นางสาว รุจริ า แซป่ ึง (645220021-0) บทความ: เพดานกฐิน จากการเรียนรูส้ ู่ภมู ิปัญญาในชุมชน ภูมิปัญญา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นและดำรงอยู่กับสังคมมนุษย์มาเนิ่นนาน เป็นการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ ธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่น เป็นองค์ความรู้ ความสามารถ ทักษะซึ่งเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ ผ่าน กระบวนการเรียนรู้ เลือกสรร ปรุงแต่ง พัฒนา ถ่ายทอดสืบต่อกนั มา เพื่อใช้แก้ปัญหา พัฒนาวิถชี ีวิตให้สมดลุ กับ สภาพแวดล้อม เหมาะสมกับยุคสมัย (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม, 2559) ภูมิปัญญายังเกิดขึ้นได้ทั้งการเรียนรู้ด้วย ตนเองและเรียนรู้ผ่านบุคคลอื่น เป็นผลมาจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและสังคม วัฒนธรรมท้องถิน่ นัน้ ๆ (ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ, 2553) คนที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดจะไม่ใช่ผู้ที่มีอาชีพครู แต่มักจะ เป็นผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญในเรื่องนั้น ๆ และได้รับการยอมรับจากชุมชน (พระมหาเมธา คำไหล, 2547) ภูมิ ปัญญาจึงมีความสำคัญและมีคุณค่าสำหรับผู้คนและท้องถิ่น โดยผ่านการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นไปยังคนรนุ่ ต่อไป ดังเช่นภูมิปัญญาเพดานกฐินของคุณแม่ประจวบ ปฏิเวช ซึ่งเกิดจากความสนใจเรียนรู้ศึกษาด้วยตนเองจน เกิดเปน็ ภูมปิ ัญญาสร้างอาชพี และไดถ้ ่ายทอดภูมิปัญญาการทำเพดานกฐนิ ใหก้ บั คนในชุมชน เพดานกฐนิ เปน็ ส่วนตกแตง่ ที่ใช้ในการจัดงานกฐนิ มกั จัดไวต้ รงกลางพธิ ีเหนือบริวารกฐิน แรกเริ่มการทำ เพดานกฐนิ มกั ทำด้วยวสั ดุที่เปน็ กระดาษ ไมค่ งทน ขาดงา่ ย คุณแม่ประจวบ ปฏเิ วชผู้สนใจการทำเพดานกฐิน จึง ใช้ดอกรักและดอกมะลพิ ลาสตกิ ร้อยแทน เพราะมีความคงทนมากกว่า แต่ตลาดท้องถิน่ ไม่ค่อยมีดอกรักและมะลิ พลาสติกขาย จึงลองนำลูกปัดมารอ้ ยแทน แล้วพบว่าเพดานกฐินทีท่ ำจากลูกปดั พลาสติกมคี วามสวยงามมากกว่า อีกทั้งลกู ปดั พลาสติกหาซอ้ื ไดง้ า่ ย จงึ เลอื กใช้ลูกปัดพลาสติกในการทำเพดานกฐนิ แล้วคอ่ ยๆ พฒั นาความสวยงาม ดว้ ยการเลือกใชล้ กู ปัดหลากหลายรูปทรง ไมว่ า่ จะเป็น ทรงกลม ทรงกลมแบบมเี หลย่ี ม ทรงวงรี ทรงกระบอก และ มีการเลือกใช้พื้นผิวสีสนั ที่มีความแวววาว ทำให้เพดานกฐนิ มีความสวยงาม แข็งแรง คงทนมากยิ่งขึ้น เมื่อเพดาน กฐินมีความสวยงามประณีตน่าสนใจ จนสามารถสง่ ขายตามร้านค้าสงั ฆภัณฑ์ในชุมชนสร้างอาชีพและรายได้ให้กับ ท่านได้ คนในชุมชนก็เริ่มให้ความสนใจ ผนวกกับภาครัฐมีนโยบายผลักดันผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) คณุ แมป่ ระจวบซึ่งเป็นหนึง่ ในสมาชกิ อสม. ได้รวมกลุ่มกับสมาชกิ คนอื่นๆ จัดตั้งกล่มุ ชุมชนเพดานกฐิน อส ม.บ้านหนองใส เพื่อสร้างผลติ ภัณฑ์เพดานกฐิน โดยถ่ายทอดความร้กู ารทำเพดานกฐินใหก้ ับคนในชมุ ชน เพอ่ื สร้าง ความรู้ ความสามารถ สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในชุมชน ซึ่งมีบริบทพื้นที่อุดมไปด้วยการเรียนรู้ ศลิ ปวฒั นธรรม และความศรทั ธาทางศาสนา ได้แก่ โรงเรยี นเทศบาลหนึง่ หนองใส คณะหมอลำเสยี งอีสาน วัดโพธิ์ ศรีไสยสะอาด วดั ดงสะพงั ทอง คณุ แมป่ ระจวบ ปฎิเวช ได้อธบิ ายถึงเพดานกฐินทที่ ่านสร้างสรรค์ไว้หลายลักษณะ ตามแต่การสร้างสรรค์ ของตวั ทา่ นเอง แตห่ ลักๆ มีสองขนาด คือ ขนาดใหญ่ มเี สน้ ผ่านศนู ย์กลาง 60-70 เซนติเมตร และขนาดเล็ก มเี ส้น ผ่านศูนยก์ ลาง 30 เซนติเมตร เพดานกฐินมี 2 ลักษณะคือ รูปวงกลม และรูปดาว 6 แฉก (ภาพที่1) มีวัสดุในการ ทำเพดานกฐนิ คอื 1. เหลก็ ขนาด 4 มลิ ลิเมตร. ขนึ้ รูปเป็นวงกลมหรือดาว 6 แฉก ตวั เหล็กข้ึนรูปนี้ คณุ แม่ประจวบ
นางสาว รุจิรา แซป่ งึ (645220021-0) จะจ้างชา่ งในทอ้ งถนิ่ เป็นคนทำให้ 2. ผ้าดิ้นทอง 3. ด้ายสีขาว (โพลีเอสเตอร)์ 4. ลูกปดั คละแบบ คละสี 5. ใบโพธิ์ เงนิ โพธิท์ อง สว่ นอปุ กรณ์ทใ่ี ช้มีดังนี้ 1. จักรเยบ็ ผ้า 2. กรรไกร 3. เขม็ 4. ตระกร้า (ภาพที่ 2 ) ภาพที่ 1 ลักษณะเพดานกฐินรปู วงกลม และ รูปดาว 6 แฉก เป็นภาพท่คี ุณแมป่ ระจวบเคยทำแล้วถ่ายเกบ็ ไว้เป็น ตวั อยา่ งงานใหค้ นท่ีสนใจสงั่ ทำ ภาพท่ี 2 วสั ดแุ ละอปุ กรณใ์ นการทำเพดานกฐิน ข้ันตอนในการทำเพดานกฐนิ ขัน้ แรกให้เตรียมโครงเหล็กขนาด 4 มลิ ลิเมตร ขึ้นรูปวงกลมหรือรูปดาวหก แฉก (ภาพที่ 3) จากนั้นตัดผ้าดิ้นทองตามรูปทรงของโครงเหล็กแล้วเย็บประกบกับโครงเหล็ก (ภาพที่ 4) เมื่อได้ ส่วนด้านบนเพดานกฐนิ แลว้ ให้ทำการแบ่งชอ่ งร้อยตาขา่ ย กำหนดระยะห่างประมาณ 3-5 เซนตเิ มตรบนโครงเหล็ก เพดานกฐนิ ขนาดใหญ่จะแบง่ ได้ 18 ช่อง สว่ นขนาดเลก็ แบ่งได้ 12 ช่อง (ภาพที่ 5) จากนน้ั ทำการรอ้ ยลกู ปัดเข้ากับ โครงเหล็ก เมื่อร้อยถึงช่องสุดท้าย ให้มัดปมด้าย ให้แน่นหนา เริ่มร้อยแถวที่สองโดยการมัดปมเชือกเข้ากับโครง จากน้ันสอดด้ายกลับทางเดมิ แล้วเรม่ิ รอ้ ยแบบแถวทห่ี นึ่งอกี ครั้ง ทำไปเรอื่ ย ๆ จนกลายเป็นสามเหลย่ี ม (ภาพท่ี 6) เมอ่ื ร้อยตาข่ายลูกปดั จนเปน็ รปู สามเหล่ยี มเสร็จแลว้ ใหร้ อ้ ยตัวหอ้ ยแล้วทำการติดตงั้ จนครบ (ภาพท่ี 7) จากน้ันทำ ดา้ นอนื่ ๆ ต่อแล้วจึงร้อยตาข่ายดา้ นใน และร้อยลูกปดั ด้านบนสำหรบั แขวน (ภาพท่ี 8)
นางสาว รจุ ริ า แซ่ปึง (645220021-0) ภาพที่ 3 โครงเหล็กสำหรับทำเพดานกฐิน ภาพท่ี 4 เยบ็ ผา้ ดนิ ทองปิดโครงเหล็กท้ังสองข้าง ภาพท่ี 5 แบบช่องสำหรบั รอ้ ย แถวที่ 1 แถวที่ 2 เม่อื เสร็จ 1 ด้าน ภาพท่ี 6 ข้ันตอนในการรอ้ ยลูกปดั 1 ด้าน
นางสาว รุจิรา แซ่ปงึ (645220021-0) ภาพที่ 8 ขนั้ ตอนการร้อยตาข่ายดา้ นใน และร้อยลกู ปดั ดา้ นบนสำหรบั แขวน ภาพท่ี 9 เพดานกฐินทเี่ สร็จสมบูรณ์ การทำเพดานกฐินของคณุ แม่ประจวบ ปฏิเวช มีขน้ั ตอนทต่ี อ้ งใช้ความสร้างสรรค์ ประณตี ละเอยี ดออ่ น ใช้ ระยะเวลาในการสรา้ งสรรคง์ านหนงึ่ ชน้ิ นาน 2-3 วนั จงึ จะไดง้ านท่สี มบูรณ์ ลักษณะรูปลกั ษณข์ องเพดานกฐิน เป็น ผลติ ภัณฑท์ ่ีทำจากพลาสติกมีความคงทน มีรูปแบบทีห่ ลากหลายในการใชล้ ูกปัดต่างสีสันร้อยเรียงในเกิดความงาม มีรูปทรงที่ทิ้งตัวลงสู่อากาศ มีความโปร่งบางของช่องว่าง ขับเน้นด้วยสีสันที่หลายหลากซึ่งมาจากคุณสมบัติของ วสั ดทุ ่มี คี วามแวววาว เม่อื นำเพดานกฐนิ ไปประดับไว้กลางงานในตำแหนง่ เหนือองค์กฐนิ ทม่ี ีความสำคัญต่อการจัด งานกฐิน เพดานกฐินจึงกลายเป็นจุดศูนย์รวมสายตาเหนือพื้นที่จัดงาน สร้างความสำคัญและบอกตำแหน่งให้ ผรู้ ่วมงานทราบวา่ องคก์ ฐนิ จดั อยู่ ณ ตำแหนง่ ใดในงาน ความสวยงามของเพดานกฐนิ ที่ถูกสรา้ งสรรค์ ทำใหภ้ าครัฐ เล็งเห็นถึงคณุ คา่ ความสำคัญ ตลอดจนผลงานที่ไมเ่ หมอื นใคร สำนกั งานวฒั นธรรมจังหวัดอดุ รธานจี งึ จัดให้เพดาน กฐิน เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมของจังหวัดอุดรธานี (ภาพที่ 10) และเทศบาลตำบลหนองบัวได้บรรจุ โครงการเพดานกฐินในยุทธศาสตร์การพฒั นาด้านเศรษฐกิจ แนวทางการพัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการสรา้ ง อาชพี เพอ่ื เพ่ิมรายได้แกป่ ระชนชน คนในชมุ ชนจึงมีรายไดเ้ พ่ิมขึ้นจากภูมปิ ัญญาเพดานกฐินของคุณแม่ประจวบ ผู้ ริเร่ิมสร้างสรรค์ผลงาน และถา่ ยทอดให้คนในชุมชน ซึ่งสอดคลอ้ งกับแนวคิดกระบวนการเรียนรูต้ ามธรรมชาติของ ชุมชนท้องถิ่นในเร่ือง กระบวนการเกิดของภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือภูมิปัญญาชาวบ้านของนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2536 อ้างถึงใน ประภากร แก้วรรณา, 2551) ซึ่งประกอบด้วย 1. การเรียนรู้ เกิดขึ้นจากศักยภาพของชาวบ้านในการ
นางสาว รุจิรา แซป่ ึง (645220021-0) แสวงหาทางรอดตอ่ สภาพปญั หาทีร่ ุมเรา้ อยู่ โดยมีชาวบ้านผู้ที่มีความสามารถในการวเิ คราะห์ คิดค้น ทดลองและ สรุปบทเรียน ผสมผสานความรู้กับเทคโนโลยีจากภายนอก 2. การสั่งสมความรู้หรือภูมิปญั ญาเปน็ กระบวนการท่ี เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการเรียนรู้ การสั่งสมความรู้ได้มา 2 ทาง คือ การสั่งสมด้วยตนเองโดยเรียนรู้มาจาก ประสบการณ์ในชวี ิต การอยู่ร่วมกนั ในสังคม อีกทางหน่ึงคือ มีผู้ถ่ายทอดให้ในรปู ของวัฒนธรรม ประเพณีและวถิ ี การดำรงชวี ิต 3. การถ่ายทอดและกระจายความรู้หรอื ภูมปิ ัญญาจากรุ่นหนงึ่ ไปสอู่ กี รนุ่ หน่ึง 4. การปรบั เปล่ยี นและ การประยุกต์ใช้ความรู้หรือภูมิปัญญาในการอนุรักษ์ ในกระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาลงสู่ชุมชนสอดคล้องกับ งานวิจัยของอภัญญา รัตนไชย (2561) กล่าวถึงการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิ ปัญญาระหว่างกัน ทั้งในครอบครัวเดียวกัน คนในชุมชน ต่างชุมชน โดยใช้วิธีการสอน หรือการเรียนรู้โดย สอดแทรกอยูใ่ นวถิ ีการดำเนนิ ชวี ติ ของคนในทอ้ งถน่ิ น้ัน ซึง่ จะมีการปรบั ปรงุ หรือเปลีย่ นแปลงใหเ้ ข้ากับสถานการณ์ และยุคสมัยที่เป็นอยู่ในขณะนั้น เช่นเดียวกับงานวิจัยของสุนทร เกตุสุขาวดี (2552) กล่าวถึงการถ่ายทอดภูมิ ปญั ญาภายในชมุ ชน จากการฝกึ ฝนเรียนรู้กับผรู้ ผู้ ู้ชำนาญฉพาะทาง ดงั เชน่ คนในชมุ ชนได้เรียนรกู้ ารทำเพดานกฐิน กับคุณแม่ประจวบ ปฏเิ วช ภาพที่ 10 121 อดุ รธานี ภมู ิปญั ญาดา้ นหตั ถกรรม สำนักงานวัฒนธรรม จงั หวดั อุดรธานี ภูมิปัญญาเพดานกฐินของคุณแม่ประจวบ ปฏิเวช เกิดจากความสนใจเรียนรู้ศึกษาด้วยตนเองจนเกิด ประโยชน์ สามารถสรา้ งรายได้ให้กบั ตนเอง เมอ่ื มีคนในชมุ ชนสนใจเรียนรูก้ ไ็ ด้ถ่ายทอดส่งต่อความรนู้ ั้นจนได้จัดต้ัง กลุ่มผลติ ภัณฑ์ประจำชมุ ชน ทำใหภ้ าครฐั เล็งเห็นถงึ ความสำคญั และยกยอ่ งให้เพดานกฐินของคุณแมป่ ระจวบ ปฏิ เวชกลายเปน็ หน่ึงในภมู ิปญั ญาด้านหัตถกรรมของจงั หวัดอดุ รธานี ซง่ึ สอดคล้องกบั แนวคิดกระบวนการเกิดของภูมิ ปัญญาทอ้ งถ่นิ หรือภมู ิปญั ญาชาวบา้ น ทำใหง้ านหัตถกรรมทีก่ ำลังสญู หาย กลับมาอีกครงั้ และยงั สร้างมูลค่าให้กับ เจ้าของภูมปิ ญั ญาและผอู้ น่ื อกี ด้วย
นางสาว รุจิรา แซ่ปงึ (645220021-0) อ้างองิ กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). ปกิณกวัฒนธรรม วัดสามพระยา และแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรม บริเวณใกล้เคียง. พมิ พ์ครัง้ ที่ 1. กรุงเทพฯ: สุวรรณภมู ิ เฮอรเิ ทจ จำกดั . กรมส่งเสรมิ วัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรมวิถีชวี ติ และภูมปิ ญั ญา. พมิ พค์ รง้ั ท่ี 1. กรุงเทพฯ: รุง้ ศิลป์การ พิมพ์ (1971) จำกดั . _______. (2561). มรดกภูมิปัญญาอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพช์ ุมนุมสหกรณ์การเกษตร แหง่ ประเทศไทยจำกดั . ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2553). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของปราชญ์ชาวบา้ น: กรณีศึกษาวง กลองยาว อำเภอปราณบุรี จงั หวดั ประขวบคีรีขันธ.์ รายงานผลการวจิ ัยมหาวทิ ยาลัยธุรกิจบณั ฑติ ย์ ประภากร แกว้ วรรณา. (2551). ตำราการจดั การความรภู้ มู ิปัญญาท้องถิ่น. (ม.ป.ท.:ม.ป.พ.) ประเวศ วะส.ี (2534). การศกึ ษาชาติกบั ภูมปิ ัญญาท้องถน่ิ ใน การสัมมนาทางวชิ าการเรื่องภูมิปัญญา ชาวบ้านกับการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการพัฒนาการพัฒนาขนบ. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาต.ิ พระมหาเมธา คำไหล. (2547). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในการทำเครื่องทองลงหนิ บ้านหนองบัวน้อย ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีค้ิว จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบณั ฑติ มหาวทิ ยาลัยราชภฏั ธนบรุ ี, กรุงเทพฯ. สุนทร เกตุสุขาวดี. (2552). การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิน่ สาขาหัตถกรรมพืน้ บา้ น: กรณีศึกษาบ้าน หนองเหียง อำเภอพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรงุ เทพฯ. อภญิ ญา รัตนไชย. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปญั ญาท้องถ่ินในการทำประมงพืน้ บ้านของชุมชน ลิพงั อำเภอปะเหลียน จังหวดั ตรัง ประเทศไทย. แก่นเกษตร, 48 (4), 743-748. _______. (2561). รายงานวิจัยองคป์ ระกอบการสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำ ป ระมงพ ื้น บ้านของชุมชนสิพัง อ ำ เ ภอ ปะเหล ีย น จังหวัดตรง. คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลยั สงขลานครินทร์.
Search
Read the Text Version
- 1 - 6
Pages: