชลบุรี ท่ีมีการจดั มากว่า ๑๐๐ ปีแลว้ ประเพณวี ่ิงควาย เปน็ ประเพณที ่ีจดั ขนึ้ เปน็ ประจาทุก ปี ในวันข้ึน ๑๔ ค่า เดือน ๑๑ หรือก่อนออกพรรษา ๑ วัน เพื่อเป็นการทาขวัญควายและให้ควาย ได้พักผ่อนหลังจากการทานามายาวนาน นอกจากนี้ประเพณีว่ิงควายยังเป็นการแสดงความกตญั ญู รู้คุณต่อควายที่เป็นสัตว์มีบุญคุณต่อชาวนาและคนไทยอีกทั้งยังเพ่ือให้ชาวบ้านได้มีโอกาสพักผ่อน มาพบปะสังสรรค์กันในงานว่ิงควายก็จะนาผลผลิตของตนบรรทุกเกวียนมาขายให้ชาวบ้านร้าน ตลาดไปพร้อม ๆ กัน ต่างคนก็จูงควายเข้าเที่ยวตลาดจนกลายมาเป็นการแข่งขันว่ิงควายกันขึ้น และจากการท่ีชาวไร่ชาวนาต่างก็พากันตกแต่งประดับประดาควายของตนอย่างสวยงามน่ีเอง ทา ให้เกิดการประกวดประชันความสวยงามของควายกันขึ้นพร้อม ๆ ไปกับการแข่งขันวิ่งควาย ประเพณีน้ีเป็นของท้องถิ่นจังหวัดชลบุรีโดยแท้ หรือจะเรียกว่าเป็น “ของดีเมืองชล” ท่ีบรรพบุรุษ ของเราได้สร้างสมไว้ให้ เป็นอมตะสมบัติของชาวชลบุรี เป็นประเพณีที่มีมาแต่บรรพกาลจนไม่ สามารถชี้ชดั ไดว้ า่ มมี าแตส่ มัยใด และใครเปน็ ผู้รเิ รมิ่ เป็นประเพณีท่ีสืบทอดมาหลายชั่วอายคุ น เปน็ ประเพณีท่ีปฏิบัติในวันขึ้น ๑๔ ค่า ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว เป็นฤดูกาลท่ีการไถ หว่านได้เสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นเวลาข้าวกล้าในนา พืชพันธุ์ธัญญาหารในไร่กาลังตกดอกออกรวง เปน็ ฤดทู ชี่ าวไรช่ าวนากาลงั มองเหน็ ผลจากแรงกายของตน ตลอดจนแรงสตั ว์ทไ่ี ด้ใชท้ างานกาลังจะ ใหผ้ ลอยรู่ าไร ความสุขและความหวงั กาลังรออยู่เบื้องหน้าอย่างนา่ ภาคภมู ใิ จ อกี ไม่ช้ากจ็ ะเก็บเก่ยี ว ข้าวกล้าในนา ตลอดจนพืชผลต่าง ๆ ท่ีได้ไถหว่านไว้ จึงมาคานึงถึงสัตว์ เช่น วัวควายท่ีได้ไถนาเป็น เวลาหลายเดือน ควรจะได้มีส่วนได้รับความสุขตามสภาพบ้าง จึงต่างตกแต่งวัวควายของตนให้ สวยงาม เป็นการทาขวัญควาย แล้วก็นาควายเข้าเมืองเพ่ือพบปะกับบรรดาเกษตรกรทั้งหลาย ไม่ ว่าจะอยู่สารทิศใดก็จะมีโอกาสพบปะสังสรรค์กันในวันน้ัน คนท่ีไม่รู้จักกันก็แลกเปลี่ยนความ คิดเห็นสารทุกข์สุขดิบ มีการเล้ียงดูกันอย่างสนุกสนาน ตลอดจนมีการประกวดความสมบูรณ์ของ ควาย วันนั้นเป็นวันของผู้ท่ีเป็นกระดูกสันหลังของชาติ มาสันนิบาตพบปะกันจริง ๆ เหตุที่เลือกเอา วันข้ึน ๑๔ ค่า เดือน ๑๑ น้ัน เพราะวันรุ่งข้ึนเป็นวันพระทุกคนจะต้องหยุดงานไปวัด วันพระน้ัน โบราณหยุดงานไปวัดกันจริง ๆ แม้กระท่ังวัวควายก็ไม่ยอมให้ใช้งานวันพระ โดยเฉพาะต่อไปวันแรม ๑ ค่า เดือน ๑๑ ก็เป็นวันออกพรรษา การนาควายมาว่ิงอวดประกวดกันในเมืองวันนั้นเขามาก็เอา ๕

ควายมาเทียบเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าวมาขาย เพื่อคนในเมืองจะได้ ซี้อไปห่อข้าวต้มหางทาบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ วันออกพรรษา คนโบราณของเราเป็นคนท่ี หนักในความกตญั ญูกตเวทิตา และมีความเมตตาธรรมสงู เห็นววั ควายเหล่านน้ั ทางานให้กับตน เป็น สัตวท์ ่มี ีคณุ แกช่ ีวติ ตนไม่ยอมฆ่าสัตว์เหล่านั้นเป็นอาหาร ไม่รบั ประทานเนอ้ื วัว ควาย เพราะถือว่าเป็น สัตวท์ ีม่ บี ญุ คณุ ประเพณีวิ่งควายไม่ใช่เรื่องไร้สาระเหลวไหล เป็นเร่ืองท่ีแฝงไว้ด้วยสามัคคีธรรม บรรพชนของเราเปน็ ห่วงประเพณนี ี้จะสูญหายในเร็ววัน เพราะคนจะไม่เห็นคุณค่าของควาย ฉะนั้นในปีใด ท่ไี มม่ กี ารวงิ่ ควาย ปนี ัน้ ควายจะเปน็ โรคระบาดตายกันมากผดิ กว่าปกติ เพราะวญิ ญาณของบรรพชน ของเรายังห่วงประเพณีอันดีงามน้ีอยู่ จึงบันดาลให้เกิดอาเพศภัยพิบัติต่าง ๆ ควายท่ีเจ็บป่วย ระหว่างปีเจ้าของควายก็บนบานให้หายแล้ว จะนามาวิ่งเพื่อรักษาประเพณีปีละมาก ๆ สิ่งที่น่า ภาคภูมิใจยิ่งสาหรับประเพณีว่ิงควายของชาวชลบุรีก็คือในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสจังหวัดชลบุรี เม่ือวันเสาร์ที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ผู้ว่าราชการ จังหวัดชลบุรี คือพระยาวิเศษฤาไชย ได้จัดว่ิงควายถวายทอดพระเนตร ที่หน้าศาลากลางจังหวัด ชลบุรี มีหลักฐานปรากฏในพระราชกิจรายวัน กรมราชเลขาธิการได้บันทึกไว้ ขอคัดมาเป็น หลักฐาน วัน ๗ ฯ ๑๒ ร.ศ.๑๓๑ เสด็จลงเรือพระที่น่ัง ท่ีท่าหน้าตาหนักกรมขุนมรุพงษ์ พระราชทาน พระแสงสาหรับมณฑลแก่พระสุนทรพิพิธ แล้วเสด็จลงเรือจะเสด็จเมืองชลบุรี พอ ผ่านโรงทหาร กองทหารโห่ร้องถวายไชยมงคลล่องลงมาตามลาน้า เวลาเท่ียงถึงปากน้าบางปะกง เสด็จขึ้นประทับบนศาลาการเปรียญ วัดบางปะกง มีเจ้าคณะมณฑลและเจ้าอธิการวัดน้ีมาคอยรบั เสด็จ และมีราษฎรมาคอยเฝ้าเป็นอันมากโปรดให้ราษฎรเฝ้าราษฎรนาปลาและน้าปลามาถวาย โปรดพระราชทานเงินทุกราย และพระราชทานเสมาเงิน จ.ป.ร. แก่เด็กลูกหลานของราษฎรท่ีมา เฝ้านั้นท้ังหญิงและชายแล้วประทับเสวย ณ ท่ีน้ัน เวลาบ่าย ๒ โมง ๔๕ นาที เสด็จประทับลงเรือ ยนต์พระสงฆใ์ นวัดนสี้ วดชยันโต เวลา ๓ โมง ๔๕ นาที เรือพระที่น่ังเทยี บสะพานท่าน้าเมืองชลบรุ ี พระยาวิเศษฤาไชยและข้าราชการเมืองนั้นมาคอยรับเสด็จ เสด็จข้ึนประทับตาหนักกรมขุนมรุพงษ์ท่ี เมืองชลบุรีน้ัน เวลาบ่าย ๔ โมง เสด็จที่ว่าการเมืองกองเสือป่าและลูกเสือ นักเรียนชายหญิงตั้งแถวรับ เสด็จท่ีสนามหญา้ หนา้ ท่ีว่าการ ทหารเรือชายทะเลท้ังข้างขวา ข้างซ้ายตารวจภธู ร เมื่อประทับบน ที่ว่าการแล้วพระยาวิเศษฤาไชย นาฝ่ายพลเรือนเฝ้าเรีย งตัวหลวงมริดราบ นาทหารเรือ ทหารบกตารวจภูธรเฝ้า พระยาวิเศษฤาไชยนาพ่อค้าไทย,จีน เฝ้าประทับทอดพระเนตรแข่งกระบือ และแห่ผ้าป่า ซ่ึงพ่อค้าพลเมืองได้จัดให้มีขึ้น ประทับเสวยเครื่องว่าง ณ ท่ีนั้นแล้วเสด็จกลับยังท่ี ประทับแรม โปรดให้เล่ือนกาหนดวันที่จะเสด็จกลับไปอีก ๒ วัน จากพระราชกิจประจาวันนี้ จะ เห็นได้ชัดว่าประเพณีว่ิงควายได้มีมาแล้วแต่อดีต และเป็นประเพณีที่แปลกกว่าจังหวัดอื่น จึงได้ เตรยี มการจัดถวายทอดพระเนตรเป็นกรณีพเิ ศษ ๖

ประเพณีว่ิงควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดวันข้ึน ๑๔ ค่า เดือน ๑๑ อาเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตาบลหนองชาก อาเภอบ้านบึง จัด วันแรม ๑ ค่า เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตาบลแสนสุข อาเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควาย วันทอดกฐินประจาปีของวัด ถึงแม้เกษตรกร จะนาควายเหล็กมาใช้ไถท่ีหรือทางานด้านเกษตรเป็น จักรกลเครื่องผ่อนแรง แต่ก็ปรากฏว่าการว่ิงควายของแต่ละหน่วยงานท่ีจัดข้ึนนั้น จานวนควายได้ ลดน้อยถอยลง นอกจากจะเป็นการรักษาประเพณีและวัฒนธรรมท้องถ่ินแล้ว หากร่วมแรงร่วมใจ ตั้งใจทางานน้ีอย่างจริงจัง ยังเป็นการดึงชนต่างถ่ินได้มาชมประเพณีว่ิงควายอันเป็นประเพณีท่ีมี จังหวัดเดียวในเมืองไทยอีกด้วย ในอดีตสภาพตลาดชลบุรี ยังไม่เจริญเหมือนทุกวันนี้ เกวียนที่ บรรทุกสินค้ามาจาหน่ายในเมืองจึงพักเกวียนอยู่ตามลานวัดใกล้เคียงกับตลาดที่ติดต่อค้าขายกนั ท่ี บรเิ วณขา้ งวัดใหญ่อินทารามและขา้ งวัดต้นสนมสี ถานทีข่ องเอกชนแห่งหนึง่ ซง่ึ ชาวบ้านนิยมใช้เป็น ท่ีพักเกวียนเพ่ือขนถ่ายสินค้า ชาวบ้านเรียกกันว่า ตลาดท่าเกวียน ทุกวันขึ้น ๑๔ ค่า เดือน ๑๑ (วันออกพรรษา) จะมีชาวบ้านมาจาหน่ายสินค้าในตลาดเป็นจานวนมากและนาควายมาพักไว้ใน บริเวณวัด หรือไม่ก็จูงควายเข้ามาเที่ยวตลาด โดยแต่งตัวให้สวยงามทงั้ คนและควาย เพื่อเป็นการทา ขวัญควาย การแต่งควายจึงวิจิตรพิสดารไปตามความคิด เช่น ทาถุงสวมเขาควาย ตกแต่งเชือกจูง ควาย และหวายเฆี่ยนควาย ตลอดจนทากระบังแต่งหน้าควาย เป็นต้น การจูงควายเขา้ เทีย่ วตลาด เพ่ือจับจ่ายซ้ือของตามความประสงค์ ตลอดจนนาควายวิ่งไปรอบ ๆ ตลาดด้วยความสนุกสนานน้ี เองที่ต่อมาได้กลายเป็นประเพณวี ิ่งควายตามลานวัดต่าง ๆ ซ่ึงเมอ่ื ถึงวันแขง่ วง่ิ ควาย ชาวบ้านจะนา ควายมาพักก่อนที่จะนาควายเข้าวิ่งแข่งขัน ในระหว่างปีหากควายเกิดการเจ็บป่วย เจ้าของ ควายก็จะบนบานศาลกล่าวด้วยการนาควายมาว่ิงแก้บนจนกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนทุก วนั นี้ จากข้อมูลการสัมภาษณ์นายสุรสิตย์ กังวลกิจ นายกเทศมนตรีบ้านบึง และ นายวันชัย จึงจรัสทรัพย์ รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า อาเภอบ้านบึง ได้จัดประเพณีวิ่งควายมาแล้วกว่า ๑๐๐ ปี จะจัดในช่วงต้นเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน วันอาทิตย์แรกหลังออกพรรษา ในวันขึ้น ๑๕ ค่า เดือน ๑๑ ของทุกปีและจัดต่อเน่ืองกันมาเป็น เวลานาน ซ่ึงในอดีตจะมีประเพณที าขวัญควาย แต่ในปัจจุบนั ไมม่ ีการทาขวัญควายแล้ว เพราะไม่มี หมอที่สามารถทาขวัญควายได้จึงยกเลิกการทาขวัญควายไป เหลือแต่การวิ่งควายและประกวด ควายพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ โดยแบ่งควายเป็น ๕ รุ่น คือ ใหญ่ จิ๋วใหญ่ จิ๋วเล็ก ซุปเปอร์จิ๋ว จิ๋วพิเศษ ควายที่ใช้ในการประกวดจะต้องมีอายุไม่เกิน ๑๒ ปี จึงจะเข้าประกวดได้ ทางเทศบาลเมืองบ้านบึง ได้ ใหง้ บประมาณในการจัดการประเพณีว่ิงควายปลี ะ ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ๗

จากการสัมภาษณ์ นายบุญธรรม ถงถาวร สมาชิกสภาเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศกั ด์ิ เขต ๔ กล่าววา่ ประเพณวี ิ่งควายเริ่มจัดข้ึนตัง้ แต่ปี พ.ศ.๒๕๓๙ สืบเนือ่ งมาจนถึงปัจจบุ ัน ถา้ หากไม่ จัดการแข่งว่ิงควายก็จะเกิดเหตุการณ์ หนอนกินหญ้า กินใบไม้จนหมดและเกิดไฟไหม้ ตามความ เช่ือของชาวบ้าน ซึ่งปัจจุบันงานแข่งวิ่งควายจะจัดข้ึนบริเวณสันเขื่อนอ่างเก็บน้าหนองค้อ โดยจะ จัดในวันแรม ๑ ค่า เดือน ๑๑ (วันออกพรรษา) ภายในงานประเพณีว่ิงควายจะมีการประกวดพ่อพันธ์ุ แม่พันธุ์ควาย สวยงาม แต่ในพ้ืนที่ไม่มีควายต้องมีการนาควายมาจากตาบลหนองชาก อาเภอบ้าน บึง และอาเภอพนัสนิคมทาให้เสียค่าขนย้ายควาย ต้องมีงบมาสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง ภาครัฐและเอกชนทาให้สานักงานตรวจเงนิ แผ่นดนิ เขา้ มาตรวจสอบการใช้งบประมาณในประเพณี วิ่งควายจงึ เกดิ ปัญหาการของบประมาณมาจดั ประเพณีวิ่งควายเพราะมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ทาให้ไม่สามารถเบิกงบประมาณจากทางรัฐได้ยากมากข้ึน จึงส่งผลต่อประเพณีวิ่งควาย ทาให้ ประเพณีว่ิงควายมีการเปลยี่ นแปลงและกาลังจะสญู หายไปในอนาคต อาจทาให้ลูกหลานไม่ได้เห็น ประเพณที อ้ งถ่นิ ดัง้ เดมิ ของพืน้ ที่จังหวดั ชลบุรอี กี ตอ่ ไป จากการสัมภาษณ์นายไพบูรณ์ พันธ์สนิท นายกเทศมนตรีตาบลบ่อทอง ได้ให้ ข้อมูลว่า จะจัดประเพณีว่ิงควายในวัน ข้ึน ๑ ค่า เดือน ๑๒ ของทุกปี ในอดีตรูปแบบการจัดงาน ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคนในท้องถ่ินและจากทางภาครัฐ โดยจะใช้วิธีเร่ียไรจากชาวบ้านเพื่อ นามาเป็นรางวัลให้กับคนท่ีนาควายมาแข่งขัน ปัจจุบันเทศบาลเข้ามาสนับสนุนโดยการให้ งบประมาณในการจัดงานประเพณีวิ่งควายซึ่งจะจัดการแข่งควายขึ้นที่กลางตลาด สี่แยกบ่อทอง ตอนเช้าจะทาบุญตักบาตร เมื่อทาบุญตอนเช้าเสร็จส้ิน ก็จะมีการจัดประกวดควายสวยงามในอดตี มี การประกวดใส่ชุดว่ายน้าในปี พ.ศ.๒๕๔๓ และการแขง่ ว่ิงควายมีการจัดขบวนแห่ควาย ควายแข่งจะให้ โชว์บนรถแตจ่ ะไม่นามาเดนิ ขบวนด้วย เน่ืองจากควายจะเจ็บกีบเทา้ ทาใหเ้ กิดบาดแผลได้ แต่ควาย ที่ไม่แข่งจะนามาเดินขบวนรอบตลาดประมาณ ๕๐๐ ตัว ส่วนควายท่ีเข้าแข่งขันแบ่งประเภท เป็น ๔ รุ่น ทั้งใหญ่ กลาง จิ๋วและรุ่นท่ัวไป จาแนกรุ่นจากนา้ หนักและอายุ โดยในพื้นที่ตาบลบ่อทอง มีควายจานวนน้อยลง เนื่องจากชาวบ้านไม่ค่อยเล้ียงควาย แต่บางบ้านเลี้ยงไว้เพื่อทาการเกษตร ทาให้ต้องมีการนาควายมาจากนอกพน้ื ที่ เชน่ จงั หวดั ระยอง และจังหวดั ฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ ยัง มีการจัดประกวดพืชผลทางการเกษตรและภายในอาเภอบ่อทอง ยังมีพ้ืนที่ท่ีจัดประเพณีวิ่งควาย คอื ตาบลเกษตรสุวรรณ (จัดในวันลอยกระทง) อาเภอบ่อทอง (๑๕ ค่า เดอื น ๑๒) ตาบลพลวงทอง (วันออกพรรษา) และได้เงินสนับสนุนจากทางเทศบาลบ่อทอง จานวน ๕๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสน บาทถ้วน) และได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนในปี พ.ศ.๒๕๕๙ เทศบาลตาบลบ่อทองไม่ได้จัด ประเพณีว่ิงควาย แต่มกี ารทาบุญท่ีตลาดสี่แยกบ่อทองและมีการนาควายมาเดินรอบตลาดกว่า ๓๐ ตวั ซ่ึงตามความเชื่อของชาวบ้านเช่ือกันว่าถ้าไม่จัดงานวิ่งควายข้ึน ก็จะเกิดไฟไหม้ข้ึนที่ตลาด ที่เป็น สถานที่จัดประเพณีวิ่งควายทาให้ต้องจัดงานว่ิงควายขึ้นใหม่ โดยในปี พ.ศ.๒๕๖๐ ได้จัดงาน วิง่ ควายขึ้นเปน็ ครั้งท่ี ๕๑ ๘

ข้อมูลจาการสัมภาษณ์ นายอเนก พัฒนงาม รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดชลบุรี ได้ให้ข้อมูลว่าการจัดประเพณีวิ่งควายของอาเภอบางละมุง ซึ่งในอดีตได้จัดต้ังแต่ ปีพ.ศ.๒๕๔๖ ในอดีตควายในพื้นที่ว่ิงเก่งเป็นควายทใี่ ช้งานหนัก เนื่องจากควายในสมัยอดีตมักนาไปทานา ทาให้ มีร่างกายแข็งแรง จึงว่ิงเก่งและเร็วส่วนในปี พ.ศ.๒๕๔๖ เริ่มมีการจัดแข่งขันเรือยาวประเพณี กลองยาว หมากรุก ใช้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีและเมืองพัทยา ในอดีต แบ่งควายที่ลงแข่งเป็น ๔ รุ่น คือ จิ๋วเล็ก จ๋ิวใหญ่ จ๋ิวพิเศษ ควายใหญ่ แต่ในปัจจุบันแบ่งเป็น ๕ รุ่น คอื จวิ๋ เลก็ ซปุ เปอร์จ๋วิ จ๋วิ พเิ ศษ จ๋วิ ใหญ่ ควายใหญ่ ซึ่งดูอายุควายจากฟันและพาลเี ขาและมีการทา ขวัญควาย แต่ในอดีตองคก์ ารบริหารส่วนตาบลหนองปรือไมไ่ ด้มพี ิธีทาขวัญควาย แต่ในปี พ.ศ.๒๕๔๙ มีขบวนเกวียน กลองยาว ควายเผือก แข่งขันจับลูกหมู ประกวดน้องนางบ้านนา แข่งมอเตอร์ไซด์ แข่งเรือยาว เป็นกิจกรรมที่เสริมข้ึนมาเมื่อเป็นเทศบาลเมืองหนองปรือ ได้งบประมาณจากเมืองพัทยา จานวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หน่ึงล้านบาทถ้วน) และองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีให้งบประมาณ จานวน ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองล้านบาทถ้วน) ซ่ึงกิจกรรมต่าง ๆ มีการจัดมาถึงปัจจุบัน ในช่วง เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งดูจากความเหมาะสมและมักจัดให้ตรงกับวันอาทิตย์ ทาให้มี ชาวบา้ นมาร่วมงานนับหมนื่ คนสว่ นในพื้นที่มคี วายทเี่ ลย้ี งไว้ประมาณ ๑๐ ตวั รวมทงั้ ควายเผือกอีก ประมาณ ๑๐ ตัว ข้อมูลจาการสัมภาษณ์นายประวิง วัฒนแพทย์ นายกองค์การบริหารส่วนตาบล คลองพลูได้ให้ข้อมูลว่า กาหนดจัดงานประเพณีวิ่งควาย ในวันแรม ๗ ค่า เดือน ๑๑ หรือ ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี จัดหลังจากที่จังหวัดชลบุรีจัดประเพณีวิ่งควายเสร็จสิ้นแล้ว ในสมัยก่อนจะจดั ทบี่ า้ นกงสี (เจ้าของตลาด) ปจั จบุ ันจัดท่ีตลาดคลองพลู ตอนเช้าจัดพธิ ีทาบุญตักบาตร หลังจากนั้นจะเริ่มนาควายเดนิ แห่รอบตลาด มาสิ้นสุดท่ีบริเวณหน้าองค์การบริหารส่วนตาบลคลองพลู ระยะทางที่เดินแห่ประมาณ ๑ กิโลเมตร มีควายมาร่วมขบวนแห่จานวนประมาณ ๑๕๐ ตัว แล้ว ตอ่ ด้วยการประกวดควายสวยงาม แบง่ เป็นร่นุ เลก็ กลาง ใหญ่ ควายส่วนใหญ่จะนามาจากอาเภอบ้านบึง สาหรบั การแข่งว่งิ ควายไมไ่ ดจ้ ัดมานานเปน็ เวลา ๑๐ กวา่ ปีแล้ว เนอ่ื งจากไมม่ ีสถานท่แี ต่วา่ มีการจัด ประกวดพืชผลทางการเกษตร การประกวดควายสวยงาม การแข่งขนั กฬี า เชน่ มวยไทย ชักคะเยอ่ ตะกรอ้ ฟุตบอล เป็นต้น นอกจากนน้ั แล้วองคก์ ารบรหิ ารส่วนตาบลหนองเสือช้าง และเทศบาลตาบลหนอง ใหญ่ก็มีการจัดประเพณวี ิ่งควาย ในลกั ษณะเดียวกนั ท้ังน้ี ชาวบ้านในอาเภอหนองใหญ่ มีความเชื่อ ว่าหากปีใด ไม่มีการจัดประเพณีว่ิงควาย ก็จะต้องจัดพิธีทาบุญตักบาตรแทน เพื่อไม่ให้เกิดไฟไหม้ ตลาด ๙

ข้อมูลจาการสัมภาษณ์นายสฤษดิ์พร เกิดบุญส่ง ผู้อานวยการส่วนส่งเสริมการศึกษาฯ ได้กล่าวว่า การแข่งควายทีเ่ ทศบาลเมอื งชลบุรี เป็นประเพณีท่สี ืบทอดมาหลายชัว่ อายุคน จะจัดใน วันข้ึน ๑๔ ค่า เดือน ๑๑ ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนย่างเข้าฤดูหนาว จัดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ แต่ในปี พ.ศ.๒๕๕๙ ไม่ได้จัดแข่งวิ่งควาย แต่มีการจัดพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์แทน ซึ่งใน ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายมีกิจกรรมในขบวนแห่มากมาย เช่น เกวียนกัณฑ์ ๑๓ ขบวน การ ประกวดน้องนางบ้านนา การประกวดสาว(เหลือ)น้อยบ้านนา การแข่งขันปืน เสาน้ามัน การ แข่งขนั ตะกรอ้ ลอดบว่ ง เป็นตน้ งานประเพณวี ิง่ ควายที่เทศบาลเมืองชลบุรีมีการทาขวัญควายทุกปี นอกจากน้ีองค์การบริหารส่วนจงั หวัดชลบุรี ไดส้ นบั สนุนงบประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สองลา้ น บาทถ้วน) และเทศบาลเมืองชลบุรีให้เงินสนับสนุน ๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สามล้านบาทถ้วน) โดยให้ ควายที่เข้ามาร่วมแข่งขันจะได้รับเงินรางวัลตัวละ ๕๐๐ บาท และบริษัทอีซูซุ บริษัทโตโยต้า และ โรงหนังเมเจอร์ ได้สนับสนุนด้วยการทาเสื้อให้คณะกรรมการ จานวน ๖๐๐ ตัว เพื่อนามาแจก ประชาชนทม่ี ารว่ มในงานวิง่ ควายอีกด้วย ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ นายชุมพล วิมลประเสริฐ ได้ให้ข้อมูลว่าบ้านตลาดทุ่งเหียง เป็นชุมชนที่มีอายุเก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี ต้ังอยู่ท่ี หมู่ ๔ ตาบลหมอนนาง อาเภอพนัสนิคม ชาวบ้าน ส่วนใหญ่จะทาการเกษตรทานา เพาะปลกู จงึ นิยมเล้ยี งควายไวใ้ ชง้ านมากกวา่ เพ่ือบรโิ ภค ประเพณี วิ่งควายเร่ิมมีมาตั้งแต่ราวปี พ.ศ.๒๕๐๐ ได้มีดาริจากผู้ใหญ่ ท่ีเป็นบุคคลสาคัญของบ้านตลาดทุ่ง เหียง ได้มอบหมายให้ผู้รู้และชาวบ้านช่วยกันดาเนินงาน โดยจัดการทาบุญกลางตลาด และมีการ ประกวดควายสวยงาม ควายตลกขบขนั และควายเร็ว ใช้ถนนในตลาดเป็นสนามแข่งขัน สรา้ งความ สนุกสนานกับผู้ชมย่ิงนักจนเป็นท่ีรู้จักอย่างกว้างขวางจนถึงปี พ.ศ.๒๕๑๕ ชาวบ้านได้รวมตัวกันจัด ประเพณีอีกคร้ัง หลังจากไม่ได้จัดต่อเนื่องมาหลายปี โดยการนาของนายวิโรจน์ พิพัฒน์ขจร (อ้ัง) และ กลุ่มเยาวชนอีกหลายท่านจนทาให้บรรลุผลสาเร็จเป็นอย่างดี กิจกรรมท่ีจัดข้ึนมีความทันสมัยมาก ข้ึน แตย่ งั คงรูปแบบเดมิ มพี ธิ ีสงฆ์ในตอนเชา้ ทาบญุ กลางตลาด ซง่ึ มีควายเขา้ รว่ มพธิ ีราว ๓๐๐ ตวั พระสงฆ์พรมน้าพุทธมนต์ให้ควายทุกตัวท่ีแข่งขันเพื่อเป็นสิริมงคล ปัดเป่าโรคภัย นอกจากน้ียังมี การละเล่นกีฬาพ้ืนบ้าน และยังเชิญนักท่องเท่ียวจากต่างถิ่นให้เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อสร้างความ สนุกสนานอีกด้วย และในช่วงกลางคืนยังมีการละเล่นต่าง ๆ จากลูกหลานชาวบ้านตลาดทุ่งเหียง รายได้หลักหักค่าใช้จ่าย คณะผู้จัดได้มีมติให้จัดซื้ออุปกรณ์ดับเพลิง และได้มีการนากระแป๋งน้าที่ เหลือจากการแจกควายมาแขวนไว้ที่ข่ือหน้าบ้านทุกบ้าน ปัจจุบันประเพณีว่ิงควายบ้านทุ่งเหียง ยังคงดาเนินการจัดงานอยู่ ต้ังแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นต้นมาได้ริเร่ิมประเพณีว่ิงควายขึ้นอีกครั้ง หลงั จากท่ีหา่ งหายไปนาน เนื่องจากสภาพถนนถกู ลาดยางทาให้ไม่เอื้ออานวยตอ่ การจดั การแข่งขัน จึงมีการดาเนินการย้ายและสร้างสนามแข่งขันข้ึนใหม่ ในบริเวณเส้นทางบ้านทุ่งเหียง หนองเสม็ด แต่ยังคงรูปแบบเดิมอยู่รวมถึงการละเล่นพ้ืนบ้านที่หาชมได้ยาก เพ่ือเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม เฉพาะถน่ิ ให้คงอยู่สืบไป ๑๐

ลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม โดยมี รายละเอียดครอบคลุมสาระ ดังตอ่ ไปนี้ ๑. ลักษณะ ประเพณีว่ิงควาย เป็นประเพณีเก่าแก่ดั่งเดิมของจังหวัดชลบุรีอยู่แห่งเดียวใน เมืองไทย เม่ือใกล้เทศกาลออกพรรษาคร้ังใดก็แสดงว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการไถหว่านได้ผ่านพ้นไป แล้ว ถงึ เวลาทบี่ รรดาชาวไร่ชาวนา จะไดม้ โี อกาสหยดุ พักผ่อน เพอ่ื รอคอยเวลาท่ผี ลผลิตจะตกดอก ออกรวงและก็เป็นเวลาท่ีวัวควายจะได้พักเหนื่อยเสียทีหลังจากท่ีถูกใช้งานมาอย่างหนักซ่ึงเป็น ประเพณีทตี่ กทอดมาจากบรรพบุรษุ จนถึงปจั จุบัน โดยมีวตั ถุประสงค์เพอื่ สง่ เสรมิ ประเพณอี ันดีงาม และส่งเสรมิ การท่องเทีย่ วของจงั หวดั ชลบรุ ี หลายพ้ืนท่ีในจงั หวัดชลบรุ ไี ดจ้ ดั ประเพณวี ง่ิ ควายข้ึนใน วันท่ีต่างกัน คือ เทศบาลเมืองบ้านบึงจะจัดในวันอาทิตย์แรกหลังวันออกพรรษาหรือวันอาทติ ย์ถัด จากวันตักบาตรเทโวโรหณะ เทศบาลเมืองชลบุรีกับเทศบาลเมืองหนองปรือ จัดในวันข้ึน ๑๔ ค่า เดือน ๑๑ หรือ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ จัดในวันแรม ๑ ค่า เดือน ๑๑ (วันออกพรรษา) เทศบาลตาบลบ่อทอง จัดในวันข้ึน ๑ ค่า เดือน ๑๒ องค์การบริหารส่วนตาบล คลองพลู จัดในวันแรม ๗ ค่า เดือน ๑๑ ซึ่งการจัดประเพณีว่ิงควายในจังหวัดชลบุรีนั้นจัดข้ึนเพ่ือ สรา้ งความสนกุ สนานสรา้ งความสามัคคีใหก้ บั คนในชุมชนอกี ด้วย ๒. ความเช่ือ ในหลายพ้ืนท่ีของจังหวัดชลบุรีชาวบ้านหรือคนในชุมชนมักมีความเช่ือที่สืบ ทอดกันมาว่า “ปีใดท่ีไม่มีการว่ิงควาย ปีนั้นวัวควายจะตายเป็นโรคระบาดกันมากกว่าปกติ เพราะ วิญญาณของบรรพชนยังห่วงประเพณีอันดีงามอยู่จึงบันดาลให้เกิดอาเพศภัยพิบัติต่าง ๆ ควายท่ี เจ็บป่วยระหว่างปีเจ้าของควายก็จะบนบานให้หายแล้วจะนามาวิ่งเพื่อรักษาประเพณีวิ่งควายปีละ มาก ๆ นอกจากนี้ก็ยังเชื่อว่าหากปีใดทไ่ี ม่มีการจัดว่ิงแขง่ ควาย ควายจะทาให้เกิดไฟไหม้สถานท่ีท่ีจัด วิ่งควายไมว่ ่าจะเป็นตลาดคลองพลู ตลาดบอ่ ทอง จะเกดิ อาเพศภยั พบิ ตั ิ คือ เกดิ ไฟไหมต้ ลาด ถา้ ไม่ จดั วงิ่ ควายจงึ ต้องมพี ิธีบวงสรวงส่งิ ศกั ดสิ์ ิทธิ์ท่ยี ังคงสบื ทอดตอ่ กนั มาจนถึงปจั จุบัน ๓. วสั ดุและอุปกรณ์ที่เกย่ี วขอ้ งกบั ควาย ๑) เกวียน ๙) อปุ กรณต์ อนควาย ๒) เกราะแขวนคอควาย ๑๐) หนงั ตะแบงเกวยี น ๓) ยาเป่าตาควาย ไวร้ กั ษาควาย ๑๑) กระพ้อกรอกยาควาย ๔) กระดง่ิ แขวนคอควาย ๑๒) ไถคู่ ๕) สะพานควาย ๑๓) หวายนกั เลง ๖) เชือกขับเกวยี น ๑๔) แอก ๗) แอกนอ้ ย ๑๕) คฑาลากข้าว ๘) กระโหล่ง ๔. กระบวนการ/ขั้นตอน/วธิ ีการ ขัน้ ตอนและวธิ ีการในการวง่ิ ควายของแตล่ ะอาเภอจะมีความคล้ายคลึงกนั แตกตา่ งกนั เล็กน้อย ในแต่ละพนื้ ที่ ๑๑

เทศบาลเมอื งบ้านบงึ ประเพณีวิ่งควายของเทศบาลเมืองบ้านบึง เจ้าของควายจะตกแต่งควาย อย่างงดงามด้วย ผา้ แพรพรรณดอกไม้หลากสี แลว้ นาควายมาวิ่งแขง่ กนั หลังจากท่ีมีการทาบญุ ใส่บาตรกันในชว่ งเช้า แล้วโดยผู้ข่ีควายแต่ละคนจะข้ึนขี่หลังควายของตนเองอยู่หลังเส้นจุดปล่อยตัว เมื่อได้ยินสัญญาณ เร่มิ แขง่ ขัน ก็จะควบคุมควายให้ว่งิ ไปใหเ้ รว็ ท่สี ุดแข่งขันกนั ไปใหผ้ ่านเส้นชยั ควายใครวิ่งผ่านเส้นชัย ก่อนจะเป็นผู้ชนะความสนุกอยู่ที่ท่าทางวิ่งควายที่แปลก บางคนข่ีก็ล่ืนไหลตกลงมาจากหลังควาย และคนดจู านวนมากจะส่งเสียงกนั ดังอยา่ งอื้อองึ และในอาเภอบา้ นบึงนี้มกี ารเพ่ิมประกวดควายพ่อ พนั ธ์ุ แมพ่ นั ธุป์ ระกวดการตกแต่งความสวยงาม และท่ีพิเศษกว่าท่อี น่ื คอื อาเภอบา้ นบงึ มคี วายแสน รู้ที่สามารถ เดินสองขาได้ ส่ังให้น่ัง และทาตามคาส่ังได้ ทาให้ประเพณีวิ่งควายมีกิจกรรมมากข้ึน ในอดีตก่อนจะมีการแข่งวิ่งควาย จะมีพิธีทาขวัญควาย ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ทาเพื่อระลึกถึงบุญคุณ ของควายท่ีช่วยมนุษย์ทานา รวมไปถึงการขอขมาที่ได้ด่าว่า เฆ่ียนตี ในระหว่างการใช้งานแต่ใน ปัจจุบันไม่มีแล้วเน่ืองจากขาดผู้เชี่ยวชาญในการมาประกอบพิธี จึงเหลือแค่การแข่งขนั ว่ิงควาย ใน ปจั จบุ ันแบง่ ประเภทควายทว่ี ิง่ แข่งเป็น ๕ รุ่นดงั นี้ ๑. รนุ่ ซปุ เปอรจ์ ๋วิ หมายถึง ควายอายุน้อยกว่า ๑ ปคี รงึ่ ๒. รุ่นจ๋ิวพิเศษ หมายถงึ ควายที่มอี ายุไม่เกิน ๒ ปี ๓. ร่นุ จิ๋วเล็ก หมายถึง ควายที่มีอายุไม่เกิน ๓ ปี ๔. รุ่นจว๋ิ ใหญ่ หมายถึง ควายที่ถ่ายฟัน ๔ ซ่ี ๕. รุ่นใหญ่ หมายถึง ควายท่ถี ่ายฟนั มากกวา่ ๔ ซ่ขี ึ้นไป หลังจากวิ่งควาย ก็จะมีการประกวดควายพ่อพันธุ์ แม่พันธ์ุ โดยเลือกจากควายท่ีมีลักษณะ สมบรู ณ์ สวยงามเพื่อความสนุกสนานของชาวบ้านท่มี าร่วมงานจงั หวัดชลบรุ ที ุกพ้ืนที่ไดก้ าหนดจัดงาน ประเพณีว่ิงควายขึ้นทุกปีโดยมีข้อสรุป เร่ืองระยะเวลาจัดกิจกรรมและประเภทของกิจกรรมของ เทศบาลเมืองชลบุรี เทศบาลเมืองบ้านบึง เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักด์ิ เทศบาลตาบลบ่อทอง องค์การบริหารส่วนตาบลพลวงทอง องค์การบริหารส่วนตาบลคลองพลู เทศบาลเมืองหนองปรือ เทศบาลตาบลหมอนนาง กาหนดจัดงานประเพณวี ิง่ ควาย เรม่ิ ตัง้ แต่วนั ขึน้ ๑๔ คา่ เดือน ๑๑ จนถงึ วัน ขึ้น ๑๕ ค่า เดอื น ๑๒ กิจกรรมที่สาคัญ ประกอบด้วย ๑. การแขง่ ขันว่งิ ควายเร็ว (ควายบก) ๒. การแข่งขันวิ่งคราดนา (ควายน้า) ๓. การประกวดอนุรักษค์ วายพนั ธุ์ ๔. ขบวนแหข่ บวนควายและควายเทียมเกวยี น ๕. การประกวดผลผลิตทางการเกษตร ๖. การแต่งกายควายและคนสวยงาม ๗. การแตง่ กายควายและคนความคิดตลกขบขนั ๑๒

ประเพณีวง่ิ ควาย เปน็ กฬี าพื้นบ้านเกา่ แก่ดงั้ เดิมท่ีมีเอกลกั ษณ์โดดเด่นชนิดหนงึ่ ของไทย ได้ มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นข้อมูลประเพณีที่สาคัญของจังหวัดชลบุรีโดยเทศบาลเมือง ชลบรุ ี จดั ทาเป็นเอกสารรูปเล่มทุกปี และเปน็ มรดกภูมปิ ญั ญาทางวัฒนธรรมของจงั หวดั ชลบุรีท่ีขึ้น บัญชีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทาให้ประเพณีวิ่งควายมีเอกสารท่ีได้บันทึกข้อมูลไว้ ให้คนรุ่น หลังได้สืบสานประเพณีอันดีงามของจังหวัดชลบุรีสืบไป นอกจากนี้ในพ้ืนที่ที่จัดงานประเพณีว่ิง ควาย ไดม้ ีการจดั ตอ่ เนื่องเปน็ ประจาทุกปีและมชี าวบ้านเขา้ มามีส่วนร่วมในการแขง่ ขนั วง่ิ ควาย ถือ ได้ว่าเป็นการสืบสานและถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้เห็นการแข่งขันว่ิงควาย การประกวดต่าง ๆ ท่ี เก่ียวข้องกับควาย อาเภอศรีราชา มีการจัดอนุสรณ์สถานควายไทย บริเวณหน้าโรงเรียนชุมชนวันหนองค้อ ตาบลหนองขาม อาเภอศรีราชา เพื่อให้ลูกหลานได้เห็นคุณค่าของควาย นายสมศักดิ์ สวัสดีมงคล นายกองคก์ ารบรหิ ารสว่ นตาบลคลองกิ่ว อาเภอบ้านบึง / นายกสมาคมควายไทย จงั หวัดชลบุรี ได้จัดตั้ง แหล่งเรียนรู้อนุรักษ์ควายไทย ณ ข้างอ่างเก็บน้าหนองน้าเขียวส่วนขยายตาบลคลองก่ิว อาเภอบ้านบึง และจัดทาสนามแข่งขนั ว่ิงควาย (ถาวร) ตาบลคลองก่ิว อาเภอบา้ นบึง รายชื่อผสู้ บื ทอดและภูมิปัญญาด้านประเพณวี งิ่ ควาย รายชอ่ื บุคคล/หัวหน้าคณะ/กลุม่ /สมาคม/ องคค์ วามรู้ดา้ นท่ี สถานทีต่ ิดต่อ/โทรศัพท์ ชมุ ชน ไดร้ ับการสืบทอด/ จานวนปีทสี่ ืบทอด เทศบาลเมืองบา้ นบึง นายสรุ สิตย์ กังวลกจิ ๐๘๑-๖๑๙๗๙๗๗ นายกเทศมนตรีเมืองบา้ นบงึ ปฏิบตั ิ นายสุวทิ ย์ ครศู รี ๕๐ ปี อาเภอบ้าบงึ ภูมปิ ญั ญาชาวบา้ น ๐๘๑-๓๗๗๒๘๕๐ นายมานะ ฉมิ ชา ๔๐ ปี รองนายกเทศมนตรีนคร เทศบาลนคร เจ้าพระยาสุรศกั ด์ิ ๒๑ ปี เจา้ พระยาสรุ ศกั ด์ิ นางวนั เพญ็ พงษ์สิริ ๐๓๘-๓๔๘๑๓๘ ตอ่ ๓๐๔ ประธานสภาวัฒนธรรมตาบลสรุ ศกั ด์ิ ๕๐ ปี อาเภอศรรี าชา นายบญุ ธรรม คงถาวร ๐๘๑-๘๖๑๖๔๖๒ สมาชกิ สภาเทศบาลนคร ๕๐ ปี อาเภอศรีราชา เจ้าพระยาสรุ ศกั ดิ์ ๐๘๑-๗๙๕๒๕๗๙ ๑๓

รายช่ือบุคคล/หัวหน้าคณะ/กลุ่ม/สมาคม/ องค์ความรดู้ ้านท่ี สถานที่ตดิ ต่อ/โทรศัพท์ ชมุ ชน ไดร้ ับการสืบทอด/ จานวนปีทสี่ บื ทอด เทศบาลตาบลบอ่ ทอง นายไพบรู ณ์ พนั ธส์ นิท ๐๘๑-๖๕๔6540454 นายกเทศมนตรีตาบลบ่อทอง ปฏิบตั ิ เทศบาลตาบลบอ่ ทอง นายสมพร โคกเพลาะ ๔๐ ปี ประธานสภาวัฒนธรรมอาเภอบ่อทอง 081-6523292 นายมานพ นาควัธวางกูร 50 ปี เทศบาลตาบลบ่อทอง ผชู้ ่วยนักวิชาการศึกษาเทศบาลตาบลบอ่ ทอง 081-5774703 นายอเนก พัฒนงาม 30 ปี เทศบาลเมืองหนองปรอื รองประธานสภาวฒั นธรรมจังหวดั ชลบรุ ี 081-9826779 นายประวงิ วัฒนแพทย์ 40 ปี องค์การบริหารส่วนตาบล นายกองค์การบรหิ ารสว่ นตาบลคลองพลู 30 ปี คลองพลู 081-9498670 นายสบุ ิน สรงศรสี ม 40 ปี องคก์ ารบริหารสว่ นตาบล ผู้มีประสบการณ์ คลองพลู นายสฤษด์ิพร เกิดบุญสง 30 ปี 090-7391895 ผู้อานวยการส่วนส่งเสริมการศึกษาฯสานัก 60 ปี เทศบาลเมอื งชลบุรี การศึกษา เทศบาลเมืองชลบุรี 081-6153958 - นายพิสฐิ เสนานนั ท์สกุล - เทศบาลตาบลหมอนนาง ศิลปินดีเด่นสาขาทัศนศิลป์ภาพถ่ายจังหวัด 081-8637101 ชลบรุ ี เทศบาลตาบลหมอนาง นายชมุ พล วิมลประเสรฐิ ผู้มปี ระสบการณ์ องคก์ ารบริหารส่วนตาบล พลวงทอง นายสมโชค สทิ ธภิ์ านุวงศ์ นายกองคก์ ารบริหารสว่ นตาบลพลวงทอง 081-4367777 ๑๔

หน่วยการเรยี นรู้ท่ี 1.2 ความรูเ้ กย่ี วกับควาย ชนิดของพนั ธ์คุ วายในประเทศไทย แบ่งไดด้ ังน้ี 1. ควายไทย (ควายปลัก) 2. ควายมรู า่ ห์ (ควายแมน่ ้า) 3. ควายลูกผสมระหวา่ งควายไทยกับควายมรู ่าห์ 1. ควายไทย (ควายปลกั ) ควายไทยเป็นประเภทควายปลัก เป็นสัตว์ใช้แรงงาน มีลักษณะรูปร่างล่าสัน ขนสีเทาดา หรือสีเทาเข้ม เขาโค้งเป็นวงกว้าง มีขนสีขาวรูปตัววี (V) ที่คอ เท้าทั้งส่ีข้างด่าง ชอบนอนแช่ปลัก โคลน มคี วามแขง็ แรงอดทน 2. ควายพันธ์ุมรู า่ ห์ (Murrah) ควายแม่น้า เป็นสัตว์ให้นม อาจเรียกว่า “ควายนม” มีแหล่งกาเนิดจากประเทศอินเดีย มี ลักษณะท่วั ไปคอื ตัวใหญ่ สีดา หน้าผากนนู เขามว้ นงอ สัน้ เตา้ นมเจรญิ ดี ให้น้านมเฉลยี่ 2,000 ก.ก. ต่อ 9-10 เดือน ของช่วงการให้นม ตัวผู้หนักประมาณ 550 ก.ก. ตัวเมียหนักประมาณ 450 ก.ก. ลูกควายแรกเกิดหนักประมาณ 30-35 ก.ก. ควายมูรา่ หช์ อบน้าสะอาด ไม่ชอบลงโคลน ๑๕

3. ควายลูกผสม ควายลูกผสมระหว่างควายไทยกบั ควายมูร่าห์ เปน็ การผสมขา้ มสายพนั ธ์ุระหว่างควายปลัก และควายแม่น้า ลูกผสมที่ได้มีลักษณะของท้ังสองพันธ์ุผสมกัน คือ เขาไม่ม้วนขดมากเหมือนพันธ์ุ แท้ แต่โค้งออกข้างและชี้ข้ึนบน หรือบิดเล็กน้อย ผิวหนังมีจุดสีดา (dark pigmentation) หัวมี ลักษณะไปทางควายแม่น้า แต่หน้าผากไม่นูนเด่นมาก เต้านมเจริญดีกว่าควายปลัก ใช้งานได้ดี เช่นเดียวกับควายไทย ตัวผู้หนักประมาณ 730-800 ก.ก. ตัวเมียหนักประมาณ 630-650 ก.ก. จานวนโครโมโซนมี 2n=49 อาจมีปัญหาในด้านการแบ่งจานวนโครโมโซนในเซลล์สืบพันธุ์ (gamete) และด้านการรวมตัวของเซลล์สืบพันธุ์ อาจทาให้มสี ารพันธุกรรม (gene material) เกิน หรอื ขาดได้ และมผี ลต่ออตั ราการผสมติด การเล้ียงดูตง้ั แต่เกิด – 6 เดือน การเล้ยี งดคู วายตั้งแตเ่ กิดจนถึงอายุ 6 เดอื น ระยะน้ีเปน็ ระยะทมี่ ีอนั ตรายมากที่สดุ จะต้อง ดูแลลูกควายเป็นอย่างดีเป็นพิเศษ ในกรณีน้านมไม่พอให้ลูกควายกิน ก็ควรหาน้านมผงมาละลาย น้าให้กิน หรือจะให้น้านมเทียมก็ได้ น้านมเทียมโดยมากทาจากถ่ัวและไข่หรือนมผง ควรให้ลูก ควายได้กินน้านมแม่ท้ังหมดจนถึงอายุประมาณ 3-4 สัปดาห์ แล้วจึงค่อยใช้ของอ่ืนแทน โดยลด จานวนน้านมลงทีละน้อย ต่อจากนั้นควรหดั ให้ลูกควายกินอาหารผสม หรือเมล็ดพืชทบี่ ดแล้ว เช่น ข้าวโพดและถั่วแห้ง ๆ หรือสด ๆ ควรใส่ในรางหญ้าให้กินตลอดเวลา ลูกควายจะเร่ิมกินอาหาร เหล่าน้ีเมื่ออายุประมาณ 2 สัปดาห์ ในระยะท่ีควายอายุอ่อน ๆ น้ี ทุ่งหญ้ายังไม่ให้ประโยชนแ์ กล่ ูก ควาย เพราะเคร่ืองย่อยอาหารยังไม่เจริญพอ น่ันก็คือ ยังไม่มีจุลินทรีย์ (microorganism) ใน กระเพาะขอบกระด้งหรือผ้าขนหนู (rumen) ทุ่งหญ้าจะให้ประโยชน์แก่สัตว์เม่ืออายุ 2 เดอื น ขึ้นไป แต่ต้องให้อาหารผสมด้วยจนอายุ 10 เดือน ตอนนี้ทุ่งหญ้าให้ประโยชน์แก่ลูกสัตว์มาก คือ ลูก สัตว์จะได้ออกกาลัง ได้รับแสงแดดและได้รับอากาศบริสุทธ์ิ เมื่อเลี้ยงลูกควายในทุ่งหญ้าควรมี น้าทสี่ ะอาด มรี ่มไม้ ๑๖

การเลยี้ งดตู ัง้ แต่ 6 เดอื น – 10 เดอื น เม่อื ลูกควายอายุ 6 เดอื นแลว้ เปน็ ระยะทล่ี กู ควายหย่านม ระยะน้กี ็งา่ ยเขา้ โดยเลย้ี งในทุ่งหญ้า และใหอ้ าหารผสมและเมลด็ พชื บดอื่น ๆ หลักในการประมาณอาหารผสมกับหญ้าท่ใี หก้ ินในทุ่งหญ้า ก็คือ ถ้าหญ้านั้นมีคุณภาพดีก็ให้อาหารผสมราว ๆ วันละ 1 – 1.5 กิโลกรัม ถ้าหญ้าในทุ่งหญ้ามี คุณภาพไม่ดคี วรให้อาหารผสม 2 – 4 กิโลกรมั ถา้ ใหก้ ินหญา้ แหง้ หญา้ แหง้ ก็ควรเป็นวันละ 4 – 7 กโิ ลกรัม อาหารผสมสาหรับหญ้าท่ีมีพวกตระกูลถั่วซ่ึงมีโปรตีนอยู่ในตัวมันแล้วอาหารผสมควรมีโปรตีนอยู่ 12 – 14 % ถา้ หญา้ ท่ีใหไ้ ม่ใชพ่ ชื ตระกูลถ่ัวอาหารผสมจงึ ควรมีโปรตนี 16 – 18 % นา้ เกลอื ต้อง มีให้กินอยู่ตลอดเวลา และควรมีแร่ธาตุ เช่น แคลเซี่ยม หรือธาตุเหล็ก หรือแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น ทองแดง ไอโอดีน โคบอลต์หรือแมงกานีส การให้ธาตุเหล่านี้เราจะต้องตรวจหาว่าสถานท่ีทาการ เลี้ยงสัตว์เหล่านั้นในอาหารสัตว์ขาดแร่ธาตุท่ีกล่าวแล้วข้างต้นอะไรบ้าง ใส่ลังไม้ให้ควายกิน ตลอดเวลา เม่ือลูกควายอายุ 6 เดือน แล้วควรแยกออกจากฝูงเพ่ือป้องกันมิให้ควายผสมเมื่ออายุ ยงั น้อย ถ้าปลอ่ ยให้ผสมในขณะทค่ี วายยังไม่โตและสมบูรณ์เต็มทจี่ ะใหล้ ูกขนาดเล็ก และตัวแม่ก็จะ ไม่เจริญเติบโต และการแยกนี้ยังเป็นประโยชน์ท่ีลูกควายจะได้รับความเอาใจใส่เป็นพิเศษ โดยให้ อาหารท่ีถูกหลักถูกส่วนเพื่อความเจริญเติบโตและได้กินอาหารสมบูรณ์ เพราะอยู่ในฝูงขนาด เดียวกนั และไมถ่ กู แย่งอาหารจากควายขนาดโตกวา่ หรือถกู เหยยี บตาย ๑๗

การเลย้ี งดตู ัง้ แตอ่ ายุ 10 เดอื นขึ้นไป อายุตอนนี้เป็นอายุท่ีอวัยวะย่อยอาหาร มีจุลินทรีย์ จะย่อยอาหารหยาบเช่น พวกหญ้า ได้ เจริญเต็มท่ีแล้ว ถ้าหญ้าเป็นหญ้าท่ีมีคุณภาพสูง อาหารผสมก็ให้น้อยลง หรือไม่ต้องให้เลย แต่ น้าเกลอื และแรธ่ าตตุ า่ ง ๆ ต้องใหก้ ินตลอดเวลา การเล้ียงไว้ทางาน เกษตรกรควรเจาะจมูกควายตั้งแต่ขนาดยังเล็กแล้วหัดให้ทางานเบาไป ก่อนจนกว่าจะโด และการใช้ควายทางานนั้นไม่ควรใช้ทางานเกินวันละ 6 ชั่วโมง และควรแบ่งให้ ทางานตอนเช้า 3 ชั่วโมง และตอนเย็น 3 ช่ัวโมง หลังจากทางานแล้วควรให้ควายอาบน้า หรือฉีด น้าราดตัวให้ผลจากการสารวจปรากฎว่า เกษตรกรหัดควายทางานเม่ืออายุ 3 ปี ซึ่งนับว่าช้ามาก แต่ก็เก่งมากท่ีหัดได้ภายในเวลา 1-3 อาทิตย์ และใช้ควายทางานในปีหนึ่งน้อยไป ให้ควายกินอาหาร ท่ีมีคุณภาพและมีจานวนเพียงพอ ผู้เลี้ยงต้องรู้ว่าลูกควาย ควายรุ่น หรือแม่ควายมีความต้องการ อาหารประเภทใดบ้างมากน้อยแค่ไหน การให้อาหารไม่ถูกต้อง และไม่เพียงพอจะทาให้สิ้นเปลือง ค่าใช้จ่าย แล้วอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาได้ และการให้อาหารต้องระวังสิ่งต่าง ๆ ท่ี จะใหค้ วายกินคอื 1. พืชหรอื สารพิษตา่ ง ๆ เช่น เหด็ เมา มนั สด หรอื ยาฆา่ แมลงที่ใชก้ ันอยู่ 2. ให้กินหญา้ และนา้ สะอาด ไมม่ ีการปะปนของเชอื้ โรค เชอ้ื รา หรือไขพ่ ยาธิตา่ ง ๆ 3. วัตถแุ ปลกปลอม เช่น เศษเหลก็ ตะปู หรอื ถงุ พลาสตกิ 4. อย่าใหก้ ินอาหารทเ่ี สยี แลว้ สภาพแวดลอ้ มท่เี หมาะต่อการเลยี้ งควาย คอกควรเย็นสบายไม่ร้อน มีอากาศระบายดี ลมไม่โกรกเกินไปไม่ให้เล้ียงอยู่รวมกันมาก ๆ มีอาหารและน้าให้กินอย่างเพียงพอ ควรมีหญ้าอย่างพอเพียง ไม่รกรุงรัง หมั่นเก็บขยะมลู ฝอยและ อจุ จาระ เพ่อื ป้องกนั การหมักหมมของเชื้อโรค พยาธิ หรอื แมลงวนั ท่จี ะวางไข่ หมัน่ ทาความสะอาด คอกและราดด้วยน้ายาฆ่าเชือ้ ท่ีเหมาะสม ๑๘

วัสดพุ ลอยไดจ้ ากการปลกู พชื วัสดุพลอยได้ท่ีเกษตรกรได้จากการปลูกพืช แทนท่ีจะเผาหรือปล่อยท้งิ ไว้ สามารถนามาใช้ เป็นอาหารเล้ียงควายได้ จะทาให้ลดต้นทุนการเล้ียงควายได้มากเช่น ฟางข้าว ในพื้นท่ีปลูกข้าว 1 ไร่ จะได้ฟางข้าง 310 ถึง 540 กิโลกรัม หรือ ฟางข้าวท่ีได้จะเท่ากับจานวนข้าวเปลือกท่ีผลิตได้ เชน่ เดยี วกัน การใชฟ้ างข้าวอยา่ งเดยี วเล้ยี งควายในฤดูแลง้ ไม่เพยี งพอทจ่ี ะทาให้ควายรักษาน้าหนัก ตัวอยู่ได้ เพราะฟางข้าวมคี ุณภาพต่า ควายจะมีนา้ หนักลดลง เราสามารถเพ่ิมคุณภาพของฟางข้าว ไดด้ งั นี้ 1. ให้ฟางข้าวเสริมด้วยใบถั่ว ใบกระถิน หรือใบมันสาปะหลังตากแห้งจานวนวันละ 0.5 ถึง 1 กิโลกรัม จะทาใหค้ วายรกั ษานา้ หนกั ในชว่ งแล้งได้ 2. ให้ฟางข้าวท่ีราดละลายยูเรีย-กากนา้ ตาลโดยใช้ยูเรีย 1.5 กิโลกรัม กากนา้ ตาลนา้ ตาล 7.5 กิโลกรัม ละลายในน้า 80 ลิตร (ประมาณ 4 ปีบ) แล้วนาไปราดฟางข้าวได้จานวน 100 กิโลกรมั หรอื ประมาณครงึ่ ควิ (0.5 บาศกเ์ มตร) 3. ใช้ในรูปของฟางปรุงแต่งหรือฟางหมักยูเรีย ซึ่งมีวิธีทาคร่าว ๆ ตามภาพ จะทาให้ควาย กินได้มากกว่าฟางธรรมดาโดยอาจกินได้ 2 ถึง 3 เปอร์เซ็นต์ของน้าหนักตัว เช่น ควายหนัก 300 กิโลกรัม อาจกินฟางปรุงแต่งได้วันละ 9 กิโลกรัม (ขอคาแนะนาการทาฟางปรุงแต่งได้ที่สานักงานปศุสัตว์ อาเภอและหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ทเี่ ก่ียวข้อง) ข้อควรระวังในการทาฟางปรุงแต่งคือ อย่าให้โค หรอื ควายได้มโี อกาสกินนา้ ทล่ี ะลายปุ๋ยยเู รียกอ่ นใช้ราดฟางข้าวอยา่ งเด็ดขาดจะทาใหส้ ัตวต์ ายได้ การเล้ยี งควายใหม้ ีความตา้ นทานโรค ลูกควายที่เกิดใหม่จะมีความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ โดยการกินนมน้าเหลืองจากแม่ ใน 2-3 วันแรกเกิด และถ้าโรคต่าง ๆ ที่เกิดข้ึนไม่รุนแรงมากนักลูกควายก็จะสร้างความต้านทาน ต่อโรคต่าง ๆ ได้เอง แต่ถ้าเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ควายก็ไม่สามารถต้านทานโรคเหลา่ น้ันได้ ผู้เล้ียงจึงจาเป็นต้องฉีดวัคซีนล่วงหน้าเพื่อสร้างความต้านทานให้เกิดข้ึนในจตัวควายก่อนเป็นโรค โดยทวั่ ไปแล้วเรามักฉดี วคั ซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย โรคเฮโมรายิกเซฟตซิ เี มีย (โรคคอบวม) และในบางพ้ืนที่ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์หรือโรคกาลีด้วย ทั้งนี้เจ้าหน้าท่ีปศุสัตว์ใน พ้ืนท่ี จะทราบดวี า่ ต้องฉีดวคั ซีนอะไรบา้ งและเม่อื ไร ๑๙

การป้องกนั โรคล่วงหน้า การท่ีปล่อยให้ควายเป็นโรคแล้วค่อยรักษาย่อมไม่ใช่เรื่องถูกต้อง นอกจากจะส้ินเปลือง ค่าใช้จ่าย เสียเวลา หรืออาจไม่หายแล้วอาจติดต่อไปยังควายตัวอื่น ๆ อีกได้ ทางท่ีดีควรมีการ ป้องกันต่อปดี งั น้ี 1. ก่อนนาควายใหม่เข้ามาในฝูง ต้องแยกและกกั เลยี้ งต่างหากประมาณ 2 อาทติ ย์ จนกว่า จะแน่ใจว่าไม่เป็นโรค แล้วทาการถา่ ยพยาธิ และฉีดวัคซีนหากสัตว์ตวั นั้นยังไม่ได้ถ่ายพยาธิหรือฉีด วัคซีนป้องกนั โรคติดต่อแล้วจึงนาไปรวมกับฝูงเดิม 2. แยกสัตว์ป่วยออกจากสัตว์ดี วิธีนี้จะประหยัดและได้ผลดีผู้เลี้ยงต้องหม่ันสังเกตอาการ ผิดปกติ หรืออาการป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพ่ือจะได้แยกสัตว์ป่วยออกมารักษาได้ทัน และถ้ามี การป่วยมากกว่า 2 ตัว ในระยะเวลาใกล้เคียงกัน และมีอาการเหมือนกัน ให้สงสัยว่าอาจเป็นโรค ระบาดให้รีบตามสัตว์แพทย์มาช่วยทาการป้องกันไม่ให้การระบาดให้รีบตามสัตว์แพทย์มาช่วยทา การป้องกันไม่ใหก้ ารระบาดลกุ ลามยิ่งขึน้ 3. สัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุหรือเป็นโรคระบาดควรตามสัตว์แพทย์มาช่วยตรวจดู เพราะอาจเป็นโรคที่ติดต่อถึงคนได้หากสัตว์แพทย์อนุญาติให้กินจึงจะกินได้ แต่ถ้าโรคระบาดควร เผาหรือฝังซากใหล้ กึ โรยดว้ ยปนู ขาวหรือยาฆา่ เชอื้ ซากควรอย่ลู กึ กวา่ ผิวดินไม่น้อยกวา่ 1 เมตร 4. กาจัดและทาลายสัตวท์ เี่ ป็นโรคติดตอ่ ร้ายแรง ซึ่งเราทราบไดโ้ ดยการใหส้ ตั วแ์ พทย์มาทา การทดสอบเป็นประจา เช่น วัณโรค หรือบรูเซลโลซีส (โรคแท้ง) เพื่อป้องกันไม่ให้โรคเผยแพร่ ตดิ ตอ่ ไปยงั สัตว์อ่ืน 5. ศกึ ษารายละเอียดการเก็บรักษา และการทาวคั ซนี ตามคาแนะนาเฉพาะของวัคซนี แต่ละ ชนดิ เพอ่ื ใหว้ ัคซีนมีประสิทธิภาพดีทสี่ ุดและสามารถเกบ็ รกั ษาได้นาน 6. ใช้วัคซีนตามคาแนะนาของสัตว์แพทย์เท่าน้ัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีท่ีมีโรคระบาด เกิดข้นึ แลว้ หรอื เกดิ โรคระบาดในบรเิ วณใกล้เคียง 7. ตอ้ งใช้วัคซีน กอ่ นวันหมดอายทุ ี่แจ้งไว้ข้างขวด 8. อยา่ ใหว้ คั ซีนถกู ความรอ้ นหรือแสงแดดและใหว้ คั ซีนให้ครบตามขนาดท่ีกาหนดไว้ 9. อย่าให้วคั ซีนแกส่ ตั วท์ ่ีกาลังจะนาไปฆา่ เป็นอาหาร 10. วัคซีนท่ีเหลือจากการใช้ควรท้ิงเลย ซ่ึงจะทาให้คุณภาพวัคซีนลดลง และเป็นอันตราย ในการนาไปใช้ครงั้ ต่อไป 11. ขวดบรรจุวัคซีน หรือ ภาชนะท่ีใช้ในการผสมวัคซีน เม่ือใช้แล้วควรต้มหรือเผาทาลาย เชอ้ื ก่อนทิ้ง โดยเฉพาะวคั ซีนทีเ่ ปน็ เชือ้ เปน็ 12. สว่ นมากแลว้ สตั ว์จะมีความคมุ้ กันโรคไดภ้ ายหลังการทาวคั ซีนแล้วประมาณ 15 วนั 13. ตอ้ งใหว้ ัคซีนซา้ เมอื่ หมดระยะความคุ้มโรคของวคั ซีนแต่ละชนดิ 14. วัคซีนแบบที่ต้องผสมกับน้าละลายเม่ือผสมแล้วต้องใช้ให้หมดภาย 2 ช่ัวโมง ระหว่าง นั้นตอ้ งเกบ็ ในกระติกน้าแข็ง ๒๐

15. สตั ว์บางตวั อาจเกิดอาการแพห้ ลังฉดี วัคซีน ดงั นัน้ จึงควรรอสังเกตอาการสัตว์ภายหลัง ฉดี วัคซีนแลว้ ประมาณ 30 นาที ถ้าเกดิ อาการแพข้ ้นึ ใหส้ ตั วแพทยร์ ักษา 16. วคั ซีนทเ่ี สือ่ มสภาพ หมดอายุ มกี ารปนเป้ือน หรอื สีของวัคซนี เปลยี่ นไปหา้ มนามาใช้ 17. การฉีดวัคซีนให้ได้ผล ต้องพยายามฉีดให้แก่สัตว์ทุกตัวในหมู่บ้านย่ิงปริมาณสัตว์ที่ ได้รบั วคั ซีนมาก ระดบั ภูมิคุ้มกันโรคในฝงู กย็ ่งิ สูง โอกาสทโ่ี รคจะเขา้ ไประบาดไดจ้ ึงมีน้อย 18. สัตว์จะปว่ ยหลังจากไดร้ ับเชอ้ื โรคหรือไม่ข้ึนอยู่กบั ปริมาณและความรุนแรงของเชื้อโรค ที่เข้าสู่รา่ งกาย หากเชื้อโรคมีปรมิ าณและความรนุ แรงมากอาจทาให้สตั วเ์ ป็นโรคได้ 19. ไม่ควรหวังผลจากการฉีดวัคซีนแต่เพียงอย่างเดียว การป้องกันการติดโรคจากแหล่ง อน่ื การจดั การและการสขุ าภบิ าลทดี่ จี ะชว่ ยปอ้ งกันการเกิดโรคได้ดีทส่ี ดุ การขยายพันธค์ุ วาย การผสมพันธุ์ ควายเป็นสัตว์ที่ผสมพันธ์ุตลอดปีแม้ว่าควายที่เกษตรกรเลี้ยงส่วนใหญ่แม่ควายจะออกลูก เป็นช่วงฤดูก็ตาม สาเหตุก็เพราะในช่วงฤดูทานาแม่ควายไม่มีโอกาสได้รับการผสมพันธ์ุจะมีโอกาส ไดร้ ับการผสมกับพอ่ พนั ธุใ์ นช่วงทค่ี วายไดร้ วมฝงู กนั ในทุ่งนา หลงั จากเก่ยี วขา้ วแลว้ เทา่ นน้ั การผสมพันธ์ุในฤดูแล้งอาจมีปัญหาทาให้การผสมตดิ ตา่ โดยเฉพาะการใช้วิธีการผสมเทยี ม เน่ืองจากอากาศรอ้ นจะทาให้น้าเช้ือพ่อพันธุ์มคี ุณภาพลดลงแมค่ วายที่มีสขุ ภาพไม่สมบูรณจ์ ะทาให้ แสดงอาการเปน็ สดั ไมช่ ดั เจน และทาใหอ้ ัตราการผสมติดตา่ อายุท่ีสามารถผสมพันธุ์ได้ของควายแตกต่างกันตามเพศและพันธ์ุควาย การผสมควายสาว ที่อายุหรือมีน้าหนักน้อยเกินไป จะทาให้แม่ควายชะงักการเจรญิ เติบโตและให้ลูกไมส่ มบูรณ์ แม้ว่า ควายตัวผู้สามารถสร้างน้าเชื้ออสุจิได้ต้ังแต่อายุ 1 ปี แต่การใช้ควายตัวผู้ที่อายุน้อยเกินไปเป็นพ่อ พันธุ์หรือให้มีโอกาสผสมพันธุ์กับควายตัวเมียจะมีผลเสียเช่นเดียวกัน เน่ืองจากน้าเชื้อของควาย อายุน้อยยังไม่มีความสมบูรณแ์ ข็งแรงเท่าที่ควร ดังน้ันเพ่ือป้องกันไม่ให้ควายผสมพันธุ์กนั กอ่ นวนั ที่ เหมาะสมจงึ ควรควบคุมลูกควายตวั ผู้และตัวเมยี หลงั จากหยา่ นมแลว้ ทอ่ี ายปุ ระมาณ 10 ถงึ 12 เดอื นข้นึ ไป ไมใ่ หไ้ ด้มโี อกาสผสมพนั ธจ์ุ นกวา่ ควายตัวเมียจะมอี ายุประมาณ 2 ปคี รงึ่ หรือสูงไมต่ า่ กว่า 125 เซนติเมตร หรือควรมีน้าหนักไม่ต่ากว่า 350 กิโลกรัมและควายผู้อายุประมาณ 3 ปีคร่ึงหรือสูงไม่ต่ากว่า 130 แต่ถ้าจาเป็นอาจใช้ควายผู้อายุตั้งแต่ 2 ปีคร่ึงใช้ผสมพันธุ์ได้ แต่ควรใช้ผสมกับแม่ควาย จานวนน้อยตวั ลง ๒๑

วิธีผสมพันธ์ุ 1. การปลอ่ ยให้พ่อพนั ธุค์ มุ ฝูง วิธีนี้มีข้อดีคือผู้เลี้ยงไม่ต้องคอยสังเกตการเป็นสัดของแม่ควาย ควายเพศผู้จะทราบและทา การผสมกับแม่ควายเอง แต่มีข้อเสียคือถ้ามีแม่ควายเป็นสัด พ่อควายจะคอยไล่ตามจนไม่สนใจกนิ อาหาร ถา้ หากมีควายเพศเมียมีจานวนหลายตวั เปน็ สัดใกล้เคียงกันจะทาให้พอ่ ควายมีรา่ งกายทรุด โทรม ตามปกตคิ วรจะใชค้ วายพอ่ พันธุ์หน่ึงตวั คมุ ฝูงแม่ควายประมาณ 20 ตวั 2. การจงู เขา้ ผสม ได้แก่ การจูงพ่อพันธ์ุควายมาผสมกับแม่ควายหรือจูงแม่ควายมาผสมกับพ่อพันธ์ุ วิธีน้ีแยก พ่อควายไปเลี้ยงต่างหากทาให้สามารถดูแลพ่อควายให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงได้ดี พ่อควายตัว หน่ึงสามารถผสมกับแม่ควายได้จานวนมากกว่าการปล่อยให้คุมฝูง แต่มีข้อเสียคือ ผู้เล้ียงต้องคอย สังเกตการเป็นสัดของแม่ควายถ้าพลาดการสังเกตการเป็นสัดแล้ว แม่ควายจะเสียโอกาสท่ีได้รับ การผสมจะต้องรอไปจนกวา่ จะเป็นสดั อีกรอบหนึง่ การจูงเข้าผสมสามารถทาให้พ่อควายสามารถผสมกับควายเพศเมียได้มากข้ึน พ่อควายหนุ่ม อายุ 2 ปีครึ่งถึง 3 ปีครึ่ง ควรใช้ผสมกับแม่ควายไม่เกินปีละ 20 ตัว พ่อควายอายุ 3 ปีครึ่งขึ้นไป สามารถผสมแมค่ วายปีละ 30 – 40 ตวั 3. การผสมเทยี ม ได้แก่ การที่เจ้าหน้าที่จะนาน้าเชื้อของควายพันธ์ุดีมาผสมกับแม่ควายที่เป็นสัด ปัจจุบัน กรมปศุสัตว์มีหน่วยผสมเทียมท่ีจะสามารถให้บริการได้เกือบทุกอาเภอทั่วประเทศ ผู้เล้ียงจะต้อง คอยสังเกตการณ์เป็นสัดของแม่ควายของตัวเอง เมื่อเห็นแม่ควายเริ่มเป็นสัดต้องรีบไปแจ้ง เจ้าหน้าที่ผสมเทียมทันที ไข่จะเริ่มตกหลังจากส้ินสุดการเป็นสัดแล้ว 12 ถึง 24 ช่ัวโมง เวลาที่ เหมาะสมท่ีสุดในการผสมเทียมคือ 24 ถึง 36 ชั่วโมงหลังจากเร่ิมเป็นสัดเพ่ือสะดวกในการผสม เทียมเกษตรกรควรมีการจัดทาซองผสมเทียมท่ีบ้านหรือภายในหมู่บ้าน เมื่อเจ้าหน้าท่ีมาทาการ ผสมเทียมควรมีคนคอยชว่ ยอย่างน้อย 2 คน แม่ควายที่ได้รับการผสมแล้วผู้เลยี้ งควรกักอยู่ในคอก ทีม่ ที ่ีรม่ ไมค่ วรปล่อยให้แม่ควายตากแดดหรอื วิ่งไปในท้องทุ่งเพราะจะทาให้โอกาสผสมติดต่าลง การผสมเทียมมีขอ้ ดคี ือ ไม่ต้องเลี้ยงดูควายพ่อพันธ์ุ ทาให้ไม่ต้องเปลืองอาหารและแรงงาน แต่ก็มีข้อเสียคือ ผู้เล้ียงต้องคอยดูการเป็นสัดของควายเพศเมีย และต้องรีบไปแจ้งเจ้าหน้าท่ีให้มา ผสมเทียมให้ทันเวลา ระยะเวลาอ้มุ ท้องของควาย เป็นระยะเวลาท่ีไม่แน่นอนคงท่ี แตป่ ระมาณ 10 เดอื น 316 วัน ระยะอุ้มท้องของควายนานกว่าโคเล็กน้อย ลูกควายตัวผู้มักอยู่ในท้องนานกว่าลูกควายตัวเมีย และลกู ควายแฝดมักคลอดเรว็ กวา่ กาหนดว่าลกู ควายทีไ่ มแ่ ฝด แตค่ วายมกั ไมค่ ่อยมีลกู แฝด ๒๒

ประโยชน์ของควาย 1. การใช้เป็นแรงงาน ควายมีรูปร่างลักษณะเหมาะสมกับการใช้เป็นแรงงานในพื้นท่ีเป็น โคลนตมได้ดี เพราะขาท้งั ส่ีขา้ งรับน้าหนักไดด้ ี มกี ีบเทา้ ใหญ่และแขง็ แรงเดินไดด้ ีในโคลน และมีข้อ กีบและข้อขาท่ีเคล่ือนไหวคล่องตัว ทาให้เดินได้ดีในท่ีนาขรุขระ ควาย เป็นแรงงานหลักท่ีสาคัญ ของชาวนา เช่น ใช้ในการเตรียมดินไถนาและคราด การนวดข้าว ลากเกวียน ไถนา หรือไถวัชพืช ระหวา่ งร่องมันสาปะหลงั หรือรอ่ งอ้อยในบางพื้นท่ี 2. การใช้มูลเป็นปุ๋ย มูลควายมีความสาคัญมากในการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน เน่ืองจากท่ีนาได้ใช้เป็นปุ๋ยเคมีติดต่อกันหลายปี ทาให้ดินเส่ือมคุณภาพแข็งแรงเป็นดินดาน แต่ถ้า ใส่ปุ๋ยคอกจากมูลควายเป็นการเพ่ิมอินทรียวัตถุให้กับดิน จะทาให้โครงสร้างของดินร่วนซุย เพ่ิม ธาตุอาหารให้กบั พืช และใหธ้ าตอุ าหารพชื ในลักษณะตอ่ เนอื่ ง และยังทาให้การเกดิ ฟ้ืนฟูสง่ิ มีชีวติ ใน ดนิ เชน่ จลุ ินทรยี ์ ไสเ้ ดอื น แมลงตา่ ง ๆ จากผลการวิเคราะหธ์ าตุอาหารในมลู ควาย โดยพบวา่ ในมูล ควายมีธาตุไนโตรเจน 1.39 % ฟอสฟอรัส 0.97 % และโปตัสเซียม 0.43 % ของน้าหนักแห้ง สาหรับปรมิ าณมูลทผ่ี ลติ ได้ตอ่ ตัว ควายโตเตม็ ท่จี ะถา่ ยมลู คดิ เป็นนา้ หนักแหง้ ปีละ 2 – 3 ตัน 3. การใช้เนื้อเป็นอาหาร เนื้อควายถือว่าเป็นเน้ือท่ีมีคุณภาพต่อผู้บริโภค ด้วยเหตุผลด้าน รสชาติท่ีดี เป็นเน้ือที่มีปริมาณไขมัน และไตรกลีเซอไรดน์ ้อยเมอ่ื เทียบกับเนือ้ ไก่ เน้ือโค และเนื้อปลา แต่เสน้ ใยมลี กั ษณะหยาบกว่าเน้อื โค ๒๓

หน่วยการเรียนรทู้ ี่ 1.3 การคัดเลือกควายและผขู้ คี่ วายเพอ่ื แขง่ ขัน ลักษณะควายทดี่ ี ลักษณะประจาพันธุ์ของควายไทย เกษตรกรส่วนใหญ่ระบุลักษณะความงามประจาพันธ์ุ ของควายไทยที่สอดคล้องกัน โดยมีลักษณะสาคัญซึ่งเป็นจุดสังเกต 5 แห่งด้วยกัน คือ ตรงใต้คอ ต้องเป็นบง้ั สีขาว ต้องมีจดุ แตม้ บนใบหนา้ มีขอ้ เทา้ ขาว มอี ัณฑะและปลายลงึ คท์ ่ีไม่หย่อนยาน หนงั และขนมีสเี ทา เทาดาหรือเทาแดง โดยมีรายละเอียด ดังน้ี 1. บ้ังคอสขี าว บางแห่งเรียกอ้องคอ หรือบ้องคอ ลักษณะขนและหนังบริเวณใต้คอเป็นสีขาวรูปตัววี (V) เหมือนแถบบ้ังนายสิบ (Chevron) ซ่ึงพาดขวางบริเวณใต้คอ โดยมีความเชื่อว่า นอกจากเป็น ลักษณะท่ีส่งเสริมให้ควายดูงามแล้ว ยังถือเป็นลักษณะมงคล โดยปราชญ์ชาวบ้านระบุว่าถ้าเป็น ควายไทยต้องปรากฏลักษณะน้ีเด่นชัด จากตาแหน่งและจานวนของบ้ังคอยังสามารถจาแนก ระดับช้ันความงามไดเ้ ป็น 3 ระดับ คือ ควายสามอ้อง หรือควายสามบั้ง มตี าแหนง่ ของบง้ั คออยู่ใต้ คอหอย 1 บั้ง และต่าลงไปบริเวณเหนืออก 2 บั้ง รวมเป็น 3 บ้ัง ซ่ึงถ้าประกอบด้วยลักษณะอื่น เช่น หน้าตา ท่าทาง รูปร่างทั่วไปฯ ท่ีได้ลักษณะครบถ้วนก็จะถือว่าเป็นควายงามในระดับมาก รองลงมาคือ ควายสองอ้องหรือควายสองบั้ง ตาแหน่งของบั้งคออยู่ใต้คอหอย 1 บั้ง และบริเวณ เหนืออก 1 บั้ง ซึ่งถ้าประกอบด้วยลักษณะอื่น ๆ ครบถ้วนก็จัดว่าเป็นควายงามเช่นเดียวกัน ซ่ึง ลักษณะควายทั้งสองประเภทน้คี ่อนข้างหายาก สว่ นใหญ่จะอยู่ในมอื เกษตรกรทน่ี ิยมเล้ยี งควายงาม ซึ่งมักมีราคาสูงกว่าควายท่ีเล้ียงท่ัวไป และสาหรับควายท่ีเล้ียงโดยเกษตรกรรายย่อยอื่น ๆ ซ่ึงเป็น ควายส่วนใหญ่ของประเทศ จะมีลักษณะของบั้งคอไม่ชัดเจน และมักจะมีเพียง 1 บ้ังที่พอมองเหน็ จึงเรียก ควายหนึ่งอ้องหรือควายหน่ึงบ้ัง ซึ่งไม่จัดเป็นควายงาม ปราชญ์ชาวบ้านมีความเห็นว่า ควายไทย จะต้องปรากฏลักษณะบ้ังคอทกุ ตัว แต่บางตัวอาจมองเห็นไม่ชัดเจนถ้าไม่สังเกตให้ดี ซ่ึง ทาให้ไม่มจี ดุ เดน่ ลักษณะบ้งั คอแบบต่าง ๆ ๒๔

2. จุดขนสขี าวบริเวณใบหนา้ ลกั ษณะเป็นจุดขนสขี าวบนใบหน้าของควาย เป็นการสง่ เสริมใหห้ นา้ ตาของควายไทยดูเด่น มีจุดดึงดดู สายตา โดยปกตจิ ะพบจุดขนสีขาวบนส่วนของใบหนา้ รวม 7 จุด คอื 2.1 บริเวณเหนือหัวตา นิยมเรียกจุดน้ีว่ากะบ้ีจับตา หรือกะพี้จับตา จะต้องมีขนสีขาวเด่นชัด ขนาดและตาแหนง่ เหมอื นกันท้ังสองข้าง รวมเป็น 2 จดุ 2.2 บริเวณแก้มด้านซ้ายและขวา รวม 2 จุด และในแนวเดียวกันน้ีมีจุดขนสีขาวอีก 1 จุด อยู่ใต้ คางในตาแหน่งที่ตรงกัน โดยมีลักษณะเหมือนเม็ดไฝขนาดใหญ่และมีขนยาวเหมือนเคราผู้ชาย ซ่ึง เมด็ ไฝนี้จะพบในควายไทยทุกตวั รวมทัง้ หมดเปน็ 3 จุดด้วยกัน ปราชญ์ชาวบ้าน ระบุว่าถ้าเป็นควายท่ีถือว่างาม จะต้องมีจุดขาวน้ีชัดเจนบนใบหน้า มี ขนาดเท่ากันและอยู่ในตาแหน่งที่ตรงกัน จึงจะทาให้ใบหน้าดูเด่นสะดุดตา ส่วนควายท่ีงาม รองลงมา และควายท่ัว ๆ ไป จะมีจุดขาวเฉพาะบางตาแหน่ง ขนาดเล็ก และสีขาวไม่ค่อยเด่นชัด ซึ่งควายทม่ี จี ุดขาวบนใบหน้านี้ ลกั ษณะจดุ ขาวบนใบหน้า ๒๕

3. ข้อเทา้ ขาว ข้อเท้าหรือแข้งจะปรากฏเป็นขนสีขาวตั้งแต่ช่วงข้อต่อจากเล็บข้ึนมาถึงหัวเข่าท้ังขาหน้า และขาหลัง มองดูเหมือนการสวมถุงเท้าสีขาว โดยจะมีสีดาขีดขวางตรงตาแหน่งข้อกีบ ควายงาม มักจะเห็นถุงเท้าสีขาวชัดเจน ทั้งขาหน้าและขาหลัง และมีขนสีดาตรงข้อต่อกีบชัดเจน ส่วนควาย ทั่ว ๆ ไป มักพบสีขาวของข้อเท้าไม่ชัดเจน โดยเฉพาะควายลูกผสมท่ีมีสายเลือดของควายนมหรือ ควายมรู า่ ห์ สีขนบริเวณของข้อขาน้จี ะออกเปน็ สีเทาอมดา แตกต่างกับควายไทยอย่างชดั เจน ลกั ษณะขอ้ เทา้ ขาว 4. ข้วั อณั ฑะและปลายลึงค์ของควายเพศผู้ ลักษณะประจาพันธุ์ของควายไทยจะมีขั้วอัณฑะสั้น เกือบติดท้อง ไม่คอดกิ่วมาก และปลาย ลึงค์จะหย่อนเล็กน้อย แตกต่างกับควายมูร่าห์หรือควายลูกผสม ทาให้สามารถจาแนกความ แตกต่างควายไทยกบั ควายลกู ผสมได้ ซึ่งถ้าเห็นขวั้ อัณฑะหย่อนยาน และปลายลึงค์หย่อนยานมาก เหมือนลงึ คข์ องโคพนั ธุบ์ ราห์มนั ประกอบกับมีขนยาว สีของขนและหนังสีดาสนทิ แลว้ แสดงวา่ เปน็ ควายลกู ผสม ทีม่ ีสายเลอื ดควายมูร่าห์หรือควายแมน่ ้าผสมอยไู่ ม่มากก็นอ้ ย ๒๖

ลกั ษณะอณั ฑะและปลายลงึ ค์ 5. สหี นังและขน ลักษณะสขี องควายจะเป็นสีผสมของหนังและขน และเนื่องจากควายไทยโดยปกตขิ นไม่ดก หนามาก เหมือนควายพันธุ์นมหรือควายมูราห์ สีท่ีเห็นจึงเป็นสีของหนังเป็นส่วนใหญ่ โดยสีของ ควายอาจแตกต่างกันได้ จากแหลง่ นา้ ท่เี ลยี้ ง สีของดนิ ทคี่ วายทาปลกั ความสมบรู ณร์ า่ งกาย รวมถึง ช่วงอายุต่างฯ สีขนของควายไทย ตอนอายุยังน้อยส่วนใหญ่จะเป็นสีเทาขาว หรือเทาทอง และเม่อื อายุมากข้ึนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเป็นสีดาเข้มขึ้น สีเทาหรือสีเลา หรือเป็นสีเทาแดง(สีเปลือกเมล็ด มะขาม) สีของควายที่นิยมว่าเป็นควายงาม สาหรับแม่พันธ์ุ จะมีสีเทาถึงเทาดา ไม่ดาเข้มเท่าเพศผู้ ส่วนพ่อพันธุ์ จะมีสีเทาแดง หรือเทาดา สีขนจะเป็นสีดา หรือแดงเหมือนสีของเปลือกเมล็ดมะขาม และปราชญ์ให้ความเห็นว่าถ้าพบควายที่มีหนังและขนสีดาเข้ม และขนดกยาวกว่าควายทั่วไป แสดงว่าอาจมสี ายเลอื ดควายมูรา่ หผ์ สมอยู่ สหี นงั และขนควายงาม ๒๗

การจาแนกรุ่นของควายแข่ง ควายท่ีใชใ้ นการแข่งขัน ซ่งึ ใชจ้ านวนซี่ของฟันเปน็ ตัวบง่ ช้อี ายคุ วาย แบ่งเปน็ 4 รนุ่ คอื 1. รนุ่ จ๋วิ อายุ 1.5 ปี 2. จิ๋วเล็ก อายุ 2.5 ปี 3. จวิ๋ ใหญ่ อายุ 3 ปี 4. จวิ๋ พิเศษ อายุ 5 – 6 ปี ควายแข่งเมอื่ มอี ายุครบ 1 ปี 6 เดือน สามารถนาไปฝึกซอ้ มเพ่อื การแข่งขันได้ แต่ควายตัว นั้นจะต้องได้รับการดูแลอย่างดี เพ่ือการแข่งขันอย่างเดียว สายพันธ์ุท่ีนิยมนามาฝึกหัดคือพันทาง ดอก (ไอ้ดอกลุงแดง) อาหารที่บารุงควาย คือ ข้าวต้มใส่ไข่ โบราณให้กินต้มปลาฉลาม เป็นการ บารุงกาลัง ส่วนหญ้าขนที่จะให้ควายกินต้องตัดให้มีความยาวไม่เกิน 1 ฟุต เพราะหากเกิน 1 ฟุต วติ ามินจะเหลอื นอ้ ย ควรปลอ่ ยให้มคี วามอิสระตามธรรมชาตไิ ม่ให้ควายเครียด ท่สี าคญั อกี อยา่ งคือ ตอ้ งใหบ้ ารุงด้วยยาสมนุ ไพร ยานีจ้ ะช่วยให้ควายกนิ หญา้ ดี และอว้ นขึ้น ตวั อยา่ งตาหรบั ยาสมนุ ไพรทใี่ ช้บารงุ ควาย ตารบั ที่ 1.1 ตวั ยา ปูนา น้าส้มสายชู วิธีปรุงยา ใช้ปูนาประมาณ 6 ตัว ใส่ครกตาให้ละเอียด แล้วผสมน้าส้มสายชู 1 ขวด (ประมาณ 350 ลบ.ซม.) คนให้เข้ากัน แล้วกรองด้วยผ้ากรอง เอาน้าท่ีกรอง ไดม้ ากรอกใหค้ วายกนิ ใหห้ มด วิธีใช้ ทาให้กินตอนเชา้ กอ่ นปล่อยควายไปกนิ หญา้ ยานใี้ ชไ้ ดก้ ับควาย 1 ตวั สรรพคุณ ทาให้ควายกินน้ากนิ หญ้าดีขึ้น ควายนีผ้ อมเปน็ ตาล (ตาล หมายถงึ พยาธิ มขี แี้ ขง็ หยาบ เหน็ ตวั พยาธิ) จะอว้ นทว้ นขึ้น ตารบั ที่ 1.2 ตวั ยา แตงโม วธิ ีปรุงยา เอาแตงโมมา 1 ลกู บบี ค้ันเอาแต่นา้ วิธีใช้ ทาตอนเช้ากอ่ นปลอ่ ยไปกนิ หญา้ แล้วกรอกน้าแตงโม 2 ลกู ตอ่ ควาย 1 ตัว สรรพคุณ ทาให้ควายอว้ นทว้ นขึ้น กินหญ้าและน้าดขี ้ึน ตารับที่ 1.3 ตวั ยา บอระเพ็ดผสมน้าปัสสาวะและไขเ่ ปด็ หรือไข่ไก่ วิธีปรุงยา เอาบอระเพด็ มาประมาณ 1 กก. หมกั กบั ปสั สาวะพอท่วมทง้ิ ไว้ ประมาณ 7 วัน วธิ ใี ช้ รนิ เอานา้ มาผสมกับไขค่ รั้งละ 1 ฟอง กรอกให้กนิ ตอนเช้าก่อนออกจากคอก ทุกวนั สรรพคณุ ทาให้ควายอ้วนทว้ นขึน้ กนิ หญา้ กนิ น้าได้มากขน้ึ ๒๘

ตารับท่ี 1.4 ตวั ยา เครือ บอ่ นนอ้ ย เถาวัลยเ์ ขียว ขา้ วเหนียวดา วิธีปรุงยา เครือ บ่อนน้อย เถาวัลย์เขียว ข้าวเหนียวดา ต้มคนเอาน้าให้กินทงั้ สาม อย่างนีเ้ อาพอประมาณ วธิ ีใช้ กรอก 3 – 4 วันต่อคร้งั สรรพคุณ ยากินแลว้ อว้ น ลกั ษณะของผคู้ วบคุมควาย (คนข่คี วาย) พบว่าคนข่ีควายที่อายุน้อยสุดคือ 8 ขวบ ตัวคนเล็ก น้าหนักเบา ขี่ควายรุ่นเล็ก แต่คนขีต่ วั เลก็ สามารถเข้าแข่งขันขี่ควายได้หลายรุ่น เพราะน้าหนักตัวเบา หากคนขี่ตัวใหญ่ น้าหนักมาก ต้องขี่ควายแข่งตัวใหญ่ รุ่นใหญเ่ ท่านั้น การฝึกคนขค่ี วาย คนขที่ ่ีไมม่ ีประสบการณ์ขี่ควายต้องฝกึ กับควายแขง่ ท่ีมีประสบการณ์แข่ง แลว้ เทา่ น้นั ส่วนควายแข่งตวั ใหม่ท่ีไม่เคยฝึกต้องใช้คนขท่ี ม่ี ีประสบการณ์ จะไดไ้ ม่ตกควาย ลักษณะ ของการควบคุมควาย คนขี่จะต้องขี่เป็น จะเห็นว่าคนข่ีจะขี่ตรงบันท้ายควาย การที่จะแข่งชนะ หรือไม่อยู่ท่ีการออกตัวของควาย ประสบการณ์ และไหวพริบในการขี่และควบคุมควาย การทา ความคุ้นเคยกับควายเป็นสิ่งสาคัญ ผู้ข่ีต้องทาความคุ้นเคยกับควายประมาณ 7 วัน และฝึกอย่างน้อย 6 เดอื น จึงจะสามารถออกขีแ่ ขง่ ได้ อปุ กรณ์บังคับควายจะใชห้ วายสาหรบั ตีควายเทา่ นน้ั วัสดุอ่ืนไม่ สามารถใชไ้ ด้ วธิ ีขนึ้ บนหลังควาย มี 4 วิธี 1. ขึน้ ทางด้านหนา้ ควาย (จบั เขาควาย) 2. ขึน้ ทางดา้ นหลงั ควาย (ดงึ หางควาย) 3. ขึ้นดา้ นขา้ งควาย 4. ขน้ึ ขาหน้าควาย กติกา ของการแขง่ ควาย ควายทุกตัวท่ีลงแข่งขันต้องอยู่ในลู่วิ่งของตัวเอง เมื่อออกตัวแล้วจะไม่สามารถบังคับได้ จนกว่าจะถึงเส้นชัย การบังคับจะใช้การตีเพื่อให้ควายว่ิงไปข้างให้เร็วขึ้นเท่าน้ัน แต่จะไม่สามารถ บังคบั ใหค้ วายวงิ่ เลย้ี ว ซ้าย - ขวา ได้ ๒๙

รายได้ของผ้มู ีอาชพี ข่คี วายแข่ง ในปัจจุบัน ผู้ประกอบอาชีพขี่ควายแข่งมีน้อยมากจนเกือบจะหมดไปจากสนามแข่งควาย การประกวดควายสวยงามจงึ เกิดขน้ึ แทน ทาให้การเล้ียงควายแขง่ น้อยลงตามลาดบั ดว้ ย รายได้ทีไ่ ด้จาก การประกอบอาชีพข่ีควายแข่ง หากทาการลงซ้อมแข่งแต่ละครั้งจะได้ค่าจ้าง 500 – 1,000 บาท แต่ถ้าลงแข่งขัน จะได้ 5,000 – 6,000 บาทต่อคร้ัง สาหรับค่าจ้างเลี้ยงควายและซอ้ มแข่งจะไดร้ บั เป็นรายปี คือ 1 ตัว จะได้ค่าเล้ียงควายและซ้อมแข่ง 10,000 บาท เท่าน้ัน คุณสมบัติผู้ท่ีประกอบ อาชพี ข่ีควายแขง่ คอื ตอ้ งมีใจรกั ชอบ มีความกลา้ และไม่กลัวเจ็บ ท่ีสาคัญตอ้ งฉลาดและมีไหวพริบ ดี พบว่ามีเด็กหัดขี่ควายแข่งมาหัดขี่ควายแข่ง จานวนมากแต่ไม่มีความอดทนจึงเลิกราไป วิกฤต ของการขีค่ วายแขง่ จงึ เกิดขึ้นจากเหตุผล 2 ประการ คอื 1. ขาดควายท่ีมีลักษณะพร้อมท่ีจะเป็นควายแข่ง เนื่องจากอาชีพเลี้ยงควายเพ่ือใช้ ประกอบอาชพี เกษตรกรรมลดนอ้ ยลง เน่อื งจากมีอุปกรณ์การเกษตรท่ีมาแทนทค่ี วาย ควายจงึ หมด บทบาท 2. คนขี่ควายแข่งมนี อ้ ย ไม่มีผู้สนใจฝกึ หัดเนือ่ งจากเหนอ่ื ยและรายไดน้ ้อย ๓๐

ภาคผนวก ๓๑

ผ้อู านวยการ กศน.อาเภอบ้านบงึ สัมภาษณ์ นายสุวทิ ย์ ครศู รี เจา้ ของควายแข่งประจาอาเภอบา้ นบงึ ๓๒

คอกควาย ตอ้ งมีความร่มเยน็ และกวา้ งขวาง ๓๓

สนเชอื กผา่ นจมูกควายกอ่ นจูง วิธฝี กึ ควายเขา้ ลูแ่ ขง่ ขนั ๓๔

หนมุ่ นอ้ ย / นักขีค่ วายแขง่ วิธฝี ึกควายเข้าลูแ่ ขง่ ขัน ๓๕

วิธฝี กึ คนขค่ี วายแขง่ เขา้ ลู่แขง่ ฝกึ ควายในลู่ว่ิง ๓๖

ควายออกนอกลแู่ ข่ง ถว้ ยรางวลั ในประเพณวี ่งิ ควาย ๓๗

เอกสารอ้างอิง 1. ศนู ย์อนรุ กั ษค์ วายไทยบา้ นวังน้าดา หมู่ 4 ตาบลหนองบอนแดง อาเภอบา้ นบึง จงั หวัดชลบุรี 2. สวนสวรรค์บา้ นนา พ่อพาพอเพยี ง สอบถามเพิ่มเตมิ 087-5867401,089-8086162 3. สมนุ ไพรไทยรกั ษาควาย โดย ศาสตราจารยป์ ระสบ บรู ณมานสั และคณะ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกบั สานักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศกึ ษาธกิ าร 4. https://sites.google.com/site/khwaythiynisangkhmthiy/nisay-khxng-khway/kar- leiyng-du-tangtae-xayu10deuxn-khun-pi 5. https://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=3651&s=tblanimal 6. http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=9&page=t3-9- infodetail05.html ๓๘

คณะทางาน ทป่ี รกึ ษา ผอู้ านวยการศูนย์การศกึ ษานอกระบบและ นางสาวพวงสวุ รรณ์ พนั ธุ์มะมว่ ง การศกึ ษาตามอธั ยาศัยอาเภอบา้ นบงึ คณะผู้จดั ทา ผู้อานวยการศูนยก์ ารศกึ ษานอกระบบและ นางสาวพวงสวุ รรณ์ พันธ์ุมะมว่ ง การศกึ ษาตามอัธยาศัยอาเภอบ้านบึง ครูชานาญการพิเศษ นางจันทนี กิง่ ไทรงาม ครูผู้ช่วย นางสมปรารถนา หาญโยธา ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรยี น นางสาวอมรา พวงภู่ ครอู าสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน นางสาววนั เพ็ญ โยโล ครอู าสาสมคั รการศึกษานอกโรงเรียน นางสาวกวินตรา ฤทธิม์ นตรี ครู กศน.ตาบล นางสาวทพิ วรรณ กรัตพงศ์ ครู กศน.ตาบล นางสาวกณั สภิ ทั ร เหลอื งนภสั บรรณารักษ์อัตราจา้ ง นายพงศธร พราหมณี ครูชานาญการพิเศษ ผูเ้ รยี บเรียงและพมิ พ์สรุปรายงาน ครู กศน.ตาบล นางจนั ทนี กง่ิ ไทรงาม นางสาวทพิ วรรณ กรตั พงศ์ ๓๙


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook