วันสุนทรภู่ ๒๖ มิถุนายน ของทุกปี
ที่มาของวันสุนทรภู่ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรมของ ประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้มี ผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบรอบ ๑๐๐ ปีขึ้นไป เป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์คือ เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณและผลงาน ของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกให้ปรากฏแก่มวลสมาชิก ทั่วโลก และเพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม เฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ในการนี้ รัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ จะเป็นผู้สืบค้นบรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมเพื่อให้ยูเนสโก ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ และได้ประกาศยกย่อง \"สุนทรภู่\" ให้เป็นบุคคล ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก โดยในวาระครบรอบ ๒๐๐ ปี เกิด เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๙
ชีวประวัติ \"สุนทรภู่\" ท่านสุนทรภู่ ท่านเป็นกวีเอกคนหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดเมื่อวัน จันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุโลกมหาราช (รัชกาลที่ ๑) บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็น คนจังหวัดไหนไม่ปรากฏ ตั้งแต่สุนทรภู่ยังเด็ก บิดากลับไปบวชที่เมืองแกลง ส่วนมารดามีสามีใหม่มีลูกผู้หญิงอีก ๒ คน ชื่อ ฉิมกับนิ่ม ต่อมามารดาได้เป็นแม่นมของพระองค์เจ้าจงกล พระธิดาของกรมพระราช- วังหลัง สุนทรภู่จึงเข้าไปอยู่ในวังกับมารดา ตอนยังเป็นเด็ก สุนทรภู่ได้ เล่าเรียนที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) โตขึ้นก็เข้ารับราชการเป็นนายระวาง พระคลังสวน ไม่นานก็ลาออกเพราะไม่ชอบงานนี้ ชอบแต่การแต่งกลอน และแต่งสักวาเท่านั้น ต่อมาสุนทรภู่ มีสัมพันธ์รักกับสาวชาววัง ชื่อ \"จัน\" จึงถูกจองจำทั้งคู่ ครั้นพ้นโทษแล้วก็ได้แต่งงานกัน และถวายตัวเป็นมหาดเล็กของพระองค์- เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสของพระราชวังหลัง สุนทรภู่มีบุตรชายกับจัน ชื่อพัด ชีวิตคู่ของสุนทรภู่ไม่ราบรื่นเลยมักระหองระแหงกันเสมอ จนในที่สุด ก็เลิกร้างกัน แล้วสุนทรภู่ก็ได้เข้ารับราชการกับพระบาทสมเด็จพระพุทธ - เลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) เป็นที่โปรดปรานมากจดได้รับการแต่งตั้งให้ เป็นขุนสุนทรโวหาร ๑
ชีวประวัติ \"สุนทรภู่\" พอสิ้นราชการที่ ๒ สุนทรภู่ก็ออกจากราชการเพราะไม่เป็นที่ โปรดปรานของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) ออกจากราชการแล้วสุนทรภู่ก็บวชเป็นพระภิกษุอยู่ในวัดราชบูรณะ บวชได้ราว ๓ พรรษา ก็ต้องอธิกรณ์ (โทษ) ถูกขับไล่ออกจากวัด ในข้อหาเสพสุรา จึงไปอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม ไม่นานก็ย้ายไปที่ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ และวัดสุดท้าย คือวัดเทพธิดาราม แล้วก็สึกออกมา รวมเวลาบวชเป็นพระภิกษุประมาณ ๑๘-๒๐ ปี จากนั้นก็ตกยากจนไม่มีบ้านอยู่ ต้องลอยเรือร่อนเร่ แต่งกลอนขาย ปลายรัชกาลที่ ๓ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ โปรดฯ ให้สุนทรภู่ไปอยู่ที่ราชวังของพระองค์ ครั้นได้รับสถาปนาเป็นพระบาท- สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ก็โปรดเกล้าให้สุนทรภู่เข้ารับราชการเป็นเจ้า - กรมอาลักษณ์ มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหารรับราชการเพียง ๕ ปี ก็ถึงแก่กรรม พ.ศ. ๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๖๙ ปี ๒
ผลงานของ\"สุนทรภู่\" ประเภทนิราศ ประเภทนิทาน ประเภทบทเสภา - นิราศเมืองแกลง - เรื่องโคบุตร - เรื่องขุนช้างขุนแผน - นิราศพระบาท - เรื่องพระอภัยมณี (ตอนกำเนิดพลายงาม) - นิราศภูเขาทอง - เรื่องพระไชยสุริยา - เรื่องพระราชพงศาวดาร - นิราศสุพรรณ - เรื่องลักษณวงศ์ - นิราศวัดเจ้าฟ้า - เรื่องสิงหไกรภพ ประเภทบทเห่กล่อม - นิราศอิเหนา ประเภทสุภาษิต - เห่จับระบำ - รำพันพิลาป - นิราศพระประธม - เห่เรื่องพระอภัยมณี - นิราศเมืองเพชร - สวัสดิรักษา - เห่เรื่องโคบุตร ประเภทบทละคร - สุภาษิตสอนหญิง - เห่เรื่องกากี - เพลงยาวถวายโอวาท - เรื่องอภัยณุรา ๓
ผลงานของ\"สุนทรภู่\" บางตอนจาก อิเหนา บางตอนจาก ขุนช้างขุนแผน จะหักอื่นขืนหักก็จักได้ ตอนกำเนิดพลายงาม หักอาลัยนี้ไม่หลุดสุดจะหัก แม่รักลูก ลูกก็รู้ อยู่ว่ารัก สารพัดตัดขาดประหลาดนัก ใครอื่นสัก หมื่นแสน ไม่แม้นเหมือน แต่ตัดรักนี้ไม่ขาดประหลาดใจ จะกินนอนวอนว่า เมตตาเตือน บางตอนจาก พระอภัยมณี จะจากเรือน ร้างแม่ ก็แต่กาย แม้นใครรักรักมั่งชังชังตอบ บางตอนจาก ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา สุภาษิตสอนหญิง รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ (พระฤษีสอนสุดสาคร) จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน ๔
Search
Read the Text Version
- 1 - 6
Pages: